Archive

Archive for May, 2010

เก็บตกงานจิบน้ำชา 1/2553 ของชมรมผู้สื่อข่าวสารเทคโนโลยีสารเทศ (ITPC; Information Technology Press Club) ในหัวข้อ “จริยธรรมสื่อกับการ ใช้ Social Media”

May 18th, 2010 No comments

กระแสการเมืองที่ร้อนแรงผนวกกับการเข้ามาใช้สื่อสังคมอย่าง Social Media โดยเฉพาะทวิตเตอร์ (Twitter) อย่างเข้มข้นของสื่อมวลชนกระแสหลักทั้งนักข่าวหนังสือพิมพ์ นักข่าววิทยุ และนักข่าวโทรทัศน์ในการรายงายข่าวอย่างฉับไวจากพื้นที่ และแม้ว่าทวิตเตอร์จะทำให้ผู้ใช้เครือข่ายสังคมสามารถบริโภคข้อมูลข่าวสารที่สดทันต่อเหตุการณ์มากที่สุดเมื่อเทียบกับสื่อสารมวลชนประเภทอื่น แต่อีกด้านของความเร็วที่ทวิตเตอร์มีให้นั้นก่อให้เกิดช่องว่างของโอกาสผิดพลาดของการสื่อสาร ทั้งความผิดพลาดเรื่องข้อมูลที่เร็วเกินไปจนขาดการตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้อง ข้อความที่สั้นที่ขาดบริบทจนบางครั้งสื่อผิดความหมาย การส่งต่อข้อความที่สามารถส่งต่อกันไปอย่างรวดเร็วมากเหมือนการแพร่ของไวรัส (Viral Effect) นำมาซึ่งปัญหาในกรณีที่ข้อมูลที่ถูกสื่อสารต่อๆ กันไป เป็นข้อมูลเท็จ เป็นข่าวปล่อย ข่าวลือ ที่ยังการขาดตรวจสอบ ดังนั้น ในฐานสื่อมวลชนผู้นำเสนอข่าวสารจะต้องวางบทบาทและกำหนดกรอบกติกาในการใช้สื่อใหม่นี้เพื่อการรายงานข่าวอย่างไรให้เกิดผลประโยชน์ต่อสังคมมากที่สุดและเกิดผลกระทบเชิงลบน้อยที่สุด…

งานจิบน้ำชา 1/2553 ของชมรมผู้สื่อข่าวสารเทคโนโลยีสารเทศ (ITPC; Information Technology Press Club) ในหัวข้อ “จริยธรรมสื่อกับการใช้ Social Media”

สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นประเด็นที่มาของกิจกรรมเสวนา “จิบน้ำชา” ในหัวข้อ “จริยธรรมสื่อกับการใช้ Social Media” ของชมรมผู้สื่อข่าวสายไอที ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย คุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ คุณอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการอำนวยการ บมจ.เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น (NBC) และอาจารย์ ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวารสารศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย ร่วมแสดงมุมมองต่อ “จริยธรรมสื่อกับการใช้ Social Media”

“Social Media” ไม่ใช่แค่ทวิตเตอร์:

ประเดิมเวทีด้วยการให้คำนิยามของ Social Media ให้ตรงกันเสียก่อน ซึ่งดร.มานะ บอกว่า Social Media ที่เข้ามามีบทบาทในฐานะสื่อใหม่ แท้จริงแล้ว Social Media คือสื่อดิจิตอลที่เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการทางสังคมที่ใช้ในการสื่อสารเหมือนสื่อประเภทอื่นๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ แต่ทว่า Social Media สามารถมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) กับผู้รับสารได้ทันที นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งปัน แลกเปลี่ยนและแชร์ข้อมูลข่าวสารทั้งข้อความ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวระหว่างกันภายในเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจุดนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของวงการสื่อสารมวลชนไทย คือ จะมีลักษณะของการผสมผสานของสื่อ (Convergent Media) มากขึ้นเรื่อยๆ

Social Media จะแตกต่างจากสื่อดั้งเดิม ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ ตรงที่มันมีลักษณะของการสื่อสาร 2 ทาง (2-way communication) ซึ่ง Social Media มีมากกว่าแค่ Facebook และ Twitter ทั้งนี้ Social Media มีตั้งแต่ Blog, Micro-Blog อาทิ ทวิตเตอร์ Social Networking อาทิ Facebook และ Hi5,Online VDO อาทิ Youtube, Photo Sharing, Wiki อาทิ Wikipedia, Bookmarking และ Cloud Sourcing แม้แต่เว็บ Pantip.com เองก็ถือเป็น Social Media

“ทั้งนี้ลักษณะเด่นและเสน่ห์ของ Social Media คือ “การมีส่วนร่วม” เพราะผู้เสพสื่อหรือผู้รับสารสามารถกลายเป็นผู้ส่งสารได้ในเวลาเดียวกัน” ดร.มานะ

ในขณะที่พี่อดิศักดิ์ มองว่า Social Media คือ Web2.0 และเครือเนชั่นเองก็มองว่าสื่อใหม่นี้จะเข้ามาคุกคามอย่างแน่นอน ดังนั้น จึงไม่รอช้าที่กระโจนเข้าใส่ก่อนตั้งแต่เมื่อสามปีที่แล้วด้วยการเปิดเว็บบล็อก wwww.oknation.net ขึ้นมาเพื่อเป็นสังคมของนักข่าวพลเมือง (Citizen Reporter) โดยกำหนดให้คนบนเว็บบล็อกแห่งนี้ต้องมีตัวตนจริง เพื่อความน่าเชื่อถือ ปัจจุบัน wwww.oknation.net มีสมาชิกราว 60,000 คน และจะมีคนเข้ามาเขียนเรื่องทุกๆ นาที เฉลี่ย 1.5 นาทีต่อ 1 เรื่อง และมีจำนวนผู้เข้าชมมากกว่า 100,000 รายต่อวัน (Unique IP)

