Archive

Archive for the ‘Internet’ Category

ระบบเครือข่ายเซนเซอร์เฝ้าติดตามผลกระทบในฝั่งทะเลอันดามัน จากเหตุแผ่นดินไหวที่ประเทศอินโดนีเซีย

April 12th, 2012 No comments

ระบบเครือข่ายเซนเซอร์เฝ้าติดตามและส่งข้อมูลลักษณะทางกายภาพของระบบ นิเวศวิทยาปะการัง สามารถจับชายหาดและภาพใต้ทะเลฝั่งอันดามันในช่วงเวลา 18.00-18.30 น. ของวันที่ 11 เมษายน 2555 คาดว่าจะเป็นช่วงที่เกิดเหตุน้ำขึ้นลงผิดปกติในเขตเกาะราชาใหญ่ จังหวัดภูเก็ต อันเป็นผลมาจากแผ่นดินไหวที่ประเทศอินโดนีเซีย โดยทีมนักวิจัยจากศูนย์ความรู้เฉพาะด้านนิเวศวิทยาพยากรณ์และการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์พบความผิดปกติน้ำทะเลขึ้นลงประมาณ10 เซ็นติเมตร

ภาพขณะลงไปติดตั้งอุปกรณ์เมื่อปี 2011


หมายเหตุ : ( ข้อมูลโครงการวิจัยเพิ่มเติม ) ระบบเครือข่ายเซนเซอร์เฝ้าติดตามและส่งข้อมูลลักษณะทางกายภาพของระบบ นิเวศวิทยาปะการัง
ภายใต้โครงการเครือข่ายบุคลากรและการสร้างศูนย์ความรู้เฉพาะด้าน Centre of Excellence : CoE

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค ร่วมกับ ศูนย์ความรู้เฉพาะด้านนิเวศวิทยาพยากรณ์และการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และผู้ประกอบการรีสอร์ท ร่วมกันพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการแก้ปัญหาชายฝั่ง โดยมุ่งศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดการฟอกขาวของปะการัง ระบบสารสนเทศนี้จะช่วยให้นักวิจัยมีข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะทำความเข้าใจ กระบวนการต่างๆ ที่มีผลต่อชายฝั่ง นำไปสู่การแก้ปัญหาชายฝั่ง ทั้งทางกายภาพและชีวภาพ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีแนวปะการังที่สวยงามหลายจุดทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่ง อันดามัน ผลผลิตและความหลากหลายทางชีวภาพที่สูงมากของแนวปะการัง ปัญหาการตายของแนวปะการังซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด จะมีผลกระทบต่อมวลมนุษย์สุดที่จะประเมินได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ ปะการังเหล่านี้เพื่อการจัดการ อย่างเข้าใจ และอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์นี้ไว้ สถาบันการศึกษาต่างๆ ให้ความสนใจที่จะศึกษา เก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมของแนวปะการัง แต่เนื่องด้วยงบประมาณและเวลาที่จำกัด ทำให้ไม่สามารถทำการศึกษาแนวปะการังได้ทุกๆแห่งทั่วประเทศไทย การศึกษาและติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมส่วนใหญ่แล้วเป็นการวางเซน เซอร์ และไปเก็บตัวอย่างทุกๆ 2-3 เดือน ทำให้ข้อมูลที่ได้ไม่เป็นแบบ real-time เมื่อเกิดปะการังฟอกขาวขึ้นในช่วงที่ยังไม่ได้ออกไปเก็บข้อมูล การศึกษาปัจจัยทางกายภาพที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวได้ไม่ทันถ่วง ที ทำให้ไม่สามารถเข้าใจถึงปัจจัยทางกายภาพที่มีผลทำให้เกิดปรากฎการณ์ ปะการังฟอกขาวอย่างถ่องแท้ได้

ปรากฎการณ์อุณหภูมิน้ำทะเลที่เพิ่ม สูงขึ้นทำให้เกิดปะการังฟอกขาวไป มากกว่า 60 ประเทศทั่วโลกในปีคศ. 1998 และในปีคศ. 2010 นักวิจัยจำเป็นต้องทำความเข้าใจรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำทะเล และการตอบสนอง ของปะการังต่ออุณหภูมิน้ำทะเลที่เปลี่ยนแปลงไป การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อ การเกิดปะการังฟอกขาวก็เป็นส่วนหนึ่งของการเข้าใจปัญหา การเก็บข้อมูลทางกายภาพของสิ่งแวดล้อมที่ระบบนิเวศปะการังแบบ realtime เป็นหนทางเดียวที่ช่วยในการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ถูกต้องแม่นยำมาก ขึ้น ศูนย์ความรู้เฉพาะด้านนิเวศวิทยาพยากรณ์และการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้มีการติดตั้งเซนเซอร์วัดอุณหภูมิน้ำทะเลและแสง ตามจุดต่างๆแบบ offline and online และสถานีตรวจวัดอากาศอัตโนมัติ เป็นการนำเทคโนโลยีใหม่ด้านไอที เข้าไปศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของสภาพแวดล้อมแนวปะการัง จากระยะไกล

ภาพขณะลงไปติดตั้งอุปกรณ์เมื่อปี 2011


รศ.ดร.กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี ผู้อำนวยการศูนย์ความรู้เฉพาะด้านนิเวศวิทยาพยากรณ์และการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดเผยว่า”โครงการติดตั้งระบบเครือข่ายเซ็นเซอร์เฝ้าติดตามและส่งข้อมูลลัก ษณทางกายภาพของ ระบบนิเวศวิทยาปะการัง มีจุดเริ่มมาตั้งแต่การติดตั้งเซ็นเซอร์แบบอิสระ หรืออุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิน้ำทะเลและแสงแดด ตามจุดต่างๆใต้ท้องทะเล บริเวณบ้านรายารีสอร์ทแอนด์สปา เกาะราชาใหญ่ จ.ภูเก็ต แต่ข้อมูลที่ได้ไม่ทันสถานการณ์ เพราะการตรวจดูข้อมูลจากอุปกรณ์นักวิจัยต้องเดินทางไปเก็บในช่วง 2-3 เดือนต่อครั้ง ทำให้บางครั้งปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวสิ้นสุดไปแล้ว ด้วยเหตุนี้ เนคเทคซึ่งมีความร่วมมือกับเครือข่ายสังเกตการณ์แนวปะการัง และได้รับความร่วมมือจากออสเตรเลียให้ยืมเซ็นเซอร์อัจฉริยะ (Conductivity Temperature and Depth Pressure Sensor : CTD) จำนวน 2 เครื่อง ให้นำมาติดตั้งเสริมอุปกรณ์เซ็นเซอร์ตัวเดิม ทำให้ทีมวิจัยสามารถเฝ้าดูข้อมูลผ่านระบบไอทีได้ตลอดเวลา สามารถปรับเปลี่ยนระบบการเก็บข้อมูลและการวัด สามารถตั้งค่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบ เช่น ตั้งค่าอุณหภูมิวิกฤติ หรือให้ตรวจสอบปรากฏการณ์ เป็นต้น แถมยังสามารถควบคุมหรือสั่งการได้จากศูนย์ควบคุมบนบก เป็นระบบเครือข่ายเซนเซอร์ที่ส่งข้อมูลลักษณะทางกายภาพแบบ realtime online เป็นวิธีแบบใหม่ที่จะ นิยมใช้กันทั่วโลก ประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกในเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศที่ 4 ของโลกที่มีระบบเครือข่ายเซ็นเซอร์ศึกษาลักษณะทางกายภาพทางทะเลของแนว ปะการังที่ทันสมัย ถัดจากประเทศออสเตรเลีย ไต้หวัน และเกาะมูกิ ในมหาสมุทรแปซิฟิก

นายปิยะวัฒน์ เสงี่ยมกุล ผู้จัดการโรงแรมบ้านรายา รีสอร์ท แอนด์สปา เกาะราชาใหญ่ จ.ภูเก็ต กล่าวถึงการตัดสินใจสนับสนุนงานวิจัยชิ้นนี้ว่า “ตนเป็นคนรักธรรมชาติและชื่นชอบการประดาน้ำ ได้มีโอกาสเข้ามาบริหารรีสอร์ตหลังเรียนจบวิศวกรรมศาสตร์ สาขาไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ซึ่งทุกวันตนจะดำน้ำลงไปเก็บขยะในอ่าวขอนแค แต่ด้วยความที่ไม่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการอนุรักษ์มากนัก จึงรู้สึกยินดีต้อนรับนักวิทยาศาสตร์และทุกหน่วยงานที่จะเข้ามาดำเนินการใดๆ เพื่อช่วยฟื้นฟูและอนุรักษ์ธรรมชาติในพื้นที่ไว้ นอกจากนี้ รีสอร์ตของตนยังมีความเพียบพร้อมด้านการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นระบบ 3จี ไว-ไฟ และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตผ่านสายเคเบิลใยแก้วนำแสง จึงคิดว่าเหมาะเป็นสถานที่สำหรับการทำวิจัยด้วย การสนับสนุนอาคารศูนย์วิจัยในรีสอร์ตเป็นเหมือนการทำธุรกิจแบบวิน-วิน ตนได้มีส่วนอนุรักษ์ธรรมชาติ ทางรีสอร์ตสามารถใช้ข้อมูลเป็นสภาพอากาศแบบเรียลไทม์ให้ลูกค้าได้ทราบ กล้องที่ติดตั้งไว้ใต้ทะเลเพื่อติดตามดูปะการังก็สามารถถ่ายทอดมายังล็อบบี้ ของโรงแรมได้ นับเป็นจุดขายที่โดดเด่นของรีสอร์ต นอกจากนี้ ประเทศชาติก็ยังได้ประโยชน์ด้วย ทุกคนได้ประโยชน์หมด”

ภาพขณะลงไปติดตั้งอุปกรณ์เมื่อปี 2011

ดูภาพ Update เพิ่มเติมและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://www.facebook.com/ecoinfo

View :3992

Sanook’s E-Commerce launched Dealfish.com

February 21st, 2012 No comments

Tiwa York, managing director of Sanook’s E-Commerce talks about the company’s online classified business, www.dealfish.co.th, which is targeted to be number one in the market by the end of this year.

 

View :2395

มุมมองนักกฏหมาย กรณีทวิตเตอร์นายกฯ ยิ่งลักษณ์โดนแฮค

October 3rd, 2011 No comments

เมื่อเช้าหลังจากที่รัฐมนตรีอนุดิษฐ์​นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแถลงข่าวความคืบหน้าของกรณีทวิตเตอร์นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรเสร็จสิ้นตอนเช้าของวันนี้ อาจารย์ไพบูลย์​ อมรภิญโญเกียรติ นักกฎหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ทวิตแสดงความคิดเห็นดังนี้

@paiboona: น่าติดตามแถลงข่าวของไอซีทีกรณีแฮ็กทวิตเตอร์อย่างยิ่งโดยเฉพาะการตั้งข้อกล่าวหากับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและการปรับใช้พรบคอมฯครับ

@paiboona: หลังไอซีทีแถลงผมจะวิเคราะห์ข้อเท็จจริงกับข้อกมครับว่าจะจับคนร้ายได้?ไอซีทีถูกแฮ็กทุกทีที่มีการเปลี่ยนขั้วการเมืองแต่ไม่เคยจับคนร้ายได้เลย?

เลยถือโอกาสสอบถามอาจาย์ดังนี้….​

@lekasina: ไม่แน่ใจว่า ขอข้อมูลอะไรไปบ้างค่ะ ทางนั้นเขาสามารถให้ข้อมูลบางอย่างได้ไหมคะ หากรัฐบาลร้องขออ่ะค่ะ

@paiboona: เป็นดุลยพินิจของทวีตเตอร์ครับ

@paiboona: เท่าที่เคยทำในทางคดีจะให้แค่ไอพีแต่ข้อมูลส่วนบุคคลไม่ให้ครับขัดต่อกมอเมริกา ทวีตเตอร์ยึดข้อกำหนดในเว็บไซท์เป็นหลักครับ

@paiboona: ที่สำคัญตอนนี้ยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหากับผู้ต้องสงสัยเลยครับแล้วใช้อำนาจอะไรไปขอทวีตเตอร์ที่เป็นบริษัทที่มีที่อยู่ในต่างปท.ครับ

@paiboona: ทางปฏิบัติแค่ไอพีไม่พอครับยิ่งถ้ามืออาชีพจะปลอมไอพีและใช้ dynamic IP ครับแต่ถ้าเป็นมือสมัครเล่นอาจได้ผลครับ

@lekasina: แล้วเคสนี้อาจารย์มองว่า มืออาชีพไหมคะ

@paiboona: ส่วนตัวผมยังเชื่อว่าไม่มีการแฮกแต่เป็นเรื่องรหัสผ่านหลุดไปยังบุคคลภายนอกครับ แต่ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นครับ

@paiboona: ฟังแถลงไอซีทีแล้วไม่เชื่อว่ารู้ตัวแล้วเร็วไปการทำCyber investigation ต้องใช้เวลาและคดีนี้ต้องมีการทำcomputer forensic เพื่อยืนยันตัวคนทำด้วย

ประเด็นขอข้อมูลจากทวิตเตอร์อเมริกาคงไม่ให้ครับ เพราะดูจากเนื้อหากระทู้ไม่น่าผิดกมอเมริกาครับเท่าที่ดูอาจจะเป็นแค่ไฟไหม้ฟางเหมือนที่คมช.เคยโดน

การแฮ็กFBหรือTwitterเป็นไปได้ยากมากเพราะดู algorhytm และระบบความปลอดภัยของทั้งสองเว็บยากต่อการแฮ็กมาก และupdatedตลอดเวลาปัญหาที่userมากกว่าครับ

ปัญหาในคดีส่วนใหญ่ในเมืองไทยช่องโหว่วของการใช้SMอยู่ที่ผู้ใช้ครับเช่นการจำรหัสผ่าน การแชร์รหัสผ่านในกลุ่มผู้ใช้. ลืม log out หลังใช้งานครับ

เมื่อคืน (คืนวันเกิดเหตุทวิตเตอร์นายกฯ ถูกแฮค) ได้สอบถามอาจารย์ไพบูลย์​ดผ่านไทม์ไลน์ทวิตเตอร์ดังนี้ค่ะ

@lekasina: คิดว่ากรณีนี้จะส่งผลอย่างไรต่อร่างพรบ.คอมพ์ฉบับปี.ที่ตอนนี้อยู่ที่ก.ไอซีทีบ้างไหมคะ

@paiboona: ถ้าจับไม่ได้ก็คงแก้กมให้รุนแรงขึ้นแน่นอนครับ

@paiboona: จริงๆแล้วการแฮ็กครั้งนี้เป็นดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพของไอซีทีและหน่วยงานรัฐเป็นอย่างดีถ้าจับคนผิดไม่ได้แล้วถ้าปชชเป็นผู้เสียหายจะทำ?

