ขอแบ่งปันข้อมูลจากการเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” ค่ะ (3)

October 9th, 2010 No comments

ภาคบ่ายช่วงสอง “พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักเขียนเรื่องสั้น”

พบนักเขียนซีไรท์ เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ กวีซีไรต์และ์เจ้าของผลงานเรื่องสั้น”เหมือนว่าเมื่อวานนี้เอง”  กับ ประชามคม ลุนาชัย นักเขียนรางวัลเซเว่นบุ๊คอะวอร์ด

“ถ้าเราเขียนหนังสือทุกวันๆ หน้า ปีหนึ่งเราก็จะได้หนังสือนิยายหนึ่งเล่ม” ประชมคา ลุนาชัย

เร วัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ “ในวัยเด็กไม่ค่อยมีเพื่อน ไม่ค่อยลงเลยกับพ่อ เลยมีความเหงา ความโดดเดี่ยว เลยใช้จินตนาการ ใช้หนังสือเป็นเพื่อน”

เร วัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ “ตอนแรกไม่รู้ว่าเราจะเป็นนักเขียนได้ยังไง เพียงแต่อ่าน อ่าน อ่าน แล้วรู้สึกว่ามีโลกที่กว้างไกลรออยู่ข้างหน้า”

เร วัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ “ได้มาอยู่ใกล้คนเขียนหนังสือ/อ่านหนังสือ ้ได้มีโอกาสอ่านหนังสือมากขึ้น มีเพื่อน”คอวรรณกรรม”คุย ทำให้ค.คิดลึกซึ้งขึ้น”

ประชาคม ลุนาชัย “เมื่อก่อนนักเขียนไทยจะมาจากสายนักนสพ.เยอะมาก นักข่าวส่วนใหญ่จะได้พานพบข้อมูล/วัตถุดิบ แล้วแปลเปลี่ยนมาเป็นงานเขียนได้”

ประชาคม ลุนาชัย “นักข่าวภาคสนามจะมีข้อมูลมาก ผมไม่ใช่นักข่าวภาคสนาม แต่ผมก้าวลงสนามชีวิต พบปะผู้คน ดวงตาที่ไปมองเห็น คือ ดวงตาของนักเขียน”

ประชาคม ลุนาชัย “ดวงตาของนักเขียน ขาจะอ่านทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาเผชิญ/พานพบ การอ่านหนังสือไม่ใช่แค่การอ่านหนังสือแต่จะตีความไปอ่านสังคม/คน”

ประชาคม ลุนาชัย “ถ้าเรามองทุกอย่างแบบเฉยๆ เราจะไม่มีเรื่องสั้น ไม่มีวรรณศิลป์อยู่ในนั้น แต่เราต้องมองให้ลึกลงไปกว่านั้น”

ประชาคม ลุนาชัย “ผมเลยคิดว่าจะเขียนเรื่องสั้นตัวละครคือ พนักงานรปภ. แล้วหา “คู่ขัดแย้ง” ที่จะทำให้เกิด โศกนาฏกรรม/สุขนาฏกรรม ซึ่งคือเจ้านาย”

ประชาคม ลุนาชัย “เอาประสบการณ์ชีวิตทำงานที่น่าเบื่อผมมาสร้างเป็นเรื่องที่มีคู่ขัดแย้ง มีค.ขัดแย้ง ที่ก่อให้เกิดโศกนาฏกรรม/สุขนาฏกรรม”

ประชาคม ลุนาชัย “นักข่าวที่ลงพื้นที่ก็สามารถไล่ต้อนเหตุการณ์มาโลกแคบของต้วเอง มองให้กว้าง คิดให้ลึก ศึกษาให้ละเอียด บีบให้แคบ”

เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ “เหตุการณ์ต้องกระทบใจผมมากๆ ผมถึงจะเขียนได้ลื่นไหล ไม่ติดขัด”

เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ “ถ้าเราไม่รู้สึกกับเหตุการณื เรื่องราวต่างๆ นั้นมากพอ แม้มีข้อมูลมากมาย ผมก็ต้องทิ้งมัน เขียนมันไม่ได้”

เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ “นักเขียนทุกคนไม่มีใครไม่เคยไปร้านหนังสือ การอ่านเป็นต้นทุนที่เยอะมากๆ สำหรับผม นอกจากนี้คือการสังเกต”

ประชาคม ลุนาชัย “นิยายเรื่องแรกของผม ผมมีปัญหากับการเขียนมาก เพราะวางประเด็นไว้ไม่ชัดเจน กะจะคิดไปเขียนไป รอบแรกเขียนได้แต่ 12 หน้า”

ประชาคม ลุนาชัย “ตอนเขียน “ฝั่งแสงจันทร์” เขียนรอบแรกได้ 12 น. ทิ้งไปปีนึงกล้บมาเขียนอีกได้ 30 กว่าหน้าทิ้งไว้อีก3-4 ด.กลับมาเขียนได้ 120 น”

ประชาคม ลุนาชัย “ปัญหาในการเขียน ฝั่งแสงจันทร์ ของผม คือ ไม่มีประเด็นที่ชัดเจน ไม่มีความเกี่ยวข้องของเนื้อหาในแต่ละตอน”

ประชาคม ลุนาชัย “ผมเขียน “คนข้ามฝัน” ผมมีตัวละครที่มีเสนห์,เรื่องราวที่เข้มข้นมีพลัง, เนื้อเรื่องแสดงออกถึงความยิ่งใหญ่ของความเป็นมนุษย์”

“ฝั่งแสงจันทร์”ผลงาน ของ ประชาคม ลุนาชัย เป็นหนังสืออ่านนอกเวลาของกรมวิชาการ

“ฝั่งแสงจันทร์”ผลงาน ของ ประชาคม ลุนาชัย (๒๕๔๑) เป็นนวนิยายรางวัลดีเด่นจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๔๑

“เรื่องสั้น มันคือ เกิดไรขึ้น ใครทำให้เกิด เกิดแล้วมีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม คนอ่าน อย่างไร” ประชาคม ลุนาชัย

“คน ที่ไม่ใช่นักข่าว สมมติอยากเขียนเรื่องวัดปทุมฯ ก็ไม่รู้จะเขียนยังไง เพราะว่าไม่มีข้อมูล ก็ต้องตั้งพล็อตแล้วไปหาข้อมูล” ประชาคม ลุนาชัย

“การ เขียนเรื่องสั้น บางครั้ง เอาข้อมูลมารับใช้ตัวเรื่อง บางครั้งเอาตัวเรื่องไปรับใช้ข้อมูล ถ้าเรื่องไหนกระทบใจเรา มันจะมีแรงขับภายใน”ประชาคม

ประชาคม ลุนาชัย “หากแรงขับภายในมันสูง เรื่องสั้นนั้นก็จะมีพลังมาก”

ประชาคม ลุนาชัย “นักเขียนหลายคนโหยหาต่อแง่งามของชีวิต นักเขียนมักจะโหยหาในสิ่งที่ตัวเองขาด”

ประชาคม ลุนาชัย ตอนเขียนนิยาย พี่แกจะเริ่มทำ “ประวัติตัวละคร” เพราะ ตัวละครทุกตัวมันมีชีวิต พี่แกเอาทฤษฎีทางจิตวิทยามาช่วยค.เป็นเหตุเป็นผล

ประชาคม ลุนาชัย “ตัวละครที่ดี ต้องมีความเ็้นมนุษย์สูง คือ มีชีวิตรอบด้าน ไม่แบน แต่มีมิติ ไม่แสดงพฤติกรรมเชิงเดี่ยว”

“ใครจะเป็นนักเขียนจะต้องมีวินัยในการเขียนสูง” เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์

“นักเขียน คือ นักคิด อยู่ที่ไหนก็คิดตลอดเวลา เจอเหตุการณ์์ือะไรก็จะคิด” ประชาคม ลุนาชัย

ประชาคม ลุนาชัย “บางครั้งพล็อตเรื่องสั้นเกิดขึ้นระหว่างทาง ก็จดไว้ แล้วค่อยไปหาข้อมูลมาพัฒนาเรื่อง มันเป็นการสะสมพล็อตเรื่องไว้”

“ถ้าพล็อตไหนไม่อยู่กับเรา แปลว่ามันไม่โดนใจเรา ไม่กินใจเรา เราก็ปล่อยมันไป” ประชาคม ลุนาชัย

ประชาคม ลุนาชัย “นักเขียนอย่าง “ทมยันตี” เสียภาษีปีละหลายล้าน ใครว่าเป็นนักเขียนไส้แห้งนักเขียนมีทั้งสวรรค์และนรก”

ประชาคม ลุนาชัย “นักเขียนก่อนจะเขียนด้วยมือ ต้องเริ่มเขียนด้วยใจก่อน”

“งานเขียนที่ดีต้องมีความคิดรวบยอด คือก่อนมีบรรทัดแรกเรามีบรรทัดสุดท้ายในใจแล้ว” ประชาคม ลุนาชัย

ประชาคม ลุนาชัย “ฝึกการเขียนเริ่มแรกคือ ฝึกความคุ้นเคยกับงานเขียน คิดอะไรในใจอย่าไปเล่าให้ใครฟัง ให้มาเขียนลงกระดาษ”

ประชาคม “ฝึกให้มีความสุขในการบอกเล่าด้วยการเขียน ไม่ใช่บอกเล่าด้วยปาก การบอกเล่าด้วยปากพลังในการบอกเล่ามันจะน้อยกว่าบอกเล่าด้วยการเขียน”

ประชาคม ลุนาชัย “อยากเ็ป็นนักเขียน ให้หมั่นแวะแผงหนังสือ เพื่อรู้ว่านิตยสารไหนบ้างที่มีพื้นที่สำหรับเรื่องสั้น” (1)

ประชาคม ลุนาชัย “อยากเ็ป็นนักเขียน ให้หมั่นแวะร้านหนังสือ เพื่อรู้ว่าสนพงไหนบ้างชอบพิมพ์รวมเล่มเรื่องสั้น” (2)

ประชาคม ลุนาชัย “งานเขียนที่ดี ที่มีคุณค่า จะมีอายุยืนนานกว่าคนเขียนหลายศตวรรษ”

