Archive

Archive for the ‘Uncategorized’ Category

บาร์โค้ด…สำคัญไฉน

November 2nd, 2011 No comments


เทคโนโลยีบาร์โค้ด สัญลักษณ์รหัสแท่งที่ใช้แทนข้อมูลตัวเลขหรือตัวอักษรบนสินค้า ส่วนมากเราจะเห็นบาร์โค้ดในการซื้อสินค้าตามร้านสะดวกซื้อ หรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป แต่ในความเป็นจริงบาร์โค้ดเป็นมากกว่าที่คุณคิดที่จะเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้เกิดความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคได้ การบริโภคสินค้าแต่ละชนิดนั้น นอกจากความเชื่อมั่นในคุณภาพของผลิตภัณฑ์จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ผู้บริโภคใช้ในการเลือกซื้อสินค้าแล้ว รูปแบบบรรจุภัณฑ์ก็ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ผู้บริโภคในปัจจุบันคำนึงถึงไม่แพ้กัน ซึ่งบาร์โค้ดก็เป็นส่วนสำคัญที่อยู่บนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ที่สามารถช่วยสร้างมูลค่าให้กับสินค้าได้ และช่วยเพิ่มความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ ทำให้สามารถทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้า ช่วยควบคุมระบบการจำหน่ายได้เป็นอย่างดี ส่วนประโยชน์ของบาร์โค้ดที่มีต่อผู้บริโภคนอกจากจะเป็นตัวช่วยแจ้งราคาสินค้า สามารถป้องกันการชำระเงินที่ผิดพลาด

บาร์โค้ดคือศูนย์รวมข้อมูลของสินค้านั้น ๆ ที่สามารรถทราบถึงรายละเอียดภายในสินค้า ส่วนประกอบ วันหมดอายุ ตลอดจนสืบค้นแหล่งที่มาต้นตอ ผู้ที่ผลิตสินค้าได้ ดังนั้นระบบเทคโนโลยีบาร์โค้ดในปัจจุบันถือเป็นระบบมาตรฐานสากลที่ทั่วโลกให้การยอมรับทั้งในภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรมทุกภาคส่วน เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงาน วางแผนการผลิต และกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด ซึ่งสามารถสร้างมูลค่ามหาศาลให้กับตลาดในปัจจุบันและในอนาคต

ปัจจุบันบาร์โค้ดเข้ามามีบทบาทในการติดต่อสื่อสารระหว่างคู่ค้าหรือกลุ่มธุรกิจต่างๆ ทั่วโลกมากขึ้น รวมถึงประเทศไทยทั้งทางด้านการจัดเก็บสินค้า การขนส่งสินค้า และการจัดจำหน่าย ซึ่งในส่วนนี้ สถาบันรหัสสากล หรือ GS1 Thailand ภายใต้การกำกับดูแลของ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรระดับสากลที่จัดตั้งมาตรฐาน และให้การบริการ ให้คำปรึกษา สนับสนุนเทคโนโลยีบาร์โค้ดไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจที่จะเป็นภาษาเดียวกันทั่วโลก ที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าที่ส่งออกจากประเทศไทย ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ ผู้บริโภคในตลาดโลกที่จะทราบถึงรายละเอียด แหล่งที่มาของสินค้านั้นๆ อันหมายถึงการส่งออกที่จะมาอีกมหาศาล เม็ดเงินที่จะนำเข้าสู่ประเทศในอนาคต ภาษากลางทางธุรกิจ “บาร์โค้ด” ที่จะส่งต่อมูลค่าให้กับประเทศ

บาร์โค้ดปัจจุบันไม่ใช้เพียงแท่งรหัสสินค้า แต่จะเป็นสัญลักษณ์ทางธุรกิจหรือสินค้านั้น ที่จะเพิ่มมูลค่าผ่านความคิดสร้างสรรค์บนบรรจุภัณฑ์สินค้า ดังนั้นสถาบันรหัสสากลได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของบุคลากรไทย ในด้านการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ พร้อมกับการสร้างตลาดสินค้าของประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักในตลาดระดับสากล สู่ความเชื่อมั่นในสินค้าที่มาจากประเทศไทย จึงได้จัดโครงการ “การประกวดออกแบบบาร์โค้ดบนบรรจุภัณฑ์” ปี2554 ในหัวข้อ “Amazing Barcode Design for Food Package” ตามแนวความคิดของคอนเซ็ปต์ “ประเทศไทย แหล่งอาหารที่สำคัญของโลก ครัวของโลก” ซึ่งกลุ่มธุรกิจอาหารเป็นธุรกิจที่สามารถนำรายได้เข้าประเทศได้ปีละหลายพันล้านบาท และเป็นส่วนช่วยดึงดูดผู้บริโภคในระดับนานาชาติเกิดความต้องการในสินค้ากลุ่มอาหารของประเทศไทย พร้อมทั้งสร้างเอกลักษณ์ผ่านภาษากลางทางธุรกิจ “บาร์โค้ด” ที่มีความแตกต่างบนบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบโดยบุคลากรไทย เสริมศักยภาพเชิงแข่งขันในตลาดต่างประเทศ บาร์โค้ดมาตรฐานสากลที่เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงสินค้าที่เชื่อถือได้ มีเลขหมายประจำตัวสินค้า ทำให้ผู้สนใจสามารถทราบถึงแหล่งผู้ผลิต และติดต่อซื้อขายกันได้สะดวกโดยตรง รวมถึงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการส่งออกของประเทศให้เติบโต และเชื่อว่าเทคโนโลยีด้านบาร์โค้ดจะสามารถช่วยผลักดันในเชิงมูลค่า ความเชื่อมั่นทางภาคอุตสาหกรรมได้อย่างแน่นอน

ดังนั้นการออกแบบ “บาร์โค้ด” นอกจากจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าแล้ว สัญลักษณ์ชิ้นเล็กๆ เทคโนโลยีที่ไม่ควรมองข้ามจะสามรารถเพิ่มมูลค่าตลาดได้อย่างมหาศาล เพียงใส่ใจในสินค้า มองเห็นถึงศักยภาพของบุคลากรไทย พร้อมสนับสนุน ส่งเสริมในเทคโนโลยีบาร์โค้ดให้เป็นภาษากลางทางธุรกิจที่ใช้กันทั่วโลกในระดับสากลบนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ของไทย เชื่อได้ว่าจะเป็นส่วนช่วยยกระดับมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับ สร้างศักยภาพเชิงการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ พร้อมเป็นส่วนในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจในประเทศให้มีการเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพ

View :3611

“ไทยแลนด์ พาวิลเลียน แอมบาสเดอร์” ปั้นเยาวชนสู่ทูตแห่งท้องทะเลไทยทำหน้าที่ไกลถึงเกาหลี

October 14th, 2011 No comments

ทช.ต่อยอดงานเอ็กซ์โประดับโลก Yeosu International Exposition 2012 ณ เมืองยอซู เปิดโอกาสเยาวชนไทย สู่การเป็นทูตแห่งท้องทะเล ภายใต้โครงการ “ไทยแลนด์ พาวิลเลียน แอมบาสเดอร์” สร้างประสบการณ์-เพิ่มศักยภาพเยาวชนไทยในเวทีโลก พร้อมปั้นไทยแลนด์พาวิลเลียนเป็น 1 ใน 5 พาวิลเลียนยอดนิยม

นายเกษมสันต์ จิณณวาโส อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) ได้จัดโครงการ ไทยแลนด์ พาวิลเลียน แอมบาสเดอร์ หรือ ทูตแห่งท้องทะเลไทย เพื่อสรรหาเยาวชนไทย ไปเป็นตัวแทนเผยแพร่วัฒนธรรมไทย และนำเสนอการบริหารจัดการท้องทะเลไทยในงาน Yeosu International Exposition 2012 ณ เมืองยอซู สาธารณรัฐเกาหลี ในระหว่างวันที่ 12 พฤษภาคม ถึง 12 สิงหาคม 2555 ซึ่งถือเป็นการร่วมงานเอ็กซ์โประดับโลกอีกครั้ง ของประเทศไทย หลังจากประสบความสำเร็จจากการร่วมงาน เซี่ยงไฮ้ เวิลด์เอ็กซ์โป 2010 เมื่อปีที่ผ่านมา

