Archive

Posts Tagged ‘Tarad.com’

เอสเอ็มอีไทยรับอานิสงค์อีคอมเมิร์ซบูม

July 10th, 2010 No comments

ตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซ (Electronic Commerce) ในประเทศไทยในปีนี้คาดการณ์ว่าจะมีการขยายตัวไม่ต่ำกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้สนามการแข่งขันอีคอมเมิร์ซในปีนี้คาดว่าจะคึกคักหลังการเข้ามาลงทุนในตลาดดอทคอมของยักษ์อีคอมเมิร์ซญี่ปุ่นอย่างราคูเท็น (Rakuten) ประกอบกับกระแสข่าวการโดดเข้ามาให้บริการอีคอมเมิร์ซของค้าปลีกรายใหญ่ ทำให้ประกอบการอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ที่เหลืออย่าง Weloveshopping.com ในเครือทรู คอร์ป ต้องปรับประบวนยุทธ์เพื่อรับมือการแข่งขัน ด้านตลาดดอทคอมภายใต้การสนับสนุนของราคูเท็นประกาศเดนิหน้าปฏิวัติการให้บริการอีคอมเมิร์ซใหม่หมดโดยนำเทคโนโลยีด้านอีคอมเมิร์ซมาสนับสนุนเอสเอ็มอีไทยให้สามารถสร้างรายได้ที่แท้จริงจากการทำการค้าออนไลน์

ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยโต
เพิ่มโอกาสธุรกิจให้เอสเอ็มอีบนออนไลน์

มนสินี นาคปนันท์ (ซ้าย) ผู้จัดการทั่วไป ธุรกิจ Convergence Web Portal บริษัท ทรู คอร์ปเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน) เจ้าของและผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซภายใต้บริการ Weloveshopping.com กล่าวว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยปีนี้คาดว่ายังคงมาแรงและเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยปัจจัยหนุนทั้งเรื่องของการเข้ามาของผู้เล่นต่างชาติที่นำทั้งเงินและเทคโนโลยีเข้ามาปฏิวัติวงการอีคอมเมิร์ซในประเทศ และปัจจัยเรื่องของความพร้อมของเทคโนโลยี การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของสมาร์ทโฟน รวมถึงความเข้าใจและความเชื่อมั่นใจของผู้บริโภคต่อการซื้อของผ่านออนไลน์

มนสินี นาคปนันท์ (ซ้าย) ผู้จัดการทั่วไป ธุรกิจ Convergence Web Portal บริษัท ทรู คอร์ปเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน) เจ้าของและผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซภายใต้บริการ Weloveshopping.com

คาดว่ามูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทยในปีนี้จะโตอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ สำหรับทรู คอร์ปเองตั้งเป้าการขยายตัวของธุรกิจอีคอมเมิร์ซว่าจะโตไม่ต่ำกว่า 40 เปอร์เซ็นต์เช่นกัน โดยเป็นอัตราการขยายตัวของศัภยภาพธุกิจอีคอมเมิร์ซโดยรวมของทั้งบริษัท และในปีนี้ Weloveshopping.com ได้ปรับปลี่ยนกลุยทธ์ทารทำตลาดอีคอมเมิร์ซด้วยการขยายบริการอีคอมเมิร์ซโซลูชั่น (E-Commerce Soltuion and Platform) ไปเน้นกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SME) มากขึ้นบริการ เพื่อขยายฐานธุรกิจร้านค้าที่จะเข้ามทำธุรกิจบนออนไลน์ นอกจากนี้ยังเพิ่มบริการอีคอมเมิร์ซไปยังช่องทางใหม่ๆ อาทิ การทำอีคอมเมิร์ซบนโทรศัพท์มือถือ (Mobile Commerce)

“ปีนี้ปัจจัยบวกต่างๆ พร้อมหนุนให้ตลาดอีคอมเมิร์ซโตดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เชื่อแน่ว่าการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซปีนี้ส่วนหนึ่งจะถูกแรงหนุนมาจากการเติบโตของสมาร์ทโฟนและพฤติกรรมของผู้บริโภคคนไทยที่เริ่มหันมาใช้บริการโมบายอินเทอร์เน็ตหรือการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือเพิ่มมากขึ้น เชื่อแน่ว่าแนวโน้มตลาดอีคอมเมิร์ซไทยจะขยายตัวตามประเทศเกาหลีและญี่ปุ่นที่ตลาดอีคอมเมิร์ซขยายตัวอย่างมากกจากโมบายอินเทอร์เน็ต ในประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตราว 22 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้ใช้โมบายอินเทอร์เน็ตราว 6 ล้านคน หรือคิดเป็นประมาณเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากร”