จนกระทั่งปลายปีที่ผ่านมา เครือเนชั่นเริ่มเข้ามาจับทวิตเตอร์อย่างเอาจริงเอาจัง โดยกำหนดเป็นนโยบายของบริษัทให้นักข่าวและผู้มีส่วนร่วมในการกระบวนการผลิตข่าวราว 300 คน ต้องใช้ทวิตเตอร์ในการทำข่าว และกำหนดเป็นเป็นหนึ่งในมาตรการการประเมินผลงานขององค์กรด้วย และเพื่อเชื่อมโยงระหว่างสื่อเก่ากับสื่อใหม่ไปด้วยกัน เพราะจาก 300 คนที่มี Followers รวมกันทั้งสิ้นราว 160,000 ราย ซึ่งในจำนวนนี้อาจจะซ้ำกันอยู่ราวครั้งหนึ่ง

“นโยบายของเครือเนชั่นมีนโยบาย ให้นักข่าวใช้ทวิตเตอร์เพื่อแสดงตัวตนของความเป็นนักข่าวในภาคสนาม ใช้เพื่อสร้าง Personal Brand ของตัวนักข่าวเอง เนื่องจากมองว่าความน่าเชื่อถือของข่าวขึ้นอยู่กับนักข่าวภาคสนาม ดังนั้น เนชั่นจึงให้นักข่าวมีบทบาทในการสื่อสารกับผู้รับสารของแต่ละคนเองได้โดยตรงผ่านทวิตเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันใน Top20 ของทวิตเตอร์ที่ถูก Mention มากที่สุด 10 รายเป็นคนของเนชั่น” พี่อดิศักดิ์

นักข่าว ควร หรือ ไม่ควร แยก Twitter Account:

มีการพูดถึงอย่างกว้างขวางว่า “นักข่าว” ที่ใช้ทวิตเตอร์นั้น ควรหรือไม่ที่จะต้องมีชื่อผู้ใช้งาน (Twitter Account) แยกจากกันระหว่างบทบาทของนักข่าวและบทบาทของบุคคลธรรมดา ในประเด็นนี้มีการมองต่างมุมระหว่างพี่อดิศักดิ์ จากเนชั่น และพี่ประสงค์ นายกสมาคมนักข่าวฯ โดยพี่อดิศักดิ์มองว่า เนชั่นไม่มองว่านักข่าวจำเป็นที่จะต้องแยก Twitter Account ทั้งนี้เพราะเนชั่นมองว่านักข่าวสามารถใช้ทวิตเตอร์รายงานข่าวได้และสามรถใช้ทวิตเตอร์เดียวกันนี้แสดงความคิดเห็นได้ในฐานะ “ความคิดเห็นส่วนตัว”

“เนชั่นต้องการให้ตัวตนของนักข่าวบนโลกทวิตเตอร์นั้นเป็นคนธรรมดาที่ทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว เวลางาน นักข่าวประจำที่ราชประสงค์ก็รายงานข่าวเข้ามา แต่นอกเวลางาน คุณจะไปกินข้าว ช้อปปิ้ง แล้วทวีตก็เป็นเรื่องส่วนตัว ผมว่าคนผ่านเข้ารับรู้ได้ว่าอันไหนงาน อันไหนส่วนตัว และไม่ได้เห็นว่าการใช้ Twitter Account เดียวแล้วจะทำให้การรายงานข่าวของนักข่าวขาดความน่าเชื่อถือ” พี่อดิศักดิ์

เนชั่นจึงกำหนดแนวทางการใช้ Social Media ขึ้นมา เพื่อเป็นกรอบในการทำงานให้นักข่าวในเครือซึ่งกรอบนี้อยู่ระหว่างการร่างยังไม่แล้วเสร็จ แต่สาระสำคัญของกรอบนี้คือ นักข่าวจะต้องยึดถือเรื่องความถูกต้องของข้อมูล ความเป็นธรรมในการรายงานข่าว เป็นหัวใจสำคัญในการใช้ Social Media เช่นเดียวกับสื่อทุกประเภทในเครือเนชั่น สำหรับการใช้ทวิตเตอร์ซึ่งมีความรวดเร็วในการสื่อสารมากนั้นนักข่าวจะต้องมีความรอบครอบต้องมั่นใจว่าข้อมูลที่จะสื่อสารอกไปนั้นเป็นข้อมูลที่มีความถูกต้อง การวิพากษ์วิจารณ์หรือแสดงความเห็นส่วนตัวทำได้แต่ด้วยถ้อยคำที่ไม่ส่อเสียด หยาบคาย และข้อมูลที่จะสื่อสารอกไปต้องเป็นประโยชน์ต่อผู้รับสาร ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นหลักปกติของการทำหน้าที่สื่อมวลชน

แต่พี่ประสงค์มองต่าง พี่ประสงค์บอกว่า โดยส่วนตัวแม้ว่าจะไม่ได้ใช้ทวิตเตอร์แต่เห็นว่านักข่าวควรแยกบทบาทเรื่องงานแลเรื่องส่วนตัวบนโลกทวิตเตอร์ด้วยการแยก Twitter Account เหมือนดังเช่นสำนักข่าวรอยเตอร์ทำ ทั้งนี้เพื่อความน่าเชื่อถือและเป็นกลางในการรายงายข่าว ซึ่งจะทำให้นักข่าวสามรถทำงานได้ง่ายขึ้น

“เวลางานก็ใช้ Twitter Account ของสำนักข่าว ข้อความทีทวีตไปก็เป็น ข้อเท็จจริง ไม่ควรทวีตความห็นส่วนตัว หรือเรื่องส่วนตัว นอกเวลางาน หรือหากอยากจะทวีแสดงความคิดเห็นก็ควรทำในอีก Twitter Account หนึ่ง และควรเป็น Twitter Account ที่ระบุตัวตนที่แท้จริงด้วย เพื่อความรับผิดชอบต้อข้อความที่สื่อสารออกไป” พี่ประสงค์

