ธุรกิจโทรคมนาคมไทย: ถอยหลังลงคลอง ?

April 29th, 2012 No comments

โดย ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

ธุรกิจโทรคมนาคมเป็นเสาหลักของการพัฒนาทางเศรษฐกิจในยุคสารสนเทศที่ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลและความสามารถในการแพร่กระจายข้อมูลเป็นปัจจัยที่สร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน การมีบริการการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูงจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการที่ประเทศไทยก้าวข้ามกับดักของประเทศที่มีรายได้ปานกลาง (middle income trap) ไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง แต่ผู้เขียนมองสภาพตลาดโทรคมนาคมในประเทศไทยแล้ว กลับอยู่ในสภาวะถดถอยเนื่องจากการแข่งขันในตลาดมีจำกัด และยังอาจเกิดการผูกขาดในอนาคตอีกด้วย ผู้ประกอบการต่างชาติไม่สนใจที่จะเข้ามาลงทุนในธุรกิจโทรคมนาคมไทยด้วยเหตุผลดังนี้

ประการแรก การแข่งขันในธุรกิจโทรคมนาคมไทยยังคงจมปลักกับการช่วงชิงความได้เปรียบ เสียเปรียบกันจากระบบสัมปทาน ดังจะเห็นได้จากการแก้ไขเงื่อนไขในสัญญาสัมปทานหลายฉบับในอดีต และล่าสุดกรณีการทำสัญญาเพื่อให้บริการ 3G ระหว่างกลุ่มทรูกับ กสท. ที่ถูกมองว่าเป็นสัมปทานจำแลง การทำสัญญาในลักษณะดังกล่าวมีโอกาสเกิดขึ้นอีกสูง เนื่องจากผู้ประกอบการที่มีสายสัมพันธ์กับทางการเมืองย่อมเล็งเป้าไปที่การใช้ช่องทางของสัมปทานในการได้มาซึ่งคลื่นความถี่โดยการทำสัญญากับรัฐวิสาหกิจซึ่งอยู่ภายใต้อาณัติของฝ่ายการเมือง หากเป็นเช่นนั้นแล้ว ธุรกิจโทรคมนาคมไทยก็ไม่มีวันที่จะพัฒนาได้ เพราะการแข่งขันจะไม่มีวันเสรีและเป็นธรรม ผู้ประกอบการที่ไม่มีเส้นสายทางการเมืองก็ไม่สามารถสร้างความได้เปรียบจากระบบสัมปทานได้ ทำให้แข่งขันได้ยากและอาจถูกบีบออกจากตลาดในที่สุด

ประการที่สอง กฎ กติกาในการกำกับดูแลไม่คุ้มครองผู้ประกอบการรายย่อย ในปี พ.ศ. 2553 ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เอกชนรายที่ 4 คือ Hutch ต้องถอนตัวออกไปจากตลาด (ส่งผลให้กลุ่มทรูเข้ามาเทคโอเวอร์) เนื่องจากประสบผลขาดทุนจากการที่ไม่สามารถเชื่อมต่อโครงข่ายของตนกับโครงข่ายของผู้ให้บริการรายใหญ่ คือ AIS DTAC และ TRUE ซึ่งเรียกร้องค่าเชื่อมต่อโครงข่ายในอัตราที่สูงมาก คือ 1 บาทต่อนาทีได้ ลูกค้าของ Hutch จึงไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นนอกโครงข่าย กว่า กทช[1]. จะเข้ามาแก้ไขปัญหาโดยการกำหนดอัตราค่าเชื่อมต่ออ้างอิงที่ 50 สตางค์ต่อนาทีเมื่อกลางปี พ.ศ. 2553 ซึ่งเวลาก็ล่วงเลยไปแล้วกว่า 2 ปี ก็สายเกินไปเสียแล้ว ตัวอย่างของ Hutch ที่ต้องม้วนเสื่อไปคงทำให้ผู้ประกอบการต่างชาติรายอื่นๆ รวมทั้งผู้ประกอบการไทยรายใหม่ไม่กล้าเข้ามาในตลาดโทรคมนาคมไทย เพราะไม่มั่นใจว่า กฎ กติกาในการกำกับดูแลจะให้ความเป็นธรรมแก่เขาได้เพียงใด

ประการที่สาม กฎ กติกาของ กทช. นอกจากไม่คุ้มครองรายย่อยแล้วยังจำกัดการแข่งขันในตลาดอีกด้วย ดังจะเห็นได้จาก ประกาศ กทช. ว่าด้วยการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว พ.ศ ๒๕๕๔ ซึ่งได้กำหนดนิยามของคนต่างด้าวที่เข้มงวดกว่าที่ปรากฎอยู่ใน พ.ร.บ. การประกอบกิจการของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ อย่างมาก การดำเนินการดังกล่าวมีความผิดปกติอยู่มาก เนื่องจากมีการเร่งรีบและรวบรัดก่อนที่กรรมการชุดดังกล่าวจะหมดวาระ ทำให้มีการตั้งข้อสงสัยว่า ทั้งหมดนี้เป็นการดำเนินการเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้ประกอบการรายหนึ่งในตลาดที่มีเส้นสายทางการเมืองแน่นแฟ้นกับรัฐบาลในสมัยนั้นหรือไม่

ผู้เขียนได้ฝากความหวังไว้กับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่เข้ามารับตำแหน่งใหม่ว่าคงจะปรับปรุงกฎ กติกา ในการกำกับดูแลให้เอื้อต่อการแข่งขันที่เป็นธรรมในตลาดมากกว่าในอดีต บททดสอบแรก คือ ร่างประกาศฯ ว่าด้วยการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว ฉบับใหม่ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของ กทค.[2] ในเร็ววันนี้ ผู้เขียนได้เห็นร่างที่จะมีการนำเสนอแล้วก็มีความเป็นห่วงอย่างยิ่งว่า หากมีการเห็นชอบร่างดังกล่าวแล้ว ตลาดโทรคมนาคมไทยอาจถอยหลังเข้าคลองในอนาคตอันใกล้ ด้วยเหตุผลดังนี้

ประการแรก แม้ร่างดังกล่าวได้ตัดสาระที่เกี่ยวกับความมั่นคงออกไปหมดแล้ว (ซึ่งผู้เขียนเห็นด้วยว่าการอ้างเรื่องความมั่นคงนั้นเลื่อนลอย) หากแต่ยังคงบัญชีข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าวทั้ง 8 ข้อ ซึ่งรวมถึงการครอบงำผ่านแหล่งเงินทุน สัญญาจัดซื้อจัดจ้าง การถ่ายโอนค่าใช้จ่าย การทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา การโอนราคา ฯลฯ การวินิจฉัยว่าการประกอบธุรกรรมกับคนต่างด้าวในลักษณะใดจึงจะถือว่าเป็นการครอบงำนั้นขาดหลักเกณฑ์ หรือวิธีการพิจารณาที่ชัดเจนจึงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ กสทช. เป็นหลัก

ประการที่สอง ประกาศฉบับนี้ไม่มีเหตุผลรองรับที่ชัดเจนว่าทำไปเพื่ออะไร ธุรกิจโทรคมนาคมไทยมีปัญหาที่เกี่ยวกับการถูกคนต่างด้าวครอบงำหรือ และการครอบงำดังกล่าวดทำให้ผู้ใช้บริการเสียประโยชน์หรือถ่วงพัฒนาการของธุรกิจโทรคมนาคมไทยอย่างไร จึงต้องมีประกาศฉบับนี้ กรรมการชุดที่แล้วบอกว่าเป็นเรื่องความมั่นคง กรรมการชุดนี้บอกไม่เกี่ยวกับเรื่องความมั่นคง แต่ก็ไม่ยกเลิกและไม่สามารถชี้แจงเหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ได้ รวมทั้งไม่มีการทำรายงานที่แสดงผลดี ผลเสียต่อธุรกิจโทรคมนาคม และผู้บริโภคตามข้อกำหนดของ กสทช. เองตามเดิมจากที่ผู้เขียนเคยท้วงติงเมื่อกว่าครึ่งปีที่แล้ว

ประการที่สาม จนบัดนี้แล้ว กสทช. ก็ยังไม่สามารถชี้แจงได้ว่าประกาศดังกล่าวขัดกับพันธกรณีของประเทศไทยที่ให้ไว้ในองค์การการค้าโลกหรือไม่ เพียงแต่เขียนไว้ในร่างประกาศฉบับใหม่ว่า ประกาศฉบับนี้สามารถบังคับใช้ได้ “เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับความตกลงหรือสนธิสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคีหรือมีความผูกพันตามพันธกรณี” หากเนื้อหาเกี่ยวกับการครอบงำกิจการของคนต่างด้าวทั้งหมดขัดกับพันธกรณีของไทยในองค์การการค้าโลกแล้ว ประกาศนี้จะเป็นเพียงแค่เศษกระดาษที่แสดงถึงความไม่รอบคอบในการออก กฎ กติกา ของ กสทช. เท่านั้น เพราะไม่สามารถบังใช้กับนักลงทุนจากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก 153 ประเทศได้ แล้วจะออกมาเพื่ออะไร หรือคิดว่าจะใช้สำหรับนักลงทุนจากประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก เช่น อัฟกานิสถาน ลิเบีย หรือ เกาหลีเหนือ ?