C2C E-Commerce เทรนใหม่ อีคอมเมิร์ซไทย:
นอกจากนี้ แนวโน้มของการทำอีคอมเมิร์ซในปีนี้จะเริ่มเปลี่ยนจาก C2C (Consumer-to-Consumer) เป็น B2C (Business-to-Consumer) มากขึ้น เนื่องจากภาคธุรกิจจะเริ่มตื่นตัวและให้ความสำคัญกับช่องทางการทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้น สัดส่วนของผู้ค้าออนไลน์ที่เป็นผู้ค้าที่เป็นผู้ประกอบการธุรกิจจะเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก ซึ่งทาง Weloveshopping.com เองในปีนี้ได้ออกแบบบริการเพื่อเน้นช่วยให้ผู้ประกอบการเข้ามาทำอีคอมเมิร์ซได้ง่ายและสะดวกขึ้น จากเดิมที่บริการหลักของ Weloveshopping.com คือการเป็นตลาดกลาง (Market Place) ให้ผู้ขายมาเปิดร้านขายเป็นหลัก มาสู่การคิดบริการที่เป็นโซลูชั่นเน้นสนับสนุนธุรกิจในแต่ละแขนงมากขึ้น โดยเพิ่มบริการที่เน้นการเชื่อมต่อระบบอีคอมเมิร์ซเข้ากับระบบไอทีของธุรกิจนั้นเพื่อให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลการขายจากหน้าร้านออนไลน์ไปยังระบบอื่นๆ ของธุรกิจนั้นๆ อาทิ ระบบสต็อกสินค้า ระบบคลังสินค้า และระบบการขนส่ง เป็นต้น นอกจากนี้บริษัทยังเพิ่มบริการออกแบบหน้าตาเว็บไซต์ให้เหมาะสมกับแต่ละธุรกิจที่แตกต่างกัน

Weloveshopping.com

“นอกจากบริการใหม่ที่เพิ่มเข้ามาเพื่อมุ่งเน้นให้บริการลูกค้าที่เปป็นองค์กรธุรกิจแล้ว เรายังมีบริการที่สร้างความเชื่อมั่นให้เกิดการ “ซื้อ” สินค้าออนไลน์มากขึ้น นั่นคือ ‘We Trust’ เป็นบริการประกันการซื้อขายฝ่ายการผสมผสานระบบการชำระเงินของทรูมันนี่ (True Money) ที่นอกจากจำอำนวยความสะดวกให้ผู้ซื้อสินค้าที่ Weloveshopping.com สามารถมีช่องทางการชำระเงินที่มากและครบทุกช่องทางแล้วยังรับประกันคืนเงินหากลูกค้าไม่ได้รับสินค้า หรือได้รับสินค้าที่ไม่ตรงกับที่สั่งไป” มนสินีกล่าว

Weloveshopping.com ปรับกลยุทธ์
หนุนเอสเอ็มอีทำอีคอมเมิร์ซ:
มนสินี กล่าวเสริมว่า เดิมทีบริษัทเน้นการบริการเช่าพื้นที่บนออนไลน์เป็นบริการหลัก จากนั้นก็จะขายบริการเสริมหลักๆ ได้แก่ บริการระบบชำระเงินและบริการบริหารระบบคำสั่งซื้อ แต่จากนี้ไปบริษัทจะเน้นบริการที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ขายที่เป็นธุรกิจมากขึ้น โดยที่จะเปิดส่วนโซนร้านค้า (Section) ใหม่ขึ้น เพื่อรองรับความต้องการของธุรกิจในประเภทนั้นๆ อาทิ ที่เปิดไปแล้วคือ Section ‘Brands’ และ Section ‘Trend & Design’ สำหรับสินค้าแบรนด์เนม และสินค้าที่เน้นดีไซน์ เป็นต้น

บริการ ‘C2C Mobile E-Commerce’

บริการสุดท้ายที่ทรูฯเตรียมจะเปิดตัวช่วงปลายปีก็คือ บริการ ‘C2C Mobile E-Commerce’ ที่จะให้ผู้ขายซึ่งเป็นใครก็ได้ที่อยากจะขายของแค่เพียงชิ้นเดียวก็สามารถได้ง่ายผ่านสมาร์ทโฟน มนสินี กล่าวว่า ผู้ขายจะต้องลงทะเบียนกับ Weloveshopping.com ด้วยชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ รูป ราคาและรายละเอียดของสินค้าจากนั้นก็ทำการโพสต์ข้อมูลขึ้นเพื่อทำการขายบน Weloveshopping.com ได้ทันที