Share

View :2505

ขอแบ่งปันข้อมูลจากการเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” ค่ะ (2)

October 9th, 2010 No comments

กลวิธีการเขียน “เรื่องสั้น” รูปแบบต่างๆ  โดย ชมัยภร แสงกระจ่าง นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย

ภาคบ่ายพบกับ “ไพลิน รุ้งรัตน์” หรือ พี่ชมัยภร แสงกระจ่าง นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย

“เราเขียนหนังสือ เราต้องมีความสุข ถ้าเขียนแล้วไม่มีความสุขอย่าทำเลย” ไพลิน รุ้งรัตน์

“ถ้าอยากเป็นนักเขียน ต้องอ่านให้มากกว่าเดิม อ่านจนเนื้อหาสาระี้ และกลวิธีต่างๆ ของงานเขียนเข้ามาอยู่ในสมองเรา” ไพลิน รุ้งรัตน์

ชมัยภร แสงกระจ่าง หรือ ไพลิน รุ้งรัตน์ เกิดเมื่อปี ๒๔๙๓ ที่จังหวัดจันทบุรี

“เราไม่ได้อ่านแค่หนังสือ แต่เราอ่านชีวิต” ไพลิน รุ้งรัตน์

“การอ่านเป็นการจดจำข้อมูลชีวิต” ไพลิน รุ้งรัตน์

“การ ไปทำข่าว การฟังเขาแถลงข่าว การดูทีวี = การอ่าน… การอ่านชีวิตและตีความอย่างไร ขึ้นกับภูมิหลังของเราึ้ (ฐานข้อมูล)” ไพลิน รุ้งรัตน์

“ทุกคนมีฐานข้อมูลทุกคน อย่ามาบอกว่า โอ๊ยไม่รู้จะเอาอะไรมาเขียน ไม่เคยอกหัก” ไพลิน รุ้งรัตน์

“แค่ ความอยากเป็นนักเขียนไม่พอที่จะทำให้เป็นนักเขียน แต่มันต้องมีความอยากเล่าเรื่อง เรื่องที่อยากเล่ามันมีอะไรบ้างอย่างทำให้ี่เราอยากจะเล่า”

“ความ สะเืทืิอนใจ” เป็นตัวจุดให้เกิดการเขียน เมื่อผสมกับ “จินตนาการ” จะทำให้ “ข้อมูลชีวิต” เป็น “สาระ” ใหม่(ที่ไม่ใช่ข่าว): ไพลิน รุ่งรัตน์

กระบวน การเขียน “ความสะเทือนใจ” ก่อให้เกิดความอยากจะเขียน จากนั้นต้องใช้ “จินตนาการ” –> “ฐานข้อมูล” –> “การลงมือเขียน” : ไพลิน รุ้งรัตน์

ไพลิน รุ้งรัตน์กำลังยกตัวอย่างเรื่อง”ลมหายใจที่ปลายจมูก”อ่านแล้วแยกไม่ออกเลย ว่าเรื่องจริงหรือเรื่องแต่งพอพบนักเขียนจึงถามพบว่าเป็นเรื่องจริง

เป็นเรื่องที่เขียนขึ้นจากความสะเทือนใจอย่างแรง คนเขียนไม่ได้ใช้ฝีมือในการเขียนมาก เพีงแค่ใช้ภาษาเล่าเรื่องธรรมดา

“ถ้า คุณจบเรื่องของคุณไม่ได้ แปลว่าคุณคิดไม่ชัด” ไพลิน รุ้งรัตน์ >>>  เอ..อันนี้เหมือนการเขียนข่าวเลย ถ้าจบไม่ลงแปลว่าประเด็นไม่ชัด

“หากในชีวิตคุณไม่เคยสนใจคนอื่นเลย ก็อยากจะเป็นนักเขียน” ไพลิน รุ้งรัตน์

“เราจะต้องเลือกข้อมูลชีวิตที่เรามี มาใช้ให้เหมาะกับประเภทของงาน งานมันมี สารคดี เรื่องสั้น กวีนิพนธ์ เป็นต้น” ไพลิน รุ้งรัตน์

ไพลิน รุ้งรัตน์ นำเสนอวีดีโอ พร้อมชี้แนะว่า ด้วยข้อมูลนี้ สามารถเอามาทำเป็น สารคดี หรือ เรื่องสั้นก็ได้

“ต้อง เลือกข้อมูลชีิวิต มาเล่ามาเขียน…ถ้าเรื่องคุณดี ต่อให้คุณเขียนไม่ได้ ก็มาเกลาได้ แต่ถ้าคุณภาษาดี แต่เรื่องไม่ดีแก้ยาก” ไพลิน รุ่งรัตน์

ก่อนอื่นเลย ต้องคิด “แก่นเรื่อง” และต้องวางให้ชัดเจนก่อนเลย จากนั้นมาวาง “โครงเรื่อง” และ “ตัวละคร” : ไพลิน รุ้งรัตน์

“เรื่องสั้น จะมีตัวละครน้อย 1-5 ตัว อย่าใช้ตัวละครเยอะ ไม่งั้นจะตามเก็บตัวละครได้ไม่หมด” ไพลิน รุ้งรัตน์

“ตัวละคร คือ ผู้มีบทบาทในเรื่อง ไม่ใช่หมายถึง คน เท่านั้น” ไพลิน รุ้งรัตน์

กระบวน การเขียนเรื่องสั้น –> คิด “แก่นเรื่อง” –> วาง “ตัวละคร” –> วางโครงเรื่อง” (ว่าจะเดินเรื่องยังไง ขัดแย้งกี่ครั้ง): ไพลิน รุ้งรัตน์

กระบวน การเขียนเรื่องสั้น –> คิดแก่นเรื่อง –> วางตัวละคร–> วางโครงเรื่อง(ว่าจะเดินเรื่องยังไงขัดแย้งกี่ครั้ง)–>ลงมือเขียน:ไพลิน รุ้งรัตน์

“เรื่องที่จะเขียนมันต้องมี “ความขัดแย้ง” ไม่งั้นไม่สามารถดินเรื่องต่อได้ ไม่สามารถพัฒนาความขัดแย้งได้” : ไพลิน รุ้งรัตน์

“ความ กระชับ” กับ “วรรณศิลป์” เป็นสิ่งเดียวกัน นักเขียนเรื่องสั้น ต้องเกาะแก่งเรื่องให้แน่น อย่าหลุด อย่าเสียดายข้อมูล: ไพลิน รุ้งรัตน์

การเขียนเรื่องสั้น นอกจาก “แก่นเรื่อง”,”ตัวละคร”,”โครงเรื่อง” แล้ว สิ่งที่อย่าลืม คือ “บทสนมนา” กับ “ฉาก”: ไพลิน รุ้งรัตน์

“การตั้งชื่อเรื่อง” เป็นตัวช่วยหนึ่งในการช่วยให้เราไม่หลงประเด็นที่จะเขียน :ไพลิน รุ้งรัตน์

“การเปิดเรื่อง” กับ “การปิดเรื่อง” เป็นอีกสองสิ่งที่สำคัญในการเขียน :ไพลิน รุ้งรัตน์

การเปิดเรื่อง อย่าเปิดเรื่องแรง ถ้าเิปิดทีเดียวจบ คนอ่านจะไม่ตามอ่านอีก: ไพลิน รุ้งรัตน์

แต่มีบางกรณีที่เปิดเรื่องด้วยตอนจบแต่คนอ่านยังอยากตามอ่านอยู่: ไพลิน รุ้งรัตน์

หัวใจสำคัญของการเขียนเรื่องสั้น คือ จะต้องมีโครงสร้าง(ของเรื่อง) เดียว : ไพลิน รุ้งรัตน์

นวนิยายขนาดสั้น จะีโครงเรื่องย่อย: ไพลิน รุ้งรัตน์

เรื่อง สั้นขนาดยาวกับนวนิยายขนาดสั้น ที่จำนวน30 หน้าเท่ากัน ค.ต่างคือ ชุดของโครงเรื่อง เรื่องสั้นมีโครงเรื่องชุดเดียวเท่านั้น:ไพลิน รุ้งรัตน์

พลังของเรื่องสั้น กับนวนิยาย มันต่างกัน: ไพลิน รุ้งรัตน์

พลัง ของเรื่องสั้น (ที่ดี) จะทำให้คนอ่านจำเรื่องนั้นไปตลอด อ่านจบแล้วเหมือนลูกศรปักกลางอก…แต่นวนิยายมันจะค่อยๆ ซึมเข้ามา: ไพลิน รุ้งรัตน์

การ อ่านเรื่องสั้น อ่านแล้วทิ้งช่วงมาอ่านต่อมันไม่ได้ มันต้องอ่านให้จบเรื่องรวดเดียว:ไพลิน รุ้งรัตน์>ใครเคยอ่านเรื่องสั้นไม่รวดเดียวจบบ้างคะ?

