Archive

Posts Tagged ‘Software’

“ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส”: “คำตอบ” ของการลงทุนซอฟต์แวร์สำหรับ SME

June 1st, 2010 No comments

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าในยุคที่ผู้ประกอบการต่างต้องพึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Techonology:IT) หรือไอที เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันที่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น นอกจากนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ทางธุรกิจที่ต้องพึงมีอย่างต่อเนื่องแล้ว ผู้ประกอบการยังคงต้องจับจ้องและลงทุนกับนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นมาใหม่อย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ นำมาซึ่งช่องว่างของการแข่งขันระหว่างผู้มีความสามารถในการลงทุนและเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้กับผู้ที่ไม่สามารถซึ่งส่วนมากล้วนแล้วแต่เป็นธุรกิจขนาดกลางและเล็ก หรือเอสเอ็มอี (Small and Medium Enterprise: SME) ที่โดนแรงกดดันจากสองทาง นั่นคือ แรงกดดันที่ต้องการยกระดับคุณภาพการแข่งขันด้วยการใช้ไอที ในขณะที่การที่จะมีไอทีใช้สำหรับเอสเอ็มอีดูเหมือนจะเป็นเรื่องของ “ต้นทุน” ที่ต้องคิดหนัก

ทว่าปัญหาเหล่านี้ของเอสเอ็มอีดูจะมีทีท่าคลีคลายไปในทางที่ดีขึ้นเนื่องเพราะปัจจุบันมีเทคโนโลยี ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส(Open Source Software) ที่เข้ามาเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถลงทุนในระบบซอฟต์แวร์ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าได้ ซึ่งกระแสของการใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สในประเทศไทยนั้นมีมานานหลายปีแล้ว แต่ดูเหมือนว่าจะยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก จนกระทั่งไม่กี่ปีที่ผ่านนี้ที่กระแสการตื่นตัวต่อการใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สในประเทศไทยมีความคึกคักมากขึ้นเมื่อบริษัทขนาดใหญ่และหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจต่างหันมาลงทุนในระบบซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สกันอย่างเอาจริงเอาจังและอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเริ่มเห็นผล

โอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์”: ถูกกว่า…แต่ไม่ฟรี

แต่บรรดาเอสเอ็มอีเองกลับเป็นกลุ่มที่ยังมีสัดส่วนของการใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สน้อยกว่าบริษัทขนาดใหญ่ ทั้งนี้เป็นเพราะเอสเอ็มอียังคงขาดความรู้ความเข้าใจในการนำซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สมาประยุกต์ใช้ในองค์กร เอสเอ็มอีส่วนมากยังคงมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส คือ “ของฟรี” ดังนั้นหากบริษัทของตนจะลงทุนในซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สบริษัทจะไม่มีค่าใช้จ่ายเลย ซึ่งความเข้าใจดังกล่าวนอกจากไม่ตรงความจริงแล้วยังนำมาซึ่งปัญหาในการเริ่มทดลองใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สในบรรดาเอสเอ็มอีหัวก้าวหน้าที่ลงทุนกับซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สแล้วไม่ประสบความสำเร็จ เพราะไม่มีการวางแผนการลงทุนในระบบซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ที่ชัดเจน

ดนุพล สยามวาลา กรรมการผู้จัดการ บริษัทไอซ์ โซลูชั่น จำกัด ผู้พัฒนาและให้บริการโอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์ และในฐานะประธานชมรมผู้ประกอบการโอเพ่นซอร์ส (BOSS) สังกัดสมาคมสมาพันธ์โอเพ่นซอร์สแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เอสเอ็มอีจะต้องทำความเข้าใจเรื่องการใช้โอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์เสียก่อนว่าซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สนั้นมีค่าใช้งานแต่ต่ำกว่าเนื่องจากไม่ต้องจ่ายค่าไลเซ่นส์ทุกๆ ไลเซ่นส์ ในทุกๆ ปี จากนั้นเอสเอ็มอีจะต้องถามตัวเองก่อนว่าตนเองนั้นต้องการนำซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อะไรเป็นหลัก เพื่อลดค่าใช้จ่ายเรื่องค่าไล่เซ่นส์ หรือเพื่อเพิ่มศักยภาพการทำธุรกิจ