“เนื่องจากแนวโน้มของการใช้มือถือเพื่อเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมีเพิ่มมากขึ้น เรามองว่าตรงนี้คือช่องว่างทางการตลาดที่จะสามารถเติบโตได้อีกมาก ซึ่งเราเองมีระบบอีคอมเมิร์ซทั้งหน้าร้านและหลังร้านที่ดีอยู่แล้วสามารถที่จะนำบริการใหม่นี้มาต่อเชื่อมได้ทันที ลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินนค้าที่ Weloveshopping.com ไม่ว่าจะซื้อจากผู้ค้าที่เป็นบริษัทหรือบุคคลธรรมดาก็จะได้รับความสะดวกในการชำระเงิน การรับของ และสามารถมั่นใจได้ในระบบรับประกันคุณภาพสินค้า” มาสินีกล่าว

ปัจจุบัน Weloveshopping.com มีร้านค้าอยู่ราว 200,000 ราย และมีลูกค้าเข้ามาเยี่ยมชมที่เว็บไซต์มากถึงวันละ 180,000 คน ซึ่งที่ผ่านมามีมูลค่าการซื้อขายที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ประมาณ 9,000 ล้านบาท โดยนปีนี้บริษัทตั้งเป้าว่าจะเติบโตประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ เป็น 12,000 ล้านบาทในปีนี้

“ยอดเม็ดเงินที่จะสะพัดบนเว็บไซต์ในปีนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์ แต่โดยรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซเราจะโต 40 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้เป็นการเติบโตของจำนวนผู้ค้าที่เพิ่มเข้ามา จำนวนผู้ซื้อ จำนวนสินค้า และจำนวนรายการซื้อขาย แต่เนื่องจากปีนี้เราจะขยายไปโมบายคอมเมิร์ซดังนั้นมูลค่30 เปอร์เซ็นต์ 30 เปอร์เซ็นต์ าต่อรายการซื้อขายจะมีขนาดเล็กลง” มนสินีกล่าว

ตลาดดอทคอมปรับโฉม…เน้นบริการครบวงจร มุ่งสร้างยอดขายให้ร้านค้า:
ด้านตลาดดอทคอมหลังการเข้ามาลงทุนของราคูเท็นก็มีการปรับแปลี่ยนกลยุทธ์ครั้งใหญ่เช่นกัน ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาดดอทคอม จำกัด กล่าวว่าปีนี้อีคอมเมิร์ซในประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคที่ 3 ของอีคอมเมิร์ซซึ่งเป็นยุคอีคอมเมิร์ซสมบูรณ์แบบ นั่นคือ เป็นการค้าออนไลน์ 100 เปอร์เซ็นต์ที่ทุกรายการค้าขายเกิดขึ้นและจบลงบนออนไลน์ (Total Online Transaction)

www.tarad.com

“อีคอมเมิร์ซยุคนี้เป็นของผู้ประกอบการตัวจริงที่เอาจริงเอาจัง ไม่ใช่ผู้ประกอบการสมัครเล่นที่ทำอีคอมเมิร์ซเป็นอาชีพเสริมหรืองานอดิเรก” ภาวุธกล่าว

การเข้ามาของ “ราคูเท็น” ทำให้ตลาดอทคอมเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการอีคอมเมิร์ซจากการให้ “เช่า” พื้นที่ (Space) ในห้างสรรสินค้าบนโลกออนไลน์ไปสู่การนำเสนอบริการครบวงจร (Total Solutions) ให้กับผู้ประกอบการ และได้เปลี่ยนบทบาทหน้าที่ www.tarad.com จากการเป็นเพียงห้างสรรพสินค้าออนไลน์ให้ร้านค้าเข้ามาเช่าพื้นที่ขายของไปสู่การเป็นศูนย์รวมร้านค้า (Premium Mall) ที่มีบริการทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการแบบครบครัน

“เดิมที่ตลาดดอทคอมให้บริการเฉพาะพื้นที่บน www.tarad.com เท่านั้น โดยบริษัทไม่ได้เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียในยอดขายของผู้เช่าหน้าร้านออนไลน์ และบริการหลักคือให้เช่าพื้นที่ขายของบนอินเทอร์เน็ตเท่านั้น รายได้หลักของตลาดดอทคอมจึงมาจาก “ค่าเช่า” หน้าร้านออนไลน์ และรายได้จากบริการเสริม คือ รายได้จากการขาย บริการเสริมอื่นๆ และบริการฝึกอบรมหากผู้ประกอบการมีความต้องการเพิ่ม” ภาวุธกล่าว