โดยพี่ประสงค์มองว่า คนรุ่นใหม่อาจจะขาดความรับผิดชอบต่อข้อความที่ตนองสื่อสาร โดยมักนิยมจะใช้นามแฝงเวลาอยู่บนโลกออนไลน์ ไม่เฉพาะเพียงแต่ทวิตเตอร์เท่านั้น ซึ่งการไม่มีตัวตนทำให้คนเหล่านี้สามารถที่จะสื่อสารโดยขาดความรับผิดชอบต่อข้อความของตนเอง ทำให้สังคมเกิดปัญหา ซึ่งตรงนี้ถือเป็นจริยธรรมของผู้ใช้สื่อออนไลน์ ซึ่งนับวันจะมีน้อยลงทุกที ด้วยค่านิยมสมัยใหม่ที่มักใช้นามแฝงเพื่อเลี่ยงความรับผิดชอบต่อข้อความที่สื่อสารออกไป ดังนั้น นักข่าว ในฐานะสื่อสารมวลชนจะต้องมีความรับผิดชอบต่อข้อความที่สื่อออกไป โดยจะต้องมีตัวตนที่ชัดเจน และต้องแยกบทบาทเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวออกจากกันผ่าน่บนโลกออนไลน์ ไม่เฉพาะเพ Twitter Account คนละชื่อกัน

ความรับผิดชอบอยู่ที่ใคร นักข่าว หรือ องค์กรข่าว”:

ต่อประเด็นที่มีการถกเถียงกันมากว่า นักข่าว” หรือ “องค์กรข่าว” ควรจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อข้อความที่ได้เผยแพร่ผ่านช่องทาง Social Media ก็มีการมองต่างกันเล็กน้อย โดยพี่ประสงค์มองว่า นักข่าวจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อข้อความที่ตนเองทวีตไปโดยตรง เพราะถือว่าการรายงานข่าวผ่านทวิตเตอร์นั้นมิได้ผ่านกระบวนการทำข่าวแบบดั้งเดิมที่ต้องมีกระบวนการตรวจสอบข้อมูล ข้อเท็จจริงจากกองบรรณาธิการ ทำให้แทนที่จะมีความรับผิดชอบร่วมของกองบรรณาธิการต่อข้อความหรือข่าวที่นำเสนอออกไป ตัวนักข่าวเองจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อข้อความข่าวนั้นๆ

ในขณะที่พี่อดิศักดิ์ มองต่างโดยเห็นว่า เนื่องจากเนชั่นได้กำหนดเป็นนโยบายชัดเจนว่าให้นักข่าวภาคสนามสามารถรายงานข่าวสดตรงจากพื้นที่ผ่านช่องทางทวิตเตอร์ได้นั้น ดังนั้นหากเกิดกรณีข้อความหรือข่าวผิดพลาด คลาดเคลื่อน ตัวนักข่าวจะมิใช่ผู้รับผิดชอบต่อข้อความนั้นเพียงผู้เดียว แต่องค์กรจะเข้ามาร่วมรับผิดชอบด้วย เพราะถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่

กรอบจริยธรรมการใช้ Social Media ของสื่อมวลชน:

สำหรับแนวทางของกรอบจริยธรรมของการใช้ Social Media ของสื่อมวลชนนั้น วงเสวนามีแนวคิดไปในทางเดียวกันนั่นคือ สื่อมวลชนจะต้องยึดหลักจริยธรรมสื่อวิชาชีพในการใช้สื่อใหม่อย่าง Social Media ทุกประการเพียงแต่อาจจะต้องมีรายละเอียดเพิ่มเติมเข้ามาในลักษณะของข้อควรระวัง เพราะ Social Media มีความต่างจากสื่อดั้งเดิม ในเรื่องของความเร็ว การสื่อสารสองทาง และการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วผ่านเครือข่ายสังคม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งทวิตเตอร์ซึ่งเป็นข้อความสั้นเพียง 140 ตัวอักษร มีโอกาสมากที่จะกลายเป็นการสื่อสารที่ผิดความหมาย หรือถูกตีความผิดไปจากความหมายที่ต้องการจะสื่อ หรือถูกนำไปใช้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง เพราะข้อความเพียง140 ตัวอักษรของทวิตเตอร์นั้นไม่เพียงพอต่อการใส่บริบทของเรื่องราว ซึ่งอาจทำให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ง่าย แม้ว่าพี่อดิศักดิ์จะบอกว่า ผู้ที่จะทวีตข้อความยาวๆ นั้นสามารถทำได้ผ่านการทวีตอย่างต่อเนื่องกัน อย่างคุณ แคน สารริกา (@can_nw) เป็นต้น

ด้านดร.มานะเสริมว่า เนื่องจาก Social Media เป็นเรื่องใหม่สำหรับสังคมไทยและสำหรับวงการสื่อมวลชนไทย ที่ต้องอาศัยการเรียนรู้และปรับปรุงไปด้วยกัน แต่ก็มีข้อควรระวังของประเด็นที่ยังคงมีการถกเถียงอยู่ 4 ประเด็นนั่น คือ ประเด็นแรก เรื่องความรวดเร็วกับความถูกต้อง นักข่าวจะต้องสมดุลสองสิ่งนี้อย่างไร เนื่องจากทุนคนแข่งกันเร็ว แต่บางครั้งความรวดเร็วของข้อมูลที่สื่ออกไปขาดการตรวจสอบ ซึ่งธรรมชาติจากแตกต่างจากสื่อเก่าที่ต้องผ่านการตรวจสอบของกระบวนการทำงานของกองบรรณาธิการแต่ช้า

“การสื่อข้อมูลผ่านทวิตเตอร์ที่มีความเร็วในระดับทันทีทันใดและแพร่กระจายรวดเร็วมากยิ่งต้องระวัง ยิ่งคุณเป็นนักข่าว ข้อมูลที่คุณสื่ออกไปคนที่เขาตามคุณอยู่เขาจะเชื่อคุณโดยทันทีว่าจริง ซึ่งตรงนี้อันตราย แต่หากข้อมูลมันไม่จริง จะมีคนตรวจสอบคุณทันที และความน่าเชื่อถือของคุณก็จะลดลง ซึ่งเป็นสิ่งที่นักข่าวที่ใช้ทวิตเตอร์จะต้องเรียนรู้และปรับปรุงต่อไป แต่ที่สำคัญ เมื่อคุณสื่อข้อความที่ผิดออกไป คุณอย่าช้าที่จะขอโทษ ซึ่งหากเป็นสื่อเก่าหากมีการนำเสนอข้อมูลที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนสื่อมักจะทำเงียบๆ แล้วปล่อยมันเลยหายไป แต่กับสื่อใหม่คุณจะทำแบบนี้ไม่ได้”

