Home > Social Media > “Social Web/Viral Marketing” อาวุธธุรกิจในยุค Social Network (2)

“Social Web/Viral Marketing” อาวุธธุรกิจในยุค Social Network (2)

อาจกล่าวได้ว่า และ คือ กำลังเป็นสื่อใหม่ที่ถูกจับตาและถูกพูดถึงมากที่สุดในหมู่นักการตลาด ผู้ประกอบการขนาดใหญ่เริ่มให้ความสำคัญและก้าวเข้ามาศึกษาและใช้ประโยชน์จากสื่อใหม่สองตัวนี้อย่างจริงจังแล้วหลายราย ซึ่งผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กเองก็ไม่ควรมองข้ามสื่อใหม่อย่าง และ Twitter นี้ซึ่งกำลังมีบทบาทและทรงพลังในแง่ของการสื่อสารการตลาดอย่างยิ่ง

ทั้งนี้ความสำคัญของ Facebook และ Twitter ในฐานะที่เป็น 2 สื่อทรงพลังของการสื่อสารการตลาดบนสังคมออนไลน์ หรือที่เรียกว่าเป็น Social Media Marketing ซึ่งเป็นเทรนที่กำลังมาแรงที่เหล่ากูรูทางเทคโนโลยีและกูรูทางการตลาดจัดสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ มุมมอง และประสบการณ์ตรงกันอย่างคึกคัก ย่อมต้องมีความสำคัญกับผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กหรือเอสเอ็มอีเช่นกัน

นอกจากนี้ Facebook และ Twitter ยังคงเหมาะกับธุรกิจขนาดกลางและเล็กที่มีเม็ดเงินในการทำการตลาดไม่มาก เพราะว่า Facebook สามารถช่วยให้ธุรกิจขนาดกลางและเล็กส่ง Message ทางการตลาดได้ถึงและตรงกลุ่มเป้าหมายด้วยงบประมาณอันน้อยนิดได้ เนื่องจากใน Facebook นั้นมี Demographic ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเตรียมไว้ให้แล้ว

แต่ก่อนอื่นเลยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องเร่งทำความเข้าใจในสื่อใหม่อย่าง Facebook และ Twitter เสียก่อนว่าเจ้าสองตัวนี้คืออะไรและจะเป็นเครื่องมือทางกาตลาดที่มีพลานุภาพได้อย่างไร และรีบเข้ามาลองใช้สื่อทั้งสองตัวนี้ในช่วงที่มันกำลังได้รับความนิยมสูงสุดอยู่ ณ ตอนนี้

แม้ว่า Facebook และ Twitter เป็น Social Media เหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกันในคุณสมบัติและความเหมาะสมในการใช้เพื่อสื่อสารการตลาด โดย Facebook และ Twitter จะเป็นเหมือน “รัก-ยม” ถ้าจะใช้ Social Network Marketing ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต้องรู้จักใช้ Facebook และ Twitter ให้เป็น ให้สมดุล และเกื้อกูลกันเอง

Facebook เปรียบเหมือนทัพหลวง ในขณะที่ Twitter เหมือนทัพหน้า ทั้งนี้เพราะใน Facebook นั้นมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ค่อนข้างมากและครบ ในขณะที่ Twitter นั้นเน้นการสื่อสารแบบทันทีทันใด (Real Time Marketing) ที่เน้นการสื่อสารผ่านตัวอักษรเป็นหลัก (แม้ว่าจะสามารถใส่รูปได้ก็ตามทีแต่เน้นการสื่อสารข้อความต่อข้อความ หากใส่รูปก็ทีละรูป)

Facebook ทัพหลวงทางการตลาดอนไลน์:

กล่าวคือที่ Facebook นั้น ผู้ประกอบการสามารถเข้ามาเปิดแอคเคาน์ใช้งานได้ที่ www.facebook.com โดยชื่อผู้ใช้งานนั้นควรเป็นชื่อของแบรนด์ (บริษัทหรือสินค้า) เพื่อสร้างการตอกย้ำในตราสินค้า (www.facebook.com/xxxxx) ส่วนภาพ Profile (Profile Photo) ซึ่งจะเป็นภาพหรือแบรนด์ของบริษัทหรือสินค้าบน Facebook ก็ควรเป็นโลโก้ของบริษัทหรือสินค้านั้นๆ ซึ่งในFacebook มีฟังก์ชั่นหลักๆ มากมายหลากหลายที่เอื้อต่อการใช้งานเชิงธุรกิจ โดยตัวแอคเคาน์ของ Facebook เอง ผู้ประกอบการสามารถใส่ข้อมูลตั้งแต่ข้อมูลเบื้องต้นของบริษัทแบบคร่าวๆ ไว้ในหน้า ‘Info’ ส่วนข้อมูลปัจจุบันที่เคลื่อนไหวทุกวัน หรือข้อมูลที่อยากจะสื่อสารกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายทุกวันอาทิ ข้อมูลสินค้าใหม่ หรือข้อมูลโปรโมชั่น ก็ใส่ไว้ในหน้า “Wall’

นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังสามารถอัพเดทกิจกรรมต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตในฟังก์ชั่น ‘Event’ และส่งเทียบเชิญออนไลน์ไปให้กลุ่มเป้าหมายได้ผ่านฟังก์ชั่น ‘Invite’ ซึ่งตัวฟังก์ชั่นนี้จะช่วยให้ผู้เชิญพอที่จะคาดการณ์ผลตอบรับได้ เพราะตัวฟังก์ชันนี้จะมีฟีเจอร์ให้ผู้ที่ถูกเชิญตอบกลับง่ายๆ ว่า ตกลง (‘Confirm’) อาจจะ (‘Maybe’)  หรือไม่ไป (‘No’) ซึ่งอย่างน้อยจะช่วยให้ผู้เชิญนั้นพอจะรู้ Feedback

สำหรับกิจกรรมที่ผ่านมาแล้วผู้ประกอบการสามารถนำมาโพสต์ในหน้า Wall ได้โดยสามารถสร้างเป็นอัลบั้มภาพหรือทำเป็นวีดีโอคลิปที่ความยาวไม่เกิน 20 นาที หรือทำลิงค์ไปยังเว็บไซต์หลักของบริษัทก็ได้ ซึ่งข้อดีของการใส่รูปนั้น หากผู้ประกอบการใส่รูปกิจกรรมที่รูปของลูกค้าอยู่ในนั้นก็จะก่อให้เกิดการ “Tag’ คือ การเข้ามาใส่ชื่อของคนในภาพซึ่งอาจทำโดยใครสักคนที่รู้จักคนในภาพนั้น และตัวระบบจะทำการส่งอัพเดทให้กับกลุ่มเพื่อนของคนที่ถูก ‘Tag’ เองโดยอัตโนมัติ โดยที่คนที่ถูก ‘Tag’ ไม่ได้เป็นคนทำการ ‘Tag’ และไม่ได้เป็นทั้งคนส่งอัพเดทให้กับกลุ่มเพื่อนในเครือข่าย ภาพนั้นหรือข้อความที่ติดไปกับภาพนั้นมันจะถูกกระจายแบบไวรัสได้อย่างง่ายดายและทันที…และนี่คือตัวอย่างหนึ่งของอานุภาพของ Social Media อย่าง Facebook

นอกจากแอคเคาน์หลักแล้วผู้ประกอบการยังสามารถเปิดเป็น Fan Page ได้ซึ่งความแตกต่างของ Fan Page กับแอคเคาน์หลักก็คือ ถ้าเปิดใช้งานในแอคเคาน์หลักนั้นการที่จะเพิ่ม “เพื่อน” (หรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย) ในเข้ามาในเครือข่ายสังคมของเรา เราจะต้องออกไป “เชิญ” (ส่ง ‘Request’) และรอการตอบรับว่าอยากจะเป็นเพื่อนกลับมา ในทางกลับกัน หากคนบน  Facebook อยากจะเป็นเพื่อนกับ “เรา” เขาจะต้องทำอย่างเดียวกัน แต่ในขณะที่ Face Page นั้น เป็นฟังก์ชั่นที่ให้เราสามารถสร้างหน้าคล้ายๆ หน้าแอคเคาน์หลักของ Facebook ซึ่งหากเราต้องการเพิ่มสมาชิกเราก็สามารถส่งเทียบเชิญ (Become a fan of xxxx) ไปยังกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ Facebook ได้โดยรอเขาตอบรับกลับมา ในขณะที่หากคนบน Facebook เขาอยากจะมาเป็นสมาชิกของ Fan Page เราเขาก็สามารถเป็นได้ทันทีโดยไม่ต้องรอการตอบรับจากเรา ซึ่งตรงจุดนี้จะต่างจากการเปิดเป็นแอคเคาน์หลัก ซึ่งทำให้การดึงคนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการทางตลาดของเราบนโลก Facebook นั้นสะดวกและง่ายกว่า

