Archive

Posts Tagged ‘ชมัยภร แสงกระจ่าง’

ขอแบ่งปันข้อมูลจากการเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” ค่ะ (2)

October 9th, 2010 No comments

กลวิธีการเขียน “เรื่องสั้น” รูปแบบต่างๆ  โดย ชมัยภร แสงกระจ่าง นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย

ภาคบ่ายพบกับ “ไพลิน รุ้งรัตน์” หรือ พี่ชมัยภร แสงกระจ่าง นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย

“เราเขียนหนังสือ เราต้องมีความสุข ถ้าเขียนแล้วไม่มีความสุขอย่าทำเลย” ไพลิน รุ้งรัตน์

“ถ้าอยากเป็นนักเขียน ต้องอ่านให้มากกว่าเดิม อ่านจนเนื้อหาสาระี้ และกลวิธีต่างๆ ของงานเขียนเข้ามาอยู่ในสมองเรา” ไพลิน รุ้งรัตน์

ชมัยภร แสงกระจ่าง หรือ ไพลิน รุ้งรัตน์ เกิดเมื่อปี ๒๔๙๓ ที่จังหวัดจันทบุรี

“เราไม่ได้อ่านแค่หนังสือ แต่เราอ่านชีวิต” ไพลิน รุ้งรัตน์

“การอ่านเป็นการจดจำข้อมูลชีวิต” ไพลิน รุ้งรัตน์

“การ ไปทำข่าว การฟังเขาแถลงข่าว การดูทีวี = การอ่าน… การอ่านชีวิตและตีความอย่างไร ขึ้นกับภูมิหลังของเราึ้ (ฐานข้อมูล)” ไพลิน รุ้งรัตน์

“ทุกคนมีฐานข้อมูลทุกคน อย่ามาบอกว่า โอ๊ยไม่รู้จะเอาอะไรมาเขียน ไม่เคยอกหัก” ไพลิน รุ้งรัตน์

“แค่ ความอยากเป็นนักเขียนไม่พอที่จะทำให้เป็นนักเขียน แต่มันต้องมีความอยากเล่าเรื่อง เรื่องที่อยากเล่ามันมีอะไรบ้างอย่างทำให้ี่เราอยากจะเล่า”

“ความ สะเืทืิอนใจ” เป็นตัวจุดให้เกิดการเขียน เมื่อผสมกับ “จินตนาการ” จะทำให้ “ข้อมูลชีวิต” เป็น “สาระ” ใหม่(ที่ไม่ใช่ข่าว): ไพลิน รุ่งรัตน์

กระบวน การเขียน “ความสะเทือนใจ” ก่อให้เกิดความอยากจะเขียน จากนั้นต้องใช้ “จินตนาการ” –> “ฐานข้อมูล” –> “การลงมือเขียน” : ไพลิน รุ้งรัตน์

ไพลิน รุ้งรัตน์กำลังยกตัวอย่างเรื่อง”ลมหายใจที่ปลายจมูก”อ่านแล้วแยกไม่ออกเลย ว่าเรื่องจริงหรือเรื่องแต่งพอพบนักเขียนจึงถามพบว่าเป็นเรื่องจริง

เป็นเรื่องที่เขียนขึ้นจากความสะเทือนใจอย่างแรง คนเขียนไม่ได้ใช้ฝีมือในการเขียนมาก เพีงแค่ใช้ภาษาเล่าเรื่องธรรมดา

“ถ้า คุณจบเรื่องของคุณไม่ได้ แปลว่าคุณคิดไม่ชัด” ไพลิน รุ้งรัตน์ >>>  เอ..อันนี้เหมือนการเขียนข่าวเลย ถ้าจบไม่ลงแปลว่าประเด็นไม่ชัด

“หากในชีวิตคุณไม่เคยสนใจคนอื่นเลย ก็อยากจะเป็นนักเขียน” ไพลิน รุ้งรัตน์

“เราจะต้องเลือกข้อมูลชีวิตที่เรามี มาใช้ให้เหมาะกับประเภทของงาน งานมันมี สารคดี เรื่องสั้น กวีนิพนธ์ เป็นต้น” ไพลิน รุ้งรัตน์

ไพลิน รุ้งรัตน์ นำเสนอวีดีโอ พร้อมชี้แนะว่า ด้วยข้อมูลนี้ สามารถเอามาทำเป็น สารคดี หรือ เรื่องสั้นก็ได้

“ต้อง เลือกข้อมูลชีิวิต มาเล่ามาเขียน…ถ้าเรื่องคุณดี ต่อให้คุณเขียนไม่ได้ ก็มาเกลาได้ แต่ถ้าคุณภาษาดี แต่เรื่องไม่ดีแก้ยาก” ไพลิน รุ่งรัตน์

