Archive

Posts Tagged ‘​เลือกตั้ง’

นักการเมือง/การตลาดดิจิทัล เชื่อ social media มีอิทธิพลสูงมากต่อการเลือกตั้งในครั้งนี้

January 15th, 2019 No comments

นักการเมือง/การตลาดดิจิทัล เชื่อ social media มีอิทธิพลสูงมากต่อการเลือกตั้งในครั้งนี้ อาจมีการใช้กลยุทธ์​ fake news แบบเนียนๆ มีการทำ personalized แคมเปญเจาะกลุ่มเฉพาะเจาะลง 

ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กว่าวว่า พรรคการเมืองใช้ social media ในการหาเสียงเลือกตั้งมากกว่าครั้งก่อนๆ เพราะว่าอิทธิพลของ social media เข้ามาทดแทนสื่อกระแสหลัก คนเสพรับและกระจายข้อมูลข่าวสารมากกว่า สื่อ social media มีอิทธิพลมากขึ้น แต่ละพรรคมีการจ้างคนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารจัดกาสรขจ้อมูลเนื้อหาบน social media แต่ยังไม่เห็นการเปิดให้รับฟังความเห็นของประชาชน เน้นการนำเสนอกิจกรรม/ ทัศนคตดิ ของตัวผู้สมัคร/พรรคการเมืองเองมากกว่า

แต่ยิ่งใกล้วันเลือกตั้ง ปัญหาเรื่องข่าวหลอก/ข่าวลวง การบิดข้อมูลบางอย่างเพื่อประโยชน์ต่อพรรคการเมืองของตนเอง จะเห็นมากขึ้นเรื่อยๆ ประชาชนและสื่อมวลชนต้องระวัง เพื่อไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือในการปั่นกระแส ต้องตรวจสอบข้อมูลข่าวสารอย่างละเอียด ครบถ้วนก่อนนำเสนอ 

แข่งขันกันรุ่นแรง มีการปล่อยทั้งข่าวจริงข่างลวง บางครั้งไม่ใช่ข่าวเท็จ แต่เลือกนำเสนอข่าวสาร/ข้อมูลแค่บางอย่างที่ตัวเองได้เปรียบ หรือให้คู่ต่อสู้เสียเปรียบ สื่อมวลชนกระแสหลักต้องตรวจสอบคัดกรอง 

Social media อาจไม่มีผลโดยตรงต่อผลการเลือกตั้งในครั้งนี้ แต่มีส่วนในการตอกย้ำความเชื่อทางการเมืองของคน ยิ่งใกล้วันเลือกตั้งยิ่งต้องระวัง 

เชื่อว่าแต่ละพรรคการเมืองจะใช้กลยุทธ์การสื่อสาร fake news เป็นอาวุธลับของพรรคการเมือง แต่ไม่ใช้ fake news แบบข้อมูลเท็จ 100% แต่นำเสนอข้อเท็จจริงแค่ 70-80% ของข้อเท็จจริงแล้วบิดประเด็น หรือข้อเท็จจริงทั้งหมดแต่เลือกตีความบางอย่างมานำเสนอเท่านั้น เพื่อทำให้คนเข้าใจผิด เพื่อโจมตีคู่แจ่ง หรือเพื่อสนับสนุนตัวเอง /พรรคตัวเอง 

นักข่าวต้องชี้แจ้งประชาชนว่าส่วนไหนคือ ข้อเท็จจริง ส่วนไหนคือข้อมูบที่ผ่านการตกแต่งมา ส่วนประชาชนก็ต้องระวังในการเสพข้มูล ต้องใช้พลังของ social ในการตรวจสอบข้อเท็จจริง 

นักการเมืองไทยไม่ได้ใช้ social media เป็นประจำ ทำให้มีลุกเล่นในการใช้ social media สู้นักการเมืองในต่างประเทศที่นักการเมืองใช้ social media เป็นประจำ ไม่ได้ 

ในไทยลักษณะการใช้เป็นลักษณะของทีมงานเป็นหลักมากกว่า ทำมให้การสื่อสารไม่ทันทีทันใดเท่าสื่อเอง 

Social media ที่มีอิทธิพลต่อการเลือตั้งในครั้งนี้คือ LINE Facebook และ Twitter ซึ่งมีบทบาทแต่ต่างกัน Twitter ใช้เพื่อสื่อสารอย่างรวดเร็ว ส่วน Facebook เน้นการสื่อสารเป็นกลุ่ม เน้นการ engagement ส่วน LINE มีทั้งสื่อสารแบบ 1 ต่อ 1 หรือเป็นกลุ่ม จะมีการใช้งานร่วมกันทุก social media อาทิ ปล่อยคลิปลง YouTube แล้วค่อยมาปั่นกระแสต่อใน LINE Facebook และ Twitter

ชนัฐ เกิดประดับ social media communication specialist กล่าวว่า บทบาทของ social media คือ เป็น mass media แต่มี niche เฉพาะกลุ่ม และพรรคการเมืองเจาะเลยว่าใน niche นั้นใครคือ micro-incluencer ในกลุ่มนั้น ก็จะเอามาเป็นหัวคะแนนออนไลน์ ซึ่งหัวคะแนนใน social media จะเป็นหัวคะแนนในเรื่องของนโยบาบ เรื่องของแนวคิด ไม่ได้เป็นหัวคะแนนแบบแจกเงิน ซึ่งเป็นเรื่องใหม่มากๆ สำหรับเมืองไทย

“บนโลก social media ร้อนฉ่าใน niche แต่ละกลุ่ม ทำให้พรรคการเมืองใหญ่ หรือคนที่กุมอำนาจอยู่ไม่ได้ได้เปรียบ และผล poll ก็อาจจะมไ่เป็นอย่างที่ออกมา ในกลุ่มย่อยๆ ที่เป็น niche ไม่มีใครรู้ว่า เขาคุยออะไรกัน แล้วคะแนนออกมาเป็นยังไง”

เลือกตั้งครั้งที่แล้ว socail media เพิ่งเป็นที่นิยม และกลุ่มผู้ใช้งานยังไม่ mass เท่ากับในวันนี้ วันนี้ social media มีมากและหลากชนิดขึ้น เข้าถึงกลุ่มคนที่มีความหลากหลายมากขึ้น มีตั้งแต่ผู้สูงอายุเล่น LINE กลุ่มเด็กเข้ามาใช้ Twitter มากขึ้น เพราะฉะนั้น ส่ิงแรกเลยที่เห็นความแตกต่างของบทบาทของ social media ต่อการเลือกตั้งในครั้งนี้คือ ในมิติของฐานมวลชนกว้างขึ้นและหลากหลายขึ้น ประการต่อมา มีความเป็น niche มากขึ้น เจาะเฉพาะกลุ่มมากขึ้น เราจะเห็นกลุ่มต่างๆ ของคนบน social media เยอะมาก โดยเฉพาะบน Facebook และ LINE และ Twitter ที่มีการใช้ # เพื่อสื่อสารในกลุ่ม

การใช้ social media เพื่อการสื่อสารทางการเมือง ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย จะมีความเฉพาะ และต้อง customize มากขึ้น ไม่เหมือนครั้งที่แล้วที่ social media เหมือนป้ายหาเสียงบนออนไลน์ ที่พรรคการเมืองใช้ประกาศนโยบายพรรค แต่ครั้งนี้บางพรรคเริ่มที่จะมีนโยบายบางอย่างและโฟกัสที่บางกลุ่ม แล้วสื่อสารผ่าน social media นอกจากนี้ ยังมีการใช้การทำ data mining ว่ากลุ่มไหนสนใจนโยบายด้านไหน แล้วมีการโยนนโยบายลงไปใน socila media กลุ่มนั้น มีการใช้ AI จับข้อมูลว่าในแต่ละกลุ่มเขาพูดคุยเรื่องการเมืองอะไรกัน และมีใครเป็น influencer 

“การใช้สื่อ traditional ในการหาเสียงจะน้อยลง ยกเว้นในเรื่องนโยบายใหญ่ๆ เพราะใช้เงินเยอะ และสาดกระจายกลุ่มคน โดยไม่รู้ว่าคุ้มไหม นอกจากนี้ social media เป็นโอกาสใหม่ๆ ให้กับพรรคการเมืองใหม่ๆ การสื่อสารด้านการเมือง (political communication) ไม่ใช่เรื่องของเงินทุนอย่างเดียว เพราะทุกคนสามารถเข้าถึงและเป็นจ้าของสื่อได้ แต่มันเป็นเรื่องของการที่เขาสามารถเอาสิ่งที่เขาเขียน content creator คือ เขาจะต้องเขียนเนื้อหาให้เข้าถึงกลุ่มคน​ โดยใช้ภาษาที่เข้าถึงคนแต่ละกลุ่ม นักการเมืองยุคนี้ต้องโชว์​ sincerity ในการสื่อสารผ่าน social media เพราะจะมีคนคอยตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา”

ข่าวปลอม fake news จะมีเยอะมากบน social media ไม่ว่าจะเป็นการตัดต่อ การโจมตี (สารพัดเรื่อง) พรรรคการเมืองมีวิธีในการรับมือกับ crisis management ได้ไว้แค่ไหน 