โดยไทยแลนด์พาวิลเลียนแอมบาสเดอร์ ที่เปิดรับสมัครในปีนี้ ต้องการเยาวชนเพื่อทำหน้าที่ใน 2 ส่วนสำคัญ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ส่วนนิทรรศการ เพื่อเผยแพร่เอกลักษณ์ความโดดเด่นของมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมความเป็นไทยผ่าน “อาคารศาลาไทย” และนักแสดงประจำอาคารศาลาไทย ซึ่งต้องมีความสามารถด้านการแสดง นาฏศิลป์ไทย ,นาฏศิลป์สากล หรือการแสดงผสมผสานระหว่างไทยและสากลที่แปลกใหม่สร้างสรรค์ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงประจำศาลาไทยและการแสดงประจำวันชาติ ในงาน Yeosu International Exposition 2012 ณ เมืองยอซู สาธารณรัฐเกาหลี

ทั้งนี้ในการหาตัวแทนประเทศไทยเพื่อเป็น ไทยแลนด์พาวิลเลียนแอมบาสเดอร์นั้น ได้ขยายคุณสมบัติผู้สนใจร่วมสมัคร จากกลุ่มเยาวชนสู่กลุ่มคนทำงาน อายุ 18-30 ปี โดยต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถด้านภาษา ไทย เกาหลี และอังกฤษ มีใจรักในธรรมชาติโดยเฉพาะท้องทะเลและวัฒนธรรมไทย

“การเข้าร่วมงาน Yeosu International Exposition 2012 ณ เมืองยอซู สาธารณรัฐเกาหลี ของประเทศไทยในครั้งนี้ สามารถต่อยอดสู่สังคมผ่านกิจกรรมดีๆ ด้วยการเปิดเวทีคัดสรรเยาวชนไทยที่มีความสามารถไปทำหน้าที่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของ 2 ชาติ และยังเผยแพร่….ทะเลไทยและวัฒนธรรมไทยให้อีกหลายๆชาติที่เข้าร่วมงาน ถือเป็นการจุดประกายอีกหนึ่งสิ่งดีๆให้เกิดแก่สังคมคนรุ่นใหม่ ที่จะต้องหันมามองเรื่องของการดูแลอนุรักษ์ส่งแวดล้อมที่ยั่งยืนอย่างจริงจัง” นายเกษมสันต์กล่าว

อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ การร่วมงาน Yeosu International Exposition 2012 จัดขึ้น ภายใต้แนวคิด “The Living Ocean and Coast :Diversity of Resources and Sustainable Activities โดยประเทศไทยได้กำหนดแนวคิดการร่วมงานครั้งนี้ด้วยคอนเซ็ป “ Colors of Diversity : Capacity of Thailand และคาดหวังว่า ความน่าสนใจของทะเลไทย วัฒนธรรมไทยและความสามารถในการนำเสนอจะทำให้อาคารศาลาไทยเป็น 1 ใน 5 พาวิลเลียนที่ได้รับความนิยมสูงสูงจากกว่า 120 พาวิลเลียนอีกด้วย

สำหรับผู้มีความสามารถและสนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถ ตรวจสอบคุณสมบัติและดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.thailandpavilion2012 .com ยื่นใบสมัคร พร้อมหลักฐาน รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว 1 รูป , รูปถ่ายเต็มตัว 1 ใบ ขนาด 4”x6”,ใบรับรองผลการเรียน (Transcription) , สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน ผ่านอีเมล info@thailandpavilion2012.com หรือส่งไปรษณีย์มาที่ บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) 545 ซอยปรีดีพนมยงค์ 42 สุขุมวิท 71 พระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110 วงเล็บมุมซอง ไทยแลนด์ พาวิลเลียน แอมบาสเดอร์ ส่งภายในวันที่ 22 ต.ค.2554

ในส่วนของผู้ผ่านการคัดเลือกจากหลักฐานและใบสมัคร เข้าสัมภาษณ์กับผู้ทรงคุณวุฒิ ในวันที่29ต.ค.2554 ที่บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) 545 ซอยปรีดีพนมยงค์ 42 สุขุมวิท 71 พระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กทม. ติดต่อสอบถามข้อมูล 02-725-9333 ต่อ 351,361,371,

View :2738

ทรู ผนึกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย อบรม “นักข่าวพิราบน้อย” รุ่น 14 สร้างสรรค์คุณภาพคนข่าวยุคใหม่

July 14th, 2011 No comments


บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น โดย นางสาวเสาวนีย์ ลิมมานนท์ (นั่งกลาง) ผู้ช่วยบริหารงานกรรมการผู้จัดการใหญ่ รับผิดชอบงานซีเอสอาร์ และหัวหน้าสายงานสื่อสารองค์กร และประชาสัมพันธ์การตลาด กลุ่มทรู ร่วมกับ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดย นาย ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี (นั่งกลาง) นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เปิดเวทีอบรมเชิงปฏิบัติการ “นักข่าวพิราบน้อย” รุ่นที่14 ประจำปี 2554  ให้คณะนิสิต นักศึกษาจากภาควิชาวารสารศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และสื่อสารมวลชน จำนวนกว่า 80 คน จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ เข้าร่วมเรียนรู้ทักษะ และฝึกฝนความเป็นบุคลากรคนข่าวจากนักข่าวรุ่นพี่ ที่มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์จริงแบบมืออาชีพ พร้อมฝึกปฏิบัติการทำหนังสือพิมพ์เสมือนจริง ก่อนเข้าสู่สนามสื่อในสังคมอย่างมีคุณภาพ ณ อาคารทรู ทาวเวอร์ เมื่อเร็วๆ นี้
 
“ในวันเปิดการอบรมนี้ คณะนิสิต นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 80 คน ได้เรียนรู้ถึงการควบคุมระบบโครงข่ายการสื่อสารที่ครบวงจรของทรู เพื่อให้บริการออกมาได้เต็มประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล  พร้อมดำเนินการแก้ไขได้ทันทีตลอด 24 ชั่วโมง ก่อนเดินทางเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ“นักข่าวพิราบน้อย” ระหว่างวันที่ 14 – 17 กรกฎาคม 2554 ณ โรงแรมเทาทอง มหาวิทยาลัยบูรพา อ.เมือง      จ.ชลบุรี ซึ่งได้รับความร่วมมือจากสื่อมวลชนมืออาชีพทุกสำนักพิมพ์เข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และให้ข้อมูลกับนิสิต นักศึกษาได้เรียนรู้ และฝึกฝนทักษะจริงตลอดระยะเวลา 4 วันเต็มของการอบรม”
 
ข้อมูลโครงการ “นักข่าวพิราบน้อย”
“นักข่าวพิราบน้อย” เป็นกิจกรรมที่เกิดจากความร่วมมือของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และบมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เพื่อมุ่งส่งเสริม และสนับสนุนวิชาชีพสื่อสารมวลชนให้เป็นสาขาอาชีพที่ทรงเกียรติ และควรค่าแห่งความภาคภูมิใจสำหรับเยาวชนที่ศึกษาในศาสตร์วิชาวารสารศาสตร์ และนิเทศศาสตร์ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นบุคลากรคนสำคัญของการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ โดยจะมีกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษาที่ศึกษาในภาควิชาที่เกี่ยวข้องเข้ามาเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติการทำหนังสือพิมพ์ นอกจากนี้ ยังมีเวทีที่เปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษาแต่ละสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศจัดส่งผลงานหนังสือพิมพ์ประจำมหาวิทยาลัยเข้าแข่งขันเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการผลิตผลงานในการประกวด “รางวัลพิราบน้อย” ที่จัดขึ้นในช่วงต้นมีนาคมของทุกปี

View :2813

“เทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน ครั้งที่ 9” ชวนเด็กและเยาวชนเปิดโลกการอ่านกับแนวคิด “อ่านสนุก ปลุกจินตนาการ”

