Home > Uncategorized > “สุวรรณไพศาลขนส่ง” ขนส่งรายได้แห่งเมืองเหนือติดปีกธุรกิจด้วยไอที

“สุวรรณไพศาลขนส่ง” ขนส่งรายได้แห่งเมืองเหนือติดปีกธุรกิจด้วยไอที

บริษัทขนส่งอายุเก่าแก่กว่า 20 ปีแห่งภาคเหนือตอนบน นาม “ ปฏิวัติธุรกิจขนส่งท้องถิ่นด้วยเทคโนโลยี เตรียมความพร้อมและสร้างแต้มต่อในการแข่งขันรับตลาดเสรีอาเซียนเปิดที่คาดว่าจะมีคู่แข่งต่างชาติทยอยตบเท้าเข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาดโลจิสติกส์อย่างแน่นอน

สุรชิน ธัญญะผลิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท สุวรรณไพศาลขนส่ง จำกัด ทายาทรุ่นสองของครอบครัวที่เบนเข็มชีวิตจากนักเรียนนอกด้านคอมพิวเตอร์มารับช่วงกิจการขนส่งต่อจากบิดา เล่าให้ฟังว่า หลังจากที่ตนเองเข้ามาบริหารธุรกิจขนส่งของครอบครัวก็พบปัญหามากมายที่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของธุรกิจ ต่อศักยภาพการแข่งขันของบริษัท และต่อความสะดวกสบายต่อบริการที่ลูกค้าจะได้รับ ด้วยความที่มีพื้นฐานมาจากสายงานคอมพิวเตอร์ที่ร่ำเรียนมา ตนจึงลุกขึ้นปฏิวัติระบบงานภายในของบริษัทใหม่ทั้งหมด โดยนำระบบเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือหลัก

“ตอนเข้ามารับช่วงต่อจากคุณพ่อ ตอนนั้นระบบงานทุกอย่างเป็นระบบทำงานด้วยมือ (Manual) ทั้งหมด ซึ่งระบบดังกล่าวไม่สามารถรองรับงานที่เรามีได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

บริษัทมีบริการรับขนส่งสินค้า 4 ประเภท ได้แก่ รถจักรยายนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ตู้คอนเทนเนอร์ และสินค้าโชว์ห่วย โดยมีรถบรรทุกทั้งสิ้นมากกว่า 60 คันรวมกันในหลายประเภทอาทิ รถบรรทุก 18 ล้อ 10 ล้อ และ 6 ล้อ ทั้งแบบพ่วงและแบบลาก มีบริการรับและส่งสินค้าแบบรายชิ้นและเหมาคัน ทำให้รายละเอียดของเนื้องานในแต่ละวันมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งในอดีตไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลการทำงาน และไม่มีการใช้ระบบไอทีใดๆ เข้ามาช่วยจัดการบริหารข้อมูลการบริการของบริษัทเลย ทำให้เกิดความผิดพลาดในการขนส่งบ่อยครั้ง และเกิดการสูญเสียต้นทุนจากการไม่มีข้อมูลหรือหาข้อมูลไม่พบ เนื่องจากข้อมูลถูกจดด้วยลามือพนักงานและไม่มีการจัดเก็บเข้าระบบ

“เมื่อก่อนปัญหาที่เจอประจำคือ ส่งสินค้าผิด ไม่ก็ส่งไปแล้วของไม่ครบ เพราะรถหนึ่งคันเราขนสินค้าจำนวนมาก และส่งให้กับลูกค้าหลายราย (หากเขาไม่ได้ใช้บริการเหมาคัน) ในใบรายการส่งสินค้าก็เขียนขึ้นใหม่ด้วยรายมือพนักงาน ที่เขียนมาจากใบสั่งบริการขนส่งจากลูกค้าหลายๆ ราย มารวมไว้ในใบเดียว ซึ่งการมาเขียนใหม่ ความผิดพลาดก็เกิดขึ้นได้ ผิดเรื่องประเภทสินค้าบ้าง จำนวนบ้าง สถานที่ เป็นต้น ซึ่งความผิดพลาดแบบนี้ลูกค้าไม่พึงพอใจ และจะไม่มาใช้บริการเราอีก”