เรื่อง สั้นที่ดีเรื่องต้อง”กระทบใจ”,”สะเทือนใจ”ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเรื่อง เศร้าเสมอไปเรื่องสิ้นที่ดีแบบมีค.สุขก็มีแต่เรื่องเศร้ามันจะแรงกว่า

จบค่ะ

View :2669

ขอแบ่งปันข้อมูลจากการเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” ค่ะ

October 9th, 2010 No comments

ภาพเช้า ปาฐกถาพิเศษ “จากนักข่าวสู่นักเขียน” โดย เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ นักเขียนนักหนังสือพิมพ์อาวุโส

และ สนทนา “จากข้อมูลสู่เรื่องสั้น” โดย รุ่งมณี เมฆโสภณ เจ้าของผลงาน “คนสองแผ่นดิน” และ “ประชาธิปไตยเปื้อนเลือด” และนิรันศักดิ์ บุญจันทร์ บรรณาธิการจุดประกายวรรณกรรม

“”นัก เขียน” ในความหายของคนส่วนใหญ๋ แวบแรก คือ การเขียนนวนิยาย แต่ในความเป็นจริงการเขียนมีหลายรูปแบบ” พี่ประสงค์ นายกฯ สมาคมนักข่าว

ราย นามวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการ”ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” รุ่นที่ 4 ได้แก่ เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์, รุ่งมณี เมฆโสภณ, นิรันศักดิ์ บุญจันทร์(1)ชมัย ภร แสงกระจ่าง, ประชาคม ลุนาชัย, เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์, วัชระ สัจจะสารสิน, อุทิศ เหมะมูล และอริสรา ประดิษฐ์สุวรรณ(ผู้เข้าอบรมรุ่นที่2)(2)

หม่อม เจ้าอากาศ ดำเกิง เป็นผู้จุดประกายให้กับคนอ่านให้เป็นนักข่าว เป็นคนหนึ่ึ่งที่เป็นทั้งนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ รวมถึง ศรีบูรพา ด้วย

ทำไมนักเขียนจึงเป็นนักนสพ.ได้ และทำไมนักนสพ.เป็นนักข่าวได้ เพราะสมัยก่อนเขาเห็นว่าสังคมไม่เป็นธรรมกับคนที่อยู่ในสังคมด้วยกัน

คือ ต้องทำความจริงให้ปรากฏ ..ซึ่งนักข่าวมีประสบการณ์ตรงนี้อยู่ต็มๆ นักเขียนโดยเนื้อแท้อาจจะไม่ได้เป็นนักข่าว อาจจะไม่มีข้อมูลมากเท่านักข่าว

แต่สิ่งที่นักเขียนมีมากกว่านักข่าว คือ “จินตนาการ”

“เริ่มจากการเขียนข่าวให้ถูกต้องตรงข้อเท็จจริง ย่อความให้ได้ เป็นจุดเิ่่ริ่ิมต้นของการเป็นนักเขียน” พี่เรืองชัย ทรัพย์นิรัดร์

“พรสวรรค์เราทุกคนมี แต่อยู่ที่ว่าจะหยิับมันอกมาใช้ได้อย่างไง” พี่เรืองชัย ทรัพย์นิรัดร์

พี่เรืองชัย ทรัพย์นิรัดร์ บอกว่า “จินตนาการ ข้อเท็จจริง และประสบการณ์” คือ 3 ปัจจัยหลักของการเป็นนักเขียน

“เมื่อคุณอยากเป็นนักเขียน ให้คุณลงมือเขียน” พี่เรืองชัย ทรัพย์นิรัดร์

sesion ต่อไป คือ พี่รุ่งมณี เมฆโสภณ ผู้เขียน “ประชาธิปไตยเปื้อนเลือด” และ พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์ บก.จุดประกายวรรณกรรม

พี่ นิรันศักดิ์ บุญจันทร์”ยุคนี้ถ้าคุณอยากจะเขียนหนังสือคุณได้กระโดจนเข้าไปครึ่งตัวแล้ว การเป็นนักข่าวได้เปรียบมากในเรื่องของการมีข้อมูลในมือ”

พี่ นิรันศักดิ์”ผมแปลกใจมากว่าสถานการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา ไม่มีเรื่องสั้นหรืองานวรรณกรรมออกมาเลย สมัยก่อนนักเขียนนักข่าวคือตัวตนคนเดียวกัน”

พี่ นิรันศักดิ์ “การเป็นนักข่าวได้ความจริง นักเขียนคือความมีวรรณศิลป์ อาิาทิ ภาษาข่าว คือ “เขากล่าวว่า”,นักเขียน “เขากระซิบบอก” “เขาเอ่ยว่า”

พี่ รุ่งมณี โสภณ บอกว่า “ความร่ำรวยทางภาษา เกิดจากการอ่าน คือการสะสมเชิงปริมาณ สู่คุณภาพ จะเป็นนักเขียนที่ดีไม่ได้เลยหากไม่ได้อ่านหนังสือ”

“การ อ่านทำให้องค์ความรู้กว้างกว่าคนอื่น ทำให้เกิดการตั้งคำถามที่ดีกว่าคนอื่น การไม่อ่านนอกจะไเป็นนักเขียนไม่ได้แล้วยังเป็นนักข่าวไม่ได้ด้วย”

“การ เป็นนักเขียนต้องเป็นคนช่างสังเกตด้วย เพราะบางทีนักเขียนไม่ได้มีประสบการณ์ตรงหรอกแต่ใช้วิธีสังเกตและใส่ จินตนาการ”พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

“การ เป็นนักเขียนต้องเรียนรู้รูปแบบของงานเขียนด้วย โดยพื้นฐานมันจะมีรูปแบบมันอยู่แต่ไม่จำเป็นต้องยึดรูปแบที่ตายตัว” พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

“รูป แบบงานเขียน อาทิ รูปแบบงานเขียนเรื่องสั้น มีพล็อต มีวิธีการเดินเรื่อง มีจุดไคลแม็กซ์ มีจุดหักมุม เป็นต้น” พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

“โดยความเชื่อของผม นักข่าว คือ นักเขียน คนหนึ่ง เพราะเขามีเรื่องอยู่ เรื่องที่สามารถเอามาเขียนได้” พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

“การเลือกอ่านหนังสือที่ดี จะเป็นแรงส่งสู่การเป็นนักเขียนที่ดีอีกอย่างหนึ่ง” พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

“งานนักข่าวเป็นงานของข้อเท็จจริง มันเพ้อเจ้อไม่ได้ เลยอยากมากอบรมเป็นนักเขียน” นี่คือเหตุผลของนักข่าวหลายคนที่บอกกับวิทยากร

“การ เป็นนักเขียน คนที่รักงานเขียน เหมือนคนที่ทำงานไม่รู้จักเสร็จสิ้น เขียนแบบไม่รู้เหน็ดรู้เหนื่อย/การเป็นนักเขียน ต้อง”ชอบเขียน” พี่รุ่งมณี

“การชอบเล่า การชอบฝัน ไม่ทำให้เราเป็นนักเขียนได้ การเป็นนักเขียน ต้องชอบเขียน ไม่ว่าจะเขียนอะไรก็ตาม” พี่รุ่งมณี

พี่รุ่งมณี กำลังยกตัวอย่างพล็อตเรื่อง CSI ว่าเรื่องแค่ 45 นาที วางโครงเรื่องซับซ้อนไปมา …(เรื่องนี้โดยส่วนตัวชอบดูมาก)

พี่รุ่งมณี กำลังยกตย. เรื่องสั้นของคุณ มนู จรรยงค์ ลูกชายคุณมนัส จรรยงค์ ที่ชอบเขียนเรื่องของ”คนเล็กๆ”

“การเป็นนักเขียนต้องมีตาใน ที่เก็บรายละเอียดของคนเล็กๆ บางทีการเป็นนักข่าว ตาเรามักจะไปจับจ้องแต่คนใหญ่ๆ” พี่รุ่งมณี

พี่นิรันดร์ศักดิ์ บุญจันทร์ “คุณเล่าเรื่องเป็นไหม เล่าโดยการเขียน ไม่ใช่การเล่าปากเปล่า”

“ยุคนี้ถ้าคุณเขียนนิยายได้ประสบความสำเร็จสักเล่มหนึ่ง คุณจะลืมอาชีพนักข่าวไปเลย” พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

พี่นิรันศักดิ์ บอกว่า ให้ลองใช้เวลาเสาร์อาทิตย์เขียนเรื่องสั้นสักเรื่อง … แต่ปัญหาของนักข่าวคือเรื่องเวลา

อย่า บอกว่าไม่มีเวลาถ้าต้องการทำความฝันให้เป็นจริงเราต้องจัดการกับเวลาของตัว เองต้องกำหนดเป้าหมายและเส้นทางเองต้องทำงานหนักด้วยตัวเอง:รุ่งมณี

การเขียนตามเว็บ ตามบล็อก ส่วนหนึ่งใช่ “งานเขียน” แต่อีกหลายส่วนเป็นแค่ “การแสดงความคิดเห็น”… พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

“การ เขียนตามเว็บ ตามบล็อก เป็นงานวรรณกรรมที่ดีรึยัง…คำตอบคือ งานวรรณกรรมที่ดีต้องผ่านการพิสูจน์และยอมรับจากคนอ่านเสียก่อน” พี่นิรันศักดิ์

“ไม่ว่านักข่าวหรือ นักเขียน ชัยชนะของการเขียน คือ ข้อมูล” พี่รุ่งมณี เมฆโสภณ

“นักข่าวข้อมูลเยอะ เพราะฉะนั้นต้องฝึกให้จัดการกับข้อมูลให้เป็น” พี่รุ่งมณี เมฆโสภณ

จบภาคเช้าค่ะ

View :2416

“การตลาด 2.0” … หนังสือ (อีกเล่ม) ที่ต้องอ่าน

September 26th, 2010 No comments

หลังจากได้หนังสือ “การตลาด 2.0” ที่เพิ่งออกจากโรงพิมพ์มาอุ่นๆ อยู่ในมือ ก็รีบพลิกอ่านอย่างรวดเร็ว และอ่านรวดเดียวจนจบภายในเวลาไม่นาน และพบว่าเป็นหนังสือที่น่าอ่านมาก อ่านสนุก ได้ความรู้ ต้องขอขอบคุณผู้เขียนทั้งสอง @mimee และ @tuirung ที่เก็บรวบรวมข้อมูลและประมวลผลข้อมูลย่อยออกมาให้ผู้อ่านสามารถติดตามและทำความเข้าใจโลกใหม่อย่าง Social Media และเห็นภาพรวมทั้งหมดได้อย่างรวดเร็ว

ในมุมมองของตัวเองมองว่า หนังสือเล่มนี้เหมาะกับทุกคน โดยเฉพาะคนที่อยากรู้จัก Social Media ว่ามันคืออะไร เพราะที่ผ่านมา Social Media เป็นกระแสที่อยู่ในความสนใจของคนในวงกว้างมากขึ้นๆ และมีหลายต่อหลายคนชอบถามว่ามันคืออะไร จะเริ่มต้นใช้งานมันอย่างไร และใช้แล้วจะได้ประโยชน์อะไร นอกจากคุยกันไปวันๆ

“ไม่เห็นอยากจะให้ใครรู้เลยว่าเราทำอะไรอยู่ที่ไหนกับใคร”