July 14th, 2011 No comments


พาเหรดกิจกรรมกระตุ้นต่อมอ่าน อาทิ ชวนพับกระดาษสไตล์ออริกามิ DIY การ์ดป็อปอัพ แต่งกายคอสเพลย์จากกระดาษ ประลองความเร็วเครื่องบินกระดาษ พิเศษครั้งแรกกับโซนหนังสือลดกว่า 50%

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธานเปิดงาน เทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน ครั้งที่ 9 (Book Festival for Young People 2011) โดย สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 13 – 17 กรกฎาคม 2554 เวลา 10.00 – 20.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ด้วยแนวคิด “อ่านสนุก ปลุกจินตนาการ” พร้อมมอบทุนเพื่อซื้อหนังสือให้แก่เด็กและเยาวชนด้อยโอกาสในโครงการทอฝันปันหนังสือให้น้อง ครั้งที่ 22 และมอบทุนให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนมาเลือกซื้อหนังสือเข้าห้องสมุดจำนวน 8 แห่ง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี กล่าวว่า “ผมรู้สึกยินดีที่สมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ ได้ดำเนินการจัดงานเทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชนมาอย่างต่อเนื่อง เพราะการส่งเสริมการอ่านไม่จำเป็นต้องพึ่งภาครัฐเพียงฝ่ายเดียว ภาคเอกชนอันได้แก่ สมาคม และองค์กรวิชาชีพต่างๆ ต้องร่วมกันส่งเสริม และหัวใจที่สำคัญที่สุด คือ ครอบครัวและชุมชน อันเป็นหน่วยของสังคมที่เล็กที่สุดต้องเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือ ทั้งนี้ รู้สึกชื่นชมยินดีต่อปณิธานของสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ในการผลักดันกิจกรรมส่งเสริมการอ่านตลอดระยะเวลากว่า 50 ปี หากพ่อแม่ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการอ่านแก่บุตรหลาน ชุมชนสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ก็จะทำให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการอ่าน เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ได้ โดยเฉพาะนิสัยรักการอ่านตั้งแต่ปฐมวัยนั้นมีส่วนสำคัญยิ่งต่อการมีนิสัยรักการอ่านอย่างยั่งยืน และหมายถึงเด็ก และเยาวชนจะมีนิสัยใฝ่รู้ อีกทั้งต้องมีทักษะในการอ่านคิดวิเคราะห์ด้วย เพราะจะช่วยเพิ่มพูนทักษะการคิดสร้างสรรค์ การแก้ไขปัญหา การดำเนินชีวิต และการเข้าสู่ภาคเศรษฐกิจ เข้าสู่สังคม”

นายวรพันธ์ โลกิตสถาพร นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เป้าหมายหนึ่งของสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ นอกจากมุ่งสร้างวัฒนธรรมการอ่านสู่สังคมแล้ว เรายังผลักดันการสร้างนิสัยรักการอ่านให้เกิดขึ้นแก่เยาวชนไทย กล่าวได้ว่าเรื่องการอ่านลำดับแรกควรเริ่มจากครอบครัวและโรงเรียนก่อน ที่พ่อแม่ ผู้ปกครองและครูต้องแนะนำและปลูกฝังค่านิยมให้แก่เด็ก เพื่อให้เขาได้รู้จักใช้หนังสือเพื่อเกิดจินตนาการทางความคิด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงสนับสนุนให้เด็กได้มีหนังสือดีที่เหมาะสมกับวัยและความสนใจ เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้ติดตัว เกิดการตื่นตัวกับการอ่าน และนำไปสู่นิสัยรักการอ่านในที่สุด

“สำหรับงานเทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน ได้จัดต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 9 แล้ว โดยปีนี้นำเสนอแนวคิด ‘อ่านสนุก ปลุกจินตนาการ’ เนื่องจากทางสมาคมฯ เล็งเห็นว่าการสร้างนิสัยรักการอ่านต้องเริ่มที่เยาวชน วัยที่เต็มไปด้วยความฝันและจินตนาการ ซึ่งหนังสือจะเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุด ที่จะช่วยแต่งแต้มสิ่งเหล่านั้นตลอดจนความคิดสร้างสรรค์ที่เหมาะสมได้ตลอดทุกช่วงวัย ดังนั้น สมาคมฯ จึงรณรงค์การใช้หนังสือเพื่อปลุกจินตนาการและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้านต่างๆ พร้อมทั้งสนับสนุนให้มีหนังสือดีที่จะให้ทั้งความสนุกสนานและความบันเทิงแก่ผู้อ่าน ควบคู่ไปกับการเติมเต็มจินตนาการทางความคิดด้วย”

“นอกจากกิจกรรมและนิทรรศการมากมายที่สมาคมฯเตรียมมาจัดอย่างเต็มพื้นที่กว่า 10,000 ตารางเมตรแล้ว ปีนี้เป็นปีแรกที่เราจัดโซนหนังสือ Books Super Sale มีหนังสือลดราคาตั้งแต่ 50% ขึ้นไปและสำหรับเด็กและเยาวชนต้องไม่พลาดสะสมการ์ดพลังออริกามิ ซึ่งมีให้สะสมครบชุด 10 แบบ โดยการ์ดพลังออริกามิ ทุกใบจะแสดงวิธีพับกระดาษรูปแบบต่างๆ โดยมีคะแนนพลังตามความยากง่ายของแบบนั้นๆ ซึ่งมั่นใจว่าเด็กและเยาวชนจะต้องชื่นชอบเป็นอย่างมาก”

“คาดว่าปีนี้จะมียอดผู้เข้าชมงานประมาณ 200,000 คน และยอดเงินหมุนเวียนภายในงานมีไม่ต่ำกว่า 35 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 15% ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าปัจจุบันคนไทยเริ่มตื่นตัวกับการอ่านมากขึ้น ทำให้การจัดงานแต่ละครั้งประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายเป็นอย่างดี และคาดว่าครั้งนี้จะได้รับการตอบรับที่ดีเหมือนทุกครั้ง” นายวรพันธ์ กล่าว

นิทรรศการและกิจกรรมภายในงานเทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน ครั้งที่ 9 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “อ่านสนุก ปลุกจินตนาการ” ซึ่งจะแบ่งพื้นที่การจัดกิจกรรมออกเป็น 3 โซน

โซนซี 1 พบกับนิทรรศการ “มหัศจรรย์การอ่าน” ในโครงการ Bangkok Read for Life ของกรุงเทพมหานคร นิทรรศการส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องแนวทางการเลือกหนังสืออ่านให้สอดคล้องกับสไตล์การเรียนรู้ของตน และแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาของสมองในแต่ละวัยของสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD) กิจกรรม “หนังสือคือจินตนาการ” จากมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก

โซนพลาซ่า พบกับกิจกรรมมากมาย อาทิ นิทานในสวนกระดาษ จากเอสซีจี เปเปอร์ ร่วมกับมูลนิธิซิเมนต์ไทย กิจกรรมจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นำเสนอกิจกรรมและนิทรรศการภายใต้แนวคิด “ชุมชนในฝัน” ซึ่งประกอบด้วย ศิลปินน้อยประดิษฐ์ศิลปะ โครงการ 108 หนังสือดี นิทรรศการผลงานประกวดสื่อสร้างสรรค์วัยมันไร้ควันบุหรี่ ครั้งที่ 5 โครงการปิ๊งส์ กิจกรรมเวิร์คช้อปหนังสือทำมือ และการแสดงบนเวที

โซนเอเทรียม พบกับ กิจกรรม “อ่านสนุก ปลุกจินตนาการ” เน้นการสรรค์สร้างจินตนาการให้ออกมาเป็นรูปธรรมผ่านวัสดุประเภทกระดาษ ประกอบไปด้วย 4 กิจกรรม ที่ผู้ร่วมงานสามารถนำวิธีการพับกระดาษแบบต่างๆ กลับไปทำเองได้ที่บ้าน ได้แก่ กระดาษหรรษา (Origami) คอสเพลย์กระดาษ มโหตร (เทคนิคการตัดกระดาษแบบไทยๆ สำหรับใช้ในการตกแต่งสถานที่ในงานทำบุญ งานมงคลต่างๆ ในอดีต) DIY ประกอบโมเดลเป็นรูปสัตว์หลากชนิด เช่น สุนัข เต่า และไดโนเสาร์

พร้อมร่วมชมและเชียร์การแข่งขันผลงานที่ได้จากการพับกระดาษ อาทิ แข่งขันเครื่องบินกระดาษ กบกระดาษกระโดดไกล แข่งขันรถกระดาษพับ เป็นต้นและไปรษณีย์ไทย นำแสตมป์และสิ่งสะสมสินค้าที่ระลึกไปรษณีย์ต่างๆ มาจำหน่ายพร้อมถ่ายภาพแสตมป์ส่วนตัว

งานเทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน ครั้งที่ 9 จัดระหว่างวันที่ 13-17 กรกฎาคม 2554 เวลา 10.00 – 20.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thailandbookfair.com

View :3679

Lennard Hoornik, president of HTC Asia South, first in BKK

June 1st, 2011 No comments

Lennard Hoornik, president of HTC Asia South, first in BKK

View :2372
Categories: Uncategorized Tags:

2010 in review

January 2nd, 2011 No comments

The stats helper monkeys at WordPress.com mulled over how this blog did in 2010, and here’s a high level summary of its overall blog health:

Healthy blog!

