Archive

Posts Tagged ‘Market’

จับตา “ตลาดสมาร์ทโฟน” แข่งดุและเดือด

August 1st, 2010 No comments

การแข่งขันกันอย่างเข้มข้นของผู้ผลิตเครื่องโทรศัพท์มือถือระหว่างแพลตฟอร์มไอโฟน (iPhone) ซึ่งก็คือ iOS และแอนด์ดรอยด์ (Android) จนฝุ่นตลบในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หากมองให้ดีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดนั้นผลประโยชน์น่าจะตกอยู่กับผู้ใช้งาน แต่หากเครื่องโทรศัพท์สมาร์โฟน (Smart Phone) ดีโดยลำพังก็คงไม่สามารถส่งให้กระแสสมาร์ทโฟนแรงได้ขนาดนี้ แต่เพราะรูปแบบการทำธุรกิจของสมาร์ทโฟนได้เปลี่ยนจากการ “สินค้า” (Product) มาสู่การขาย “บริการ” (Service) ต่างหากคือ จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ที่ทำให้การตอบรับสมาร์ทโฟนถึงได้เติบโตแบบก้าวกระโดดเยี่ยงนี้

เริ่มจากการปฏิวัติรูปแบบการขายเครื่องโทรศัพท์ของสตีฟ จ๊อบ ที่เปลี่ยนจากการขายสินค้าคือเครื่องโทรศัพท์มาเป็นการขายบริการคือแอพพลิเคชั่นจำนวนมหาศาลที่จะตอบโจทย์ทุกความต้องการใช้งานในทุกรูปแบบการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในชีวิตประจำวันของผู้คน ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร นักเรียน นักศึกษา นักธุรกิจ แม่บ้าน นักบริหาร เป็นต้นคุณก็จะเจอแอพพลิเคชั่นที่ตรงกับความต้องการของคุณอย่างแน่นอน เพราะในตลาดแอพพลิเคชั่น (iTune) ได้เตรียมแอพพลิเคชั่นไว้รอการใช้งานมากถึงกว่า 200,000 รายการ ซึ่งจำนวนแอพพลิเคชั่นก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

การใส่นวัตกรรมบริการ (Service Innovation) เข้ามาในสินค้าของแอปเปิลเป็นตัวกระตุ้นให้ค่ายยักษ์ใหญ่อย่าง Google เองก็เดินตาม เพราะคงปฏิเสธไม่ได้ว่ารูปแบบการทำธุรกิจของสมาร์ทโฟนแพลตฟอร์มแอนด์ดรอยด์ (Android) ที่ทีตลาดแอพพลิเคชั่นที่ชื่อว่า “มาร์เก็ต” (Market) นั้นละหม้ายคล้ายคลึงกับตลาดแอพพลิเคชั่นของ iPhone ที่ชื่อว่า (iTune) สิ่งที่ต้องแข่งขันกันนอกจากจะพยายามพัฒนาเครื่องโทรศัพท์ของตนให้มีฟีเจอร์และฟังก์ชั่นล้ำกว่าแล้วคงปฏิเสธไม่ได้ว่าทั้งสองค่ายคงจะต้องแข่งขันกันสร้าง “บริการ” หรือแอพพลิเคชั่นให้มากพอและตรงใจพอกับความต้องการของปริมาณลูกค้าที่ครอบครองเครื่องสมาร์ทโฟนนั่นเอง และนี่คือ โอกาสการตลาดของเหล่านักพัฒนาแอพพลิเคชั่นทั่วโลกไม่เว้นแม้แต่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทย ….

หมอจิม แห่ง “จิมมี่ ซอฟต์แวร์” (Jimmy Software) บริษัทนักพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์พกพาสัญชาติไทย ให้มุมมองไว้ว่า ปรากฏการณ์การเติบโตของตลาดสมาร์ทโฟนเป็นโอกาสแนๆ สำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ เพราะช่วงนี้คือช่วงขาขึ้นของตลาดสมาร์ทโฟน ไม่เพียงแค่แพลตฟอร์มของ Android และ iPhone เท่านั้น แต่ยังมีอีกแพลตฟอร์มที่น่าจับตาอย่างยิ่งนั่นคือ Windows Phone 7 ที่คาดว่าน่าจะออกมาสร้างกระแสในตลาดราวปลายปี 2553 นี้

iPhone คือ “เจ้าตลาด”
Android คือ “ผู้ท้าชิง”

คุณหมอจิมวิเคราะห์ให้ฟังว่า จุดดีของ iPhone คือ เป็นตลาดเปิด ประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ของแอพพลิเคชั่นมักจะได้รับการอนุมัติให้ขายได้ โดยระยะเวลาในการอนุมัติเพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น ซึ่งทำให้เป็นโอกาสเปิดสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยอย่างมาก แต่จุดเสีย คือ iPhone เป็นแพลตฟอร์มที่มีแอพพลิเคชั่นเยอะมาก คู่แข่งขันในตลาดค่อนข้างมากทำให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยจะต้องเบียดแทรกเข้าไปในอยู่ท่ามกลาง 200,000 กว่าแอพพลิเคชั่น