“ที่ผ่านมาผู้ใช้เองยังไม่มีความรู้มากนักจึงนำซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สมาใช้เพื่อทดแทนซอฟต์แวร์เดิม อาทิ เอา Open Office มาแทน Microsoft Office เลยทันทีโดยมิได้มีการวางแผนล่วงหน้าในการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานภายในองค์กรและไม่ได้วางแผนการลงทุนในระบบไอทีในระยะยาวไว้ ทำให้พอใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สไปได้สักระยะหนึ่งจึงเกิดปัญหา”

ดนุพลกล่าวว่า เริ่มต้นเอสเอ็มอีจะต้องตรวจสอบความต้องการขององค์กรว่าต้องการนำซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สไปใช้ในกระบวนการทำงานใด และเพื่อวัตถุประสงค์อะไร ซึ่งจะต้องวางแผนไว้ล่วงหน้าให้ชัดเจน

ปัจจุบันซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สสำหรับระบบงานขององค์กรธุรกิจในทุกระดับของการทำงาน ได้แก่ ระดับโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) อาทิ ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ (Linux) ระดับของการสื่อสาร (Communication) อาทิ ระบบ Collaboration ระบบ IP Phone และระบบ Voice over IP; และระดับระบบงานด้านธุรกิจ (Business Applications) อาทิ ระบบอีอาร์พี (ERP: Enterprise Resource Planning) ระบบ Document Management และระบบบริหารจัดการข้อมูล Content Management System (CMS)

“ปัจจุบันระบบงานซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สที่กำลังได้รับความนิยมมากได้แก่ ระบบอีอาร์พี ระบบ Open Office และระบบบริหารจัดการข้อมูล (CMS: Content Management System) ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นระบบซอฟต์แวร์ระดับระบบงานด้านธุรกิจ” ดนุพลกล่าว

โอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์”: ลดค่าใช้จ่าย ….ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์:

ขณะที่สัมพันธ์ ระรื่นรมย์ กรรมการผู้จัดการบริษัท โอเพนซอร์ส ดิเวลอปเมนต์ จำกัด ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ที่มีประสบการณ์ในการดูแลโครงการระดับประเทศอย่างลินุกซ์ทะเลและออฟฟิศทะเล  และเป็นผู้พัฒนาซีดีรวมซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สบนวินโดวส์ที่ชื่อว่า “จันทรา” (Chantra) ของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือ ซิป้า (SIPA: Software Industry Promotion Agency) กล่าวว่า การใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สในองค์กรขนาดใหญ่กับในองค์กรขนาดกลางและเล็กนั้นจะมีความแตกต่างกัน องค์กรขนาดใหญ่จะมีแรงจูงใจในการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเพื่อลดต้นทุนค่าไลเซ่นส์ซอฟต์แวร์ ในขณะที่องค์กรขนาดกลางและเล็กจะมีแรงจูงใจในการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเพื่อลดการละเมิดซอฟต์แวร์และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

ทั้งนี้ เนื่องจากซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเป็นซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ที่มีการพัฒนาแบบเปิด และไม่มีค่าใช้จ่ายในการนำไปใช้งาน จึงเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์กับองค์กร ไม่ว่าจะเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อซอฟต์แวร์และอัพเกรดระบบ นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาความยุ่งยากของค่าไลเซ่นส์ซอฟต์แวร์และความเสี่ยงต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ ลดปัญหาในเรื่องไวรัสและช่องโหว่ของโปรแกรม และลดปัญหาความขึ้นกับผู้ผลิตซอฟต์แวร์เพียงรายเดียวที่มีอำนาจในการตัดสิน ใจอนาคตการใช้งานไอทีขององค์กร

“ต้นทุนของการใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส จะอยู่เพียงแค่ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนซอฟต์แวร์ทั้งหมดหากใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ ในขนาดของระบบและจำนวนผู้ใช้งานที่เท่ากัน โดยต้นทุนของการใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สจะเป็นต้นทุนค่าพัฒนา ปรับปรุง ติดตั้ง และดูแลระบบ รวมถึงการฝึกอบรมการใช้งาน” สัมพันธ์กล่าว