“ไม่เห็นอยากรู้เลยว่าใครทำอะไร อยู่ที่ไหน กับใคร” หรือ

“แก Hash Tag มันคืออะไรว่ะ ใช้งานยังไง เอาไว้ใช้ทำอะไร”

หนังสือ “การตลาด 2.0” เล่มนี้มีคำตอบสำหรับทุกคำถามเหล่านี้ รวมถึงนักการตลาดที่กำลังศึกษาการใช้งาน Social Media

โครงสร้างของเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก คือ ส่วนที่ 1ได้แก่ Chapter 1เป็นการปูผู้เขียนเริ่มจากการปูพื้นฐานให้กับผู้อ่านว่า Social Media มีพัฒนาการมาจากอะไร โดยใช้วิธีเล่าเรื่องที่น่าอ่าน เข้าใจง่าย เหมาะกับทุกคนที่แม้ไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยี

ส่วนที่ 2 ได้แก่ Chapter 2- Chapter 6 ของหนังสือจะพูดถึง Social Media และเทคโนโลยีแต่ละตัว ได้แก่ Twitter, Facebook, YouTube, Location-based Service ทั้ง Four Square และ Gowalla และ Augment Reality (AR) พร้อมตัวอย่างประกอบ

ส่วนที่ 3 ได้แก่ ตัวอย่างของธุรกิจที่นำ Social Media มาประยุกต์ใช้ประโยชน์เชิงธุรกิจในแง่ของการทำ Campaign Marketing และส่วนที่ 4 ได้แก่ ภาคผนวก (Appendix) ส่วนนี้จะพูดถึงเทคโนโลยีแวดล้อมที่เป็นองค์ประกอบของ Social Media ได้แก่ Crowdsourcing, Cloud service และ social online game ว่ามันคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร และเกี่ยวข้องกันกับ Social Media อย่างไร

พออ่านจบปุ๊บ รู้สึกว่า “อิ่ม” ในข้อมูลที่ได้รับ เพราะที่ผ่านมาแม้ว่าตัวเองจะเคยสัมภาษณ์กรณีศึกษาในหนังสือเล่มนี้มาบ้างแล้ว และเข้าใจที่มาที่ไปของ Social Media แต่ละตัว และใช้งานอยู่ก็ตามที แต่ที่ผ่านมาข้อมูลเหล่านี้เป็นองค์ความรู้ที่มันกระจัดกระจาย (Fragmented Knowledge) กันอยู่ ผู้เขียนทั้งสองได้หยิบมันมาจัดวางและเชื่อมโยงให้เราเห็นภาพว่าภาพรวมของจิ๊กซอว์ทั้งหมดเป็นเช่นไร ขอขอบคุณ @mimee และ @tuirung มากนะคะ สำหรับหนังสือดีๆ ค่ะ

View :2968

ก.ไอซีที ตั้ง 5 อรหันต์ สรรหาบอร์ดซิป้า

September 9th, 2010 No comments

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่านมาเป็นคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่านได้แก่

1)      ดร.รอม หิรัญพฤกษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที เป็นหัวหน้าคณะกรรมการสรรหา

2)      คุณสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธ์ ปลัดกระทรวงคลัง

3)      คุณบุญรักษ์ สรัคคานนท์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI)

4)      คุณวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ รองปลักกระทรวงไอซีที

5)      คุณจินดา บุญลาภทวีโชค

คณะกรรมการสรรหาได้ประชุมกันไปแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกประชุมเมื่อวันที่ 2 กันยายน และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 5 กันยายน ตามกำหนดการ คณะกรรมการสรรหาจะต้องเสนอชื่อผู้ที่เห็นว่าเหมาะสมที่จะมาเป็นคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีภายใน 3 สัปดาห์  คาดว่าจะสามารถสรรหาบอร์ดได้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนกันยายนนี้

ทั้งนี้คณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) มีทั้งสิ้น 11 ท่าน ซึ่งเป็นบอร์ดโดยตำแหน่ง 4 คน ได้แก่ ตำแหน่ง1) ประธานบอร์ด 2) ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 3) ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และ 4) ปลัดกระทรวงไอซีที

View :3037

เก๋ไก๋มากสำหรับจดหมายเชิญ Flip Video Camcorder จากเอ็มดีซิสโก้

September 8th, 2010 No comments

นับเป็นการเชิญไปร่วมงานแถลงข่าวรูปแบบใหม่ที่น่าประทับใจมากๆ สมแล้วที่ซิสโ้ก้ฯ เป็นผู้นำด้าน VDO Conferencing

จดหมายเชิญ Flip Video Camcorder จากเอ็มดีซิสโก้

A message from ดร.ธัชพล โปษยานนท์.
ซิสโก้ขอเชิญร่วมงานแถลงข่าวความสำเร็จของซิสโก้ ประเทศไทย ปี 2010 ที่ผ่านมาและกลยุทธ์การรุกตลาดในปี 2011

วัน / เวลา / สถานที่
วัน: ศุกร์ที่ 10 กันยายน 2553
เวลา: 13.00 – 16.00 น.
สถานที่: ณ ห้องคลาสรูม 1-2 โซนแคมปัส โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ

View :2088

ตาม TL ของ @DrNatee39G พูดเรื่อง 3จี

September 6th, 2010 No comments

Dr. Natee Sukonrat

ประกาศ กทช. ว่าด้วยการออกใบอนุญาต 3G ซึ่งเป็นกฎหมายหลักในกระบวนการออกใบอนุญาตครั้งนี้ มีแนวความคิดที่สำคัญประการหนึ่งคือการส่งเสริม MVNO = Mobile Virtual Networks Operator หมายถึง ผู้ประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง

ดัง นั้น MVNO จึงเป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเองแต่อาศัยเช่าใช้จากผู้ที่มีโครงข่าย  จากข้อจำกัดที่ความถี่่มีเพียง 45 MHz ทำให้สามารถออกใบอนุญาตได้เพียง 3 ใบ ซึ่งผู้ที่ชนะการประมูลจะเป็น MNO (Mobile Networks Operator)

ดัง นั้นสาระสำคัญของความสัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่าง MNO กับ MVNO ก็คือ MNO เป็นผู้ขายส่ง ในขณะที่ MVNO เป็นผู้ประกอบกิจการขายปลีก วัตถุประสงค์ในการออกใบอนุญาตในครั้งนี้ที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ เพิ่มการแข่งขัน อาจสำเร็จได้ด้วยการเพิ่มผู้ประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที คณะกรรมการ 3G จึงได้กำหนดให้ MNO ทั้ง 3 ราย จะต้องประกันขีดความสามารถในการให้บริการ (Capacity) สำหรับ MVNO อย่างน้อย 40% ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นนโยบายที่สำคัญมาก เนื่องจาก MNO จะต้องลงทุนจำนวนมาก คนไทยจำนวนน้อยมีขีดความสามารถลงทุนมหาศาลเป็น MNO ได้  เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบกิจการคนไทยที่ต้องการให้บริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่แต่มีทุนไม่เพียงพอ กทช. จึงกำหนดให้มีการประกัน 40% ดังกล่าว

ใน 40% อาจมี MVNO มากกว่า 1 ราย สาระสำคัญก็คือ การโอกาสของผู้ประกอบกิจการคนไทยรายเล็กและกลาง ได้มีโอกาสให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ นอกจากผู้ประกอบกิจการทั่วไปแล้ว ยังมีคนไทยที่มีขีดความสามารถคิดนวัตกรรมใหม่ๆ ให้บริการผ่านโครงข่าย จะสามารถใช้ช่องทางเหล่านี้ได้อีกด้วย ประกาศกำหนดให้ MNO ไม่สามารถปฏิเสธการมาขอเป็น MVNO ของรายเล็กและรายกลางที่ต้องการได้ เว้นแต่มีผู้บริการ MVNO อยู่แล้วมากกว่า 40% VNO มีหลายระดับจากต่ำสุดคือ Thin MVNO มีเฉพาะซิมขาย ถัดมาเป็น Medium MVNO นอกจากซิมแล้วยังมีระบบคิดเงินและอุปกรณ์หลักอื่นๆ  ระดับสูงสุดจะเป็นรูปแบบที่เรียกว่า Full MVNO ซึ่งจะมีโครงสร้างเกือบทุกอย่างเช่นเดียวกับ MNO เว้นแต่ไม่มีคลื่นความถี่ใช้งานเป็นของตนเอง กทช. หวังว่าหลังจากออกใบอนุญาต 3G แล้วเราจะเห็น Thin MVNO จำนวนหลายรายพัฒนาไปเป็น Medium และ Full MVNO เมื่อเวลาผ่านไป

เรา อยากจะเห็น Full MVNO พัฒนาไปเป็น MNO เมื่อเป็น 4G ในวันข้างหน้า จากการส่งเสริมดังกล่าวมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาผู้ประกอบกิจการคนไทย  นอกจากจะต้องให้โอกาสกับ MVNO แล้ว กทช. ยังต้องกำหนดราคาขายในลักษณะที่เป็นการขายส่งที่จะต้องไม่ทำให้ MVNO ไม่สามารถประกอบกิจการได้ เรากำลังคิดราคาในลักษณะสัดส่วนของราคาขายปลีก ที่ MNO ให้บริการอยู่ เช่น อาจลดลงจากราคาขายปลีก 20-30% เป็นค่าการตลาดให้ MVNO

การกำหนด MVNO เป็นช่องทางหนึ่งที่สร้างโอกาสให้กับคนไทยที่มีทุนน้อยแต่มีนวัตกรรมและ เพิ่มการแข่งขันเกิดประโยชน์กับผู้บริโภคโดยรวมครับ

Dr. Natee Sukonrat , Commissioner of the  National Telecommunications Commission

View :2772

ไอซีทีผลักดันการขยายตลาดสินค้า OTOP ผ่านระบบ e-Commerce

August 24th, 2010 No comments

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ e-Commerce เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)

[youtube=http://www.youtube.com/watch?v=HGAuC6w0jeM]

โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) เป็นโครงการที่รัฐบาลให้การสนับสนุนเพื่อให้แต่ละชุมชนได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาสินค้า โดยรัฐบาลพร้อมที่จะช่วยเหลือทั้งในด้านความรู้สมัยใหม่และการบริหารจัดการ เพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีสินค้า OTOP ที่ได้มาตรฐานผลิตออกมาให้ประชาชนเลือกซื้อมากมาย ผ่านทางห้างสรรพสินค้า ร้านจำหน่ายสินค้า OTOP หรืองานจัดแสดงสินค้าต่างๆ ซึ่งข้อดี คือ สามารถจับต้องทดลองสินค้าได้ แต่ข้อเสีย คือ สินค้าตามห้างสรรพสินค้าจะมีราคาสูงกว่าที่ซื้อจากกลุ่มผู้ผลิตโดยตรงประมาณ 2 ถึง 3 เท่า ขึ้นอยู่กับสถานที่และค่าใช้จ่ายในการลงทุน บริหารจัดการ ค่าการตลาดของห้างสรรพสินค้า และยังมีสินค้าให้เลือกไม่มากนัก

ดังนั้น การเลือกซื้อสินค้า OTOP ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการค้นหาสินค้า OTOP ได้อย่างหลากหลาย ประหยัดเวลา รวมทั้งสะดวกรวดเร็ว ซึ่งหากมีการวางระบบการชำระเงินและระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพแล้ว ก็จะสามารถส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในสินค้า OTOP รวมถึงภาคธุรกิจให้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นได้

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า “ในฐานะประธานกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงได้วางนโยบายผลักดันให้การใช้งาน e-Commerce เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเป็นรูปธรรมเชื่อถือได้ ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ตลอดจนเพื่อใช้ขับเคลื่อนธุรกิจให้ประเทศ ช่วยเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงลดต้นทุนด้านการขนส่ง หรือ โลจิสติกส์ด้วย

โดยกระทรวงไอซีที ได้ร่วมกับ 6 หน่วยงานจัดทำโครงการ e-Commerce เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ขึ้นเป็นโครงการนำร่อง เพื่อให้ผู้ประกอบการ OTOP สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การผลิต การขนส่งสินค้า การประชาสัมพันธ์ การจำหน่าย และการรับชำระเงิน ซึ่งจะเอื้อต่อการจำหน่ายสินค้าของผู้ประกอบการ OTOP โดยใช้ศักยภาพของหน่วยงานทั้ง 6 ให้เกิดประโยชน์สูงสุด” นายจุติ กล่าว สำหรับ 6 หน่วยงานที่ให้ความร่วมมือในโครงการฯ นี้ ได้แก่ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ บริษัท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เพื่อจะนำสินค้า OTOP และสินค้าในโครงการพระราชดำริ มาจำหน่ายผ่านระบบการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce)

มีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ลูกค้าบัตรเครดิต ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะรับผิดชอบงานในด้านต่างๆ กรมการพัฒนาชุมชนจะทำหน้าที่คัดเลือก รวมรวบผลิตภัณฑ์ OTOP และประสานงานกับผู้ประกอบการ กรมส่งเสริมการส่งออกให้คำปรึกษาการประชาสัมพันธ์สินค้า OTOP ในรูปแบบภาษาต่างประเทศ ธนาคารกรุงไทย จัดทำระบบการรับชำระค่าสินค้าผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่เหมาะสม ส่วน บมจ.ทีโอที จะวางระบบการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) โดยจัดทำระบบร้านค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ www.tote-market.com เพื่อแสดงสินค้า รวบรวมคำสั่งซื้อ และฝึกอบรมให้ความรู้ทางด้าน e-Commerce

ขณะที่ บจ.ไปรษณีย์ไทย รับหน้าที่ด้านระบบการขนส่งสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งให้คำปรึกษาการใช้บรรจุภัณฑ์ ที่เหมาะสม และ บมจ.อสมท จะใช้เครือข่าย ช่องทางสื่อสารมวลชนแขนงต่าง ๆ ที่มีอยู่เพื่อสนับสนุนและเผยแพร่สินค้า OTOP ที่เข้าร่วมโครงการฯ

“โครงการฯ นี้จะช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ สังคม และเปิดโอกาสในการนำสินค้าสู่ตลาดในช่องทางออนไลน์ โดยใช้ระบบ ไอทีเข้ามาช่วย อันเป็นการขยายช่องทางการตลาดในการจำหน่ายสินค้า OTOP ให้แก่ผู้ซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น จึงช่วยสร้างรายได้และมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับประเทศ กล่าวคือ ทางตรงถือเป็นโครงการที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศได้เป็นอย่างมาก ส่วนทางอ้อมนั้นสามารถประชาสัมพันธ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล ดึงดูดให้มีลูกค้าเพิ่มขึ้นในต่างประเทศ อันเป็นการสร้างตลาดใหม่ ซึ่งเป็นตลาดที่พร้อมจะใช้บริการ เนื่องจากมีความสะดวก และยังไม่มีบริการใดที่ตอบสนองความต้องการลักษณะนี้ จึงทำให้สามารถสร้างตลาดในส่วนนี้ให้เติบโตได้อย่างมาก อีกทั้งยังสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ทันสมัยได้อีกด้วย” นายจุติกล่าว

View :3243

“โฆษณาออนไลน์”… เครื่องมือโปรโมทธุรกิจราคาประหยัดสำหรับเอสเอ็มอี

August 8th, 2010 No comments

เป็นที่รู้กันดีว่าการโฆษณาเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดหลักสำคัญประการหนึ่งที่ทุกธุรกิจไม่สามารถปฏิเสธได้ เพราะแม้ว่าบริษัทคุณจะมีสินค้าและบริการดี ราคาดึงดูดอย่างไรก็ไร้ผลหากลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของคุณไม่ได้รับรู้ และการซื้อสินค้าและบริการก็จะไม่เกิดขึ้น สำหรับองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่อาจจะมีเม็ดเงินในการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์จำนวนมาก แต่สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก หรือเอสเอ็มอี (SME: Small and Medium Enterprise) ที่มีงบประมาณในการทำการตลาดค่อนข้างจำกัดอาจจะมีอุปสรรคในการเข้าถึงการับรู้ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอยู่มาก เพราะสื่อในการเผยแพร่โฆษณาในอดีต (Traditional Media) มีอยู่ไม่มากและมักจะถูกครอบครองโดยชิ้นงานโฆษณาของบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีเงินซื้อโฆษณา

แต่ในปัจจุบันสถานการณ์เริ่มเปลี่ยน อินเทอร์เน็ตและสื่อใหม่ที่เกิดขึ้นมากมายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อใหม่ที่อย่างโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) อย่าง Facebook หรือเสิร์จเอ็นจิ้น อย่าง Google ล้วนเปิดโอกาสการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเอสเอ็มอีอย่างมาก เพราะในปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มหันมาใช้เวลากับสื่ออินเทอร์เน็ตและสื่อใหม่ที่ว่านี้มากกว่าหรือพอๆ กับเวลาที่ใช้กับสื่อแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ ทำให้นักการตลาดจำนวนมากเริ่มหันมาทำการตลาดและโฆษณาบนสื่อออนไลน์เพิ่มมากขึ้น

โฆษณาออนไลน์โตต่อเนื่อง

จากการสำรวจจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยของศูนย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค พบว่าปัจจุบันประเทศไทยมีผู้จำนวนใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ประมาณ 16 ล้านคน หรือคิดเป็นเกือบ 20 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากร และคนจำนวนนี้ส่วนมากเริ่มใช้เวลากับสื่ออินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
ศิวัตร เชาวรียวงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มอินเตอร์แอคชัน จํากัด บริษัทให้คำปรึกษาทางด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์การตลาดและการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต กล่าวว่า เม็ดเงินโฆษณาออนไลน์ในประเทศไทยปีนี้คาดการณ์ว่ามีมูลค่าประมาณ 1,500 ล้านบาท ซึ่งเติบโตขึ้นราว 30 เปอร์เซ็นต์จากปีที่ผ่านมา สัดส่วนของโฆษณาออนไลน์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันยังคงเป็นการซื้อสื่อ (Display Ad) ตามเว็บไซต์ดังๆ ที่มีจำนวนผู้เข้าชมมากๆ (60 เปอร์เซ็นต์) อาทิ Sanook.com, MSN.co.th, และ Manager.co.th รองลงมาคือการใช้บริการโฆษณาออนไลน์กับ Google (30 เปอร์เซ็นต์) Facebook (10 เปอร์เซ็นต์)
แต่ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวของบริการโฆษณาออนไลน์บน Google และ Facebook เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วยสร้างกระแสการโฆษณาออนไลน์เพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย
“ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาสัดส่วนการโฆษณาออนไลน์บน Google และ Facebook เพิ่มมากขึ้นอย่างมาก เนื่องจากเป็นสื่อออนไลน์ที่เข้าถึงคนจำนวนมาก โดยเฉพาะ Facebook ที่มีจำนวนผู้ใช้ในปัจจุบันมากถึง 4.5 ล้านคน หรือเท่ากับ 1 ใน 4 ของจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เม็ดเงินโฆษณาออนไลน์ตั้งแต่ต้นปีนี้ไหลมาอยู่ที่สองสื่อนี้เป็นหลัก” ศิวัฒน์กล่าว

Google และ Facebook
ทางเลือกโฆษณาออนไลน์

ศิวัฒน์กล่าวเสริมว่ากลุ่มเป้าหมายของโฆษณาบน Google และบน Facebook ต่างกัน โฆษณาบน Google จะเน้นที่กลุ่มคนที่เข้ามาค้นหาข้อมูล ในขณะที่โฆษณาบน Facebook จะเน้นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายตามลักษณะประชากร (Demographic) และตามความสนใจ ซึ่งศิวัฒน์มองว่า โฆษณาออนไลน์ทั้งโฆษณาบน Google และ Facebook นั้นเหมาะกับทุกธุรกิจ แต่จะมีประโยชน์อย่างมากกับเอสเอ็มอี เพราะเป็นการโฆษณาที่ได้ประสิทธิภาพและค่อนข้างตรงกลุ่มเป้าหมายในขณะที่ใช้เงินค่าโฆษณาที่ต่ำกว่า เพราะการโฆษณาออนไลน์บน โฆษณาบน Google และบน Facebook นั้น ต้นทุนค่าโฆษณาของเอสเอ็มอีจะเกิดขึ้นต่อเมื่อเกิดการปฏิสัมพันธ์กับโฆษณาหรือที่เรียกว่า Pay per Click ซึ่งหากไม่เกิดการ ‘Click’ เอสเอ็มอีก็ไม่ต้องจ่ายเงินแม้ว่าข้อความโฆษณาจะไปปรากฏให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเห็นแล้วก็ตามที