Social media มีผลมากต่อการเลือกตั้ง เพราะเด็กรุ่นใหม่ที่เพิ่งจะมีสิทธิได้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งอยู่บน social media เยอะมาก และใช้เวลาอยู่บน social media เยอะมากกว่าบนเวลาบน traditional media ฉะนั้น พรรคการเมืองไหนสามารถยึดครองคนกลุ่มนี้ได้ชนะ นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มคนแก่ ที่ชอบเล่น LINE พรรคการเมืองควรรู้ว่า social media ไหนเข้าถึงกลุ่มคนเหล่านี้ และรู้ว่าคนเหล่านี้ต้องการนโยบายอะไร และถ้าเกิดดราม่ากับพรรคการเมือง จะสามารถแก้ปัญหาได้ทันที อันนี้ชนะ 

Social media มีผลมากและยากมากสำหรับพรรคการเมืองไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองที่มีทีมงานบริหารจัดการให้ ทีมงานดีแต่ content ที่ออกไปกับภาพลักษณ์พรรคตรงกันไหม ทีมงานไม่ดีโอกาสหลุดสูง ทีมงานดี ทุกอย่างดี แต่สื่อสาร fake ออกไป จะมีถูกตรวจสอบโดยกระแสของ social 

รอบนี้คะแนนเสียงยากคาดเดา เพราะมีกลุ่ม niche ที่กระจายอยู่บน social media เยอะมาก 

การหาเสียงของพรรคการเมือง จะมีทั้ง talk big จับกลุ่ม mass และมีการสื่อสารแบบ customized ทั้งสองอย่างเดินไปด้วยกัน 

“การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการวัดกันว่า ใครจะชนะ ระหว่างคนสูงอายุ โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ที่ชอบประชานิยม กับคนรุ่นหนุ่มสาว ซึ่งส่วนใหญ่ anit ประชานิยม หาก กลุ่มคนหนุ่มสาวชน social media ชนะสื่อ traditional meida”

ผศ.สกุลศรี ศรีสารคาม หัวหน้าสาขาวารสารศาสตร์คอนเวอร์เจ้นท์ คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ การใช้ social media เข้มข้นมากกว่าครั้งก่อนมาก เพราะคนมีทักษะการใช้งานมากขึ้น การทำ content ธรรมดาจะไม่สามารถจูงใจ/สร้างฐานเสียง ฐานแฟนได้ ฉะนั้น การทำ content จะเนียนขึ้น จนแยกไม่ออกว่า หาเสียง หรือปั่นกระแส ยั่วยุ ทำลายฝั่งตรงข้าม 

คนจำนวนมากอยู่ในภาวะที่ยังตัดสินใจไม่ได้ ถ้าได้รับข้อมูลอะไรเป็นประจำมีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งแน่นอน ส่วน fake news จะมีเยอะมาก และจะเนียนมาก  จะแทรกอยู่ในทุกๆ message ไม่ใช่ข่าวปลอม แต่เป็นข้อมูลที่จริงบางส่วน ข้อมูลที่ตัดต่อ ปั่นกระแส จูงใจความคิด 

“ความน่ากลัวคือ เราจะแยกข้อเท็จจริงความเห็นและกระแสการปั่นให้เกลียดกันไม่ชอบกัน หรือเลือกฝ่าย ได้ยากมากขึ้น กว่าครั้งที่ผ่านมา จะมีกระบวนการการใช้ social media ที่ซับซ้อนขึ้น เพราะทุกคนเรียนรู้แล้วว่า social media มีอิทธิพลมากขนาดไหน มีอิทธิพลจากต่างประเทศด้วยว่า แค่ทำให้คนเห็นข้อมูลอะไรอย่างเดียวเยอะๆ จะทำให้คนเชื่อได้แน่นอน ฉะนั้น จะเห็๋น content ที่ทำมห้คนเลือกข้าง จะถูก feed มาบน social media มากขึ้นมาก เพราะฉะนั้น คนจะต้องมี election literacy มากๆ เราเห็นคนรู้เท่าทันสื่อ social media มากขึ้น พลเมืองที่มีความ active รู้กระบวนการในการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพิ่มมากขึ้น คนกลุ่มนี้ ที่เป็น active citizen มีความสนใจทางการเมือง มีความรู้เท่าทันสื่อ คือความหวัง ให้เกิดการใช้ social media เพื่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างสร้างสรรค์” 

ณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง นักการตลาดดิจิทัล กล่าวว่า นี่เป็นครั้งแรกที่เห็นการเลือกตั้งในไทยในช่วงเวลาที่การใช้ดิจิทัลมันสุกงอม ซึ่ง Social media มีบทบาทต่อการเลือกครั้งนี้มาก เพราะ social media คือ หนึ่งในช่องทางรับข่าวสารหลักของประชาชนในกลุ่มใหญ่ๆ ของสังคมปัจุบัน การรับข้อมูลข่าวสาร ทำให้คนเปลี่ยนทัศนคติ/ ความเชื่อ Social media แต่ละตัวมีบทบาท แต่มีบทบาทที่แตกต่างกัน ตามแต่ละกลุ่มคน

กลไกสื่อโฆษณาบนออนไลน์ ที่สามารถระบุเฉพาะเจาะจงการเข้าถึงในรายบุคคล ไม่ใช่การ broadcast ทำให้มีความเสี่ยงในการเล็ดลอดการตรวจสอบ สมัยก่อนแคมเปญหาเสียง ออกทีวี คนทั้งประเทศเห็นแคมเปญเดียวกัน แต่หากมาลงโฆษณาผ่าน Facebook Google ที่เป็น personalized ads/dynamic ads ทำให้คนแต่ละคนได้รับข้อมูลที่ไม่เหมือนกัน แตกต่างกันไป คำถามคือ กกต.​มีเครื่องมือในการตรวสจสอบเรื่องเหล่านี้ครบถ้วนหรือไม่ ถ้าหากคนแต่ละคนได้ข้อมูลที่ไม่เหมือนกัน แตกต่างกัน จะนำมาสู่ bias และการตัดสินใจที่แตกต่างกัน 

ประชาธิปไตยที่ดีเกิดขึ้นจากการที่ทุกคนได้รับข้อมูลตรงกัน เดียวกัน แล้วทุกคนตัดสินอยู่บนพื้นฐานว่าในข้อมูลที่ทุกคนมี แต่ละคนเลือกที่จะเลือกอะไร หากมีการใช้เครื่องมือบน social media ที่มีความเป็น personbalized สูง กลายเป็นว่า แต่ละคนได้ข้อมูลที่ไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน เจตจำนงของประชาธิปไตยที่ให้ทุกคนเลือกบนพื้นฐานข้อมูลเดียวกันอาจจะไม่เกิดขึ้น กกต ต้องควบคุมตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่ามันเป็น fair game 

Fake news ไม่ใช่ข่าวปลอม แต่คือ distort information คือ ข้อมูลที่ถูกตัดแต่ง เปลี่ยนแปลง บิดเบือน หรือการทำ selective truth ถ้าข้อมูลข่าวสารถูกบิดเบือน ทำให้เกิดความเชื่อ และความคิดในการเลือกฝ่ายไหน ไม่เลือกฝ่ายไหน

“ผมห่วงว่าคนที่คุมการเลือกครั้งนี้ รู้เท่าทันสื่อ social media ไหม การเลือกตั้งครั้งนรี้เรารอมานาน อยากให้มันยุติธรรม คนทีกำกับดูแลเองควรศึกษาทำความเข้าใจ และเข้าไปคุยกับเจ้าของแพลตฟอร์ม ปรับความเข้าใจว่าจะมีวิธีการอย่างไร เพื่อป้องกันอย่างเป็นกลาง และเป็นธรรมกับทุกๆ ฝ่าย ไม่ใช่เป็นการปิดกั้นข่าวสาร แต่เป็นการที่เราป้องกันไม่ให้คนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ผิดๆ” 

ภูมิจิต ศิระวงศ ประเสริฐ Thai Directory Editor for curlie.org กล่าวว่า ครั้งที่แล้ว social media ถูกใช้เหมือน traditional media เหมือนซื้อโฆษณา แต่ตอนนี้ ไม่ใช่แค่พรรค แต่นักการเมืองเข้ามาสื่อสารกับประชาชนบน social media ทำให้ประชาชนรู้สึกมี power มากขึ้น comment ไปถึงเขาได้ ครั้งนี้มีการจัดตั้งทีมงาน มีการจ้างเอเจนซี่เพื่อทำการสื่อสารทางการเมืองผ่าน social media แทนการซื้อโฆษณาประกาศนโยบายพรรค  

มองว่าพรรคการเมืองจะใช้กลยุทธ fake news เพื่อบอกความจริงครึ่งนึง แต่ไม่ใช่การโกหก หลอกลวง เพราะคนจับผิดกันเร็วมาก และมองว่า social media จะมีบทบาทชี้ผลการเลือกตั้งในกลุ่ม swing vote ในกลุ่มเด็กรุ่นใหม่ 

 

View :3943