ผู้เขียนเห็นว่า ประกาศฉบับนี้แท้จริงแล้วไม่ใช่เรื่องของการป้องกันการครอบงำธุรกิจโทรคมนาคมของคนต่างด้าว หากแต่เป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายใหม่ที่อาจสนใจเข้ามาแข่งขันในการประมูลคลื่น 3G และเป็นการเปิดช่องให้การเมืองเข้าครอบงำธุรกิจโทรคมนาคมไทยมากกว่า เนื่องจากประกาศนี้ทำให้ กสทช. สามารถใช้ดุลยพินิจได้อย่างเต็มที่ในการชี้ว่าผู้ประกอบการรายใดเป็นคนต่างด้าวและรายใดมิใช่คนต่างด้าว ผู้ประกอบการที่ไร้เส้นสายทางการเมืองอาจถูกบีบให้ออกจากตลาดเหมือนที่ Hutch เคยโดนมาแล้ว ณ เวลานั้นคนไทยก็คงจะต้องเตรียมควักกระเป๋าสตางค์จ่ายค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่แพงลิบลิ่วเหมือนในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2543 ที่มีผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (สัญชาติไทยแท้ ณ เวลานั้น) เพียงสองรายในตลาด

แม้ประกาศนี้จะกระตุ้นต่อม “รักชาติ” ของคนไทย แต่เราต้องไม่ลืมว่าที่ผ่านมานั้น การครอบงำของการเมืองที่มุ่งแสวงหากำไรจากการผูกขาดได้สร้างความเสียหายให้แก่ประเทศมากกว่าการครอบงำของคนต่างด้าวที่แสวงหากำไรจากการแข่งขันในตลาด

[1] คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม ตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งตอนนี้กลายเป็น คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช) ตาม. พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
[2] คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช)

View :2896

NForum: Digital platform for job seekers and freelencers ที่ Siam City Hotel

April 28th, 2012 No comments
  1. Share
  2. Share
    RT @misterAum: ความต่างของเว็บ Linkedin กับเว็บหางานคือ – Linkedin จะมีคนเข้ามาคุ้ยหา Profile ที่น่าสนใจ ส่วนคนที่กำลังหางานจะใช้เว็บหางาน #NForum
  3. Share
    SME สามารถใช้ปย.จาก digital platform ได้เช่นกัน เพราะคนรุ่นใหม่คุ้นชินกับการใช้สื่อ digital หาก SME ใช้ tools นี้เป็นได้คนที่ต้องการ #NForum
  4. Share
    ในวงการ HR ของธุรกิจโรงแรม Social Media มีผลมากในการหาคนที่ต้องการ #NForum
  5. Share
    Hr เดี๋ยวนี้ต้องเปิดใจ เพราะเด็กเปิดคอมมา ก็เปิดโซเชียลมีเดียแล้ว #NForum
  6. Share
  7. Share
    ประมาณการจากสายตา วันนี้มีคนฟัง #nforum เกือบ 100คนแหนะ กับหัวข้อ Digital Platforms Job Seekers and Freelancers ^__^
  8. Share
    เด็กรุ่นใหม่ที่ไม่เคยมีปสก.เลยจะเข้าวงการโรงแรมยาก …. ซึ่งในกรุ๊ป campus recruit เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กรุ่นใหม่เข้าสู่ธุรกิจโรงแรม #NForum
  9. Share
    Influencer มีประโยชน์มากสำหรับแบรนด์ในการสร้าง Awareness บนโลกออนไลน์ (ตัวอย่างเช่น เครื่องสำอางในคลิปโมเมพาเพลิน) #NForum
  10. Share
    Digital Platform มีต้นทุนต่ำมากในการโปรโมทตัวเองและสร้าง Personal Branding เช่น แชร์เรื่องที่สนใจผ่าน Blog และกระจายผ่าน SN #NForum
  11. Share
    จะสมัครบริษัทด้านสินค้าอุปโภคบริโภค ควรศึกษาก่อนว่ามีสินค้าแบรนด์อะไรบ้าง #Nforum #Hrtwt ow.ly/i/AO9e
  12. Share
    P&G คัดเลือกนักศึกษาฝึกงานในแต่ละปีแค่ 6-7 คน อัตราส่วนการรับโหดกว่าการรับพนักงา่นปกติ #NForum
  13. Share
  14. Share
    คุณธิดารัตน์เสริมว่าSocial Mediaเป็นช่องทางช่องทางหนึ่งในการประกาศตำแหน่งงาน รูปแบบ Post>Ment>Share #hrtwt #NForum
  15. Share
    http://Pantip.comห้องสีลมเป็นแหล่งที่ผู้สมัครสามารถสืบค้นได้เลยว่าองค์กรไหนเป็นEmployer of choiceหรือEmployer of cheat #hrtwt #NForum
  16. Share
    Facebook เป็นเรื่องของ Fake คือ สามารถตกแต่งสาระได้ เพราะฉะนั้นจะไม่เอา สาระบน facebook มาพิจารณาในการรับสมัครงาน via @SiamBuzz #Nforum
  17. Share
    HRสมัยนี้ จะสัมภาษณ์ใครก็จะทำการresearchผ่านGoogleและSocial Mediaก่อน #hrtwt #NForum
  18. Share
    P&G ไม่มีนโยบายให้ใช้ ้ข้อมูลบน social media เป็น criteria ในการพิจารณารับสัมครงาน #NForum
  19. Share
    utilization ของ social network คือ การสร้าง connection และพา online connection ไปสู่ offline connection #NForum
  20. Share
    อย่าขี้จุ๊ copy resume กันนะ ฟอร์มเดียวกัน อย่าให้เพื่อนเขียนให้ HR เขารู้นะ เรียงกัน 3 คน เหมือนกันเป๊ะ #NForum #HRTwt
  21. Share
    #NForum … Digital Platforms Job Serkers & Freelancers (at @siambuzz) [pic] — path.com/p/3KWaOy
  22. Share
    RT @AdeccoThailand: คุณธิดารัตน์บอกว่า Facebook คือ “Privacyบนเวทีสาธารณะ” #NForum #hrtwt
  23. Share
    ชื่อ กับ นามสกุล คือสิ่งแรกของ candidate ที่จะถูก HR เช็คจาก google #NForum
  24. Share
    Adeccoจะไม่ใช้Social Mediaในกระบวนการการคัดเลือกคน แต่ถ้าสัมภาษณ์แล้วบางอย่างเป็นเรื่องน่าสงสัย จะใช้Social Mediaเพื่อProve #hrtwt #NForum
  25. Share
    RT @kiwiezkr: บริษัทควรมี social network guideline ให้พนักงาน (ป้องกันเรื่องการผิดcode of conduct) #NForum
  26. Share
  27. Share
    การสร้างปฏิสัมพันธ์ในองค์กร บนโลกออนไลน์ มีหลาย level >> secret group, closed group, open group #NForum
  28. Share
    RT @AdeccoThailand: พนักงาน เป็น Brand Ambassador ขององค์กร ในโลกSocial Media ดังนั้น คิดก่อนโพสต์,follow policy and code of conduct #hrtwt #NForum
  29. Share
    ตัวตนบนโลกออนไลน์ กับ performance ของพนักงาน เป็นคนละเรื่องกัน ไม่ได้เอามาเป็นตัวชีวัดอะไร via @Chutchapol @SiamBuzz #NForum
  30. Share
    RT @lekasina: collaborative tools ต่างๆ สามารถนำมาใช้เพื่อเพ่ิมประสิทธิภาพการทำงานของคนในองค์กรได้ @AdeccoThailand #NForum
  31. Share
    RT @AdeccoThailand: สิ่งที่องค์กรต้องมีคือ Social Media Policy เพื่อให้พนักงานรู้และเข้าใจวิธีใช้งานเพื่อแยกแยะระหว่างPersonalกับพาดพิงองค์กร #hrtwt #NForum
  32. Share
    RT @lekasina: การจะแอดเจ้านายมาเป็นเพื่อนบน facebook ต้องเลือกแอดเจ้านายที่เข้าใจเรา ว่า เราเล่นเกม ไม่ใช่เราไม่ทำงาน เราบ่นใช่ว่าไม่พอใจ #NForum
  33. Share
    RT @ChuterColourful: RT @yokekung: งานอดิเรก เขียนหลอกๆไม่ได้นะ HR รู้แหล่ะ อย่าหลอกดีกว่า #HRTwt #NForum
  34. Share
    what’s happened in social network, it will be in social network forever … via @vow_vow repeated by @Chutchapol #NForum
  35. Share
    drama management คนที่ทำงานแล้วควรมีวุฒิภาวะในการใช้ social network ระดับหนึ่ง #Nforum
  36. Share
    Social media feed is your personal branding. It affect your reputation. Be careful. #NForum
  37. Share
    ตัวตนบนโลกออนไลน์มีผลน้อยเมื่อทำงานกับเราแล้วและงานยังปกติดี แต่จะมีผลมากต่อเมื่อต้องการคนใหม่มาร่วมงาน #hrtwt #NForum
  38. Share
    RT @lekasina: ฝรั่งเขามักจะไม่แอดเพื่อนร่วมงานเป็นเพื่อนบน facebook แต่คนไทยเราไม่ จะแอดปะปนกันไปหมด #NForum
  39. Share
    คนเรา mixed คนเรา mouth เพราะฉะนั้น แม้ว่าองค์กรจะบอกว่า ตัวตนบนโลกออนไลน์ไม่มีผลต่อการรับสมัครงานหรือต่อการทำงานนั้น ไม่จริงเสมอไป #NForum
  40. Share
    ต่างประเทศเค้าไม่รับแอดเฟรนด์เพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมงานก็คือเพื่อนร่วมงาน via @Chutchapol #NForum
  41. Share
    แก่นของงาน HR ก็ยังเป็นเรื่องของ “คน” social media เป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่ง #NForum
  42. Share
    RT @lekasina: ในตปท.เริ่มมีบริษัทกลางที่รับจ้าง research คนจากตัวตนของเขาบนโลกออนไลน์ เชือ่ว่าในอนาคตไม่นานน่าจะเข้ามาในไทย #NForum
  43. Share
    social media ไม่ได้เปลี่ยนพฤติกรรมของคน ลักษณะนิสัยของคนไม่ได้เปลี่ยนเพราะ social media via @spin9 #Nforum
  44. Share
  45. Share
    RT @lekasina: คนเรา connect กันก็เป็น social media กันมาตั้งนานแล้ว เพียงแต่ว่ามันไม่ได้ online เท่านั้นเอง #Nforum
  46. Share
  47. Share
View :2451
Categories: Uncategorized Tags:

