Archive

Archive for the ‘Technology’ Category

ททท. ชูนโยบายปี 54 ด้วยการตลาดเชิงรุกใช้ “ดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง”

February 15th, 2011 No comments


อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนับเป็นเส้นเลือดหลักทางเศรษฐกิจของประเทศไทยรองจากอุตสาหกรรมส่งออก ด้วยความได้เปรียบในทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติหลั่งไหลจากทั่วสารทิศทั่วโลกมาเยือนประเทศไทยปีละจำนวนไม่น้อย ประเทศไทยยังคงเป็นจุดหมายปลายทางหลักแห่งหนึ่งของพวกเขาแม้ว่าปัจจุบันสภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศในแถบเอเชียด้วยกันจะมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของนักท่องเที่ยวที่อิงอยู่กับข้อมูลจำนวนมหาศาลบนอินเทอร์เน็ตและโน้มเอียงไปกับคำแนะนำ ติชมของเพื่อนนักเดินทางที่อยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้น จนแทบจะเรียบได้ว่ามี “อิทธิพล” ต่อความคิดและการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวอยู่มากในปัจจุบัน

ทำให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยจำต้องปรับนโยบายและเปลี่ยนแนวกลยุทธ จากเดิมที่ใช้ “สื่อดั้งเดิม” เป็นหลักเพียงอย่างเดียว ปัจจุบันภายใต้การบริหารงานของ “สุรพล เศวตเศรณี” ผู้ว่าการฯ คนปัจจุบัน ททท.จะเน้นนโยบายเชิงรุกในการใช้การตลาดออนไลน์หรือการตลาดแบบดิจิตอล (Online/Digital Marketing) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยมากยิ่งขึ้น

นโยบายของททท.ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยโดยใช้การตลาดออนไลน์หรือการตลาดแบบดิจิตอลเป็นอย่างไร
เนื่องจากปัจจุบันอินเทอร์เน็ตและโลกออนไลน์ โดยเฉพาะเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Networking) เข้ามามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก ทำให้ททท.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ต้องส่งเสริมให้เกิดการมาเที่ยวในเมืองไทยมากขึ้น เพื่อสร้างรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้กับประเทศเพิ่มมากขึ้น และสร้างชื่อเสียงของประเทศในเวทีโลก จำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การโปรโมทการท่องเที่ยวจากเดิมที่ทำอยู่ ได้แก่การซื้อพื้นที่โฆษณาในสื่อเก่า อาทิ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ที่เป็นกระดาษ ซึ่งมีข้อจำกัดทั้งในแง่ของความรวดเร็วของการเข้าถึง ความพลวัตรของข้อมูล ความแพร่หลายของข่าวสารที่มีจำกัด ทำให้ททท.พิจารณาแล้วเห็นว่าหากยังทำการโปรโมทการท่องเที่ยวไทยบนสื่อเดิมเพียงอย่างเดียวจะทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยเสียโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจำนวนมากและเสียโอกาสที่จะมีพื้นที่ยืนและมีแบรนด์อันแข็งแกร่งบนโลกออนไลน์ไปอย่างน่าเสียดาย

ดังนั้น ททท.จึงมีนโยบายที่จะเพิ่มกลยุทธการโปรโมทการท่องเที่ยวผ่านสื่อใหม่ (New Media) บนโลกออนไลน์ทั้งบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและบนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ทั้งสมาร์ทโฟน (Smart Phone) และแท็ปเลต (Tablet) ด้วยการพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวในประเทศไทย รวมถึงการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ทั้งเฟซบุ๊ค (www.facebook.com/AmazingThailand) และทวิตเตอร์ (Twitter.com/Go2Thailand) เป็นช่องทางในการสื่อสารระหว่างททท.กับกลุ่มเป้าหมายบนโลกออนไลน์

ททท.ได้เพิ่มสัดส่วนของงบประมาณในการโปรโมทการท่องเที่ยวผ่านสื่อใหม่จากเดิมที่มีเพียง 10-15 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณในการส่งเสริมทั้งหมดของททท.ในปี 2552 เพิ่มเป็น 30 เปอร์เซ็นต์ในปีที่ผ่านมาและจะเพิ่มเป็น 40 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ โดยตั้งเป้าว่าจะรักษาฐานนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวประเทศบ่อยๆ ที่มีสัดส่วนสูงถึง 60 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่าปีนี้จะเข้ามาเที่ยวเมืองไทยราว 15.5 ล้านคน ไว้ให้ได้ ซึ่งนักท่องเที่ยวในส่วนนี้จะเป็นกลุ่มที่เดินทางท่องเที่ยวด้วยตนเอง หรือมีส่วนกับการจัดแผนการท่องเที่ยวของตัวเอง ดังนั้นข้อมูลด้านการท่องเที่ยว ทั้งสินค้าและบริการของแหล่งท่องเที่ยว ข้อมูลที่พัก ข้อมูลพื้นที่ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มาก หน้าที่ของทท.คือการนำฐานข้อมูลที่เรามีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นข้อมูลของททท.และเป็นข้อมูลของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยล่าสุดททท.ได้นำข้อมูลเหล่านี้มาประยุกต์พัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่นที่เรียกว่า “Amazing Thailand” ซึ่งมีไว้บริการสำหรับอุปกรณ์ทุกแพลตฟรอ์ม ทั้งบน iOS ได้แก่บน iPad iPhone และ iPod และบน BlackBerry กับบนAndroid

ภายใต้แอพพลิเคชั่น “Amazing Thailand” ประกอบด้วยข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อนักท่องเที่ยวที่นิยมวางแผนการท่องเที่ยวด้วยตัวเอง และมีการเตรียมแผนการท่องเที่ยวล่วงหน้า โดยข้อมูลแบ่งออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับประเทศไทย (About Thailand) ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว (Destinations) ข้อมูลงานกิจกรรมต่างๆ (Event) แผนที่ (Map) บุ๊คมาร์ค (Bookmark) เคล็ดลับการช้อปปิ้ง (Shopping Tips) ข้อมูลแหล่งอาหารไทย (Thai Food) คำถามที่มักพบบ่อย (FAQs) และบริการคำค้น (Search)

จุดเด่นของแอพพลิเคชั่น “Amazing Thailand” คืออะไร
จุดเด่นของแอพพลิเคชั่นนี้คือ การต่อยอดข้อมูลด้านการท่องเที่ยวให้เกิดเป็นบริการรูปแบบใหม่ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการท่องเที่ยว อาทิ ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว (Destinations) ททท.ได้คัดสรรแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถเดินทางเข้าถึงได้ด้วยตัวเองมาให้บริการพร้อมบอกวิธีการเดินทางไป แนะนำสถานที่พัก รวมถึงสถานที่กินดื่ม และแหล่งช้อปปิ้ง เพื่อให้ข้อมูลเบ็ดเสร็จในที่เดียว เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวในการวางแผนการท่องเที่ยว และเอื้อให้นักท่องเที่ยวใช้เวลาท่องเที่ยวนานขึ้นและใช้จ่ายมากขึ้น ปัจจุบันททท.นำเสนอแหล่งท่องเที่ยวบนแอพพลิเคชั่นแล้ว 89 แห่ง

ทว่าประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวทั้งสิ้นมากกว่า 4,000 แห่ง ซึ่งททท.จะทยอยนำแหล่งท่องเที่ยวเหล่านั้นขึ้นมาไว้บนแอพพลิเคชั่นในอนาคต ทั้งนี้การเลือกแหล่งท่องเที่ยวก่อนหลังพิจารณาจากความพร้อมของผู้ประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่นั้นๆ ด้วยว่ามีความพร้อมและสามารถรองรับนักท่องเที่ยวที่อาจจะมีการติดต่อขอข้อมูลหรือสั่งจองบริการผ่านระบบออนไลน์ เพราะในอนาคตททท.มีแผนจะพัฒนาต่อยอดแอพพลิเคชั่นจากการให้บริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยวไปสู่การอำนวยความสะดวกในการสั่งจองหรือสั่งซื้อบริการด้านการท่องเที่ยวบนระบบออนไลน์ในคราวเดียวเลย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ททท.อาจจะต้องอาศัยพันธมิตรซึ่งเป็นผู้ประกอบการเข้ามาบริหารจัดการการซื้อหรือการจองออนไลน์ เนื่องจากด้วยอำนาจหน้าที่ของททท.เป็นหน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยว ดังนั้น ททท.จะไม่ลงไปให้บริการหรือบริหารระบบเอง

จุดเด่นอีกประการของแอพพลิเคชั่นนี้คือการสร้างความยืดหยุ่นให้กับงานกิจกรรมต่างๆ (Event) เดิมทีที่ใช้สื่อดั้งเดิมที่มีความยืดหยุ่นเรื่องเวลาและความเร็วในการผลิตและกระจายข้อมูลต่ำ ทำให้ททท.สามารถโปรโมทแต่เฉพาะงานกิจกรรมที่รู้ล่วงหน้า 6 เดือนถึง 1 ปี เพราะต้องให้เวลากับการผลิตสื่อค่อนข้างมาก ซึ่งจะโปรโมทได้เพียงกิจกรรมหลักที่จัดประจำในแต่ละปีตกราว 100 รายการ เท่านั้น แต่ด้วยสื่อดิจิตอล และออนไลน์มาร์เก็ตติ้งทำให้ททท.สามารถเพิ่มเติมข้อมูลกิจกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างปีที่มีมากถึงกว่า 1,000 กิจกรรมเข้าไปในแอพพลิเคชั่นนี้ได้ซึ่งจะช่วยดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวได้มากขึ้น