@paiboona:ส่วนตัวผมว่าการปรับข้อกมกับการแฮ็กที่เกิดขึ้นชัดเจนและง่ายต่อการปรับใช้มากแต่หากไม่เข้าใจก็คงเสนอแก้กมแรงขึ้นซึ่งแก้ไขไม่ตรงจุด

@paiboona:เป็นไปได้ครับแต่ต้องตามว่าใครเป็นเจ้าภาพยกร่างครับ:) รัฐบาลชุดนี้ไม่น่าใช้ร่างรัฐบาลเดิมเพราะถูกวิจารณ์หนักมากครับ

@lekasina:อาจารย์เห็นด้วยไหมคะที่จะแยกเอาพรบ.คอมพ์ออกมาเป็น pure computer crime ไปเลยอ่ะค่ะ

@paiboona: ที่ถูกควรเป็นอย่างนั้นแต่ติดปัญหาที่กม.วิอาญา วิอาญาปัจจุบันไม่ให้อำนาจตำรวจและศาลรวบรวมพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ก่อนฟ้องหรือแจ้งความถ้าไม่แก้วิอาญาก็คงต้องใช้พรบคอมฯไปก่อนครับ

@lekasina: แปลว่าหากจะมีการผลักดันร่างพรบ.คอมพ์อีกครั้ง จะไม่ร่างเดิมทียกสมัยรมว.จุติหรือคะ

@paiboona:คิดว่าคนละขั้วกันไม่น่าใช้ร่างเก่าครับ

@lekasina: อย่างนี้..ยกร่างนานไหมคะ หากทำกันตามกระบวนการปกติอ่ะค่ะ

@paiboona:ขึ้นอยู่กับทีมที่ยกร่างถ้ายกร่างดีๆ+ประชาพิจารณ์ก็น่าจะอย่างน้อย1ปีครับ

@lekasina: หากจะมีการปรับร่าง อาจารยืคิดว่มีประเด็นหลักๆ อะไรบ้างคะที่คนยกร่างชุดใหม่จะปรับแก้ จากร่างปัจจุบันอ่ะค่ะ

@paiboona: หลายประเด็นครับ >> ตัดเรื่องทำสำเนาออกครับเพิ่มเรื่องการยกเว้นความรับผิดของผู้ให้บริการตามม15อาจเลียนแบบDMCA กมอเมริกา ไม่จำเป็นต้องมีหน่วยงานเฉพาะ >> การได้มาซึ่งพยานหลักฐานฯลฯครับ >>ที่สำคัญยกเลิกการอบรมพนงไอซีทีหรือcyber cop ที่ใช้แบบเร่งด่วน 4วัน เป็น4เดือนตามกมและมีการอบรมด้านcomputer forensicอย่างจริงจัง

@lekasina หากมีการยกร่างใหม่จริงๆ และปรับแก้ตามประเด็นที่อจกล่าวมา จะทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์น้อยลงไหมคะ ได้รับการสนับสนุนมากขึ้นไหมคะ

@paiboona: ครับ อยากให้คนที่ร่างคือคนที่ถูกบังคับใช้ด้วยเช่นสื่อ ไอเอสพี โฮสติ้ง คนทำเว็บ ฯลฯไม่ใช่ตำราของรัฐ+นักวิชาการที่ไม่ได้ปฏิบัติจริงครับ

@lekasina ต้องขึ้นกับว่า กระบวนการยกร่างของเขาจะเปิดโอกาสให้ปชช. ในแต่ละภาคส่วนเข้าไปมีส่วนร่วมมากน้อยแค่ไหนด้วยใช้่ไหมคะ

@paiboona: ใช่ครับ

View :2851

Tablet/ Smart Phone + เครือข่ายสื่อสารไร้สาย หนุนรูปแบบการทำงานแบบ Mobile Working

June 8th, 2011 No comments


แนวโน้มการทำงานผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ที่กำลังขยายตัวเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันนั้นมีผลมาจากหลายปัจจัยสอดคล้องเกื้อหนุนกัน ทั้งปัจจัยความพร้อมของโครงข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งแบบมีสายและไร้สายรวมถึงโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคม ความพร้อมและแพร่หลายของตัวอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารแบบพกพาได้ ไปจนถึงความพร้อมระบบบริการซอฟต์แวร์ที่ให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือปัจจุบันเรียกกันว่าคลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ทั้งหมดทั้งมวลนี้ล้วนเป็นปัจจัยหนุนส่งให้คนทำงานเริ่มหันมาทำงานแบบ mobile working กันมากขึ้น

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาหลังการเข้ามาในประเทศไทยอย่างเต็มตัวของสมาร์ทโฟนที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ตอบสนองการทำงานและชีวิตส่วนตัว ทำให้ผู้คนสามารถจะติดต่อสื่อสารทั้งเสียงและอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกสบาย ทำให้ปริมาณการใช้งานโมบาย อินเทอร์เน็ต (Mobile Internet) ซึ่งเป็นการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายการสื่อสารของโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทำให้ผู้ให้บริการ (Mobile Operator) หันมาลงทุนเตรียมความพร้อมของโครงข่ายสื่อสารเพื่อให้สามารถรองรับกับการใช้งานของผู้ใช้จำนวนมากขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านโครงข่ายสื่อสารไร้สายได้กลายเป็นเรือธงทางธุรกิจของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือทุกราย

ปกรณ์ พรรณเชษฐ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายผลิตภัณฑ์ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ธุรกิจของดีแทคในปี 2554 คือการเเป็นผู้นำตลาดด้านโมบายอินเตอร์เน็ตโดยวางเป้าหมายเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์จากที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยในปีนี้บริษัทจะผลักดันให้มีการใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้นด้วยการลงทุนเตรียมความพร้อมของโครงข่ายและออกรูปแบบบริการที่หลากหลายและตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย อาทิ ที่ผ่านมามีการเปิดตัวแพ็คเกจอินเทอร์เน็ตสำหรับ iPad ในประเทศไทย เป็นต้น

“ดีแทคมีซิมมีประมาณ 6.5 แสนซิมที่เป็นดาต้าซิม คือซิมที่ลูกค้าซื้อไปเพื่อต่ออินเทอร์เน็ตเป็นหลัก คาดว่าน่าจะมีลูกค้าดาต้าซิมถึง 1 ล้านคนในสิ้นปีนี้ กลุ่มผู้ใช้โมบายอินเทอร์เน็ตจากสมารท์โฟนมีการเติบโตที่สูงมากในปีที่ผ่านมา ลูกค้าดีแทคที่ใช้อินเตอร์เน็ต 4.5 ล้านคนในเดือนมกราคมที่ผ่านมานั้นเป็นกลุ่มที่ใช้สมาร์ทโฟนถึง 20 เปอร์เซ็นต์ (นับรวมการใช้ผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของโนเกีย) โดยมีลูกค้าใช้โมบายอินเทอร์เน็ตผ่าน Aircard อยู่ราว10 เปอร์เซ็นต์”

ปกรณ์ กล่าวต่อว่า การใช้งานของผู้ใช้โมบายอินเทอร์เน็ตมีแนวโน้มทียังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในแง่ของจำนวนผู้ใช้งาน และ ปริมาณการใช้งานต่อคน ลูกค้าของดีแทคที่ใช้บริการโมบายอินเทอร์เน็ตแบบจ่ายรายเดือน (Postpaid Internet SIM) จะเป็นกลุ่มที่มีอัตราปริมาณการใช้งานเฉลี่ยต่อคน หรือ Data ARPU (Average Revenue Per User) สูงที่สุด ในขณะที่กลุ่มผู้ใช้งานโมบายอินเทอร์เน็ตแบบเติมเงิน (Happy Internet SIM) มีปริมาณการใช้งานอยู่ในระดับปานกลาง

“กลุ่มลูกค้าโมบายอินเทอร์เน็ตแบบรายเดือนจะใช้ Internet SIM เป็นซิมสำหรับดาต้าหรือเพื่อต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะ ซึ่งโดยมากใช้กับอุปกรณ์พกพา อาทิ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค และแท็ปเล็ต (Tablet) ซึ่งปัจจัยที่จะผลักดันให้การใช้งานโมบายอินเทอร์เน็ตในปีนี้ตอย่างมากคือการเข้ามาของแท็ปเล็ตและสมาร์ทโฟน ซึ่งปีนี้ดีแทคจะเปลี่ยนเครือข่ายเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของการใช้โมบายอินเทอร์เน็ตที่มีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

ด้านปรัธนา ลีลพนัง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานบริการเสริม บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำหัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า เรือธงหลักของปีนี้คือการขยายฐานลูกค้าที่ใช้งานโมบายอินเทอร์เน็ต โดยตั้งเป้าหมายว่าจะเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานโมบายอินเทอร์เน็ตของเอไอเอส ในขณะที่คาดการณ์ว่าปีนี้ตลาดน่าจะเติบโตราว 15 เปอร์เซ็นต์

การขยายตัวของการใช้งานโมบายอินเทอร์เน็ตมีอัตราการเติบโตที่สูงมากซึ่งเป็นการเติบโตทั้งจำนวนคนใช้งานและค่าเฉลี่ยการใช้งาน ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมาอัตราการเติบโตในส่วนนี้เพิ่มขึ้นกว่า 300 เปอร์เซ็นต์ ข้อมูลไตรมาสสุดท้ายของปี 2553 ลูกค้าเอไอเอสใช้งานโมบายอินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 94 ชั่วโมง ในปีนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 27 เปอร์เซ็นต์ ส่วนจำนวนผู้ใช้บริการน่าจะมากขึ้น 15 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มจาก 7.5 ล้านราย เป็น 9 ล้านราย ภายในสิ้นปีนี้ ล่าสุดเอไอเอสจับมือกับกูเกิล พัฒนาแอพพลิเคชั่นที่ใช้กับเว็บเบราเซอร์กูเกิล โครม (Google Chrome) ไว้ในเอไอเอสแอร์การ์ด (Air Card) ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตได้เร็วขึ้น มีระบบรักษาความปลอดภัยจากเว็บที่เป็นอันตรายต่างๆ ทั้งยังมีระบบดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นเสริมอื่นๆ เช่น โลเคชันเบสด์ เซอร์วิส และบริการเสริมจากเอไอเอส เพื่อช่วยการใช้งาน และสามารถตรวจสอบจำนวนการใช้งานได้

ด้านบริษัทวิจัย Frost & Sullivan คาดการณ์ว่าในปี 2558 จะมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตคิดเป็นสัดส่วน 55 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั้งประเทศ ซึ่งจะเพิ่มจากสัดส่วน 20 เปอร์เซ็นต์ในปีที่ผ่าน ซึ่งเติบโตในอัตราใกล้เคียงกับการเติบโตของตลาดบริการข้อมูลบนเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Non-Voice Service) ซึ่งในส่วนนี้ส่วนมากเป็นบริการต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริษัทวิจัยอีกสำนักอย่าง IDC คาดว่าไปในทิศทางเดียวกันว่า ราคาค่าบริการของการใช้งานในส่วนนี้จะมีการปรับลดลงราว 30 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากการแข่งขันของผู้ให้บริการ

อย่างไรก็ดี ปฏิเสธไมได้ว่าการเติบโตอย่างต่อเนื่องแบบก้าวกระโดดของอุปกรณ์พกพาทั้งแท็ปเล็ต (Tablet) และสมาร์ทโฟน (Smart Phone) เป็นปัจจัยส่งให้เกิดรูปแบบการทำงานแบบทุกที่ทุกเวลา ปัจจุบันอุปกรณ์พกพาทั้ง แท็ปเล็ต (Tablet) และสมาร์ทโฟน (Smart Phone) กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่คนทำงาน เพราะอุปกรณ์เหล่านี้นอกจากให้อิสระในการทำงานแล้วยังตอบโจทย์รูปแบบการใช้ชีวิตในสังคมออนไลน์ได้ตลอดเวลา