The Blog-Health-o-Meter™ reads Fresher than ever.

Crunchy numbers

Featured image

The average container ship can carry about 4,500 containers. This blog was viewed about 18,000 times in 2010. If each view were a shipping container, your blog would have filled about 4 fully loaded ships.

 

In 2010, there were 48 new posts, growing the total archive of this blog to 53 posts. There were 245 pictures uploaded, taking up a total of 84mb. That’s about 5 pictures per week.

The busiest day of the year was September 27th with 150 views. The most popular post that day was จุดเปลี่ยนอีคอมเมิร์ซไทย….

Where did they come from?

The top referring sites in 2010 were google.co.th, twitter.com, facebook.com, search.conduit.com, and th.wordpress.com.

Some visitors came searching, mostly for iphone, foursquare คือ, foursquare คืออะไร, htc legend มือสอง, and htc legend.

Attractions in 2010

These are the posts and pages that got the most views in 2010.

1

จุดเปลี่ยนอีคอมเมิร์ซไทย… June 2010
1 comment and 1 Like on WordPress.com,

2

“Foursquare”: กระแสใหม่ของสังคมออนไลน์ที่ไม่ควรพลาด February 2010
1 comment

3

HTC Legend … มือถือสำหรับคนออนไลน์ (..สวย ดี ไม่แพงเกินไป) June 2010
2 comments

4

“Social Web/Viral Marketing” อาวุธธุรกิจในยุค Social Network (3) March 2010

5

“การตลาดออนไลน์แบบ 360 องศา” …เคล็ดลับความสำเร็จของ SME อย่าง“เมโทรพอยท์ กรุงเทพฯ” April 2010

View :1960
Categories: Uncategorized Tags:

“สุวรรณไพศาลขนส่ง” ขนส่งรายได้แห่งเมืองเหนือติดปีกธุรกิจด้วยไอที

December 4th, 2010 No comments

บริษัทขนส่งอายุเก่าแก่กว่า 20 ปีแห่งภาคเหนือตอนบน นาม “สุวรรณไพศาลขนส่ง” ปฏิวัติธุรกิจขนส่งท้องถิ่นด้วยเทคโนโลยี เตรียมความพร้อมและสร้างแต้มต่อในการแข่งขันรับตลาดเสรีอาเซียนเปิดที่คาดว่าจะมีคู่แข่งต่างชาติทยอยตบเท้าเข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาดโลจิสติกส์อย่างแน่นอน

สุรชิน ธัญญะผลิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท สุวรรณไพศาลขนส่ง จำกัด ทายาทรุ่นสองของครอบครัวที่เบนเข็มชีวิตจากนักเรียนนอกด้านคอมพิวเตอร์มารับช่วงกิจการขนส่งต่อจากบิดา เล่าให้ฟังว่า หลังจากที่ตนเองเข้ามาบริหารธุรกิจขนส่งของครอบครัวก็พบปัญหามากมายที่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของธุรกิจ ต่อศักยภาพการแข่งขันของบริษัท และต่อความสะดวกสบายต่อบริการที่ลูกค้าจะได้รับ ด้วยความที่มีพื้นฐานมาจากสายงานคอมพิวเตอร์ที่ร่ำเรียนมา ตนจึงลุกขึ้นปฏิวัติระบบงานภายในของบริษัทใหม่ทั้งหมด โดยนำระบบเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือหลัก

“ตอนเข้ามารับช่วงต่อจากคุณพ่อ ตอนนั้นระบบงานทุกอย่างเป็นระบบทำงานด้วยมือ (Manual) ทั้งหมด ซึ่งระบบดังกล่าวไม่สามารถรองรับงานที่เรามีได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

บริษัทมีบริการรับขนส่งสินค้า 4 ประเภท ได้แก่ รถจักรยายนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ตู้คอนเทนเนอร์ และสินค้าโชว์ห่วย โดยมีรถบรรทุกทั้งสิ้นมากกว่า 60 คันรวมกันในหลายประเภทอาทิ รถบรรทุก 18 ล้อ 10 ล้อ และ 6 ล้อ ทั้งแบบพ่วงและแบบลาก มีบริการรับและส่งสินค้าแบบรายชิ้นและเหมาคัน ทำให้รายละเอียดของเนื้องานในแต่ละวันมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งในอดีตไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลการทำงาน และไม่มีการใช้ระบบไอทีใดๆ เข้ามาช่วยจัดการบริหารข้อมูลการบริการของบริษัทเลย ทำให้เกิดความผิดพลาดในการขนส่งบ่อยครั้ง และเกิดการสูญเสียต้นทุนจากการไม่มีข้อมูลหรือหาข้อมูลไม่พบ เนื่องจากข้อมูลถูกจดด้วยลามือพนักงานและไม่มีการจัดเก็บเข้าระบบ

“เมื่อก่อนปัญหาที่เจอประจำคือ ส่งสินค้าผิด ไม่ก็ส่งไปแล้วของไม่ครบ เพราะรถหนึ่งคันเราขนสินค้าจำนวนมาก และส่งให้กับลูกค้าหลายราย (หากเขาไม่ได้ใช้บริการเหมาคัน) ในใบรายการส่งสินค้าก็เขียนขึ้นใหม่ด้วยรายมือพนักงาน ที่เขียนมาจากใบสั่งบริการขนส่งจากลูกค้าหลายๆ ราย มารวมไว้ในใบเดียว ซึ่งการมาเขียนใหม่ ความผิดพลาดก็เกิดขึ้นได้ ผิดเรื่องประเภทสินค้าบ้าง จำนวนบ้าง สถานที่ เป็นต้น ซึ่งความผิดพลาดแบบนี้ลูกค้าไม่พึงพอใจ และจะไม่มาใช้บริการเราอีก”

บริษัทได้ร่วมกับบริษัทซอฟต์แวร์ไทยพัฒนาระบบ “Fleet Soft” ขึ้นมาเพื่อใช้บริหารการข้อมูลการให้บริการทั้งหมดของบริษัทโดยเริ่มจากการเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้บริการขนส่งทั้งหมดของลูกค้า รวมทั้งข้อมูลสถานที่จัดส่งและเส้นทางขนส่ง รวมถึงข้อมูลรถและคนขับ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้นอกจากจะจัดเก็บและใช้เองภายในบริษัทแล้ว บริษัทยังเปิดให้ลูกค้าของบริษัทเข้ามาดูข้อมูลสถานะของการขนส่งได้แบบทันทีทันใดผ่านหน้าเว็บได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมแต่อย่างใด

“เราพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ขึ้นมาจากความต้องการที่จะแก้ไขปัญหาในการทำงานของเราเอง พอทำไป ไม่ใช่เพียงแค่บริษัทเท่านั้นที่ได้ประโยชน์จากระบบ แต่เราสามารถนำระบบนี้ไปให้ลูกค้าเราได้ใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย ซึ่งบริษัทเพิ่งจะเดินระบบเต็มรูปแบบมาได้ราว 3 เดือนปรากฏว่าเราได้ลูกค้าเพิ่มขึ้นอีก 10 ราย นักว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าทันตาเห็นอย่างมาก”

