Archive

Archive for the ‘Technology’ Category

NATIONAL ID: Smart idea born over 20 years ago

June 30th, 2010 No comments

by Asina Pornwasin

Mission to make registration easy led to new card The man behind the ?smart card?, the national ID that will allow easier access to government services both online and off-line, first began to realise his life’s mission more than two decades ago.

Now, with Thailand among the first countries in the world to compel all its citizens to acquire such a card, Surachai Srisaracam said he marvels at how a task he initiated has expanded into one involving a workforce of 20,000.

Surachai now heads one of the largest national schemes “Project Population Registration” and it is entering a crucial phase. Once the Cabinet approves the card’s final design, each citizen will be given a new ID card with a smart chip that will contain information about him or her. But human rights and privacy issues, which have hounded the project’s progress, are sure to resurface.

Misuse or abuse of personal information, or possible input of such information as job changes or criminal background, remains a concern.

Surachai, however, is adamant about the benefits the smart card can give its holder. It all started 20 year ago when Surachai was an official working at the district level. His work was bedevilled by faulty or incomplete information, he said. The problems that occurred most often were incorrect information input through human error, missing documents and out-of-date databases.

These problems made an efficient national registration administration system seem unachievable. At the time, Surachai was studying for a masters degree in Public Administration and Management Information Systems. The problems in his work challenged him to write his thesis on possible solutions.

“It was my dream to apply my knowledge to the organisation, and improve and re-engineer the operations to make them better,” he said.

On returning to his government post after completing his studies, he was tasked with organising a proposal for the smart-card scheme for Cabinet consideration. That was 20 years ago.

“After the plan was approved by Cabinet, we spent two years planning and preparing resources. We used existing resources and then collected as much information as possible from 1,077 offices in76 provinces. It took four years to manually collect all the information we needed,” Surachai said.

The Thai population database consisted of a database of registered households, a database of people, a database of registered voters, and a database of registered marriages and divorces.

“It was complete but the information was not updated because we worked manually. So, all the information from offices in the 76 provinces would be sent to the central office for updating once a month,” he said.

Even though it was updated monthly, the central database made Thailand the first country outside the US to win the Smithsonian Award in 1990 for using IT to improve the management of mankind.

The award encouraged Surachai to move forward with the project. As the director of the Registration Processing Centre, he initiated a project to link all 1,077 offices throughout the country to a computer network in order to improve the efficiency of registration services.

“It was my mission to allow people to spend less time when using the services of the registration offices wherever they are. In Bangkok or in rural areas they should receive the same standard of service,” he said.

All 1,077 offices of the Bureau of Registration Administration throughout the country have been connected via an online network, which allows information about the Thai populace to be updated in real time. When information is changed or updated at any bureau office the database server in Bangkok is automatically updated.

“It also allows us to provide ID card registration for people within 15 seconds instead of three months,” Surachai said.

This is the first step towards realisation of the all-in-one card concept. The card will ultimately come with multiple applications to serve multiple purposes. Instead of being just an ID card containing a person’s name it will also contain other information on the holder’s healthcare insurance, tax record, driving licence and social security status.

“There is no other country that is encouraging its entire population to have a smart card as an ID card. Other countries have issued a national ID smart card as an option for those who want one and are willing to pay for it,” said Surachai.

But these other countries may have good reasons for not compelling people to have such cards. Data-protection legislation is a very complicated matter and until a nation is well equipped enough and has deep-rooted respect for human rights, a smart ID card could be a double-edged sword.

But Surachai said he only considers himself a tech man, and aims to export the knowledge and drive Thailand to be a regional leader in terms of efficient registration of people.

http://www.nationmultimedia.com/home/2004/02/23/headlines/NATIONAL-ID-Smart-idea-born-20-years-ago-94038.html

View :2033

คลาวด์ คอมพิวติ้ง: พลิกรูปแบบกบริการซอฟต์แวร์กับโอกาสของ SME ไทย

May 10th, 2010 No comments

คงไม่ปฏิเสธว่าในบรรดาผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กในประเทศไทยจำนวนมากยังไม่ได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอซีที มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจอย่างเต็มที่มากนัก ทั้งนี้ เหตุผลหลักประการหนึ่งก็คือ ข้อจำกัดเรื่องเงินทุน เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมาหากบริษัทใดต้องการใช้ระบบไอทีนั้นจะต้องลงทุนซื้อระบบมาติดตั้งเองทั้งหมด ข้อจำกัดนี้กำลงถูกทำลายลงโดยเทคโนโลยีที่เรียกว่า คลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Computing)

ทั้งนี้เนื่องจากเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้งนั้นเกิดจากแนวคิดของการนำระบบซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นต่างๆ ไว้ที่เครื่องแม่ข่ายกลาง จากนั้นก็อนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถล็อกอินเข้ามาในระบบเพื่อใช้งานระบบซอฟต์แวร์ต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้จากที่บริษัทของตน ซึ่งคลาวด์ คอมพิวติ้ง ยิ่งเป็นที่สนใจอย่างมากในแวดวงธุรกิจทั่วโลกในปีที่ผ่านมา เพราะคลาวด์ คอมพิวติ้ง คือ แพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้ธุรกิจที่ต้องการใช้งานระบบไอทีได้มีทางเลือกในการเช่าใช้ระบบแทนที่จะต้องลงทุนซื้อระบบ ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจขนาดกลางและเล็กที่อาจจะมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ

นอกจากนี้ คลาวด์ คอมพิวติ้ง ยังช่วยให้ผู้ประกอบการที่แม้จะไม่เคยมีระบบไอทีใช้มาก่อนเลยก็สามารถเริ่มต้นใช้งานระบบไอทีได้ในระยะเวลาอันสั้น สิ่งที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมี มีเพียงคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพื่อที่จะเชื่อมโยงเข้าไปสู่ระบบแอพพลิเคชั่นของตนที่ฝากไว้บนคลาวด์ คอมพิวติ้งเท่านั้น