“ข้อดีของโฆษณาบน Facebook คือ เอสเอ็มอีสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ตรงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายกว่า เพราะใน Facebook จะมีการจัดระบบกลุ่มคนที่จะเห็นโฆษณาตามลักษณะประชากร (Demographic) และตามความสนใจ ซึ่งใน Facebook มีระบบฐานข้อมูลของผู้ใช้มีที่ประสิทธิภาพค่อนข้างมาก ข้อดีอีกประการคือ การทำโฆษณาบน Facebook นั้นสามารถต่อยอดแคมเปญการตลาดของเอสเอ็มอีให้แพร่หลายอย่างรวดเร็วได้ในระยะเวลาอันสั้น (Viral Marketing) หากว่าแคมเปญการตลาดหรือโฆษณาชั้นนั้นๆ มีข้อความหรือข้อมูลที่ดีและตรงโดนใจผู้รับสาร เพราะข้อความโฆษณานั้นสามารถถูกผู้ใช้กด ‘Like’ และข้อมูลการกด ‘Like’ของคนๆ หนึ่งจะถูกบอกต่อในเครือข่ายเพื่อนของคนๆ นั้น และการที่เพื่อนเขามาชอบหรือมาปฏิสัมพันธ์กับโฆษณาชิ้นใดชิ้นหนึ่งมีแนวโน้มที่จะสร้างความสนใจให้กับเพื่อนของเขามาสนใจด้วย”

การลงโฆษณาบน Facebook เอสเอ็มอีสามารถทำได้ด้วยตนเองผ่านทางออนไลน์ แต่ก่อนอื่นเลยเอสเอ็มอีจะต้องมีหน้าเว็บไซต์ที่บรรจุข้อมูลแคมเปญทางการตลาดหรือข้อความที่จะโฆษณา จากนั้นก็มาสมัครใช้บริการโฆษณาได้โดยตรงผ่านหน้าเว็บของ Facebook และสามรถระบุได้ด้วยว่าจะใช้วิธีคิดเงินค่าโฆษณาแบบไหนระหว่าง แบบเหมา 1,000 Clicks แรกหรือแบบ Pay per Click จากนั้น Facebook จะทำการประมวลผลโดยใช้ระบบฐานข้อมูลเพื่อนำเสนอโฆษณานั้นให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้มากที่สุด

ในขณะที่โฆษณาบน Google นั้นได้รับความนิยมและเป็นช่องทางการใช้เม็ดเงินโฆษณาออนไลน์หลักในตะวันตกและในประเทศที่มีปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตสูง อาทิ ในประเทศอังกฤษราว 70 เปอร์เซ็นต์ของงบโฆษณาออนไลน์ทั้งหมด (ซึ่งอยู่ราว 20 เปอร์เซ็นต์ของงบโฆษณาทั้งหมด) จะเป็นการใช้เงินบนสื่อโฆษณาของ Google ที่เรียกว่า GoogleAdwords (adwords.google.com) ซึ่งเป็นรายได้หลักของ Google ทั่วโลก

“GoogleAdwords” ตัวช่วยเอสเอ็มอีเข้าถึงโฆษณาออนไลน์แค่ปลายคลิก

พรทิพย์ กองชุน ผู้จัดการ ฝ่ายการตลาดประจำประเทศไทย กูเกิลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า รูปแบบบริการโฆษณาของ Google มีอยู่ 2 ประเภทหลักๆ คือ Google Search และ Google’s Network ซึ่งโฆษณาออนไลน์ถือเป็นรายได้หลักถึง 97 เปอร์เซ็นต์ของ Google ทั่วโลกและบริการโฆษณาออนไลน์ของ Google หรือ Search Ad นั้นถูกออกแบบมาเหมาะสมสำหรับการใช้ประโยชน์จากระบบสืบค้นข้อมูลหรือเสิร์จเอ็นจิ้น (Search Engine) ของเอสเอ็มอีอย่างมาก พรทิพย์อธิบายว่า ประสิทธิภาพของ Search Ad มีสูงเพราะเหมือนเป็นการหยิบยื่นข้อมูลสินค้าและบริการให้แก่คนที่กำลังต้องการและมองหาสินค้าและบริการนั้นอยู่ ซึ่งนับว่าเป็นเวลาที่เหมาะสมอย่างมาก ทำให้โอกาสที่ลูกค้าเป้าหมายจะคลิกเข้ามาที่โฆษณาที่ปรากฏอยู่ข้างๆ ผลเสิร์จมีสูงมาก  ที่สำคัญหากลูกค้าไม่คลิกโฆษณาเอสเอ็มอีเจ้าของโฆษณาไม่ต้องเสียเงินค่าโฆษณา เพราะเงินค่าโฆษณาจะเกิดขึ้นต่อเมื่อเกิดการคลิกเข้ามาดูเท่านั้น

“ผู้ลงโฆษณาสามารถเลือก “คำหลัก” หรือ Key Word เองได้ว่าอยากให้โฆษณาของตนไปปรากฏอยู่ข้างๆ ผลเสิร์จของคำว่าอะไร ส่วนมาก Key Word จะเป็นคำที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของผู้ลงโฆษณา ซึ่ง Google มีบริการเครื่องมือช่วยให้ผู้ลงโฆษณาสร้าง Key Word ได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง เพียงเข้ามาที่ GoogleAdwords (adwords.google.com) ข้อความโฆษณาจะไปปรากฏยังหน้าผลเสิร์จที่ลูกค้าเป้าหมายของคุณกำลังค้นหาอยู่ ดังนั้นโอกาสในการปิดการขายย่อมมีมากขึ้น”

นอกจาก Search Ad แล้วบริการโฆษราออนไลน์ของ GoogleAdwords (adwords.google.com) ยังรวมไปถึงโฆษณาที่ไปปรากฏอยู่ในหน้าเว็บของพันธมิตรของ Google ในรูปของ Display Ad ได้อีก ซึ่งหลักการในการปรากฏข้อความโฆษณาในหน้าเว็บพันธมิตรจะใช้ “คำหลัก” หรือ Key Word เช่นกัน คือ โฆษณาจะไปปรากฏยังหน้าเว็บที่มีข้อความที่ตรงหรือเกี่ยวข้องกับ “คำหลัก” หรือ Key Word ที่อยู่ในข้อความโฆษณานั้นอยู่

ผู้ลงโฆษณาสามารถเข้ามาเลือกใช้บริการตามประเภทที่ตนเองต้องการได้ โดยราคาค่าใช้บริการจะเหมือนกันนั่นคือจะเสียจ่ายโฆษณาให้กับ Google ต่อเมื่อเกิดการคลิกเข้าไปดูโฆษณาเท่านั้น หากไม่เกิดการคลิกผู้ลงโฆษณาไม่ต้องจ่ายเงินแต่จะได้การมองเห็น (Visibility/ Eyes Ball) ไปฟรีๆ ปัจจุบัน Google มีเว็บของพันธมิตรของ GoogleAdword ในประเทศไทยประมาณ 30,000 เว็บ

“ด้วยประสิทธิภาพของการเข้าถึงคนจำนวนมากที่ใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่มีคนใช้บริการเสิร์จเอ็นจิ้นสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงให้ และด้วยเงื่อนไขการชำระค่าโฆษณาแบบนี้ GoogleAdwords จึงเป็นการลงทุนการทำโฆษณาที่คุ้มค่าและได้ประโยชน์มากๆ สำหรับเอสเอ็มอี เพราะคุณจะไม่ต้องมีต้นทุนค่าโฆษณาเลยจนกว่าจะมีการคลิกโฆษณา ซึ่งรูปแบบของโฆษณาในปัจจุบันรองรับเฉพาะข้อความ แต่ในอนาคตนี้ทางเราจะเพิ่มรูปแบบให้สามารถรองรับโฆษณาในรูปแบบอื่นๆ ได้หลากหลาย อาทิ Clip VDO, Flash, และ Banner เป็นต้น”

พรทิพย์กล่าวเสริมว่า บริการโฆษณาออนไลน์ของ Google นั้น สามรถรองรองการปรับเปลี่ยนรูปแบบและกลุ่มเป้าหมายของโฆษณาได้ด้วยตนเองง่าย อาทิ กลุ่มเป้าหมายภาษาไทย แต่เป็นเว็บในอเมริกาเท่านั้นที่เห็นโฆษณา ที่ผ่านมามีตัวอย่างบริษัทเอสเอ็มอีที่ใช้บริการลักษณะนี้แล้วประสบความสำเร็จ นั่นคือ บริษัท Siam Health Group ผู้ผลิตและจำหน่าย Smooth E ที่เริ่มมาใช้บริการโฆษณาออนไลน์ของ Google เพื่อทำตลาดภายในประเทศ จากนั้นก็ขยายไปทำตลาดคนไทยในอเมริกา ทำให้ยอดขายสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยที่ไม่ต้องมีหน้าร้านที่อเมริกา

“บริการ GoogleAdwords ของเราสามารถช่วยลูกค้าคำนวณ ROI (Return on Investment) ให้กับลูกค้าได้อย่างละเอียดด้วย ว่ารายการการซื้อสินค้ามาจากโฆษณาชิ้นไหน ที่ไปปรากฏอยู่ที่เว็บไหน หรือไปปรากฏอยู่ที่คำค้นไหน และมีการคลิกเข้ามาจำนวนเท่าใด”