Rabbit Card บัตรเดียวโดยสารร่วม BTS-MRT

April 26th, 2012 No comments

{“name”:”Internal Server Error”,”code”:500}

View :2567
Categories: Uncategorized Tags:

มูลนิธิแสงชัย สุนทรวัฒน์,ส.นักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เตรียมจัดงานประกาศผลการตัดสิน ข่าว-สารคดีวิทยุโทรทัศน์ยอดเยี่ยม ปีที่ 15 รางวัลแสงชัย สุนทรวัฒน์ รางวัลแห่งความภาคภูมิใจของคนข่าว

April 17th, 2012 No comments

พร้อมจัด เวทีเสวนา “สื่อใหม่ เทรนด์ใหม่ คนรุ่นใหม่” 19 เม.ย.นี้

นายวิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เปิดเผยในฐานะผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดประกวดข่าวสารคดีวิทยุโทรทัศน์ยอดเยี่ยม รางวัลแสงชัย สุนทรวัฒน์ ว่า ในวันพฤหัสที่ 19 เม.ย. นี้ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และมูลนิธิแสงชัย สุนทรวัฒน์ จะจัดงานประกาศผลการตัดสินรางวัลแสงชัย ฯ ประจำปี 2554 โดยมี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เป็นประธานในพิธี

สำหรับในปีที่ 15 ของการจัดประกวดข่าว สารคดีเชิงข่าววิทยุโทรทัศน์ยอดเยี่ยม รางวัลแสงชัย สุนทรวัฒน์ มีผู้ส่งผลงานเข้าประกวดรางวัลแสงชัยฯ ประจำปี 2554 ทุกประเภท 102 ข่าว ในประเภทรางวัล ดังนี้ 1.รางวัลประเภทข่าวและสารคดีวิทยุยอดเยี่ยม 2.รางวัลประเภทข่าว-สารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ท้องถิ่นดีเด่น 3.การประกวดข่าวโทรทัศน์ยอดเยี่ยม แบ่งเป็น 3 ประเภทรางวัล คือ รางวัลยอดเยี่ยมประเภทข่าวเหตุการณ์, รางวัลยอดเยี่ยมประเภทสารคดีเชิงข่าว และ รางวัลยอดเยี่ยมประเภทข่าวสืบสวนสอบสวน

โดยมีผลงานที่เข้ารอบ ประเภทข่าว-สารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ยอดเยี่ยม ประจำปี 2554 ดังนี้
ประเภทข่าวสืบสวนสอบสวน 7 เรื่อง
1.เปิดโปงโรงงานชำแหละไก่เถื่อน สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
2.สงสัยตำรวจสกลนครยิงวิศวกรและยัดยาบ้า สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
3.ไม้พะยูงข้ามชาติ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
4.เปิดปม…บัตรประชาชนเถื่อน สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
5.น้ำมันเถื่อน สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
6.รายงาน : ถอดรหัส 13 ศพ ลูกเรือจีน สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์
7.แฉขบวนการโกงแชร์ล็อตเตอรี่ สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์

ประเภทสารคดีเชิงข่าว 8 เรื่อง
1.ภัยสารเคมีที่ทุ่งกุลา สำนักข่าวไทย บมจ.อสมท
2.โรฮิงญาที่ฉันรู้จัก เนชั่นแชนแนล
3.บันทึกวิกฤติน้ำท่วม 2554 เนชั่นแชนแนล
4.เปิดปม คนไทยพลัดถิ่น สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
5.รอยร้าวชายแดนใต้ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
6.เสียงประชาชนเปลี่ยนประเทศไทย ตอน “แกะรอยจัดการน้ำ” สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
7.2563 เปลี่ยนประเทศไทย ตอน “ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม” สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
8.คาลมิเกีย ดินแดนแห่งพุทธศรัทธาในยุโรป สถานีโทรทัศน์ Voice TV

ประเภทข่าวเหตุการณ์ 10 เรื่อง
1.ป่วนใต้รุนแรง สำนักข่าวไทย บมจ.อสมท
2.อพยพวุ่น..มหาอุทกภัย 54 สำนักข่าวไทย บมจ.อสมท
3.ระเบิด ที่สุไหงโกลก สำนักข่าวไทย บมจ.อสมท
4.นาทีชีวิต..มหาอุทกภัย 54 สำนักข่าวไทย บมจ.อสมท
5.รายงานพิเศษ “นาทีชีวิตเด็กจมน้ำ” สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
6.นาทีชีวิต อุบัติเหตุเรือล่ม จ.สิงห์บุรี สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
7.ระเบิดนราธิวาส สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
8.นาทีชีวิต เจ้าหน้าที่สาธารณะสุขเรือล่ม หน้าเขื่อนบางโฉมศรี จ.สิงห์บุรี สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
9.ลำที่ 3 ในการสูญเสีย สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
10.นาทีชีวิต สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
ผลงานที่เข้ารอบประเภทโทรทัศน์ท้องถิ่น
1.รายการ สน.20 ตอน แห่นางด้ง เสียงไทยแลนด์เคเบิ้ลทีวี จ.ร้อยเอ็ด
2.ศูนย์ (สูญ) ปลาสลิด บริษัท ปราการเคเบิ้ลทีวี จำกัด
3.เยาวชนรีไซเคิล หัวใจไร้มลทิน บริษัท ปราการเคเบิ้ลทีวี จำกัด
4.อุบัติเหตุตลาดกุ้ง บริษัท มหาชัยเคเบิลทีวี จำกัด
5.โรงเรียนของหนูมีครูไม่พอ บริษัท มหาชัยเคเบิลทีวี จำกัด

ผลงานที่เข้ารอบประเภทข่าวประกอบเสียง 2 เรื่อง คือ น้ำตาชาวเขาพนม สำนักข่าวไทย บมจ.อสมท และ สารเคมีระบาดที่ทุ่งกุลา สำนักข่าวไทย บมจ.อสมท ส่วน ประเภทสารคดีวิทยุไม่มีผลงานส่งเข้าประกวด

พร้อมกันนี้ช่วงภาคเช้า ในวันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน 2554 เวลา 10.30 – 12.30 น. สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และ มูลนิธิแสงชัยฯ ยังได้จัดเวทีเสวนา “สื่อใหม่ เทรนด์ใหม่ คนรุ่นใหม่” เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ มุมมอง ของคนทำสื่อหลากหลายรูปแบบทั้งสื่อวิทยุโทรทัศน์และโซเซียลมีเดีย โดยมีวิทยากร ดังนี้

คุณอดิศักดิ์ ลิมปรุงพัฒนกิจ กรรมการอำนวยการ บมจ.เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น
คุณสุรชา บุญเปี่ยม บรรณาธิการข่าว สถานีโทรทัศน์เดลินิวส์
คุณเดียว วรตั้งตระกูล กรรมการผู้จัดการฝ่าย จีเอ็มเอ็ม บรอดคาสติ้ง บมจ. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
คุณปราปต์ บุนปาน ผู้จัดการฝ่ายสื่ออิเล็กทรอนิกส์ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)
คุณอริยะ พนมยงค์ ผู้จัดการ กูเกิล ประจำประเทศไทย
คุณสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการ กสทช.
ดำเนินรายการโดย คุณจิระ ห้องสำเริง นักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์

สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จึงขอเชิญทุกท่านมาร่วมเป็นเกียรติและรับทราบผลการตัดสินรางวัลแสงชัยฯ ในงานประกาศผลรางวัลและร่วมเวทีเสวนาดังกล่าว ในวันพฤหัสบดีที่ 19 เม.ย. 2554 เวลา 10.00-15.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารสมาคมนักข่าวฯ ถนนสามเสน