และหลังจากเริ่มต้นใช้งานแล้ว คลาวด์ คอมพิวติ้งยังช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินธุรกิจไปตามปกติ โดยมีระบบไอทีเป็นตัวช่วยหลักโดยไม่ต้องกังวลเรื่องภาระค่าใช้จ่ายเริ่มต้นเท่านั้น แต่ผู้ใช้ยังไม่ต้องกังวลถึงภาระค่าดูแลระบบ ไม่ต้องกังวลเรื่องการพัฒนาแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ และการอัพเกรดระบบใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา เพราะเรื่องเหล่านี้จะถูกยกให้เป็นภาระของผู้ให้บริการคลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Computing Services) ซึ่งรายละเอียดของบริการจะมีความแตกต่างกันขึ้นกับความต้องการใช้งานผู้ใช้ว่าต้องการใช้งานระบบซอฟต์แวร์ระบบใดบ้าง

ทั้งนี้ ด้วยบริการคลาวด์ คอมพิวติ้ง เป็นการให้บริการแบบเช่าใช้ระบบซอฟต์แวร์ ดังนั้น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถเลือกใช้บริการเฉพาะระบบซอฟต์แวร์ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนกับการประกอบธุรกิจของตน เป็นรายประเภทและรายโมดุลของซอฟต์แวร์ไป ค่าใช้บริการก็จะแปรผันตามประเภทและปริมาณของระบบซอฟต์แวร์ที่เช่าใช้ คือใช้เท่าไหนจ่ายเท่านั้น (Pay per Use) โดยผู้ใช้จะต้องชำระค่าใช้บริการซอฟต์แวร์แบบรายเดือน หรือรายปี

เมื่อลักษณะการให้บริการใช้ระบบซอฟต์แวร์บนแพลตฟอร์มของคลาวด์ คอมพิวติ้งเป็นดังนี้ ดังนั้นสิ่งที่จะเกิดควบคู่กันกับ คลาวด์ คอมพิวติ้ง ก็คือรูปแบบบริการซอฟต์แวร์แบบใหม่ที่ไม่ใช่การขายขาด แต่เป็นการให้เช่าใช้ซอฟต์แวร์ หรือที่เรียกกันว่า Software as a Service (SaaS) ซึ่งตามโมเดลนี้ซอฟต์แวร์จะเปลี่ยนจาก “สินค้า” ที่ต้องถูกซื้อ เป็น “บริการ” ที่ต้องจ่ายค่าใช้บริการตามที่ใช้งานจริง SaaS เป็นรูปแบบธุรกิจการให้บริการซอฟต์แวร์ที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน

ซึ่งทั้ง SaaS และคลาวด์ คอมพิวติ้ง นั้นส่งผลดีต่อทั้งผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ และผู้ใช้งาน ทั้งนี้เนื่องจากผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นโมดูลๆ (Module By Module) เพื่อให้บริการลูกค้าเฉพาะบางโมดูลได้ โดยที่ไม่ต้องพัฒนาซอฟต์แวร์ทั้งระบบ ซึ่งช่วยลดต้นทุนและลดระยะเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ในขณะที่ผู้ใช้บริการก็สามารถเลือกใช้เฉพาะซอฟต์แวร์โมดูลที่ตัวเองต้องการโดยไม่ต้องเสียเงินซื้อซอฟต์แวร์ทั้งระบบ ที่สำคัญลูกค้าไม่ต้อง “ซื้อ” แต่เปลี่ยนมาจ่าย “ค่าเช่าใช้” ซอฟต์แวร์โมดูลที่ตนเองใช้งานเท่านั้น

ปัจจุบันมีบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่จำนวนมากเริ่มให้บริการคลาวด์ คอมพิวติ้ง ให้กับลูกค้าในประเทศไทย อาทิ ออราเคิล ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) ไอบีเอ็ม (ประเทศไทย) และซันไมโครซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็เริ่มมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ไทยจำนวนมากหันมาให้บริการระบบซอฟต์แวร์ให้ลูกค้าผ่านรูปแบบ SaaS มากขึ้น

ทั้งหมดทั้งมวลนี้นับว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ธุรกิจไทยโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กที่จะสามารถเข้าถึงระบบไอทีขนาดใหญ่และระบบซอฟต์แวร์ที่มีความจำเป็นต้องใช้งานได้ภายใต้ต้นทุนที่ลดลง เชื่อแน่ว่าในปีนี้จะมีการขยายตัวของบริการคลาวด์ คอมพิวติ้งและ SaaS อย่างมาก และอานิสงค์ของการเติบโตดังกล่าวจะตกเป็นของเอสเอ็มอีไทยนั่นเอง…

View :2794

iPad … ใครว่าฆ่าหนังสือพิมพ์….?

