Home > Internet, Mobile Phone, Technology > ตาม TL ของ @DrNatee39G พูดเรื่อง 3จี

ตาม TL ของ @DrNatee39G พูดเรื่อง 3จี

Dr. Natee Sukonrat

ประกาศ กทช. ว่าด้วยการออกใบอนุญาต ซึ่งเป็นกฎหมายหลักในกระบวนการออกใบอนุญาตครั้งนี้ มีแนวความคิดที่สำคัญประการหนึ่งคือการส่งเสริม = Mobile Virtual Networks Operator หมายถึง ผู้ประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง

ดัง นั้น MVNO จึงเป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเองแต่อาศัยเช่าใช้จากผู้ที่มีโครงข่าย  จากข้อจำกัดที่ความถี่่มีเพียง 45 MHz ทำให้สามารถออกใบอนุญาตได้เพียง 3 ใบ ซึ่งผู้ที่ชนะการประมูลจะเป็น MNO (Mobile Networks Operator)

ดัง นั้นสาระสำคัญของความสัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่าง MNO กับ MVNO ก็คือ MNO เป็นผู้ขายส่ง ในขณะที่ MVNO เป็นผู้ประกอบกิจการขายปลีก วัตถุประสงค์ในการออกใบอนุญาตในครั้งนี้ที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ เพิ่มการแข่งขัน อาจสำเร็จได้ด้วยการเพิ่มผู้ประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที คณะกรรมการ 3G จึงได้กำหนดให้ MNO ทั้ง 3 ราย จะต้องประกันขีดความสามารถในการให้บริการ (Capacity) สำหรับ MVNO อย่างน้อย 40% ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นนโยบายที่สำคัญมาก เนื่องจาก MNO จะต้องลงทุนจำนวนมาก คนไทยจำนวนน้อยมีขีดความสามารถลงทุนมหาศาลเป็น MNO ได้  เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบกิจการคนไทยที่ต้องการให้บริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่แต่มีทุนไม่เพียงพอ กทช. จึงกำหนดให้มีการประกัน 40% ดังกล่าว

ใน 40% อาจมี MVNO มากกว่า 1 ราย สาระสำคัญก็คือ การโอกาสของผู้ประกอบกิจการคนไทยรายเล็กและกลาง ได้มีโอกาสให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ นอกจากผู้ประกอบกิจการทั่วไปแล้ว ยังมีคนไทยที่มีขีดความสามารถคิดนวัตกรรมใหม่ๆ ให้บริการผ่านโครงข่าย จะสามารถใช้ช่องทางเหล่านี้ได้อีกด้วย ประกาศกำหนดให้ MNO ไม่สามารถปฏิเสธการมาขอเป็น MVNO ของรายเล็กและรายกลางที่ต้องการได้ เว้นแต่มีผู้บริการ MVNO อยู่แล้วมากกว่า 40% VNO มีหลายระดับจากต่ำสุดคือ Thin MVNO มีเฉพาะซิมขาย ถัดมาเป็น Medium MVNO นอกจากซิมแล้วยังมีระบบคิดเงินและอุปกรณ์หลักอื่นๆ  ระดับสูงสุดจะเป็นรูปแบบที่เรียกว่า Full MVNO ซึ่งจะมีโครงสร้างเกือบทุกอย่างเช่นเดียวกับ MNO เว้นแต่ไม่มีคลื่นความถี่ใช้งานเป็นของตนเอง กทช. หวังว่าหลังจากออกใบอนุญาต 3G แล้วเราจะเห็น Thin MVNO จำนวนหลายรายพัฒนาไปเป็น Medium และ Full MVNO เมื่อเวลาผ่านไป

เรา อยากจะเห็น Full MVNO พัฒนาไปเป็น MNO เมื่อเป็น 4G ในวันข้างหน้า จากการส่งเสริมดังกล่าวมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาผู้ประกอบกิจการคนไทย  นอกจากจะต้องให้โอกาสกับ MVNO แล้ว กทช. ยังต้องกำหนดราคาขายในลักษณะที่เป็นการขายส่งที่จะต้องไม่ทำให้ MVNO ไม่สามารถประกอบกิจการได้ เรากำลังคิดราคาในลักษณะสัดส่วนของราคาขายปลีก ที่ MNO ให้บริการอยู่ เช่น อาจลดลงจากราคาขายปลีก 20-30% เป็นค่าการตลาดให้ MVNO

การกำหนด MVNO เป็นช่องทางหนึ่งที่สร้างโอกาสให้กับคนไทยที่มีทุนน้อยแต่มีนวัตกรรมและ เพิ่มการแข่งขันเกิดประโยชน์กับผู้บริโภคโดยรวมครับ

Dr. Natee Sukonrat , Commissioner of the  National Telecommunications Commission

View :2769
  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.