กำหนดการ
งานประกาศผลการตัดสิน ข่าว-สารคดีวิทยุ-โทรทัศน์ รางวัลแสงชัย สุนทรวัฒน์ ประจำปี 2554
วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน 2555 เวลา 10.00 – 15.30 น.
ณ ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล อาคารสมาคมนักข่าวฯ ชั้น 3
ภาคเช้า 10.00 – 10.30 น. ลงทะเบียน
10.35 – 10.40 น. พิธีกรนำเข้าสู่เวทีเสวนา สื่อใหม่ เทรนด์ใหม่ คนรุ่นใหม่
10.40 – 10.45 น. คุณวิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
กล่าวต้อนรับและวัตถุประสงค์การจัดเวทีเสวนา
10.45 – 12.30 น. เวทีเสวนา สื่อใหม่ เทรนด์ใหม่ คนรุ่นใหม่
วิทยากร
คุณอดิศักดิ์ ลิมปรุงพัฒนกิจ กรรมการอำนวยการ บมจ.เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น
คุณสุรชา บุญเปี่ยม บรรณาธิการข่าว สถานีโทรทัศน์เดลินิวส์
คุณเดียว วรตั้งตระกูล กรรมการผู้จัดการฝ่าย จีเอ็มเอ็ม บรอดคาสติ้ง บมจ. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
คุณปราปต์ บุนปาน ผู้จัดการฝ่ายสื่ออิเล็กทรอนิกส์ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)
คุณอริยะ พนมยงค์ ผู้จัดการ กูเกิล ประจำประเทศไทย
คุณสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการ กสทช.
ดำเนินรายการโดย คุณจิระ ห้องสำเริง นักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์
ภาคบ่าย พิธีประกาศผลการตัดสินและมอบรางวัลแสงชัย สุนทรวัฒน์ ประจำปี 2554
13.00 – 13.50 น. ลงทะเบียน
14.00 – 14.05 น. นายวิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
กล่าวต้อนรับประธานเปิดงาน กรรมการมูลนิธิแสงชัยฯ และแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงาน
14.05 – 14.10 น. วิดิทัศน์ยกย่องเชิดชูประกาศเกียรติคุณสื่อมวลชนชายแดนภาคใต้
14.10 – 14.15 น. นายสมชาย กรุสวนสมบัติ กรรมการมูลนิธิแสงชัย สุนทรวัฒน์
กล่าวรายงานถึงความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของรางวัลแสงชัย สุนทรวัฒน์
14.15 – 14.20 น. พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี ประธานในพิธี กล่าวเปิดงาน
14.20 – 14.25 น. วิดิทัศน์ความเป็นมาและภาพรวมรางวัลแสงชัยฯ ตลอด 15 ปี
14.25 – 15.00 น. ประกาศผลการตัดสินและพิธีมอบรางวัลแสงชัย สุนทรวัฒน์ ประจำปี 2554
-ข่าวประกอบเสียงและสารคดีวิทยุยอดเยี่ยม
-ข่าว-สารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ท้องถิ่นดีเด่น
-ข่าวโทรทัศน์ยอดเยี่ยม
-พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี กล่าวแสดงความยินดีต่อผู้ได้รับรางวัล
15.10 น. ถ่ายภาพร่วมกัน…..จบงานอย่างเป็นทางการ

View :2999

ระบบเครือข่ายเซนเซอร์เฝ้าติดตามผลกระทบในฝั่งทะเลอันดามัน จากเหตุแผ่นดินไหวที่ประเทศอินโดนีเซีย

April 12th, 2012 No comments

ระบบเครือข่ายเซนเซอร์เฝ้าติดตามและส่งข้อมูลลักษณะทางกายภาพของระบบ นิเวศวิทยาปะการัง สามารถจับชายหาดและภาพใต้ทะเลฝั่งอันดามันในช่วงเวลา 18.00-18.30 น. ของวันที่ 11 เมษายน 2555 คาดว่าจะเป็นช่วงที่เกิดเหตุน้ำขึ้นลงผิดปกติในเขตเกาะราชาใหญ่ จังหวัดภูเก็ต อันเป็นผลมาจากแผ่นดินไหวที่ประเทศอินโดนีเซีย โดยทีมนักวิจัยจากศูนย์ความรู้เฉพาะด้านนิเวศวิทยาพยากรณ์และการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์พบความผิดปกติน้ำทะเลขึ้นลงประมาณ10 เซ็นติเมตร

ภาพขณะลงไปติดตั้งอุปกรณ์เมื่อปี 2011


หมายเหตุ : ( ข้อมูลโครงการวิจัยเพิ่มเติม ) ระบบเครือข่ายเซนเซอร์เฝ้าติดตามและส่งข้อมูลลักษณะทางกายภาพของระบบ นิเวศวิทยาปะการัง
ภายใต้โครงการเครือข่ายบุคลากรและการสร้างศูนย์ความรู้เฉพาะด้าน Centre of Excellence : CoE

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค ร่วมกับ ศูนย์ความรู้เฉพาะด้านนิเวศวิทยาพยากรณ์และการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และผู้ประกอบการรีสอร์ท ร่วมกันพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการแก้ปัญหาชายฝั่ง โดยมุ่งศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดการฟอกขาวของปะการัง ระบบสารสนเทศนี้จะช่วยให้นักวิจัยมีข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะทำความเข้าใจ กระบวนการต่างๆ ที่มีผลต่อชายฝั่ง นำไปสู่การแก้ปัญหาชายฝั่ง ทั้งทางกายภาพและชีวภาพ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีแนวปะการังที่สวยงามหลายจุดทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่ง อันดามัน ผลผลิตและความหลากหลายทางชีวภาพที่สูงมากของแนวปะการัง ปัญหาการตายของแนวปะการังซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด จะมีผลกระทบต่อมวลมนุษย์สุดที่จะประเมินได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ ปะการังเหล่านี้เพื่อการจัดการ อย่างเข้าใจ และอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์นี้ไว้ สถาบันการศึกษาต่างๆ ให้ความสนใจที่จะศึกษา เก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมของแนวปะการัง แต่เนื่องด้วยงบประมาณและเวลาที่จำกัด ทำให้ไม่สามารถทำการศึกษาแนวปะการังได้ทุกๆแห่งทั่วประเทศไทย การศึกษาและติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมส่วนใหญ่แล้วเป็นการวางเซน เซอร์ และไปเก็บตัวอย่างทุกๆ 2-3 เดือน ทำให้ข้อมูลที่ได้ไม่เป็นแบบ real-time เมื่อเกิดปะการังฟอกขาวขึ้นในช่วงที่ยังไม่ได้ออกไปเก็บข้อมูล การศึกษาปัจจัยทางกายภาพที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวได้ไม่ทันถ่วง ที ทำให้ไม่สามารถเข้าใจถึงปัจจัยทางกายภาพที่มีผลทำให้เกิดปรากฎการณ์ ปะการังฟอกขาวอย่างถ่องแท้ได้

ปรากฎการณ์อุณหภูมิน้ำทะเลที่เพิ่ม สูงขึ้นทำให้เกิดปะการังฟอกขาวไป มากกว่า 60 ประเทศทั่วโลกในปีคศ. 1998 และในปีคศ. 2010 นักวิจัยจำเป็นต้องทำความเข้าใจรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำทะเล และการตอบสนอง ของปะการังต่ออุณหภูมิน้ำทะเลที่เปลี่ยนแปลงไป การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อ การเกิดปะการังฟอกขาวก็เป็นส่วนหนึ่งของการเข้าใจปัญหา การเก็บข้อมูลทางกายภาพของสิ่งแวดล้อมที่ระบบนิเวศปะการังแบบ realtime เป็นหนทางเดียวที่ช่วยในการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ถูกต้องแม่นยำมาก ขึ้น ศูนย์ความรู้เฉพาะด้านนิเวศวิทยาพยากรณ์และการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้มีการติดตั้งเซนเซอร์วัดอุณหภูมิน้ำทะเลและแสง ตามจุดต่างๆแบบ offline and online และสถานีตรวจวัดอากาศอัตโนมัติ เป็นการนำเทคโนโลยีใหม่ด้านไอที เข้าไปศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของสภาพแวดล้อมแนวปะการัง จากระยะไกล

ภาพขณะลงไปติดตั้งอุปกรณ์เมื่อปี 2011


รศ.ดร.กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี ผู้อำนวยการศูนย์ความรู้เฉพาะด้านนิเวศวิทยาพยากรณ์และการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดเผยว่า”โครงการติดตั้งระบบเครือข่ายเซ็นเซอร์เฝ้าติดตามและส่งข้อมูลลัก ษณทางกายภาพของ ระบบนิเวศวิทยาปะการัง มีจุดเริ่มมาตั้งแต่การติดตั้งเซ็นเซอร์แบบอิสระ หรืออุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิน้ำทะเลและแสงแดด ตามจุดต่างๆใต้ท้องทะเล บริเวณบ้านรายารีสอร์ทแอนด์สปา เกาะราชาใหญ่ จ.ภูเก็ต แต่ข้อมูลที่ได้ไม่ทันสถานการณ์ เพราะการตรวจดูข้อมูลจากอุปกรณ์นักวิจัยต้องเดินทางไปเก็บในช่วง 2-3 เดือนต่อครั้ง ทำให้บางครั้งปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวสิ้นสุดไปแล้ว ด้วยเหตุนี้ เนคเทคซึ่งมีความร่วมมือกับเครือข่ายสังเกตการณ์แนวปะการัง และได้รับความร่วมมือจากออสเตรเลียให้ยืมเซ็นเซอร์อัจฉริยะ (Conductivity Temperature and Depth Pressure Sensor : CTD) จำนวน 2 เครื่อง ให้นำมาติดตั้งเสริมอุปกรณ์เซ็นเซอร์ตัวเดิม ทำให้ทีมวิจัยสามารถเฝ้าดูข้อมูลผ่านระบบไอทีได้ตลอดเวลา สามารถปรับเปลี่ยนระบบการเก็บข้อมูลและการวัด สามารถตั้งค่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบ เช่น ตั้งค่าอุณหภูมิวิกฤติ หรือให้ตรวจสอบปรากฏการณ์ เป็นต้น แถมยังสามารถควบคุมหรือสั่งการได้จากศูนย์ควบคุมบนบก เป็นระบบเครือข่ายเซนเซอร์ที่ส่งข้อมูลลักษณะทางกายภาพแบบ realtime online เป็นวิธีแบบใหม่ที่จะ นิยมใช้กันทั่วโลก ประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกในเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศที่ 4 ของโลกที่มีระบบเครือข่ายเซ็นเซอร์ศึกษาลักษณะทางกายภาพทางทะเลของแนว ปะการังที่ทันสมัย ถัดจากประเทศออสเตรเลีย ไต้หวัน และเกาะมูกิ ในมหาสมุทรแปซิฟิก