May 7th, 2010 1 comment

หากจะกล่าวว่าหลงใหล iPad ตั้งแต่แรกเห็นตอนสตีฟ จ๊อบถือและโชว์ในดูผ่านจอทีวีในงานเปิดตัวเมื่อต้นปีที่ผ่านมาก็คงจะไม่เกินจริงเกินไปนัก เพราะโดยส่วนตัวแล้วระยะหลังมานี้จะชอบการอ่านบนจอ LCD มากขึ้น เนื่องเพราะความงกกลัวเปลืองหมึกต้องมานั่งพริน กอปรกับในปัจจุบันมีเรื่องราวข่าวสารมากมายรอการอ่านอย่างรวดเร็วมากต่อวัน เพราะฉะนั้นการปรับนิสัยให้คุ้นชินกับการอ่านบนวัสดุสะท้อนแสงแทนการอ่านบนกระดาษจะช่วยให้ชีวิตสะดวกขึ้นเยอะ บวกกับระยะหลังมานี้ต้องออนไลน์อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์และ iPhone มากกว่า 10 ชั่วโมงต่อวันด้วยแล้ว ยิ่งต้องการอุปกรณ์ที่คิดว่าใช่และเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของตัวเองค่อนข้างมาก

จนวันหนึ่งได้มีโอกาสมาสัมผัสกับเจ้า iPad ด้วยความบังเอิญผสมตั้งใจ เลยได้มีโอกาสลองใช้ ก็พบว่าความรู้สึกแรกที่มีต่อเจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้มิได้เกินจริง หรือ มิใช่เรื่องของกระแสนิยมแต่อย่างใด แต่ชอบเพราะมัน “ตรง” ใจ “ตรง” ความต้องการอย่างมากนั่นเอง

ด้วยความเป็นคนข่าวจึงชอบติดตามข่าวสารจากสื่อทั้งไทยและเทศโดยเฉพาะข่าวเทคโนโลยี แต่ช่วงนี้เนื่องจากการข่าวการเมืองในประเทศร้อนแรงเหลือเกินจึงอดไม่ได้ที่จะติดตามหาข่าวสารการเมืองไทยในสายตาสื่อนอกเพื่อดูว่าเขามองและคิดกับเราอย่างไร และ iPad ให้การท่องเว็บเป็นไปอย่างสนุกสนานและสะดวกสบายมาก แต่ขอบอกก่อนนะว่า เป็นการท่องเว็บผ่าน WiFi อยู่ที่บ้าน ด้วยรูปทรงที่เป็นเหมือนกระดานชนวน ที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริมอื่นใด (ทั้งเมาส์ คีย์บอร์ด หรือปากกา) นอกจากปลายนิ้วของเราเอง ทำให้การใช้งาน iPad เป็นไปด้วยความสะดวก แต่เริ่มตั้งค่า WiFi จากนั้นทุกครั้งที่เปิดสัญญาญเราท์เตอร์ที่บ้าน เจ้า iPad ก็จะออนไลน์เองอัตโนมัติ สะดวก สบายอย่างมาก

จอใหญ่…สัมผัสใหม่…ประสบการณ์ใหม่….เร้าใจกว่า!!!

หน้าจอใหญ่ถึง 9.7 นิ้ว ทำให้การอ่านหรือการมองจอเป็นไปอย่างสบายตามากกว่าบน iPhone มาก (เห็นว่า iPad เท่ากับ iPhone 4 เครื่องมาเรียงต่อกัน) ดังนั้นประสบการณ์การมองจอใหญ่ๆ แล้วมามองจอเล็กนั้น รู้สึกถึงความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด อีกอย่าง เนื่องจากจอ iPad นั้นเป็นจอสี LCD ทำให้จอมันเคลียร์ใสกิ๊ก แลดูสวยดี (แต่อาจไม่เหมาะกับคนที่ไม่ชอบอ่านบนจอ LCD) แต่ข้อเสียประการหนนึ่งของจอแบบนี้คือ ไม่สามารถนำไปใช้งานในที่ที่มีแสงแดดที่ไม่ต้องจ้ามาก (แค่นั่งอยู่ใต้ชายคา) จอก็จะสะท้อนแสงอย่างมาก จนจอ LCD กลายเป็นกระจกส่องหน้าเราดีๆ นี่เอง คือมองเห็นข้อความ รูปภาพที่อยู่ในจอ แต่จะมีแสงสะท้อนมาก ทำให้ต้องแยกประสาทตาอย่างมาก ทำให้อ่านนานแล้วจะมึนศีรษะได้ จึงไม่แนะนำให้ใช้ในที่โล่งแจ้ง

ประสบการณ์การท่องเว็บผ่าน iPad อาจจะไม่ราบรื่น สนุกสนานได้อรรถรสเท่าโน๊ตบุ๊คก็ตรงที่ iPad ไม่มี Flash ทำให้เวลาเข้าเว็บที่มี Flash แล้วเหมือนเว็บมันเสีย จึงพลอยทำให้คนเข้าเสียอารมณ์ไปด้วย แต่เว็บหนึ่งที่เข้ก่อนเลยก็คือ Google โอเคไม่มีปัญหา (เสียดkยอยู่อย่างเดียวคือไม่สามารถพิมพ์คำค้นภาษาไทยได้นั่นเอง)

แต่ทั้งนี้นั้น การท่องเว็บด้วย Safari บนหน้าจอ LCD ขนาด 9.7 นิ้วก็เป็นอีกประสบการณ์ที่น่าประทับใจ รู้สึกแปลกตาเมื่อมองเว็บของหนังสือพิมพ์ The Nation บน iPad

ไม่ว่าจะมองในแนวตั้งหรือตะแคงจอมองในแนวนอน ก็จะเห็นว่าเว็บธรรมดาที่เห็นจนคุ้นตาบนจอคอมพิวเตอร์ ก็ดูสวยมากขึ้นเมื่ออยู่บน iPad

ท่องโลกแอพฯ ที่ชอบ…(แอพฯข่าวนั่นเอง) บน iPad:

อย่างไรก็ดี เมื่อใช้ iPad แล้ว สิ่งหนึ่งที่อยากจะลองมากคือ แอพพลิเคชั่นที่มีมากมายมหาศาลบน iTune ดังนั้นแทนที่จะนั่งท่องเว็บ ผ่าน Safari ก็หันไปลองแอพพลิเคชั่นบน iPad แทน โดยจะเน้นที่แอพพลิเคชั่นของข่าวเป็นหลัก ทั้งของสำนักข่าว ของหนังสือพิมพ์เอง และของผู้รวบรวมและให้บริการข่าว (News Aggregators) ก็พบว่า จอใหญ่กว่า ทำให้การนำเสนอของผู้ให้บริการข่าวนั้นแตกต่างออกจากเดิม และเท่าที่ควานหาแออพลิเคชั่นจากทุกมุมของ iTune for iPad ก็พบว่าแต่ละค่ายก็มีมุมมองในการนำเสนอ “รูปแบบของการนำเสนอข่าว” ที่แตกต่างกันออกไป ก่อนที่จะไปดูในแต่ละราย ที่แน่ๆ รูปแบบที่นำเสนอบน iPad และบน iPhone นั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ….