ประเด็นต่อมาคือ เรื่องของความเป็นส่วนตัวกับความเป็นพื้นที่สาธารณะ ซึ่งปัจจุบันยังคงเป็นปัญหาสำหรับคนทำข่าวและคนใช้ Social Media ในเมืองไทย เพราะหลายคนมักคิดว่า Social Media คือพื้นที่ส่วนตัว แต่ความเป็นจริงแล้วมันไม่ใช่ ดังนั้น นักข่าวและผู้ใช้งาน Social Media จะต้องเรียนรู้ธรรมชาติข้อนี้ของสื่อใหม่นี้ โดยเฉพาะนักข่าว เนื่องจากคนที่เขามาตามคุณเขามาตามคุณเพราะคุณเป็นนักข่าว ยิ่งหากคุณมีชื่อ Twitter Account ต่อท้ายด้วยชื่อสำนักข่าวของคุณด้วยแล้ว ยิ่งต้องระวังให้มาก เมื่อนักข่าวเรียนรู้ว่าพื้นที่บน Social Media เป็นพื้นที่สาธารณะคุณก็จะสามารถใช้มันอย่างเข้าใจมากขึ้น

ทั้งนี้ การใช้ข้อความสั้นอย่างทวิตเตอร์เพื่อแสดงทัศนะ หรือนำเสนอเรื่องราวที่ต้องอาศัยบริบทนั้นสามารถทำได้ผ่านการใช้สื่ออื่นช่วย อาทิ กรณีของคุณสุทธิชัย หยุ่น (@suthichai) ที่มักจะใช้ทวิตเตอร์รายงานข้อเท็จจริง แต่หากมีความคิดเห็นเพิ่มเติม คุณสุทธิชัยจะใช้บล็อกส่วนตัวเป็นช่องทางการนำเสนอโดยใช้ทวิตเตอร์เป็นเครื่องมือในการบอกว่าหากให้อยากอ่านความเห็น บทวิพากษ์ วิจารณ์ สามารถตามไปอ่านได้ที่บล็อก

ประเด็นต่อมา คือ เรื่องของ “จุดยืนของนักข่าว กับจุดยืนขององค์กร” ซึ่งเป็นประเด็นต่อเนื่องจากความเป็นส่วนตัวกับความเป็นสื่อสาธารณะ ดังนั้น นักข่าวจะต้องแยกบทบาทเรื่องส่วนตัวกับเรื่องงานออกจากกันให้ชัดเจน เพราะหากไม่ชัดเจนแล้วจะเกิดปัญหา อาทิ การแสดงความคิดเห็น หรือารมณ์ส่วนตัวต่อข่าวการเมืองผ่าน Social Media ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะอาจก่อให้เกิดประเด็นปัญหาตามมาเรื่องความเข้าใจผิดของผู้รับสารว่าความคิดเห็นที่คุณแสดงออกมานั้น เป็นจุดยืนของนักข่าวหรือเป็นจุดยืนขององค์กรข่าว ดังนั้น นักข่าวจะต้องระวังในจุดนี้ด้วย

และประการสุดท้าย คือ ประเด็นเรื่องการแบ่งปันข้อมูลกับการละเมิดข้อมูล เมื่อ Social Media เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถส่งต่อข้อความ ทั้งข้อความตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวได้อย่าง่ายดายและรวดเร็ว สิ่งที่อาจจะเป็นประเด็นปัญหาตามมาก็คือ “สิทธิ” ความเป็นเจ้าของในข้อมูลนั้น และการละเมิดสิทธิด้วยการส่งต่อข้อมูลหรือนำข้อมูลนั้นไปใช้ต่อ ซึ่งประเด็นนี้ยังไม่เกิดเป็นกรณีความกันขึ้นแต่เป็นประเด็นสำคัญอีกประเด็นที่นักข่าวและผู้ใช้ Social Media ทุกคนจะต้องเรียนรู้และระมัดระวัง

สุดท้ายวงเสวนาก็จบลงตรงความเห็นร่วมกันว่านักข่าวที่ต้องใช้สื่อใหม่อย่าง Social Media นี้จะต้องระมัดระวังเฉกเช่นเดียวกับการใช้สื่อเก่า และควรเอาแนวทางปฏิบัติ กรอบการทำงาน และจริยธรรมที่นักข่าวมีและใช้อยู่กับการทำงานบนสื่อดั้งเดิม มาปรับใช้กับสื่อใหม่นี้โดยอาศัยการเรียนรู้ลองผิดลองถูกอย่างระมัดระวัง โดยองค์กรวิชาชีพสื่อจะให้ความสำคัญกับ Social Media ผ่านการทำกรอบการทำงาน (เพิ่มเติมจากกรอบปฏิบัติเดิมที่มีอยู่) และทางสมาคมนักข่าวฯ เองก็ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ โดยจะดำเนินการผ่านทางชมรมผู้สื่อข่าวสายไอทีต่อไปในอนาคต…

View :2877

Top 10 SLOWEST Loading Websites Of The Fortune 500

May 13th, 2010 No comments

Top 10 SLOWEST Loading Websites Of The Fortune 500: http://huffingtonpost.com/2010/05/11/worst-website-load-times_n_571889.html

View :1920
Categories: Internet Tags:

คลาวด์ คอมพิวติ้ง: พลิกรูปแบบกบริการซอฟต์แวร์กับโอกาสของ SME ไทย

May 10th, 2010 No comments

คงไม่ปฏิเสธว่าในบรรดาผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กในประเทศไทยจำนวนมากยังไม่ได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอซีที มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจอย่างเต็มที่มากนัก ทั้งนี้ เหตุผลหลักประการหนึ่งก็คือ ข้อจำกัดเรื่องเงินทุน เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมาหากบริษัทใดต้องการใช้ระบบไอทีนั้นจะต้องลงทุนซื้อระบบมาติดตั้งเองทั้งหมด ข้อจำกัดนี้กำลงถูกทำลายลงโดยเทคโนโลยีที่เรียกว่า คลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Computing)