นายปิยะวัฒน์ เสงี่ยมกุล ผู้จัดการโรงแรมบ้านรายา รีสอร์ท แอนด์สปา เกาะราชาใหญ่ จ.ภูเก็ต กล่าวถึงการตัดสินใจสนับสนุนงานวิจัยชิ้นนี้ว่า “ตนเป็นคนรักธรรมชาติและชื่นชอบการประดาน้ำ ได้มีโอกาสเข้ามาบริหารรีสอร์ตหลังเรียนจบวิศวกรรมศาสตร์ สาขาไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ซึ่งทุกวันตนจะดำน้ำลงไปเก็บขยะในอ่าวขอนแค แต่ด้วยความที่ไม่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการอนุรักษ์มากนัก จึงรู้สึกยินดีต้อนรับนักวิทยาศาสตร์และทุกหน่วยงานที่จะเข้ามาดำเนินการใดๆ เพื่อช่วยฟื้นฟูและอนุรักษ์ธรรมชาติในพื้นที่ไว้ นอกจากนี้ รีสอร์ตของตนยังมีความเพียบพร้อมด้านการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นระบบ 3จี ไว-ไฟ และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตผ่านสายเคเบิลใยแก้วนำแสง จึงคิดว่าเหมาะเป็นสถานที่สำหรับการทำวิจัยด้วย การสนับสนุนอาคารศูนย์วิจัยในรีสอร์ตเป็นเหมือนการทำธุรกิจแบบวิน-วิน ตนได้มีส่วนอนุรักษ์ธรรมชาติ ทางรีสอร์ตสามารถใช้ข้อมูลเป็นสภาพอากาศแบบเรียลไทม์ให้ลูกค้าได้ทราบ กล้องที่ติดตั้งไว้ใต้ทะเลเพื่อติดตามดูปะการังก็สามารถถ่ายทอดมายังล็อบบี้ ของโรงแรมได้ นับเป็นจุดขายที่โดดเด่นของรีสอร์ต นอกจากนี้ ประเทศชาติก็ยังได้ประโยชน์ด้วย ทุกคนได้ประโยชน์หมด”

ภาพขณะลงไปติดตั้งอุปกรณ์เมื่อปี 2011

ดูภาพ Update เพิ่มเติมและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://www.facebook.com/ecoinfo

View :3994

นานมีบุ๊คส์เปิดตัวหนังสือใหม่ “หมู่บ้านเล็กตระกูลเป้า” พระราชนิพนธ์แปลในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

April 5th, 2012 No comments


บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด จัดงานเปิดตัวหนังสือใหม่ ผลงานพระราชนิพนธ์แปลในสมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง “หมู่บ้านเล็กตระกูลเป้า” ที่พระองค์ทรงใช้พระวิริยะภาพในการแปล เมื่อปี 2552 และแล้วเสร็จในปี 2554 ที่ผ่านมา
“หมู่บ้านเล็กตระกูลเป้า” ผลงานเขียนโดย “หวังอันอี้” นักเขียนหญิงที่มีชื่อเสียงในวงวรรณกรรมจีนร่วมสมัย การันตีด้วยรางวัล “นักเขียนหญิงผู้รังสรรค์ผลงานจีนร่วมสมัย” ใน ค.ศ. 1998 และหนังสือพิมพ์ Sin Chew Daily ของมาเลเซีย ขนานนามเธอว่า “นักเขียนหญิงผู้รังสรรค์ผลงานภาษาจีนดีเด่น” ในปี ค.ศ. 2001 อีกทั้ง “หมู่บ้านตระกูลเป้า” กตรลูยังเป็นหนังสือรางวัลนวนิยายขนาดกลางดีเด่นระดับชาติอีกด้วย
ภายในงานเปิดตัวหนังสือ ผลงานพระราชนิพนธ์แปลในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “หมู่บ้านเล็กตระกูลเป้า” ร่วมฟังเสวนาในหัวข้อ “วันคืนที่เปลี่ยนไป ในหมู่บ้านเล็กตระกูลเป้า” โดย รศ. ดร.สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา ผศ. ดร.สุรีย์ ชุณหเรืองเดช และ ผศ. ดร. สุกัญญา บำรุงสุข ณ ห้อง Meeting Room 2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์

สุวดี จงสถิตย์วัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด กล่าวว่า “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชานุญาตให้บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด จัดพิมพ์เผยแพร่พระราชนิพนธ์แปลเล่มใหม่ เรื่อง “หมู่บ้านเล็กตระกูลเป้า” พระองค์ทรงพระวิริยะแปลนวนิยายเล่มนี้ แม้ว่าตลอดเวลาพระองค์จะทรงประกอบพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่มากมาย “หมู่บ้านเล็กตระกูลเป้า” เขียนโดย “หวังอันอี้” นักเขียนหญิงที่ได้รับการยอมรับในวงการวรรณกรรมจีนร่วมสมัย พร้อมจะให้ผู้อ่านได้ซึมซับทั้งรสถ้อยความงามด้านภาษา ความงามด้านวรรณศิลป์ ความรู้ด้านประเพณีวัฒนธรรม และสังคมจีนในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ได้สัมผัสกับมิติอันหลากหลายของมนุษย์ ทั้งในมิติสว่างไสวน่าเทิดทูน และมิติที่มืดมิดน่ารังเกียจ จึงนับเป็นอาหารทางปัญญาที่เป็นผลแห่งพระปรีชาสามารถโดยแท้”

“หมู่บ้านเล็กตระกูลเป้า” พระราชนิพนธ์แปลนวนิยายจีนในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สะท้อนภาพชีวิตในหมู่บ้านชนบทแห่งหนึ่งของจีน ที่กำลังเปลี่ยนผ่านจากนาในระบบคอมมูนมาเป็นระบบนาอิสระ ในช่วงต้นทศวรรษ 1960 จนกระทั่งเข้าสู่สังคมนิยมสี่ทันสมัยในทศวรรษ 1980 ผู้อ่านจะได้สัมผัสความรักอันบริสุทธิ์ยิ่งใหญ่ของผู้เป็นแม่ ผู้มีเบื้องหลังบางอย่างที่ส่งผลถึงชีวิตตัวเธอและลูก ได้เข้าใจความบริสุทธิ์กล้าหาญของ เลาจา เด็กน้อยที่มีคุณธรรม จิตใจดี ผู้กลายเป็นวีรชนของหมู่บ้าน และเรื่องราวความรักของคน 2 คู่ คือ เฉินไหล ชายหนุ่มกำพร้าพ่อที่ไปหลงรักสาวใหญ่วัยสี่สิบ และ เสี่ยวซุ่ยจื่อ หญิงสาวอาภัพผู้ถูกบังคับให้แต่งงาน แต่เธอกลับไปรักกับน้องชายของสามีแทน เรื่องราวความรักของทั้งสองคู่ถือว่าผิดประเพณีของชาวจีน ผู้อ่านจะได้ซาบซึ้งและสะเทือนใจกับความรักต้องห้ามของเด็กสาวผู้นี้ และความคับแค้นขมขื่นของผู้ที่ถูกสังคมลงโทษโดยไม่เป็นธรรม

ร่วมเป็นเจ้าของหนังสือพระราชนิพนธ์แปลในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีก่อนใครได้ใน “หมู่บ้านเล็กตระกูลเป้า” หนังสือดีที่ควรอ่าน จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ วางจำหน่ายที่ร้านนานมีบุ๊คส์ช้อป ทั้ง 6 สาขา และร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ หรือสอบถามที่ Nanmeebooks Call Center 02-662-3000 กด 1

View :4973

สนช. อัดฉีด 300 ล้าน หนุน ปตท. ลง 700 ล้าน ตั้งโรงงานนำร่องผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพ

April 5th, 2012 No comments


ตั้งเป้า 5 ปี ขยายโรงงานผลิตจริงระดับ 10,000 ล้าน

นายศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. กล่าวว่า “ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2553 ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณจำนวน 1,000 ล้านบาท สำหรับแผนที่นำทางแห่งชาติการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ ระยะที่ 2 (2554 – 2558) เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพให้เกิดขึ้นในประเทศไทยได้อย่างรวดเร็ว สนช. จึงได้ริเริ่มสนับสนุนให้เกิดการจัดตั้งโรงงงานนำร่องเพื่อผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพสำหรับขนาดกำลังผลิต 1,000 – 10,000 ตัน/ปี ให้สามารถดำเนินการผลิตได้ภายใน 3 ปี ด้วยงบประมาณจำนวน 300 ล้าน ในขณะที่ภาคเอกชนจะต้องสมทบอีก 700 ล้านบาท และหากโรงงานนำร่องนี้ประสบความสำเร็จจะสร้างให้เกิดการลงทุนจากภาคเอกชนอีก 10,000 ล้านบาท เพื่อขยายการผลิตในเชิงพาณิชย์ให้มีกำลังการผลิตประมาณ 70,000 ตันต่อปี”