เิริ่มที่ตัวสำนักข่าวก่อนเลย … จะเห็นได้ว่าตอนนี้มีสำนักข่าวหลายรายเริ่มมีบริการข่าวบน iPad กันแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะมีบริการข่าวบน iPhone มาก่อนทั้งนั้น ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่ารูปแบบการนำเสนอเนื้อหาของสำนักข่าวเดียวกันมีความแตกต่างกันมากเมื่ออยู่บน iPhone และ iPad

เริ่มกันที่ USA Today ที่มีบริการทั้งบน iPhone และบน iPad แต่จะเห็นได้ชัดเจนวิธีการนำเสนอนั้นต่างกันสิ้นเชิง จอใหญ่ก็ได้เปรียบอยู่หลายขุมจริงๆ

  • USA Today เวอร์ชั่น iPad

USA Today on iPadUSA Today เวอร์ชั่น iPad

  • USA Today เวอร์ชั่น iPhone
  • USA Today for iPhone (Display on iPad)

  • Reuters เวอร์ชั่น iPad

Reuters on iPad

  • Reuters เวอร์ชั่น iPhone
  • Reuters for iPhone (Display on iPad)

    จะเห็นความแตกต่างของการนำเสนอเนื้อหาบน iPad และ บน iPhone ได้อย่างชัดเจน

นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่าพอมาอยู่บนจอขนาดใหญ่แล้ว ทำให้หน้าตาของนหังสือพิมพ์ออนไลน์น่าอ่านมากขึ้น และให้ความรู้สึกคล้ายๆ กับว่าเรากำลังอ่านหนังสือพิมพ์ในรูปแบบกระดาษอยู่ เพราะการนำเสนอของหนังสือพิมพ์บนจอ iPad ยังคงกลิ่นอายของการจัดหน้าสไตล์ดั้งเดิมอยู่ เพราะในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ คุณจะได้เห็นหัวข้อข่าวต่างๆ รวดเร็วเพียงแค่ผ่านสายตาในแวบแรก เช่นนี้….

  • The Wall Street Journal เวอร์ชั่น iPad

The Wall Street Journal on iPad

  • The New York Times (Editor’s Choice) เวอร์ชั่น iPad

The New York Times (Editor's Choice) on iPad

  • BBC News เวอร์ชั่น iPad

BBC News on iPad

ทั้งนี้ ข้อดีของการนำเสนอข่าวบน iPad นั้นคือ มีความลึกในการนำเสนอมากกว่า แทนที่ผู้อ่านจะต้องนั่งพลิกเปลี่ยนหน้ากระดาษ แค่เอานิ้วจิ้มไปที่หัวข้อข่าว หรือคอลัมน์ หรือรูปภาพ แม้กระทั่งบนวีดีโอ เท่านั้นหน้าข่าวนั้นๆ ก็จะป็อบอัพขึ้นมาให้อ่านกันอย่างเต็มๆ ทันที ซึ่งบางค่ายก็ออกแบบมาให้เิปิดหน้าใหม่ แต่บางรายก็ใช้หน้าเดิม ซึ่งรูปแบบจะเหมือนการตั้งค่าเว็บ template นั่นแล จะเลือกวิธีการนำเสนอข้อมูลอย่าไรขึ้นกับสไตล์ของแต่ละสำนักข่าว

ข้อดีอย่างหนึ่งของบริการข่าวบน iPad คือ นอกจากจะเก็บเงินค่าแอพพลิเคชั่นได้แล้ว ยังสามารถขายโฆษณาได้ด้วย เนื่องจากโครงสร้างของการนำเสนอนั้นมีหน้าตาคล้ายหนังสือพิมพ์ นั่นคือ มีพื้นที่มากพอที่จะมีโฆษณาที่แลดูสวยงามได้ …

ลองมาดูการเิดินเนื้อหากันบ้าง พอจิ้มตรงเนื้อข่าว หน้าข่าวนั้นก็จะขึ้นมาให้อ่านแบบเต็มๆ กัน

iPad จึงเหมาะแก่การอ่านหนังสือพิมพ์อย่างมาก ….