ทั้งนี้เนื่องจากเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้งนั้นเกิดจากแนวคิดของการนำระบบซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นต่างๆ ไว้ที่เครื่องแม่ข่ายกลาง จากนั้นก็อนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถล็อกอินเข้ามาในระบบเพื่อใช้งานระบบซอฟต์แวร์ต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้จากที่บริษัทของตน ซึ่งคลาวด์ คอมพิวติ้ง ยิ่งเป็นที่สนใจอย่างมากในแวดวงธุรกิจทั่วโลกในปีที่ผ่านมา เพราะคลาวด์ คอมพิวติ้ง คือ แพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้ธุรกิจที่ต้องการใช้งานระบบไอทีได้มีทางเลือกในการเช่าใช้ระบบแทนที่จะต้องลงทุนซื้อระบบ ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจขนาดกลางและเล็กที่อาจจะมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ

นอกจากนี้ คลาวด์ คอมพิวติ้ง ยังช่วยให้ผู้ประกอบการที่แม้จะไม่เคยมีระบบไอทีใช้มาก่อนเลยก็สามารถเริ่มต้นใช้งานระบบไอทีได้ในระยะเวลาอันสั้น สิ่งที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมี มีเพียงคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพื่อที่จะเชื่อมโยงเข้าไปสู่ระบบแอพพลิเคชั่นของตนที่ฝากไว้บนคลาวด์ คอมพิวติ้งเท่านั้น

และหลังจากเริ่มต้นใช้งานแล้ว คลาวด์ คอมพิวติ้งยังช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินธุรกิจไปตามปกติ โดยมีระบบไอทีเป็นตัวช่วยหลักโดยไม่ต้องกังวลเรื่องภาระค่าใช้จ่ายเริ่มต้นเท่านั้น แต่ผู้ใช้ยังไม่ต้องกังวลถึงภาระค่าดูแลระบบ ไม่ต้องกังวลเรื่องการพัฒนาแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ และการอัพเกรดระบบใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา เพราะเรื่องเหล่านี้จะถูกยกให้เป็นภาระของผู้ให้บริการคลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Computing Services) ซึ่งรายละเอียดของบริการจะมีความแตกต่างกันขึ้นกับความต้องการใช้งานผู้ใช้ว่าต้องการใช้งานระบบซอฟต์แวร์ระบบใดบ้าง

ทั้งนี้ ด้วยบริการคลาวด์ คอมพิวติ้ง เป็นการให้บริการแบบเช่าใช้ระบบซอฟต์แวร์ ดังนั้น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถเลือกใช้บริการเฉพาะระบบซอฟต์แวร์ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนกับการประกอบธุรกิจของตน เป็นรายประเภทและรายโมดุลของซอฟต์แวร์ไป ค่าใช้บริการก็จะแปรผันตามประเภทและปริมาณของระบบซอฟต์แวร์ที่เช่าใช้ คือใช้เท่าไหนจ่ายเท่านั้น (Pay per Use) โดยผู้ใช้จะต้องชำระค่าใช้บริการซอฟต์แวร์แบบรายเดือน หรือรายปี

เมื่อลักษณะการให้บริการใช้ระบบซอฟต์แวร์บนแพลตฟอร์มของคลาวด์ คอมพิวติ้งเป็นดังนี้ ดังนั้นสิ่งที่จะเกิดควบคู่กันกับ คลาวด์ คอมพิวติ้ง ก็คือรูปแบบบริการซอฟต์แวร์แบบใหม่ที่ไม่ใช่การขายขาด แต่เป็นการให้เช่าใช้ซอฟต์แวร์ หรือที่เรียกกันว่า Software as a Service (SaaS) ซึ่งตามโมเดลนี้ซอฟต์แวร์จะเปลี่ยนจาก “สินค้า” ที่ต้องถูกซื้อ เป็น “บริการ” ที่ต้องจ่ายค่าใช้บริการตามที่ใช้งานจริง SaaS เป็นรูปแบบธุรกิจการให้บริการซอฟต์แวร์ที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน

ซึ่งทั้ง SaaS และคลาวด์ คอมพิวติ้ง นั้นส่งผลดีต่อทั้งผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ และผู้ใช้งาน ทั้งนี้เนื่องจากผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นโมดูลๆ (Module By Module) เพื่อให้บริการลูกค้าเฉพาะบางโมดูลได้ โดยที่ไม่ต้องพัฒนาซอฟต์แวร์ทั้งระบบ ซึ่งช่วยลดต้นทุนและลดระยะเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ในขณะที่ผู้ใช้บริการก็สามารถเลือกใช้เฉพาะซอฟต์แวร์โมดูลที่ตัวเองต้องการโดยไม่ต้องเสียเงินซื้อซอฟต์แวร์ทั้งระบบ ที่สำคัญลูกค้าไม่ต้อง “ซื้อ” แต่เปลี่ยนมาจ่าย “ค่าเช่าใช้” ซอฟต์แวร์โมดูลที่ตนเองใช้งานเท่านั้น

ปัจจุบันมีบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่จำนวนมากเริ่มให้บริการคลาวด์ คอมพิวติ้ง ให้กับลูกค้าในประเทศไทย อาทิ ออราเคิล ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) ไอบีเอ็ม (ประเทศไทย) และซันไมโครซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็เริ่มมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ไทยจำนวนมากหันมาให้บริการระบบซอฟต์แวร์ให้ลูกค้าผ่านรูปแบบ SaaS มากขึ้น

ทั้งหมดทั้งมวลนี้นับว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ธุรกิจไทยโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กที่จะสามารถเข้าถึงระบบไอทีขนาดใหญ่และระบบซอฟต์แวร์ที่มีความจำเป็นต้องใช้งานได้ภายใต้ต้นทุนที่ลดลง เชื่อแน่ว่าในปีนี้จะมีการขยายตัวของบริการคลาวด์ คอมพิวติ้งและ SaaS อย่างมาก และอานิสงค์ของการเติบโตดังกล่าวจะตกเป็นของเอสเอ็มอีไทยนั่นเอง…

View :2787

iPad … ใครว่าฆ่าหนังสือพิมพ์….?