บริษัทวิจัย Frost & Sullivan คาดการณ์ว่าในปี 2558 ตลาดสมาร์ทโฟนในประเทศไทยจะมีสัดส่วนสูงถึง 60-65 เปอร์เซ็นต์ของตลาดโทรศัพท์มือถือรวมซึ่งเพิ่มจากสัดส่วนเพียง 18 เปอร์เซ็นต์ในปีที่ผ่านมา ในขณะที่ IDC คาดการณ์ว่า ตลาดสมาร์ทโฟนปีนี้จะอยู่ที่ 1.7 ล้านเครื่อง

จากการคาดการณ์ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (ซิป้า) ระบุว่า ตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปีนี้นาจะขยายตัวราว 9.6 เปอร์เซ็นต์ โดยจะมีมูลค่าประมาณ 61,080 ล้านบาท โดยสมาร์ทโฟนจะเติบโตสูงราว 24.9 เปอร์เซ็นต์และคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าตลาดที่ 31,090 ล้านบาท

เครือข่ายพร้อม อุปกรณ์พร้อม หากขาดซึ่งระบบที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีระสิทธิภาพและสะดวกสบายแล้ว รูปแบบการทำงานแบบ mobile working คงเกิดขึ้นได้ไม่เร็วนัก นักวิเคราะห์มองตรงกันว่า คลาวด์ คอมพิวติ้ง คืออีกหนึ่งปัจจัยที่จะหนุนส่งให้คนสามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลาจากที่ไหนก็ได้ที่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตครอบคลุม ปัจจุบันหลายองค์กรเริ่มหันมาลงทุนและใช้งานบนระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง

ผลการสำรวจล่าสุดของ Springboard Research เกี่ยวกับการใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้งในประเทศไทยพบว่า ร้อยละ 50 ขององค์กรที่ร่วมตอบแบบสำรวจวางแผนที่จะใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้งในอนาคต ซึ่งนับเป็นอัตราสูงสุดในภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ ร้อยละ 76 ขององค์กรมองว่าคลาวด์คอมพิวติ้งเป็นเครื่องมือทางไอทีที่มีความสำคัญเป็นลำดับแรกสุด ทั้งยังมีงบประมาณเตรียมพร้อมสำหรับการลงทุนในเรื่องดังกล่าว ผลสำรวจดังกล่าวชี้ชัดว่าคลาวด์คอมพิวติ้งมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอย่างรวด เร็วในช่วง 2 – 3 ปีต่อจากนี้ ทั้งนี้ ร้อยละ 41 ขององค์กรที่ร่วมตอบแบบสำรวจระบุว่าไมโครซอฟท์จะเป็นตัวเลือกของพวกเขาในการ ใช้งานบริการคลาวด์คอมพิวติ้งในอนาคต

ล่าสุด 2 ยักษ์ใหญ่จับมือกันให้บริการคลาวด์ ในประเทศไทย ได้แก่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมมือกันให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้งเพิ่มทางเลือกและคุณค่าทางธุรกิจที่มากขึ้นให้กับผู้ใช้งานด้วยผลิตภัณฑ์และบริการยุคใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานและช่วยยกระดับรูปแบบการทำงานของคนไทยให้สามารถใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้งได้ในหลากหลายช่องทางและอุปกรณ์

โดยไมโครซอฟท์และทรูจะนำเสนอบริการทางเลือกคลาวด์คอมพิวติ้งแบบเต็มรูปแบบจากไมโครซอฟท์ พร้อมด้วยบริการคอนเวอร์เจนซ์จากทรู ให้ธุรกิจเอสเอ็มอีและองค์กรในประเทศ เพื่อให้ลูกค้าจะได้รับประโยชน์ และจะได้รับบริการในระดับเอ็นเตอร์ไพรซ์ที่มีประสิทธิภาพในราคาสมเหตุสมผล ทั้งยังมีความน่าเชื่อถือและสามารถลดหรือเพิ่มการใช้งานตามที่ต้องการได้ โดยเครื่องมือต่างๆ รวมไปถึง อีเมล ปฏิทินนัดหมาย เครื่องมือการติดต่อสื่อสาร การทำงานร่วมกัน การประชุม และบริการคอนเวอร์เจนซ์ในรูปแบบต่างๆ

View :4458

Mobile Office แนวโน้มรูปแบบการทำงานใหม่ เปลี่ยนทุกที่เป็นที่ทำงาน ขับเคลื่อนประสิทธิภาพองค์กร

June 5th, 2011 No comments


ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอุปกรณ์และเครือข่ายการสื่อสาร ที่เอื้ออำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพจากที่ไหนมุมไหนเวลาไหนก็ได้ ทำให้เกิดรูปแบบการทำงานแบบใหม่ในยุคดิจิตอลที่คนทำงานสามารถติดต่อสื่อสารกัน ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ รูปแบบการทำงานแบบนี้เริ่มเป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับเพิ่มมากขึ้นในประเทศที่มีโครงข่ายการสื่อสารที่พร้อมที่จะให้คนทำงานสามารถที่ไหน อย่างไร ได้ทุกที่ทุกเวลา


บริษัทสื่อสารทางเสียงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตชื่อดังอย่าง Skype เองได้จัดทำสำรวจแนวโน้มของการทำงานที่บ้านจากคนทำงานกว่า 1,000 คนจาก 500 บริษัทในทุกขนาดในอเมริกา พบว่า การทำงานจากนอกที่ทำงานหรือทำงานจากที่บ้านมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนจะกลายเป็นเรื่องปกติในสังคมการทำงานในต่างประเทศแล้ว ตัวเลขเชิงสถิติจากผลการสำรวจมีความน่าสนใจซึ่งสะท้อนแนวโน้วรูปแบบการทำงานในอนาคตได้เป็นอย่างดี การสำรวจพบว่ามากกว่า 62 เปอร์เซ็นต์ของ 500 บริษัทได้มีนโยบายให้พนักงานทำงานจากที่บ้านได้ ในขณะที่ราว 34 เปอร์เซ็นต์ได้เริ่มให้พนักงานทำงานจากข้างนอกออฟฟิศบ้างเป็นครั้งคราว ซึ่งการให้พนักงานสามารถทำงานจากที่บ้านหรือจากที่ไหนก็ได้นอกที่ทำงานนั้นมีส่วนทำให้พนักงานมีความสามารถในการทำงานเพิ่มขึ้น

“อาร์เอส” ริเริ่ม Mobile Office:

ปัจจุบันมีหลายบริษัทในประเทศไทยที่เริ่มให้พนักงานทำงานจากที่บ้านหรือจากที่ไหน ก็ได้นอกที่ทำงาน อาทิ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ที่ให้ทีมงานด้าน Strategic Innovation Business ของบริษัทสามารถทำงานที่บ้านหรือนอกออฟฟิศได้ ซึ่งทีมงาน Strategic Innovation Business ของบริษัทอาร์เอส จำกัด (มหาชน) ทั้ง 3 คนมักจะนัดพบกันตามร้านกาแฟเพื่อระชุมหารือความคืบหน้าของงาน และเตรียมข้อมูลเพื่อนเข้าประชุมกับ “เฮียฮ้อ” คุณสุรชัย เชษฐ์โชติศักดิ์ ซีอีโอแห่งอาร์เอส และการประชุมกับหน่วยงานต่างๆ ภายในอาร์เอส

เนื่องจากหน่วยงาน Strategic Innovation Business เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เหมือนสมองของบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ที่ทำงานด้านวิจัยและจับจ้องเทคโนโลยีใหม่และนวัตกรรมที่จะเข้ามาเสริมธุรกิจบันเทิงของ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) อาทิตย์ เลิศรักษ์มงคล รองประธานสายงาน Strategic Innovation Business บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หน้าที่หลักของเขาและทีมงานคือการใช้ความคิดสร้างสรรค์และสรรหารูปแบบธุรกิจใหม่ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยการเกื้อหนุนของเทคโนโลยีและวิธีการคิดแบบใหม่ๆ ดังนั้นการนั่งทำงานภายในห้องสี่เหลี่ยม หรือการต้องเดินทางเพื่อไปทำงานในตอนเช้าและกลับบ้านในตอนเย็นร่วมเวลากับพนักงานคนอื่นๆ ไม่ได้ตอบโจทย์การทำงานทีมนี้ ซึ่งวัดผลงานที่ผลของเนื้อหางานมากกว่าจำนวนชั่วโมงที่เข้ามานั่งทำงานที่ที่ทำงาน

อาทิตย์มักจะใช้ร้านกาแฟ ที่มีบริการอินเทอร์เน็ตเป็นที่นัดประชุมและคุยงานกับทีมเป็นประจำทุกสัปดาห์ ส่วนวันอื่นอาทิตย์กับทีมงานจะทำงานอยู่ที่บ้าน เว้นแต่ในบางสัปดาห์ที่อาทิตย์ต้องเตรียมงานและข้อมูลเพื่อเข้าประชุมกับผู้บริหารเพื่อนำเสนอแนวความคิดและองค์ความรู้ใหม่ๆ สัปดาห์นั้นอาทิตย์และทีมจะนัดพบกันบ่อยมากขึ้น โดยปกติ อาทิตย์และทีมงานจะมีอุปกรณ์ในการทำงาน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากบริษัท อันได้แก่ อุปกรณ์แท็ปเล็ต (Tablet) ที่ทั้งทีมใช้อยู่คือ iPad ที่ลงแอพพลิเคชั่นสำหรับการ ทำงานไว้พร้อมสรรพ ไม่ว่าจะเป็น Pages สำหรับงานเอกสาร Keynote สำหรับงานพรีเซนเตชั่น และ Numbers สำหรับงานด้านตัวเลข เป็นต้น รวมถึงแอพพลิเคชั่นที่เป็นคลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ที่อาทิตย์ใช้อยู่เป็นประจำคือ Google Apps อาทิ Gmail และ Google Docs รวมถึง แอพพลิเคชั่นที่เป็นคลาวด์อื่นๆ อาทิ Dropbox เป็นต้น

“เราแทบไม่ต้องพกพาอุปกรณ์การทำงานที่เทอะทะ มากมาย เพียงแต่ iPad 3G และ iPhone 4 และหาที่นั่งทำงานที่มีอินเทอร์เน็ตไร้สาย (WiFi) ให้บริการเท่านั้นทุกอย่างก็อยู่ในมือเรา เราสามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา การทำงานแบบไม่ต้องเข้าออฟฟิศมีประโยชน์มากสำหรับงานที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์ คนจะทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุดตอนที่เขาอยู่ในสภาวะที่สบายๆ การทำงานที่ไหนก็ได้เป็นรูปแบบการทำงานที่เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานมากกว่าการที่ต้องเดินทางเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศมากไฟล์งานทุกอย่างจะอยู่ในเครื่อง iPad และเก็บไว้บนระบบคลาวด์ ซึ่งอาทิตย์สามารถเก็บและแชร์ไฟล์รวมถึงข้อมูลต่างๆ กับทีมงานตนและกับคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้สะดวกและง่ายดายมาก”

อาทิตย์เชื่อว่ารูปแบบการทำงานแบบ mobile office คือ ทำงานที่ไหนก็ได้นั้นจะเริ่มมีปรากฏให้เห็นเพิ่มมากขึ้นในเมืองไทย เพราะความพร้อมมากขึ้นของโครงข่ายสื่อสารอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั้ง WiFi และ 3G ประกอบกับอุปกรณ์ที่สามารถพกพาได้ง่ายและเปี่ยมประสิทธิภาพในการทำงานสูงเริ่มมีใช้แพร่หลาย และราคาไม่แพงมาก รวมถึงการที่มีแอพพลิเคชั่นที่สามารถตอบโจทย์การทำงานแบบ mobile office และเอื้อให้การทำงานที่ไหนก็ได้เป็นไปได้ง่ายและสะดวกขึ้น สำหรับตัวเขาเองและทีมงานได้เริ่มทำงานในรูปแบบ mobile office มาตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดี อาทิตย์มองว่า สิ่งสำคัญของรูปแบบการทำงานแบบนี้ซึ่งกำลังเป็นแนวโน้มอยู่ในขณะนี้นั้น จะสามารถนำมาปรับใช้ได้ไม่กับทุกหน่วยงานในแต่ธุรกิจ และบริษัทที่อนุญาตให้มีการทำงานแบบ mobile office ได้นั้นบริษัทจะต้องมีระบบการประเมินผลงานที่ตัวเนื้องานมากกว่าจำนวนชั่วโมงที่พนักงานเข้ามาทำงานในออฟฟิศ และตัวคนทำงานเองจะต้องปรับวิธีคิดและรูปแบบการทำงานให้สามารถ ทำงานแบบ Dynamic ได้ นั่นคือ ต้องทำงานได้ทำที่ทุกเวลา ทุกแอพพลิเคชั่น และต้องสามารถทำงานหลายๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน (multitasking workers)

“นอกจากเรื่องทักษะในการทำงานแบบหลายชนิดในเวลาเดียวกันพร้อมๆกันได้แล้ว คนทำงานในรูปแบบ mobile office นั้นจะต้องมีวินัยในการทำงานสูงและต้องรู้จักการบริหารเวลาที่ดีมากพอ เพราะการทำงานแบนี้จะใช้ผลงานที่ได้เป็นตัวชี้วัดสำคัญ” อาทิตย์กล่าวทิ้งท้าย