ปัจจุบันรูปแบบธุรกิจของตลาดดอทคอมได้เปลี่ยนใหม่หมด สินค้าและบริการหลักของตลาดดอทคอมคือการขายโซลูชั่นอีคอมเมิร์ซครบให้กับผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ โดยมุ่งหวังให้ผู้ประกอบการเหล่านี้มีรายได้จากการขายสินค้าผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซมากที่สุด ผ่านการผลักดันและความช่วยเหลือทางการตลาดแบบ 360 องศาจากตลาดดอทคอม ภายใต้โซลูชั่นอีคอมเมิร์ซครบวงจรที่ตลาดดอทคอมนำเสนอนั้น ประกอบไปด้วยบริการ 4 ส่วนหลัก ได้แก่ ระบบอีคอมเมิร์ซของตลาดดอทคอม (Tarad Merchant System: TMS) ระบบการรับชำระเงินออนไลน์ (Online Payment System) การจัดส่งสินค้า (Logistic) และการตลาดออนไลน์ (Online Marketing)

“กลยุทธ์หลักของตลาดดอทคอม คือการสนับสนุนผู้ประกอบการ (Merchant) ในขณะที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นในการซื้อสินค้าออนไลน์ให้กับผู้ซื้อไปในเวลาเดียวกัน ฉะนั้น เราจะสนับสนุนผู้ขาย และปกป้องผู้ซื้อ เพื่อให้ระบบนิเวศของอีคอมเมิร์ซเดินหน้าได้อย่างรวดเร็วและก้าวกระโดด” ภาวุธกล่าว

การตลาดออนไลน์ ….ปัจจัยความสำเร็จอีคอมเมิร์ซ:
ภาวุธ เน้นว่าความสำเร็จของการค้าขายไม่ว่าจะออนไลน์หรือออฟไลน์ก็คือ การทำการตลาด ที่ผ่านมาตลาดดอทคอมไม่มีนโยลายลงไปช่วยผู้ขายทำการตลาดเพื่อกระตุ้นการซื้อ แต่ภายใต้โซลูชั่นครบวงจรที่บริษัทนำเสนอนี้การลงไปช่วยผู้ขายทำการตลาดออนไลน์เป็นอีกหนึ่งบริการหลักที่ตลาดดอทคอมมีให้กับผู้ประกอบการ โดยบริษัทจะแต่งตั้งและมอบหมายให้มี “ผู้ช่วยส่วนตัว” ที่เรียกว่า E-Commerce Consultant สำหรับทุกๆ ร้านค้าบน Tarad.com โดยผู้ช่วยเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้ความช่วยเหลือทางทุกอย่าง ตั้งแต่การขาย ไปจนถึงการบริการและการตลาด อาทิ ช่วยคิดโปรโมชั่นหรือแคมเปญทางการตลาดให้กับผู้ขาย ให้คำปรึกษาเรื่องการทำการตลาดผ่านอีเมล์ ผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ เป็นต้น

Online Marketing

นอกจากนี้ตลาดดอทคอมได้สร้างระบบ Trust Mark ขึ้นในชุมชนตลาดออนไลน์ เพื่อช่วยสร้างความมั่นใจให้ผู้ซื้อที่มาซื้อสินค้าออนไลน์ที่ www.tarad.com โดยการรับประกันคืนเงินให้ในกรณีผู้ซื้อซื้อสินค้าแล้วไม่ได้รับของ โดยมีวงเงินคืนสูงสุดถึง 50,000 บาท

“กลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักของบริการโซลูชั่นครบวงจรนี้ คือ เอสเอ็มอี ที่มีสินค้าพร้อมจำหน่าย ตลาดดอทคอมจะคิดค่าเช่าและค่าธรรมเนียมระหว่าง 4-6 เปอร์เซ็นต์จากยอดขายในแต่ละรายการขายที่เกิดขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการที่จะเข้ามาใช้บริการ Premium Mall ที่ www.tarad.com ได้นั้นจะต้องมีสินค้าในสต็อกพร้อมจัดส่งอย่างน้อย 50 รายการสินค้า” ภาวุธกล่าว

ในปีนี้ คาดว่าจะมีผู้ประกอบการที่ย้ายมาจากระบบเก่าส่วนหนึ่งและเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ที่เพิ่งเข้ามาทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซในสัดส่วน 50:50 จากเป้าหมายยอดร้านค้าทั้งสิ้น 3,000- 4,000 ร้านค้าที่คาดว่าจะมาใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจร และเป้าหมายโดยรวมของตลาดดอทคอมคือการสร้างยอดขายรวมของร้านค้าทั้งหมดใน www.tarad.com ให้ได้ 5,000 ล้านบาทใน 5 ปีข้างหน้าเป็นอย่างน้อย