May 7th, 2010 1 comment

หากจะกล่าวว่าหลงใหล iPad ตั้งแต่แรกเห็นตอนสตีฟ จ๊อบถือและโชว์ในดูผ่านจอทีวีในงานเปิดตัวเมื่อต้นปีที่ผ่านมาก็คงจะไม่เกินจริงเกินไปนัก เพราะโดยส่วนตัวแล้วระยะหลังมานี้จะชอบการอ่านบนจอ LCD มากขึ้น เนื่องเพราะความงกกลัวเปลืองหมึกต้องมานั่งพริน กอปรกับในปัจจุบันมีเรื่องราวข่าวสารมากมายรอการอ่านอย่างรวดเร็วมากต่อวัน เพราะฉะนั้นการปรับนิสัยให้คุ้นชินกับการอ่านบนวัสดุสะท้อนแสงแทนการอ่านบนกระดาษจะช่วยให้ชีวิตสะดวกขึ้นเยอะ บวกกับระยะหลังมานี้ต้องออนไลน์อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์และ iPhone มากกว่า 10 ชั่วโมงต่อวันด้วยแล้ว ยิ่งต้องการอุปกรณ์ที่คิดว่าใช่และเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของตัวเองค่อนข้างมาก

จนวันหนึ่งได้มีโอกาสมาสัมผัสกับเจ้า iPad ด้วยความบังเอิญผสมตั้งใจ เลยได้มีโอกาสลองใช้ ก็พบว่าความรู้สึกแรกที่มีต่อเจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้มิได้เกินจริง หรือ มิใช่เรื่องของกระแสนิยมแต่อย่างใด แต่ชอบเพราะมัน “ตรง” ใจ “ตรง” ความต้องการอย่างมากนั่นเอง

ด้วยความเป็นคนข่าวจึงชอบติดตามข่าวสารจากสื่อทั้งไทยและเทศโดยเฉพาะข่าวเทคโนโลยี แต่ช่วงนี้เนื่องจากการข่าวการเมืองในประเทศร้อนแรงเหลือเกินจึงอดไม่ได้ที่จะติดตามหาข่าวสารการเมืองไทยในสายตาสื่อนอกเพื่อดูว่าเขามองและคิดกับเราอย่างไร และ iPad ให้การท่องเว็บเป็นไปอย่างสนุกสนานและสะดวกสบายมาก แต่ขอบอกก่อนนะว่า เป็นการท่องเว็บผ่าน WiFi อยู่ที่บ้าน ด้วยรูปทรงที่เป็นเหมือนกระดานชนวน ที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริมอื่นใด (ทั้งเมาส์ คีย์บอร์ด หรือปากกา) นอกจากปลายนิ้วของเราเอง ทำให้การใช้งาน iPad เป็นไปด้วยความสะดวก แต่เริ่มตั้งค่า WiFi จากนั้นทุกครั้งที่เปิดสัญญาญเราท์เตอร์ที่บ้าน เจ้า iPad ก็จะออนไลน์เองอัตโนมัติ สะดวก สบายอย่างมาก

จอใหญ่…สัมผัสใหม่…ประสบการณ์ใหม่….เร้าใจกว่า!!!

หน้าจอใหญ่ถึง 9.7 นิ้ว ทำให้การอ่านหรือการมองจอเป็นไปอย่างสบายตามากกว่าบน iPhone มาก (เห็นว่า iPad เท่ากับ iPhone 4 เครื่องมาเรียงต่อกัน) ดังนั้นประสบการณ์การมองจอใหญ่ๆ แล้วมามองจอเล็กนั้น รู้สึกถึงความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด อีกอย่าง เนื่องจากจอ iPad นั้นเป็นจอสี LCD ทำให้จอมันเคลียร์ใสกิ๊ก แลดูสวยดี (แต่อาจไม่เหมาะกับคนที่ไม่ชอบอ่านบนจอ LCD) แต่ข้อเสียประการหนนึ่งของจอแบบนี้คือ ไม่สามารถนำไปใช้งานในที่ที่มีแสงแดดที่ไม่ต้องจ้ามาก (แค่นั่งอยู่ใต้ชายคา) จอก็จะสะท้อนแสงอย่างมาก จนจอ LCD กลายเป็นกระจกส่องหน้าเราดีๆ นี่เอง คือมองเห็นข้อความ รูปภาพที่อยู่ในจอ แต่จะมีแสงสะท้อนมาก ทำให้ต้องแยกประสาทตาอย่างมาก ทำให้อ่านนานแล้วจะมึนศีรษะได้ จึงไม่แนะนำให้ใช้ในที่โล่งแจ้ง

ประสบการณ์การท่องเว็บผ่าน iPad อาจจะไม่ราบรื่น สนุกสนานได้อรรถรสเท่าโน๊ตบุ๊คก็ตรงที่ iPad ไม่มี Flash ทำให้เวลาเข้าเว็บที่มี Flash แล้วเหมือนเว็บมันเสีย จึงพลอยทำให้คนเข้าเสียอารมณ์ไปด้วย แต่เว็บหนึ่งที่เข้ก่อนเลยก็คือ Google โอเคไม่มีปัญหา (เสียดkยอยู่อย่างเดียวคือไม่สามารถพิมพ์คำค้นภาษาไทยได้นั่นเอง)

แต่ทั้งนี้นั้น การท่องเว็บด้วย Safari บนหน้าจอ LCD ขนาด 9.7 นิ้วก็เป็นอีกประสบการณ์ที่น่าประทับใจ รู้สึกแปลกตาเมื่อมองเว็บของหนังสือพิมพ์ The Nation บน iPad

ไม่ว่าจะมองในแนวตั้งหรือตะแคงจอมองในแนวนอน ก็จะเห็นว่าเว็บธรรมดาที่เห็นจนคุ้นตาบนจอคอมพิวเตอร์ ก็ดูสวยมากขึ้นเมื่ออยู่บน iPad

ท่องโลกแอพฯ ที่ชอบ…(แอพฯข่าวนั่นเอง) บน iPad:

อย่างไรก็ดี เมื่อใช้ iPad แล้ว สิ่งหนึ่งที่อยากจะลองมากคือ แอพพลิเคชั่นที่มีมากมายมหาศาลบน iTune ดังนั้นแทนที่จะนั่งท่องเว็บ ผ่าน Safari ก็หันไปลองแอพพลิเคชั่นบน iPad แทน โดยจะเน้นที่แอพพลิเคชั่นของข่าวเป็นหลัก ทั้งของสำนักข่าว ของหนังสือพิมพ์เอง และของผู้รวบรวมและให้บริการข่าว (News Aggregators) ก็พบว่า จอใหญ่กว่า ทำให้การนำเสนอของผู้ให้บริการข่าวนั้นแตกต่างออกจากเดิม และเท่าที่ควานหาแออพลิเคชั่นจากทุกมุมของ iTune for iPad ก็พบว่าแต่ละค่ายก็มีมุมมองในการนำเสนอ “รูปแบบของการนำเสนอข่าว” ที่แตกต่างกันออกไป ก่อนที่จะไปดูในแต่ละราย ที่แน่ๆ รูปแบบที่นำเสนอบน iPad และบน iPhone นั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ….

เิริ่มที่ตัวสำนักข่าวก่อนเลย … จะเห็นได้ว่าตอนนี้มีสำนักข่าวหลายรายเริ่มมีบริการข่าวบน iPad กันแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะมีบริการข่าวบน iPhone มาก่อนทั้งนั้น ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่ารูปแบบการนำเสนอเนื้อหาของสำนักข่าวเดียวกันมีความแตกต่างกันมากเมื่ออยู่บน iPhone และ iPad

เริ่มกันที่ USA Today ที่มีบริการทั้งบน iPhone และบน iPad แต่จะเห็นได้ชัดเจนวิธีการนำเสนอนั้นต่างกันสิ้นเชิง จอใหญ่ก็ได้เปรียบอยู่หลายขุมจริงๆ

  • USA Today เวอร์ชั่น iPad

USA Today on iPadUSA Today เวอร์ชั่น iPad

  • USA Today เวอร์ชั่น iPhone
  • USA Today for iPhone (Display on iPad)

  • Reuters เวอร์ชั่น iPad

Reuters on iPad

  • Reuters เวอร์ชั่น iPhone
  • Reuters for iPhone (Display on iPad)

    จะเห็นความแตกต่างของการนำเสนอเนื้อหาบน iPad และ บน iPhone ได้อย่างชัดเจน

นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่าพอมาอยู่บนจอขนาดใหญ่แล้ว ทำให้หน้าตาของนหังสือพิมพ์ออนไลน์น่าอ่านมากขึ้น และให้ความรู้สึกคล้ายๆ กับว่าเรากำลังอ่านหนังสือพิมพ์ในรูปแบบกระดาษอยู่ เพราะการนำเสนอของหนังสือพิมพ์บนจอ iPad ยังคงกลิ่นอายของการจัดหน้าสไตล์ดั้งเดิมอยู่ เพราะในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ คุณจะได้เห็นหัวข้อข่าวต่างๆ รวดเร็วเพียงแค่ผ่านสายตาในแวบแรก เช่นนี้….

  • The Wall Street Journal เวอร์ชั่น iPad

The Wall Street Journal on iPad

  • The New York Times (Editor’s Choice) เวอร์ชั่น iPad

The New York Times (Editor's Choice) on iPad

  • BBC News เวอร์ชั่น iPad

BBC News on iPad

ทั้งนี้ ข้อดีของการนำเสนอข่าวบน iPad นั้นคือ มีความลึกในการนำเสนอมากกว่า แทนที่ผู้อ่านจะต้องนั่งพลิกเปลี่ยนหน้ากระดาษ แค่เอานิ้วจิ้มไปที่หัวข้อข่าว หรือคอลัมน์ หรือรูปภาพ แม้กระทั่งบนวีดีโอ เท่านั้นหน้าข่าวนั้นๆ ก็จะป็อบอัพขึ้นมาให้อ่านกันอย่างเต็มๆ ทันที ซึ่งบางค่ายก็ออกแบบมาให้เิปิดหน้าใหม่ แต่บางรายก็ใช้หน้าเดิม ซึ่งรูปแบบจะเหมือนการตั้งค่าเว็บ template นั่นแล จะเลือกวิธีการนำเสนอข้อมูลอย่าไรขึ้นกับสไตล์ของแต่ละสำนักข่าว

ข้อดีอย่างหนึ่งของบริการข่าวบน iPad คือ นอกจากจะเก็บเงินค่าแอพพลิเคชั่นได้แล้ว ยังสามารถขายโฆษณาได้ด้วย เนื่องจากโครงสร้างของการนำเสนอนั้นมีหน้าตาคล้ายหนังสือพิมพ์ นั่นคือ มีพื้นที่มากพอที่จะมีโฆษณาที่แลดูสวยงามได้ …

ลองมาดูการเิดินเนื้อหากันบ้าง พอจิ้มตรงเนื้อข่าว หน้าข่าวนั้นก็จะขึ้นมาให้อ่านแบบเต็มๆ กัน

iPad จึงเหมาะแก่การอ่านหนังสือพิมพ์อย่างมาก ….

  • BBBC News

  • Reuters

มาดูข่าวเฉพาะทางกันบ้าง นั่นคือ ข่าวหุ้นและการเงิน คงจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก Bloomberg ซึ่งหน้าแรกของแอพพลิเคชั่น Bloomberg บน iPad นั้นออกแบบได้สวยงามน่าดูชมจริงๆ

Bloomberg on iPad

หน้าต่อมาของ Bloomberg ก็สวยใช่หยอก เนื่องพราะข่าวที่นำเสนอจะเป็นข่าวสารทางการเงินและข่าวหุ้นเป็นหลัก ฉะนั้น การนำเสนอข่าวประเภทนี้ให้อ่านเข้าใจง่ายย่อมหนีไม่พ้นการนำเสนอด้วยกราฟดังนี้

การนำเสนอของ Bloomberg บน iPad สวยมาก

มาดูที่สำนักข่าวเอพีกันบ้างดีกว่า…สำนักข่าว AP มาแปลกเพราะแทนที่จะนำเสนอในรูปแบบหนังสือพิมพ์ กลับนำเสนอแบบเหมือนโน้ตแปะไว้…พอจิ้มเข้าไปก็เจอกับข่าวและรูปสวยเมื่อดูบนจอ iPad

และเหมือนเช่นเคย แทบทุกเว็บข่าวจะสามารถให้เราแชร์เรื่องไปยังเพื่อนของเราที่ Facebook และ Twitter ได้อย่างสะดวกและง่ายดาย เพียงแต่คุณอาจจะต้องผูกบัญชีกันก่อนในครั้งแรกเท่านั้น ในครั้งต่อไปเพียงกดปุ่ม ‘share’ เท่านั้นก็ส่งได้เลย..

