Archive

Archive for October, 2010

ขอแบ่งปันข้อมูลจากการเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” ค่ะ (3)

October 9th, 2010 No comments

ภาคบ่ายช่วงสอง “พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักเขียนเรื่องสั้น”

พบนักเขียนซีไรท์ เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ กวีซีไรต์และ์เจ้าของผลงานเรื่องสั้น”เหมือนว่าเมื่อวานนี้เอง”  กับ ประชามคม ลุนาชัย นักเขียนรางวัลเซเว่นบุ๊คอะวอร์ด

“ถ้าเราเขียนหนังสือทุกวันๆ หน้า ปีหนึ่งเราก็จะได้หนังสือนิยายหนึ่งเล่ม” ประชมคา ลุนาชัย

เร วัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ “ในวัยเด็กไม่ค่อยมีเพื่อน ไม่ค่อยลงเลยกับพ่อ เลยมีความเหงา ความโดดเดี่ยว เลยใช้จินตนาการ ใช้หนังสือเป็นเพื่อน”

เร วัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ “ตอนแรกไม่รู้ว่าเราจะเป็นนักเขียนได้ยังไง เพียงแต่อ่าน อ่าน อ่าน แล้วรู้สึกว่ามีโลกที่กว้างไกลรออยู่ข้างหน้า”

เร วัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ “ได้มาอยู่ใกล้คนเขียนหนังสือ/อ่านหนังสือ ้ได้มีโอกาสอ่านหนังสือมากขึ้น มีเพื่อน”คอวรรณกรรม”คุย ทำให้ค.คิดลึกซึ้งขึ้น”

ประชาคม ลุนาชัย “เมื่อก่อนนักเขียนไทยจะมาจากสายนักนสพ.เยอะมาก นักข่าวส่วนใหญ่จะได้พานพบข้อมูล/วัตถุดิบ แล้วแปลเปลี่ยนมาเป็นงานเขียนได้”

ประชาคม ลุนาชัย “นักข่าวภาคสนามจะมีข้อมูลมาก ผมไม่ใช่นักข่าวภาคสนาม แต่ผมก้าวลงสนามชีวิต พบปะผู้คน ดวงตาที่ไปมองเห็น คือ ดวงตาของนักเขียน”

ประชาคม ลุนาชัย “ดวงตาของนักเขียน ขาจะอ่านทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาเผชิญ/พานพบ การอ่านหนังสือไม่ใช่แค่การอ่านหนังสือแต่จะตีความไปอ่านสังคม/คน”

ประชาคม ลุนาชัย “ถ้าเรามองทุกอย่างแบบเฉยๆ เราจะไม่มีเรื่องสั้น ไม่มีวรรณศิลป์อยู่ในนั้น แต่เราต้องมองให้ลึกลงไปกว่านั้น”

ประชาคม ลุนาชัย “ผมเลยคิดว่าจะเขียนเรื่องสั้นตัวละครคือ พนักงานรปภ. แล้วหา “คู่ขัดแย้ง” ที่จะทำให้เกิด โศกนาฏกรรม/สุขนาฏกรรม ซึ่งคือเจ้านาย”

ประชาคม ลุนาชัย “เอาประสบการณ์ชีวิตทำงานที่น่าเบื่อผมมาสร้างเป็นเรื่องที่มีคู่ขัดแย้ง มีค.ขัดแย้ง ที่ก่อให้เกิดโศกนาฏกรรม/สุขนาฏกรรม”

ประชาคม ลุนาชัย “นักข่าวที่ลงพื้นที่ก็สามารถไล่ต้อนเหตุการณ์มาโลกแคบของต้วเอง มองให้กว้าง คิดให้ลึก ศึกษาให้ละเอียด บีบให้แคบ”

เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ “เหตุการณ์ต้องกระทบใจผมมากๆ ผมถึงจะเขียนได้ลื่นไหล ไม่ติดขัด”

เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ “ถ้าเราไม่รู้สึกกับเหตุการณื เรื่องราวต่างๆ นั้นมากพอ แม้มีข้อมูลมากมาย ผมก็ต้องทิ้งมัน เขียนมันไม่ได้”

เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ “นักเขียนทุกคนไม่มีใครไม่เคยไปร้านหนังสือ การอ่านเป็นต้นทุนที่เยอะมากๆ สำหรับผม นอกจากนี้คือการสังเกต”

ประชาคม ลุนาชัย “นิยายเรื่องแรกของผม ผมมีปัญหากับการเขียนมาก เพราะวางประเด็นไว้ไม่ชัดเจน กะจะคิดไปเขียนไป รอบแรกเขียนได้แต่ 12 หน้า”

ประชาคม ลุนาชัย “ตอนเขียน “ฝั่งแสงจันทร์” เขียนรอบแรกได้ 12 น. ทิ้งไปปีนึงกล้บมาเขียนอีกได้ 30 กว่าหน้าทิ้งไว้อีก3-4 ด.กลับมาเขียนได้ 120 น”

ประชาคม ลุนาชัย “ปัญหาในการเขียน ฝั่งแสงจันทร์ ของผม คือ ไม่มีประเด็นที่ชัดเจน ไม่มีความเกี่ยวข้องของเนื้อหาในแต่ละตอน”

ประชาคม ลุนาชัย “ผมเขียน “คนข้ามฝัน” ผมมีตัวละครที่มีเสนห์,เรื่องราวที่เข้มข้นมีพลัง, เนื้อเรื่องแสดงออกถึงความยิ่งใหญ่ของความเป็นมนุษย์”

“ฝั่งแสงจันทร์”ผลงาน ของ ประชาคม ลุนาชัย เป็นหนังสืออ่านนอกเวลาของกรมวิชาการ

“ฝั่งแสงจันทร์”ผลงาน ของ ประชาคม ลุนาชัย (๒๕๔๑) เป็นนวนิยายรางวัลดีเด่นจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๔๑

“เรื่องสั้น มันคือ เกิดไรขึ้น ใครทำให้เกิด เกิดแล้วมีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม คนอ่าน อย่างไร” ประชาคม ลุนาชัย

“คน ที่ไม่ใช่นักข่าว สมมติอยากเขียนเรื่องวัดปทุมฯ ก็ไม่รู้จะเขียนยังไง เพราะว่าไม่มีข้อมูล ก็ต้องตั้งพล็อตแล้วไปหาข้อมูล” ประชาคม ลุนาชัย

“การ เขียนเรื่องสั้น บางครั้ง เอาข้อมูลมารับใช้ตัวเรื่อง บางครั้งเอาตัวเรื่องไปรับใช้ข้อมูล ถ้าเรื่องไหนกระทบใจเรา มันจะมีแรงขับภายใน”ประชาคม

ประชาคม ลุนาชัย “หากแรงขับภายในมันสูง เรื่องสั้นนั้นก็จะมีพลังมาก”

ประชาคม ลุนาชัย “นักเขียนหลายคนโหยหาต่อแง่งามของชีวิต นักเขียนมักจะโหยหาในสิ่งที่ตัวเองขาด”

ประชาคม ลุนาชัย ตอนเขียนนิยาย พี่แกจะเริ่มทำ “ประวัติตัวละคร” เพราะ ตัวละครทุกตัวมันมีชีวิต พี่แกเอาทฤษฎีทางจิตวิทยามาช่วยค.เป็นเหตุเป็นผล

ประชาคม ลุนาชัย “ตัวละครที่ดี ต้องมีความเ็้นมนุษย์สูง คือ มีชีวิตรอบด้าน ไม่แบน แต่มีมิติ ไม่แสดงพฤติกรรมเชิงเดี่ยว”

“ใครจะเป็นนักเขียนจะต้องมีวินัยในการเขียนสูง” เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์

“นักเขียน คือ นักคิด อยู่ที่ไหนก็คิดตลอดเวลา เจอเหตุการณ์์ือะไรก็จะคิด” ประชาคม ลุนาชัย

ประชาคม ลุนาชัย “บางครั้งพล็อตเรื่องสั้นเกิดขึ้นระหว่างทาง ก็จดไว้ แล้วค่อยไปหาข้อมูลมาพัฒนาเรื่อง มันเป็นการสะสมพล็อตเรื่องไว้”

“ถ้าพล็อตไหนไม่อยู่กับเรา แปลว่ามันไม่โดนใจเรา ไม่กินใจเรา เราก็ปล่อยมันไป” ประชาคม ลุนาชัย