ทั้งนี้ ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สที่เป็นที่ต้องการของผู้ใช้งานทั้งองค์กรขนาดใหญ่และขนาดกลางและเล็กได้แก่ โอเพ่นออฟฟิศ (OpenOffice.org) ซึ่งเป็นชุดซอฟต์แวร์ออฟฟิศที่มีความสามารถและการใช้งานใกล้เคียงกับ Microsoft Office ทำงานได้บนหลายแพลตฟอร์มทั้ง Windows, Linux, Mac OS X ฯลฯ OpenOffice.org ประกอบด้วยโปรแกรมคือ OpenOffice.org Writer (แทน Word), OpenOffice.org Calc (แทน Excel), OpenOffice.org Impress (แทน PowerPoint) และ OpenOffice.org Base (แทน Access) จึงสามารถใช้ทดแทน Microsoft Office ได้ในงานส่วนใหญ่

“เมื่อองค์กรสนใจที่จะเปลี่ยนมาใช้ OpenOffice.org เราสามารถช่วยให้การดำเนินการง่ายขึ้น ตั้งแต่ขั้นตอนการตัดสินใจ วางแผนกระบวนการ ออกแบบนโยบาย ทำโครงการนำร่อง อบรมพนักงาน และ support ทำให้การเปลี่ยนมาใช้ OpenOffice.org เป็นเรื่องง่ายสำหรับองค์กรทุกขนาด” สัมพันธ์กล่าว

บ.ซอฟต์แวร์รวมตัวตั้งชมรมให้บริการซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส:

ปัจจุบัน มีบริษัทซอฟต์แวร์ที่ให้บริการด้านซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สอยู่เป็นจำนวนมาก และบริษทเหล่านี้เริ่มรวมตัวกันเพื่อนำเสนอบริการระบบงานซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สให้กับลูกค้า ดนุพล กล่าวว่า การรวมตัวกันของบริษัทซอฟต์แวร์ด้านโอเพ่นซอร์สในนาม ชมรมผู้ประกอบการโอเพ่นซอร์ส (BOSS) สังกัดสมาคมสมาพันธ์โอเพ่นซอร์สแห่งประเทศไทย (http://www.oss-business.com) นี้เพื่อเป็นแหล่งรวมของผู้ให้บริการและเพื่อให้ลูกค้าสามารถไว้วางใจว่าจะได้รับการบริการด้านซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สที่มีคุณภาพในจำนวนที่มากพอที่จะให้บริการได้ ซึ่งภายในชมรมฯ จะประกอบด้วยบริษัทซอฟต์แวร์ที่พัฒนาซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส 10 ราย ที่มีความเชี่ยวชาญในการให้บริการซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สในแต่ละด้าน ได้แก่ ลีนุกซ์ ระบบอีอาร์พี Open Office และ ระบบ CMS เป็นต้น

“เราได้ให้บริการพัฒนา ติดตั้ง ดูแลระบบ และฝึกอบรมการใช้งานให้กับลูกค้าไปเป็นจำนวนมาก การให้บริการของบริษัทในชมรมฯ นั้นจะเน้นการร่วมกันให้บริการเพื่อให้ลูกค้าได้รับประโยชน์สูงสุดจากความเชี่ยวชาญของผู้ประกอบการแต่ละราย โดยในแต่ละทีมที่ให้บริการลูกค้าจะประกอบด้วยบริษัทที่ความเชี่ยวชาญในซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สคนละด้านกันแต่ร่วมกันให้บริการ ภายในสิ้นปีนี้ทางชมรมฯตั้งเป้าว่าเราจะเพิ่มจำนวนบริษัทซอฟต์แวร์สมาชิกอีก 10 ราย ทั้งนี้เพื่อขยายศักยภาพในการให้บริการลูกค้าที่นับวันจะมีความต้องการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก” ดนุพลกว่า