  • BBBC News

  • Reuters

มาดูข่าวเฉพาะทางกันบ้าง นั่นคือ ข่าวหุ้นและการเงิน คงจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก Bloomberg ซึ่งหน้าแรกของแอพพลิเคชั่น Bloomberg บน iPad นั้นออกแบบได้สวยงามน่าดูชมจริงๆ

Bloomberg on iPad

หน้าต่อมาของ Bloomberg ก็สวยใช่หยอก เนื่องพราะข่าวที่นำเสนอจะเป็นข่าวสารทางการเงินและข่าวหุ้นเป็นหลัก ฉะนั้น การนำเสนอข่าวประเภทนี้ให้อ่านเข้าใจง่ายย่อมหนีไม่พ้นการนำเสนอด้วยกราฟดังนี้

การนำเสนอของ Bloomberg บน iPad สวยมาก

มาดูที่สำนักข่าวเอพีกันบ้างดีกว่า…สำนักข่าว AP มาแปลกเพราะแทนที่จะนำเสนอในรูปแบบหนังสือพิมพ์ กลับนำเสนอแบบเหมือนโน้ตแปะไว้…พอจิ้มเข้าไปก็เจอกับข่าวและรูปสวยเมื่อดูบนจอ iPad

และเหมือนเช่นเคย แทบทุกเว็บข่าวจะสามารถให้เราแชร์เรื่องไปยังเพื่อนของเราที่ Facebook และ Twitter ได้อย่างสะดวกและง่ายดาย เพียงแต่คุณอาจจะต้องผูกบัญชีกันก่อนในครั้งแรกเท่านั้น ในครั้งต่อไปเพียงกดปุ่ม ‘share’ เท่านั้นก็ส่งได้เลย..

และอีกหนึ่งคุณภาพจากสำนักข่าว AP ก็คือ รูปภาพ…ภาพข่าวของที่นี่สวยดี ลองมาดูกัน ภาพข่าวของ AP บน iPad นั้นมีให้เลือกมากพอๆ กับบนเว็บ แต่เวลา display แล้วมันจะแลดูสวยกว่า (ไม่รู้คิดไปเองไหม) ลองดูเอาละกันนะคะ

สำหรับ ChinaDaily แม้จะมีบริการข่าวทั้งบน iPhone และ iPad แต่รูปแบบของการนำเสนอข่าวยังคงเหมือนกัน คือเน้น ข้อความมากกว่ารูปภาพ (นี่เท่ากับว่าไม่ได้ใช้ศักยภาพและประโยชน์จากเจ้า iPad ได้อย่างเต็มที่อย่างที่ควรจะเป็นนะเนี่ย) ทำให้หน้าตาบริการข่าวแลดูเหมือนหน้าของทวิตเตอร์ไปซะงั้น….

ซึ่งข้อดีของ iPad (และ iPhone) คือ คุณสามารถขยายข้อความขึ้นมาจนใหญ่พอที่คุณจะอ่านสะดวก

นอกจากเว็บของสำนักข่าวเองแล้ว ปัจจุบันคนยังนิยมเสพข่าวจากผู้ให้บริการรวบรวมข่าว (News Aggregators) ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีผู้ใ้ห้บริการหลายรายมากขึ้นทั้งบน iPhone และบน iPad ดูเหมือนว่าเหล่า News Aggregators นี้จะไวกว่าสำนักข่าวเองเสียอีก…

นี่คือตัวอย่างบริการข่าวบน iPad ของบรรดา News Aggregators….

อีกราย…

News Aggregators อีกราย…แต่อ่านไ่ม่ออก…. จะเห็นว่าการจัดวางหน้านั้นจะคล้ายๆ กันหมด…ทั้งนี้ เชื่ออว่าในอนาคตคงจะได้เห็นการจัดหน้าที่ฉีกแนวออกไปบ้าง ตอนนี้อาจเพราะเป็นช่วงเริ่มต้น

และอีกราย… Daily News มีบริการทั้งบน  iPhone และบน  iPad

ข้อดีของการใช้บริการรวบรวมข่าวก็คือ คุณสามารถอ่านข่าวได้จากหนังสือพิมพ์มากกว่าหนึ่งฉบับ ประหยัดเวลา…

นอกจากข่าวแล้วภาพข่าวยังเป็นสินค้าหนึ่งที่สำนักข่าวสามารถทำเงินจากมันได้ และยิ่งได้อุปกรณ์ในการดูภาพสวยๆ อย่าง iPad ช่วยทำให้ภาพข่าวสวยขึ้นอย่างมาก…ไม่เชื่อลองดูด้วยตาคุณเอง…

ยังมีสำนักข่าวและ News Aggregators อีกหลายรายที่มีบริการบน iPhone แล้วแต่ัยังไม่มีเวอร์ชั่น iPad (ณ ตอนที่ทดสอบอยู่นี้ แต่ตอนนี้มีหลายรายแล้วทยอยมีเวอร์ชั่น iPad อาทิ Mashable เป็นต้น)

นี่คือตัวอย่างของบริการข่าวที่มีให้บริการแล้วบน iPhone แต่ยังไม่มีบน iPad เชื่อว่าเร็วๆ นี้คงได้เห็นอย่างแน่นอน…

หน้าตาของการนำเสนอข่าวบน iPad นั้นสวยงาม น่าอ่านจริงๆ เสียดายตรงที่ยังไม่สะดวกนักหากนำ iPad ไปใช้นอกสถานที่ที่ไม่มีสัญญาณ WiFi แต่ปัญหานั้นคงหมดไปเมื่อใช้รุ่น iPad 3G

สรุปคือ โดยส่วนตัวมองเว่า iPad นั้นเป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะเอาไว้บริโภคข้อมูลข่าวสาร แค่เฉพาะจากสื่อกระแสหลักอย่างเดียวที่เล่ามาให้ฟังนี้ก็ทำให้คุณเพลิดเพลินหายเข้าไปในจอเกือบสิบนิ้วนี้ได้นานทีเดียว โชคดีที่แบตเตอร์รี่ของ iPad นี้ใช้ได้นานกว่า iPhone ค่อนข้างมาก คืออยู่ได้ทั้งวันเต็มๆ สบายๆ แต่เวลาชาร์จต้องเสียเวลามากกว่าตอนชาร์จ iPhone  และสิ่งที่แตกต่างอีกอย่างคือ ตอนเสียบ iPad เข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อซิงคน์ข้อมูลจะไม่มีการชาร์จเกิดขึ้น ไม่เหมือน  iPhone แม้ว่า ณ ปัจจุบันเราจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นตรงจาก iPad เราต้องดาวน์โหลดผ่านคอมพิวเตอร์ (ซึ่งความสะดวกจะน้อยลงไปบา้าง) แต่ก็เชื่อแน่ว่าหากใครที่ใช้ iPhone อยู่แล้วรับรองไม่หลงรัก หรือไม่ชอบ iPad เห็นจะเป็นการพูดไม่จริง …