ซึ่งงานกิจกรรมต่างๆ (Event) นี้มีความสำคัญมากเนื่องจากเป็นสิ่งที่ช่วยดึงให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่ที่จัดงาน และทำให้เกิดการใช้จ่ายเงินของนักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวไม่มีข้อมูลงานต่างๆ เหล่านี้เขาก็ไม่เดินทางมา หรือเดินทางมาแต่ไม่ได้ใช้เวลาเที่ยวในเมืองไทยนานขึ้น เพราะคิดว่าไม่มีกิจกรรมอะไรที่เขาสนใจแล้ว ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่พลวัต หากไม่ได้สื่อใหม่เข้ามาช่วยเผยแพร่คงทำไม่ได้

แผนงานในปีนี้นอกจากจะให้บริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยวแล้ว ททท.มีแผนจะต่อยอดบริการเพื่อช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารถวางแผนการท่องเที่ยวได้ด้วยตัวเอง ด้วยการให้บริการข้อมูลและการเชื่อมโยงระบบบริการต่างๆ เข้าด้วยกัน อาทิ เมื่อนักท่องเที่ยวเจอสถานที่ที่อยากมาเที่ยว ก็สามารถรู้ได้ว่า สถานที่นี้อยู่ที่ไหน ไปอย่างไร และมีกิจกรรมอะไรให้เที่ยวหรือให้ทำบ้าง และหากเขาจะเปลี่ยนไปอีกสถานที่หนึ่งเขาสามารถไปได้อย่างไร ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะนำเสนอในหลายรูปแบบทั้งข้อมูลตัวอักษร ภาพ แผนที่และในอนาคตอาจจะเป็นมัลติมีเดีย ในอนาคตททท.จะทำแผนโปรโมทการท่องเที่ยวแบบ Permission Marketing เราจะออกแบบข้อมูลการท่องเที่ยวให้ตรงกับกลุ่มนักท่องเที่ยวในแต่ละเซ็กเม้นท์มากขึ้น โดยเราจใช้ฐานข้อมูลของนักท่องเที่ยวที่เรามีอยู่จากการที่เขาลงทะเบียนลงแอพพลิเคชั่นของเราไป และจากข้อมูลที่เขาได้ทำผ่านแอพพลิเคชั่นจะทำให้เรามีฐานข้อมูลของนักท่องเที่ยวแต่ละคน ซึ่งการจะทำการตลาดเชิงรุกในลักษณะนี้เราจะต้องได้รับอนุญาตจากนักท่องเที่ยวเป็นรายบุคคลเสียก่อน

เป้าหมายสูงสุดของททท.ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวคืออะไร
ททท.ต้องการสร้างความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทย เพราะอุตสาหกรรมนี้มีความอ่อนไหวตามเหตุปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้อยู่ค่อนข้างมาก ดังนั้น แทนที่เราจะขายบริการด้านการท่องเที่ยวด้วยสินค้าและบริการที่ตายตัวปีต่อปี เราสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลและสินค้าและบริการที่มีอยู่มาช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารถสร้างและออกแบบแผนการท่องเที่ยวที่มีความยืดหยุ่นสูงด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวนักท่องเที่ยวเองและประโยชน์ต่อผู้ประกอบการท่องเที่ยว ททท.เราเล่นบทบาทในฐานะผู้อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงและใช้ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ เราต้องการสร้างให้เกิดการเข้าถึงโดยตรงระหว่างนักท่องเที่ยวกับตัวสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว ทั้งนี้ททท.มิได้มุ่งหวังเพียงดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาเที่ยวเมืองไทยเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี พยายามให้เขาอยู่นานขึ้นในแต่ละทริป และพยายามให้เขาใช้จ่ายมากขึ้นในแต่ละครั้งที่มาเที่ยว แต่ททท.ยังมุ่งหวังให้นักท่องเที่ยวไทยออกเดินทางท่องเที่ยวไทยเพิ่มมากขึ้น นักท่องเที่ยวไทยเป็นอีกปัจจัยสำคัญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ในปีที่ผ่านมานักท่องเที่ยวไทยออกเที่ยวไทยราว 87 ล้านคนครั้ง (จำนวนครั้งของการท่องเที่ยว) ซึ่งในปีนี้ททท.ตั้งเป้าว่าจะกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวไทยออกเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็น 91 ล้านคนครั้ง

นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติปัจจุบันส่วนใหญ่กลายเป็นประชากรดิจิตอล (Digital Citizen) ซึ่งปฏิเสธไมได้ว่าเทคโนโลยีเป็นช่องทางสำคัญในการเข้าถึงพวกเขาและสื่อสารกับพวกเขาได้ตรงความต้องการ ส่วนตัวผมเองไม่ได้เป็นคนใช้หรือรู้เรื่องเทคโนโลยีมากนัก แต่ผมรู้และเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีในฐานะเครื่องมือสื่อสารอันทรงพลัง ผู้ในฐานะผู้บริหารและผู้ให้นโยบายจึงได้ให้นโยบายกับเจ้าหน้าที่ของททท.ทุกคนว่าองค์กรเราจะเดินหน้าสู่ทิศทางนี้ เราจะใช้เทคโนโลยีมากขึ้นทั้งเรื่องการทำงานภายในองค์กรเราเองและเรื่องงานที่เราจะต้องส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและเพื่อสื่อสารกับทั้งนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยว จากนี้ไปจะเห็นบทบาทของททท.ในมิติขององค์กรที่ใช้เทคโนโลยีในการทำงานอย่างมากอย่างแน่นอน

(บทความนี้ตีพิมพ์ในวารสารรายสามเดือน Smart Industry)

View :3417

Demo ‘Blackberry PlayBook’ at Blackberry DevCon Asia 2011(January 13-14, 2011 at Bali, Indonesia)

January 17th, 2011 No comments

Demo ‘Blackberry PlayBook’ at Blackberry DevCon Asia 2011(January 13-14, 2011 at Bali, Indonesia)

[youtube=http://www.youtube.com/watch?v=qXvXlVMDaIE]

View :1937
Categories: Technology Tags:

Zuckerberg in Bangkok

December 30th, 2010 No comments

[youtube=http://www.youtube.com/watch?v=tnKSs2SV7H8&feature=youtu.be]

 

Mark Zuckerberg, Facebook’s co-founder, was impressed with the Thai culture he experienced at the wedding ceremony this week of his close friend Chris Cox, the vice president of Facebook.

Vivatvong Vichit-Vadakan, the father of Cox’s bride Visra Vichit-Vadakan, said Zuckerberg had taken part in all three days of his daughter’s wedding and was impressed with the culture he had experienced throughout the proceedings.

“He is a very nice, humble person. We chatted. I thanked him for taking part in my daughter’s wedding in Bangkok for three days. We didn’t talk about business, or even about Facebook or social networking in Thailand, as he had come for the wedding ceremony and was here in a private capacity,” said Vivatvong, who is chief open-source technologist at Loxley Business Information Technology-PointAsia.

He said Zuckerberg had seen a lot of Thai culture during his stay, as his family had arranged a full traditional Thai-style wedding ceremony for 40 of Cox’s friends who had come over from the United States.

Cox joined Facebook four years ago. “Mark joined the merit-making ritual as part of the wedding ceremony on Monday, and then he also joined the engagement

ceremony yesterday [Tuesday]. These two activities were at the bride’s home in Sukhumvit Soi 24. And we had the wedding ceremony yesterday morning at the house of General MR Kukrit Pramoj,” said Vivatvong.

He added that his daughter had been friends with Cox since 2000, when they were freshmen at Stanford University. Cox was studying symbolic systems while Visra was studying human biology, but they were both in the university’s Traditional Japanese Drum Club, which is where they met.

Their relationship continued in the ensuing years and blossomed into that of lovers three years ago, he said.

After graduation, Cox pursued a master’s in computer science at the same university, while Visra came back to Thailand, working for TK Park during the time that Sirikorn Maneerin was deputy education minister. She is now a second-year graduate student of the Film School at New York University and expects to earn her master’s degree next year.

Vivatvong said Zuckerberg would not be staying in the Kingdom to celebrate the New Year.

“He is a very nice and humble guy. He is not as he is portrayed in the movie ‘The Social Network’,” he said.

Zuckerberg, dressed in grey T-shirt and jeans, arrived at last night’s party venue – a restaurant on Sukhumvit 36 – at about 8pm in a van and accompanied by security guards. Journalists took photographs but he did not respond to any of their questions.

Published on December 30, 2010 at The Nation

http://www.nationmultimedia.com/home/Zuckerberg-impressed-with-Thai-culture-30145482.html

Other story about Mark Zuckerberg

http://www.nationmultimedia.com/2010/12/29/national/Facebook-founder-spotted-in-Bangkok-pub-30145429.html

View :2808

LG focuses more on digital marketing next year

December 19th, 2010 No comments

LG aims to focus more on digital marketing next year with the 25 per cent increase in its above-the-line marketing budget that raised from Bt56 million to Bt70 million.

Thunyachate Ekvetchavit, marketing director, head of Corporate Marketing at LG Electronics (Thailand) said that LG plans to increase budget for its digital marketing from Bt50 millions to Bt70 millions.

Due to the rapid increase of internet users across the devices and platforms and the rapid growth of mobile devices both of smart phone and tablets that raise the wide and huge of online consumers in Thailand. Also, behavior of consumers currently has been changed to be online and social network.

LG Electronics has started its digital marketing since last year and concentrate more this year. The company has rolled out 10 marketing campaigns throughout this year with the use of Bt56 million of digital marketing budget.

“This year, we are very success in using digital marketing to drive our marketing campaigns throughout the year. Our brand awareness is increased by 5 to 10 per cent. We will continue on this way and will increase budgets'” said Thunyachate.