นอกจากนี้ในฟังก์ชั่นของ Fan Page ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานเชิงธุรกิจโดยเฉพาะ (เพราะตอนสมัครครั้งแรกนั้น Facebook จะถามว่าคุณคือคนที่ได้รับอนุญาตจากองค์กรของคุณเพื่อมาเปิดและเป็นเจ้าของ Fan Page ขององค์กรคุณหรือไม่) อาทิ สถิติการเข้าชมหน้า Fan Page ของคุณ ซึ่งจะนำเสนอเป็นเชิงตัวเลขและกราฟ เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความเคลื่อนไหวของ Fan Page ของคุณ โดยจะบอกจำนวนสมาชิกล่าสุด จำนวนผู้เข้าชมที่ไม่ซ้ำรายกัน (Unique Visitor) รวมถึงจำนวนหน้าที่ถูกเข้าไปเยี่ยมชม (Page View) ซึ่งฟังก์ชั่นที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นบริการฟรี แต่หากผู้ประกอบการจะต้องการเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานมากกว่านี้ อาทิ หากต้องการเพิ่มสมาชิกจำนวนมากๆ ก็อาจจะใช้บริการ Advertising ของ Facebook ซึ่งFacebook จะช่วยทำหน้าที่โฆษณาหน้า Fan Page ที่ซื้อ Ad ไปยังกลุ่มลูกคนกว่า 400 ล้านคนทั่วโลก (และมากกว่า 1 ล้านคนในประเทศไทยที่เป็นสมาชิกของ Facebook) ให้ โดยจะคิดค่าบริการโฆษณาใน 2 รูปแบบหลัก ๆ คือ คิดเหมา กับคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อรายสมาชิก


Twitter ทัพหน้าของการตลาดแบบไวรัส:

สำหรับ Twitter นั้น เป็นการสื่อสารข้อความสั้น หรือ Short Message ที่ถูกจำกัดอยู่ที่ 140 ตัวอักษรและเน้นกาสื่อสารแบบทันทีทันใด (Real Time Communication) นั้นเป็นอีกสื่อหนึ่งที่ถูกนักการตลาดหยิบมาใช้ควบคู่กับ Facebook เพื่อทำให้การสื่อสารการตลาดนั้นสัมฤทธิ์ผลมากขึ้น โดยคุณสมบัติของ Twitter และกลุ่มคนใน Twitter จะแตกต่างจากกลุ่มคนใน Facebook บ้าง เริ่มต้นจากการเข้าเป็นสมาชิกของ Twitter นั้นง่ายกว่าเพราะคนในสังคม Twitter สามารถเข้ามาติดตาม (มาเป็น Follower) ของคุณเมื่อไรก็ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตคุณก่อนและเขาสามารถ “เลิก” ตาม (Unfollow) เมื่อใดก็ได้เช่นกัน

การเปิดแอคเคาน์บน Twitter นั้นง่ายดายพอๆ กับ Facebook คือเข้าไปสมัครใช้งานได้ที่ Twitter.com (twitter.com/xxxx) โดยชื่อที่ได้มาจะเป็น @xxxx จากนั้นก็ใส่ข้อมูลเบื้องต้นในส่วนของ Bio จากนั้นก็เริ่มต้น “สื่อสาร” ข้อมูลทางการตลาดที่ต้องการ หรือในภาษา Twitter เรียกว่า “Tweet”

โดยข้อความทางการตลาดที่จะสื่อสารใน Twitter นั้นจะต้อง “เนียน” มาร์เก็ตติ้งมากกว่าใน Facebook เพราะในสังคมของ Twitter นั้น คนจะไม่นิยมและไม่ยินดีรับข้อมูล Hard Sale เพราะธรรมชาติของคนที่เล่น Twitter นั้นจะใช้ Twitter เพื่อสื่อสารเป็นหลักทั้งและในสังคมของ Twitter จะมีความเป็นเพื่อนพ้องกันสูง และข้อความที่จะสื่อสารนั้นจะต้องเป็นมีความเป็นเพื่อนและเป็นข้อความเป็นที่ประโยชน์หรือเป็นที่สนใจเท่านั้น หากเป็นข้อความทางการตลาดตรงๆ แข็งๆ อาทิ โปรโมชั่นสินค้า มักจะไม่ได้รับการต้อนรับจากสังคมตรงนี้เท่าที่ควร และส่วนใหญ่มักจะถูกต่อต้านด้วยซ้ำไป