View :5398
Categories: Technology Tags: , ,

“เกรซ ออฟ อาร์ท”….ผู้ผลิตอัญมณีไทย ใช้ไอทีเป็นตัวหนุน..เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส

April 30th, 2010 No comments

ด้วยความเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กที่มีรายได้หลักจากการรับจ้างผลิตสินค้าอัญมณีตามความต้องการของลูกค้าจากต่างประเทศ ครั้นเมื่อสภาพตลาดอัญมณีโลกเริ่มเปลี่ยนและมีคู่แข่งที่เป็นผู้รับจ้างผลิตจากจีนเข้ามาแย่งลูกค้าด้วยกลยุทธ์ราคาที่ต่ำกว่า  ทำให้ผู้ประกอบการอัญมณีไทยอย่าง บริษัท เกรซ ออฟ อาร์ท จำกัด ต้องปรับกระบวนท่าทางธุรกิจอย่างมากจนกระทั่งกลับมาแข่งขันในตลาดอัญมณีโลกได้อย่างสง่างามอีกครั้งหนึ่ง…ซึ่งเบื้อหลังของความสำเร็จครั้งนี้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอที (IT: Information Technology) มีบทบาทอย่างมาก…..

จากคำบอกเล่าของผู้บริหารวัย 27 ปีอย่าง ธันยพร เชี่ยวหัตถ์พงษ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและส่งออก ทายาทรุ่นสองที่เข้ามาบริหารกิจการพบว่า บริษัท เกรซ ออฟ อาร์ท จำกัด ผู้ผลิตอัญมณีไทยขนาดกลางโดนแรงกดดันจากการแข่งขันที่รุนแรงจนรายได้ถดถอยต่อเนื่อง ทำให้บริษัทต้องตัดสินใจปรับกลยุทธ์ธุรกิจจาการรับจ้างผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้า มาเป็นการออกแบบเครื่องประดับด้วยดีไซน์ที่โดดเด่นของตนเองแล้วนำไปเสนอขายให้ลูกค้าแทน ซึ่งด้วยกลยุทธ์ดังกล่าวธันยพรเชื่อว่าจะสามารถช่วยให้บริษัทพอจะมียอดสั่งซื้อเข้ามาทดแทนส่วนที่หายไป

ไอที…ตัวช่วยสำคัญในกระบวนการผลิตที่เปลี่ยนไป

เมื่อปรับทิศธุรกิจจากการผลิตในลักษณะ Mass Production มาสู่การผลิตที่เน้นดีไซน์ (Design-based Production) ทำให้ประบวนการทำงานในขั้นตอนของการผลิตมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ทั้งเรื่องของขั้นตอนการทำงาน รวมถึงปริมาณของวัตถุดิบที่ต้องบริหารจัดการ ทำให้ธันยพรต้องมองหาตัวช่วยนั่นก็คือระบบไอที ซึ่งได้เข้ามามีบทบาทในการช่วยให้ระบบการผลิตที่เป็นหัวใจของธุรกิจ บริษัท เกรซ ออฟ อาร์ท จำกัดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ระบบไอทีที่เธอนำมาใช้ ก็คือ ระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรหรืออีอาร์พี (ERP: Enterprise Resource Planning) ระบบดังกล่าวได้เข้ามาช่วยในกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นจนจบ คือ ตั้งแต่การบริหารจัดการระบบสต็อกวัตถุดิบ ไปจนถึงระหว่างกระบวนการผลิตที่ขั้นตอนการผลิต

“ตอนแรกที่หันมาเน้นงานดีไซน์ เพียงแค่ต้องการให้บริษัทมีงาน มีคำสั่งซื้อเข้ามา หลังจากที่ลูกค้าเริ่มหนีไปหาคู่แข่งที่ราคาต่ำกว่า พอเรามาทำชิ้นงานดีไซน์ ปรากฏว่าได้รับการตอบรับอย่างดีมากจากลูกค้าอีกกลุ่ม ซึ่งเป็นกลุ่มใหม่ของเราเลย ยอดสั่งซื้อเข้าหลั่งไหลเข้ามาอย่างมากมาย จนเราคิดว่าเราต้องปรับปรุงกระบวนการทำงานภายในบริษัทด้วยการนำเอาระบบไอทีเข้ามาใช้”

เนื่องจากเดิมตอนที่บริษัทยังรับจ้างผลิตในปริมาณมาก แบบของเครื่องประดับจะมีไม่มาก ทำให้การเตรียมวัตถุดิบและการผลิตเป็นไปอย่างไม่ซับซ้อน คือ ผลิตปริมาณมากในจำนวนแบบที่น้อย อาทิ ผลิต 10 แบบๆ ละ 1,000 ชิ้น เปลี่ยนเป็นผลิตแบบละไม่กี่ชิ้น แต่จำนวนแบบเพิ่มขึ้นตามการออกแบบของดีไซน์เนอร์ อาทิ ออร์เดอร์ละ 30-40 แบบๆ ละ 5-6 ชิ้น ดังนั้น และในแต่ละแบบก็จะมีความซับซ้อนของชิ้นงานมากขึ้นมากเพราะเป็นงานดีไซน์ การทำงานของกระบวนการผลิตจึงเริ่มมีขั้นตอนมากขึ้นและมีความหลากหลายของวัตถุดิบมากขึ้น วัตถุดิบที่ใช้มีปริมาณของชนิดเพิ่มมากขึ้น