พันธกิจของชมรมฯ อายุปีเศษแห่งนี้ คือการมุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สให้กับผู้ประกอบการในประเทศ ให้สามารถมีทางเลือกในการลงทุนระบบซอฟต์แวร์ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าแต่ได้ประสิทธิภาพของการทำงานที่ดีขึ้น ในขณะที่มีผู้ให้บริการที่มีความรู้ในหลายด้านและ เชื่อถือได้ นอกจากนี้ ชมรมฯ ยังตั้งเป้าว่าจะให้การฝึกอบรมการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สให้กับผู้ประกอบการเพื่อต่อยอดการใช้งานระบบซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สในองค์กร ฉะนั้น หากผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กรายใดมีความสนใจอยากหันมาใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส แต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี ก็สามารถมาเริ่มต้นที่ชมรมฯ นี้ได้ทันที

ดังนั้น หากจะใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สให้เต็มที่ เอสเอ็มอีจะต้องทำความเข้าใจเสียใหม่ว่า ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สนั้น เป็นซอฟต์แวร์ที่ “ฟรี” จริงแต่เฉพาะ ค่าลิขสิทธิ์ หรือค่าไลเซ่นส์ซอฟต์แวร์ (Software License) แต่มีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบให้ตรงตามความต้องการในการใช้งานขององค์กรนั้นๆ (Customization) การติดตั้งและดูแลระบบ (Implementation and Maintenance) ให้กับบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส และที่สำคัญผู้ประกอบการจะต้องมีการวางแผนในการลงทุนระบบซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ว่าจะใช้ระบบอะไรบ้าง อย่างไร

View :3357
Categories: Software Tags: , ,

แนวโน้ม Business Transformation สู่ “เศรษฐกิจฐานบริการ”

January 24th, 2010 No comments

คาดการณ์กันว่าในช่วง 3-5 ปีข้างหน้านี้จะเกิดการปฏิรูปการทำธุรกิจ (Business Transformation) จากธุรกิจบนฐานของ “สินค้า” (Product) ไปสู่ธุรกิจบนฐานของ “บริการ” (Service) ไม่เพียงแต่รูปแบบการธุรกิจจะเปลี่ยนไปเท่านั้น แต่การปฏิรูปธุรกิจในครั้งนี้จะนำไปสู่การเคลื่อนของระบบเศรษฐกิจจากระบบเศรษฐกิจฐานการผลิตไปสู่ระบบเศรษฐกิจฐานบริการ (Service-based Economy) การเปลี่ยนผ่านในครั้งนี้นำมาทั้งโอกาสและภัยคุกคาม ธุรกิจที่ตระหนักและพร้อมเท่านั้นที่จะสามารถมองเห็นแนวโน้มนี้และหยิบคว้ามาเป็นโอกาสทางธุรกิจ…

ในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างชาติตะวันตกได้เริ่มตระหนักและเดินหน้าสู่เศรษฐกิจฐานบริการมาหลายปีแล้ว ภาครัฐของประเทศต่างๆ เหล่านี้ได้ออกแรงอย่างเต็มที่เพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ระบบเศรษฐกิจฐานบริการ (Service-based Economy) ทั้งการโหมโปรโมทเพื่อสร้างการรับรู้ของภาคธุรกิจต่อการมาของแนวโน้มดังกล่าวไปจนถึงการสนับสนุนเงินทุนและส่งเสริมงานวิจัยจำนวนมากเพื่อช่วยให้ภาคธุรกิจของประเทศมีความพร้อมอย่างเต็มที่ในสนามแข่งขันใหม่ที่กำลังจะเข้มข้นในอนาคตอันใกล้นี้

(รูปนำมาจาก http://wiki.nectec.or.th/ru/IT630_2_2008Students/KajohnsakThiawsawangReport)

‘Service’ หัวใจของการแข่งขันในยุค Service-based Economy:

สำหรับประเทศไทยนั้นเริ่มมีสัญญาณของการรับรู้แนวโน้มดังกล่าวจากภาครัฐผ่านยุทธศาสตร์ชาติ“ระบบเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์” หรือ Creative Economy แต่ทว่ายังมีความสับสนอยู่มากในระหว่างทางที่จะทำให้เกิดผลในเชิงปฏิบัติ ซึ่งแท้จริงแล้ว Creative Economy นั้นคืออีกด้านของเหรียญเดียวกันกับ ระบบเศรษฐกิจฐานบริการ (Service-based Economy) นั่นเอง