นอกจากนี้ การสื่อสารกับกลุ่มคนบน Twitter ยังสามารถจัดหมวดหมู่ของ “ข้อความ” ได้โดยการใส่ Hastag # เพื่อให้ง่ายต่อการติดตามและประเมินผลของการสื่อสารเรื่องนั้นๆ ว่าได้รับความสนใจและถูกพูดถึงมากน้อยเพียงใด ซึ่งผู้ประกอบการสามารถปรับใช้มาเป็นโค้ดหรือรหัสในการรับโปรโมชั่นได้ อาทิ ลูกค้ารายใดนำโค้ดที่เราให้ไป ณ ช่วงเวลานั้นมาแสดงจะได้รับส่วนลดหรือของกำนัลจากทางบริษัทเมื่อมาใช้บริการ หรืเมื่อมาซื้อสินค้า เป็นต้น ซึ่งล่าสุด Twitter เองเริ่มมีฟังก์ชั่นให้จัดกลุ่มของ Follower ที่อยู่ในสังคมของเราได้ตามเงื่อนไขที่เราเองสามารถกำหนดเองได้ เพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสาร Message ไปยังกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจตรงกัน

ทั้งนี้รูปแบบการสื่อสารบนโลกของ Social Media อย่าง Twitter นั้นจะต้องอิงอยู่บนรูปแบบของความสัมพันธ์ฉันท์ “เพื่อน” มากกว่าในฐานะ “ผู้ขายกับผู้ซื้อ” และข้อมูลที่จะได้รับการต้อนรับจากสังคมตรงนี้จะต้องเป็นข้อมูลที่ทำให้เขาสามารถมีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งได้ ดังนั้นการสื่อสารกับคนใน Twitter จะต้งทำผ่านบทสนทนาที่เป็นกันเอง โดยข้อความที่สื่อสารนั้นโดยมากจะเป็นการพูดคุยฉันท์เพื่อน แต่ก็แฝงด้วยข้อความทางการตลาดบ้างเล็กน้อยแบบเนียนๆ และแทรกการตลาดแบบตรงๆ ได้ในบ้างในบางจังหวะ ประหนึ่งว่า “เพื่อนเอาโปรโมชั่น เอาอะไรดีดีมาบอกเพื่อน” แบบนี้ถึงจะประสบความสำเร็จ

ดังนั้น องค์กรธุรกิจที่ต้องการปักธงใน Twitter จะต้องใช้เวลาและจะต้องมีลงทุนเรื่องคนเพื่อให้มาดูแลรับผิดชอบกับช่องทางการสื่อสารนี้โดยเฉพาะ เพราะว่าแอคเคาน์ที่เปิดในนามองค์กรธุรกิจนั้นเป็นเสมือนตัวตนจริงบนสังคมออนไลน์นั้น ซึ่งหากจะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั้น “แอคเคาน์” นั้นจะต้องมีความถี่ในการปฏิสัมพันธ์กับคนในสังคมนั้นอย่างสม่ำเสมอ เพราะความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนนั้นมิได้สร้างขึ้นได้ชั่วข้ามคืน

ซึ่งข้อดีมากประการสำคัญของ Social Network Marketing คือใช้เงินน้อยแต่ใช้สมองมากเพราะฉะนั้น ข้อจำกัดเรื่องเงินทุนในการตลาดของผู้ประกอบการเอสเอ็มดีจะหมดไป อย่างไรก็ดี การตลาดจะต้องเป็นการตลาดแบบผสมผสานกนระหว่างสื่อเก่ากับสื่อใหม่ (Integrated Marketing) สำหรับศาสตร์และศิลป์ในการผสมสัดส่วนของการตลาดโดยใช้ทั้งสื่อเก่าและใหม่นั้นเป็นเรื่องของการประลองฝีมือกันระหว่างนักการตลาด ที่ต้องเข้ามาเรียนรู้และเข้าใจถึงอานุภาพและประโยชน์ที่เขาจะได้รับ หากรู้จักใช้ Social Network Marketing ให้เป็นนั่นเอง …..

View :2847
  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.