“อย่างเมื่อก่อนแหวนหนึ่งวงใช้พลอยอย่างมาก 10 เม็ด ออร์เดอร์เข้ามา 1,000 ชิ้น ก็เตรียมพลอยแค่ 10,000 เม็ด แต่พอเป็นงานแฟชั่น อาทิ กำไลบางชิ้นต้องใช้พลอยถึง 1,000 เม็ด คละกัน 10 สี 10 ไซน์ ช่างที่ต้องเตรียมวัตถุดิบ เดิมใช้วิธีเขียนลงกระดาษ แล้วไปเบิกของมาผลิต ก็ทำงานยากขึ้นและช้าลง”

ด้วยระบบ ERP บริษัทสามารถมีระบบบริหารทรัพยากรในการผลิตซึ่งก็คือวัตถุดิบที่อยู่มากกว่า 10,000 ชนิด ได้แก่เพชร พลอย และหิน ในขนาด สีและเฉด รูปร่าง และคุณภาพ ที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบอีอาร์พีนี้ช่วยให้ บริษัทสามารถเห็นสถานะของสต็อกแบบเรียลไทม์ ทำให้รู้ว่าวัตถุดิบตัวไหนที่ต้องสั่งเพิ่มบ้าง หรือต้องเตรียมสั่งเพิ่มเมื่อใด เมื่อระบบคอมพิวเตอร์คำนวณให้จากปริมาณออร์เดอร์ที่เข้ามา

“ถ้าเป็นเมื่อก่อนเรามีวัตถุดิบชนิดใดบ้างเหลืออยู่ในสต็อกในปริมาณเท่าใด เราก็ไม่รู้เพราะว่าไม่ได้ตรวจสอบ เราก็สั่งเพิ่มเข้ามา ผิดบ้าง ถูกบ้าง ทำให้สต็อกวัตถุดิบของเราบางชนิดก็บวม บางชนิดก็ขาด ปัจจุบันระบบจะคำนวณให้เราทันทีเลยว่าเหลือสต็อกอย่างละเท่าไร เพราะทุกครั้งที่แต่และแผนกเบิกวัตถุดิบไประบบจะทำการตัดสต็อกให้ทันที”

นอกจากนี้ ระบบดังกล่าวยังเข้ามาช่วยตรวจสอบอัตราการสูญเสียของวัตถุดิบในระหว่างการผลิต ซึ่งแต่เดิมนั้น ผู้บริหารไม่สามารถตรวจสอบได้เลยว่ามีปริมาณการสูญเสียวัตถุดิบต่อออร์เดอร์หนึ่งๆ เป็นจำนวนเท่าใด เนื่องจากข้อมูลทุกอย่างจดบันทึกลงกระดาษของแต่ละส่วนงานและไม่มีการตรวจสอบย้อนกลับและตรวจสอบข้ามส่วนงาน เนื่องจากต้องใช้เวลามาก  ปัจจุบันระบบอีอาร์พีนี้ช่วยให้ผู้บริการรู้ได้ทันทีว่าในแต่ละออร์เดอร์นั้นมีปริมาณการสูญเสียมากน้อยเพียงใด

โครงการ ECIT…โอกาสของ SME ไทยได้ใช้ไอที

อาจกล่าวได้ว่า หากไม่มี “โครงการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยด้วยเทคโนโลยี สารสนเทศ” หรือ ECIT (Enhancing SMEs Competitiveness through IT) ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม บริษัท เกรซ ออฟ อาร์ท จำกัดอาจจะยังไม่มีตัวช่วยสำคัญ ธันยพร ยอมรับว่า ที่ผ่านมาเธอมองหาระบบไอทีที่จะเข้ามาช่วยเติมเต็มความสามารถในการผลิตของบริษัทแต่ทว่าระบบไอทีที่เธอพบนั้นมีราคาค่อนข้างแพงและมีความสามารถในการรองรับความยืดหยุ่นต่ำ เธอจึงยังไม่ตัดสินใจลงทุนระบบไอที จนกระทั่งเธอพบกับโครงการ ECIT ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่ตอบโจทย์ธุรกิจได้ค่อนข้างครบเธอจึงตัดสินในเข้าร่วมโครงการเมื่อปีที่ผ่านมาโดยใช้ระบบอีอาร์พีที่ชื่อว่า Double M JeGe’++ 2 ซึ่งเป็นของบริษัทผู้ให้บริการคือ บริษัท ดับเบิล เอ็ม เทคโนโลยี แมเนจเม้นท์ จำกัด

อภิรักษ์ เชียงเจริญ กรรมการผู้จัดการสายงานพัฒนาธุรกิจ บริษัท ดับเบิล เอ็ม เทคโนโลยี แมเนจเม้นท์ จำกัด กล่าวว่า โปรแกรม ERP สำหรับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับสามารถตอบสนองความต้องการในการบริหารจัดการธุรกิจให้มีประสิทธิภาพการผลิตสูงขึ้นได้กว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ทั้งการบริหารทรัพยากรของบริษัท ลำดับการรับออร์เดอร์ลูกค้า การวางแผน และควบคุมกระบวนการผลิต การประเมินราคา การคำนวณวัตถุดิบก่อนผลิต ไปจนถึงการส่งมอบและติดตามผล ที่สำคัญจะทำให้ผู้ผลิตสามารถควบคุมวัตถุดิบสูญเสียที่ใช้ในการผลิตได้อย่าง แม่นยำ ควบคุมประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างถูกต้อง