ผู้บริหาร “อเด็คโก้” ทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา:

นอกจาก บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) แล้ว ยังมีบริษัท อเด็คโก้ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทจัดหางานอันดับต้นๆ ของเมืองไทยเป็นอีกบริษัทหนึ่งที่มีโนบายให้พนักงานระดับผู้บริหารสามารถทำงานจากที่บ้านหรือจากนอก ที่ทำงานได้ บริษัท อเด็คโก้ (ประเทศไทย) จำกัด มีพนักงานราว 200 คน ซึ่งเป็นระดับผู้จัดการ 10 เปอร์เซ็นต์ที่สามารถทำงานแบบ mobile office ได้และ กานดา สุภาวศิน E-Business Development Manager กลุ่มบริษัท อเด็คโก้ ประเทศไทย เป็นหนึ่งในพนักงานจำนวนนั้น เธอเล่าว่า ด้วยหน้าที่การงานที่เธอต้องรับผิดชอบในส่วนงานด้านการสมัครงานออนไลน์/ดูแลผู้สมัคร งาน/ลูกค้า ทั้งระบบ Back Office และ Front Office และดูแลส่วน Online Marketing/SEO/Social Media ของบริษัทร่วมกับ Marketing Team ทำให้เธอต้องเดินทางบ่อยและต้องทำงานได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกสถานการณ์

กานดา เล่าว่า บริษัทของเธอมีนโยบายให้พนักงานระดับผู้จัดการสามารถทำงานแบบ work from home หรือ ทำงานแบบ mobile office ได้ ด้วยระบบของบริษัทที่เชื่อมโยงเครือข่ายการสื่อสารของสำนักงานสาขาทั้ง 6 แห่งในประเทศไทย (รวมสำนักงานใหญ่) ที่เปิดโอกาสให้ผู้จัดการสามารถเข้าระบบงานของบริษัทได้จากข้างนอกออฟฟิศผ่านระบบโครงข่ายส่วนตัวเสมือนหรือ VPN (Virtual Private Network) ทำให้กานดามมีความยืดหยุ่นในการทำงานสูงมาก เพราะเธอสามารถจะทำงานจากที่ไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นที่ร้านกาแฟ ร้านเบเกอร์รี่ร้านโปรด หรือมุมสบายๆ ในที่ทำงานของเธอเอง

“ด้วยลักษณะงานที่ต้องเดินทาง ติดต่อสื่อสารประสานงานกับทีมงานตามที่ต่างๆ และตามสาขาต่างๆ ของบริษัทอยู่ตลอดเวลา ทำให้เราต้องฝึกการทำงานแบบที่ไหน เมื่อไร ก็ทำงานได้ และเราจะสามารถทำงานหลายๆ อย่างพร้อมๆ กันได้ ซึ่งปัจจุบันปัจจัยต่างๆ มีความพร้อมและช่วยเสริมให้การทำงานแบบ mobile office เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

ปัจจุบัน อุปกรณ์ในการทำงานหลักของกานดา คือ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค กับโทรศัพท์มือถือ iPhone 4 ที่เธอมักจะพกไว้ข้างกายตลอดเวลา เธอบอกว่าเธอใช้ทุกช่องทางการสื่อสารเพื่อติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกับทีมงานของเธอ ไม่ว่าจะเป็นอีเมล์ หรือแอพพลิเคชั่นสื่อสารยอดนิยมอย่าง Skype, WhatsApp และ Viber ที่เธอมักจะใช้เป็นประจำ นอกเหนือไปจากการใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คเพื่อเข้าระบบงานของเธอที่ออฟฟิศผ่านเทคโนโลยี virtual desktop นอกเหนือไปจากแอพพลิเคชั่นที่กล่าวมาแล้ว กานดายังประยุกต์ใช้สื่อเครือข่ายสังคม (Social Network) อย่าง ทวิตเตอร์ (Twitter) เป็นช่องทางสื่อสารกับทีมงานช่องทางหนึ่ง และใช้เพื่อติดต่อสื่อสารกับสังคมออนไลน์และใช้เพื่อติดตามข่าวสาร

“เนื่องจากต้องดูแลทั้งประเทศไทยและเวียดนาม จึงต้อติดต่อสื่อสารข้ามประเทศ อยู่เป็นประจำ ซึ่งนโยบายบริษัทให้เราใช้ Skype ได้ เราก็จะประชุมงานกันผ่าน Skype เป็นประจำ และเมื่อต้องเดินทางไปเวียดนาม อุปกรณ์ทำงานของเราทั้ง คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค กับโทรศัพท์มือถือ iPhone 4 ก็สามารถช่วยให้เราทำงานแบบไร้รอยต่อ คือ ทำงานเหมือนกับอยู่ที่กรุงเทพฯ เพราะเราสามารถเข้าระบบงานของเราที่ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา เพราะที่นั่นเขามีเครือข่าย 3G ให้ใช้ฟรีตามร้านค้า ร้านอาหาร และสองข้างถนน สะดวกสบายมาก”

กานดาบอกว่า โดยส่วนตัวมองว่าแม้ว่าการทำงานแบบ mobile office จะไม่สามารถเข้ามาแทนที่การทำงานทั้งหมดของเธอได้ เพราะเธอยังคงต้องเข้าที่ออฟฟิศเพื่อประชุมงานอยู่เป็นประจำ แต่เธอก็ยอมรับว่าการทำงานในลักษณะแบบนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารเวลาในการทำงาน และช่วยลดต้นทุนการสื่อสาร ลดต้นทุนค่าเดินทางเพื่อจะไปประชุมลงไปได้มาก เธอเชื่อว่ารูปแบบการทำงานแบบ mobile office จะมีให้เห็นมากขึ้น แต่ทั้งนี้ขึ้นกับนโยบายของแต่ละบริษัทด้วย ซึ่งเธอมองว่าไม่ใช่ทุกหน้าที่การงานสามารถทำงานแบบ mobile office ได้ งานบางอย่าง อาทิ งานด้านบัญชี อาจจะต้องเข้ามาทำงานประจำที่ที่ออฟฟิศ

“การทำงานแบบ mobile office นั้นจะให้ประสบความสำเร็จและได้ระสิทธิภาพ บริษัทจะต้องให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับพนักงานด้วย อาทิ การให้พนักงานสามารถเข้าระบบข้อมูล ได้จากที่ไหนก็ได้ การสนับสนุนอุปกรณ์ และต้นทุนการสื่อสาร เป็นต้น ซึ่งการทำงานแบบ mobile office เอาเข้าจริงๆ แล้ว พนักงานที่มีประสิทธิภาพอยู่แล้วจะยิ่งทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะเขาจะทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมง เขาจะทำงานทุกที ทุกเวลา แบบไม่มันหยุด เพราะเขาจะทำงานเหมือนไม่ได้ทำงาน และจะทำงานได้หลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน”

กานดาเสริมว่า อยากให้องค์กรธุรกิจมองไปที่รูปแบบการทำงานแบบ mobile office มากขึ้น และควรจะสนับสนุนการทำงานแบบ mobile office ของพนักงาน ด้วยการสนับสนุนค่าอุปกรณ์และค่าค่าสื่อสาร ลงทุนระบบงานของบริษัทให้พนักงานสามารถเข้าผ่านอินเทอร์เน็ตจากที่ไหนเข้ามาทำงานก็ได้ เพราะในระยะยาวแล้ว ถือว่าเป็นการประหยัดต้นทุน เพราะพนักงานไม่ต้องเข้านั่งมาทำงานที่บริษัท บริษัทสามารถลดขนาดพื้นที่ ลดจำนวนอุปกรณ์ตั้งโต๊ะ ลดปริมาณการใช้พลังงานลงได้มาก

“การทำงานในสภาวะที่ผ่อนคลายจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น แต่คนที่จะสามารถทำงานแบบ mobile office จะต้องสามารถบริหารเวลา และควบคุมดูแลตนองให้ทำงานได้ดีด้วย” กานดากล่าวทิ้งท้าย

Google Apps + Cloud ปัจจัยเร่ง Mobile Office:

แนวโน้มรูปแบบการทำงานแบบ mobile office นั้นกำลังเป็นที่นิยมและเริ่มแพร่หลายมากขึ้นในประเทศไทย ด้วยความพร้อมของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีความครอบคลุมมากขึ้น กอปรกับสภาพการจราจรที่แออัดทำให้หลายองค์กรเริ่มหันมาทดลองให้พนักงานสามารถทำงานจากที่บ้านโดยไม่ต้องเข้าออฟฟิศ

พรทิพย์ กองชุน ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท กูเกิ้ล ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า กรุงเทพฯเป็นเมืองที่คนต้องใช้เวลาในการเดินทางเพื่อไปทำงานมากที่สุดในโลก เนื่องจากสภาพการจราจรที่ติดขัดทั้งในช่วงเช้าและเย็น ระบบคมนาคมขนส่งไม่สะดวกสบายมากนัก และกรุงเทพฯเป็นเมืองใหญ่ ซึ่งสภาพแบบนี้เหมาะอย่างยิ่งที่จะรับรูปแบบของการทำงานแบบ mobile office มาใช้ ซึ่งในปัจจุบันพบว่า มีบริษัทขนาดใหญ่ไปจนถึงบริษัทขนาดกลางและเล็กในเมืองไทยหลายรายเริ่มหันมาใช้รูปแบบการทำงานแบบนี้แล้ว จะเห็นได้จากปริมาณการใช้ระบบซอฟต์แวร์ผ่านระบบคลาวด์เซอร์วิสของกูเกิ้ล ที่ให้บริการซอฟต์แวร์ระบบงาน Google Apps

“ความสามารถในการทำงานบนรูปแบบ mobile working ในปัจจุบันมีมากขึ้นมากเมื่อความพร้อมของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบวกกับความแพร่หลายของอุปกรณ์พกพาต่างๆ โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนและแท็ปเล็ต (Tablet) มีเพิ่มมากขึ้นจนยอดขายโดยรวมแซงหน้าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คเมื่อไตรมาสที่ผ่านมา นอกจากนี้อุปกรณ์พกพาฉลาดๆ แบบนี้เมื่อรวมกับระบบซอฟต์แวร์ที่กูเกิ้ลให้บริการผ่านคลาวด์คอมพิวติ้ง ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเรียกใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต ดังนั้น เขาจะทำงานที่ไหน และเมื่อใดก็ได้ ชีวิตการทำงานก็จะมีความสะดวกสบายมากขึ้น”

พรทิพย์ เล่าวว่า ตัวเธอเองในฐานะพนักงานกูเกิล ก็ได้ทำงานบนรูปแบบของ mobile working เนื่องจากเธอต้องเดินทางบ่อยแต่ต้องมีการประชุมติดต่อประสานงานกับทีมงานอยู่เป็นประจำ เธอพกพาอุปกรณ์การทำงานเพียงสมาร์ทโฟน และคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คที่บางเฉียบ ก็สามารถเปลี่ยนทุกสถานที่ที่เธออยู่ในปัจจุบันเป็นที่ทำงานเคลื่อนที่ได้อย่างง่ายดาย งานต่างๆ ที่เธอทำค้างอยู่ก็สามารถทำอย่างต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่เธอไม่ต้องพกพาไฟล์งานหรือไฟล์เอกสารใดๆ ไปด้วยกับเธอ แม้แต่ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System: OS) เธอยังไม่ต้องพกพาไว้ในคอมพิวเตอร์ เพียงแต่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากนั้นพรทิพย์ก็โหลดทุกอย่างที่จำเป็นต่อการทำงานลงมาที่เครื่องเพื่อทำงานจากนั้นก็จัดการจัดเก็บไฟล์งาต่างๆ กลับขึ้นไปไว้บนระบบคลาวด์ดังเดิมเมื่อทำงานเสร็จแล้ว

“รูปแบบการทำงานแบบนี้ พนักงานของกูเกิ้ลทั่วโลกทำอยู่ และเริ่มเห็นแพร่หลายเพิ่มมากขึ้นในเมืองไทย เพราะปัจจุบันระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีความครอบคลุมมากขึ้น และคนไทยเริ่มมีความคุ้นชินกับการใช้บริการคลาวด์ผ่านบริการของกูเกิ้ลหลายอย่าง อาทิ Gmail และ Google Doc ทำให้คนจำนวนไม่น้อยเริ่มที่จะทำงานจากทุกที่ที่เขาต้องการมากขึ้น คลาวด์แอพพลิเคชั่นที่ใช้เป็นประจำคือ Gmail, Google Talk, Calendar, Google Doc, SpreadSheet และ Google Map”