สนช. ได้ดำเนินการคัดเลือกภาคเอกชนไทยที่มีความพร้อมและมีศักยภาพในการจัดตั้งโรงงานนำร่องดังกล่าว ซึ่งขณะนี้ คณะกรรมการนวัตกรรมได้พิจารณาอนุมัติทุนสนับสนุนแก่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) เพื่อสร้างโรงงานนำร่องผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพ ขนาด 1,000 ตัน/ปี โดยจะเน้นกระบวนการนวัตกรรมในการพัฒนาเม็ดพลาสติกชีวภาพให้มีคุณสมบัติที่ดีกว่าผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในปัจจุบัน และส่งเสริมให้เกิดการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพอย่างแพร่หลาย รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีการสังเคราะห์เม็ดพลาสติกชีวภาพชนิดพอลิเมอร์ร่วม ซึ่งจะมีคุณสมบัติเฉพาะเพื่อใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพที่มีมูลค่าเพิ่มที่สูง เช่น ชิ้นส่วนในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า วัสดุก่อสร้าง และรถยนต์ รวมถึงสิ่งทอจากเส้นใยชีวภาพ

โครงการนำร่องนี้ยังกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมต้นน้ำสำหรับผลิตสารตั้งต้นที่ใช้น้ำตาล หรือแป้งเป็นวัตถุดิบ และอุตสาหกรรมปลายน้ำ เพื่อขึ้นรูปผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ ซึ่งอุตสาหกรรมทั้งหมดในห่วงโซ่มูลค่านี้จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอ้อย หรือมันสำปะหลังไม่ต่ำกว่า 5 เท่า ตลอดจนช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากขยะพลาสติกที่ตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมมากถึงปีละ 1 ล้านตัน โดยเบื้องต้นคาดว่าจะก่อให้เกิดวงเงินลงทุนทั้งโครงการรวมทั้งสิ้น 986 ล้านบาท และมีเป้าหมายให้เกิดการขยายผลการลงทุนในโรงงานผลิตพลาสติกชีวภาพเชิงพาณิชย์ที่มีกำลังการผลิตประมาณ 70,000 ตันต่อปี โดยมีมูลค่าการลงทุนอีก 10,000 ล้านบาทในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า

นายศุภชัย เปิดเผยเพิ่มเติม “การจัดตั้งโรงงานนำร่องฯ นี้ ถือเป็นการสร้างโอกาสให้แก่ประเทศไทย ในการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐ สถาบันวิจัยและพัฒนา ภาคการศึกษา และภาคเอกชนในธุรกิจพลาสติกชีวภาพ เพื่อเร่งการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีแบบมุ่งเป้าหมายด้านพลาสติกชีวภาพทั้งด้านเทคโนโลยีการผลิต การสังเคราะห์ การออกแบบและปรับปรุงคุณสมบัติ และการประยุกต์ใช้เม็ดพลาสติกชีวภาพในการขึ้นรูปเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดความต้องการใช้พลาสติกชีวภาพในประเทศ ผ่านโครงการนำร่องเพื่อเร่งสร้างตลาด รวมถึงศึกษาพฤติกรรมและการตอบรับของผู้บริโภค เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการออกแบบเม็ดพลาสติกชีวภาพให้มีคุณสมบัติการใช้งาน ให้ตรงกับความต้องการของตลาดและสามารถต่อยอดนำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ต่อไป และนำไปสู่การผลักดันให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพแห่งใหม่ของโลก”

View :3582

สวทช.​เปิดศูนย์นวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ และอิเล็กทรอนิกส์ อินทรีย์ (Thailand Organic @ Printed Electronics Innovation Center ) หรือ TOPIC

April 4th, 2012 No comments


ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดศูนย์นวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ และอิเล็กทรอนิกส์ อินทรีย์ (Thailand Organic @ Printed Electronics Innovation Center ) หรือ TOPIC เพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตนวัตกรรมใหม่ของอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์ได้ ( Organic & Printed Electronics) เน้นความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อพลิกโฉมอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทยให้ก้าวสู่นวัตกรรมแห่งโลกอนาคต นำร่องด้วยนวัตกรรมใหม่บนนิตยสารและบรรจุภัณฑ์ด้วยหมึกพิมพ์นำไฟฟ้าครั้งแรกในประเทศไทย หวังปลุกชีพอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งการโฆษณา สิ่งทอ บรรจุภัณฑ์ พาณิชย์ รวมถึงผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเด็ก ฯลฯ เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการขยายตลาดการค้าให้ภาคธุรกิจไทยเติบโตได้อย่างมีศักยภาพทั้งในและต่างประเทศ โดย ดร.ทวีศักดิ์ เปิดเผยว่า

“อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ถือเป็นอีกอุตสาหกรรมหลักในประเทศไทยที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและมีศักยภาพเป็นผู้นำด้านการพิมพ์ของอาเซียน แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันอุตสาหกรรมการพิมพ์กำลังประสบกับวัฏจักร “ขาลง” ซึ่งฉุดอุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้งระบบให้ตกต่ำอีกด้วย ดังนั้นประเทศไทยจึงต้องเร่งหาเทคโนโลยี ที่จะมาเปลี่ยนแปลงหรือสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านสิ่งพิมพ์อย่างเร่งด่วน สวทช.เองซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดเป้าหมายและมุ่งมั่นพัฒนางานวิจัยให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงพัฒนางานวิจัยที่สามารถรับมือกับสภาพปัญหาได้ทันเหตุการณ์ ทั้งในแง่การคิดค้นสิ่งใหม่ๆไปล่วงหน้า และการสนับสนุนภาคเอกชนในด้านการบริการวิจัยให้เอกชน การรับจ้างทดสอบ หรือแม้กระทั่งการร่วมลงทุนตั้งบริษัทกับเอกชน เพื่อนำนวัตกรรมใหม่ๆออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว และโดยอาศัยองค์ความรู้และงานวิจัยต่างๆที่ สวทช.ได้ริเริ่มดำเนินการไว้ และการทำงานที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานหลักๆ ในภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ สวทช.ได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาหมึกพิมพ์นำไฟฟ้า ที่สามารถพิมพ์ลงบนพื้นผิวต่างๆ ทำให้เราก้าวข้ามข้อจำกัดของอุตสาหกรรมการพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสรรวัสดุที่มีคุณสมบัติหลากหลาย ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ อาทิ Smart Packaging บรรจุภัณฑ์ที่สามารถแสดงข้อมูลหรือภาพเคลื่อนไหวบนหีบห่อ เพื่อแสดงวิธีการใช้งานผลิตภัณฑ์ บอกคุณภาพของสินค้ากระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค และสามารถส่งข้อมูลกลับมายังผู้ผลิตเพื่อการปรับปรุงคุณภาพสินค้าในอนาคต หรือ หมึกพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถนำมาใช้พิมพ์ RFID ไปพร้อมกับการพิมพ์ฉลากบรรจุภัณฑ์ ในราคาที่ถูกกว่า RFID แบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน , E-paper หรือกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ที่ม้วนได้ สามารถติดลงบนพื้นผิวโค้งงอเพื่อใช้ในงานโฆษณา หรือสิ่งพิมพ์อัจฉริยะ จอแสดงผลชนิด OLED ซึ่งนำไปเป็นส่วนประกอบในกล้องดิจิตอลหรือโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะให้ภาพที่คมชัดยิ่งขึ้น มีสีสันงดงาม ใช้พลังงานน้อยลง และต้นทุนการผลิตที่ต่ำ หรือเซลล์แสงอาทิตย์ที่เป็นฟิล์มบาง น้ำหนักเบาสามารถคลุมลงบนหลังคาหรือห่อหุ้มอาคารแทนการใช้ฟิลม์กรองแสงและสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในตัว ,อาคารประหยัดพลังงาน ที่นำเทคโนโลยีกระจกอัจฉริยะ ซึ่งสามารถควบคุมปริมาณแสงและความร้อนจากภายนอกที่จะส่องเข้าไปในตัวอาคารในระดับที่ต้องการ ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญของอุตสาหกรรมการก่อสร้างอาคารอนุรักษ์พลังงาน หรือแม้แต่นวัตกรรมทางการแพทย์เช่น เซ็นเซอร์ตรวจวัดน้ำตาลและไขมันในเลือด และเซ็นเซอร์เพื่อการตรวจสอบคุณภาพอาหาร เช่น สารตกค้างในอาหาร ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างเซ็นเซอร์ที่มีราคาถูก ใช้แล้วทิ้ง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบทำให้การบริโภคอาหารมีความปลอดภัย ตลอดจนเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ทั้งนี้ ศูนย์นวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ฯ จะเป็นศูนย์รวมเครือข่ายการทำงานระหว่างภาครัฐ และเอกชน โดยจะมีห้องปฏิบัติการ และบริการทางเทคนิค เพื่อบริการแก่ภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการให้คำปรึกษาในการใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ด้วยหมึกอิเล็กทรอนิกส์ หรือหมึกนำไฟฟ้า นอกจากนี้ ไทยยังเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ Organic Electronics Association หรือ O-EA ซึ่งเป็นสมาคมด้านอิเล็กทรอนิกส์และอินทรีย์ระดับโลกเพื่อเชื่อมโยงงานวิจัยระหว่างกลุ่มสมาชิกของ O-EA ที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งจะทำให้ไทยมีฐานข้อมูล และเครือข่ายการพัฒนางานวิจัยที่กว้างมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นการปฏิวัติวงการพิมพ์ของไทยให้ก้าวไปสู่โลกอนาคต ซึ่งผมมั่นใจว่าภาคธุรกิจที่เข้ามาร่วมกับ สวทช.จะได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมใหม่นี้ที่สามารถนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการได้หลากหลายให้สามารถแข่งขันได้ ตลอดจนเป็นทางเลือกใหม่ให้แก่ผู้บริโภคได้เข้าถึงนวัตกรรมใหม่ๆที่ใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตอีกด้วย” ดร.ทวีศักดิ์กล่าว