คุณสมบัติเด่นของโปรแกรม Double M JeGe’++ 2 คือ ใช้งานง่ายด้วยเมนูในการเรียกใช้งานได้ 2 ภาษา คือภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ราคาเหมาะสมซึ่งถูกกว่าซอฟต์แวร์แบบเดียวกับจากต่างประเทศ ทำให้ผู้ผลิตอัญมณีไทยกล้าลงทุน

บริษัท เกรซ ออฟ อาร์ท จำกัดเป็นหนึ่งในเอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว จึงสามารถใช้บริการซอฟต์แวร์ของไทยที่คัดเลือกโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ทำให้สามารถลดต้นทุนด้านลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ลดการจัดซื้อเครื่องแม่ข่าย ลดการจ้างพนักงานดูแลด้านระบบไอที ซึ่งคิดเป็นมูลค่าประมาณ 4 แสนบาท ที่ผ่านมาบริษัทสามารถใช้ซอฟต์แวร์ได้ฟรีในระยะเวลา 1 ปี โดยในปีต่อไปจะเสียค่าเช่ารายเดือนพร้อมบำรุงรักษาเองเพราะระบบ ERP ภายใต้โครงการ ECIT นั้นใช้แนวความคิดการใช้ซอฟต์แวร์ผ่านระบบ ASP (Application Service Provider) หรือการใช้โปรแกรมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ธันยพรกล่าวว่า โครงการ ECIT เป็นโครงการที่ดีและมีประโยชน์อย่างมาก ซึ่งในปีนี้บริษัท เกรซ ออฟ อาร์ท จำกัดจะต้องควักกระเป๋าจ่ายค่าเช่าใช้ซอฟต์แวร์และค่าดูแลระบบเองก็ตาม เธอบอกว่านับว่าคุ้มค่าต่อการลงทุนอย่างมากเพราะการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้นำมาซึ่งประสิทธิภาพของการผลิตที่ดีอย่างเห็นได้ชัด ปัจจุบัน Grace of Art ไม่เพียงแต่ได้ออร์เดอร์จากลูกค้าในต่างประเทศกลับมาอย่างล้นหลาม แต่ยังได้เปิดตลาดใหม่ในประเทศด้วยแบรนด์สินค้าของตนเอง ได้แก่ Sandy และ Ta Tiara อีกด้วย

ธันยพร กล่าวว่า ปัจจุบันสัดส่วนรายได้ของบริษัทอยู่ที่การส่งออกอยู่ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ และรายได้จากตลาดในประเทศ 20 เปอร์เซ็นต์ และรายได้โดยรวมมีการเติบโตราว 15-20 เปอร์เซ็นต์ ต่อเนื่องมา 2 ปีหลังจากที่บริษัทเปลี่ยนกลยุทธ์มาเน้นงานดีไซน์ เธอยอมรับว่าหากไม่มีระบบไอทีซึ่งเป็นผู้ช่วยสำคัญแล้วเธอคงไม่สามารถฝ่าวิกฤติธุรกิจมาได้อย่างเช่นในปัจจุบัน……

View :3850

‘ Amata Science City ’…

January 21st, 2010 No comments

Amata Corporation Public Company Limited has joined hand with Science and Technology Ministry and signed memorandum of understanding with 8 universities to establish the Thailand ’s first science city called ‘ Amata Science City ’.


The move is to help country’s industrial sectors to add value on their products and services; to reduce cost of research and development investment; and to increase competitive advantages.

‘Amata Science City’ is formed under public-private-partnership (PPP) that the Science and Technology Ministry and the universities will together provide research and development works and human resources, meanwhile Amata Corp will provide the land and facilities for settle down the science city.

‘ Amata Science City ’ will be set up in Amata’s land of 625 rais in Chonburi province under the construction cost of a few Bt100 million which invested by Amata.

Somhatai Panicjewa, chief business officer at Amata Corporation said that at the first stage after signing MoU with the universities, the company will hire the consultancy (under the budgets between Bt5 million and Bt10 million) to do the feasibility study in order to study which industry clusters should be the first area in ‘Amata Science City’. The feasibility study will take time for 4 to 6 month.

It is expected that the construction period will be started by the end of this year and the first operation of science city is expected to be up and run within 2011.

At ‘ Amata Science City ’, there are a lot of facilities available including research and development center; education center; laboratory testing center; and joint research center.

“It will be the city where scientists and industrial people will live. We provide not only facility in doing research and development as well as production but also provide total facilities for being live such as entertainment and living building,” said Somhatai.

She added that the ‘ Amata Science City ’ will be located next to Amata Nakorn Industrial Estate areas in Chonburi Province , which comprised of 700 multinational companies from 30 nationalities. All of them are in main industries such as auto mobile, chemical, steel, and consumer electronics.

Therefore, the ‘ Amata Science City ’ will recruit customers from both its existing customers in Amata Industrial and new companies who are interested in investment in research and development in Thailand . Amata Industrial

“The move is also to build Thailand to be the hub of research and development in ASEAN as well,” said Somhatai.

Kalaya Sophonpanich, Science and Technology Minister said that the ministry will provide supports to ‘ Amata Science City ’ with the objective to shift Thailand from manufacturing based towards the potential for research and development, which would enable the country to assume a center role in AASEAN.

“The strength in R&D will increase Thailand’s competitiveness in particularly in science and technology and create more value to its products, and to attract a high caliber of Thai abroad back to the country to transfer knowledge to the next generation and consequently yield researchers with higher potential,” said the minister.

The 8 universities joined in the collaboration included Chulalongkorn University , Kasetsat University , Srinakharinwirot University , Burapa University , King Mongkut’s University of Technology North Bangkok , King Mongkut’s University of Technology thonburi, King Mongkut’s University of Technology Ladkrabang , and Asian Institute of Technology.

View :3929
Categories: Software, Technology Tags: ,