He said digital marketing is playing more important and going to the mass. By 2012, LG Electronics Thailand wants to become the top brand – to be number one consumer electronic company in Thailand- in brand preference, and also wants to be at least top 3 in all across its business units included home entertainment; home appliance; air conditioner; mobile phone; and business solution.

“Our main digital marketing is “integrated” marketing strategy blended between offline and online campaign, depending on what kinds of campaigns and what target groups of them,” said Thunyachate.

He added that in the year 2012, the company plans to increase its digital marketing budget to 15 per cent of the company’s above-the-line marketing budget, increased from 10 per cent in next year and 8 per cent of this year.

“We see it is in the transition period of marketing therefore we need to integrate the online and offline marketing and to balance the mass and the niche target group of marketing campaigns carefully,” said Thunyachate.

However, this year, LG’ s strategy is recognized with the industry accolades both globally and in Thailand including a Silver PR Lion award at Cannes for the ‘Lollipop Love Story’ campaign; a Silver award in the Campaign Technology & Telecom category at the Digital Marketing Awards (DMA); and 7 accolades at Thailand’s Adman awards.

View :2901

“ระบบลอจิสติกส์” หัวใจความสำเร็จของ “ออฟฟิศเมท”

December 4th, 2010 No comments

หากคิดถึง “เครื่องใช้สำนักงาน” เชื่อแน่ว่าหลายคนคงจะคิดถึง “ออฟฟิศเมท” ผู้ขายสินค้าเครื่องใช้สำนักงานที่ส่งตรงถึงบริษัท หรือบ้านคุณด้วยสโลแกนการตลาดการันตีคุณภาพว่า “ส่งถึงคุณในวันถัดไป” (สำหรับ 10 จังหวัดรอบกรุงเทพฯ) อย่างแน่นอน

แม้ว่าจะมีสินค้าที่อยู่ในคลังกว่า 20,000 รายการจากซัพพลายเออร์กว่า 400 ราย และต้องจัดส่งให้กับฐานลูกค้าที่มีอยู่ราว 100,000 ราย โดยเป็นลูกค้าองค์กร 80,000 รายและลูกค้าทั่วไป 20,000 ราย แต่ “ออฟฟิศเมท” ก็สามารถจัดส่งสินค้าที่มีความหลายหลายตามใบสั่งซื้อที่เข้ามาเฉลี่ยประมาณวันละ 1,500 ใบสั่งซื้อต่อวัน ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วย และตรงเวลา คุณภาพการบริการเช่นนี้เป็นจุดเด่นที่แม้จะมีผู้ขายสินค้าประเภทเดียวกันแต่ไม่สามารถชิงตำแหน่งเจ้าตลาดการขายเครื่องใช้สำนักงานออนไลน์แบบไม่มีหน้าร้านของ “ออฟฟิศเมท” ไปได้

วรวุฒิ อุ่นใจ กรรมการผู้จัดการ วัยสี่สิบเศษๆ ผู้บุกเบิก “ออฟฟิศเมท” มากับมือจนสามารถนำพาบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อกลางปีที่ผ่านมา กล่าวว่า หัวใจสำคัญของธุรกิจ ขายเครื่องใช้สำนักงานออนไลน์แบบไม่มีหน้าร้านของ “ออฟฟิศเมท” คือการบริหารสินค้าคงคลังและบริหารเส้นทางการจัดส่งสินค้าตามคำสั่งซื้อที่มีเข้ามาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง “เทคโนโลยีสารสนเทศ” (IT: Information Technology) เป็นตัวช่วยที่สำคัญมาโดยตลอด

บริษัทเริ่มนำระบบไอที และเริ่มพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล และระบบซอฟต์แวร์ด้านลอจิสติกส์ของตัวเองมาตั้งแต่สิบที่แล้ว โดยเริ่มต้นพัฒนาและใช้งานเพียงไม่กี่โมดูล (Module) จากนั้นก็มีการขยายการใช้งานจนครบทุกโมดูลอย่างในปัจจุบัน ได้แก่ ระบบการจัดซื้อ (Procurement System) ระบบการจัดการคลังสินค้า (Stock Management) และระบบกระจายสินค้า (Delivery System)

วรวุฒิ เล่าว่า ด้วยธุรกิจที่มีหน้าร้านบนอินเทอร์เน็ตและบนหน้ากระดาษแคตตาล็อก ทำให้ความท้าทายของธุรกิจ คือ การบริหารคลังสินค้าและการจัดส่งให้สินค้าถึงมือลูกค้าได้ถูกต้องครบถ้วนในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งบริษัทต้องการตัวช่วยในเรื่องของการบริหารสินค้าคงในคลังกับการบริหารระบบจัดส่งสินค้า และไอทีคือคำตอบ

บริษัทตัดสินใจลงมือพัฒนาระบบซอฟต์แวร์เองตามความต้องการใช้งานเฉพาะของตนเอง ด้วยโปรแกรมมือ 40 คนทุกวันนี้บริษัทมีระบบไอทีเป็นแกนหลักสำคัญในการทำให้กระบวนการทำงานของบริษัทไหลลื่นต่อเนื่องแบบอัตโนมัติ เริ่มตั้งแต่ ระบบการจัดซื้อ ระบบจะตรวจสอบดูว่าในคลังสินค้าสินค้าใดลดน้อยลงจนถึงขีดที่ต้องสั่งสินค้าเข้ามาสต็อกเพิ่มบ้าง ทั้งนี้บริษัทกำหนดให้คลังสินค้าขนาด 7,200 ตารางเมตรต้องสต็อกสินค้าได้ไม่เกิน 30 วันขาย ทำให้ระบบต้องคำนวณขนาดพื้นที่ ประเภทสินค้า และปริมาณการขายเพื่อใช้ในการสั่งซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์เข้ามาเก็บไว้ที่สต็อก

จากนั้นบริษัทก็มีระบบการบริหารจัดการคลังสินค้า ซึ่งเชื่อมโยงกับระบบการขายสินค้าของบริษัท นั่นคือ ทุกครั้งที่มีการขายเกิดขึ้น ณ หน้าร้านออนไลน์ หรือบนแคตตาล็อก รายละเอียดคำสั่งซื้อจะเข้ามาตัดสต็อกเองอัตโนมัติ ทำให้ระบบสินค้าคงคลังของบริษัทมีความเป็นปัจจุบันสูงมาก

นอกจากนี้ บริษัทยังเก็บข้อมูลรายงานการขายเพื่อวิเคราะห์ประเภทสินค้าขายดี หรือสินค้าที่มีการหมุนเวียนเร็ว เพื่อออกแบบการจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้า เพื่อให้การเคลื่อนขนย้ายสินค้าเป็นไปด้วยความสะดวกและรวดเร็ว สิ้นเปลืองพลังงานน้อยที่สุด อาทิ สินค้าที่มีการหมุนเวียนเร็วจะอยู่ใกล้กว่าสินค้าที่หมุนเวียนช้า เป็นต้น

ระบบต่อมาคือ ระบบการจัดส่งสินค้า ในส่วนนี้บริษัทมีการติดอุปกรณ์ GPS (Global Positioning System) ไว้ที่รถขนส่งสินค้าทั้ง 65- 70 คันที่ต้องวิ่งส่งสินค้าในแต่ละวัน โดยรถแต่ละคันมีภารกิจต้องส่งสินค้าโดยเฉลี่ยคันละ 35 จุดต่อวัน โดยรถแต่ละคันขนส่งสินค้าที่มีมูลคาโดยเฉลี่ยประมาณ 90,000-100,000 บาทต่อวัน ดังนั้น การติด อุปกรณ์ GPS ในรถทุกคันนอกจากจะช่วยเรื่องของความปลอดภัยของสินค้าแล้วยังช่วยเรื่องการทำ Real Time Tracking เพื่อตรวจสอบได้ตลอดเวลาว่ารถแต่ละคันวิ่งอยู่เส้นทางใดและอยู่  ณ จุดใดบ้าง นอกจากนี้ ระบบยังเก็บข้อมูลเส้นทางที่รถแต่ละคันวิ่งส่งสินค้าให้ลูกค้าตามทุกต่างๆ เพื่อมาคำนวณ วิเคราะห์ และออกแบบเส้นทางขนส่งสินค้าที่ดีที่สุด คือ เส้นทางที่ใกล้ที่สุด เส้นทางที่สะดวกที่สุด เพื่อลดเวลาและปริมาณน้ำมันในการส่งสินค้าในแต่ละเที่ยวลงได้เป็นอย่างดี

“ระบบไอทีทำให้เราสามารถบริหารการขนส่งสินค้าได้มีประสิทธิภาพ เราสามารถรักษาคุณภาพการจัดส่งสินค้าในเวลาที่เราการันตีกับลูกค้าได้ สามารถส่งสินค้าที่มีความหลากหลายให้ถึงมือลูกค้าได้อย่างครบถ้วนถูกต้องแม่นยำ และเราสามารถลดต้นทุนการบริหารจัดการ ลดต้นทุนค่าน้ำมันลดลง เดิมก่อนมีระบบไอทีใช้งานเต็มรูปแบบอย่างนี้ เราต้องใช้รถถึง 80 คัน เพื่อรองรับการส่งสินค้า 1,200 คำสั่งซื้อต่อวัน แต่ตอนนี้เราใช้รถแค่ 65-70 คันรองรับปริมาณคำสั่งซื้อ 1,500 คำสั่งซื้อต่อวัน”

