Home > Internet, Social Media > มุมมองนักกฏหมาย กรณีทวิตเตอร์นายกฯ ยิ่งลักษณ์โดนแฮค

มุมมองนักกฏหมาย กรณีทวิตเตอร์นายกฯ ยิ่งลักษณ์โดนแฮค

เมื่อเช้าหลังจากที่รัฐมนตรีอนุดิษฐ์​นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแถลงข่าวความคืบหน้าของกรณีทวิตเตอร์นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรเสร็จสิ้นตอนเช้าของวันนี้ อาจารย์ไพบูลย์​ อมรภิญโญเกียรติ นักกฎหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ทวิตแสดงความคิดเห็นดังนี้

@paiboona: น่าติดตามแถลงข่าวของไอซีทีกรณีแฮ็กทวิตเตอร์อย่างยิ่งโดยเฉพาะการตั้งข้อกล่าวหากับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและการปรับใช้พรบคอมฯครับ

@paiboona: หลังไอซีทีแถลงผมจะวิเคราะห์ข้อเท็จจริงกับข้อกมครับว่าจะจับคนร้ายได้?ไอซีทีถูกแฮ็กทุกทีที่มีการเปลี่ยนขั้วการเมืองแต่ไม่เคยจับคนร้ายได้เลย?

เลยถือโอกาสสอบถามอาจาย์ดังนี้….​

@lekasina: ไม่แน่ใจว่า ขอข้อมูลอะไรไปบ้างค่ะ ทางนั้นเขาสามารถให้ข้อมูลบางอย่างได้ไหมคะ หากรัฐบาลร้องขออ่ะค่ะ

@paiboona: เป็นดุลยพินิจของทวีตเตอร์ครับ

@paiboona: เท่าที่เคยทำในทางคดีจะให้แค่ไอพีแต่ข้อมูลส่วนบุคคลไม่ให้ครับขัดต่อกมอเมริกา ทวีตเตอร์ยึดข้อกำหนดในเว็บไซท์เป็นหลักครับ

@paiboona: ที่สำคัญตอนนี้ยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหากับผู้ต้องสงสัยเลยครับแล้วใช้อำนาจอะไรไปขอทวีตเตอร์ที่เป็นบริษัทที่มีที่อยู่ในต่างปท.ครับ

@paiboona: ทางปฏิบัติแค่ไอพีไม่พอครับยิ่งถ้ามืออาชีพจะปลอมไอพีและใช้ dynamic IP ครับแต่ถ้าเป็นมือสมัครเล่นอาจได้ผลครับ

@lekasina: แล้วเคสนี้อาจารย์มองว่า มืออาชีพไหมคะ

@paiboona: ส่วนตัวผมยังเชื่อว่าไม่มีการแฮกแต่เป็นเรื่องรหัสผ่านหลุดไปยังบุคคลภายนอกครับ แต่ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นครับ

@paiboona: ฟังแถลงไอซีทีแล้วไม่เชื่อว่ารู้ตัวแล้วเร็วไปการทำCyber investigation ต้องใช้เวลาและคดีนี้ต้องมีการทำcomputer forensic เพื่อยืนยันตัวคนทำด้วย

ประเด็นขอข้อมูลจากทวิตเตอร์อเมริกาคงไม่ให้ครับ เพราะดูจากเนื้อหากระทู้ไม่น่าผิดกมอเมริกาครับเท่าที่ดูอาจจะเป็นแค่ไฟไหม้ฟางเหมือนที่คมช.เคยโดน

การแฮ็กFBหรือTwitterเป็นไปได้ยากมากเพราะดู algorhytm และระบบความปลอดภัยของทั้งสองเว็บยากต่อการแฮ็กมาก และupdatedตลอดเวลาปัญหาที่userมากกว่าครับ

ปัญหาในคดีส่วนใหญ่ในเมืองไทยช่องโหว่วของการใช้SMอยู่ที่ผู้ใช้ครับเช่นการจำรหัสผ่าน การแชร์รหัสผ่านในกลุ่มผู้ใช้. ลืม log out หลังใช้งานครับ

เมื่อคืน (คืนวันเกิดเหตุทวิตเตอร์นายกฯ ถูกแฮค) ได้สอบถามอาจารย์ไพบูลย์​ดผ่านไทม์ไลน์ทวิตเตอร์ดังนี้ค่ะ

