Home > Uncategorized > ขอแบ่งปันข้อมูลจากการเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” ค่ะ

ขอแบ่งปันข้อมูลจากการเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” ค่ะ

ภาพเช้า ปาฐกถาพิเศษ “จากนักข่าวสู่นักเขียน” โดย เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ นักเขียนนักหนังสือพิมพ์อาวุโส

และ สนทนา “จากข้อมูลสู่เรื่องสั้น” โดย รุ่งมณี เมฆโสภณ เจ้าของผลงาน “คนสองแผ่นดิน” และ “ประชาธิปไตยเปื้อนเลือด” และนิรันศักดิ์ บุญจันทร์ บรรณาธิการจุดประกายวรรณกรรม

“”นัก เขียน” ในความหายของคนส่วนใหญ๋ แวบแรก คือ การเขียนนวนิยาย แต่ในความเป็นจริงการเขียนมีหลายรูปแบบ” พี่ประสงค์ นายกฯ สมาคมนักข่าว

ราย นามวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการ”” รุ่นที่ 4 ได้แก่ เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์, รุ่งมณี เมฆโสภณ, นิรันศักดิ์ บุญจันทร์(1)ชมัย ภร แสงกระจ่าง, ประชาคม ลุนาชัย, เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์, วัชระ สัจจะสารสิน, อุทิศ เหมะมูล และอริสรา ประดิษฐ์สุวรรณ(ผู้เข้าอบรมรุ่นที่2)(2)

หม่อม เจ้าอากาศ ดำเกิง เป็นผู้จุดประกายให้กับคนอ่านให้เป็นนักข่าว เป็นคนหนึ่ึ่งที่เป็นทั้งนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ รวมถึง ศรีบูรพา ด้วย

ทำไมนักเขียนจึงเป็นนักนสพ.ได้ และทำไมนักนสพ.เป็นนักข่าวได้ เพราะสมัยก่อนเขาเห็นว่าสังคมไม่เป็นธรรมกับคนที่อยู่ในสังคมด้วยกัน

คือ ต้องทำความจริงให้ปรากฏ ..ซึ่งนักข่าวมีประสบการณ์ตรงนี้อยู่ต็มๆ นักเขียนโดยเนื้อแท้อาจจะไม่ได้เป็นนักข่าว อาจจะไม่มีข้อมูลมากเท่านักข่าว

แต่สิ่งที่นักเขียนมีมากกว่านักข่าว คือ “จินตนาการ”

“เริ่มจากการเขียนข่าวให้ถูกต้องตรงข้อเท็จจริง ย่อความให้ได้ เป็นจุดเิ่่ริ่ิมต้นของการเป็นนักเขียน” พี่เรืองชัย ทรัพย์นิรัดร์

“พรสวรรค์เราทุกคนมี แต่อยู่ที่ว่าจะหยิับมันอกมาใช้ได้อย่างไง” พี่เรืองชัย ทรัพย์นิรัดร์

พี่เรืองชัย ทรัพย์นิรัดร์ บอกว่า “จินตนาการ ข้อเท็จจริง และประสบการณ์” คือ 3 ปัจจัยหลักของการเป็นนักเขียน

“เมื่อคุณอยากเป็นนักเขียน ให้คุณลงมือเขียน” พี่เรืองชัย ทรัพย์นิรัดร์

sesion ต่อไป คือ พี่รุ่งมณี เมฆโสภณ ผู้เขียน “ประชาธิปไตยเปื้อนเลือด” และ พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์ บก.จุดประกายวรรณกรรม

พี่ นิรันศักดิ์ บุญจันทร์”ยุคนี้ถ้าคุณอยากจะเขียนหนังสือคุณได้กระโดจนเข้าไปครึ่งตัวแล้ว การเป็นนักข่าวได้เปรียบมากในเรื่องของการมีข้อมูลในมือ”

พี่ นิรันศักดิ์”ผมแปลกใจมากว่าสถานการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา ไม่มีเรื่องสั้นหรืองานวรรณกรรมออกมาเลย สมัยก่อนนักเขียนนักข่าวคือตัวตนคนเดียวกัน”

พี่ นิรันศักดิ์ “การเป็นนักข่าวได้ความจริง นักเขียนคือความมีวรรณศิลป์ อาิาทิ ภาษาข่าว คือ “เขากล่าวว่า”,นักเขียน “เขากระซิบบอก” “เขาเอ่ยว่า”

พี่ รุ่งมณี โสภณ บอกว่า “ความร่ำรวยทางภาษา เกิดจากการอ่าน คือการสะสมเชิงปริมาณ สู่คุณภาพ จะเป็นนักเขียนที่ดีไม่ได้เลยหากไม่ได้อ่านหนังสือ”