ด้วยระบบงานที่มีประสิทธิภาพเช่นนี้ทำให้ผลประอบการของบริษัทตลอด 8 ปีที่ผ่านมาเติบโตต่อเนื่องราว 35-50 เปอร์เซ็นต์ต่อปี โดยเพิ่งมาเติบโตลดลงในปีที่ผ่านมา เนื่องจากเศรษฐกิจโดยรวมถดถอยและปัญหาทางการเมือง ซึ่งกระทบต่อธุรกิจบ้าง แต่ก็มีการเติบโตอยู่ราว 15 เปอร์เซ็นต์ โดยในปีนี้คาดว่าบริษัทจะสามารถเติบโตได้ราว 20 เปอร์เซ็นต์

วรวุฒิ กล่าวว่า ปีหน้าบริษัทจะมีการอัพเกรดระบบไอทีครั้งใหญ่ โดยมีเป้าว่าต้องลดต้นทุนของการส่งสินค้าจากเดิมที่ต่ำอยู่แล้ว คือ ราว 2.5-2.8 เปอร์เซ็นต์ของยอดขาย ให้ลดลงเหลือไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์ของยอดขาย

 

View :3270

นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ผ่านความเห็นชอบจากครม.แล้ววันนี้

November 9th, 2010 No comments

นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ

๑. ความเป็นมา

รัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๗๘ ได้กำหนดให้รัฐดำเนินการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน รวมถึง การจัดทำและการให้บริการสาธารณะ ระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึง เท่าเทียมกันทั่วประเทศ และรัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ว่าจะพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมขั้นพื้นฐานให้ครอบคลุมทั่วประเทศและสร้างโอกาส ในการเข้าถึงบริการของประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน รวมทั้งได้จัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสารของประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๕๔ – ๒๕๖๓) หรือ ICT 2020 เพื่อใช้เป็นกรอบทิศทางในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งกำหนดเป้าหมายการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและการสื่อสาร ให้เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ มีคุณภาพและความมั่นคงปลอดภัยเทียบเท่ามาตรฐานสากล ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๓

รัฐบาลได้ตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ ภายใต้กรอบนโยบาย ICT 2020 ในการพัฒนาประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การบริการของรัฐ การรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงความมั่นคงและปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนช่วยส่งผลต่อการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศได้อย่างต่อ เนื่อง ทั้งยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกิจการโทรคมนาคม กิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาบริการบรอดแบนด์ของประเทศ ปัจจุบันยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ โดยมีประชากรที่ใช้บริการบรอดแบนด์เพียงร้อยละ ๓.๕ ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเขตนครหลวงและเมืองใหญ่ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำและช่องว่างทางดิจิทัลระหว่างประชาชนในเขต เมืองและชนบท รวมทั้งเป็นปัจจัยที่กระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว

ใน การนี้ รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและใช้เป็นกรอบการดำเนินการและขับเคลื่อนการพัฒนา บริการบรอดแบนด์ ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่หลากหลาย มีความก้าวหน้าทันสมัย สอดคล้องกับบริบทและสภาพพื้นที่ของประเทศไทย และตอบสนองความต้องการการใช้บริการของทุกภาคส่วน โดยที่รัฐมีบทบาทเป็นผู้กำหนดนโยบายและสนับสนุนการให้มีและการใช้บริการ บรอดแบนด์อย่างทั่วถึงเท่าเทียมกัน รวมถึงส่งเสริมให้ภาคเอกชนและประชาชนร่วมดำเนินการไปสู่ความสำเร็จ โดยมีองค์กรกำกับดูแลที่เป็นอิสระตามกฎหมายทำหน้าที่กำกับดูแลการประกอบ ประกอบกิจการให้มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม

 

๒. นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ

๒.๑ ภาครัฐมีเจตนารมณ์ที่จะสนับสนุนการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ อันถือเป็นบริการที่มีความสำคัญเทียบเท่าบริการที่เป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้น ฐานของประชาชน ให้ทั่วถึง เพียงพอ ในราคาที่เหมาะสม ภายใต้การแข่งขันเสรีและเป็นธรรม

๒.๒ ประชาชนคนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ได้ อย่างเต็มที่ ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำและลดช่องว่างทางดิจิทัล ทั้งในเชิงภูมิศาสตร์และเชิงกลุ่มประชากร สามารถกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคทั่วประเทศ ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

๒.๓ ภาครัฐและภาคธุรกิจสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการพัฒนาบรอดแบนด์ได้ อย่างเต็มที่ เพื่อเพิ่มผลิตภาพ และความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน

๒.๔ ในการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ รัฐจะบริหารจัดการทรัพย์สินด้านโทรคมนาคมที่รัฐได้ลงทุนไปแล้วและอาจจะลงทุน เพิ่มเติม เพื่อประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการโทรคมนาคมทุกรายอย่างเสมอภาค โดยการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และรัฐจะไม่ผูกขาดที่จะเป็นผู้ลงทุนในการจัดให้ม บริการต่าง ๆ แต่เพียงผู้เดียว แต่จะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการทุกรายที่พึงประสงค์และมีศักยภาพที่จะลงทุน เพื่อให้บริการ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดโครงข่ายบรอดแบนด์ทั่วประเทศ โดยให้มีการแข่งขันเสรีและเป็นธรรมในการให้บริการ

๒.๕ ในเรื่องที่เกี่ยวกับเขตอำนาจอธิปไตยของชาติ เช่น ตำแหน่งวงโคจรของดาวเทียม จุดขึ้นฝั่งของเคเบิลใต้น้ำ หรือจุดเชื่อมต่อโครงข่ายข้ามพรมแดน ถือว่าเป็นส่วนที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของชาติและเป็นสิทธิหรือทรัพยากร ที่รัฐจะส่งเสริมให้มีการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในแง่ของการนำมาใช้งานเพื่อตอบสนองต่อความต้องการภายในประเทศ และการนำมาใช้งานเพื่อเพิ่มศักยภาพและโอกาสในการที่จะพัฒนาความร่วมมือและ การค้าระหว่างประเทศรัฐจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและกำกับดูแลการดำเนินการ ตามนโยบาย โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุนจัดให้มีบริการดัง กล่าว

๒.๖ รัฐจะส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคมส่วนปลายทางทั้งแบบใช้สายและ ไร้สาย ผู้ประกอบการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ผลิตเนื้อหา ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ และผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

 

๓. เป้าหมาย

๓.๑ พัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์ให้ครอบคลุมประชากร ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐ ภายในปี ๒๕๕๘ และไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๙๕ ภายในปี ๒๕๖๓ โดยมีคุณภาพบริการที่ได้มาตรฐานและมีอัตราค่าบริการที่ เหมาะสม   รวมทั้งให้มีบริการบรอดแบนด์ความเร็วสูงผ่านเคเบิลใยแก้วนำแสงในเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาค   ความเร็วไม่ต่ำกว่า 100 Mbps ภายในปี ๒๕๖๓

๓.๒ ประชาชนสามารถได้รับบริการผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ ทั้งในด้านการศึกษา สาธารณสุข การเฝ้าระวังและเตือนภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ และบริการสาธารณะอื่น ๆ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ โดย

๓.๒.๑ ขยายโอกาสทางการศึกษา โดยโรงเรียนในระดับตำบลสามารถเข้าถึงบริการ บรอดแบนด์ที่มีคุณภาพ ภายในปี   ๒๕๕๘ และโรงเรียนทั่วประเทศสามารถเข้าถึงบริการดังกล่าวได้ภายในปี ๒๕๖๓

๓.๒.๒ ขยายบริการสาธารณสุข โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือสถานีอนามัยทุกแห่งสามารถเข้าถึงบริการ บรอดแบนด์ที่มีคุณภาพเดียวกับโรงพยาบาลประจำจังหวัดหรือเทียบเท่า รวมทั้งมีการเชื่อมโยงและให้บริการระบบประกันสุขภาพและประกันสังคมผ่านโครง ข่ายบรอดแบนด์ ภายในปี   ๒๕๕๘

๓.๒.๓ ขยายการให้บริการระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลทุกแห่งของประเทศสามารถเข้าถึงบริการบรอดแบนด์ที่ มีคุณภาพในระดับเดียวกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด และหน่วยงานของรัฐในส่วนกลาง เพื่อให้ประชาชนในทุกตำบลสามารถใช้บริการต่าง ๆ ที่จะมีในระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ได้ตลอดเวลาภายในปี ๒๕๕๘

๓.๒.๔ ให้ประเทศมีระบบการเฝ้าระวังเตือนภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ และเหตุฉุกเฉินผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ ให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที

๓.๓ ภาคธุรกิจไทยสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากโครงข่ายบรอดแบนด์ได้อย่างทั่ว ถึงและเท่าเทียมกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และการเติบโตของเศรษฐกิจไทยอย่างสมดุลและต่อเนื่อง รวมทั้งให้โครงข่ายบรอดแบนด์เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดย รวม โดย

๓.๓.๑ ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีโดยรวมให้อยู่ในกลุ่ม Top 25% ของประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงสุดในการจัดลำดับ World Competitiveness Rankings

๓.๓.๒ เกิดการขยายตัวของธุรกิจที่ใช้การสร้างสรรค์ การออกแบบ และบริการใหม่ ๆ ที่ดำเนินการได้ทุกพื้นที่ในประเทศไทยผ่านเครือข่ายบรอดแบนด์ ส่งผลให้เกิดการกระจายรายได้ไปยังพื้นที่ที่ มิใช่เขตเมือง

๓.๓.๓ สัดส่วนมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อ GDP เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๑๐ ภายในปี ๒๕๕๘