ในขณะที่ Android เน้นการตลาดคนละรูปแบบ คือ ตลาดสำหรับแอพพลิเคชั่นค่อนข้างปิดอย่างน้อยที่สุดในประเทศไทย เราไม่สามารถสมัครเอาแอพพลิเคชั่นไปฝากขายใน “Market” ได้ เพราะแอพพลิเคชั่นใน “Market” เน้น Free App มากกว่า ซึ่งเป็นการยากมากกว่าที่แอพพลิเคชั่นของไทยจะได้ค่าโฆษณา เพราะต้องมี Content ที่คนสนใจ ปัจจุบันแอพพลิเคชั่น ส่วนใหญ่ของ “Market” ยังเป็นฟรีแอพพลิเคชั่น ซึ่งรายได้สำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์จากโมเดลนี้จะมาจากค่าโฆษณาที่ขึ้นอยู่ในตัวแอพพลคิชั่น ในขณะที่แอพพลิเคชั่นส่วนใหญ่ของ iPhone คือแอพพลิเคชั่นเสียเงินดังนั้นรายได้จะมาจากการขายแอพพลิเคชั่นโดยตรง ซึ่งนักพัฒนาซอฟต์แวร์จะได้รายได้ 70 เปอร์เซ็นต์

“ณ ตอนนี้ จำนวนเครื่องโทรศัพท์บนแพลตฟอร์ม iOS ยังสูงกว่า Android แต่อัตราการขยายตัวของ Android สูงกว่า iOS ซึ่งคาดว่าในอีก 1-2 ปีข้างหน้า (หรืออาจจะเร็วกว่านั้น) จำนวนเครื่องสมาร์ทโฟนที่เป็น Android น่าจะแซง iOS แต่ทั้งนี้กระแสของ Apple ยังคงเร็วและแรงเพราะหากพูดถึงแพลตฟอร์ม iOS ต้องนับรวมทั้ง iPhone, iPod Touch และ iPad ทำให้ขนาดตลาดของ iOS จะค่อนข้างใหญ่ เจ้าของคอนเทนต์เจ้าใหญ่กระโดดลงมาเล่นมาพัฒนาแอพพลิเคชั่นบน iOS เอง ทำให้ให้ตลาดนี้ยิ่งเติบโตและน่าสนใจ และคาดกันว่าจะเข้ามาเบียดตลาดคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คือคาดว่าตลาดสมาร์ทโฟนจะเข้ามาเบียดตลาดพีซีอย่างแน่นอนในอนาคต แต่ตรงนี้คือน่านน้ำใหม่ที่สดใสกว่าของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทย เพราะเดิมพัฒนาซอฟต์แวร์บนพีซี ก็ถูกจำกัดแต่ตลาดในประเทศเท่านั้น แต่พอเป็นสมาร์ทโฟน อาทิ iOS พัฒนาเสร็จส่งเข้าไปที่ iTune ซึ่งตลาดใหญ่กว่า เพราไปทั่วโลก รอแค่ 2 อาทิตย์ก็ขายได้แล้ว ความง่ายของตลาดเป็นการเปิดโอกาสให้นักพัฒนา แต่ในขณะเดียกวันความง่ายของการเข้าถึงตลาดก็เป็นการนำพาคู่แข่งมาเป็นจำนวนมากเช่นกัน”

Windows Phone 7 คือ “ตัวแปร”

สำหรับ Windows Phone 7 นั้น หมอจิม บอกว่า มีโอกาสสูงที่จุด Peak ของ Windows Phone 7 น่าจะอยู่ราวเดือนธันวาคม 2553 นี้ ที่จะได้เห็นการสู้กันระหว่าง Windows Phone 7 กับ iOS ซึ่งไมโครซอฟท์ใช้กลยุทธ์ด้วยการทุ่มทรัพยากรทั้งหมดที่มีอยู่ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Windows Live และxBox ซึ่งเป็นโปรดักส์ที่ประสบความสำเร็จมาสู้กับ iPhone ทำให้โอกาสที่ Windows Phone 7 จะมีสูง เพราะราว 60 เปอร์เซ็นต์ของตลาด iPhone อยู่ที่เกม ฉะนั้นการที่ไมโครซอฟท์เอา xBox มาอยู่ใน Windows Phone 7 เพื่อต่อกรกับ iPhone นั้นก็ค่อนข้างสมน้ำสมเนื้อ