บริษัทได้ร่วมกับบริษัทซอฟต์แวร์ไทยพัฒนาระบบ “Fleet Soft” ขึ้นมาเพื่อใช้บริหารการข้อมูลการให้บริการทั้งหมดของบริษัทโดยเริ่มจากการเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้บริการขนส่งทั้งหมดของลูกค้า รวมทั้งข้อมูลสถานที่จัดส่งและเส้นทางขนส่ง รวมถึงข้อมูลรถและคนขับ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้นอกจากจะจัดเก็บและใช้เองภายในบริษัทแล้ว บริษัทยังเปิดให้ลูกค้าของบริษัทเข้ามาดูข้อมูลสถานะของการขนส่งได้แบบทันทีทันใดผ่านหน้าเว็บได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมแต่อย่างใด

“เราพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ขึ้นมาจากความต้องการที่จะแก้ไขปัญหาในการทำงานของเราเอง พอทำไป ไม่ใช่เพียงแค่บริษัทเท่านั้นที่ได้ประโยชน์จากระบบ แต่เราสามารถนำระบบนี้ไปให้ลูกค้าเราได้ใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย ซึ่งบริษัทเพิ่งจะเดินระบบเต็มรูปแบบมาได้ราว 3 เดือนปรากฏว่าเราได้ลูกค้าเพิ่มขึ้นอีก 10 ราย นักว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าทันตาเห็นอย่างมาก”

สุรชิน บอกว่า รถทุกคันจะติดกล่องดำ หรือ ‘Black Box’ ที่มีทั้งสัญญาณ GPS และ GPRS เพื่อให้บริษัทและลูกค้าที่มาใช้บริการขนส่งสินค้ากับบริษัทสามารถติดตามสถานการณ์เดินรถของรถคันนั้นๆ ได้ตลอดเวลาผ่านหน้าเว็บไซต์ และหากสิ้นค้าส่งถึงมือผู้รับ เจ้าหน้าที่ส่งสินค้าจะให้ผู้รับเซ็นรับของลงบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทันทีที่ลูกค้าเซ็นรับของ ระบบจะรับรู้โดยอัตโนมัติว่าสินค้าได้ส่งถึงมือลูกค้าเรียบร้อยแล้ว

นอกจากจากนำไอทีมาเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านการขนส่งแล้ว บริษัทยังได้นำระบบไอทีมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานภายใน ได้แก่ ระบบดูแลรักษารถบรรทุกซึ่งเป็นเครื่องมือในการทำมาหากินที่หากเสียหรือชำรุดไม่สามารถใช้งานได้ ต้องส่งซ่อมจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 วัน นั่นเท่ากับโอกาสในการสร้างรายได้จะหายไปด้วย ดังนั้นแทนที่จะเป็นฝ่ายตั้งรับรอให้รถเกิดการเสีย

สุรชิน บอกว่า บริษัทจะจัดเก็บข้อมูลการใช้งานของรถทุกคนเข้าระบบ ว่ารถแต่ละคันวิ่งมาแล้วกี่กิโล เมตรถึงเวลาต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ถึงเวลาจ้องซ้อมบำรุงในส่วนใดๆ บ้างก็จะทำทันที ซึ่งการทำเช่นนี้ แม้ว่าจะมีต้นทุนในส่วนค่าบำรุงรักษาเพิ่มขึ้นราว  60 เปอร์เซ็นต์แต่ก็ได้รับโอกาสในการที่รถคันนั้นจะไม่ต้องหยุดวิ่งเพื่อเข้าอู่ซ่อม ทำให้รายได้ในส่วนนี้เพิ่มมาราว 90 เปอร์เซ็นต์ เท่ากับว่าเมื่อถัวเฉลี่ยแล้วบริษัทมีความสามารถในการสร้างรายได้เพิ่มอีก 30 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้ บริษัทยังได้ขยายพื้นที่การให้บริการจากเดิมที่จำกัดอยู่แต่เพียงภาคเหนือตอนบนไปครอบคลุมทั่วประเทศ ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจที่มีเส้นทางการขนส่งที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสในการรับลูกค้าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสุรชิน บอกว่า ด้วยระบบไอทีที่บริษัทลงทุนไปช่วยเอื้อให้บริการสามารถให้บริการขนส่งแก่ลูกค้าได้ข้ามผู้ให้บริการแต่ลูกค้ายังคงได้รับคุณภาพและรูปแบบบริการเดียวกัน

การลงทุนในระไอทีครั้งนี้ใช้งบมากกว่า 1 ล้านบาทเพื่อยกระดับความสามารถในการให้บริการของเราให้เข่งขันได้ เราทำตรงนี้เพื่อเตรียมตัวเองให้พร้อมกับการแข่งขันเสรีที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งหากเราไม่ทำ ไม่ปรับตัว เราจะอยู่ไม่ได้” สุริชนกล่าวทิ้งท้าย

View :2565
  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.