๓.๔ ลดการใช้พลังงานและการใช้ทรัพยากร โดยใช้การสื่อสารหรือเข้าถึงข้อมูลร่วมกันผ่านบริการ บรอดแบนด์ทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการ ซึ่งจะส่งผลในการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดภาวะโลกร้อน

๓.๕ ลดต้นทุนการให้บริการบรอดแบนด์โดยรวม โดยเฉพาะด้านการเชื่อมต่อวงจรออกต่างประเทศและการนำบรอดแบนด์เข้าถึงผู้ใช้ บริการ เพื่อให้อัตราค่าใช้บริการบรอดแบนด์ลดต่ำลง ประชาชนผู้บริโภคโดยทั่วไปสามารถเข้าถึงบริการได้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น

๓.๖ เกิดการพัฒนาเนื้อหาสาระ ( Content) และโปรแกรมประยุกต์ ( Application) ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา การสาธารณสุข การป้องกันชีวิตและทรัพย์สิน ศาสนาและวัฒนธรรม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการดำรงชีวิตประจำวัน รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินธุรกิจให้มีขีดความสามารถทางการแข่งขันมากยิ่งขึ้น

๓.๗ ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจถึงคุณค่า และความเสี่ยงของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เร่งตัวเร็วขึ้น อันเป็นผลเนื่องมาจากการขยายการใช้บริการบรอดแบนด์ รวมถึงมีความรู้และทักษะในการใช้งานบรอดแบนด์อย่างสร้างสรรค์และเกิด ประโยชน์

๓.๘ อุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีการพัฒนา เกิดการขยายตัว และยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ไปสู่ระดับสากล

 

๔. แนวทางดำเนินการ

๔.๑ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการบรอดแบนด์

๔.๑.๑ ส่งเสริมให้มีการแข่งขันในธุรกิจบริการบรอดแบนด์ บนพื้นฐานการแข่งขันเสรีและเป็นธรรม ซึ่งจะไม่มีการผูกขาด รวมถึงการเปิดกว้างทางเทคโนโลยี เพื่อก่อให้เกิดการลงทุนในโครงข่ายและขยายการให้บริการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทั่วถึง มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม

๔.๑.๒ สนับสนุนให้มีการขยายบริการบรอดแบนด์ไปสู่พื้นที่ชนบทห่างไกล ภายใต้หลักการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม

๔.๑.๓ สนับสนุนให้มีการลงทุนพัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์ในทุกระดับ ให้มีปริมาณเพียงพอ คุณภาพได้มาตรฐานสากล และมีต้นทุนต่ำ ด้วยการลงทุนของภาคเอกชนหรือภาครัฐร่วมเอกชน และส่งเสริมให้เกิดการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการ เพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อน ทั้งนี้ เพื่อให้
ผู้ประกอบธุรกิจบริการสามารถใช้ประโยชน์ได้โดยการกำกับดูแลด้วยกติกาการแข่ง ขันเสรีเป็นธรรม ไม่มีการผูกขาดหรือการใช้อำนาจเหนือตลาดที่กีดกันการแข่งขัน

๔.๑.๔ สนับสนุนการดำเนินการขององค์กรกำกับดูแลในการจัดสรรคลื่นความถี่อันเป็น ทรัพยากรสื่อสารของชาติ เพื่อกิจการโทรคมนาคม กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน

๔.๑.๕ สนับสนุนผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการในท้องถิ่นให้สามารถลงทุนในเทคโนโลยีทางเลือกและวิธี การสื่อสารที่เหมาะสมที่มีการลงทุนไม่สูงมาก เพื่อสร้าง เชื่อมต่อ และให้บริการโครงข่ายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๔.๑.๖ ปรับโครงสร้างและบทบาทของรัฐวิสาหกิจสาขาโทรคมนาคม กิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ในการให้บริการโครงข่ายให้เอื้อต่อการให้บริการบรอดแบนด์อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการแข่งขันเสรีและเป็นธรรมของผู้ประกอบการทุกราย

๔.๑.๗ ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมโทรคมนาคมให้อยู่ภายใต้ระบบใบอนุญาตและมีการแข่งขัน บนพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน เพื่อกระตุ้นให้มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและระบบโครงข่ายหลักที่จำเป็นต่อ การจัดให้มีบริการบรอดแบนด์อย่างทั่วถึง

๔.๑.๘ ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านโทรคมนาคม รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ด้านโครงข่ายและบริการบรอดแบนด์ที่ทันสมัยให้สามารถใช้งานเชิงพาณิชย์ เพื่อลดต้นทุนในการให้บริการ บรอดแบนด์แก่ประชาชน ลดการพึ่งการนำเข้า และสนับสนุนการพัฒนาของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม กิจการ กระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์

๔.๒ การพัฒนาการใช้ประโยชน์จากบรอดแบนด์

๔.๒.๑ สนับสนุนให้มีการใช้งานบรอดแบนด์อย่างกว้างขวาง เพื่อขยายตลาดและฐานผู้ใช้งาน โดยส่งเสริมการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ ( Applications) และเนื้อหา ( Content) ที่หลากหลาย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิตประจำวันของ ประชาชน รวมทั้ง เชื่อมโยงระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ บริการการศึกษา บริการสาธารณสุข บริการข้อมูลข่าวสาร และบริการอื่นของภาครัฐ ผ่านบริการบรอดแบนด์ เพื่อสร้างอุปสงค์ในบริการบรอดแบนด์อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ ภาครัฐจะต้องระมัดระวังมิให้ส่งผลกระทบหรือเกิดการบิดเบือนของกลไกตลาด

๔.๒.๒ ส่งเสริมการพัฒนาทักษะและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ    ( IT Literacy) และการรู้เท่าทันและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารอย่างสร้างสรรค์ ( Information literacy) ของประชาชน ชุมชนและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ( SMEs) ให้สามารถใช้ประโยชน์จากบริการบรอดแบนด์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และใช้เป็นโอกาสในการสร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเอง โดยเฉพาะประชาชนในชนบท กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มเกษตรกร ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ

๔.๒.๓ ส่งเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการในธุรกิจทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับบริการบรอด แบนด์ เช่น ผู้ประกอบการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคม ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ผลิตโปรแกรมประยุกต์ ผู้ผลิตเนื้อหา ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

๔.๒.๔ กำหนดมาตรการสนับสนุนและจูงใจในการใช้บรอดแบนด์ เพื่อลดการใช้พลังงานและการใช้ทรัพยากร ทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการ โดยเฉพาะในภาคการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์

๔.๓ การประกันความมั่นคงปลอดภัยของโครงข่ายบรอดแบนด์และความปลอดภัยของสังคมโดยรวม

๔.๓.๑ พัฒนายกระดับบุคลากรผู้เชี่ยวชาญความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศและโครงข่ายทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ

๔.๓.๒ มีการสร้างโครงข่ายทางเลือกหลายเส้นทางที่ใช้เชื่อมโยงประเทศไทยไปสู่ประเทศ ในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก โดยไม่จำกัดรูปแบบไม่ว่าจะเป็นเคเบิลใต้น้ำ เคเบิลพื้นดิน หรือดาวเทียม และจะเปิดกว้างให้มีการลงทุนในลักษณะดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยภาครัฐ ภาคเอกชน หรือการร่วมลงทุน

๔.๓.๓ กำหนดมาตรการป้องกันผลกระทบเชิงลบและภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ บริการบรอดแบนด์อย่างแพร่หลาย โดยสร้างความเข้าใจแก่ทุกภาคส่วนเกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบเชิง ลบที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งการดำเนินมาตรการอย่างจริงจังในการป้องกันอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต
การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล และการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

๔.๓.๔ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบ และบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับข้อมูลที่มีความสำคัญ เช่น ข้อมูลดิน น้ำ อากาศ จราจร หรือข้อมูลที่เกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติต่าง ๆ และพัฒนาระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ เหตุฉุกเฉิน ผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ ให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างทันท่วงที และเชื่อถือได้ รวมทั้งมีแผนฉุกเฉิน รองรับในกรณีที่โครงข่ายบรอดแบนด์นี้ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติดังกล่าว

๔.๓.๕ สร้างความตระหนักและให้ความรู้แก่ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน ภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศถึง แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ด้านสารสนเทศ

๔.๔ การบริหารจัดการขับเคลื่อนนโยบายและการประสานการกำกับดูแล

๔.๔.๑ ให้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ บูรณาการคณะทำงานในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและจัดตั้งคณะอนุกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีหน้าที่ (๑) จัดทำกรอบแผนการดำเนินการเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายตามนโยบายบรอดแบนด์ แห่งชาติ (๒) กำหนดตัวชี้วัดและวิธีประเมินผลที่จำเป็นสำหรับการติดตามความสำเร็จของ นโยบาย (๓) เสนอองค์กรที่รับผิดชอบดำเนินการตามแผนปฏิบัติการข้างต้น (๔) จัดทำรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินการตามนโยบายฯ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี และสาธารณะเป็นระยะ ๆ

๔.๔.๒ จัดให้มีการประสานงานกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน รวมทั้งองค์กรกำกับดูแล เพื่อสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันการให้บริการ ภายใต้หลักเกณฑ์การกำกับดูแลที่เอื้อต่อการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม รวมทั้ง บูรณาการเป้าหมายและแผนงาน ทรัพยากรโทรคมนาคม และทรัพยากรการลงทุนของประเทศในภาพรวม เพื่อจัดให้มีบริการบรอดแบนด์อย่างทั่วถึง มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม อันจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาประเทศและการยกระดับคุณภาพ ชีวิตของประชาชน

๔.๔.๓ การดำเนินงานตามนโยบายนี้ จะได้รับการสนับสนุนจากการลงทุนโดยมาตรการสนับสนุนของภาครัฐ หรือผู้ประกอบการทุกราย หรือจากกองทุนตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ….