นอกจาก GoogleAdwords แล้ว Google ยังมีบริการเสริมอีกมากมายไว้คอยให้ความช่วยเอสเอ็มอีในการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์บนออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Google Analytic, Display Ad Builder และ Conversion Tracking เป็นต้น ซึ่ง Google Analytic เป็นตัวช่วยวิเคราะห์ปริมาณของคนที่เข้ามาดูโฆษณาว่าเป็นใคร เข้ามาดูอะไร หรือสนใจอะไร เป็นต้น ส่วน Display Ad Builder คือ เครื่องมือที่ช่วยผู้ลงโฆษณาคิดคำและสร้างโฆษณาบนสื่อออนไลน์ และ Conversion Tracking คือ ระบบซอฟต์แวร์ที่ติดตามและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการคลิกโฆษณาและการเกิดการขาย และช่วยคำนวณ ROI ให้กับผู้ลงโฆษณา

นับว่าโฆษณาออนไลน์เป็นช่องทางการเผยแพร่โฆษณาประชาสัมพันธ์ในปัจจุบันที่ทรงประสิทธิภาพแต่ใช้เม็ดเงินน้อยกว่า และนี่คือโอกาสของเอสเอ็มอีที่สามารถใช้สื่อนี้เพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ได้ด้วยต้นทุนที่ดีกว่า แต่ที่สำคัญการที่จะทำโฆษณาออนไลน์ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดนั้น ก่อนอื่นเลยเอสเอ็มอีควรจะต้องมีหน้าบ้านหรือเว็บไซต์ของตนเองเสียก่อน ซึ่งในปัจจุบันสัดส่วนของเอสเอ็มอีที่มีเว็บไซต์มีเพียง 10 เปอร์เซ็นต์นั้น…

View :3130

จับตา “ตลาดสมาร์ทโฟน” แข่งดุและเดือด

August 1st, 2010 No comments

การแข่งขันกันอย่างเข้มข้นของผู้ผลิตเครื่องโทรศัพท์มือถือระหว่างแพลตฟอร์มไอโฟน (iPhone) ซึ่งก็คือ iOS และแอนด์ดรอยด์ (Android) จนฝุ่นตลบในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หากมองให้ดีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดนั้นผลประโยชน์น่าจะตกอยู่กับผู้ใช้งาน แต่หากเครื่องโทรศัพท์สมาร์โฟน (Smart Phone) ดีโดยลำพังก็คงไม่สามารถส่งให้กระแสสมาร์ทโฟนแรงได้ขนาดนี้ แต่เพราะรูปแบบการทำธุรกิจของสมาร์ทโฟนได้เปลี่ยนจากการ “สินค้า” (Product) มาสู่การขาย “บริการ” (Service) ต่างหากคือ จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ที่ทำให้การตอบรับสมาร์ทโฟนถึงได้เติบโตแบบก้าวกระโดดเยี่ยงนี้

เริ่มจากการปฏิวัติรูปแบบการขายเครื่องโทรศัพท์ของสตีฟ จ๊อบ ที่เปลี่ยนจากการขายสินค้าคือเครื่องโทรศัพท์มาเป็นการขายบริการคือแอพพลิเคชั่นจำนวนมหาศาลที่จะตอบโจทย์ทุกความต้องการใช้งานในทุกรูปแบบการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในชีวิตประจำวันของผู้คน ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร นักเรียน นักศึกษา นักธุรกิจ แม่บ้าน นักบริหาร เป็นต้นคุณก็จะเจอแอพพลิเคชั่นที่ตรงกับความต้องการของคุณอย่างแน่นอน เพราะในตลาดแอพพลิเคชั่น (iTune) ได้เตรียมแอพพลิเคชั่นไว้รอการใช้งานมากถึงกว่า 200,000 รายการ ซึ่งจำนวนแอพพลิเคชั่นก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

การใส่นวัตกรรมบริการ (Service Innovation) เข้ามาในสินค้าของแอปเปิลเป็นตัวกระตุ้นให้ค่ายยักษ์ใหญ่อย่าง Google เองก็เดินตาม เพราะคงปฏิเสธไม่ได้ว่ารูปแบบการทำธุรกิจของสมาร์ทโฟนแพลตฟอร์มแอนด์ดรอยด์ (Android) ที่ทีตลาดแอพพลิเคชั่นที่ชื่อว่า “มาร์เก็ต” (Market) นั้นละหม้ายคล้ายคลึงกับตลาดแอพพลิเคชั่นของ iPhone ที่ชื่อว่า (iTune) สิ่งที่ต้องแข่งขันกันนอกจากจะพยายามพัฒนาเครื่องโทรศัพท์ของตนให้มีฟีเจอร์และฟังก์ชั่นล้ำกว่าแล้วคงปฏิเสธไม่ได้ว่าทั้งสองค่ายคงจะต้องแข่งขันกันสร้าง “บริการ” หรือแอพพลิเคชั่นให้มากพอและตรงใจพอกับความต้องการของปริมาณลูกค้าที่ครอบครองเครื่องสมาร์ทโฟนนั่นเอง และนี่คือ โอกาสการตลาดของเหล่านักพัฒนาแอพพลิเคชั่นทั่วโลกไม่เว้นแม้แต่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทย ….

หมอจิม แห่ง “จิมมี่ ซอฟต์แวร์” (Jimmy Software) บริษัทนักพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์พกพาสัญชาติไทย ให้มุมมองไว้ว่า ปรากฏการณ์การเติบโตของตลาดสมาร์ทโฟนเป็นโอกาสแนๆ สำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ เพราะช่วงนี้คือช่วงขาขึ้นของตลาดสมาร์ทโฟน ไม่เพียงแค่แพลตฟอร์มของ Android และ iPhone เท่านั้น แต่ยังมีอีกแพลตฟอร์มที่น่าจับตาอย่างยิ่งนั่นคือ Windows Phone 7 ที่คาดว่าน่าจะออกมาสร้างกระแสในตลาดราวปลายปี 2553 นี้

iPhone คือ “เจ้าตลาด”
Android คือ “ผู้ท้าชิง”

คุณหมอจิมวิเคราะห์ให้ฟังว่า จุดดีของ iPhone คือ เป็นตลาดเปิด ประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ของแอพพลิเคชั่นมักจะได้รับการอนุมัติให้ขายได้ โดยระยะเวลาในการอนุมัติเพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น ซึ่งทำให้เป็นโอกาสเปิดสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยอย่างมาก แต่จุดเสีย คือ iPhone เป็นแพลตฟอร์มที่มีแอพพลิเคชั่นเยอะมาก คู่แข่งขันในตลาดค่อนข้างมากทำให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยจะต้องเบียดแทรกเข้าไปในอยู่ท่ามกลาง 200,000 กว่าแอพพลิเคชั่น

ในขณะที่ Android เน้นการตลาดคนละรูปแบบ คือ ตลาดสำหรับแอพพลิเคชั่นค่อนข้างปิดอย่างน้อยที่สุดในประเทศไทย เราไม่สามารถสมัครเอาแอพพลิเคชั่นไปฝากขายใน “Market” ได้ เพราะแอพพลิเคชั่นใน “Market” เน้น Free App มากกว่า ซึ่งเป็นการยากมากกว่าที่แอพพลิเคชั่นของไทยจะได้ค่าโฆษณา เพราะต้องมี Content ที่คนสนใจ ปัจจุบันแอพพลิเคชั่น ส่วนใหญ่ของ “Market” ยังเป็นฟรีแอพพลิเคชั่น ซึ่งรายได้สำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์จากโมเดลนี้จะมาจากค่าโฆษณาที่ขึ้นอยู่ในตัวแอพพลคิชั่น ในขณะที่แอพพลิเคชั่นส่วนใหญ่ของ iPhone คือแอพพลิเคชั่นเสียเงินดังนั้นรายได้จะมาจากการขายแอพพลิเคชั่นโดยตรง ซึ่งนักพัฒนาซอฟต์แวร์จะได้รายได้ 70 เปอร์เซ็นต์

“ณ ตอนนี้ จำนวนเครื่องโทรศัพท์บนแพลตฟอร์ม iOS ยังสูงกว่า Android แต่อัตราการขยายตัวของ Android สูงกว่า iOS ซึ่งคาดว่าในอีก 1-2 ปีข้างหน้า (หรืออาจจะเร็วกว่านั้น) จำนวนเครื่องสมาร์ทโฟนที่เป็น Android น่าจะแซง iOS แต่ทั้งนี้กระแสของ Apple ยังคงเร็วและแรงเพราะหากพูดถึงแพลตฟอร์ม iOS ต้องนับรวมทั้ง iPhone, iPod Touch และ iPad ทำให้ขนาดตลาดของ iOS จะค่อนข้างใหญ่ เจ้าของคอนเทนต์เจ้าใหญ่กระโดดลงมาเล่นมาพัฒนาแอพพลิเคชั่นบน iOS เอง ทำให้ให้ตลาดนี้ยิ่งเติบโตและน่าสนใจ และคาดกันว่าจะเข้ามาเบียดตลาดคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คือคาดว่าตลาดสมาร์ทโฟนจะเข้ามาเบียดตลาดพีซีอย่างแน่นอนในอนาคต แต่ตรงนี้คือน่านน้ำใหม่ที่สดใสกว่าของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทย เพราะเดิมพัฒนาซอฟต์แวร์บนพีซี ก็ถูกจำกัดแต่ตลาดในประเทศเท่านั้น แต่พอเป็นสมาร์ทโฟน อาทิ iOS พัฒนาเสร็จส่งเข้าไปที่ iTune ซึ่งตลาดใหญ่กว่า เพราไปทั่วโลก รอแค่ 2 อาทิตย์ก็ขายได้แล้ว ความง่ายของตลาดเป็นการเปิดโอกาสให้นักพัฒนา แต่ในขณะเดียกวันความง่ายของการเข้าถึงตลาดก็เป็นการนำพาคู่แข่งมาเป็นจำนวนมากเช่นกัน”

Windows Phone 7 คือ “ตัวแปร”