สุรชิน บอกว่า รถทุกคันจะติดกล่องดำ หรือ ‘Black Box’ ที่มีทั้งสัญญาณ GPS และ GPRS เพื่อให้บริษัทและลูกค้าที่มาใช้บริการขนส่งสินค้ากับบริษัทสามารถติดตามสถานการณ์เดินรถของรถคันนั้นๆ ได้ตลอดเวลาผ่านหน้าเว็บไซต์ และหากสิ้นค้าส่งถึงมือผู้รับ เจ้าหน้าที่ส่งสินค้าจะให้ผู้รับเซ็นรับของลงบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทันทีที่ลูกค้าเซ็นรับของ ระบบจะรับรู้โดยอัตโนมัติว่าสินค้าได้ส่งถึงมือลูกค้าเรียบร้อยแล้ว

นอกจากจากนำไอทีมาเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านการขนส่งแล้ว บริษัทยังได้นำระบบไอทีมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานภายใน ได้แก่ ระบบดูแลรักษารถบรรทุกซึ่งเป็นเครื่องมือในการทำมาหากินที่หากเสียหรือชำรุดไม่สามารถใช้งานได้ ต้องส่งซ่อมจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 วัน นั่นเท่ากับโอกาสในการสร้างรายได้จะหายไปด้วย ดังนั้นแทนที่จะเป็นฝ่ายตั้งรับรอให้รถเกิดการเสีย

สุรชิน บอกว่า บริษัทจะจัดเก็บข้อมูลการใช้งานของรถทุกคนเข้าระบบ ว่ารถแต่ละคันวิ่งมาแล้วกี่กิโล เมตรถึงเวลาต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ถึงเวลาจ้องซ้อมบำรุงในส่วนใดๆ บ้างก็จะทำทันที ซึ่งการทำเช่นนี้ แม้ว่าจะมีต้นทุนในส่วนค่าบำรุงรักษาเพิ่มขึ้นราว  60 เปอร์เซ็นต์แต่ก็ได้รับโอกาสในการที่รถคันนั้นจะไม่ต้องหยุดวิ่งเพื่อเข้าอู่ซ่อม ทำให้รายได้ในส่วนนี้เพิ่มมาราว 90 เปอร์เซ็นต์ เท่ากับว่าเมื่อถัวเฉลี่ยแล้วบริษัทมีความสามารถในการสร้างรายได้เพิ่มอีก 30 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้ บริษัทยังได้ขยายพื้นที่การให้บริการจากเดิมที่จำกัดอยู่แต่เพียงภาคเหนือตอนบนไปครอบคลุมทั่วประเทศ ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจที่มีเส้นทางการขนส่งที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสในการรับลูกค้าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสุรชิน บอกว่า ด้วยระบบไอทีที่บริษัทลงทุนไปช่วยเอื้อให้บริการสามารถให้บริการขนส่งแก่ลูกค้าได้ข้ามผู้ให้บริการแต่ลูกค้ายังคงได้รับคุณภาพและรูปแบบบริการเดียวกัน

การลงทุนในระไอทีครั้งนี้ใช้งบมากกว่า 1 ล้านบาทเพื่อยกระดับความสามารถในการให้บริการของเราให้เข่งขันได้ เราทำตรงนี้เพื่อเตรียมตัวเองให้พร้อมกับการแข่งขันเสรีที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งหากเราไม่ทำ ไม่ปรับตัว เราจะอยู่ไม่ได้” สุริชนกล่าวทิ้งท้าย

View :2566

ขอแบ่งปันข้อมูลจากการเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” ค่ะ (3)

October 9th, 2010 No comments

ภาคบ่ายช่วงสอง “พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักเขียนเรื่องสั้น”

พบนักเขียนซีไรท์ เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ กวีซีไรต์และ์เจ้าของผลงานเรื่องสั้น”เหมือนว่าเมื่อวานนี้เอง”  กับ ประชามคม ลุนาชัย นักเขียนรางวัลเซเว่นบุ๊คอะวอร์ด

“ถ้าเราเขียนหนังสือทุกวันๆ หน้า ปีหนึ่งเราก็จะได้หนังสือนิยายหนึ่งเล่ม” ประชมคา ลุนาชัย

เร วัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ “ในวัยเด็กไม่ค่อยมีเพื่อน ไม่ค่อยลงเลยกับพ่อ เลยมีความเหงา ความโดดเดี่ยว เลยใช้จินตนาการ ใช้หนังสือเป็นเพื่อน”

เร วัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ “ตอนแรกไม่รู้ว่าเราจะเป็นนักเขียนได้ยังไง เพียงแต่อ่าน อ่าน อ่าน แล้วรู้สึกว่ามีโลกที่กว้างไกลรออยู่ข้างหน้า”

เร วัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ “ได้มาอยู่ใกล้คนเขียนหนังสือ/อ่านหนังสือ ้ได้มีโอกาสอ่านหนังสือมากขึ้น มีเพื่อน”คอวรรณกรรม”คุย ทำให้ค.คิดลึกซึ้งขึ้น”

ประชาคม ลุนาชัย “เมื่อก่อนนักเขียนไทยจะมาจากสายนักนสพ.เยอะมาก นักข่าวส่วนใหญ่จะได้พานพบข้อมูล/วัตถุดิบ แล้วแปลเปลี่ยนมาเป็นงานเขียนได้”

ประชาคม ลุนาชัย “นักข่าวภาคสนามจะมีข้อมูลมาก ผมไม่ใช่นักข่าวภาคสนาม แต่ผมก้าวลงสนามชีวิต พบปะผู้คน ดวงตาที่ไปมองเห็น คือ ดวงตาของนักเขียน”

ประชาคม ลุนาชัย “ดวงตาของนักเขียน ขาจะอ่านทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาเผชิญ/พานพบ การอ่านหนังสือไม่ใช่แค่การอ่านหนังสือแต่จะตีความไปอ่านสังคม/คน”

ประชาคม ลุนาชัย “ถ้าเรามองทุกอย่างแบบเฉยๆ เราจะไม่มีเรื่องสั้น ไม่มีวรรณศิลป์อยู่ในนั้น แต่เราต้องมองให้ลึกลงไปกว่านั้น”

ประชาคม ลุนาชัย “ผมเลยคิดว่าจะเขียนเรื่องสั้นตัวละครคือ พนักงานรปภ. แล้วหา “คู่ขัดแย้ง” ที่จะทำให้เกิด โศกนาฏกรรม/สุขนาฏกรรม ซึ่งคือเจ้านาย”

ประชาคม ลุนาชัย “เอาประสบการณ์ชีวิตทำงานที่น่าเบื่อผมมาสร้างเป็นเรื่องที่มีคู่ขัดแย้ง มีค.ขัดแย้ง ที่ก่อให้เกิดโศกนาฏกรรม/สุขนาฏกรรม”

ประชาคม ลุนาชัย “นักข่าวที่ลงพื้นที่ก็สามารถไล่ต้อนเหตุการณ์มาโลกแคบของต้วเอง มองให้กว้าง คิดให้ลึก ศึกษาให้ละเอียด บีบให้แคบ”

เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ “เหตุการณ์ต้องกระทบใจผมมากๆ ผมถึงจะเขียนได้ลื่นไหล ไม่ติดขัด”

เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ “ถ้าเราไม่รู้สึกกับเหตุการณื เรื่องราวต่างๆ นั้นมากพอ แม้มีข้อมูลมากมาย ผมก็ต้องทิ้งมัน เขียนมันไม่ได้”

เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ “นักเขียนทุกคนไม่มีใครไม่เคยไปร้านหนังสือ การอ่านเป็นต้นทุนที่เยอะมากๆ สำหรับผม นอกจากนี้คือการสังเกต”

ประชาคม ลุนาชัย “นิยายเรื่องแรกของผม ผมมีปัญหากับการเขียนมาก เพราะวางประเด็นไว้ไม่ชัดเจน กะจะคิดไปเขียนไป รอบแรกเขียนได้แต่ 12 หน้า”