View :2799

เก๋ไก๋มากสำหรับจดหมายเชิญ Flip Video Camcorder จากเอ็มดีซิสโก้

September 8th, 2010 No comments

นับเป็นการเชิญไปร่วมงานแถลงข่าวรูปแบบใหม่ที่น่าประทับใจมากๆ สมแล้วที่ซิสโ้ก้ฯ เป็นผู้นำด้าน VDO Conferencing

จดหมายเชิญ Flip Video Camcorder จากเอ็มดีซิสโก้

A message from ดร.ธัชพล โปษยานนท์.
ซิสโก้ขอเชิญร่วมงานแถลงข่าวความสำเร็จของซิสโก้ ประเทศไทย ปี 2010 ที่ผ่านมาและกลยุทธ์การรุกตลาดในปี 2011

วัน / เวลา / สถานที่
วัน: ศุกร์ที่ 10 กันยายน 2553
เวลา: 13.00 – 16.00 น.
สถานที่: ณ ห้องคลาสรูม 1-2 โซนแคมปัส โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ

View :2088

ตาม TL ของ @DrNatee39G พูดเรื่อง 3จี

September 6th, 2010 No comments

Dr. Natee Sukonrat

ประกาศ กทช. ว่าด้วยการออกใบอนุญาต 3G ซึ่งเป็นกฎหมายหลักในกระบวนการออกใบอนุญาตครั้งนี้ มีแนวความคิดที่สำคัญประการหนึ่งคือการส่งเสริม MVNO = Mobile Virtual Networks Operator หมายถึง ผู้ประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง

ดัง นั้น MVNO จึงเป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเองแต่อาศัยเช่าใช้จากผู้ที่มีโครงข่าย  จากข้อจำกัดที่ความถี่่มีเพียง 45 MHz ทำให้สามารถออกใบอนุญาตได้เพียง 3 ใบ ซึ่งผู้ที่ชนะการประมูลจะเป็น MNO (Mobile Networks Operator)

ดัง นั้นสาระสำคัญของความสัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่าง MNO กับ MVNO ก็คือ MNO เป็นผู้ขายส่ง ในขณะที่ MVNO เป็นผู้ประกอบกิจการขายปลีก วัตถุประสงค์ในการออกใบอนุญาตในครั้งนี้ที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ เพิ่มการแข่งขัน อาจสำเร็จได้ด้วยการเพิ่มผู้ประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที คณะกรรมการ 3G จึงได้กำหนดให้ MNO ทั้ง 3 ราย จะต้องประกันขีดความสามารถในการให้บริการ (Capacity) สำหรับ MVNO อย่างน้อย 40% ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นนโยบายที่สำคัญมาก เนื่องจาก MNO จะต้องลงทุนจำนวนมาก คนไทยจำนวนน้อยมีขีดความสามารถลงทุนมหาศาลเป็น MNO ได้  เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบกิจการคนไทยที่ต้องการให้บริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่แต่มีทุนไม่เพียงพอ กทช. จึงกำหนดให้มีการประกัน 40% ดังกล่าว

ใน 40% อาจมี MVNO มากกว่า 1 ราย สาระสำคัญก็คือ การโอกาสของผู้ประกอบกิจการคนไทยรายเล็กและกลาง ได้มีโอกาสให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ นอกจากผู้ประกอบกิจการทั่วไปแล้ว ยังมีคนไทยที่มีขีดความสามารถคิดนวัตกรรมใหม่ๆ ให้บริการผ่านโครงข่าย จะสามารถใช้ช่องทางเหล่านี้ได้อีกด้วย ประกาศกำหนดให้ MNO ไม่สามารถปฏิเสธการมาขอเป็น MVNO ของรายเล็กและรายกลางที่ต้องการได้ เว้นแต่มีผู้บริการ MVNO อยู่แล้วมากกว่า 40% VNO มีหลายระดับจากต่ำสุดคือ Thin MVNO มีเฉพาะซิมขาย ถัดมาเป็น Medium MVNO นอกจากซิมแล้วยังมีระบบคิดเงินและอุปกรณ์หลักอื่นๆ  ระดับสูงสุดจะเป็นรูปแบบที่เรียกว่า Full MVNO ซึ่งจะมีโครงสร้างเกือบทุกอย่างเช่นเดียวกับ MNO เว้นแต่ไม่มีคลื่นความถี่ใช้งานเป็นของตนเอง กทช. หวังว่าหลังจากออกใบอนุญาต 3G แล้วเราจะเห็น Thin MVNO จำนวนหลายรายพัฒนาไปเป็น Medium และ Full MVNO เมื่อเวลาผ่านไป

เรา อยากจะเห็น Full MVNO พัฒนาไปเป็น MNO เมื่อเป็น 4G ในวันข้างหน้า จากการส่งเสริมดังกล่าวมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาผู้ประกอบกิจการคนไทย  นอกจากจะต้องให้โอกาสกับ MVNO แล้ว กทช. ยังต้องกำหนดราคาขายในลักษณะที่เป็นการขายส่งที่จะต้องไม่ทำให้ MVNO ไม่สามารถประกอบกิจการได้ เรากำลังคิดราคาในลักษณะสัดส่วนของราคาขายปลีก ที่ MNO ให้บริการอยู่ เช่น อาจลดลงจากราคาขายปลีก 20-30% เป็นค่าการตลาดให้ MVNO

การกำหนด MVNO เป็นช่องทางหนึ่งที่สร้างโอกาสให้กับคนไทยที่มีทุนน้อยแต่มีนวัตกรรมและ เพิ่มการแข่งขันเกิดประโยชน์กับผู้บริโภคโดยรวมครับ

Dr. Natee Sukonrat , Commissioner of the  National Telecommunications Commission

View :2771

CRM: เครื่องมือทางการตลาดที่ ไม่ใช่ ‘Nice to have’ อีกต่อไป

July 29th, 2010 No comments

เป็นการกล่าวอ้างที่ไม่ผิดนักหากจะกล่าวว่า การแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบัน องค์กรธุรกิจจำนวนมากในได้ทุ่มเททรัพยากรขององค์กรเพื่อแข่งขันกันสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าปัจจุบันของตนมากพอๆ กับการทุ่มเทพลังในการหาลูกค้าใหม่ และจากการงานวิจัยทางการตลาดพบว่าต้นทุนของการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าเดิมนั้นต่ำกว่าต้นทุนในการสร้างลูกค้าใหม่อยู่หลายเท่าตัว จึงไม่แปลกที่ในปัจจุบันองค์กรธุรกิจน้อยใหญ่ต่างเริ่มหันมาให้ความสนใจและให้ความสำคัญในการลงทุนในระบบเทคโนโลยีเพื่อที่จะเป็นเครื่องไม้เครื่องมือช่วยให้องค์กรของต้นนั้นสามารถที่จะมีความสามารถในการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าที่ดีขึ้นซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็ม (Customer Relationship Management: CRM) กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของนักการตลาดในทุกองค์กรธุรกิจตั้งแต่ระดับใหญ่ไล่ลงมาถึงระดับเล็ก เพราะบริษัททุกขนาดต่างมีพันธกิจเดียวกัน นั่นคือ การต้องรักษาลูกค้าเก่าให้มั่น ในขณะเดียกวันก็ต้องพยายามขยายฐานลูกค้าใหม่ให้มาก

CRM: หัวใจของการแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบัน

ในยุคที่โลกการแข่งขันทางการตลาดกำลังเคลื่อนจากโลกออฟไลน์ไปสู่โลกออนไลน์มากขึ้น ระบบซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มก็จะยิ่งมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ดร.เอียน เอียน เฟนวิค ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดจากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนมาสู่การปฎิสัมพันธ์กันผ่านโลกของสังคมออนไลน์มากขึ้น และคัมภีร์การตลาดยุคดิจิตอลได้เปลี่ยนจาก 4Ps ในอดีต คือ Product, Price, Place และ Promotion ไปสู่ ‘New 4Ps’ ได้แก่ Permission, Participation, Profile และ Personalization ดังนั้นนักการตลาดและนักธุรกิจที่จะกุมชัยชนะในเกมการตลาดยุคใหม่นี้จะต้อง เข้าใจและศึกษาแนวโน้มของการเติบโตของสังคมออนไลน์ (Social Network) ให้ดีและซีอาร์เอ็มจะยิ่งทวีบทบาทและความสำคัญมากยิ่งขึ้น เพราะซีอาร์เอ็มในโลกออนไลน์จะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นหากแต่ละบริษัทรู้จักใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ซึ่งการได้มาของข้อมูลลูกค้านั้น ดร.เอียน กล่าวว่า แต่ละองค์กรจำเป็นจะต้องมีระบบซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลลูกค้าที่เฉลียวฉลาดมากพอ โดยระบบการเก็บข้อมูลและพฤติกรรมทุกการเคลื่อนไหวของลูกค้านั้นจะต้องค่อยๆ ทำทีละเล็กทีละน้อย เพื่อให้ลูกค้าไม่รู้สึกว่ากำลังโดยรุกและรู้สึกสูญเสียข้อมูลส่วนบุคคล หลักการของการเก็บข้อมูลลูกค้าที่ดี บริษัทจะต้องเรียนรู้ลูกค้าแต่ละรายโดยการทยอยเก็บข้อมูลของลูกค้าทีละส่วนๆ และค่อยๆ สานสายสัมพันธ์โดยการสื่อสารในสิ่งที่ลูกค้าสนใจ และแปลเปลี่ยนการสนทนานั้นมาเป็นการตอบโจทย์ทางการตลาดขององค์กรอย่างแนบเนียนที่สุด