และอีกหนึ่งคุณภาพจากสำนักข่าว AP ก็คือ รูปภาพ…ภาพข่าวของที่นี่สวยดี ลองมาดูกัน ภาพข่าวของ AP บน iPad นั้นมีให้เลือกมากพอๆ กับบนเว็บ แต่เวลา display แล้วมันจะแลดูสวยกว่า (ไม่รู้คิดไปเองไหม) ลองดูเอาละกันนะคะ

สำหรับ ChinaDaily แม้จะมีบริการข่าวทั้งบน iPhone และ iPad แต่รูปแบบของการนำเสนอข่าวยังคงเหมือนกัน คือเน้น ข้อความมากกว่ารูปภาพ (นี่เท่ากับว่าไม่ได้ใช้ศักยภาพและประโยชน์จากเจ้า iPad ได้อย่างเต็มที่อย่างที่ควรจะเป็นนะเนี่ย) ทำให้หน้าตาบริการข่าวแลดูเหมือนหน้าของทวิตเตอร์ไปซะงั้น….

ซึ่งข้อดีของ iPad (และ iPhone) คือ คุณสามารถขยายข้อความขึ้นมาจนใหญ่พอที่คุณจะอ่านสะดวก

นอกจากเว็บของสำนักข่าวเองแล้ว ปัจจุบันคนยังนิยมเสพข่าวจากผู้ให้บริการรวบรวมข่าว (News Aggregators) ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีผู้ใ้ห้บริการหลายรายมากขึ้นทั้งบน iPhone และบน iPad ดูเหมือนว่าเหล่า News Aggregators นี้จะไวกว่าสำนักข่าวเองเสียอีก…

นี่คือตัวอย่างบริการข่าวบน iPad ของบรรดา News Aggregators….

อีกราย…

News Aggregators อีกราย…แต่อ่านไ่ม่ออก…. จะเห็นว่าการจัดวางหน้านั้นจะคล้ายๆ กันหมด…ทั้งนี้ เชื่ออว่าในอนาคตคงจะได้เห็นการจัดหน้าที่ฉีกแนวออกไปบ้าง ตอนนี้อาจเพราะเป็นช่วงเริ่มต้น

และอีกราย… Daily News มีบริการทั้งบน  iPhone และบน  iPad

ข้อดีของการใช้บริการรวบรวมข่าวก็คือ คุณสามารถอ่านข่าวได้จากหนังสือพิมพ์มากกว่าหนึ่งฉบับ ประหยัดเวลา…

นอกจากข่าวแล้วภาพข่าวยังเป็นสินค้าหนึ่งที่สำนักข่าวสามารถทำเงินจากมันได้ และยิ่งได้อุปกรณ์ในการดูภาพสวยๆ อย่าง iPad ช่วยทำให้ภาพข่าวสวยขึ้นอย่างมาก…ไม่เชื่อลองดูด้วยตาคุณเอง…

ยังมีสำนักข่าวและ News Aggregators อีกหลายรายที่มีบริการบน iPhone แล้วแต่ัยังไม่มีเวอร์ชั่น iPad (ณ ตอนที่ทดสอบอยู่นี้ แต่ตอนนี้มีหลายรายแล้วทยอยมีเวอร์ชั่น iPad อาทิ Mashable เป็นต้น)

นี่คือตัวอย่างของบริการข่าวที่มีให้บริการแล้วบน iPhone แต่ยังไม่มีบน iPad เชื่อว่าเร็วๆ นี้คงได้เห็นอย่างแน่นอน…

หน้าตาของการนำเสนอข่าวบน iPad นั้นสวยงาม น่าอ่านจริงๆ เสียดายตรงที่ยังไม่สะดวกนักหากนำ iPad ไปใช้นอกสถานที่ที่ไม่มีสัญญาณ WiFi แต่ปัญหานั้นคงหมดไปเมื่อใช้รุ่น iPad 3G

สรุปคือ โดยส่วนตัวมองเว่า iPad นั้นเป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะเอาไว้บริโภคข้อมูลข่าวสาร แค่เฉพาะจากสื่อกระแสหลักอย่างเดียวที่เล่ามาให้ฟังนี้ก็ทำให้คุณเพลิดเพลินหายเข้าไปในจอเกือบสิบนิ้วนี้ได้นานทีเดียว โชคดีที่แบตเตอร์รี่ของ iPad นี้ใช้ได้นานกว่า iPhone ค่อนข้างมาก คืออยู่ได้ทั้งวันเต็มๆ สบายๆ แต่เวลาชาร์จต้องเสียเวลามากกว่าตอนชาร์จ iPhone  และสิ่งที่แตกต่างอีกอย่างคือ ตอนเสียบ iPad เข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อซิงคน์ข้อมูลจะไม่มีการชาร์จเกิดขึ้น ไม่เหมือน  iPhone แม้ว่า ณ ปัจจุบันเราจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นตรงจาก iPad เราต้องดาวน์โหลดผ่านคอมพิวเตอร์ (ซึ่งความสะดวกจะน้อยลงไปบา้าง) แต่ก็เชื่อแน่ว่าหากใครที่ใช้ iPhone อยู่แล้วรับรองไม่หลงรัก หรือไม่ชอบ iPad เห็นจะเป็นการพูดไม่จริง …

View :5391
Categories: Technology Tags: , ,