ประชาคม ลุนาชัย “ตอนเขียน “ฝั่งแสงจันทร์” เขียนรอบแรกได้ 12 น. ทิ้งไปปีนึงกล้บมาเขียนอีกได้ 30 กว่าหน้าทิ้งไว้อีก3-4 ด.กลับมาเขียนได้ 120 น”

ประชาคม ลุนาชัย “ปัญหาในการเขียน ฝั่งแสงจันทร์ ของผม คือ ไม่มีประเด็นที่ชัดเจน ไม่มีความเกี่ยวข้องของเนื้อหาในแต่ละตอน”

ประชาคม ลุนาชัย “ผมเขียน “คนข้ามฝัน” ผมมีตัวละครที่มีเสนห์,เรื่องราวที่เข้มข้นมีพลัง, เนื้อเรื่องแสดงออกถึงความยิ่งใหญ่ของความเป็นมนุษย์”

“ฝั่งแสงจันทร์”ผลงาน ของ ประชาคม ลุนาชัย เป็นหนังสืออ่านนอกเวลาของกรมวิชาการ

“ฝั่งแสงจันทร์”ผลงาน ของ ประชาคม ลุนาชัย (๒๕๔๑) เป็นนวนิยายรางวัลดีเด่นจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๔๑

“เรื่องสั้น มันคือ เกิดไรขึ้น ใครทำให้เกิด เกิดแล้วมีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม คนอ่าน อย่างไร” ประชาคม ลุนาชัย

“คน ที่ไม่ใช่นักข่าว สมมติอยากเขียนเรื่องวัดปทุมฯ ก็ไม่รู้จะเขียนยังไง เพราะว่าไม่มีข้อมูล ก็ต้องตั้งพล็อตแล้วไปหาข้อมูล” ประชาคม ลุนาชัย

“การ เขียนเรื่องสั้น บางครั้ง เอาข้อมูลมารับใช้ตัวเรื่อง บางครั้งเอาตัวเรื่องไปรับใช้ข้อมูล ถ้าเรื่องไหนกระทบใจเรา มันจะมีแรงขับภายใน”ประชาคม

ประชาคม ลุนาชัย “หากแรงขับภายในมันสูง เรื่องสั้นนั้นก็จะมีพลังมาก”

ประชาคม ลุนาชัย “นักเขียนหลายคนโหยหาต่อแง่งามของชีวิต นักเขียนมักจะโหยหาในสิ่งที่ตัวเองขาด”

ประชาคม ลุนาชัย ตอนเขียนนิยาย พี่แกจะเริ่มทำ “ประวัติตัวละคร” เพราะ ตัวละครทุกตัวมันมีชีวิต พี่แกเอาทฤษฎีทางจิตวิทยามาช่วยค.เป็นเหตุเป็นผล

ประชาคม ลุนาชัย “ตัวละครที่ดี ต้องมีความเ็้นมนุษย์สูง คือ มีชีวิตรอบด้าน ไม่แบน แต่มีมิติ ไม่แสดงพฤติกรรมเชิงเดี่ยว”

“ใครจะเป็นนักเขียนจะต้องมีวินัยในการเขียนสูง” เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์

“นักเขียน คือ นักคิด อยู่ที่ไหนก็คิดตลอดเวลา เจอเหตุการณ์์ือะไรก็จะคิด” ประชาคม ลุนาชัย

ประชาคม ลุนาชัย “บางครั้งพล็อตเรื่องสั้นเกิดขึ้นระหว่างทาง ก็จดไว้ แล้วค่อยไปหาข้อมูลมาพัฒนาเรื่อง มันเป็นการสะสมพล็อตเรื่องไว้”

“ถ้าพล็อตไหนไม่อยู่กับเรา แปลว่ามันไม่โดนใจเรา ไม่กินใจเรา เราก็ปล่อยมันไป” ประชาคม ลุนาชัย

ประชาคม ลุนาชัย “นักเขียนอย่าง “ทมยันตี” เสียภาษีปีละหลายล้าน ใครว่าเป็นนักเขียนไส้แห้งนักเขียนมีทั้งสวรรค์และนรก”

ประชาคม ลุนาชัย “นักเขียนก่อนจะเขียนด้วยมือ ต้องเริ่มเขียนด้วยใจก่อน”

“งานเขียนที่ดีต้องมีความคิดรวบยอด คือก่อนมีบรรทัดแรกเรามีบรรทัดสุดท้ายในใจแล้ว” ประชาคม ลุนาชัย

ประชาคม ลุนาชัย “ฝึกการเขียนเริ่มแรกคือ ฝึกความคุ้นเคยกับงานเขียน คิดอะไรในใจอย่าไปเล่าให้ใครฟัง ให้มาเขียนลงกระดาษ”

ประชาคม “ฝึกให้มีความสุขในการบอกเล่าด้วยการเขียน ไม่ใช่บอกเล่าด้วยปาก การบอกเล่าด้วยปากพลังในการบอกเล่ามันจะน้อยกว่าบอกเล่าด้วยการเขียน”

ประชาคม ลุนาชัย “อยากเ็ป็นนักเขียน ให้หมั่นแวะแผงหนังสือ เพื่อรู้ว่านิตยสารไหนบ้างที่มีพื้นที่สำหรับเรื่องสั้น” (1)

ประชาคม ลุนาชัย “อยากเ็ป็นนักเขียน ให้หมั่นแวะร้านหนังสือ เพื่อรู้ว่าสนพงไหนบ้างชอบพิมพ์รวมเล่มเรื่องสั้น” (2)

ประชาคม ลุนาชัย “งานเขียนที่ดี ที่มีคุณค่า จะมีอายุยืนนานกว่าคนเขียนหลายศตวรรษ”

Share

View :2504

ขอแบ่งปันข้อมูลจากการเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” ค่ะ (2)

October 9th, 2010 No comments

กลวิธีการเขียน “เรื่องสั้น” รูปแบบต่างๆ  โดย ชมัยภร แสงกระจ่าง นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย

ภาคบ่ายพบกับ “ไพลิน รุ้งรัตน์” หรือ พี่ชมัยภร แสงกระจ่าง นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย

“เราเขียนหนังสือ เราต้องมีความสุข ถ้าเขียนแล้วไม่มีความสุขอย่าทำเลย” ไพลิน รุ้งรัตน์

“ถ้าอยากเป็นนักเขียน ต้องอ่านให้มากกว่าเดิม อ่านจนเนื้อหาสาระี้ และกลวิธีต่างๆ ของงานเขียนเข้ามาอยู่ในสมองเรา” ไพลิน รุ้งรัตน์

ชมัยภร แสงกระจ่าง หรือ ไพลิน รุ้งรัตน์ เกิดเมื่อปี ๒๔๙๓ ที่จังหวัดจันทบุรี

“เราไม่ได้อ่านแค่หนังสือ แต่เราอ่านชีวิต” ไพลิน รุ้งรัตน์

“การอ่านเป็นการจดจำข้อมูลชีวิต” ไพลิน รุ้งรัตน์

“การ ไปทำข่าว การฟังเขาแถลงข่าว การดูทีวี = การอ่าน… การอ่านชีวิตและตีความอย่างไร ขึ้นกับภูมิหลังของเราึ้ (ฐานข้อมูล)” ไพลิน รุ้งรัตน์

“ทุกคนมีฐานข้อมูลทุกคน อย่ามาบอกว่า โอ๊ยไม่รู้จะเอาอะไรมาเขียน ไม่เคยอกหัก” ไพลิน รุ้งรัตน์

“แค่ ความอยากเป็นนักเขียนไม่พอที่จะทำให้เป็นนักเขียน แต่มันต้องมีความอยากเล่าเรื่อง เรื่องที่อยากเล่ามันมีอะไรบ้างอย่างทำให้ี่เราอยากจะเล่า”

“ความ สะเืทืิอนใจ” เป็นตัวจุดให้เกิดการเขียน เมื่อผสมกับ “จินตนาการ” จะทำให้ “ข้อมูลชีวิต” เป็น “สาระ” ใหม่(ที่ไม่ใช่ข่าว): ไพลิน รุ่งรัตน์