@lekasina: คิดว่ากรณีนี้จะส่งผลอย่างไรต่อร่างพรบ.คอมพ์ฉบับปี.ที่ตอนนี้อยู่ที่ก.ไอซีทีบ้างไหมคะ

@paiboona: ถ้าจับไม่ได้ก็คงแก้กมให้รุนแรงขึ้นแน่นอนครับ

@paiboona: จริงๆแล้วการแฮ็กครั้งนี้เป็นดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพของไอซีทีและหน่วยงานรัฐเป็นอย่างดีถ้าจับคนผิดไม่ได้แล้วถ้าปชชเป็นผู้เสียหายจะทำ?

@paiboona:ส่วนตัวผมว่าการปรับข้อกมกับการแฮ็กที่เกิดขึ้นชัดเจนและง่ายต่อการปรับใช้มากแต่หากไม่เข้าใจก็คงเสนอแก้กมแรงขึ้นซึ่งแก้ไขไม่ตรงจุด

@paiboona:เป็นไปได้ครับแต่ต้องตามว่าใครเป็นเจ้าภาพยกร่างครับ:) รัฐบาลชุดนี้ไม่น่าใช้ร่างรัฐบาลเดิมเพราะถูกวิจารณ์หนักมากครับ

@lekasina:อาจารย์เห็นด้วยไหมคะที่จะแยกเอาพรบ.คอมพ์ออกมาเป็น pure computer crime ไปเลยอ่ะค่ะ

@paiboona: ที่ถูกควรเป็นอย่างนั้นแต่ติดปัญหาที่กม.วิอาญา วิอาญาปัจจุบันไม่ให้อำนาจตำรวจและศาลรวบรวมพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ก่อนฟ้องหรือแจ้งความถ้าไม่แก้วิอาญาก็คงต้องใช้พรบคอมฯไปก่อนครับ

@lekasina: แปลว่าหากจะมีการผลักดันร่างพรบ.คอมพ์อีกครั้ง จะไม่ร่างเดิมทียกสมัยรมว.จุติหรือคะ

@paiboona:คิดว่าคนละขั้วกันไม่น่าใช้ร่างเก่าครับ

@lekasina: อย่างนี้..ยกร่างนานไหมคะ หากทำกันตามกระบวนการปกติอ่ะค่ะ

@paiboona:ขึ้นอยู่กับทีมที่ยกร่างถ้ายกร่างดีๆ+ประชาพิจารณ์ก็น่าจะอย่างน้อย1ปีครับ

@lekasina: หากจะมีการปรับร่าง อาจารยืคิดว่มีประเด็นหลักๆ อะไรบ้างคะที่คนยกร่างชุดใหม่จะปรับแก้ จากร่างปัจจุบันอ่ะค่ะ

@paiboona: หลายประเด็นครับ >> ตัดเรื่องทำสำเนาออกครับเพิ่มเรื่องการยกเว้นความรับผิดของผู้ให้บริการตามม15อาจเลียนแบบDMCA กมอเมริกา ไม่จำเป็นต้องมีหน่วยงานเฉพาะ >> การได้มาซึ่งพยานหลักฐานฯลฯครับ >>ที่สำคัญยกเลิกการอบรมพนงไอซีทีหรือcyber cop ที่ใช้แบบเร่งด่วน 4วัน เป็น4เดือนตามกมและมีการอบรมด้านcomputer forensicอย่างจริงจัง

@lekasina หากมีการยกร่างใหม่จริงๆ และปรับแก้ตามประเด็นที่อจกล่าวมา จะทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์น้อยลงไหมคะ ได้รับการสนับสนุนมากขึ้นไหมคะ

@paiboona: ครับ อยากให้คนที่ร่างคือคนที่ถูกบังคับใช้ด้วยเช่นสื่อ ไอเอสพี โฮสติ้ง คนทำเว็บ ฯลฯไม่ใช่ตำราของรัฐ+นักวิชาการที่ไม่ได้ปฏิบัติจริงครับ

@lekasina ต้องขึ้นกับว่า กระบวนการยกร่างของเขาจะเปิดโอกาสให้ปชช. ในแต่ละภาคส่วนเข้าไปมีส่วนร่วมมากน้อยแค่ไหนด้วยใช้่ไหมคะ

@paiboona: ใช่ครับ

View :2853
  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.