View :2608
Categories: Uncategorized Tags:

“สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน” จับมือ “วิชาการดอทคอม” จัดกิจกรรม “ค่ายลำแสงแห่งอนาคต…แสงซินโครตรอน”

April 4th, 2012 No comments

“ซินโครตรอน” รุกกลุ่ม นร.มัธยม หวังเสริมความรู้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอน จับมือวิชาการดอทค เปิด “ค่ายลำแสงแห่งอนาคต…แสงซินโครตรอน”รับสมัคร ตั้งแต่บัดนี้ – 20 เมษายน 2555

“สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน” จับมือ “วิชาการดอทคอม” จัดกิจกรรม “ค่ายลำแสงแห่งอนาคต…แสงซินโครตรอน” นำร่องเชิญชวนกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทย์ทั่วประเทศ จำนวน 20 คน เข้าสัมผัสเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนและการนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ณ ห้องปฏิบัติการแสงสยาม จ.นครราชสีมา

ดร.นวลวรรณ สงวนศักดิ์ รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า สถาบันฯ ร่วมกับ เว็บไซต์วิชาการดอทคอม จัดโครงการ “ค่ายลำแสงแห่งอนาคต…แสงซินโครตรอน” ขึ้นระหว่างวันที่ 3 – 4 พฤษภาคม 2555 ณ ห้องปฏิบัติการแสงสยาม จังหวัดนครราชสีมา โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์ จากทั่วประเทศที่มีความสนใจด้านฟิสิกส์ ได้เข้าสัมผัสเรียนรู้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอน เริ่มแต่กระบวนการผลิตโดยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน และการนำไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมถึงการทำกิจกรรมกลุ่มทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับนักวิจัยพี่เลี้ยง และทัศนศึกษาในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา กิจกรรมค่ายครั้งนี้ถือเป็นโครงการนำร่องครั้งแรกในกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ผ่านเว็บไซต์ที่เป็นแหล่งรวมทางด้านวิชาการเช่น วิชาการดอทคอม ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มเยาวชนในสังคมยุคสื่อสารออนไลน์เช่นปัจจุบัน

ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม “ค่ายลำแสงแห่งอนาคต… แสงซินโครตรอน” โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ คุณสมบัติต้องเป็นเยาวชนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทย์จากทั่วประเทศ จำนวน 20 คน พิจารณาจากการเขียนเรียงความหัวข้อ “เรียนฟิสิกส์ สนุกอย่างไร?” ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม และสมัครได้ที่ www.vcharkarn.com
!!! เปิดรับสมัครได้ตั้งแต่วันนี้– 20 เม.ย. 2555 !!!

View :2532

เวทีเสวนา “โซเชียลมีเดียทางเลือกใหม่? ของการรายงานข่าวในภาวะวิกฤต”