“การ อ่านทำให้องค์ความรู้กว้างกว่าคนอื่น ทำให้เกิดการตั้งคำถามที่ดีกว่าคนอื่น การไม่อ่านนอกจะไเป็นนักเขียนไม่ได้แล้วยังเป็นนักข่าวไม่ได้ด้วย”

“การ เป็นนักเขียนต้องเป็นคนช่างสังเกตด้วย เพราะบางทีนักเขียนไม่ได้มีประสบการณ์ตรงหรอกแต่ใช้วิธีสังเกตและใส่ จินตนาการ”พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

“การ เป็นนักเขียนต้องเรียนรู้รูปแบบของงานเขียนด้วย โดยพื้นฐานมันจะมีรูปแบบมันอยู่แต่ไม่จำเป็นต้องยึดรูปแบที่ตายตัว” พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

“รูป แบบงานเขียน อาทิ รูปแบบงานเขียนเรื่องสั้น มีพล็อต มีวิธีการเดินเรื่อง มีจุดไคลแม็กซ์ มีจุดหักมุม เป็นต้น” พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

“โดยความเชื่อของผม นักข่าว คือ นักเขียน คนหนึ่ง เพราะเขามีเรื่องอยู่ เรื่องที่สามารถเอามาเขียนได้” พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

“การเลือกอ่านหนังสือที่ดี จะเป็นแรงส่งสู่การเป็นนักเขียนที่ดีอีกอย่างหนึ่ง” พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

“งานนักข่าวเป็นงานของข้อเท็จจริง มันเพ้อเจ้อไม่ได้ เลยอยากมากอบรมเป็นนักเขียน” นี่คือเหตุผลของนักข่าวหลายคนที่บอกกับวิทยากร

“การ เป็นนักเขียน คนที่รักงานเขียน เหมือนคนที่ทำงานไม่รู้จักเสร็จสิ้น เขียนแบบไม่รู้เหน็ดรู้เหนื่อย/การเป็นนักเขียน ต้อง”ชอบเขียน” พี่รุ่งมณี

“การชอบเล่า การชอบฝัน ไม่ทำให้เราเป็นนักเขียนได้ การเป็นนักเขียน ต้องชอบเขียน ไม่ว่าจะเขียนอะไรก็ตาม” พี่รุ่งมณี

พี่รุ่งมณี กำลังยกตัวอย่างพล็อตเรื่อง CSI ว่าเรื่องแค่ 45 นาที วางโครงเรื่องซับซ้อนไปมา …(เรื่องนี้โดยส่วนตัวชอบดูมาก)

พี่รุ่งมณี กำลังยกตย. เรื่องสั้นของคุณ มนู จรรยงค์ ลูกชายคุณมนัส จรรยงค์ ที่ชอบเขียนเรื่องของ”คนเล็กๆ”

“การเป็นนักเขียนต้องมีตาใน ที่เก็บรายละเอียดของคนเล็กๆ บางทีการเป็นนักข่าว ตาเรามักจะไปจับจ้องแต่คนใหญ่ๆ” พี่รุ่งมณี

พี่นิรันดร์ศักดิ์ บุญจันทร์ “คุณเล่าเรื่องเป็นไหม เล่าโดยการเขียน ไม่ใช่การเล่าปากเปล่า”

“ยุคนี้ถ้าคุณเขียนนิยายได้ประสบความสำเร็จสักเล่มหนึ่ง คุณจะลืมอาชีพนักข่าวไปเลย” พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

พี่นิรันศักดิ์ บอกว่า ให้ลองใช้เวลาเสาร์อาทิตย์เขียนเรื่องสั้นสักเรื่อง … แต่ปัญหาของนักข่าวคือเรื่องเวลา

อย่า บอกว่าไม่มีเวลาถ้าต้องการทำความฝันให้เป็นจริงเราต้องจัดการกับเวลาของตัว เองต้องกำหนดเป้าหมายและเส้นทางเองต้องทำงานหนักด้วยตัวเอง:รุ่งมณี

การเขียนตามเว็บ ตามบล็อก ส่วนหนึ่งใช่ “งานเขียน” แต่อีกหลายส่วนเป็นแค่ “การแสดงความคิดเห็น”… พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

“การ เขียนตามเว็บ ตามบล็อก เป็นงานวรรณกรรมที่ดีรึยัง…คำตอบคือ งานวรรณกรรมที่ดีต้องผ่านการพิสูจน์และยอมรับจากคนอ่านเสียก่อน” พี่นิรันศักดิ์

“ไม่ว่านักข่าวหรือ นักเขียน ชัยชนะของการเขียน คือ ข้อมูล” พี่รุ่งมณี เมฆโสภณ

“นักข่าวข้อมูลเยอะ เพราะฉะนั้นต้องฝึกให้จัดการกับข้อมูลให้เป็น” พี่รุ่งมณี เมฆโสภณ

จบภาคเช้าค่ะ

View :2415
  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.