แนวโน้มการเติบโตและพัฒนาการของตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยในปีนี้ จะเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะช่วยให้เอสเอ็มอีไทยมีเครื่องมือทางธุรกิจที่มีศักยภาพ ที่เข้าถึงฐานลูกค้าที่มีกำลังซื้อที่ใหญ่ขึ้น นับว่าเอสเอ็มอีคือผู้ที่จะได้รับอานิสงค์จากการขยายาตัวของอีคอมเมิร์ซนั่นเอง

View :3668

จุดเปลี่ยนอีคอมเมิร์ซไทย…

June 21st, 2010 No comments

อาจกล่าวได้ว่าปีนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนของวงการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซ (Electronics Commerce: E-Commerce) ของไทยเมื่อผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซรายใหญ่อย่างตลาดดอทคอม (Tarad.com) ประกาศเดินหน้านำเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านอีคอมเมิร์ซจากหุ้นส่วนธุรกิจอย่าง Rakuten ยักษ์การค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เบอร์หนึ่งจากแดนปลาดิบมายกระดับบริการอีคอมเมิร์ซให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กหรือเอสเอ็มอี (Small and Medium Enterprise: SME) ในไทย

แม้ว่าอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยจะถือกำเนิดมานานมากกว่าทศวรรษแล้วก็ตาม แต่ที่ผ่านอีคอมเมิร์ซในไทยนั้นถือว่ายังไม่ใช่อีคอมเมิร์ซอย่างแท้จริง แต่นับจากนี้ไป ตลาดดอทคอมจะนำเทคโนโลยีด้านอีคอมเมิร์ซมาสนับสนุนเอสเอ็มอีไทยให้สามารถสร้างรายได้ที่แท้จริงจากการทำการค้าออนไลน์…

ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาดดอทคอม จำกัด

อีคอมเมิร์ซยุค 3: Total Online Transaction

ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาดดอทคอม จำกัด กล่าวว่า หากจะนิยามยุคสมัยของอีคอมเมิร์ซแล้วปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคที่ 3 ของอีคอมเมิร์ซ ซึ่งยุคที่ 3 เป็นยุคที่ทุกธุรกรรมของอีคอมเมิร์ซเกิดขึ้นและเสร็จสิ้นลงบนโลกออนไลน์อย่างแท้จริง (Total Online Transaction) ทั้งนี้อีคอมเมิร์ซในยุคที่ 1 คืออีคอมเมิร์ซแบบคลาสสิฟรายด์ (Classified E-Commerce) และอีคอมเมิร์ซในยุคมา คือ อีคอมเมิร์ซยุคแคทตาล็อก (Catalog E-Commerce) ซึ่งเป็นการทำอีคอมเมิร์ซกึ่งออนไลน์และกึ่งออฟไลน์

“อีคอมเมิร์ซไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการค้าออนไลน์ ซึ่งเป็นยุคอีคอมเมิร์ซสมบูรณ์แบบ นั่นคือ เป็นการค้าออนไลน์ 100 เปอร์เซ็นต์ที่ทุกรายการค้าขายเกิดขึ้นและจบลงบนออนไลน์”มิร์ซแบบ ในยุคที่ นึ่ตลาด ยบริการ น ภาวุธ กล่าวว่า ้ซื้อไปในเวลาเดียวกัน สุด รฝึกอบรมหากผู้ประกอบการมีความต้องการเพิ่อง,biNbb,bi

การทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีด้านอีคอมเมิร์ซและองค์ความรู้ด้านการตลาดบนโลกการค้าออนไลน์จะเข้ามามีบทบาทอย่างมาก อีคอมเมิร์ซมิใช่เป็นเพียงการเปิดหน้าร้านเพื่อขายสินค้าของผู้ประกอบการรายเล็กที่ไม่มีหน้าร้านหรือมีเงินทุนต่ำเท่านั้น แต่อีคอมเมิร์ซ คือธุรกิจที่มีโอกาสทางการตลาดสูงสำหรับเอสเอ็มอีที่ต้องการมีช่องทางการตลาด ช่องทางในการจำหน่ายสินค้าและบริการของตนเองอย่างถาวร ด้วยต้นทุนที่ประเมินกับรายได้ (Cost Efficiency) แล้วคุ้มกว่ามาก

“อีคอมเมิร์ซยุคนี้เป็นของผู้ประกอบการตัวจริงที่เอาจริงเอาจัง ไม่ใช่ผู้ประกอบการสมัครเล่นที่ทำอีคอมเมิร์ซเป็นอาชีพเสริมหรืองานอดิเรก”