พรทิพย์ กล่าวเสริมว่า ธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (Small and Media Enterprise: SME) ในประเทศไทยหลายรายเริ่มมีการใช้ระบบงาน mobile solution มากขึ้น ระบบซอฟต์แวร์ Google Apps ช่วยประหยัดงบประมาณในการลงทุนระบบซอฟต์แวร์ เนื่องจาก เอสเอ็มอีสามารถเริ่มต้นใช้บริการได้ฟรีหากไม่ต้องการระบบซอฟต์แวร์ที่มีการการันตีคุณภาพของบริการ (Service Level Agreement: SLA) แต่หากเอสเอ็มอีต้องการใช้งานระบบซอฟต์แวร์ที่มาพร้อมบริการหลังการขาย ต้องการระบบรักษาความปลอดภัย และต้องการบริการเรื่องการพัฒนา ต่อยอกแอพพลิเคชั่น (API: Application Programming Interface) ก็สามารถใช้บริการ Google Enterprise ได้โดยลงทุนเริ่มต้นเพียง 50 เหรียญสหรัฐต่อ 1 บัญชีผู้ใช้งานต่อปี

“เอสเอ็มอีเริ่มใช้และเริ่มรู้ว่าเขาสามารถซิงค์ระบบงานทุกอย่างระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ทโฟน และแท็ปเล็ตได้อย่างง่ายดาย ปัจจุบันเอสเอ็มอีหลายรายเริ่มใช้แอพพลิเคชั่นที่จำเป็นระหว่างเดินทางมากขึ้น”

Google Apps รองรับการใช้งานตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และคอมพิวเตอร์พกพา ไปจนถึงแท็ปเล็ต และสมาร์ทโฟน และรองรับการใช้งานของอุปกรณ์ในทุกแพลตฟอร์มทั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ซิมเบี้ยน แอนด์ดรอยด์ และ iOS พรทิพย์ กล่าว่า จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือหรืออุปกรณ์พกพา (Mobile Internet Users) 12 ล้านคนในประเทศไทยเมื่อรวมกับความพร้อมของบริการ Google Apps และคลาวด์คอมพิวติ้ง จะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้เกิดรูปแบบการทำงานแบบ mobile working เพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน

ทั้งนี้นั้นบริษัทต่างๆ เมื่อเห็นแนวโน้มของความสามารถในการทำงานในทุกที่ทุกเวลาของพนักงานได้แล้ว หากมีการปรับนโยบายโดยอนุญาตให้พนักวานในส่วนวานที่ไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้ามาทำงานที่ทำงานสามารถทำงานจากที่บ้านหรือทำงานจากสถานที่ใดๆได้ จะยิ่งเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดรูปแบบการทำงานแบบ mobile office เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

“หากองค์กรใดมีนโยบายหรือกำลังเตรียมจะมีนโยบายให้พนักงานทำงานจากที่บ้านหรือภายนอกที่ทำงานได้ สิ่งที่บริษัทเหล่านี้จะต้องเตรียมพร้อมในเรื่องของระบบรักษาความพร้อมภัยของข้อมูล ซึ่งทางเลือกที่แนะนำสำหรับองค์ขนาดกลางและเล็กคือ การพึ่งพาบริการของคลาวด์คอมพิวติ้ง ของผู้ให้บริการ จะเป็นกูเกิ้ลหรือไม่ก็ได้ เพราะผู้ให้บริการคลาวด์จะมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและรับประกันคุณภาพบริการและความเสถียรของการใช้งานและการเข้าถึงระบบข้อมูลและแอพพลิเคชั่น”

พรทิพย์ กล่าวว่าหากเอสเอ็มอีรายใดต้องการใช้บริการคลาวด์ และ Google Apps หรือ Google Enterprise ลูกค้าสามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลและซื้อบริการได้ด้วยตนเองที่ www.google.com/a หรือจะติดต่อขอใช้บริการผ่านตัวแทนจำหน่ายของกูเกิ้ลในปรพเทศไทยอย่างเป็นทางการ 2 ราย คือ CRM & Cloud Consulting และ Tangerine ลูกค้าที่มีระบบงานระบบฐานข้อมูลของตัวเองอยู่แล้วก็สามารถมาใช้งานและรวมระบบเข้ากับระบบงานบนคลาวด์ของกูเกิ้ลได้อย่างง่ายดาย ซึ่งทั้ง 2 บริษัทคนไทยนี้จะสามารถให้บริการและคำปรึกษาลูกค้าที่ต้องการใช้บริการ Google Enterprise

เทคโนโลยี Mobility หัวใจขับเคลื่อน Mobile Office:

เนื่องจากโดยพื้นฐานมนุษย์ทุกคนต้องการความสะดวกสบายในการทำงานการมีสิงอำนวยความสะดวกที่เอื้อให้สามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา ย่อมทำให้มนุษย์มีความยืดหยุ่นในการทำงานและการใช้ชีวิตมากขึ้น มนู อรดีดลเชฐ ประธานคณะกรรมการบริหาร เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันความพร้อมเรื่องโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีทั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารพกพาที่มีความสามารถในการทำงานสูงขึ้น ประกอบกับความพร้อมของระบบซอฟต์แวร์ที่สามารถให้บริการผ่านเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งได้ ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการทำงานแบบทุกที่ทุกเวลาเพิ่มมากขึ้น

“จะเห็นการเปลี่ยนผ่านที่ชัดเจนภายในหนึ่งเจนเนอร์เรชั่นของคน ที่วิถีชีวิต วิถีการทำงานจะเปลี่ยนแปลงเป็นผลมาจากเทคโนโลยีที่เอื้ออำนวยทั้งโครงข่าย อุปกรณ์ และแอพพลิเคชั่น หากบริษัทหรือองค์กรธุรกิจไหนปรับตัวปรับรูปแบบการทำงานทัน เด็กรุ่นใหม่ที่เรียนจบมาจะเลือกที่จะไปทำงานกับบริษัทเหล่านั้น เพราะมันสอดคล้องกับวิถีชีวิตของเขา เขาไม่ถนัดทำงานในสภาพแวดล้อมที่เขาไม่คุ้น บริษัทหรือองค์กรธุรกิจจะต้องเรียนรู้ที่จะปรับวัฒนธรรมรูปแบบการทำงานให้สอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นความเปลี่ยนแปลงที่ปฏิเสธไม่ได้ ปัจจุบันมีคนที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตทั่วโลกถึง 2 พันล้านคน ในประเทศไทยมีคนใช้ Facebook 8 ล้านคน สิ่งเหล่านี้มีผลและอิทธิพลต่อวิถีชีวิตการสื่อสารและการทำงานทั้งสิ้น”

มนู กล่าวต่อว่า เครือข่ายสังคม (Social Network) จะเข้ามาเป็นโครงข่ายการสื่อสารหลักอย่างหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารในกลุ่มของคนในรุ่นใหม่ จากเดิมที่มีเพียงโทรศัพท์ประจำที่ เปลี่ยนเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ มาเป็นอินเทอร์เน็ต และปัจจุบันพัฒนาการมาเป็นเครือข่ายสังคม ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีสามารถจับต้องได้แล้ว องค์กรธุรกิจต้องพิจารณาว่านโยบายขององค์กรควรเป็นอย่างไรเพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบันนี้ให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด เพราะการที่มีความสามารถในการทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา (Mobility) มากขึ้น จะทำให้ทำงานได้มากขึ้น จึงนับว่าเป็นความท้าทายขององค์กรธุรกิจที่จะต้องมองแนวโน้มของการเปลี่ยนผ่านนี้ให้ออกและเตรียมพร้อมรับมือและปรับตัว

View :4412

ททท. ชูนโยบายปี 54 ด้วยการตลาดเชิงรุกใช้ “ดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง”

February 15th, 2011 No comments


อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนับเป็นเส้นเลือดหลักทางเศรษฐกิจของประเทศไทยรองจากอุตสาหกรรมส่งออก ด้วยความได้เปรียบในทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติหลั่งไหลจากทั่วสารทิศทั่วโลกมาเยือนประเทศไทยปีละจำนวนไม่น้อย ประเทศไทยยังคงเป็นจุดหมายปลายทางหลักแห่งหนึ่งของพวกเขาแม้ว่าปัจจุบันสภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศในแถบเอเชียด้วยกันจะมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของนักท่องเที่ยวที่อิงอยู่กับข้อมูลจำนวนมหาศาลบนอินเทอร์เน็ตและโน้มเอียงไปกับคำแนะนำ ติชมของเพื่อนนักเดินทางที่อยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้น จนแทบจะเรียบได้ว่ามี “อิทธิพล” ต่อความคิดและการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวอยู่มากในปัจจุบัน

ทำให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยจำต้องปรับนโยบายและเปลี่ยนแนวกลยุทธ จากเดิมที่ใช้ “สื่อดั้งเดิม” เป็นหลักเพียงอย่างเดียว ปัจจุบันภายใต้การบริหารงานของ “สุรพล เศวตเศรณี” ผู้ว่าการฯ คนปัจจุบัน ททท.จะเน้นนโยบายเชิงรุกในการใช้การตลาดออนไลน์หรือการตลาดแบบดิจิตอล (Online/Digital Marketing) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยมากยิ่งขึ้น

นโยบายของททท.ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยโดยใช้การตลาดออนไลน์หรือการตลาดแบบดิจิตอลเป็นอย่างไร
เนื่องจากปัจจุบันอินเทอร์เน็ตและโลกออนไลน์ โดยเฉพาะเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Networking) เข้ามามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก ทำให้ททท.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ต้องส่งเสริมให้เกิดการมาเที่ยวในเมืองไทยมากขึ้น เพื่อสร้างรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้กับประเทศเพิ่มมากขึ้น และสร้างชื่อเสียงของประเทศในเวทีโลก จำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การโปรโมทการท่องเที่ยวจากเดิมที่ทำอยู่ ได้แก่การซื้อพื้นที่โฆษณาในสื่อเก่า อาทิ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ที่เป็นกระดาษ ซึ่งมีข้อจำกัดทั้งในแง่ของความรวดเร็วของการเข้าถึง ความพลวัตรของข้อมูล ความแพร่หลายของข่าวสารที่มีจำกัด ทำให้ททท.พิจารณาแล้วเห็นว่าหากยังทำการโปรโมทการท่องเที่ยวไทยบนสื่อเดิมเพียงอย่างเดียวจะทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยเสียโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจำนวนมากและเสียโอกาสที่จะมีพื้นที่ยืนและมีแบรนด์อันแข็งแกร่งบนโลกออนไลน์ไปอย่างน่าเสียดาย

ดังนั้น ททท.จึงมีนโยบายที่จะเพิ่มกลยุทธการโปรโมทการท่องเที่ยวผ่านสื่อใหม่ (New Media) บนโลกออนไลน์ทั้งบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและบนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ทั้งสมาร์ทโฟน (Smart Phone) และแท็ปเลต (Tablet) ด้วยการพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวในประเทศไทย รวมถึงการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ทั้งเฟซบุ๊ค (www.facebook.com/AmazingThailand) และทวิตเตอร์ (Twitter.com/Go2Thailand) เป็นช่องทางในการสื่อสารระหว่างททท.กับกลุ่มเป้าหมายบนโลกออนไลน์

ททท.ได้เพิ่มสัดส่วนของงบประมาณในการโปรโมทการท่องเที่ยวผ่านสื่อใหม่จากเดิมที่มีเพียง 10-15 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณในการส่งเสริมทั้งหมดของททท.ในปี 2552 เพิ่มเป็น 30 เปอร์เซ็นต์ในปีที่ผ่านมาและจะเพิ่มเป็น 40 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ โดยตั้งเป้าว่าจะรักษาฐานนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวประเทศบ่อยๆ ที่มีสัดส่วนสูงถึง 60 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่าปีนี้จะเข้ามาเที่ยวเมืองไทยราว 15.5 ล้านคน ไว้ให้ได้ ซึ่งนักท่องเที่ยวในส่วนนี้จะเป็นกลุ่มที่เดินทางท่องเที่ยวด้วยตนเอง หรือมีส่วนกับการจัดแผนการท่องเที่ยวของตัวเอง ดังนั้นข้อมูลด้านการท่องเที่ยว ทั้งสินค้าและบริการของแหล่งท่องเที่ยว ข้อมูลที่พัก ข้อมูลพื้นที่ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มาก หน้าที่ของทท.คือการนำฐานข้อมูลที่เรามีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นข้อมูลของททท.และเป็นข้อมูลของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยล่าสุดททท.ได้นำข้อมูลเหล่านี้มาประยุกต์พัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่นที่เรียกว่า “Amazing Thailand” ซึ่งมีไว้บริการสำหรับอุปกรณ์ทุกแพลตฟรอ์ม ทั้งบน iOS ได้แก่บน iPad iPhone และ iPod และบน BlackBerry กับบนAndroid

ภายใต้แอพพลิเคชั่น “Amazing Thailand” ประกอบด้วยข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อนักท่องเที่ยวที่นิยมวางแผนการท่องเที่ยวด้วยตัวเอง และมีการเตรียมแผนการท่องเที่ยวล่วงหน้า โดยข้อมูลแบ่งออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับประเทศไทย (About Thailand) ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว (Destinations) ข้อมูลงานกิจกรรมต่างๆ (Event) แผนที่ (Map) บุ๊คมาร์ค (Bookmark) เคล็ดลับการช้อปปิ้ง (Shopping Tips) ข้อมูลแหล่งอาหารไทย (Thai Food) คำถามที่มักพบบ่อย (FAQs) และบริการคำค้น (Search)