“การทำซีอาร์เอ็มในปัจจุบันมีความสำคัญมาก เพราะต้นทุนในการสร้างประสิทธิภาพธุรกิจน้อยกว่ามากหากเทียบกับการลงทุนทางการตลาดในส่วนอื่น และยิ่งในปัจจุบันโลกของการตลาดทวีความเข้มข้นทางการแข่งขันมากขึ้นบนโลกออนไลน์ ซึ่งแนวโน้มคือซีอาร์เอ็มจะยิ่งมีบทบาทและมีความสำคัญมากขึ้น เพราะโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการตลาดเกิดและดำเนินอยู่บนระบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น แนวโน้มซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มในปีนี้จะเป็นระบบซีอาร์เอ็มที่เป็นอัตโนมัติ (Automatic CRM) มากขึ้น นั่นคือ ระบบซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มจะมีความฉลาดมากขึ้นและทำงานเป็นระบบอัตโนมัติ ซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มจะสามารถทำงานได้ดีมากขึ้น อาทิ ซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มจะทำงานอย่างอัตโนมัติกับระบบฐานข้อมูลลูกค้า และระบบการตลาดออนไลน์ เป็นต้น”

ทศวรรษนี้เป็นทศวรรษที่สองของการลงทุนในระบบซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มขององค์กรธุรกิจทั่วโลกรวมถึงบริษัทธุรกิจในประเทศไทย โดยในทศวรรษที่สองของซีอาร์เอ็มจะเป็นยุคที่ซีอาร์เอ็มจะเติบโตแบบก้าวกระโดด เพราะองค์กรธุรกิจต่างเรียนรู้ถึงความสำคัญและเข้าใจถึงการลงทุนเพื่อใช้งานระบบซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็ม และพร้อมที่จะเดินหน้าการทำซีอาร์เอ็มอย่างเต็มที่

ในมุมมองของดร.เอียนนั้น ธุรกิจทุกประเภทและทุกขนาดมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ซีอาร์เอ็มด้วยกันทั้งสิ้น เพราะซีอาร์เอ็มได้กลายบทบาทมาเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานที่ทุกธุรกิจจะต้องมีเฉกเช่นเดียวกับระบบงานอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบบริหารทรัพยากรบุคคล หรืออีอาร์พี (ERP: Enterprise Resource Panning) และระบบธุรกิจอัจฉริยะ (BI: Business Intelligent) และการที่องค์กรธุรกิจมีข้อมูล (information) โดยไม่มีการเปลี่ยนข้อมูลนั้นมาใช้เป็นอาวุธในการกำหนดยุทธศาสตร์ทางการตลาดก็เปล่าประโยชน์

ดังนั้น จุดเริ่มประการสำคัญของการที่จะประสบความสำเร็จในการทำซีอาร์เอ็มนั้น ดร.เอียนกล่าวว่า  ผู้บริหารจะต้องมีการกำหนดยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน และต้องสร้างหรือมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับพนักงานทุกคนในทุกหน่วยงานที่จะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องสัมผัสกับลูกค้าโดยตรง (Customer Touch-Point) ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลของลูกค้าแต่ละรายได้ เพื่อที่จะสามารถตอบสนองความต้องการหรือตอบคำถาม และสามารถนำเสนอการตลาดเชิงรุกแก่ลูกค้ารายนั้นได้อย่างตรงเป้ามากที่สุด
“โดยลำพังระบบซีอาร์เอ็มเองจะไม่สามารถช่วยองค์กรให้รักษาฐานลูกค้าเก่าเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเลย หากองค์กรนั้นขาดซึ่งนโยบายจากฝ่ายบริการที่ชัดเจน และขาดซึ่งระบบงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่จะมีส่วนช่วยเปลี่ยนข้อมูลลูกค้าเป็นเม็ดเงินเข้าบริษัทได้” ดร.เอียนกล่าว

SaaS และ Open Source CRM
เปิดโอกาส CRM สำหรับ SME:
ด้านเฉลิมพล ปุณโณทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีที เอเชีย จำกัด บริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มและคอลล์เซ็นเตอร์สัญชาติไทย กล่าวว่า มูลค่าตลาดซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มในประเทศไทยนั้นมีมูลค่าราว 1,000 ล้านบาท และซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มเป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตสูงกว่าอัตราการขยายตัวของตลาดซอฟต์แวร์โดยรวม ซึ่งปีนี้คาดว่ามูลค่าตลาดรวมของซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มอยู่ที่ประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่มูลค่าตลาดรวมซอฟต์แวร์ปีนี้คาดว่าจะมีการขยายตัวเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้เป็นเพราะซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มจะเป็นซอฟต์แวร์ที่อยู่ในลำดับต้นๆ ของการลงทุนทางไอทีขององค์กรธุรกิจไทยในปีนี้

“ ช่วงที่ผ่านมาองค์ธุรกิจไทยในทุกอุตสาหกรรม อาทิ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) ธนาคาร ฟาสฟูดส์ (Fast Food) ดีลิเวอร์ลี่ (Delivery) ประกันชีวิต ประกันภัย และแม้แต่หน่วยงานราชการ อาทิ กรมสรรพากร และกรุงเทพมหานคร เป็นต้น เริ่มให้ความสนใจที่จะลงทุนในระบบซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มมากขึ้น ดูจากฐานลูกค้าของบริษัทพบว่าลูกค้าเริ่มหันมาลงทุนระบบซีอาร์เอ็มเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับบริษัท ลูกค้าเริ่มมีความเข้าใจว่าซีอาร์เอ็มเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เขาสามารถเก็บข้อมูลลูกค้า ศึกษาพฤติกรรมของลูกค้าแต่ละรายแบบลงรายละเอียดได้ และซีอาร์เอ็มช่วยให้บริษัทสามารถรู้จักลูกค้าแทบจะทุกคนของบริษัทได้เป็นอย่างดี และองค์กรธุรกิจเริ่มจะเข้าใจแล้วว่าระบบซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มนั้นเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้บริษัทสามารถบริหารความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าเพื่อรักษาฐานลูกค้าไว้กับบริษัทได้นาน นอกจากนี้ลูกค้าส่วนมากยังเริ่มเข้าใจแล้วว่าระบบซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มไม่ใช่ยาวิเศษที่ลงทุนแล้วจะประสบความสำเร็จทันหากขาดซึ่งองค์ประกอบอื่นที่สำคัญ นั่นคือ การจัดระบบฐานข้อมูลลูกค้า และกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ชัดเจน”

เฉลิมพลยังมองว่า ตลาดซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มอยู่ในช่วงเติบโตอย่างมากเพราะธุรกิจต่างให้ความสำคัญในการลงทุนทำซีอาร์เอ็มกันมากขึ้น ประกอบกับบริษัทผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มต่างหันมาให้บริการระบบซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มผ่านรูปแบบ Software as a Service (SaaS) กันมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้องค์กรธุรกิจขนาดกลางและเล็ก หรือแม้แต่ธุรกิจขนาดใหญ่เอง สามารถลงทุนและมีระบบซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มใช้ได้รวดเร็วขึ้น โดยไม่ต้องลงทุนก้อนใหญ่ แต่จ่ายรายเดือนตามปริมาณการใช้งาน ซึ่งรูปแบบการให้บริการในลักษณะนี้ช่วยเพิ่มยอดการติดตั้งระบบซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มในองค์กรธุรกิจได้อย่างมาก

ตัวอย่างของบริษัทซอฟต์แวร์ต่างชาติที่เริ่มให้บริการซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มแบบ SaaS ได้แก่ บริษัท ซีเบล ซิสเต็มส์ อิงค์ ที่ร่วมมือกับบริษัทไอบีเอ็ม (ประเทศไทย) จำกัด ให้บริการระบบซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มผ่านรูปแบบ Software as a Service (SaaS) ที่เรียกว่า “ซีเบล ซีอาร์เอ็ม ออนดีมานด์” (Seibel CRM on Demand) แก่บริษัทไทย ทั้งธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงองค์กรขนาดใหญ่ โดยมุ่งที่จะให้บริการ “ซีอาร์เอ็ม สำหรับทุกคน” (CRM for Everyone) ซึ่งเป็นซีอาร์เอ็มสำหรับองค์กรทุกขนาด ในทุกอุตสาหกรรม ที่จะมาช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นทางธุรกิจ และเพิ่มผลกำไรให้กับธุรกิจ จากการติดตามและบริหารกระบวนการทำงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับลูกค้า ภายในองค์กรทั้งหมด ตัวอย่างเช่น อีเทเลแคร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ผู้ให้บริการเอาท์ซอร์สด้านคอลเซ็นเตอร์ รายใหญ่ที่สุดโตเร็วที่สุดในประเทศฟิลิปปินส์ ได้รับประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานโซลูชั่นและบริการดังกล่าวได้เต็ม 100% ภายในระยะเวลาเพียงแค่สองสัปดาห์ โดยสามารถรวมศูนย์ระบบงานด้านการขาย การตลาด และการบริการไว้ด้วยกัน เป็นเหตุให้มีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 40%