การเข้ามาถือหุ้นของบริษัทราคูเท็น (Rakuten) จำกัด บริษัทที่ดำเนินธุรกิจอี คอมเมิร์ซอันดับ 1 ในญี่ปุ่น และอันดับ 8 ของโลกในบริษัทตลาดดอทคอมจำกัดนั้นไม่ได้หมายถึงเม็ดเงินกว่า 67 เปอร์เซ็นต์ของการถือครองหุ้น แต่หมายถึงการเข้ามาขององค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านอีคอมเมิร์ซที่จะมายกระดับขีดความสามรถในการสร้างธุรกิจอีคอมเมิร์ซให้กับเอสเอ็มอีของไทย

เพราะการเข้ามาของ “ราคูเท็น” ทำให้ตลาดอทคอมเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการอีคอมเมิร์ซจากการให้ “เช่า” พื้นที่ (Space) ในห้างสรรสินค้าบนโลกออนไลน์ไปสู่การนำเสนอบริการครบวงจร (Total Solutions) ให้กับผู้ประกอบการ และได้เปลี่ยนบทบาทหน้าที่ www.tarad.com จากการเป็นเพียงห้างสรรพสินค้าออนไลน์ให้ร้านค้าเข้ามาเช่าพื้นที่ขายของไปสู่การเป็นศูนย์รวมร้านค้า (Premium Mall) ที่มีบริการทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการแบบครบครัน

ภาวุธอธิบายเพิ่มว่า เดิมที่ตลาดดอทคอมให้บริการเฉพาะพื้นที่บน www.tarad.com เท่านั้น โดยบริษัทไม่ได้เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียในยอดขายของผู้เช่าหน้าร้านออนไลน์ และบริการหลักคือให้เช่าพื้นที่ขายของบนอินเทอร์เน็ตเท่านั้น รายได้หลักของตลาดดอทคอมจึงมาจาก “ค่าเช่า” หน้าร้านออนไลน์ และรายได้จากบริการเสริม คือ รายได้จากการขาย บริการเสริมอื่นๆ และบริการฝึกอบรมหากผู้ประกอบการมีความต้องการเพิ่ม

“ที่ผ่านมาเราขายพื้นที่ ร้านค้าก็เพียงมาเปิดร้านขายของออนไลน์ ส่วนบริการฝึกอบรม หรือบริการระบบชำระเงิน และระบบส่งของ เรามีบริการบ้าง แต่ยังไม่ครบวงจรและมีประสิทธิภาพเท่ในปัจจุบัน ที่สำคัญ ทุกบริการล้วนเป็นบริการที่ผู้ประกอบการต้องจ่ายเพิ่มเพื่อใช้บริการ ดังนั้น ผู้ประกอบยังไม่มียอดขายก็จะยังไม่ซื้อบริการเหล่านี้”

ทว่านับแต่นี้ต่อไป รูปแบบธุรกิจของตลาดดอทคอมได้เปลี่ยนใหม่หมด สินค้าและบริการหลักของตลาดดอทคอมคือการขายโซลูชั่นอีคอมเมิร์ซครบวงจร (Total E-Commerce Solution) ให้กับผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ โดยมุ่งหวังให้ผู้ประกอบการเหล่านี้มีรายได้จากการขายสินค้าผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซมากที่สุด ผ่านการผลักดันและความช่วยเหลือทางการตลาดแบบ 360 องศาจากตลาดดอทคอม

“กลยุทธ์หลักของตลาดดอทคอม คือการสนับสนุนผู้ประกอบการ (Merchant) ในขณะที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นในการซื้อสินค้าออนไลน์ให้กับผู้ซื้อไปในเวลาเดียวกัน ฉะนั้น เราจะสนับสนุนผู้ขาย และปกป้องผู้ซื้อ เพื่อให้ระบบนิเวศของอีคอมเมิร์ซเดินหน้าได้อย่างรวดเร็วและก้าวกระโดด”

4 บริการหลักของ Tarad.com

คือ 4 ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

ภายใต้โซลูชั่นอีคอมเมิร์ซครบวงจรที่ตลาดดอทคอมนำเสนอนั้น ประกอบไปด้วยบริการ 4 ส่วนหลัก ได้แก่ ระบบอีคอมเมิร์ซของตลาดดอทคอม (Tarad Merchant System: TMS) ระบบการรับชำระเงินออนไลน์ (Online Payment System) การจัดส่งสินค้า (Logistic) และการตลาดออนไลน์ (Online Marketing)