สำหรับ Windows Phone 7 นั้น หมอจิม บอกว่า มีโอกาสสูงที่จุด Peak ของ Windows Phone 7 น่าจะอยู่ราวเดือนธันวาคม 2553 นี้ ที่จะได้เห็นการสู้กันระหว่าง Windows Phone 7 กับ iOS ซึ่งไมโครซอฟท์ใช้กลยุทธ์ด้วยการทุ่มทรัพยากรทั้งหมดที่มีอยู่ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Windows Live และxBox ซึ่งเป็นโปรดักส์ที่ประสบความสำเร็จมาสู้กับ iPhone ทำให้โอกาสที่ Windows Phone 7 จะมีสูง เพราะราว 60 เปอร์เซ็นต์ของตลาด iPhone อยู่ที่เกม ฉะนั้นการที่ไมโครซอฟท์เอา xBox มาอยู่ใน Windows Phone 7 เพื่อต่อกรกับ iPhone นั้นก็ค่อนข้างสมน้ำสมเนื้อ

“ตลาดสมาร์ทโฟนในอีก 2-3 ปีข้างหน้า จะเป็นสนามการต่อสู้ของ 3 แพลตฟอร์มนี้ คือ Windows Phone 7, iOS และ Android  ปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคใหม่ของสมาร์ทโฟน ตอนนี้มันเหมือนช่วงตลาดพีซีช่วงที่เปลี่ยนจาก DOS มาเป็น Windows ฉะนั้นเวลาพูดถึงตลาดสมาร์ทโฟนในปัจจุบันมันจะยังเบลอๆ เพราะมีการอ้างตัวเลขจากเจ้าตลาดเดิม คือ โนเกีย แต่หากจะนับเฉพาะตลาดสมาร์ทโฟนตามรูปแบบธุรกิจใหม่ที่มีตลาดแอพพลิเคชั่นรองรับการใช้งานแล้ว ปัจจุบันสัดส่วนตลาดหลักของสมาร์ทโฟนในตลาดอเมริกา คือราว 45 เปอร์เซ็นต์ ยังเป็นของ iOS ในขณะที่ราว 15-20 เปอร์เซ็นต์เป็นของ Android ในขณะที่สัดส่วนของ Windows Phone 7 ยังไม่มี ซึ่งตลาดรวมสมาร์ทโฟนทั้ง 3 แลพตฟอร์มจะเติบโตขึ้นเบียดส่วนแบ่งตลาดบนของโนเกีย ส่วน BlackBerry นั้นน่าจะเป็นตลาดเฉพาะ (Niche Market) จะไม่ได้มาแข่งกับ 3 แพลตฟอร์มนี้”

แต่ส่วนแบ่งการตลาดโลก ณ ปัจจุบัน โนเกียยังเป็นเจ้าตลาดอยู่ รองลงมาคือ iOS ตามด้วย BlackBerry และ Android ซึ่ง Android น่าจับตามมากเพราะอัตราการเติบโตค่อนข้างเร็ว เนื่องจากมีผู้ผลิตเครื่องหลายราย

สำหรับ Windows Mobile 6.5 นั้น ปัจจุบันยังมีแอพพลิเคชั่นจำนวนมากที่ทำงานบนแพลตฟอร์ม Windows Mobile 6.5 ซึ่งจะเป็นคนละตลาดกับ Windows Phone 7 ตลาดในส่วนนี้จะ “Flat Growth” เรียกว่า “ไม่ตายแต่ไม่โต” เพราะจะถูกจำกัดการใช้งานกับแอพพลิเคชั่นเฉพาะเชิงธุรกิจเท่านั้น เท่ากับว่า สำหรับค่ายไมโครซอฟท์จะมี 2 แพลคฟอร์มของสมาร์ทโฟน คือ  Windows Mobile 6.5 กับ Windows Phone 7 ซึ่งในงาน NIX ไมโครซอฟท์กล่าวว่าจะยังคงรักษาสถานะของทั้ง 2 OS นี้เอาไว้

สำหรับเจ้าตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ของโลกอย่างโนเกียนั้น นับว่ากำลังเผชิญความท้าทายครั้งใหญ่ เพราะตลาดสมาร์ทโฟนในอดีตกับปัจจุบันกำลังเปลี่ยนรูปแบบของธุรกิจอย่างสิ้นเชิง หรืออาจกล่าวได้ว่า ตลาดสมาร์ทโฟนกำลังเลื่อนเข้าสู่ตลาดคอนซูเมอร์ ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดมหึมาหากเทียบกับตลาดสมาร์ทโฟนในอดีตที่ฐานลูกค้าใหญ่คือภาคธุรกิจ ซึ่งตลาดสมาร์ทโฟนในปัจจุบันที่เติบโตอย่างรวดเร็วนี้เป็นเพราะตลาดสมาร์ทโฟนได้สร้างให้เกิดระบบนิเวศของอุตสาหกรรม (Ecosystem) นั่นคือ การเกิดขึ้นของตลาดแอพพลิเคชั่น (App Store/ App Market) ขนาดใหญ่ ซึ่งระบบนิเวศของอุตสาหกรรม (Ecosystem) ของตลาดสมาร์ทโฟนสำหรับคอนซูเมอร์นั้นมีขนาดมหึมามากกว่าระบบนิเวศของอุตสาหกรรม (Ecosystem) ของตลาดสมาร์ทโฟนสำหรับธุรกิจ

Developers “ตัวแปร” ชัยชนะในสนามสมาร์ทโฟน

อย่างไรก็ดี การจะประสบความสำเร็จในตลาดสมาร์ทโฟนได้นั้น ผู้ผลิตจะต้องดึงดูดนักพัฒนาซอฟต์แวร์ให้มาพัฒนาแอพพลิเคชั่นป้อนตลาดแอพพลิเคชั่นให้ตนเอง ซึ่งหากประเมินขุมกำลังกันแล้วนับว่า iPhone ยังคงเป็นต่อ Android และ Windows Phone 7 อยู่ เพราะ iPhone เน้นที่แอพพลิเคชั่นที่ผู้ใช้ต้องจ่ายเงิน (Paid Apps) ทำให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์อยากจะพัฒนาแอพพลิเคชั่นป้อน iPhone มากกว่า แต่ Android เพิ่งเริ่มและแอพพลิเคชั่นส่วนมากยังเป็นของฟรี (Free Apps) ในขณะที่ Windows Phone 7 มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เคยพัฒนาแอพพลิเคชั่นป้อน xBox อยู่ในมือแล้วจำนวนมากทำให้ค่อนข้างจะได้เปรียบในเรื่องนี้

“โนเกียพยายามเอา Symbian มาทำเป็นโอพ่นซอร์สหวังว่าจะได้รับความนิยมเหมือนกับ Android และโนเกียยังจับมือกับอินเทลออก MeeGo (Mobile Linux Platform) และปลายปีจะออก MeeGo มาสู้กับ iPad ก็นับว่าเดินมาในทางเดียวกัน คือ มีตลาดแอพพลิเคชั่น แต่ต้องอย่าลืมว่านักพัฒนาซอฟต์แวร์เองก็มีอยู่จำกัด ซึ่งแพลตฟอร์มไหนสามารถให้โอกาสและผลตอบแทนที่เร็วกว่าเขาก็จะไปพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับแพลตฟอร์มนั้น ซึ่งในปัจจุบันก็คือ iOS กับ Android”

สำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์เองนั้นแม้ว่าตลาดในปัจจุบันจะค่อนข้างเปิด แต่ทว่าการที่ตลาดเปิดตลาดง่ายก็นำมาซึ่งคู่แข่งจำนวนมหาศาล ตัวอย่างเช่น iOS ปัจจุบันมีแอพพลิเคชั่นบน iTune มากกว่า 200,000 ชิ้น และในแต่ละวันมีแอพพลิเคชั่นใหม่เข้ามาขายบน iTune ราว 400 แอพพลิเคชั่นต่อวัน อายุเฉลี่ยของแอพพลิเคชั่น (App Lifecycle) บน iTune อยู่ที่ราว 1 เดือน หมายความว่านักพัฒนาซอฟต์แวร์จะต้องพัฒนาแอพพลิเคชั่นอย่างไม่หยุดหย่อน

อย่างไรก็ดีแม้ว่าโมเดลตลาดแอพพลิเคชั่นนี้จะเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูง แต่ทว่าโมเดลตลาดแอพพลิเคชั่นก็เป็นโมเดลที่เปิดโอกาสความสำเร็จให้กับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ค่อนข้างมาก เพราะว่าหากแอพพลิเคชั่นไหน “เข้าตา” หรือ “โดนใจ” ผู้ใช้งานแล้วสามารถสร้างจำนวนการดาวน์โหลดได้มหาศาลก็จะสามารถสร้างได้รายได้ให้กับนักพัฒนารายนั้นได้อย่างมากเช่นเดียวกัน

“ข้อดีของรูปแบบธุรกิจนี้ คือ เหมือนตลาดหนังตลาดเพลง ที่หากผลงานชิ้นไหนโดนหรือฮิต โอกาสสร้างรายได้มหาศาลก็มี ซึ่งความยากเชิงเทคโนโลยีนั้นไม่ยาก แต่ยากตรงเรื่องความเข้าใจในความต้องการของลูกค้าซึ่งอยู่ในคนละวัฒนธรรมกับเรา ตลาดใหญ่ของการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นของ iTune นั้นอยู่ในตลาดอเมริกา ที่ตกเฉลี่ยแล้วจะมีการดาวน์โหลด 15,000-20,000 ดาวน์โหลดต่อวัน ในขณะที่ปริมาณการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นสูงสุดในไทย คือ 40 ดาวน์โหลดต่อวัน ขนาดตลาดแตกต่างกันมาก”

“ฉะนั้น การออกแบบและพัฒนาแอพพลิเคชั่นจะต้องทำเป็นสากล ซึ่งแอพพลิเคชั่นที่โดนใจตลาดไม่จำเป็นต้องเป็นต้องเป็นแอพพลิเคชั่นขนาดใหญ่ แต่ต้องถูกใจตลาด เพราะตลาดนี้เป็นตลาดคอนซูเมอร์ล้วนๆ ตัวอย่างเช่น แอพพลิเคชั่นรวมเสียงตด ที่ชื่อ iFarp มียอดดาวน์โหลดวันละ 15,000 ดาวน์โหลดต่อวัน” หมอจิมกล่วาทิ้งท้ายไว้อย่างน่าสนใจ

View :4013