March 30th, 2012 No comments
  1. Share
  2. Share
  3. Share
    RT @lekasina: @motorcyrubjang บอกว่าเพื่อนๆ ไม่เข้าใจว่าจะพกอุปกรณ์อะไรนักหนา พี่เขาบอกเพื่อนว่า มันสำคัญนะ (แกไม่เข้าใจหรอก) #SM4JR
  4. Share
  5. Share
    RT @moui: หลังจากที่ @motorcyrubjang blog ไปแล้ว มี จนท. มาอ่านพบ แล้วตามไปแก้ปัญหาให้ ตอนนี้ปัญหาแก้ไปแล้ว #SM4JR
  6. Share
    พี่วินมอ’ไซค์ เดชชาติ เจ๋งสุดๆ ในช่วง”ใครๆก็เป็นนักข่าวได้” เยาวชนที่มีโชเชียลมีเดียควรค่าแก่การเลียนแบบอย่างยิ่ง #SM4JR #Thai PBS
  7. Share
    พี่วิน @motorcyrubjang เล่าถึงเรื่องเพื่อนที่หมู่บ้าน ที่ศรีสะเกษ โดนสวมบัตรประชาชนโดยคนต่างด้าว แล้วเอามา blog ไว้ที่ oknation #SM4JR
  8. Share
    RT @lekasina: @motorcyrubjang บอกว่า จะเป็นนักข่าว (พลเมือง) ได้ หัวใจต้องมาก่อน ต้องใจรัก #SM4JR
  9. Share
    @motorcyrubjang พกอุปกรณ์เทคโนโลยีไว้ในกระเป๋าสะพานติดตัวไว้ตลอดเวลาขับรถ พอไว้ต้องใช้ เข้าร้านเน็ต สามารถส่งภาพเอาขึ้นบล้อกได้ทันที #SM4JR
  10. Share
    คุณพี่วิน @motorcyrubjang เล่าถึงวิธีการ blog ของตัวเอง ใจรักจริงๆ #SM4JR
  11. Share
    คุณ @motorcyrubjang ใช้ประโยชน์จาก Social Media ในการรายงานการรับส่งเอกสาร และใช้ในการรายงานข่าว #sm4jr
  12. Share
    @motorcyrubjang บอกว่า จะเป็นนักข่าว (พลเมือง) ได้ หัวใจต้องมาก่อน ต้องใจรัก #SM4JR
  13. Share
  14. Share
  15. Share
  16. Share
    ตอนนี้คุณวิลาวัลย์ บุญจันทร์ กลุ่มอาสาฝ่าน้ำท่วม ให้ความเห็นว่า social media ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมได้อย่างไร #SM4JR
  17. Share
    ทุกคนสามารถเป็นนักข่าวได้ แต่นักข่าวจริงๆก็จะมีการตรวจสอบข่าวก่อนทวิต แต่สำหรับนักข่าวพลเมืองสามารถใช้เทคโนโลยีมาใช้ในการรายงานข่าว #sm4jr
  18. Share
    พี่วิน @motorcyrubjang เล่าเรื่องการหัดเรียนภาษาอังกฤษด้วยตนเอง #SM4JR
  19. Share
    คุณวิลาวัลย์ : แนะนำให้ follow นักข่าวหลากสำนัก เพื่อว่าจะได้เห็นวิธีรายงานข่าวแตกต่างกัน #SM4JR
  20. Share
    คุณวิลาวัลย์ : ในความรีบของการรายงานข่าวด่วน นักข่าวบางสำนักไม่มีการตรวจสอบ พบมาแล้วตอนมีการแจ้งอพยพน้ำท่วมที่อยุธยา #SM4JR
  21. Share
    “น้ำมาให้รีบบอก” เป็นทวิตที่เจ๋ง เรายังตามติดตลอดเลย #sm4jr
  22. พี่ @motorcyrubjang โด่งดังชั่วข้ามคืนบนโลกออนไลน์ สู่โลกออฟไลน์ จากเหตุกาณณ์ระเบิดที่สุขุมวิท ซึ่งความจริงและพี่เขาบอกว่า พี่เขาใช้ทวิตเตอร์มานานก่อนหน้านั้น เพียงแต่ไม่มีใครรู้จักมากนัก พอขับรถผ่านที่เกิดเหตุ ด้วยสัญชาตญาณนักข่าวพลเมืง ที่พกอุปกรณ์ไอทีไว้ในกระเป๋าสะพานติดตัวไว้ตลอดเวลา ถ่ายรูปแล้วทวิต เท่านั้นเอง สื่อกระแสหลักก็ทวิตต่อ ไม่เพียงสื่อกระแสหลักในประเทศเท่านั้น แต่ BBC ยังนำไปเผยแพร่ต่อ ทำให้พี่เขากลายเป็นที่รู้จักทันที 
  23. Share
    ในวิกฤต ไม่ได้หวังความเนี๊ยบ แต่หวังความเข้าใจในข้อเท็จจริง เพื่อสื่อฯถึงผู้ประสบภัยโดยเร็วที่สุด :วิลาวรรณ #sm4jr
  24. Share
    มีทางเลือกมากมายบนโลกอินเตอร์เน็ต นอกเหนือจากการเป็นนักข่าวทาง net จะเป็นคอลัมน์นิสต์ก็ยังได้ เช่นรีวิวอาหาร ข้อมูลท่องเที่ยว #sm4jr
  25. Share
    ในช่วงวิกฤตน้ำท่วม เราใช้การสื่อสารผ่านsocial media ขอระดมโทรศัพท์มือถือจากภาคประชาชน เพื่อใช้ในการประสานงานของ จนท.และอาสา #sm4jr
  26. Share
    คุณวิลาวัลย์ : อาสาสมัครนักศึกษาที่มาช่วยทำ infographic มีไอเดียดีมาก เก่งมาก แค่แนะประเด็นแล้วอาสาฯ ไปทำกันต่อเอง #SM4JR
  27. Share
  28. Share
    RT @JJ_Sathon: ในวิกฤต สติ เป็นสิ่งที่ช่วยเราให้รอด ควรมีวิจารณญาณ และศึกษาให้ดีว่าเราใช้เพื่ออะไร:;วิลาวรรณ #sm4jr
  29. Share
    RT @moui: คำถามถึง @motorcyrubjang ไม่ได้เงิน แล้วทำทำไม, พี่วินบอกว่า ทำเพราะอยากทำ อยากบอกเรื่องราวให้คนอื่นรู้ #SM4JR
  30. Share
    ความกดดันของนักข่าวชุมชนไม่มากเท่านักข่าวตัวจริง แต่ความรับผิดชอบต่อสังคมไม่แพ้กัน ความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญ #sm4jr
  31. Share
    ข้อจำกัดของผมคือ แบตเตอร์รี่! smart phone พอ low battery จะถ่ายรูปไม่ได้ เพราะฉะนั้น ควรเรตรียมพร้อมเสมอ via @motorcyrubjang #SM4JR
  32. Share
    ตามข่าวจากหลายๆสำนัก แต่อย่ามอบรักให้ใครหลายๆคน #SM4JR
  33. Share
    คนเราสามารถผิดพลาดได้ นักข่าวพลเมืองก็อาจผิดพลาดได้ เพราะไม่ใช่มืออาชีพด้านนี้ การขออภัยและแก้ไขถือเป็นเรื่องปกติ #sm4jr
  34. Share
    กรณีส่งข้อมูลพลาด คุณวิลาวัลย์ บอกว่าให้ขอโทษแล้วก็แก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องไป #SM4JR
  35. Share
    ถ้ารายงานไปแล้ว (ทวิต) จะทำอย่างไร พี่วิน @motorcyrubjang บอกว่า เมื่อรู้ก็ต้องขอโทษแล้วรีบทวิตแก้ไขให้ถูกต้อง #SM4JR
  36. Share
    RT @MynameTai: ชมสดงานเสวนาจากหลายเว็บเลยค่ะ thaipbs.or.th/sm4jr , itpc.co.th , bu.co.th ตามประเด็นเสวนาที่ #sm4jr
  37. Share
    @motorcyrubjang “ข่าวมีอยู่ในทุกที่ ไม่จำเป็นต้องเป็นกระแสใหญ่โต เพียงแต่เราจะเห็นหรือเปล่า … แค่เรื่องเล็กๆ ก็มีผลต่อคนอื่นๆ ได้” #sm4jr
  38. Share
    คุณวิลาวัลย์ : คนเรามีความสนใจแตกต่างกัน บางเรื่องไม่ที่รายงานไป อาจไปตรงใจคนบางกลุ่มได้ #SM4JR
  39. Share
    พี่เดชชาติ ถ่ายภาพฝาท่อน้ำ ซอยปรีดี ๑๔ ชำรุด อัพขึ้นทวิต วันรุ่งขึ้นฝาใหม่มาทันที #sm4jr
  40. Share
    ทุกที่มีข่าวอยู่ ไม่จำเป็นต้องเป็นข่าวที่อยู่ในกระแสเท่านั้น – พิธีกรดำเนินรายการ #SM4JR
  41. Share
    พี่วิน @motorcyrubjang คอยแจ้งเหตุ สิ่งกีดขวางบนถนน ถนนชำรุดต่างๆ แจ้งในนามพลเมืองและมีการแจ้งทางการและมีสขมาช่วย #sm4jr
  42. Share
    ลำพังแค่ฟ้าครึ้มฝนตก รถติดหนัก การรายงานให้คนอื่นได้ทราบ ก็อาจมีผลต่อคนที่ต้องออกเดินทางได้เยอะเหมือนกัน #sm4jr
  43. Share
    การใช้ social madia จะต้องรับผิดชอบ และมีกาลเทศะ #sm4jr
  44. Share
    RT @moui: คุณวิลาวัลย์ : ปัญหาการเมือง สร้างปัญหากับสังคมไทยมาก แม้กระทั่งในงานอาสาตอนน้ำท่วม ก็ได้รับคำถามก่อนว่า เป็นสีอะไร #SM4JR
  45. Share
    RT @Mirror_org: เหนือสิ่งอื่นใด คือน้ำใจของภาคประชาชน ที่ร่วม ตอบสนอง140ตัวอักษร ที่มูลนิธิกระจกเงา ได้สื่อออกไปในช่วงวิกฤตน้ำท่วม #sm4jr
  46. Share
    RT @ThaiPBS: พี่ @motorcyrubjang ไม่ค่อยทวีตการเมือง เพราะเกรงจะไปสร้างีวามแตกแยกเพิ่ม #sm4jr
  47. Share
    RT @aum2u: แนะนำอย่าใช้ location based อย่าง foursquare มาเช็คอินบ้านตัวเอง ใช้เน็ตต้องระวังความเป็นส่วนตัวด้วย #sm4jr
  48. Share
    RT @ThaiPBS: ก่อนแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะของตนเอง หรือเห็นด้วยกับความคิดเห็นคนอื่น หยุดคิดสักนิดก่อน เพราะมันจะเป็นสิ่งที่ติดตัวเราไป #sm4jr
  49. Share
    RT @ThaiPBS: ไม่ได้ห้ามแสดงความคิดเห็น แต่เมื่อแสดงความคิดเห็นแล้วต้องพร้อมรับผิดชอบ #sm4jr
  50. Share
    นักข่าวที่ใช้ทวิตเตอร์ส่วนใหญ่ โดนผู้บริหารบังคับใช้ twitter แต่มอเตอร์ไซด์รับจ้างท่านนี้ เกิดจากอยากลองtwitter จริงๆ #sm4jr :)
  51. Share
    RT @JJ_Sathon: คนสังคมเมืองน่าจะมีวิจารณญาณ แยกแยกข่าวสารมากกว่า แต่ไม่ใช่ กลายเป็นคนเมืองที่ไม่สามารถแยกแยะ เชื่อไปหมด : วิลาวรรณ #sm4jr
  52. Share
    คุณวิลาวัลย์ : การรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่าน internet น้องๆ เยาวชน ก็ต้องรับรู้อย่างมีสติ และต้องรับผิดชอบต่อความเห็นที่แสดงออกไป #SM4JR
  53. Share
    คุณวิลาวัลย์ : เมื่อก่อนคนต่างจังหวัดจะเชื่อในทีวี เพื่อคิดว่าทีวีได้รับการกลั่นกรองมาหมดแล้ว แต่จริงๆ มันไม่ใช่เสมอไป #SM4JR
  54. Share
    รวมภาพบรรยากาศ งานเสวนา”Social Media ทางเลือกใหม่? ของการรายงานข่าวในภาวะวิกฤตค่ะ on.fb.me/HiQoVQ #sm4jr
  55. Share
    บล็อกของพี่เด่นชาติ @motorcyrubjang ที่ OK Nation oknation.net/blog/motorcyr… #sm4jr
  56. Share
    เรื่องบางเรื่อง ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยบน Social Media ก็ได้ โปรแกรมอย่าง Foursquare ก็ต้องระวังเรื่องการเช็คอินที่บ้าน เพราะโชว์พิกัด #sm4jr
  57. Share
    ไม่ได้ห้ามแสดงความคิดเห็น แต่เมื่อแสดงความคิดเห็นแล้วต้องพร้อมรับผิดชอบ #sm4jr
  58. Share
    RT @ThaiPBS: ก่อนแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะของตนเอง หรือเห็นด้วยกับความคิดเห็นคนอื่น หยุดคิดสักนิดก่อน เพราะมันจะเป็นสิ่งที่ติดตัวเราไป #sm4jr
  59. Share
    RT @ThaiPBS: ลำพังแค่ฟ้าครึ้มฝนตก รถติดหนัก การรายงานให้คนอื่นได้ทราบ ก็อาจมีผลต่อคนที่ต้องออกเดินทางได้เยอะเหมือนกัน #sm4jr
  60. Share
    @MilanShevaLive จับใจความว่า น่าจะหมายถึงกรณีผิดแล้วต้องขอโทษแก้ไข และรวมไปถึงกรณีที่มีประเดผ้นทางกฎหมาย (เช่น หมิ่นประมาท) ครับ #sm4jr
  61. Share
    RT @ThaiPBS: คุณทราย: “นักข่าวพลเมืองดูอย่างไรว่าประเด็นที่จะนำเสนอนั้นจะเป็นที่สนใจหรือเปผ้นประโยชน์ต่อคนทั่วไปไหม?” #sm4jr
  62. Share
    RT @moui: เด็กนักเรียนทั้งหลายจงฟัง คนที่มีความพยายาม ก็จะไปถึงความสำเร็จได้ #เรียนด้วยตนเอง #SM4JR
  63. Share
    RT @ThaiPBS: คนเราสามารถผิดพลาดได้ นักข่าวพลเมืองก็อาจผิดพลาดได้ เพราะไม่ใช่มืออาชีพด้านนี้ การขออภัยและแก้ไขถือเป็นเรื่องปกติ #sm4jr
  64. Share
    รวมภาพบรรยากาศ งานเสวนา”Social Media ทางเลือกใหม่? ของการรายงานข่าวในภาวะวิกฤตค่ะ on.fb.me/HiQoVQ #sm4jr
  65. Share
    พี่วินสรุปว่า ใครๆ ก็เป็นนักข่าวพลเมืองอาสาได้ ไม่ว่าจะมาจากภาคไหน เมืองไหน ลองหัดทวิต หัดแชร์ ให้คนทั่วโลกได้รู้เกี่ยวกับบ้านเรา #SM4JR
  66. Share
  67. เสวนาช่วงนี้จบลงแล้วนะคะ ^__^
View :2357
Categories: Uncategorized Tags: