Archive

Posts Tagged ‘Facebook’

Zuckerberg in Bangkok

December 30th, 2010 No comments

[youtube=http://www.youtube.com/watch?v=tnKSs2SV7H8&feature=youtu.be]

 

Mark Zuckerberg, Facebook’s co-founder, was impressed with the Thai culture he experienced at the wedding ceremony this week of his close friend Chris Cox, the vice president of Facebook.

Vivatvong Vichit-Vadakan, the father of Cox’s bride Visra Vichit-Vadakan, said Zuckerberg had taken part in all three days of his daughter’s wedding and was impressed with the culture he had experienced throughout the proceedings.

“He is a very nice, humble person. We chatted. I thanked him for taking part in my daughter’s wedding in Bangkok for three days. We didn’t talk about business, or even about Facebook or social networking in Thailand, as he had come for the wedding ceremony and was here in a private capacity,” said Vivatvong, who is chief open-source technologist at Loxley Business Information Technology-PointAsia.

He said Zuckerberg had seen a lot of Thai culture during his stay, as his family had arranged a full traditional Thai-style wedding ceremony for 40 of Cox’s friends who had come over from the United States.

Cox joined Facebook four years ago. “Mark joined the merit-making ritual as part of the wedding ceremony on Monday, and then he also joined the engagement

ceremony yesterday [Tuesday]. These two activities were at the bride’s home in Sukhumvit Soi 24. And we had the wedding ceremony yesterday morning at the house of General MR Kukrit Pramoj,” said Vivatvong.

He added that his daughter had been friends with Cox since 2000, when they were freshmen at Stanford University. Cox was studying symbolic systems while Visra was studying human biology, but they were both in the university’s Traditional Japanese Drum Club, which is where they met.

Their relationship continued in the ensuing years and blossomed into that of lovers three years ago, he said.

After graduation, Cox pursued a master’s in computer science at the same university, while Visra came back to Thailand, working for TK Park during the time that Sirikorn Maneerin was deputy education minister. She is now a second-year graduate student of the Film School at New York University and expects to earn her master’s degree next year.

Vivatvong said Zuckerberg would not be staying in the Kingdom to celebrate the New Year.

“He is a very nice and humble guy. He is not as he is portrayed in the movie ‘The Social Network’,” he said.

Zuckerberg, dressed in grey T-shirt and jeans, arrived at last night’s party venue – a restaurant on Sukhumvit 36 – at about 8pm in a van and accompanied by security guards. Journalists took photographs but he did not respond to any of their questions.

Published on December 30, 2010 at The Nation

http://www.nationmultimedia.com/home/Zuckerberg-impressed-with-Thai-culture-30145482.html

Other story about Mark Zuckerberg

http://www.nationmultimedia.com/2010/12/29/national/Facebook-founder-spotted-in-Bangkok-pub-30145429.html

View :2808

Facebook’s Vaughan Smith

July 15th, 2010 No comments

วันก่อนมีโอกาสไปร่วมงานแถลงข่าวเซ็นเอ็มโอยูระหว่าง Facebook กับ Money Online (MOL) ที่ประเทศมาเลเซีย Vaughan Smith ซึ่งเป็น Director of Business and Corporate Development ของ Facebook ได้พูดถึงโอกาสทางการตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พร้อมทั้งความตั้งใจของ Facebook ในการขยายตลาดมายังภูมิภาคแห่งนี้ผ่านความร่วมมือกับ MOL ดังที่จะได้ฟังจากคลิปวีดีโอนี้….

[youtube=http://www.youtube.com/watch?v=Aun-zpCim-s]

View :2043

Sansiri’s Social marketing (video)

July 13th, 2010 No comments

บทสัมภาษณ์คุณ “สมัชชา พรหมศิริ” ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เมื่อปลายปี 2552 ในฐานะที่ “แสนสิริ” เป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายแรกที่กระโดดเข้ามาทำการตลาดอย่างเต็มตัวและ จริงจัง

[youtube=http://www.youtube.com/watch?v=8riU8iDQqcI]

View :2315

“Social Web/Viral Marketing” อาวุธธุรกิจในยุค Social Network (3)

March 18th, 2010 No comments

Social Media: ความท้าทายครั้ง (ใหม่) ใหญ่ของนักการตลาด….

ปัจจุบันสื่อใหม่อย่าง Social Media กำลังได้รับความสนใจจากแวดวงธุรกิจเพิ่มมากขึ้น โดยเริ่มจากความสนใจในกลุ่มนักการตลาดกลุ่มเล็กๆ ของไทยจากนั้นในเวลาเพียงไม่กี่เดือนความสนใจได้ถูกส่งต่อและแพร่กระจายไปในแวดวงธุรกิจอย่างรวดเร็วราวกับ ไฟไหม้ลามทุ่งหรือรวดเร็วราวกับ ไวรัส (Viral Awareness) ซึ่งแนวโน้มและความแรงของ Social Media นั้นคาดว่าจะมีเพิ่มมากขึ้นไม่เฉพาะในกลุ่มธุรกิจที่เป็น Long Tail Business ที่ถูกคาดหมายว่าน่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักแรกของการตลาดบน Social Media แต่ยังรวมถึงการขยับเข้ามาอย่างรวดเร็วของบรรดาธุรกิจขนาดใหญ่ที่แม้ว่าจะมีทุนมหาศาลในการทำการตลาด แต่พวกเขากลับตระหนักดีถึงกระแสของ Social Media จนต้องรีบเข้ามาจับจองพื้นที่…..


สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กเองนั้นจะต้องเร่งเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสื่อใหม่อย่าง Social Media นี้ให้เร็วเพื่อที่จะได้เร่งเข้ามาใช้ประโยชน์จากสื่อใหม่นี้ได้มากที่สุดในช่วงที่ทุกคนต่างก็กำลังเรียนรู้เพราะใครช่วงชิงพื้นที่การใช้งานอย่างเข้าใจก่อนย่อมได้เปรียบ และการมาของกระแส Social Media นั่นกล่าวได้ว่าเป็นความท้าทายครั้งใหม่ของนักการตลาดและเซียนการตลาดทั้งหลาย เพราะตอนนี้ Social Media กำลังแสดงบทบาทให้เห็นแล้วว่าไม่ได้เป็นเพียง “แฟชั่น” ที่มาแล้วเดี๋ยวก็ไป แต่ Social Media นั้นกำลังพลิกบทบาทเป็นแนวโน้มใหม่ของรูปแบบการทำการตลาดในอนาคตอย่างสิ้นเชิง

ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย กูรูด้านการตลาด และอาจารย์ประจำวิชาการจัดการกลยุทธ์ทางการตลาดและการจัดการยี่ห้อสินค้าให้เป็นที่รู้จัก บัณฑิตวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี เผยมุมมองว่า Social Media นั้นทำหน้าที่เป็น ‘P’ ตัวที่ 4 ของตำราการตลาด นั่นคือ บทบาทของ Promotion ที่มีความสำคัญมากต่อธุรกิจ เพราะ Social Media นั้นมีบทบาทเป็นช่องทางการสื่อสารทางการตลาด (marketing Communication) ที่ทรงประสิทธิภาพมาก ธันยวัชร์บอกว่าแม้สินค้าจะมี ราคาจะดี และสถานที่ขายจะดี แต่หากขาดซึ่งสื่อสารโปรโมทสินค้าที่ดีแล้วย่อมไม่นำมาซึ่งความสำเร็จฉันท์ใด ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการโลกการตลาดยุคเดิมนั้นย่อมไม่ได้รับการรับประกันว่าจะประสบความสำเร็จในการทำการตลาดในโลกยุคใหม่ โลกยุคที่สื่อสารการตลาดอิงแอบอยู่กับสื่อดิจิตอลมากขึ้น ดังนั้นนักการตลาดเองจำเป็นต้องปรับตัวให้เร็วเพื่อเข้ามาช่วงชิงความได้เปรียบของการเป็น First Mover ในสนามการตลาดดิจิตอลในโลกของ Social Media ที่ผลกระทบของมันนั้นมากมายเป็นทวีคูณ (Viral Effect)

เขากล่าวต่อว่าบทบาทของ Social Media ในเชิงการตลาดออนไลน์นั้นเริ่มเข้ามาในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเมื่อตั้งแต่เมื่อครั้ง Social Media ตัวแรกๆ อย่าง Hi5 เข้ามาและสร้างกระแสในสังคมไทยได้สักพักหนึ่งก่อนจะถูกเบียดตกเวทีไปโดย 2 หัวหอก Social Media อย่าง Facebook และ Twitter และเหตุที่สื่อออนไลน์อย่าง Facebook และ Twitter นั้นเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตคนในยุคปัจจุบันโดยเฉพาะบทบาทต่อภาคธุรกิจนั้นเป็นเพราะปัจจัยแวดล้อมเชิงบวก อันได้แก่ ความสามารถในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้นของสังคมไทย บริการอินเทอร์เน็ตบอร์ดแบนด์ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ส่วนมากจะใช้เวลาบนโลกอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น และเลือกที่จะเสพสื่อออนไลน์แทนสื่อดั้งเดิม ทำให้บทบาทของ Social Media ในช่วงนี้ถึงมาแรงและเป็นกระแสหลักของการตลาดออนไลน์ในปัจจุบัน

“การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ความนิยมใน Social Media ทำให้รูปแบบการสื่อสารทางการตลาดกลายเป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง (2-way communication) และผู้บริโภคในปัจจุบันกลายเป็น Pro-sumer (Producer + Consumer) คือ เป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคข่าวสารในเวลาเดียวกัน ซึ่ง Social Media ที่มาแรงสุดในปัจจุบันอย่าง Facebook และ Twitter นั้นกำลังเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารการตลาดในโลกยุคเว็บ 2.0 ใหม่หมดอย่างสิ้นเชิง ซึ่งหากนักการตลาดที่ต้องการอยู่รอดในโลกยุคเว็บ 2.0 และ 3.0 ในอนาคตนี้ไม่ตระหนักรู้ถึงความสำคัญแล้วมีโอกาสที่จะตกกระแสไปเลย”

นอกจากนี้ ธันยวัชร์ ยังบอกอีกว่า ยุคนี้นั้นผู้บริโภคเป็นใหญ่เป็นผู้กำหนดเกมทางการตลาดซึ่งนักการตลาดจะต้องเตรียมรับมือโดยใช้ความยืดหยุ่นทางการตลาดมาจับ Social Media และสื่อที่จะเกิดขึ้นใหม่ในอนาคตซึ่งจะไม่มี Barrier of Entry ดังนั้นหากใครเข้ามาในสนามนี้ช้ากว่าอาจต้องเสียเปรียบหลายขุม

“รูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบนี้นั้นสร้างความได้เปรียบให้ผู้ประกอบการรายกลางและเล็กที่เป็น Long Tail Business เพราะเป็นการสื่อสารการตลาดที่ต้นทุนต่ำ และยังใหม่มาก ฉะนั้น ความได้เปรียบในเรื่องของความสามารถในการเข้าถึงและใช้งานนั้นแทบจะไม่มี จะมีก็เพียงแต่ความได้เปรียบในแง่ที่ว่าใครเข้ามาเรียนรู้และใช้งานได้เป็นประเกิดประโยชน์ต่อธุรกิจของตนก่อนกัน ช่วงนี้เหมาะสมที่สุดที่นักการตลาดจะต้องเข้ามามีบทบาทในสนามนี้ เพราะต่อไปเมื่อคนเข้ามากันมากๆ แล้ว มันจะกลายเป็นของธรรมดาที่ใครๆ ก็ใช้ ซึ่งจะไม่คงเหลือความได้เปรียบให้กับเอสเอ็มอีอีกต่อไป ดังนั้นก้าวต่อไปคือการต่อยอดการทำการตลาดบนสื่อใหม่อย่างเข้มข้น ซึ่งถึงตอนนี้นักการตลาดก็ย่อมหนีไม่พ้นตำราการตลาดแต่ดัดแปลงมาใช้บนโลกออนไลน์แบบใหม่”

ธันยวัชร์ กล่าวทิ้งท้ายว่า Social Media นั้นใช้เวลาไม่นานที่จะเรียนรู้ให้ใช้งานเป็น แต่ใช้เวลานานกว่าจะเรียนรู้ว่าใช้ Social Media อย่างไรให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจสูงสุด

ในขณะที่ อุไรพร ชลสิริรุ่งสกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ธอมัสไอเดีย จำกัด อินเตอร์แอคทีฟเอเยนซี่ มีความเห็นไปในทางเดียวกันว่า Social Media จะเป็นช่องทางหลักในการสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ของผู้บริโภคหลังจากที่รุกคืบเข้ามาในกระแสวงการสื่อสารการตลาดอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ Facebook, Twitter และ Blog ต่างๆ ซึ่งได้ผลเร็วและโหมแรงปากต่อปาก (Word of Mouth) ในกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี มียอดผู้ใช้งานโดยรวมสูงกว่าคนดูโทรทัศน์ทั่วโลก คอนเทนต์ที่ผู้ใช้แชร์บน Facebook มากกว่า 1 พันล้านคอนเทนต์ในหนึ่งสัปดาห์

อย่างไรก็ตาม อุไรพรกล่าวเสริมว่า สิ่งที่ต้องระวัง คือ สื่อนี้ยากต่อการควบคุม และแนวโน้มในปีหน้า จะมีจำนวนของ User Generate Content หรือ UGC มากขึ้น ยิ่งทำให้การวางกลยุทธ์สื่อนี้เข้มข้นและต้องมีระบบการรองรับที่ดีด้วย โดยแบรนด์จะต้องให้ความสำคัญกับการสร้าง Customer Experience และ Customer Engagement กับผู้บริโภคมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคสามารถใช้เวลาเข้าถึงและรับรู้ข้อมูลนานกว่าสื่ออื่น และเนื่องจากเป็นสื่อที่มีผู้บริโภคสามารถโต้ตอบได้โดยตรง ทำให้สามารถรับรู้พฤติกรรมการเข้าถึงข้อมูลได้เป็นอย่างดีโดยไม่จำกัดเวลา

“เราคงจะเห็น Web Video ในรูปแบบ Webisode รวมถึงการออกแบบแคมเปญที่เน้นการรับรู้ของแบรนด์มากขึ้นในปีหน้า ความยาวแคมเปญที่สร้างการรับรู้ในแบรนด์ควรจะสามารถดึงดูด (Engage) ผู้ใช้ไว้ให้ได้อย่างน้อย 3-6 นาที นักการตลาดในอเมริกาถึง 48 เปอร์เซ็นต มีแนวโน้มให้ความสำคัญในส่วนนี้มากขึ้น”

นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบการตลาดอีกรูปแบบหนึ่งที่นักการตลาดควรให้ความสำคัญอย่างมากนั้นคือ Mobile Marketing ด้วยเทคโนโลยี 3G และอินเตอร์เน็ตบอร์ดแบนด์ขยายตัวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนตามอย่างรวดเร็ว และการเข้าถึงได้ง่าย เครื่องไอโฟนและแอพพลิเคชั่นของค่ายมือถือต่างๆ จากสถิติ 40 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้ Mobile Internet ใช้เว็บอย่างน้อย 2 ชั่วโมงต่ออาทิตย์

“จะเห็นว่าในต้นปีหน้าการแข่งขันของตลาดบนสื่อนี้จะทวีความรุนแรงมากกว่าปีนี้แน่นอน รวมทั้งการทำตลาดออนไลน์ผ่านทาง Mobile Internet จะทำให้นักการตลาดหันมาให้ความสำคัญต่อการสร้าง Mobile Internet Site กันมากขึ้น”

อุไรพร กล่าวทิ้งท้ายว่า นักการตลาดต้องปรับตัวให้ทันกระแสเทคโนโลยีอินเตอร์แอคทีฟและ Social Media ซึ่งเป็นความท้าทายและต้องคำนึงถึงข้อจำกัดในการวางกลยุทธ์ออนไลน์ที่เหมาะสมในช่วงเวลาแตกต่างกัน ที่ต้องตอบโจทย์ทางธุรกิจได้ และระบบแอปพลิเคชั่นอินเตอร์แอคทีฟ โซลูชั่นต่างๆ ควรรองรับการนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้งานควบคู่ไปกับการเสริมภาพลักษณ์ขององค์กรได้ด้วย

(บทความนี้ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Smart Industry ฉบับ ธันวาคม 2552- กุมภาพันธ์ 2553)

View :3426

“แสนสิริ”….เรียนรู้ก่อนจึงเข้าใจใน…. Social Media

March 7th, 2010 No comments

หากเอ่ยถึงคำว่า “Social Media” เชื่อแน่ว่าหลายคนต้องนึกถึง Facebook และ Twitter เพราะเป็นสองอันดับเว็บด้าน Social Media ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดอยู่ในขณะนี้ ปัจจุบันมีธุรกิจจำนวนมากเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับ Facebook และ Twitter ในฐานะสื่อใหม่ที่เป็นเครื่องมือทางการตลาดที่น่าจับตามมองมากที่สุด แม้แต่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่อย่าง “แสนสิริ”ได้กระโดดลงมาในสนาม Social Media อย่างเต็มตัวเช่นกัน พร้อมประกาศเดินหน้าพัฒนาแผนการใช้สื่อใหม่นี้อย่างเต็มที่…

แต่ทว่าจะมีสักกี่คนที่รู้ว่ากว่าที่ “แสนสิริ” จะตั้งหลักบนสื่อใหม่ได้นั้น “แสนสิริ” เองต้องลองผิดลองถูกอยู่นานหลายเดือนกว่าจะเริ่มเข้าใจในธรรมชาติของสื่อใหม่อย่าง Social Media จน ณ วันนี้ถือว่า “แสนสิริ” เข้าใจและปรับใช้สื่อใหม่ได้อย่างค่อนข้างลงตัว

สมัชชา พรหมศิริ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสายงานกาตลาด บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เล่าให้ฟังว่า แสนสิริเริ่มรู้จักและเริ่มใช้ Social Media มาตั้งแต่ปลายปี 2550 เมื่อตอนที่ Social Media อย่าง Facebook เริ่มเข้ามาเมืองไทย ตอนนั้นเป็นจังหวะเดียวกันกับที่แสนสิริ จะเปิดตัวคอนโดมีเนียมโครงการใหม่ ที่เรียกว่า “Condominium Hype” ซึ่งสมัชชาเห็นว่า น่าจะมีการทำการตลาดแบบแปลกใหม่ จึงได้ลองหยิบ Facebook มาเป็นเครื่องมือสื่อสารทางการตลาดสำหรับโครงการนี้

โดยการบุกสื่อใหม่ในครั้งนั้น สมัชชาได้ทำทุกอย่างตามทฤษฎีสื่อสารการตลาด ไม่ว่าจะเป็นการเลือกสื่อใหม่อย่าง Facebook ซึ่งเป็นสื่อเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของโครงการฯ ที่เป็นคนในวัยทำงาน อยู่ในเมือง มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ และใช้อินเทอร์เน็ตเป็นกิจวัตรประจำวัน ซึ่งสมัชชาคิดว่า การใช้ Facebook เป็นเครื่องมือนั้นจะช่วยสร้างความแตกต่างและสร้างจุดขายให้กับแสนสิริในการทำการตลาด แต่ทว่าความจริงไม่ได้เป็นไปตามความคาดหมายที่ตั้งไว้

เขากล่าวว่า “มันล้มเหลวโดยสิ้นเชิง สิ่งที่เราทำตอนนั้นมันผิด มันไม่ใช่ เพราะว่าเรายังไม่เข้าใจธรรมชาติของมัน เราลองกับมันเหมือนมันเป็นสื่อๆ หนึ่งที่เราเคยมีเคยใช้ เราก็ไปเปิดหน้า Fan Page ชื่อ Condominium Hype แล้วเราก็ใส่แต่ข้อมูลข่าวสารและรายละเอียดของโครงการและโปรโมชั่นของโครงการ ปรากฏไม่มีคนใน Facebook ให้ความสนใจกับโครงการนี้อย่างที่เราคาดหวังให้มันเป็น ตอนนั้นมีคนมาเป็น Fan เราอยู่แค่ 30 คนเท่านั้นเอง ซึ่งครั้งนั้นถือเป็นการลองที่ผิด ตอนนั้นเรายังไม่รู้ว่าคนที่อยู่ Facebook ที่เขามาติดตามเราเขาอยากจะฟัง (ข้อมูลข่าวสาร) อะไร”

จากความล้มเหลวในครั้งนั้นทำให้สมัชชาและทีมงานต้องกลับมาตั้งหลักและทบทวนบทเรียนกันใหม่ และเริ่มลงมือศึกษาและลองใช้เวลาเล่น Facebook อย่างจริงจัง จนพบว่า เสน่ห์ของ Social Media อย่าง Facebook นั้นอยู่ตรงที่ความเป็นพื้นที่เปิดสำหรับคนที่ต้องการแบ่งปันประสบการณ์และข้อมูลที่ต่างคนต่างสนใจตรงกัน และลักษณะของการสื่อสารของธุรกิจใน Social Media นั้นจะต้องไม่เป็นการ Hard Sale เพราะคนในสังคม (ออนไลน์) ตรงนี้จะต่อต้านและไม่ให้ความสนใจทันที ในทางตรงกันข้าม สมัชชากล่าวเสริมว่า รูปแบบการสื่อสารบนโลกของ Social Media นั้นจะต้องอิงอยู่บนรูปแบบของความสัมพันธ์ฉันท์ “เพื่อน” มากกว่าในฐานะ “ผู้ขายกับผู้ซื้อ” และข้อมูลที่จะได้รับการต้อนรับจากสังคมตรงนี้จะต้องเป็นข้อมูลที่ทำให้เขาสามารถมีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งได้

ดังนั้น สมัชชาจึงเริ่มเดินหน้าใหม่อีกครั้งด้วยการใช้ Facebook เป็นเครื่องมือในการสื่อสารสำหรับกิจกรรมลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งทางบริษัทมีการจัดกิจกรรมลักษณะนี้บ่อยบนโลกออฟไลน์ สมัชชาเริ่มเดินหน้ากลยุทธ์ Facebook โดยการเปิดหน้า Fan Page ของแสนสิริขึ้นใหม่อีกครั้ง จากนั้นแทนที่จะนำเสนอโปรโมชั่นของโครงการ สมัชชาเลือกที่จะนำภาพถ่ายของกิจกรรมลูกค้าสัมพันธ์ที่แสนสิริจัดกิจกรรมขึ้นเป็นประจำเพื่อเชื่อมสัมพันธ์ลูกบ้านลงในหน้า Fan Page และเกือบจะในทันทีก็ได้รับการตอบสนองจากมวลหมู่สมาชิกบน Facebook ทั้งที่เป็นลูกบ้านและไม่ได้เป็นลูกบ้านของแสนสิริที่เข้ามา tag รูปของตนเองและเพื่อนของตนเองที่เขารู้จัก จากนั้นก็ทำการส่งต่อให้เพื่อนในเครือข่ายของตนได้ดู และหน้า Fan Page ของแสนสิริบน Facebook ก็ถูกแพร่กระจายผ่านการส่งต่อเป็นทอดๆ และในที่สุดพื้นที่บนหน้า Fan Page ของแสนสิริก็กลายเป็นพื้นที่กลางของ “ลูกบ้าน” ที่สามารถเข้ามาติดตามข่าวสารของเพื่อนบ้านร่วมโครงการได้อย่างง่ายดาย

นอกจากนี้ตัวลูกบ้านเองก็สามารถใช้พื้นที่ตรงนี้แชร์ข้อมูลของตนให้เพื่อนร่วมโครงการฯ ได้ ซึ่งการที่พื้นที่ตรงนี้ถูกเปิดเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับลูกบ้านของแสนสิริ ทำให้แสนสิริเองสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับลูกบ้านและเพื่อนของลูกบ้านที่วันนี้อาจจะยังไม่ได้เป็นลูกบ้านของแสนสิริได้อย่างแนบเนียนมากขึ้น

“เรามอง Facebook เหมือนสะพานที่ทอดไปให้กับคนที่เขายังไม่รู้จักโครงการหรือสินค้าของเราซึ่งอาจจะเป็นเพื่อนของเพื่อน ที่เข้ามาดูรูปเพื่อนหรือไปชวนเพื่อนมาดู เขาก็จะได้รับรู้ว่าแสนสิริมีอะไรให้ลูกบ้าน เขาเริ่มรับรู้ว่าเราทำอะไร ซึ่งในรูปก็มีภาพโครงการของเรา เขาอาจจะเกิดสนใจโครงการของเรา เขาก็สามารถเข้ามาดูรายละเอียดของโครงการต่างๆ ของเราได้ที่เว็บไซต์หลัก sansiri.com”

สมัชชา กล่าวว่า เขาได้วางบทบาทของแสนสิริบน Facebook ไว้ในฐานะ “เพื่อน” ของลูกบ้าน ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เสริมในการเป็นสะพานที่จะทอดพาเหล่าลูกบ้านและเพื่อนของลูกบ้านเข้ามาที่ “บ้านของแสนสิริ” ที่มีข้อมูลทุกอย่างของแสนสิริไว้ให้บริการ โดยเฉพาะข้อมูลการตลาดที่จะรวบรวมทุกโครงการ ทุกโปรโมชั่น โดยที่ลูกบ้านที่เดินข้ามเข้ามาสู่เว็บไซต์หลักของแสนสิรินั้นจะมีแรงต้านในการรับข้อมูลเชิงการตลาดน้อยลง

หลังจากที่เริ่มประสบความสำเร็จกับ Facebook แล้ว สมัชชาเริ่มมีความมั่นใจมากขึ้นในการทำการตลาดบนโลก Social Media จาก Facebook สมัชชาจึงเดินหน้าต่อไปยัง Twitter โดยเปิดแอคเคาน์ของแสนสิริ (twitter.com/sansiri) จากนั้นก็สื่อสารกับคนใน Twitter ผ่านบทสนทนาที่เป็นกันเอง โดยข้อความที่สื่อสารนั้นโดยมากจะเป็นการพูดคุยฉันท์เพื่อน แต่ก็แฝงด้วยข้อความทางการตลาดบ้างเล็กน้อย

“บทบาท Facebook ทำหน้าที่เชิงลูกค้าสัมพันธ์ ในขณะที่ Twitter ทำหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ว่าตอนนี้แสนสิริเรามีข่าวสาร กิจกรรม หรือโปรโมชั่นอะไรบ้าง เราก็บอกเขาในฐานะ เพื่อนมาบอกเพื่อน เวลาสนทนาผ่านตัวอักษร 140 ตัวอักษรเราก็ใส่คำ “ค่ะ” ลงไปตอนท้ายเพื่อให้รู้สึกว่าเราเป็นเพื่อนกันนะ แม้ว่าจะเป็นข้อความโปรโมชั่น แต่เราก็พูดให้ดูไม่เป็นการขายตรงๆ” สมัชชากล่าวและว่า

“ข้อดีอีกอย่างของ Facebook และ Twitter นั้นคือ ลูกบ้าน ลูกค้า หรือเพื่อนๆ ของลูกค้าเหล่านั้นเขาสมัครใจที่รับข้อความของเรา เพราะเขามีสิทธิที่จะเลือกว่าจะ “รับ” หรือ “ไม่รับ” ข้อความประชาสัมพันธ์ของบริษัทโดยไม่มีการยัดเหยียด ถ้าเมื่อใดที่เขาเห็นว่าเขาไม่ชอบเราแล้ว เราก็เลือก ‘Unfollow’ เราไป”

ทั้งนี้ แสนสิริได้ให้ความสำคัญกับ Facebook และ Twitter โดยการมอบหมายให้พนักงาน 2 คนดูแลรับผิดชอบการสื่อสารผ่าน 2 เว็บไซต์นี้อย่างจริงจังและเต็มตัว โดยผู้บริหารของบริษัทได้อำนวยความสะดวกให้ในเรื่องของการติดต่อประสานงานภายในองค์กร หากเกิดกรณีร้องเรียนหรือแจ้งซ่อมหรือแจ้งขอรับบริการผ่านมาทาง Facebook และ Twitter  ซึ่ง ณ วันนี้ แสนสิริ ได้กระชับสัมพันธ์อันดีกับประชาคมบนโลกออนไลน์ได้อย่างราบรื่น

แผนต่อไปของแสนสิริ สมัชชากล่าวว่า แสนสิริจะขยายรูปแบบการตลาดเชิง Social Media ไปสู่เว็บไซต์ Youtube.com โดยจะสร้างวีดีโอคลิปแนะนำโครงการ และสังคมรอบๆ โครงการ ในสถานที่ต่างๆ ของแสนสิริ เพื่อให้ลูกบ้านและลูกค้าในอนาคตได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมของแสนสิริบนโลกออนไลน์ได้

ซึ่งสมัชชาเชื่อว่า จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนบนโลกออนไลน์ทั้งที่เป็นและยังไม่เป็นลูกบ้านของแสนสิริ และความสัมพันธ์ที่ดีนี้อาจจะเกื้อหนุนการตลาดในทางอ้อมได้แม้แสนสิริจะไม่ได้หวังไว้ก็ตาม….

(บทความนี้ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Smart Industry ฉบับ ธันวาคม 2552- กุมภาพันธ์ 2553)

View :3367

Top property firm builds social networks

January 25th, 2010 No comments

Sansiri looks for customers on Facebook, Twitter

Leading Thai property developer Sansiri has turned to the extraordinarily popular social-networking sites Facebook and Twitter to strengthen its marketing allure.

The company has “jumped on to the bandwagon of social networking” in the hope of increasing its marketing tools and becoming a “virtual friend” to its customers by remaining in touch on the social networks.

Sansiri's assistant vice president for marketing Samatcha Promsiri

Sansiri’s assistant vice president for marketing Samatcha Promsiri said the company believed social networking was a vital marketing tool to maintain a good relationship with its customers and to roll-out its campaigns and promotions in real time.

It has set up Facebook.com/sansiri in the role of a customer-relationship management department and has created its own community comprised of existing customers. It is able to communicate with its community directly and receive quick responses.

Samatcha said the beauty of Facebook.com was its verification of users so the company knew who were and were not its existing customers. New target customers were created among friends attached to the networks of the company’s existing customers.

“For example, we put photos of our activities onto Facebook.com and our fans come and tag their photos as well as sending and sharing them with members of their network. Our customer-relationship management activities can promptly spread to a mass of people, as viral marketing. The things we do expand our customer relationship management to give it a wider presence in the online world,” he said.

Moreover, Sansiri aims to use Facebook.com as a bridge to bring its social-networking community back to its main online market community – www.sansiri.com – where detailed information on all its products and services, as well as latest promotions, are available.

Sansiri is also using Twitter.com as a viral marketing tool to deliver real-time marketing messages to potential customers.

Samatcha said that with a limit of 140 characters, Twitter.com/sansiri also aimed to attract people to the company’s main website.

“At Twitter, we can send messages with a harder marketing purpose than those on Facebook, where we must maintain the attitude of friendship, talking with people in friendly tones in a conversational fashion, rather than delivering hard-sell,” he said.

Sansiri learned a quick lesson when it launched its Facebook site with a hard-sell message seeking to directly attach its community. It failed, and the company later realised it was probably seen as broaching an unfriendly relationship.

“We learnt from direct experience that in a social network, people are not willing to accept direct-marketing messages. Instead, they like to communicate in friendly tones, like they are talking with their friends. Therefore, we have to be their friends,” Samatcha said.

He said social networking allowed Sansiri to communicate directly with both existing and prospective customers, and to get their responses and feedback very quickly, with the least cost and resources. Sansiri has a staff of just two people dedicated to its social marketing and gives the effort a very small budget.

Samatcha said that successfully developing social-network marketing was not about spending money, but about understanding human relationships.

As well as its social networking, Sansiri is spending about Bt600 million per year on online marketing. However, this is only 3 per cent of its total marketing budget of Bt1.8 billion per year.

Samatcha said the company’s next step was a plan to expand its online marketing on to Youtube.com. It plans to launch video clips related to Sansiri’s projects, such as recommended restaurants around Sansiri’s development locations, as well as other places of interest.

“For the moment, we will focus on these three channels of social networking,” Samatcha said. “We think there are many things we can develop on these platforms to optimise their ability to create value for both us and our customers.”

(Published in The Nation Newspaper, Byteline Section, October 20, 2009)

View :2191

Social networks transform marketing

January 25th, 2010 No comments

Social-network marketing, using both Facebook and Twitter, has become the talk of the town among marketers in all industries.

The rapid rise in the number of users at both sites in Thailand has demanded the attention of Thai marketers, many of whom are currently calculating what share of their annual budget they should divert to the new online medium.

An adviser to the Sasin Graduate Institute of Business Administration, Ian Fenwick, has given some pointers to online-marketing success.

He said marketing was moving towards a new digital era, for which new marketing models would be designed and developed to deliver messages digitally through a variety of end-devices and platforms including Internet web 2.0, mobile phones, Internet television, personal Internet devices, social-networking platforms, and electronic devices yet to be developed.

Referring to the “Four Ps” of traditional marketing strategy – product, price, place and promotion, he said digital marketing came with its own Four Ps: permission, participation, profile and personalisation.

“Marketers need to understand the fundamental elements of the new era of marketing first. Then they have to understand how to use their marketing budget to gain the most benefit,” Fenwick said.

This year, Internet penetration around the world amounts to 1.6 billion users. Of these, 42 per cent are in Asia. These people are also spending more of their time on the Internet, from only 15 per cent of their daily life in 2003 to 30 per cent in 2008. Their main activities on the Internet are participating in social networks and reading blogs.

The best-known social-network site is Facebook. It now has 330 million users – up from 250 million in July. The trends are similar in Thailand, where there are 16 million Internet users and more than 1 million of them are Facebook users.

Twitter, the most popular microblog site, had more than 7 million users in February, up from fewer than 5 million one year earlier.

Marketing expert Thunyawat Chaitrakulchai, who is managing editor of MKT magazine, said social-network marketing, especially that using Facebook and Twitter, was the next big thing. Marketers should not ignore it, but should pay more attention to learning about it and understanding it in order to use it as a marketing weapon to reach the right target customers at a lower cost in terms of time and money.

He said it was better to use both Facebook and Twitter in parallel, with “balanced portions” devoted to each. The size of the portions directed at each channel depended on the requirements of different businesses.

“There is no one success model for all. This is a time for marketers to pay attention. They have to realise that they cannot ignore this. Both large corporations and small- and medium-sized enterprises should jump in,” Thunyawat said.

A similar message came from Worawisut Pinyoyang, marketing expert and owner of Newmedia.com and MKTtwit.com. He said Facebook and Twitter had a big impact on product and brand awareness.

The beauty of social networking for marketing is that it provides a huge number of target customers with the correct demographic profile, he said. Personalisation enables marketers to get very quick feedback and their marketing message can reach a mass market in a short time by “going viral”.

(Published in The Nation Newspaper, Byteline Section, September 29, 2009)

View :2225

“Social Web/Viral Marketing” อาวุธธุรกิจในยุค Social Network (2)

December 28th, 2009 No comments

อาจกล่าวได้ว่า Facebook และ Twitter คือ Social Media กำลังเป็นสื่อใหม่ที่ถูกจับตาและถูกพูดถึงมากที่สุดในหมู่นักการตลาด ผู้ประกอบการขนาดใหญ่เริ่มให้ความสำคัญและก้าวเข้ามาศึกษาและใช้ประโยชน์จากสื่อใหม่สองตัวนี้อย่างจริงจังแล้วหลายราย ซึ่งผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กเองก็ไม่ควรมองข้ามสื่อใหม่อย่าง Facebook และ Twitter นี้ซึ่งกำลังมีบทบาทและทรงพลังในแง่ของการสื่อสารการตลาดอย่างยิ่ง

ทั้งนี้ความสำคัญของ Facebook และ Twitter ในฐานะที่เป็น 2 สื่อทรงพลังของการสื่อสารการตลาดบนสังคมออนไลน์ หรือที่เรียกว่าเป็น Social Media Marketing ซึ่งเป็นเทรนที่กำลังมาแรงที่เหล่ากูรูทางเทคโนโลยีและกูรูทางการตลาดจัดสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ มุมมอง และประสบการณ์ตรงกันอย่างคึกคัก ย่อมต้องมีความสำคัญกับผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กหรือเอสเอ็มอีเช่นกัน

นอกจากนี้ Facebook และ Twitter ยังคงเหมาะกับธุรกิจขนาดกลางและเล็กที่มีเม็ดเงินในการทำการตลาดไม่มาก เพราะว่า Facebook สามารถช่วยให้ธุรกิจขนาดกลางและเล็กส่ง Message ทางการตลาดได้ถึงและตรงกลุ่มเป้าหมายด้วยงบประมาณอันน้อยนิดได้ เนื่องจากใน Facebook นั้นมี Demographic ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเตรียมไว้ให้แล้ว

แต่ก่อนอื่นเลยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องเร่งทำความเข้าใจในสื่อใหม่อย่าง Facebook และ Twitter เสียก่อนว่าเจ้าสองตัวนี้คืออะไรและจะเป็นเครื่องมือทางกาตลาดที่มีพลานุภาพได้อย่างไร และรีบเข้ามาลองใช้สื่อทั้งสองตัวนี้ในช่วงที่มันกำลังได้รับความนิยมสูงสุดอยู่ ณ ตอนนี้

แม้ว่า Facebook และ Twitter เป็น Social Media เหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกันในคุณสมบัติและความเหมาะสมในการใช้เพื่อสื่อสารการตลาด โดย Facebook และ Twitter จะเป็นเหมือน “รัก-ยม” ถ้าจะใช้ Social Network Marketing ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต้องรู้จักใช้ Facebook และ Twitter ให้เป็น ให้สมดุล และเกื้อกูลกันเอง

Facebook เปรียบเหมือนทัพหลวง ในขณะที่ Twitter เหมือนทัพหน้า ทั้งนี้เพราะใน Facebook นั้นมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ค่อนข้างมากและครบ ในขณะที่ Twitter นั้นเน้นการสื่อสารแบบทันทีทันใด (Real Time Marketing) ที่เน้นการสื่อสารผ่านตัวอักษรเป็นหลัก (แม้ว่าจะสามารถใส่รูปได้ก็ตามทีแต่เน้นการสื่อสารข้อความต่อข้อความ หากใส่รูปก็ทีละรูป)

Facebook ทัพหลวงทางการตลาดอนไลน์:

กล่าวคือที่ Facebook นั้น ผู้ประกอบการสามารถเข้ามาเปิดแอคเคาน์ใช้งานได้ที่ www.facebook.com โดยชื่อผู้ใช้งานนั้นควรเป็นชื่อของแบรนด์ (บริษัทหรือสินค้า) เพื่อสร้างการตอกย้ำในตราสินค้า (www.facebook.com/xxxxx) ส่วนภาพ Profile (Profile Photo) ซึ่งจะเป็นภาพหรือแบรนด์ของบริษัทหรือสินค้าบน Facebook ก็ควรเป็นโลโก้ของบริษัทหรือสินค้านั้นๆ ซึ่งในFacebook มีฟังก์ชั่นหลักๆ มากมายหลากหลายที่เอื้อต่อการใช้งานเชิงธุรกิจ โดยตัวแอคเคาน์ของ Facebook เอง ผู้ประกอบการสามารถใส่ข้อมูลตั้งแต่ข้อมูลเบื้องต้นของบริษัทแบบคร่าวๆ ไว้ในหน้า ‘Info’ ส่วนข้อมูลปัจจุบันที่เคลื่อนไหวทุกวัน หรือข้อมูลที่อยากจะสื่อสารกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายทุกวันอาทิ ข้อมูลสินค้าใหม่ หรือข้อมูลโปรโมชั่น ก็ใส่ไว้ในหน้า “Wall’

นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังสามารถอัพเดทกิจกรรมต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตในฟังก์ชั่น ‘Event’ และส่งเทียบเชิญออนไลน์ไปให้กลุ่มเป้าหมายได้ผ่านฟังก์ชั่น ‘Invite’ ซึ่งตัวฟังก์ชั่นนี้จะช่วยให้ผู้เชิญพอที่จะคาดการณ์ผลตอบรับได้ เพราะตัวฟังก์ชันนี้จะมีฟีเจอร์ให้ผู้ที่ถูกเชิญตอบกลับง่ายๆ ว่า ตกลง (‘Confirm’) อาจจะ (‘Maybe’)  หรือไม่ไป (‘No’) ซึ่งอย่างน้อยจะช่วยให้ผู้เชิญนั้นพอจะรู้ Feedback

สำหรับกิจกรรมที่ผ่านมาแล้วผู้ประกอบการสามารถนำมาโพสต์ในหน้า Wall ได้โดยสามารถสร้างเป็นอัลบั้มภาพหรือทำเป็นวีดีโอคลิปที่ความยาวไม่เกิน 20 นาที หรือทำลิงค์ไปยังเว็บไซต์หลักของบริษัทก็ได้ ซึ่งข้อดีของการใส่รูปนั้น หากผู้ประกอบการใส่รูปกิจกรรมที่รูปของลูกค้าอยู่ในนั้นก็จะก่อให้เกิดการ “Tag’ คือ การเข้ามาใส่ชื่อของคนในภาพซึ่งอาจทำโดยใครสักคนที่รู้จักคนในภาพนั้น และตัวระบบจะทำการส่งอัพเดทให้กับกลุ่มเพื่อนของคนที่ถูก ‘Tag’ เองโดยอัตโนมัติ โดยที่คนที่ถูก ‘Tag’ ไม่ได้เป็นคนทำการ ‘Tag’ และไม่ได้เป็นทั้งคนส่งอัพเดทให้กับกลุ่มเพื่อนในเครือข่าย ภาพนั้นหรือข้อความที่ติดไปกับภาพนั้นมันจะถูกกระจายแบบไวรัสได้อย่างง่ายดายและทันที…และนี่คือตัวอย่างหนึ่งของอานุภาพของ Social Media อย่าง Facebook

นอกจากแอคเคาน์หลักแล้วผู้ประกอบการยังสามารถเปิดเป็น Fan Page ได้ซึ่งความแตกต่างของ Fan Page กับแอคเคาน์หลักก็คือ ถ้าเปิดใช้งานในแอคเคาน์หลักนั้นการที่จะเพิ่ม “เพื่อน” (หรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย) ในเข้ามาในเครือข่ายสังคมของเรา เราจะต้องออกไป “เชิญ” (ส่ง ‘Request’) และรอการตอบรับว่าอยากจะเป็นเพื่อนกลับมา ในทางกลับกัน หากคนบน  Facebook อยากจะเป็นเพื่อนกับ “เรา” เขาจะต้องทำอย่างเดียวกัน แต่ในขณะที่ Face Page นั้น เป็นฟังก์ชั่นที่ให้เราสามารถสร้างหน้าคล้ายๆ หน้าแอคเคาน์หลักของ Facebook ซึ่งหากเราต้องการเพิ่มสมาชิกเราก็สามารถส่งเทียบเชิญ (Become a fan of xxxx) ไปยังกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ Facebook ได้โดยรอเขาตอบรับกลับมา ในขณะที่หากคนบน Facebook เขาอยากจะมาเป็นสมาชิกของ Fan Page เราเขาก็สามารถเป็นได้ทันทีโดยไม่ต้องรอการตอบรับจากเรา ซึ่งตรงจุดนี้จะต่างจากการเปิดเป็นแอคเคาน์หลัก ซึ่งทำให้การดึงคนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการทางตลาดของเราบนโลก Facebook นั้นสะดวกและง่ายกว่า

นอกจากนี้ในฟังก์ชั่นของ Fan Page ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานเชิงธุรกิจโดยเฉพาะ (เพราะตอนสมัครครั้งแรกนั้น Facebook จะถามว่าคุณคือคนที่ได้รับอนุญาตจากองค์กรของคุณเพื่อมาเปิดและเป็นเจ้าของ Fan Page ขององค์กรคุณหรือไม่) อาทิ สถิติการเข้าชมหน้า Fan Page ของคุณ ซึ่งจะนำเสนอเป็นเชิงตัวเลขและกราฟ เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความเคลื่อนไหวของ Fan Page ของคุณ โดยจะบอกจำนวนสมาชิกล่าสุด จำนวนผู้เข้าชมที่ไม่ซ้ำรายกัน (Unique Visitor) รวมถึงจำนวนหน้าที่ถูกเข้าไปเยี่ยมชม (Page View) ซึ่งฟังก์ชั่นที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นบริการฟรี แต่หากผู้ประกอบการจะต้องการเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานมากกว่านี้ อาทิ หากต้องการเพิ่มสมาชิกจำนวนมากๆ ก็อาจจะใช้บริการ Advertising ของ Facebook ซึ่งFacebook จะช่วยทำหน้าที่โฆษณาหน้า Fan Page ที่ซื้อ Ad ไปยังกลุ่มลูกคนกว่า 400 ล้านคนทั่วโลก (และมากกว่า 1 ล้านคนในประเทศไทยที่เป็นสมาชิกของ Facebook) ให้ โดยจะคิดค่าบริการโฆษณาใน 2 รูปแบบหลัก ๆ คือ คิดเหมา กับคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อรายสมาชิก


Twitter ทัพหน้าของการตลาดแบบไวรัส:

สำหรับ Twitter นั้น เป็นการสื่อสารข้อความสั้น หรือ Short Message ที่ถูกจำกัดอยู่ที่ 140 ตัวอักษรและเน้นกาสื่อสารแบบทันทีทันใด (Real Time Communication) นั้นเป็นอีกสื่อหนึ่งที่ถูกนักการตลาดหยิบมาใช้ควบคู่กับ Facebook เพื่อทำให้การสื่อสารการตลาดนั้นสัมฤทธิ์ผลมากขึ้น โดยคุณสมบัติของ Twitter และกลุ่มคนใน Twitter จะแตกต่างจากกลุ่มคนใน Facebook บ้าง เริ่มต้นจากการเข้าเป็นสมาชิกของ Twitter นั้นง่ายกว่าเพราะคนในสังคม Twitter สามารถเข้ามาติดตาม (มาเป็น Follower) ของคุณเมื่อไรก็ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตคุณก่อนและเขาสามารถ “เลิก” ตาม (Unfollow) เมื่อใดก็ได้เช่นกัน

การเปิดแอคเคาน์บน Twitter นั้นง่ายดายพอๆ กับ Facebook คือเข้าไปสมัครใช้งานได้ที่ Twitter.com (twitter.com/xxxx) โดยชื่อที่ได้มาจะเป็น @xxxx จากนั้นก็ใส่ข้อมูลเบื้องต้นในส่วนของ Bio จากนั้นก็เริ่มต้น “สื่อสาร” ข้อมูลทางการตลาดที่ต้องการ หรือในภาษา Twitter เรียกว่า “Tweet”

โดยข้อความทางการตลาดที่จะสื่อสารใน Twitter นั้นจะต้อง “เนียน” มาร์เก็ตติ้งมากกว่าใน Facebook เพราะในสังคมของ Twitter นั้น คนจะไม่นิยมและไม่ยินดีรับข้อมูล Hard Sale เพราะธรรมชาติของคนที่เล่น Twitter นั้นจะใช้ Twitter เพื่อสื่อสารเป็นหลักทั้งและในสังคมของ Twitter จะมีความเป็นเพื่อนพ้องกันสูง และข้อความที่จะสื่อสารนั้นจะต้องเป็นมีความเป็นเพื่อนและเป็นข้อความเป็นที่ประโยชน์หรือเป็นที่สนใจเท่านั้น หากเป็นข้อความทางการตลาดตรงๆ แข็งๆ อาทิ โปรโมชั่นสินค้า มักจะไม่ได้รับการต้อนรับจากสังคมตรงนี้เท่าที่ควร และส่วนใหญ่มักจะถูกต่อต้านด้วยซ้ำไป

นอกจากนี้ การสื่อสารกับกลุ่มคนบน Twitter ยังสามารถจัดหมวดหมู่ของ “ข้อความ” ได้โดยการใส่ Hastag # เพื่อให้ง่ายต่อการติดตามและประเมินผลของการสื่อสารเรื่องนั้นๆ ว่าได้รับความสนใจและถูกพูดถึงมากน้อยเพียงใด ซึ่งผู้ประกอบการสามารถปรับใช้มาเป็นโค้ดหรือรหัสในการรับโปรโมชั่นได้ อาทิ ลูกค้ารายใดนำโค้ดที่เราให้ไป ณ ช่วงเวลานั้นมาแสดงจะได้รับส่วนลดหรือของกำนัลจากทางบริษัทเมื่อมาใช้บริการ หรืเมื่อมาซื้อสินค้า เป็นต้น ซึ่งล่าสุด Twitter เองเริ่มมีฟังก์ชั่นให้จัดกลุ่มของ Follower ที่อยู่ในสังคมของเราได้ตามเงื่อนไขที่เราเองสามารถกำหนดเองได้ เพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสาร Message ไปยังกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจตรงกัน

ทั้งนี้รูปแบบการสื่อสารบนโลกของ Social Media อย่าง Twitter นั้นจะต้องอิงอยู่บนรูปแบบของความสัมพันธ์ฉันท์ “เพื่อน” มากกว่าในฐานะ “ผู้ขายกับผู้ซื้อ” และข้อมูลที่จะได้รับการต้อนรับจากสังคมตรงนี้จะต้องเป็นข้อมูลที่ทำให้เขาสามารถมีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งได้ ดังนั้นการสื่อสารกับคนใน Twitter จะต้งทำผ่านบทสนทนาที่เป็นกันเอง โดยข้อความที่สื่อสารนั้นโดยมากจะเป็นการพูดคุยฉันท์เพื่อน แต่ก็แฝงด้วยข้อความทางการตลาดบ้างเล็กน้อยแบบเนียนๆ และแทรกการตลาดแบบตรงๆ ได้ในบ้างในบางจังหวะ ประหนึ่งว่า “เพื่อนเอาโปรโมชั่น เอาอะไรดีดีมาบอกเพื่อน” แบบนี้ถึงจะประสบความสำเร็จ

ดังนั้น องค์กรธุรกิจที่ต้องการปักธงใน Twitter จะต้องใช้เวลาและจะต้องมีลงทุนเรื่องคนเพื่อให้มาดูแลรับผิดชอบกับช่องทางการสื่อสารนี้โดยเฉพาะ เพราะว่าแอคเคาน์ที่เปิดในนามองค์กรธุรกิจนั้นเป็นเสมือนตัวตนจริงบนสังคมออนไลน์นั้น ซึ่งหากจะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั้น “แอคเคาน์” นั้นจะต้องมีความถี่ในการปฏิสัมพันธ์กับคนในสังคมนั้นอย่างสม่ำเสมอ เพราะความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนนั้นมิได้สร้างขึ้นได้ชั่วข้ามคืน

ซึ่งข้อดีมากประการสำคัญของ Social Network Marketing คือใช้เงินน้อยแต่ใช้สมองมากเพราะฉะนั้น ข้อจำกัดเรื่องเงินทุนในการตลาดของผู้ประกอบการเอสเอ็มดีจะหมดไป อย่างไรก็ดี การตลาดจะต้องเป็นการตลาดแบบผสมผสานกนระหว่างสื่อเก่ากับสื่อใหม่ (Integrated Marketing) สำหรับศาสตร์และศิลป์ในการผสมสัดส่วนของการตลาดโดยใช้ทั้งสื่อเก่าและใหม่นั้นเป็นเรื่องของการประลองฝีมือกันระหว่างนักการตลาด ที่ต้องเข้ามาเรียนรู้และเข้าใจถึงอานุภาพและประโยชน์ที่เขาจะได้รับ หากรู้จักใช้ Social Network Marketing ให้เป็นนั่นเอง …..

View :2847