ซึ่งระบบ TMS เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่บริษัทพัฒนาและปรับปรุงมาโดยตลอดกว่า 10 ปีที่ผ่าน ในขณะที่ระบบการรับชำระเงินออนไลน์ของตลาดดอทคอมนั้นมีให้เลือกมากถึง 6 ช่องทาง ได้แก่ รับชำระผ่านบัตรเครดิต ผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส โทรศัพท์มือถือ ผ่านเครือข่ายชำระเงินของ PayPal และPaySbuy รวมถึงผ่านตู้เอทีเอ็มและระบบอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง ซึ่งตลาดดอทคอมคิดค่าธรรมเนียมระหว่าง 4-6 เปอร์เซ็นต์จากยอดขายในแต่ละรายการขายที่เกิดขึ้น

บริการต่อมาคือ บริการจัดส่งสินค้าซึ่งถือเป็นหัวใจความสำเร็จของผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ ตลาดดอทคอมได้ผูกระบบหลังบ้านกับไปรษณีย์ไทยในการเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้เช่าของตลาดดอทคอมทุกร้านสามารถเข้าระบบเพื่อตรวจสอบอัตราค่าจัดส่ง(ตามน้ำหนักสินค้า)ได้โดยตรงจากไปรษณีย์ไทย ทำให้ผู้ขายสามารถปิดการขายบนออนไลน์ได้ทันทีหากลูกค้าสนใจจะสั่งซื้อสินค้า

“ในอดีตเราไม่เห็นภาพของการค้าขายอีคอมเมิร์ซแบบนี้ เพราะเราไม่ได้มีบริการแบบนี้ให้ เราแค่สร้างระบบและเปิดพื้นที่ให้ผู้ขายมาเช่าอยู่เปิดร้านค้าขายกันเอง โดยไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้ครบครันเช่นนี้ ที่สำคัญเราไม่มีการช่วยผู้ขายทำการตลาดผ่านออนไลน์เพื่อกระตุ้นการจับจ่ายบนอีคอมเมิร์ซ แต่อย่างใด”

ภาวุธ เน้นว่าความสำเร็จของการค้าขายไม่ว่าจะออนไลน์หรือออฟไลน์ก็คือ การทำการตลาด ที่ผ่านมาตลาดดอทคอมไม่มีนโยลายลงไปช่วยผู้ขายทำการตลาดเพื่อกระตุ้นการซื้อ แต่ภายใต้โซลูชั่นครบวงจรที่บริษัทนำเสนอนี้การลงไปช่วยผู้ขายทำการตลาดออนไลน์เป็นอีกหนึ่งบริการหลักที่ตลาดดอทคอมมีให้กับผู้ประกอบการ โดยบริษัทจะแต่งตั้งและมอบหมายให้มี “ผู้ช่วยส่วนตัว” ที่เรียกว่า E-Commerce Consultant สำหรับทุกๆ ร้านค้าบน Tarad.com โดยผู้ช่วยเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้ความช่วยเหลือทางทุกอย่าง ตั้งแต่การขาย ไปจนถึงการบริการและการตลาด อาทิ ช่วยคิดโปรโมชั่นหรือแคมเปญทางการตลาดให้กับผู้ขาย ให้คำปรึกษาเรื่องการทำการตลาดผ่านอีเมล์ ผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ เป็นต้น

“เดิมที่เราไม่มีบริการทั้งหมดนี้ให้ ใครใคร่ขายอะไรขายอย่างไรแล้วแต่เขา เราเก็บแค่ค่าเช่าร้านค้าออนไลน์รายเดือนๆ ละไม่กี่ร้อยบาทเท่านั้น แต่ภายใต้โมเดลธุรกิจแบบใหม่เราไม่ได้ให้เช่าพื้นที่อย่างเดียว เราจะช่วยทำยอดด้วย ซึ่งลูกค้าเราโต เราก็โตด้วย เราจะโตไปด้วยกัน เพราะเราเชื่อว่าความสำเร็จของลูกค้าเรา คือ ความสำเร็จของเรา”

Tarad.com ตั้งเป้าช่วย SME ไทยค้าออนไลน์

กลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักของบริการโซลูชั่นครบวงจรนี้ คือ เอสเอ็มอี ที่มีสินค้าพร้อมจำหน่าย และการใช้บริการ Premium Mall ที่ www.tarad.com นั้นผู้ประกอบการจะต้องมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้น คือ ค่าเช่ารายเดือน ซึ่งค่าเช่าส่วนนี้จะเกิดขึ้นทันทีแม้ว่าจะยังไม่มียอดขาย เพราะค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เป็นต้นทุนในการบริหารจัดการอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ตลาดดอทคอมนำเสนอ ค่าเช่ารายเดือนนี้เริ่มต้นตั้งแต่ 1,500 บาทต่อเดือน สำหรับสินค้าไม่เกิน 500 ชิ้น 3,000 บาทต่อเดือนสำหรับสินค้าไม่เกิน 1,000 ชิ้น และ5,000 บาทต่อเดือนสำหรับสินค้าจำกัดจำนวน และในทุกๆ รายการขายที่เกิดขึ้นจริงผู้ประกอบจะต้องเสียค่าธรรมเนียม (Transaction Fee) ในอัตรา 4-6 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายนั้นๆ