การให้บริการระบบซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มผ่านรูปแบบ Software as a Service (SaaS) นี้นอกจากจะเปิดโอกาสให้องค์กรธุรกิจขนาดกลางและเล็กสามารถใช้มีระบบซีอาร์เอ็มใช้งานได้โดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนก้อนโต เพียงแต่มีค่าใช้จ่ายเป็นค่าบริการรายเดือน ยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ค่อยเริ่มใช้ซีอาร์เอ็มจากปริมาณการใช้งานโมดูลซอฟต์แวร์เพียงไม่กี่โมดูลก่อน หรือเริ่มจากจำนวนผู้ใช้งานเพียงไม่กี่คนได้ นั่นก็เท่ากับว่าการนำเสนอบริการระบบซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มผ่านรูปแบบ Software as a Service (SaaS) นี้ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นทางธุรกิจและการลงทุนและเพิ่มโอกาสทางการตลาดและการแข่งขันทางธุรกิจให้กับธุรกิจขนาดกลางและเล็ก

นอกจากการให้บริการระบบซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มผ่านรูปแบบ Software as a Service (SaaS) แล้วในปัจจุบัน ยังมีการให้บริการระบบซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มที่เป็นโอเพ่นซอร์สเทคโนโลยี (Open Source CRM) อาทิ SugarCRM และ vtigerCRM ซึ่งการใช้ค่าใช้ซีอาร์เอ็มที่เป็นโอเพ่นซอร์สจะมีจ่ายในการใช้บริการจะต่ำกว่า ซึ่งการใช้ซีอาร์เอ็มที่เป็นโอเพ่นซอร์สเริ่มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีกลุ่มบริษัทซอฟต์แวร์ไทยภายใต้กลุ่ม ชมรมผู้ประกอบการโอเพ่นซอร์ส (BOSS) สังกัดสมาคมสมาพันธ์โอเพ่นซอร์สแห่งประเทศไทย ได้เริ่มมีระบบซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มให้บริการ ซึ่งปัจจุบันซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สสำหรับระบบงานขององค์กรธุรกิจในทุกระดับของการทำงานเริ่มได้รับความนิยมจากองค์กรธุรกิจไทย และระบบซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มเป็นหนึ่งในระบบซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สที่ได้รับความนิยม

Integrated CRM/Social relationship management
แนวโน้ม CRM ในยุคโซเชียล เน็ตเวิร์ค:

อย่างไรก็ดี แม้ว่าหลายองค์กรจะเริ่มมีความตระหนักและตื่นตัวในการที่จะใช้ซีอาร์เอ็มแล้ว แต่ละองค์กรจะต้องคอยจับตามองแนวโน้มของรูปแบบการทำซีอาร์เอ็มในยุคที่อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการสื่อสารในชีวิตประจำวันของคน ซึ่งในยุคนี้ซีอาร์เอ็มจะยิ่งทวีบทบาทและความสำคัญ


ดร.เอียน ให้มุมมองไว้ว่า ในยุคที่โซเชียล เน็ตเวิร์ค (Social Network) กำลังครองเมืองเช่นในปัจจุบัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนเรูปแบบและวิธีการบริหารจัดการความสัมพันธ์ลูกค้าอยู่บ้างพอสมควร นั่นคือระบบซีอาร์เอ็มนั้นนอกจากจะต้องมีความพลวัตตลอดเวลา (Dynamic) แล้วจะต้องมีความเป็นอัตโนมัติ (Automatic) มากขึ้น ระบบซีอาร์เอ็มจะต้องมีความฉลาดและทำงานสอดคล้องกับทุกช่องทางการสื่อสารที่องค์กรมีต่อลูกค้า (Customer Touch-Point) ตั้งแต่พนักงานระบบคอลล์เซ็นเตอร์ พนักงานดูแลระบบอีเมล์ลูกค้า พนักงานขาย ณ จุดขาย พนักงานผู้ดูแลแอคเคาน์เฟซบุ๊ค (Facebook) และ (Twitter) ขงองค์กร พนักงานทุกคนที่ต้องสัมผัส ต้องปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าจะต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลของลูกค้าที่มีการอัพเดทล่าสุดที่เหมือนกันได้เท่าเทียมกัน เพื่อให้การตอบสนองตอบกลับ (Interaction) ลูกค้าสามารถทำได้อย่างไร้รอยต่อ (Seamless Communication)

นอกจากนี้ ระบบซีอาร์เอ็มในยุคใหม่จะต้องเป็น Integrated CRM ที่ต้องสามารถผนวกรวมเข้ากับเทคโนโลยีใหม่อื่นๆ ได้ ดร.เอียนได้ยกตัวอย่างว่า โออิชิ กรุ๊ปที่นำบาร์โค้ดสองมิติ หรือ QR Code มาใช้ในการเก็บข้อมูลลูกค้าและพฤติกรรมของลูกค้า ผ่านการผสมผสานกับออนไลน์เกมที่พัฒนาขึ้นเองที่ชื่อ Café City ซึ่งกลยุทธ์นี้นอกจากจะช่วยเพิ่มยอดขาย “ชาขวด” ให้โออิชิแล้ว ยังเพิ่มจำนวนลูกค้าที่มาปฏิสัมพันธ์กับโออิชิที่หน้า Facebook Fan Page โออิชิได้อย่างมาก ทั้งยังช่วยให้โออิชิรู้ได้ว่าสินค้าตัวไหนขายดีและขายให้กับกลุ่มลูกค้าที่เป็นใคร เพราะตอนลูกค้านำขวดชาโออิชิที่มีแถบ QR Code ไปลงทะเบียนที่หน้า Facebook Fan Page ของโออิชินั้น ระบบซีอาร์เอ็มของโออิชิจะสามารถรู้ข้อมูลบุคคลของคนๆ นั้นจากฐานข้อมูล (Profile) ที่อยู่ในเฟซบุ๊คได้ทันที

ดร.เอียน กล่าวว่า กรณีของโออิชิ ถือเป็นการทำซีอาร์เอ็มที่มีการผสมผสานหลายเทคนิคที่เข้ากันอย่างลงตัว โดยที่ลูกค้าเองไม่รู้สึกว่ากำลังโดนเก็บข้อมูลส่วนตัว เพราะลูกค้าเองอยากจะเล่นเกมและยินดีที่จะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของตนกับการได้เล่นเกม ซึ่งแนวโน้มในอนาคตจากนี้ไป ในยุคโซเชียลเน็ตเวิร์คครองเมืองผู้บริโภคส่วนใหญ่จะยินดีแลกข้อมูลส่วนตัวกับการได้เล่นเกมหรือได้สิทธิเพิ่มในการในบริการแปลกๆ ใหม่ๆ ที่เจ้าของสินค้าจะคิดค้นและนำมาเสนอ ฉะนั้น นักการตลาดจะต้องมีมุมมองที่กว้างและไกลเกินกว่ารูปแบบการทำการตลาดและการทำซีอาร์เอ็มแบบเดิมๆ เพราะในปัจจุบันเทคโนโลยีใหม่ๆ จำนวนมากเกิดขึ้นพร้อมที่จะให้นักการตลาดหยิบมาใช้ผสมผสานกันเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการครองใจลูกค้า ดังนั้น นักการตลาดรุ่นใหม่จะต้องทำอย่างใกล้ชิดกับนักเทคโนโลยี

นอกจากนี้ บริษัทเองก็สามารถประยุกต์ใช้เครือข่ายสังคม หรือโซเชียลเน็ตเวิร์คเป็นเครื่องมือในการสร้างและบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าเป้าหมายได้อย่างง่ายดายและแนบเนียน ที่เรียกว่าการทำ Social relationship management ผ่านเครือข่ายสังคมทั้ง Facebook และ Twitter โดยใช้ทุนน้อยแต่อาศัยเวลาและความทุ่มเทมาก และเพื่อให้การทำซีอาร์เอ็มผ่านเครือข่ายสังคมสัมฤทธิ์ผลเป็นเท่าทวี บริษัทจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมืออื่นๆ รองรับอยู่ข้างหลังบ้าน ไม่ว่าจะเป็นระบบซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มเอง ระบบวิเคราะห์ข้อมูล ระบบวางแผนการตลาด เป็นต้น

“ดูเหมือนว่าการทำซีอาร์เอ็มในยุคใหม่จะเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายกว่า เพราะสามารถมีเครื่องไม้เครื่องมือหรือตัวช่วยให้เลือกใช้มากมาย แต่การทำซีอาร์เอ็มในยุคใหม่ก็มีความท้าทายมากขึ้น เพราะในยุคใหม่นี้ลูกค้ามีความต้องการและการตอบสนองที่แตกต่างกัน ดังนั้น การทำซีอาร์เอ็มในยุคใหม่จะต้องมีความละเอียดอ่อนและลงรายะละเอียดมากขึ้น เพราะลูกค้ามีความเป็นเอกลักษณ์ (Uniqueness) และมีความเป็นส่วนตัว (Personalization) มากขึ้น”

อาจกล่าวได้ว่าไม่ว่ายุคไหนๆ การทำซีอาร์เอ็มหรือการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้านั่นนับว่าเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นสำหรับทุกองค์กร ในทุกประเภทธุรกิจ และในทุกขนาดของธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่แทบทุกองค์กรธุรกิจเริ่มตระหนักชัดแล้วว่าการรักษาฐานลูกค้าเก่าที่ตนเองมีอยู่นั้นยั่งยืนกว่า ใช้งบลงทุนน้อยกว่าได้ผลตอบแทนกลับมากกว่า การทำซีอาร์เอ็มจึงกลายเป็นหัวใจหลักของทุกองค์กรธุรกิจไปแล้วนั่นเอง

View :4254

รมต.ไอซีทีแถลงผลงานรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา

July 16th, 2010 No comments

จุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แถลงข่าวผลงานการทำงานในรอบหนึ่งเดือนที่ผ่านมาหลังเข้ารับตำแหน่ง

“จุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แถลงผลงานในรอบ 1 เดือนที”

View :2771