กระบวน การเขียน “ความสะเทือนใจ” ก่อให้เกิดความอยากจะเขียน จากนั้นต้องใช้ “จินตนาการ” –> “ฐานข้อมูล” –> “การลงมือเขียน” : ไพลิน รุ้งรัตน์

ไพลิน รุ้งรัตน์กำลังยกตัวอย่างเรื่อง”ลมหายใจที่ปลายจมูก”อ่านแล้วแยกไม่ออกเลย ว่าเรื่องจริงหรือเรื่องแต่งพอพบนักเขียนจึงถามพบว่าเป็นเรื่องจริง

เป็นเรื่องที่เขียนขึ้นจากความสะเทือนใจอย่างแรง คนเขียนไม่ได้ใช้ฝีมือในการเขียนมาก เพีงแค่ใช้ภาษาเล่าเรื่องธรรมดา

“ถ้า คุณจบเรื่องของคุณไม่ได้ แปลว่าคุณคิดไม่ชัด” ไพลิน รุ้งรัตน์ >>>  เอ..อันนี้เหมือนการเขียนข่าวเลย ถ้าจบไม่ลงแปลว่าประเด็นไม่ชัด

“หากในชีวิตคุณไม่เคยสนใจคนอื่นเลย ก็อยากจะเป็นนักเขียน” ไพลิน รุ้งรัตน์

“เราจะต้องเลือกข้อมูลชีวิตที่เรามี มาใช้ให้เหมาะกับประเภทของงาน งานมันมี สารคดี เรื่องสั้น กวีนิพนธ์ เป็นต้น” ไพลิน รุ้งรัตน์

ไพลิน รุ้งรัตน์ นำเสนอวีดีโอ พร้อมชี้แนะว่า ด้วยข้อมูลนี้ สามารถเอามาทำเป็น สารคดี หรือ เรื่องสั้นก็ได้

“ต้อง เลือกข้อมูลชีิวิต มาเล่ามาเขียน…ถ้าเรื่องคุณดี ต่อให้คุณเขียนไม่ได้ ก็มาเกลาได้ แต่ถ้าคุณภาษาดี แต่เรื่องไม่ดีแก้ยาก” ไพลิน รุ่งรัตน์

ก่อนอื่นเลย ต้องคิด “แก่นเรื่อง” และต้องวางให้ชัดเจนก่อนเลย จากนั้นมาวาง “โครงเรื่อง” และ “ตัวละคร” : ไพลิน รุ้งรัตน์

“เรื่องสั้น จะมีตัวละครน้อย 1-5 ตัว อย่าใช้ตัวละครเยอะ ไม่งั้นจะตามเก็บตัวละครได้ไม่หมด” ไพลิน รุ้งรัตน์

“ตัวละคร คือ ผู้มีบทบาทในเรื่อง ไม่ใช่หมายถึง คน เท่านั้น” ไพลิน รุ้งรัตน์

กระบวน การเขียนเรื่องสั้น –> คิด “แก่นเรื่อง” –> วาง “ตัวละคร” –> วางโครงเรื่อง” (ว่าจะเดินเรื่องยังไง ขัดแย้งกี่ครั้ง): ไพลิน รุ้งรัตน์

กระบวน การเขียนเรื่องสั้น –> คิดแก่นเรื่อง –> วางตัวละคร–> วางโครงเรื่อง(ว่าจะเดินเรื่องยังไงขัดแย้งกี่ครั้ง)–>ลงมือเขียน:ไพลิน รุ้งรัตน์

“เรื่องที่จะเขียนมันต้องมี “ความขัดแย้ง” ไม่งั้นไม่สามารถดินเรื่องต่อได้ ไม่สามารถพัฒนาความขัดแย้งได้” : ไพลิน รุ้งรัตน์

“ความ กระชับ” กับ “วรรณศิลป์” เป็นสิ่งเดียวกัน นักเขียนเรื่องสั้น ต้องเกาะแก่งเรื่องให้แน่น อย่าหลุด อย่าเสียดายข้อมูล: ไพลิน รุ้งรัตน์

การเขียนเรื่องสั้น นอกจาก “แก่นเรื่อง”,”ตัวละคร”,”โครงเรื่อง” แล้ว สิ่งที่อย่าลืม คือ “บทสนมนา” กับ “ฉาก”: ไพลิน รุ้งรัตน์

“การตั้งชื่อเรื่อง” เป็นตัวช่วยหนึ่งในการช่วยให้เราไม่หลงประเด็นที่จะเขียน :ไพลิน รุ้งรัตน์

“การเปิดเรื่อง” กับ “การปิดเรื่อง” เป็นอีกสองสิ่งที่สำคัญในการเขียน :ไพลิน รุ้งรัตน์

การเปิดเรื่อง อย่าเปิดเรื่องแรง ถ้าเิปิดทีเดียวจบ คนอ่านจะไม่ตามอ่านอีก: ไพลิน รุ้งรัตน์

แต่มีบางกรณีที่เปิดเรื่องด้วยตอนจบแต่คนอ่านยังอยากตามอ่านอยู่: ไพลิน รุ้งรัตน์

หัวใจสำคัญของการเขียนเรื่องสั้น คือ จะต้องมีโครงสร้าง(ของเรื่อง) เดียว : ไพลิน รุ้งรัตน์

นวนิยายขนาดสั้น จะีโครงเรื่องย่อย: ไพลิน รุ้งรัตน์

เรื่อง สั้นขนาดยาวกับนวนิยายขนาดสั้น ที่จำนวน30 หน้าเท่ากัน ค.ต่างคือ ชุดของโครงเรื่อง เรื่องสั้นมีโครงเรื่องชุดเดียวเท่านั้น:ไพลิน รุ้งรัตน์

พลังของเรื่องสั้น กับนวนิยาย มันต่างกัน: ไพลิน รุ้งรัตน์

พลัง ของเรื่องสั้น (ที่ดี) จะทำให้คนอ่านจำเรื่องนั้นไปตลอด อ่านจบแล้วเหมือนลูกศรปักกลางอก…แต่นวนิยายมันจะค่อยๆ ซึมเข้ามา: ไพลิน รุ้งรัตน์

การ อ่านเรื่องสั้น อ่านแล้วทิ้งช่วงมาอ่านต่อมันไม่ได้ มันต้องอ่านให้จบเรื่องรวดเดียว:ไพลิน รุ้งรัตน์>ใครเคยอ่านเรื่องสั้นไม่รวดเดียวจบบ้างคะ?

เรื่อง สั้นที่ดีเรื่องต้อง”กระทบใจ”,”สะเทือนใจ”ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเรื่อง เศร้าเสมอไปเรื่องสิ้นที่ดีแบบมีค.สุขก็มีแต่เรื่องเศร้ามันจะแรงกว่า

จบค่ะ

View :2669

ขอแบ่งปันข้อมูลจากการเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” ค่ะ

October 9th, 2010 No comments

ภาพเช้า ปาฐกถาพิเศษ “จากนักข่าวสู่นักเขียน” โดย เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ นักเขียนนักหนังสือพิมพ์อาวุโส

และ สนทนา “จากข้อมูลสู่เรื่องสั้น” โดย รุ่งมณี เมฆโสภณ เจ้าของผลงาน “คนสองแผ่นดิน” และ “ประชาธิปไตยเปื้อนเลือด” และนิรันศักดิ์ บุญจันทร์ บรรณาธิการจุดประกายวรรณกรรม

“”นัก เขียน” ในความหายของคนส่วนใหญ๋ แวบแรก คือ การเขียนนวนิยาย แต่ในความเป็นจริงการเขียนมีหลายรูปแบบ” พี่ประสงค์ นายกฯ สมาคมนักข่าว

ราย นามวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการ”ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” รุ่นที่ 4 ได้แก่ เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์, รุ่งมณี เมฆโสภณ, นิรันศักดิ์ บุญจันทร์(1)ชมัย ภร แสงกระจ่าง, ประชาคม ลุนาชัย, เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์, วัชระ สัจจะสารสิน, อุทิศ เหมะมูล และอริสรา ประดิษฐ์สุวรรณ(ผู้เข้าอบรมรุ่นที่2)(2)