“ตัวอย่างความสำเร็จของผู้ประกอบการที่เข้ามาใช้ระบบของตลาดอทคอม อาทิ ร้านขายราวตากผ้าที่สนามหลวงสอง ยอดขายเพิ่มขึ้น 5,000 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ร้านขายวิกผม ยอดเพิ่มก้าวกระโดดเช่นกันถึง 1,000 เปอร์เซ็นต์ ที่ยอดเพิ่มมากขนาดนี้ เพราะผู้ประกอบการเหล่านี้เชื่อและทำตามที่เราแนะนำ ตั้งแต่การออกแบบ ตกแต่งหน้าร้านค้าออนไลน์ ไปจนถึงออกแบบโปรโมชั่นและแคมเปญการตลาด”

ผู้ประกอบการที่จะเข้ามาใช้บริการ Premium Mall ที่ www.tarad.com ได้นั้นจะต้องมีสินค้าในสต็อกพร้อมจัดส่งอย่างน้อย 50 รายการสินค้า ปัจจุบัน มีร้านค้าย้ายจากแพลตฟอร์มเดิมมาสู่แพลตฟอร์มใหม่นี้แล้วหลายราย และแต่ละราย ภาวุธ บอกว่า ยอดขายเติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดด โดยเฉลี่ยแล้วเพิ่มขึ้นถึง 200เปอร์เซ็นต์ เป้าหมายในปีนี้ ภาวุธมองว่าน่าจะมีผู้ประกอบการที่ย้ายมาจากระบบเก่าส่วนหนึ่งและเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ที่เพิ่งเข้ามาทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซในสัดส่วน 50:50 จากเป้าหมายยอดร้านค้าทั้งสิ้น 3,000- 4,000 ร้านค้าที่คาดว่าจะมาใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจร และเป้าหมายโดยรวมของตลาดดอทคอมคือการสร้างยอดขายรวมของร้านค้าทั้งหมดใน www.tarad.com ให้ได้ 5,000 ล้านบาทใน 5 ปีข้างหน้าเป็นอย่างน้อย

ทั้งนี้ยอดขายดังกล่าวจะมาจากจำนวนร้านค้าที่ทยอยเข้ามาทำอีคอมเมิร์ซกับตลาดดอทคอมภายใต้รูปแบบใหม่ที่กล่าวมานี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในปัจจุบันตลาดดอทคอมมีฐานผู้ซื้อสินค้า หรือที่เรียกว่า Tarad Member อยู่ราว 2 ล้านราย ทั้งนี้ตลาดดอทคอมได้สร้างระบบ Trust Mark ขึ้นในชุมชนตลาดออนไลน์ เพื่อช่วยสร้างความมั่นใจให้ผู้ซื้อที่มาซื้อสินค้าออนไลน์ที่ www.tarad.com โดยการรับประกันคืนเงินให้ในกรณีผู้ซื้อซื้อสินค้าแล้วไมได้รับของ โดยมีวงเงินคืนสูงสุดถึง 50,000 บาท

หากผู้ประกอบการรายใดยังไม่พร้อมที่จะย้ายหรือก้าวเข้ามาสู่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบครบวงจรนี้ ตลาดดอทคอมมีทางเลือกให้ผู้ประกอบการ โดยตลาดดอทคอมยังคงบริการเช่าพื้นที่ร้านค้าออนไลน์อย่างเดียวโดยไม่มีบริการสนับสนุน ส่งเสริมการขายใดใด เพราะในระบบเดิมนี้ตลาดดอทคอมมีร้านค้าอยู่ประมาณ 180,000 ราย ซึ่งในจำนวนนี้มีเพียงครึ่งเดียวที่ยังคงดำเนินธุรกิจค้าขายออนไลน์อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

คงจะไม่ผิดหากจะกล่าวว่าการปรับกลยุทธ์ในครั้งนี้ของเจ้าตลาดอีคอมเมิร์ซอย่างตลาดอดอทคอม เป็น “จุดเปลี่ยน” ของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ที่เดินมาถึงจุดอิ่มตัวของการทำอีคอมเมิร์ซแบบเดิม และเชื่อแน่ว่าต่อจากนี้ไปอีคอมเมิร์ซจะเป็นโอกาสและช่องทางทำธุรกิจที่สำคัญให้กับธุรกิจของไทยอย่างแน่นอน….

View :4166