หากกล่าวโดยย่อระบบเศรษฐกิจฐานบริการ (Service-based Economy) คือ รูปแบบของธุรกิจจะหันมาแข่งขันกันที่การบริการมากขึ้น ซึ่งการบริการที่ว่านี้มีด้วยกัน 2 ประเภท บริการประเภทแรก คือ การบริการที่มากับตัวสินค้า (Smart Service) ตัวสินค้ามีความฉลาดมาก ขึ้น สินค้าจะสามารถให้บริการผู้ใช้ได้มากขึ้น เพื่อตอบสนองให้ผู้ใช้งานมีความสะดวกสบายและปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งบริการประเภทนี้ต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอย่างมากและประเภทสินค้าที่เริ่มจะเห็นบริการประเภทนี้ได้แก่ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อาทิ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

บริการประเภทต่อมาคือ บริการที่ผูกติดอยู่กับความเชี่ยวชาญ ความชำนาญและทักษะของคน อาทิ บริการนวดแผนโบราณ เป็นต้น ซึ่งบริการประเภทนี้เป็นน่านน้ำใหม่ของธุรกิจ ขนาดและความใหญ่ของตลาดประเภทนี้ไร้ขอบเขตและข้อจำกัด เพราะรูปแบบของสินค้าในรูปของบริการนี้สามารถเป็นอะไรก็ได้แล้วแต่ว่าธุรกิจนั้นจะสามรถมีความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) มากน้อยเพียงใด และเชื่อกันว่าบริการประเภทนี้จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในอนาคตอันใกล้นี้

ทั้งนี้ รูปแบบการบริการทั้ง 2 ประเภทนี้จะผลักดันให้การแข่งขันในภาคธุรกิจเดินหน้าไปสู่การคิดค้นนวัตกรรมการบริการ โดยมีจุดมุ่งหมายสูงสุดอยู่ที่การให้บริการแบบเบ็ดเสร็จในขั้นตอนเดียว (One-Stop-Service) หรือย่างน้อยก็จะต้องคิดค้นบริการที่ลดขั้นตอนของกระบวนการทำธุรกิจให้เหลือน้อยลง เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจระหว่างกัน และระหว่างลูกค้าเพิ่มมากขึ้น

รัฐบาลต้องให้ความรู้ผู้ประกอบการ:

แต่ไม่ว่าบริการดังกล่าวจะเป็นบริการในรูปแบบใด การที่จะเคลื่อนไปสู่การคิดค้นนวัตกรรมบริการออกมาได้นั้นองค์กรธุรกิจจะต้องเข้าใจเสียก่อนว่าการแข่งขันทางธุรกิจต่อจากนี้ไปจะไม่เหมือนเก่า จะไม่ได้แข่งขันกันที่ประสิทธิภาพการผลิต (Productivity) ต้นทุนการผลิต (Cost Management) การควบคุมคุณภาพสินค้า (Total Quality Control) แต่ธุรกิจจะต้องมีนวัตกรรมบริการ ที่สามารถวัดประสิทธิภาพประสิทธิผลได้ในเรื่องความรู้ ซึ่งเป็นหน้าที่หลักโดยตรงของรัฐบาลที่จะต้องเร่งสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นในภาคเอกชนโดยเร็วเหมือนที่รัฐบาลเคยทำมาครั้งหนึ่งแล้วในอดีตที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดตั้งสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (Thailand Productivity Institute) ขึ้นเพื่อสนับสนุนทุนและงานวิจัยเพื่อช่วยภาคเอกชนเกิดขบวนการเพิ่มผลผลิต (Productivity Movement) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศในระดับสากล

ในประเทศที่พัฒนาแล้ว จะมีสัดส่วนรายได้จากฐานธุรกิจบริการต่อผลผลิตมวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพีสูงถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนา อาทิ ประเทศไทยเรามีสัดส่วนรายได้จากฐานธุรกิจบริการต่อผลผลิตมวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพีเพียงแค่ 40 เปอร์เซ็นต์ ประเทศทีพัฒนาแล้วฐานเศรษฐกิจจะตั้งอยู่บนบริการแต่ประเทศที่กำลังพัฒนาฐานเศรษฐกิจจะตั้งอยู่บนสินค้าจับต้องได้หรือ Physical Goods