ก่อนอื่นเลย ต้องคิด “แก่นเรื่อง” และต้องวางให้ชัดเจนก่อนเลย จากนั้นมาวาง “โครงเรื่อง” และ “ตัวละคร” : ไพลิน รุ้งรัตน์

“เรื่องสั้น จะมีตัวละครน้อย 1-5 ตัว อย่าใช้ตัวละครเยอะ ไม่งั้นจะตามเก็บตัวละครได้ไม่หมด” ไพลิน รุ้งรัตน์

“ตัวละคร คือ ผู้มีบทบาทในเรื่อง ไม่ใช่หมายถึง คน เท่านั้น” ไพลิน รุ้งรัตน์

กระบวน การเขียนเรื่องสั้น –> คิด “แก่นเรื่อง” –> วาง “ตัวละคร” –> วางโครงเรื่อง” (ว่าจะเดินเรื่องยังไง ขัดแย้งกี่ครั้ง): ไพลิน รุ้งรัตน์

กระบวน การเขียนเรื่องสั้น –> คิดแก่นเรื่อง –> วางตัวละคร–> วางโครงเรื่อง(ว่าจะเดินเรื่องยังไงขัดแย้งกี่ครั้ง)–>ลงมือเขียน:ไพลิน รุ้งรัตน์

“เรื่องที่จะเขียนมันต้องมี “ความขัดแย้ง” ไม่งั้นไม่สามารถดินเรื่องต่อได้ ไม่สามารถพัฒนาความขัดแย้งได้” : ไพลิน รุ้งรัตน์

“ความ กระชับ” กับ “วรรณศิลป์” เป็นสิ่งเดียวกัน นักเขียนเรื่องสั้น ต้องเกาะแก่งเรื่องให้แน่น อย่าหลุด อย่าเสียดายข้อมูล: ไพลิน รุ้งรัตน์

การเขียนเรื่องสั้น นอกจาก “แก่นเรื่อง”,”ตัวละคร”,”โครงเรื่อง” แล้ว สิ่งที่อย่าลืม คือ “บทสนมนา” กับ “ฉาก”: ไพลิน รุ้งรัตน์

“การตั้งชื่อเรื่อง” เป็นตัวช่วยหนึ่งในการช่วยให้เราไม่หลงประเด็นที่จะเขียน :ไพลิน รุ้งรัตน์

“การเปิดเรื่อง” กับ “การปิดเรื่อง” เป็นอีกสองสิ่งที่สำคัญในการเขียน :ไพลิน รุ้งรัตน์

การเปิดเรื่อง อย่าเปิดเรื่องแรง ถ้าเิปิดทีเดียวจบ คนอ่านจะไม่ตามอ่านอีก: ไพลิน รุ้งรัตน์

แต่มีบางกรณีที่เปิดเรื่องด้วยตอนจบแต่คนอ่านยังอยากตามอ่านอยู่: ไพลิน รุ้งรัตน์

หัวใจสำคัญของการเขียนเรื่องสั้น คือ จะต้องมีโครงสร้าง(ของเรื่อง) เดียว : ไพลิน รุ้งรัตน์

นวนิยายขนาดสั้น จะีโครงเรื่องย่อย: ไพลิน รุ้งรัตน์

เรื่อง สั้นขนาดยาวกับนวนิยายขนาดสั้น ที่จำนวน30 หน้าเท่ากัน ค.ต่างคือ ชุดของโครงเรื่อง เรื่องสั้นมีโครงเรื่องชุดเดียวเท่านั้น:ไพลิน รุ้งรัตน์

พลังของเรื่องสั้น กับนวนิยาย มันต่างกัน: ไพลิน รุ้งรัตน์

พลัง ของเรื่องสั้น (ที่ดี) จะทำให้คนอ่านจำเรื่องนั้นไปตลอด อ่านจบแล้วเหมือนลูกศรปักกลางอก…แต่นวนิยายมันจะค่อยๆ ซึมเข้ามา: ไพลิน รุ้งรัตน์

การ อ่านเรื่องสั้น อ่านแล้วทิ้งช่วงมาอ่านต่อมันไม่ได้ มันต้องอ่านให้จบเรื่องรวดเดียว:ไพลิน รุ้งรัตน์>ใครเคยอ่านเรื่องสั้นไม่รวดเดียวจบบ้างคะ?

เรื่อง สั้นที่ดีเรื่องต้อง”กระทบใจ”,”สะเทือนใจ”ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเรื่อง เศร้าเสมอไปเรื่องสิ้นที่ดีแบบมีค.สุขก็มีแต่เรื่องเศร้ามันจะแรงกว่า

จบค่ะ

View :2669