“ตลาดสมาร์ทโฟนในอีก 2-3 ปีข้างหน้า จะเป็นสนามการต่อสู้ของ 3 แพลตฟอร์มนี้ คือ Windows Phone 7, iOS และ Android  ปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคใหม่ของสมาร์ทโฟน ตอนนี้มันเหมือนช่วงตลาดพีซีช่วงที่เปลี่ยนจาก DOS มาเป็น Windows ฉะนั้นเวลาพูดถึงตลาดสมาร์ทโฟนในปัจจุบันมันจะยังเบลอๆ เพราะมีการอ้างตัวเลขจากเจ้าตลาดเดิม คือ โนเกีย แต่หากจะนับเฉพาะตลาดสมาร์ทโฟนตามรูปแบบธุรกิจใหม่ที่มีตลาดแอพพลิเคชั่นรองรับการใช้งานแล้ว ปัจจุบันสัดส่วนตลาดหลักของสมาร์ทโฟนในตลาดอเมริกา คือราว 45 เปอร์เซ็นต์ ยังเป็นของ iOS ในขณะที่ราว 15-20 เปอร์เซ็นต์เป็นของ Android ในขณะที่สัดส่วนของ Windows Phone 7 ยังไม่มี ซึ่งตลาดรวมสมาร์ทโฟนทั้ง 3 แลพตฟอร์มจะเติบโตขึ้นเบียดส่วนแบ่งตลาดบนของโนเกีย ส่วน BlackBerry นั้นน่าจะเป็นตลาดเฉพาะ (Niche Market) จะไม่ได้มาแข่งกับ 3 แพลตฟอร์มนี้”

แต่ส่วนแบ่งการตลาดโลก ณ ปัจจุบัน โนเกียยังเป็นเจ้าตลาดอยู่ รองลงมาคือ iOS ตามด้วย BlackBerry และ Android ซึ่ง Android น่าจับตามมากเพราะอัตราการเติบโตค่อนข้างเร็ว เนื่องจากมีผู้ผลิตเครื่องหลายราย

สำหรับ Windows Mobile 6.5 นั้น ปัจจุบันยังมีแอพพลิเคชั่นจำนวนมากที่ทำงานบนแพลตฟอร์ม Windows Mobile 6.5 ซึ่งจะเป็นคนละตลาดกับ Windows Phone 7 ตลาดในส่วนนี้จะ “Flat Growth” เรียกว่า “ไม่ตายแต่ไม่โต” เพราะจะถูกจำกัดการใช้งานกับแอพพลิเคชั่นเฉพาะเชิงธุรกิจเท่านั้น เท่ากับว่า สำหรับค่ายไมโครซอฟท์จะมี 2 แพลคฟอร์มของสมาร์ทโฟน คือ  Windows Mobile 6.5 กับ Windows Phone 7 ซึ่งในงาน NIX ไมโครซอฟท์กล่าวว่าจะยังคงรักษาสถานะของทั้ง 2 OS นี้เอาไว้

สำหรับเจ้าตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ของโลกอย่างโนเกียนั้น นับว่ากำลังเผชิญความท้าทายครั้งใหญ่ เพราะตลาดสมาร์ทโฟนในอดีตกับปัจจุบันกำลังเปลี่ยนรูปแบบของธุรกิจอย่างสิ้นเชิง หรืออาจกล่าวได้ว่า ตลาดสมาร์ทโฟนกำลังเลื่อนเข้าสู่ตลาดคอนซูเมอร์ ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดมหึมาหากเทียบกับตลาดสมาร์ทโฟนในอดีตที่ฐานลูกค้าใหญ่คือภาคธุรกิจ ซึ่งตลาดสมาร์ทโฟนในปัจจุบันที่เติบโตอย่างรวดเร็วนี้เป็นเพราะตลาดสมาร์ทโฟนได้สร้างให้เกิดระบบนิเวศของอุตสาหกรรม (Ecosystem) นั่นคือ การเกิดขึ้นของตลาดแอพพลิเคชั่น (App Store/ App Market) ขนาดใหญ่ ซึ่งระบบนิเวศของอุตสาหกรรม (Ecosystem) ของตลาดสมาร์ทโฟนสำหรับคอนซูเมอร์นั้นมีขนาดมหึมามากกว่าระบบนิเวศของอุตสาหกรรม (Ecosystem) ของตลาดสมาร์ทโฟนสำหรับธุรกิจ