ปัญหาในขณะนี้คือ ภาคธุรกิจเอง ณ ตอนนี้ ยังมองไม่ออกว่านวัตกรรมบริการคืออะไร ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานรัฐบาลจะต้องเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจให้เกิดขึ้นในวงกว้าง ต้อมีการสนับสนุนการทำวิจัยในแง่กระบวนการทำธุรกิจ (Business Process) ซึ่งในต่างประเทศรัฐบาลให้สามารถจดเป็นสิทธิบัตรได้ เพราะธุรกิจกำลังจะต้องมาแข่งขันกันที่กระบวนการทำงาน

ปัจจุบันเริ่มมีความเคลื่อนไหวจากหน่วยงานราชการที่เริ่มตื่นตัวไม่ว่าจะเป็นสภาอุตสาหกรรม ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติที่เริ่มมีกิจกรรมและสัมมนาให้ความรู้เกี่ยวกับทิศทางและแนวโน้มของ Service-based Economy กับผู้ประกอบการ

ภาคส่วนธุรกิจในประเทศไทยที่มีโอกาสสูงหากไหวตัวได้เร็ว ได้แก่ภาคธุรกิจท่องเที่ยว อาหาร เกษตร การแพทย์และสาธารณสุข รวมถึงกิจการการให้บริการ (Hospitality Industry)

ผู้ให้บริการไอทีต้องเตรียมพร้อม:

อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) อินเทอร์เน็ต รวมถึง Social Network คือปัจจัยเร่งไปสู่เศรษฐกิจฐานบริการ ที่กำลังจะเปลี่ยนจากฐานการผลิตแบบ Mass Production ไปสู่การผลิตแบบ Mass Customization

ทั้งนี้ภาคธุรกิจที่เป็นผู้ใช้ประโยชน์จากไอทีและบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์จะต้องเริ่มเรียนรู้ที่เข้าใจว่าการนำเอาไอทีเข้ามาใช้ในองค์กรในยุคที่การแข่งขันเบนเข็มไปที่การบริการนั้นจะมีรูปแบบแตกต่างไปจากเดิม จากที่เคยเอาไอทีเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและประสิทธิภาพการทำงาน (Increase Productivity) แต่จากนี้ไปจากเอาไอทีเข้ามาใช้นั้นเพื่อขยายผลของการใช้ไอทีในอีกมิติหนึ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน นั่นคือ มิติของการให้บริการ (Innovative Service) ซึ่งจะมีแรงผลักของเทคโนโลยีใหม่เพื่อสร้างเครื่องมือการแข่งขันของธุรกิจ อาทิ เทคโนโลยี Mash-up เทคโนโลยีเว็บ 2.0 เอสโอเอ (SOA: Service-Oriented Architecture) คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ต้องเข้าใจเสียก่อนว่าภาคธุรกิจกำลังมุ่งหน้าไปสู่การบริการ จากนั้นจะต้องเรียนรู้ว่ากระบวนการงาน (Business Process) ของธุรกิจนั้นๆ เป็นอย่างไร และจะสามารถออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำธุรกิจให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นได้อย่างไร นอกจากนี้ แต่ทว่าการจะออกแบบนวัตกรรมบริการของธุรกิจนั้นๆ จะเกิดขึ้นไมได้เลยหากไม่ได้รับความร่วมมือ (Co-Creation) ระหว่างเจ้าของธุรกิจกับผู้พัฒนาซอฟต์แวร์

บริษัทซอฟต์แวร์เองจะต้องรู้ก่อนว่า Service-based Economy คืออะไร และต้องใช้ซอฟต์แวร์ประเภทใด จากนั้นจะสร้างซอฟต์แวร์เพื่อรองรับการบริการของธุรกิจนั้นอย่างไร ซึ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่จะเข้ามาสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมบริการประกอบด้วย เทคโนโลยีสถาปัตยกรรม นั่นคือ SOA (Service-Oriented Architecture) และเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม นั่นคือ Web-Service Platform ซึ่งมีทั้งซอฟต์แวร์ Open Source และ Commercial