หม่อม เจ้าอากาศ ดำเกิง เป็นผู้จุดประกายให้กับคนอ่านให้เป็นนักข่าว เป็นคนหนึ่ึ่งที่เป็นทั้งนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ รวมถึง ศรีบูรพา ด้วย

ทำไมนักเขียนจึงเป็นนักนสพ.ได้ และทำไมนักนสพ.เป็นนักข่าวได้ เพราะสมัยก่อนเขาเห็นว่าสังคมไม่เป็นธรรมกับคนที่อยู่ในสังคมด้วยกัน

คือ ต้องทำความจริงให้ปรากฏ ..ซึ่งนักข่าวมีประสบการณ์ตรงนี้อยู่ต็มๆ นักเขียนโดยเนื้อแท้อาจจะไม่ได้เป็นนักข่าว อาจจะไม่มีข้อมูลมากเท่านักข่าว

แต่สิ่งที่นักเขียนมีมากกว่านักข่าว คือ “จินตนาการ”

“เริ่มจากการเขียนข่าวให้ถูกต้องตรงข้อเท็จจริง ย่อความให้ได้ เป็นจุดเิ่่ริ่ิมต้นของการเป็นนักเขียน” พี่เรืองชัย ทรัพย์นิรัดร์

“พรสวรรค์เราทุกคนมี แต่อยู่ที่ว่าจะหยิับมันอกมาใช้ได้อย่างไง” พี่เรืองชัย ทรัพย์นิรัดร์

พี่เรืองชัย ทรัพย์นิรัดร์ บอกว่า “จินตนาการ ข้อเท็จจริง และประสบการณ์” คือ 3 ปัจจัยหลักของการเป็นนักเขียน

“เมื่อคุณอยากเป็นนักเขียน ให้คุณลงมือเขียน” พี่เรืองชัย ทรัพย์นิรัดร์

sesion ต่อไป คือ พี่รุ่งมณี เมฆโสภณ ผู้เขียน “ประชาธิปไตยเปื้อนเลือด” และ พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์ บก.จุดประกายวรรณกรรม

พี่ นิรันศักดิ์ บุญจันทร์”ยุคนี้ถ้าคุณอยากจะเขียนหนังสือคุณได้กระโดจนเข้าไปครึ่งตัวแล้ว การเป็นนักข่าวได้เปรียบมากในเรื่องของการมีข้อมูลในมือ”

พี่ นิรันศักดิ์”ผมแปลกใจมากว่าสถานการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา ไม่มีเรื่องสั้นหรืองานวรรณกรรมออกมาเลย สมัยก่อนนักเขียนนักข่าวคือตัวตนคนเดียวกัน”

พี่ นิรันศักดิ์ “การเป็นนักข่าวได้ความจริง นักเขียนคือความมีวรรณศิลป์ อาิาทิ ภาษาข่าว คือ “เขากล่าวว่า”,นักเขียน “เขากระซิบบอก” “เขาเอ่ยว่า”

พี่ รุ่งมณี โสภณ บอกว่า “ความร่ำรวยทางภาษา เกิดจากการอ่าน คือการสะสมเชิงปริมาณ สู่คุณภาพ จะเป็นนักเขียนที่ดีไม่ได้เลยหากไม่ได้อ่านหนังสือ”

“การ อ่านทำให้องค์ความรู้กว้างกว่าคนอื่น ทำให้เกิดการตั้งคำถามที่ดีกว่าคนอื่น การไม่อ่านนอกจะไเป็นนักเขียนไม่ได้แล้วยังเป็นนักข่าวไม่ได้ด้วย”

“การ เป็นนักเขียนต้องเป็นคนช่างสังเกตด้วย เพราะบางทีนักเขียนไม่ได้มีประสบการณ์ตรงหรอกแต่ใช้วิธีสังเกตและใส่ จินตนาการ”พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

“การ เป็นนักเขียนต้องเรียนรู้รูปแบบของงานเขียนด้วย โดยพื้นฐานมันจะมีรูปแบบมันอยู่แต่ไม่จำเป็นต้องยึดรูปแบที่ตายตัว” พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

“รูป แบบงานเขียน อาทิ รูปแบบงานเขียนเรื่องสั้น มีพล็อต มีวิธีการเดินเรื่อง มีจุดไคลแม็กซ์ มีจุดหักมุม เป็นต้น” พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

“โดยความเชื่อของผม นักข่าว คือ นักเขียน คนหนึ่ง เพราะเขามีเรื่องอยู่ เรื่องที่สามารถเอามาเขียนได้” พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

“การเลือกอ่านหนังสือที่ดี จะเป็นแรงส่งสู่การเป็นนักเขียนที่ดีอีกอย่างหนึ่ง” พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

“งานนักข่าวเป็นงานของข้อเท็จจริง มันเพ้อเจ้อไม่ได้ เลยอยากมากอบรมเป็นนักเขียน” นี่คือเหตุผลของนักข่าวหลายคนที่บอกกับวิทยากร

“การ เป็นนักเขียน คนที่รักงานเขียน เหมือนคนที่ทำงานไม่รู้จักเสร็จสิ้น เขียนแบบไม่รู้เหน็ดรู้เหนื่อย/การเป็นนักเขียน ต้อง”ชอบเขียน” พี่รุ่งมณี

“การชอบเล่า การชอบฝัน ไม่ทำให้เราเป็นนักเขียนได้ การเป็นนักเขียน ต้องชอบเขียน ไม่ว่าจะเขียนอะไรก็ตาม” พี่รุ่งมณี

พี่รุ่งมณี กำลังยกตัวอย่างพล็อตเรื่อง CSI ว่าเรื่องแค่ 45 นาที วางโครงเรื่องซับซ้อนไปมา …(เรื่องนี้โดยส่วนตัวชอบดูมาก)

พี่รุ่งมณี กำลังยกตย. เรื่องสั้นของคุณ มนู จรรยงค์ ลูกชายคุณมนัส จรรยงค์ ที่ชอบเขียนเรื่องของ”คนเล็กๆ”

“การเป็นนักเขียนต้องมีตาใน ที่เก็บรายละเอียดของคนเล็กๆ บางทีการเป็นนักข่าว ตาเรามักจะไปจับจ้องแต่คนใหญ่ๆ” พี่รุ่งมณี

พี่นิรันดร์ศักดิ์ บุญจันทร์ “คุณเล่าเรื่องเป็นไหม เล่าโดยการเขียน ไม่ใช่การเล่าปากเปล่า”

“ยุคนี้ถ้าคุณเขียนนิยายได้ประสบความสำเร็จสักเล่มหนึ่ง คุณจะลืมอาชีพนักข่าวไปเลย” พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

พี่นิรันศักดิ์ บอกว่า ให้ลองใช้เวลาเสาร์อาทิตย์เขียนเรื่องสั้นสักเรื่อง … แต่ปัญหาของนักข่าวคือเรื่องเวลา

อย่า บอกว่าไม่มีเวลาถ้าต้องการทำความฝันให้เป็นจริงเราต้องจัดการกับเวลาของตัว เองต้องกำหนดเป้าหมายและเส้นทางเองต้องทำงานหนักด้วยตัวเอง:รุ่งมณี

การเขียนตามเว็บ ตามบล็อก ส่วนหนึ่งใช่ “งานเขียน” แต่อีกหลายส่วนเป็นแค่ “การแสดงความคิดเห็น”… พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

“การ เขียนตามเว็บ ตามบล็อก เป็นงานวรรณกรรมที่ดีรึยัง…คำตอบคือ งานวรรณกรรมที่ดีต้องผ่านการพิสูจน์และยอมรับจากคนอ่านเสียก่อน” พี่นิรันศักดิ์

“ไม่ว่านักข่าวหรือ นักเขียน ชัยชนะของการเขียน คือ ข้อมูล” พี่รุ่งมณี เมฆโสภณ

“นักข่าวข้อมูลเยอะ เพราะฉะนั้นต้องฝึกให้จัดการกับข้อมูลให้เป็น” พี่รุ่งมณี เมฆโสภณ

จบภาคเช้าค่ะ

View :2416