จุดเด่นของแอพพลิเคชั่น “Amazing Thailand” คืออะไร
จุดเด่นของแอพพลิเคชั่นนี้คือ การต่อยอดข้อมูลด้านการท่องเที่ยวให้เกิดเป็นบริการรูปแบบใหม่ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการท่องเที่ยว อาทิ ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว (Destinations) ททท.ได้คัดสรรแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถเดินทางเข้าถึงได้ด้วยตัวเองมาให้บริการพร้อมบอกวิธีการเดินทางไป แนะนำสถานที่พัก รวมถึงสถานที่กินดื่ม และแหล่งช้อปปิ้ง เพื่อให้ข้อมูลเบ็ดเสร็จในที่เดียว เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวในการวางแผนการท่องเที่ยว และเอื้อให้นักท่องเที่ยวใช้เวลาท่องเที่ยวนานขึ้นและใช้จ่ายมากขึ้น ปัจจุบันททท.นำเสนอแหล่งท่องเที่ยวบนแอพพลิเคชั่นแล้ว 89 แห่ง

ทว่าประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวทั้งสิ้นมากกว่า 4,000 แห่ง ซึ่งททท.จะทยอยนำแหล่งท่องเที่ยวเหล่านั้นขึ้นมาไว้บนแอพพลิเคชั่นในอนาคต ทั้งนี้การเลือกแหล่งท่องเที่ยวก่อนหลังพิจารณาจากความพร้อมของผู้ประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่นั้นๆ ด้วยว่ามีความพร้อมและสามารถรองรับนักท่องเที่ยวที่อาจจะมีการติดต่อขอข้อมูลหรือสั่งจองบริการผ่านระบบออนไลน์ เพราะในอนาคตททท.มีแผนจะพัฒนาต่อยอดแอพพลิเคชั่นจากการให้บริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยวไปสู่การอำนวยความสะดวกในการสั่งจองหรือสั่งซื้อบริการด้านการท่องเที่ยวบนระบบออนไลน์ในคราวเดียวเลย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ททท.อาจจะต้องอาศัยพันธมิตรซึ่งเป็นผู้ประกอบการเข้ามาบริหารจัดการการซื้อหรือการจองออนไลน์ เนื่องจากด้วยอำนาจหน้าที่ของททท.เป็นหน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยว ดังนั้น ททท.จะไม่ลงไปให้บริการหรือบริหารระบบเอง

จุดเด่นอีกประการของแอพพลิเคชั่นนี้คือการสร้างความยืดหยุ่นให้กับงานกิจกรรมต่างๆ (Event) เดิมทีที่ใช้สื่อดั้งเดิมที่มีความยืดหยุ่นเรื่องเวลาและความเร็วในการผลิตและกระจายข้อมูลต่ำ ทำให้ททท.สามารถโปรโมทแต่เฉพาะงานกิจกรรมที่รู้ล่วงหน้า 6 เดือนถึง 1 ปี เพราะต้องให้เวลากับการผลิตสื่อค่อนข้างมาก ซึ่งจะโปรโมทได้เพียงกิจกรรมหลักที่จัดประจำในแต่ละปีตกราว 100 รายการ เท่านั้น แต่ด้วยสื่อดิจิตอล และออนไลน์มาร์เก็ตติ้งทำให้ททท.สามารถเพิ่มเติมข้อมูลกิจกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างปีที่มีมากถึงกว่า 1,000 กิจกรรมเข้าไปในแอพพลิเคชั่นนี้ได้ซึ่งจะช่วยดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวได้มากขึ้น

ซึ่งงานกิจกรรมต่างๆ (Event) นี้มีความสำคัญมากเนื่องจากเป็นสิ่งที่ช่วยดึงให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่ที่จัดงาน และทำให้เกิดการใช้จ่ายเงินของนักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวไม่มีข้อมูลงานต่างๆ เหล่านี้เขาก็ไม่เดินทางมา หรือเดินทางมาแต่ไม่ได้ใช้เวลาเที่ยวในเมืองไทยนานขึ้น เพราะคิดว่าไม่มีกิจกรรมอะไรที่เขาสนใจแล้ว ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่พลวัต หากไม่ได้สื่อใหม่เข้ามาช่วยเผยแพร่คงทำไม่ได้

แผนงานในปีนี้นอกจากจะให้บริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยวแล้ว ททท.มีแผนจะต่อยอดบริการเพื่อช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารถวางแผนการท่องเที่ยวได้ด้วยตัวเอง ด้วยการให้บริการข้อมูลและการเชื่อมโยงระบบบริการต่างๆ เข้าด้วยกัน อาทิ เมื่อนักท่องเที่ยวเจอสถานที่ที่อยากมาเที่ยว ก็สามารถรู้ได้ว่า สถานที่นี้อยู่ที่ไหน ไปอย่างไร และมีกิจกรรมอะไรให้เที่ยวหรือให้ทำบ้าง และหากเขาจะเปลี่ยนไปอีกสถานที่หนึ่งเขาสามารถไปได้อย่างไร ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะนำเสนอในหลายรูปแบบทั้งข้อมูลตัวอักษร ภาพ แผนที่และในอนาคตอาจจะเป็นมัลติมีเดีย ในอนาคตททท.จะทำแผนโปรโมทการท่องเที่ยวแบบ Permission Marketing เราจะออกแบบข้อมูลการท่องเที่ยวให้ตรงกับกลุ่มนักท่องเที่ยวในแต่ละเซ็กเม้นท์มากขึ้น โดยเราจใช้ฐานข้อมูลของนักท่องเที่ยวที่เรามีอยู่จากการที่เขาลงทะเบียนลงแอพพลิเคชั่นของเราไป และจากข้อมูลที่เขาได้ทำผ่านแอพพลิเคชั่นจะทำให้เรามีฐานข้อมูลของนักท่องเที่ยวแต่ละคน ซึ่งการจะทำการตลาดเชิงรุกในลักษณะนี้เราจะต้องได้รับอนุญาตจากนักท่องเที่ยวเป็นรายบุคคลเสียก่อน

เป้าหมายสูงสุดของททท.ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวคืออะไร
ททท.ต้องการสร้างความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทย เพราะอุตสาหกรรมนี้มีความอ่อนไหวตามเหตุปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้อยู่ค่อนข้างมาก ดังนั้น แทนที่เราจะขายบริการด้านการท่องเที่ยวด้วยสินค้าและบริการที่ตายตัวปีต่อปี เราสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลและสินค้าและบริการที่มีอยู่มาช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารถสร้างและออกแบบแผนการท่องเที่ยวที่มีความยืดหยุ่นสูงด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวนักท่องเที่ยวเองและประโยชน์ต่อผู้ประกอบการท่องเที่ยว ททท.เราเล่นบทบาทในฐานะผู้อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงและใช้ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ เราต้องการสร้างให้เกิดการเข้าถึงโดยตรงระหว่างนักท่องเที่ยวกับตัวสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว ทั้งนี้ททท.มิได้มุ่งหวังเพียงดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาเที่ยวเมืองไทยเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี พยายามให้เขาอยู่นานขึ้นในแต่ละทริป และพยายามให้เขาใช้จ่ายมากขึ้นในแต่ละครั้งที่มาเที่ยว แต่ททท.ยังมุ่งหวังให้นักท่องเที่ยวไทยออกเดินทางท่องเที่ยวไทยเพิ่มมากขึ้น นักท่องเที่ยวไทยเป็นอีกปัจจัยสำคัญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ในปีที่ผ่านมานักท่องเที่ยวไทยออกเที่ยวไทยราว 87 ล้านคนครั้ง (จำนวนครั้งของการท่องเที่ยว) ซึ่งในปีนี้ททท.ตั้งเป้าว่าจะกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวไทยออกเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็น 91 ล้านคนครั้ง

นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติปัจจุบันส่วนใหญ่กลายเป็นประชากรดิจิตอล (Digital Citizen) ซึ่งปฏิเสธไมได้ว่าเทคโนโลยีเป็นช่องทางสำคัญในการเข้าถึงพวกเขาและสื่อสารกับพวกเขาได้ตรงความต้องการ ส่วนตัวผมเองไม่ได้เป็นคนใช้หรือรู้เรื่องเทคโนโลยีมากนัก แต่ผมรู้และเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีในฐานะเครื่องมือสื่อสารอันทรงพลัง ผู้ในฐานะผู้บริหารและผู้ให้นโยบายจึงได้ให้นโยบายกับเจ้าหน้าที่ของททท.ทุกคนว่าองค์กรเราจะเดินหน้าสู่ทิศทางนี้ เราจะใช้เทคโนโลยีมากขึ้นทั้งเรื่องการทำงานภายในองค์กรเราเองและเรื่องงานที่เราจะต้องส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและเพื่อสื่อสารกับทั้งนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยว จากนี้ไปจะเห็นบทบาทของททท.ในมิติขององค์กรที่ใช้เทคโนโลยีในการทำงานอย่างมากอย่างแน่นอน

(บทความนี้ตีพิมพ์ในวารสารรายสามเดือน Smart Industry)

View :3414

Zuckerberg in Bangkok

December 30th, 2010 No comments

[youtube=http://www.youtube.com/watch?v=tnKSs2SV7H8&feature=youtu.be]

 

Mark Zuckerberg, Facebook’s co-founder, was impressed with the Thai culture he experienced at the wedding ceremony this week of his close friend Chris Cox, the vice president of Facebook.

Vivatvong Vichit-Vadakan, the father of Cox’s bride Visra Vichit-Vadakan, said Zuckerberg had taken part in all three days of his daughter’s wedding and was impressed with the culture he had experienced throughout the proceedings.

“He is a very nice, humble person. We chatted. I thanked him for taking part in my daughter’s wedding in Bangkok for three days. We didn’t talk about business, or even about Facebook or social networking in Thailand, as he had come for the wedding ceremony and was here in a private capacity,” said Vivatvong, who is chief open-source technologist at Loxley Business Information Technology-PointAsia.

He said Zuckerberg had seen a lot of Thai culture during his stay, as his family had arranged a full traditional Thai-style wedding ceremony for 40 of Cox’s friends who had come over from the United States.

Cox joined Facebook four years ago. “Mark joined the merit-making ritual as part of the wedding ceremony on Monday, and then he also joined the engagement

ceremony yesterday [Tuesday]. These two activities were at the bride’s home in Sukhumvit Soi 24. And we had the wedding ceremony yesterday morning at the house of General MR Kukrit Pramoj,” said Vivatvong.

He added that his daughter had been friends with Cox since 2000, when they were freshmen at Stanford University. Cox was studying symbolic systems while Visra was studying human biology, but they were both in the university’s Traditional Japanese Drum Club, which is where they met.

Their relationship continued in the ensuing years and blossomed into that of lovers three years ago, he said.

After graduation, Cox pursued a master’s in computer science at the same university, while Visra came back to Thailand, working for TK Park during the time that Sirikorn Maneerin was deputy education minister. She is now a second-year graduate student of the Film School at New York University and expects to earn her master’s degree next year.

Vivatvong said Zuckerberg would not be staying in the Kingdom to celebrate the New Year.

“He is a very nice and humble guy. He is not as he is portrayed in the movie ‘The Social Network’,” he said.

Zuckerberg, dressed in grey T-shirt and jeans, arrived at last night’s party venue – a restaurant on Sukhumvit 36 – at about 8pm in a van and accompanied by security guards. Journalists took photographs but he did not respond to any of their questions.

Published on December 30, 2010 at The Nation

http://www.nationmultimedia.com/home/Zuckerberg-impressed-with-Thai-culture-30145482.html

Other story about Mark Zuckerberg

http://www.nationmultimedia.com/2010/12/29/national/Facebook-founder-spotted-in-Bangkok-pub-30145429.html

View :2805

นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ผ่านความเห็นชอบจากครม.แล้ววันนี้

November 9th, 2010 No comments

นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ

๑. ความเป็นมา

รัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๗๘ ได้กำหนดให้รัฐดำเนินการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน รวมถึง การจัดทำและการให้บริการสาธารณะ ระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึง เท่าเทียมกันทั่วประเทศ และรัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ว่าจะพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมขั้นพื้นฐานให้ครอบคลุมทั่วประเทศและสร้างโอกาส ในการเข้าถึงบริการของประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน รวมทั้งได้จัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสารของประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๕๔ – ๒๕๖๓) หรือ ICT 2020 เพื่อใช้เป็นกรอบทิศทางในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งกำหนดเป้าหมายการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและการสื่อสาร ให้เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ มีคุณภาพและความมั่นคงปลอดภัยเทียบเท่ามาตรฐานสากล ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๓

รัฐบาลได้ตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ ภายใต้กรอบนโยบาย ICT 2020 ในการพัฒนาประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การบริการของรัฐ การรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงความมั่นคงและปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนช่วยส่งผลต่อการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศได้อย่างต่อ เนื่อง ทั้งยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกิจการโทรคมนาคม กิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาบริการบรอดแบนด์ของประเทศ ปัจจุบันยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ โดยมีประชากรที่ใช้บริการบรอดแบนด์เพียงร้อยละ ๓.๕ ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเขตนครหลวงและเมืองใหญ่ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำและช่องว่างทางดิจิทัลระหว่างประชาชนในเขต เมืองและชนบท รวมทั้งเป็นปัจจัยที่กระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว

ใน การนี้ รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและใช้เป็นกรอบการดำเนินการและขับเคลื่อนการพัฒนา บริการบรอดแบนด์ ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่หลากหลาย มีความก้าวหน้าทันสมัย สอดคล้องกับบริบทและสภาพพื้นที่ของประเทศไทย และตอบสนองความต้องการการใช้บริการของทุกภาคส่วน โดยที่รัฐมีบทบาทเป็นผู้กำหนดนโยบายและสนับสนุนการให้มีและการใช้บริการ บรอดแบนด์อย่างทั่วถึงเท่าเทียมกัน รวมถึงส่งเสริมให้ภาคเอกชนและประชาชนร่วมดำเนินการไปสู่ความสำเร็จ โดยมีองค์กรกำกับดูแลที่เป็นอิสระตามกฎหมายทำหน้าที่กำกับดูแลการประกอบ ประกอบกิจการให้มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม

 

๒. นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ

๒.๑ ภาครัฐมีเจตนารมณ์ที่จะสนับสนุนการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ อันถือเป็นบริการที่มีความสำคัญเทียบเท่าบริการที่เป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้น ฐานของประชาชน ให้ทั่วถึง เพียงพอ ในราคาที่เหมาะสม ภายใต้การแข่งขันเสรีและเป็นธรรม

๒.๒ ประชาชนคนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ได้ อย่างเต็มที่ ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำและลดช่องว่างทางดิจิทัล ทั้งในเชิงภูมิศาสตร์และเชิงกลุ่มประชากร สามารถกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคทั่วประเทศ ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

๒.๓ ภาครัฐและภาคธุรกิจสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการพัฒนาบรอดแบนด์ได้ อย่างเต็มที่ เพื่อเพิ่มผลิตภาพ และความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน

๒.๔ ในการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ รัฐจะบริหารจัดการทรัพย์สินด้านโทรคมนาคมที่รัฐได้ลงทุนไปแล้วและอาจจะลงทุน เพิ่มเติม เพื่อประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการโทรคมนาคมทุกรายอย่างเสมอภาค โดยการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และรัฐจะไม่ผูกขาดที่จะเป็นผู้ลงทุนในการจัดให้ม บริการต่าง ๆ แต่เพียงผู้เดียว แต่จะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการทุกรายที่พึงประสงค์และมีศักยภาพที่จะลงทุน เพื่อให้บริการ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดโครงข่ายบรอดแบนด์ทั่วประเทศ โดยให้มีการแข่งขันเสรีและเป็นธรรมในการให้บริการ

๒.๕ ในเรื่องที่เกี่ยวกับเขตอำนาจอธิปไตยของชาติ เช่น ตำแหน่งวงโคจรของดาวเทียม จุดขึ้นฝั่งของเคเบิลใต้น้ำ หรือจุดเชื่อมต่อโครงข่ายข้ามพรมแดน ถือว่าเป็นส่วนที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของชาติและเป็นสิทธิหรือทรัพยากร ที่รัฐจะส่งเสริมให้มีการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในแง่ของการนำมาใช้งานเพื่อตอบสนองต่อความต้องการภายในประเทศ และการนำมาใช้งานเพื่อเพิ่มศักยภาพและโอกาสในการที่จะพัฒนาความร่วมมือและ การค้าระหว่างประเทศรัฐจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและกำกับดูแลการดำเนินการ ตามนโยบาย โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุนจัดให้มีบริการดัง กล่าว

๒.๖ รัฐจะส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคมส่วนปลายทางทั้งแบบใช้สายและ ไร้สาย ผู้ประกอบการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ผลิตเนื้อหา ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ และผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

 

๓. เป้าหมาย

๓.๑ พัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์ให้ครอบคลุมประชากร ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐ ภายในปี ๒๕๕๘ และไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๙๕ ภายในปี ๒๕๖๓ โดยมีคุณภาพบริการที่ได้มาตรฐานและมีอัตราค่าบริการที่ เหมาะสม   รวมทั้งให้มีบริการบรอดแบนด์ความเร็วสูงผ่านเคเบิลใยแก้วนำแสงในเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาค   ความเร็วไม่ต่ำกว่า 100 Mbps ภายในปี ๒๕๖๓

๓.๒ ประชาชนสามารถได้รับบริการผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ ทั้งในด้านการศึกษา สาธารณสุข การเฝ้าระวังและเตือนภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ และบริการสาธารณะอื่น ๆ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ โดย

๓.๒.๑ ขยายโอกาสทางการศึกษา โดยโรงเรียนในระดับตำบลสามารถเข้าถึงบริการ บรอดแบนด์ที่มีคุณภาพ ภายในปี   ๒๕๕๘ และโรงเรียนทั่วประเทศสามารถเข้าถึงบริการดังกล่าวได้ภายในปี ๒๕๖๓

๓.๒.๒ ขยายบริการสาธารณสุข โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือสถานีอนามัยทุกแห่งสามารถเข้าถึงบริการ บรอดแบนด์ที่มีคุณภาพเดียวกับโรงพยาบาลประจำจังหวัดหรือเทียบเท่า รวมทั้งมีการเชื่อมโยงและให้บริการระบบประกันสุขภาพและประกันสังคมผ่านโครง ข่ายบรอดแบนด์ ภายในปี   ๒๕๕๘

๓.๒.๓ ขยายการให้บริการระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลทุกแห่งของประเทศสามารถเข้าถึงบริการบรอดแบนด์ที่ มีคุณภาพในระดับเดียวกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด และหน่วยงานของรัฐในส่วนกลาง เพื่อให้ประชาชนในทุกตำบลสามารถใช้บริการต่าง ๆ ที่จะมีในระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ได้ตลอดเวลาภายในปี ๒๕๕๘

๓.๒.๔ ให้ประเทศมีระบบการเฝ้าระวังเตือนภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ และเหตุฉุกเฉินผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ ให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที

๓.๓ ภาคธุรกิจไทยสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากโครงข่ายบรอดแบนด์ได้อย่างทั่ว ถึงและเท่าเทียมกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และการเติบโตของเศรษฐกิจไทยอย่างสมดุลและต่อเนื่อง รวมทั้งให้โครงข่ายบรอดแบนด์เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดย รวม โดย

๓.๓.๑ ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีโดยรวมให้อยู่ในกลุ่ม Top 25% ของประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงสุดในการจัดลำดับ World Competitiveness Rankings

๓.๓.๒ เกิดการขยายตัวของธุรกิจที่ใช้การสร้างสรรค์ การออกแบบ และบริการใหม่ ๆ ที่ดำเนินการได้ทุกพื้นที่ในประเทศไทยผ่านเครือข่ายบรอดแบนด์ ส่งผลให้เกิดการกระจายรายได้ไปยังพื้นที่ที่ มิใช่เขตเมือง

๓.๓.๓ สัดส่วนมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อ GDP เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๑๐ ภายในปี ๒๕๕๘

๓.๔ ลดการใช้พลังงานและการใช้ทรัพยากร โดยใช้การสื่อสารหรือเข้าถึงข้อมูลร่วมกันผ่านบริการ บรอดแบนด์ทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการ ซึ่งจะส่งผลในการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดภาวะโลกร้อน

๓.๕ ลดต้นทุนการให้บริการบรอดแบนด์โดยรวม โดยเฉพาะด้านการเชื่อมต่อวงจรออกต่างประเทศและการนำบรอดแบนด์เข้าถึงผู้ใช้ บริการ เพื่อให้อัตราค่าใช้บริการบรอดแบนด์ลดต่ำลง ประชาชนผู้บริโภคโดยทั่วไปสามารถเข้าถึงบริการได้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น

๓.๖ เกิดการพัฒนาเนื้อหาสาระ ( Content) และโปรแกรมประยุกต์ ( Application) ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา การสาธารณสุข การป้องกันชีวิตและทรัพย์สิน ศาสนาและวัฒนธรรม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการดำรงชีวิตประจำวัน รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินธุรกิจให้มีขีดความสามารถทางการแข่งขันมากยิ่งขึ้น

๓.๗ ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจถึงคุณค่า และความเสี่ยงของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เร่งตัวเร็วขึ้น อันเป็นผลเนื่องมาจากการขยายการใช้บริการบรอดแบนด์ รวมถึงมีความรู้และทักษะในการใช้งานบรอดแบนด์อย่างสร้างสรรค์และเกิด ประโยชน์

๓.๘ อุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีการพัฒนา เกิดการขยายตัว และยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ไปสู่ระดับสากล

 

๔. แนวทางดำเนินการ

๔.๑ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการบรอดแบนด์

๔.๑.๑ ส่งเสริมให้มีการแข่งขันในธุรกิจบริการบรอดแบนด์ บนพื้นฐานการแข่งขันเสรีและเป็นธรรม ซึ่งจะไม่มีการผูกขาด รวมถึงการเปิดกว้างทางเทคโนโลยี เพื่อก่อให้เกิดการลงทุนในโครงข่ายและขยายการให้บริการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทั่วถึง มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม

๔.๑.๒ สนับสนุนให้มีการขยายบริการบรอดแบนด์ไปสู่พื้นที่ชนบทห่างไกล ภายใต้หลักการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม

๔.๑.๓ สนับสนุนให้มีการลงทุนพัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์ในทุกระดับ ให้มีปริมาณเพียงพอ คุณภาพได้มาตรฐานสากล และมีต้นทุนต่ำ ด้วยการลงทุนของภาคเอกชนหรือภาครัฐร่วมเอกชน และส่งเสริมให้เกิดการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการ เพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อน ทั้งนี้ เพื่อให้
ผู้ประกอบธุรกิจบริการสามารถใช้ประโยชน์ได้โดยการกำกับดูแลด้วยกติกาการแข่ง ขันเสรีเป็นธรรม ไม่มีการผูกขาดหรือการใช้อำนาจเหนือตลาดที่กีดกันการแข่งขัน

๔.๑.๔ สนับสนุนการดำเนินการขององค์กรกำกับดูแลในการจัดสรรคลื่นความถี่อันเป็น ทรัพยากรสื่อสารของชาติ เพื่อกิจการโทรคมนาคม กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน

๔.๑.๕ สนับสนุนผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการในท้องถิ่นให้สามารถลงทุนในเทคโนโลยีทางเลือกและวิธี การสื่อสารที่เหมาะสมที่มีการลงทุนไม่สูงมาก เพื่อสร้าง เชื่อมต่อ และให้บริการโครงข่ายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๔.๑.๖ ปรับโครงสร้างและบทบาทของรัฐวิสาหกิจสาขาโทรคมนาคม กิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ในการให้บริการโครงข่ายให้เอื้อต่อการให้บริการบรอดแบนด์อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการแข่งขันเสรีและเป็นธรรมของผู้ประกอบการทุกราย

๔.๑.๗ ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมโทรคมนาคมให้อยู่ภายใต้ระบบใบอนุญาตและมีการแข่งขัน บนพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน เพื่อกระตุ้นให้มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและระบบโครงข่ายหลักที่จำเป็นต่อ การจัดให้มีบริการบรอดแบนด์อย่างทั่วถึง

๔.๑.๘ ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านโทรคมนาคม รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ด้านโครงข่ายและบริการบรอดแบนด์ที่ทันสมัยให้สามารถใช้งานเชิงพาณิชย์ เพื่อลดต้นทุนในการให้บริการ บรอดแบนด์แก่ประชาชน ลดการพึ่งการนำเข้า และสนับสนุนการพัฒนาของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม กิจการ กระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์

๔.๒ การพัฒนาการใช้ประโยชน์จากบรอดแบนด์

๔.๒.๑ สนับสนุนให้มีการใช้งานบรอดแบนด์อย่างกว้างขวาง เพื่อขยายตลาดและฐานผู้ใช้งาน โดยส่งเสริมการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ ( Applications) และเนื้อหา ( Content) ที่หลากหลาย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิตประจำวันของ ประชาชน รวมทั้ง เชื่อมโยงระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ บริการการศึกษา บริการสาธารณสุข บริการข้อมูลข่าวสาร และบริการอื่นของภาครัฐ ผ่านบริการบรอดแบนด์ เพื่อสร้างอุปสงค์ในบริการบรอดแบนด์อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ ภาครัฐจะต้องระมัดระวังมิให้ส่งผลกระทบหรือเกิดการบิดเบือนของกลไกตลาด

๔.๒.๒ ส่งเสริมการพัฒนาทักษะและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ    ( IT Literacy) และการรู้เท่าทันและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารอย่างสร้างสรรค์ ( Information literacy) ของประชาชน ชุมชนและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ( SMEs) ให้สามารถใช้ประโยชน์จากบริการบรอดแบนด์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และใช้เป็นโอกาสในการสร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเอง โดยเฉพาะประชาชนในชนบท กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มเกษตรกร ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ

๔.๒.๓ ส่งเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการในธุรกิจทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับบริการบรอด แบนด์ เช่น ผู้ประกอบการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคม ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ผลิตโปรแกรมประยุกต์ ผู้ผลิตเนื้อหา ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

๔.๒.๔ กำหนดมาตรการสนับสนุนและจูงใจในการใช้บรอดแบนด์ เพื่อลดการใช้พลังงานและการใช้ทรัพยากร ทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการ โดยเฉพาะในภาคการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์

๔.๓ การประกันความมั่นคงปลอดภัยของโครงข่ายบรอดแบนด์และความปลอดภัยของสังคมโดยรวม

๔.๓.๑ พัฒนายกระดับบุคลากรผู้เชี่ยวชาญความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศและโครงข่ายทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ

๔.๓.๒ มีการสร้างโครงข่ายทางเลือกหลายเส้นทางที่ใช้เชื่อมโยงประเทศไทยไปสู่ประเทศ ในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก โดยไม่จำกัดรูปแบบไม่ว่าจะเป็นเคเบิลใต้น้ำ เคเบิลพื้นดิน หรือดาวเทียม และจะเปิดกว้างให้มีการลงทุนในลักษณะดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยภาครัฐ ภาคเอกชน หรือการร่วมลงทุน

๔.๓.๓ กำหนดมาตรการป้องกันผลกระทบเชิงลบและภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ บริการบรอดแบนด์อย่างแพร่หลาย โดยสร้างความเข้าใจแก่ทุกภาคส่วนเกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบเชิง ลบที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งการดำเนินมาตรการอย่างจริงจังในการป้องกันอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต
การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล และการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

๔.๓.๔ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบ และบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับข้อมูลที่มีความสำคัญ เช่น ข้อมูลดิน น้ำ อากาศ จราจร หรือข้อมูลที่เกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติต่าง ๆ และพัฒนาระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ เหตุฉุกเฉิน ผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ ให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างทันท่วงที และเชื่อถือได้ รวมทั้งมีแผนฉุกเฉิน รองรับในกรณีที่โครงข่ายบรอดแบนด์นี้ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติดังกล่าว

๔.๓.๕ สร้างความตระหนักและให้ความรู้แก่ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน ภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศถึง แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ด้านสารสนเทศ

๔.๔ การบริหารจัดการขับเคลื่อนนโยบายและการประสานการกำกับดูแล

๔.๔.๑ ให้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ บูรณาการคณะทำงานในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและจัดตั้งคณะอนุกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีหน้าที่ (๑) จัดทำกรอบแผนการดำเนินการเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายตามนโยบายบรอดแบนด์ แห่งชาติ (๒) กำหนดตัวชี้วัดและวิธีประเมินผลที่จำเป็นสำหรับการติดตามความสำเร็จของ นโยบาย (๓) เสนอองค์กรที่รับผิดชอบดำเนินการตามแผนปฏิบัติการข้างต้น (๔) จัดทำรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินการตามนโยบายฯ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี และสาธารณะเป็นระยะ ๆ

๔.๔.๒ จัดให้มีการประสานงานกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน รวมทั้งองค์กรกำกับดูแล เพื่อสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันการให้บริการ ภายใต้หลักเกณฑ์การกำกับดูแลที่เอื้อต่อการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม รวมทั้ง บูรณาการเป้าหมายและแผนงาน ทรัพยากรโทรคมนาคม และทรัพยากรการลงทุนของประเทศในภาพรวม เพื่อจัดให้มีบริการบรอดแบนด์อย่างทั่วถึง มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม อันจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาประเทศและการยกระดับคุณภาพ ชีวิตของประชาชน

๔.๔.๓ การดำเนินงานตามนโยบายนี้ จะได้รับการสนับสนุนจากการลงทุนโดยมาตรการสนับสนุนของภาครัฐ หรือผู้ประกอบการทุกราย หรือจากกองทุนตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ….

View :2792

ตาม TL ของ @DrNatee39G พูดเรื่อง 3จี

September 6th, 2010 No comments

Dr. Natee Sukonrat

ประกาศ กทช. ว่าด้วยการออกใบอนุญาต 3G ซึ่งเป็นกฎหมายหลักในกระบวนการออกใบอนุญาตครั้งนี้ มีแนวความคิดที่สำคัญประการหนึ่งคือการส่งเสริม MVNO = Mobile Virtual Networks Operator หมายถึง ผู้ประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง

ดัง นั้น MVNO จึงเป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเองแต่อาศัยเช่าใช้จากผู้ที่มีโครงข่าย  จากข้อจำกัดที่ความถี่่มีเพียง 45 MHz ทำให้สามารถออกใบอนุญาตได้เพียง 3 ใบ ซึ่งผู้ที่ชนะการประมูลจะเป็น MNO (Mobile Networks Operator)

ดัง นั้นสาระสำคัญของความสัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่าง MNO กับ MVNO ก็คือ MNO เป็นผู้ขายส่ง ในขณะที่ MVNO เป็นผู้ประกอบกิจการขายปลีก วัตถุประสงค์ในการออกใบอนุญาตในครั้งนี้ที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ เพิ่มการแข่งขัน อาจสำเร็จได้ด้วยการเพิ่มผู้ประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที คณะกรรมการ 3G จึงได้กำหนดให้ MNO ทั้ง 3 ราย จะต้องประกันขีดความสามารถในการให้บริการ (Capacity) สำหรับ MVNO อย่างน้อย 40% ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นนโยบายที่สำคัญมาก เนื่องจาก MNO จะต้องลงทุนจำนวนมาก คนไทยจำนวนน้อยมีขีดความสามารถลงทุนมหาศาลเป็น MNO ได้  เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบกิจการคนไทยที่ต้องการให้บริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่แต่มีทุนไม่เพียงพอ กทช. จึงกำหนดให้มีการประกัน 40% ดังกล่าว

ใน 40% อาจมี MVNO มากกว่า 1 ราย สาระสำคัญก็คือ การโอกาสของผู้ประกอบกิจการคนไทยรายเล็กและกลาง ได้มีโอกาสให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ นอกจากผู้ประกอบกิจการทั่วไปแล้ว ยังมีคนไทยที่มีขีดความสามารถคิดนวัตกรรมใหม่ๆ ให้บริการผ่านโครงข่าย จะสามารถใช้ช่องทางเหล่านี้ได้อีกด้วย ประกาศกำหนดให้ MNO ไม่สามารถปฏิเสธการมาขอเป็น MVNO ของรายเล็กและรายกลางที่ต้องการได้ เว้นแต่มีผู้บริการ MVNO อยู่แล้วมากกว่า 40% VNO มีหลายระดับจากต่ำสุดคือ Thin MVNO มีเฉพาะซิมขาย ถัดมาเป็น Medium MVNO นอกจากซิมแล้วยังมีระบบคิดเงินและอุปกรณ์หลักอื่นๆ  ระดับสูงสุดจะเป็นรูปแบบที่เรียกว่า Full MVNO ซึ่งจะมีโครงสร้างเกือบทุกอย่างเช่นเดียวกับ MNO เว้นแต่ไม่มีคลื่นความถี่ใช้งานเป็นของตนเอง กทช. หวังว่าหลังจากออกใบอนุญาต 3G แล้วเราจะเห็น Thin MVNO จำนวนหลายรายพัฒนาไปเป็น Medium และ Full MVNO เมื่อเวลาผ่านไป

เรา อยากจะเห็น Full MVNO พัฒนาไปเป็น MNO เมื่อเป็น 4G ในวันข้างหน้า จากการส่งเสริมดังกล่าวมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาผู้ประกอบกิจการคนไทย  นอกจากจะต้องให้โอกาสกับ MVNO แล้ว กทช. ยังต้องกำหนดราคาขายในลักษณะที่เป็นการขายส่งที่จะต้องไม่ทำให้ MVNO ไม่สามารถประกอบกิจการได้ เรากำลังคิดราคาในลักษณะสัดส่วนของราคาขายปลีก ที่ MNO ให้บริการอยู่ เช่น อาจลดลงจากราคาขายปลีก 20-30% เป็นค่าการตลาดให้ MVNO

การกำหนด MVNO เป็นช่องทางหนึ่งที่สร้างโอกาสให้กับคนไทยที่มีทุนน้อยแต่มีนวัตกรรมและ เพิ่มการแข่งขันเกิดประโยชน์กับผู้บริโภคโดยรวมครับ

Dr. Natee Sukonrat , Commissioner of the  National Telecommunications Commission

View :2769

ไอซีทีผลักดันการขยายตลาดสินค้า OTOP ผ่านระบบ e-Commerce

August 24th, 2010 No comments

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ e-Commerce เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)

[youtube=http://www.youtube.com/watch?v=HGAuC6w0jeM]

โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) เป็นโครงการที่รัฐบาลให้การสนับสนุนเพื่อให้แต่ละชุมชนได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาสินค้า โดยรัฐบาลพร้อมที่จะช่วยเหลือทั้งในด้านความรู้สมัยใหม่และการบริหารจัดการ เพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีสินค้า OTOP ที่ได้มาตรฐานผลิตออกมาให้ประชาชนเลือกซื้อมากมาย ผ่านทางห้างสรรพสินค้า ร้านจำหน่ายสินค้า OTOP หรืองานจัดแสดงสินค้าต่างๆ ซึ่งข้อดี คือ สามารถจับต้องทดลองสินค้าได้ แต่ข้อเสีย คือ สินค้าตามห้างสรรพสินค้าจะมีราคาสูงกว่าที่ซื้อจากกลุ่มผู้ผลิตโดยตรงประมาณ 2 ถึง 3 เท่า ขึ้นอยู่กับสถานที่และค่าใช้จ่ายในการลงทุน บริหารจัดการ ค่าการตลาดของห้างสรรพสินค้า และยังมีสินค้าให้เลือกไม่มากนัก

ดังนั้น การเลือกซื้อสินค้า OTOP ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการค้นหาสินค้า OTOP ได้อย่างหลากหลาย ประหยัดเวลา รวมทั้งสะดวกรวดเร็ว ซึ่งหากมีการวางระบบการชำระเงินและระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพแล้ว ก็จะสามารถส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในสินค้า OTOP รวมถึงภาคธุรกิจให้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นได้

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า “ในฐานะประธานกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงได้วางนโยบายผลักดันให้การใช้งาน e-Commerce เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเป็นรูปธรรมเชื่อถือได้ ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ตลอดจนเพื่อใช้ขับเคลื่อนธุรกิจให้ประเทศ ช่วยเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงลดต้นทุนด้านการขนส่ง หรือ โลจิสติกส์ด้วย

โดยกระทรวงไอซีที ได้ร่วมกับ 6 หน่วยงานจัดทำโครงการ e-Commerce เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ขึ้นเป็นโครงการนำร่อง เพื่อให้ผู้ประกอบการ OTOP สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การผลิต การขนส่งสินค้า การประชาสัมพันธ์ การจำหน่าย และการรับชำระเงิน ซึ่งจะเอื้อต่อการจำหน่ายสินค้าของผู้ประกอบการ OTOP โดยใช้ศักยภาพของหน่วยงานทั้ง 6 ให้เกิดประโยชน์สูงสุด” นายจุติ กล่าว สำหรับ 6 หน่วยงานที่ให้ความร่วมมือในโครงการฯ นี้ ได้แก่ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ บริษัท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เพื่อจะนำสินค้า OTOP และสินค้าในโครงการพระราชดำริ มาจำหน่ายผ่านระบบการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce)

มีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ลูกค้าบัตรเครดิต ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะรับผิดชอบงานในด้านต่างๆ กรมการพัฒนาชุมชนจะทำหน้าที่คัดเลือก รวมรวบผลิตภัณฑ์ OTOP และประสานงานกับผู้ประกอบการ กรมส่งเสริมการส่งออกให้คำปรึกษาการประชาสัมพันธ์สินค้า OTOP ในรูปแบบภาษาต่างประเทศ ธนาคารกรุงไทย จัดทำระบบการรับชำระค่าสินค้าผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่เหมาะสม ส่วน บมจ.ทีโอที จะวางระบบการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) โดยจัดทำระบบร้านค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ www.tote-market.com เพื่อแสดงสินค้า รวบรวมคำสั่งซื้อ และฝึกอบรมให้ความรู้ทางด้าน e-Commerce

ขณะที่ บจ.ไปรษณีย์ไทย รับหน้าที่ด้านระบบการขนส่งสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งให้คำปรึกษาการใช้บรรจุภัณฑ์ ที่เหมาะสม และ บมจ.อสมท จะใช้เครือข่าย ช่องทางสื่อสารมวลชนแขนงต่าง ๆ ที่มีอยู่เพื่อสนับสนุนและเผยแพร่สินค้า OTOP ที่เข้าร่วมโครงการฯ

“โครงการฯ นี้จะช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ สังคม และเปิดโอกาสในการนำสินค้าสู่ตลาดในช่องทางออนไลน์ โดยใช้ระบบ ไอทีเข้ามาช่วย อันเป็นการขยายช่องทางการตลาดในการจำหน่ายสินค้า OTOP ให้แก่ผู้ซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น จึงช่วยสร้างรายได้และมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับประเทศ กล่าวคือ ทางตรงถือเป็นโครงการที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศได้เป็นอย่างมาก ส่วนทางอ้อมนั้นสามารถประชาสัมพันธ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล ดึงดูดให้มีลูกค้าเพิ่มขึ้นในต่างประเทศ อันเป็นการสร้างตลาดใหม่ ซึ่งเป็นตลาดที่พร้อมจะใช้บริการ เนื่องจากมีความสะดวก และยังไม่มีบริการใดที่ตอบสนองความต้องการลักษณะนี้ จึงทำให้สามารถสร้างตลาดในส่วนนี้ให้เติบโตได้อย่างมาก อีกทั้งยังสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ทันสมัยได้อีกด้วย” นายจุติกล่าว

View :3243