ทั้งนี้ซอฟต์แวร์ Open Source จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในยุคของ Service-based Economy ซอฟต์แวร์ Open Source มีมากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นทางเลือกที่ดีของธุรกิจที่ต้องการเคลื่อนไปสู่บริการด้วยต้นทุนทางเทคโนโลยีที่ถูกกว่าไม่ว่าจะเป็น CMS (Content Management System), BI (Business Intelligent), Reporting, Message Query, และ Protocol Query เป็นต้น ซึ่งซอฟต์แวร์ Open Source นี้จะทำให้บริษัทขนาดกลางและเล็กมีทางเลือกในการมีโซลูชั่นในราคาที่ถูกลงมากขึ้น…..

View :3028

Intel’s mission and Opportunity for Thai software industry…

January 10th, 2010 No comments

The new strategy of the giant chip maker Intel Corporation that is gearing its business to the three new territories included Internet devices (netbook/notebook/smart-phone); embedded system; and consumer electronic (CE) will open the huge opportunities for Thai software development.

Intel aims to create the significant impact in these three market areas within 2012. At that time, Intel will produce and shift its smaller CPU to provide computing power to these devices in all three segments.

Under Intel’s roadmap, it is to extend Intel architecture into three market segments by deliver high volume of mobile Internet device (MID) and smart phone by 2012. In embedded system and consumer electronics markets, Intel also aims to play an important role by providing Intel architectures to accelerate the embedded transformation with intelligent architecture (AI) and will shift high volume of Intel computing platform into CE devices.

The move of Intel is significantly open up rooms for software companies to easily develop applications to plug-in Intel’s computing platform equipped in these three new areas.

Intel Microelectronics (Thailand)’s country manager Accharas Ouysinprasert said that the move of Intel offers opportunities for software developers by allow them to easier develop application software which run on Intel computing platform on PC and laptop devices, and then port these applications to run onto smaller devices that required a little bit of customizations.

“This move will broaden market landscape for software developers and to allow them to improve their time-to-market when they develop software for other devices such the smart phone and CE devices,” said Accharas.

Intel Atom processor is expected to play an important role when Intel entering into these three markets. The introduction of the Intel Atom processor makes the x86 architecture become a viable contender as a low-power embedded platform. Currently, the x86 architecture is ubiquitous among desktop and notebook computers, as well as a growing majority among servers and workstations.

“A large amount of software supports the platform, including OSes such as MS-DOS, Windows, Linux, BSD, Solaris, and Mac OS X. The architecture is relatively uncommon in embedded systems, and low-cost niches such as home appliances and toys lack any significant x86 presence. This is the huge opportunities for software developers around the world including Thai developers,” said Accharas.

He added that these three markets are the huge opportunities since the year 2010 due to the launch of Intel Atom II processor (the next generation of Atom platforms and formerly code-named ‘Pine Trail’) that will change the total eco-system of gadget development as it will reduce time-to-market from 1 or 2 years to be less than 6 months.

“Most of time-to-market of Internet devices, smart phone, products equipped with embedded system, and CE devices are about software and application development. The come of Intel Atom II processor will help software developers reduce times of software development,” said Accharas.

Meanwhile, hardware market in Thailand this year is also expected to return to normal growth at 20 per cent. Accharas added that two major factors drive IT-market growth this year are included the Intel Core i series central processing units (CPUs) – the Core i3, Core i5 and Core i7 – and Microsoft’s Windows 7, the latest version of the ubiquitous operating system. Both of them will create a big impact on the corporate and consumer IT markets.

The huge IT purchases this year were expected in the corporate segment due to the change of core technologies – both operating systems and CPUs – and a rise in the “refreshment cycle”, after companies had slowed their IT-replacement programmes for two years because of the economic crisis.

As well, there is a rapid increase in Internet usage, a widespread expansion of social networking and cloud computing, which is leading to big IT purchases of data centres, he said. These trends are not only occurring in the Thai market, but also throughout the world.

“These factors also encourage Thailand’s IT market to grow throughout this year,’ said Accharas.

View :1908
Categories: Software Tags: ,