Developers “ตัวแปร” ชัยชนะในสนามสมาร์ทโฟน

อย่างไรก็ดี การจะประสบความสำเร็จในตลาดสมาร์ทโฟนได้นั้น ผู้ผลิตจะต้องดึงดูดนักพัฒนาซอฟต์แวร์ให้มาพัฒนาแอพพลิเคชั่นป้อนตลาดแอพพลิเคชั่นให้ตนเอง ซึ่งหากประเมินขุมกำลังกันแล้วนับว่า iPhone ยังคงเป็นต่อ Android และ Windows Phone 7 อยู่ เพราะ iPhone เน้นที่แอพพลิเคชั่นที่ผู้ใช้ต้องจ่ายเงิน (Paid Apps) ทำให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์อยากจะพัฒนาแอพพลิเคชั่นป้อน iPhone มากกว่า แต่ Android เพิ่งเริ่มและแอพพลิเคชั่นส่วนมากยังเป็นของฟรี (Free Apps) ในขณะที่ Windows Phone 7 มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เคยพัฒนาแอพพลิเคชั่นป้อน xBox อยู่ในมือแล้วจำนวนมากทำให้ค่อนข้างจะได้เปรียบในเรื่องนี้

“โนเกียพยายามเอา Symbian มาทำเป็นโอพ่นซอร์สหวังว่าจะได้รับความนิยมเหมือนกับ Android และโนเกียยังจับมือกับอินเทลออก MeeGo (Mobile Linux Platform) และปลายปีจะออก MeeGo มาสู้กับ iPad ก็นับว่าเดินมาในทางเดียวกัน คือ มีตลาดแอพพลิเคชั่น แต่ต้องอย่าลืมว่านักพัฒนาซอฟต์แวร์เองก็มีอยู่จำกัด ซึ่งแพลตฟอร์มไหนสามารถให้โอกาสและผลตอบแทนที่เร็วกว่าเขาก็จะไปพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับแพลตฟอร์มนั้น ซึ่งในปัจจุบันก็คือ iOS กับ Android”

สำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์เองนั้นแม้ว่าตลาดในปัจจุบันจะค่อนข้างเปิด แต่ทว่าการที่ตลาดเปิดตลาดง่ายก็นำมาซึ่งคู่แข่งจำนวนมหาศาล ตัวอย่างเช่น iOS ปัจจุบันมีแอพพลิเคชั่นบน iTune มากกว่า 200,000 ชิ้น และในแต่ละวันมีแอพพลิเคชั่นใหม่เข้ามาขายบน iTune ราว 400 แอพพลิเคชั่นต่อวัน อายุเฉลี่ยของแอพพลิเคชั่น (App Lifecycle) บน iTune อยู่ที่ราว 1 เดือน หมายความว่านักพัฒนาซอฟต์แวร์จะต้องพัฒนาแอพพลิเคชั่นอย่างไม่หยุดหย่อน

อย่างไรก็ดีแม้ว่าโมเดลตลาดแอพพลิเคชั่นนี้จะเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูง แต่ทว่าโมเดลตลาดแอพพลิเคชั่นก็เป็นโมเดลที่เปิดโอกาสความสำเร็จให้กับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ค่อนข้างมาก เพราะว่าหากแอพพลิเคชั่นไหน “เข้าตา” หรือ “โดนใจ” ผู้ใช้งานแล้วสามารถสร้างจำนวนการดาวน์โหลดได้มหาศาลก็จะสามารถสร้างได้รายได้ให้กับนักพัฒนารายนั้นได้อย่างมากเช่นเดียวกัน

“ข้อดีของรูปแบบธุรกิจนี้ คือ เหมือนตลาดหนังตลาดเพลง ที่หากผลงานชิ้นไหนโดนหรือฮิต โอกาสสร้างรายได้มหาศาลก็มี ซึ่งความยากเชิงเทคโนโลยีนั้นไม่ยาก แต่ยากตรงเรื่องความเข้าใจในความต้องการของลูกค้าซึ่งอยู่ในคนละวัฒนธรรมกับเรา ตลาดใหญ่ของการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นของ iTune นั้นอยู่ในตลาดอเมริกา ที่ตกเฉลี่ยแล้วจะมีการดาวน์โหลด 15,000-20,000 ดาวน์โหลดต่อวัน ในขณะที่ปริมาณการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นสูงสุดในไทย คือ 40 ดาวน์โหลดต่อวัน ขนาดตลาดแตกต่างกันมาก”

“ฉะนั้น การออกแบบและพัฒนาแอพพลิเคชั่นจะต้องทำเป็นสากล ซึ่งแอพพลิเคชั่นที่โดนใจตลาดไม่จำเป็นต้องเป็นต้องเป็นแอพพลิเคชั่นขนาดใหญ่ แต่ต้องถูกใจตลาด เพราะตลาดนี้เป็นตลาดคอนซูเมอร์ล้วนๆ ตัวอย่างเช่น แอพพลิเคชั่นรวมเสียงตด ที่ชื่อ iFarp มียอดดาวน์โหลดวันละ 15,000 ดาวน์โหลดต่อวัน” หมอจิมกล่วาทิ้งท้ายไว้อย่างน่าสนใจ

View :4004