ประชาคม ลุนาชัย “นักเขียนอย่าง “ทมยันตี” เสียภาษีปีละหลายล้าน ใครว่าเป็นนักเขียนไส้แห้งนักเขียนมีทั้งสวรรค์และนรก”

ประชาคม ลุนาชัย “นักเขียนก่อนจะเขียนด้วยมือ ต้องเริ่มเขียนด้วยใจก่อน”

“งานเขียนที่ดีต้องมีความคิดรวบยอด คือก่อนมีบรรทัดแรกเรามีบรรทัดสุดท้ายในใจแล้ว” ประชาคม ลุนาชัย

ประชาคม ลุนาชัย “ฝึกการเขียนเริ่มแรกคือ ฝึกความคุ้นเคยกับงานเขียน คิดอะไรในใจอย่าไปเล่าให้ใครฟัง ให้มาเขียนลงกระดาษ”

ประชาคม “ฝึกให้มีความสุขในการบอกเล่าด้วยการเขียน ไม่ใช่บอกเล่าด้วยปาก การบอกเล่าด้วยปากพลังในการบอกเล่ามันจะน้อยกว่าบอกเล่าด้วยการเขียน”

ประชาคม ลุนาชัย “อยากเ็ป็นนักเขียน ให้หมั่นแวะแผงหนังสือ เพื่อรู้ว่านิตยสารไหนบ้างที่มีพื้นที่สำหรับเรื่องสั้น” (1)

ประชาคม ลุนาชัย “อยากเ็ป็นนักเขียน ให้หมั่นแวะร้านหนังสือ เพื่อรู้ว่าสนพงไหนบ้างชอบพิมพ์รวมเล่มเรื่องสั้น” (2)

ประชาคม ลุนาชัย “งานเขียนที่ดี ที่มีคุณค่า จะมีอายุยืนนานกว่าคนเขียนหลายศตวรรษ”

Share

View :2502

ขอแบ่งปันข้อมูลจากการเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” ค่ะ (2)

October 9th, 2010 No comments

กลวิธีการเขียน “เรื่องสั้น” รูปแบบต่างๆ  โดย ชมัยภร แสงกระจ่าง นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย

ภาคบ่ายพบกับ “ไพลิน รุ้งรัตน์” หรือ พี่ชมัยภร แสงกระจ่าง นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย

“เราเขียนหนังสือ เราต้องมีความสุข ถ้าเขียนแล้วไม่มีความสุขอย่าทำเลย” ไพลิน รุ้งรัตน์

“ถ้าอยากเป็นนักเขียน ต้องอ่านให้มากกว่าเดิม อ่านจนเนื้อหาสาระี้ และกลวิธีต่างๆ ของงานเขียนเข้ามาอยู่ในสมองเรา” ไพลิน รุ้งรัตน์

ชมัยภร แสงกระจ่าง หรือ ไพลิน รุ้งรัตน์ เกิดเมื่อปี ๒๔๙๓ ที่จังหวัดจันทบุรี

“เราไม่ได้อ่านแค่หนังสือ แต่เราอ่านชีวิต” ไพลิน รุ้งรัตน์

“การอ่านเป็นการจดจำข้อมูลชีวิต” ไพลิน รุ้งรัตน์

“การ ไปทำข่าว การฟังเขาแถลงข่าว การดูทีวี = การอ่าน… การอ่านชีวิตและตีความอย่างไร ขึ้นกับภูมิหลังของเราึ้ (ฐานข้อมูล)” ไพลิน รุ้งรัตน์

“ทุกคนมีฐานข้อมูลทุกคน อย่ามาบอกว่า โอ๊ยไม่รู้จะเอาอะไรมาเขียน ไม่เคยอกหัก” ไพลิน รุ้งรัตน์

“แค่ ความอยากเป็นนักเขียนไม่พอที่จะทำให้เป็นนักเขียน แต่มันต้องมีความอยากเล่าเรื่อง เรื่องที่อยากเล่ามันมีอะไรบ้างอย่างทำให้ี่เราอยากจะเล่า”

“ความ สะเืทืิอนใจ” เป็นตัวจุดให้เกิดการเขียน เมื่อผสมกับ “จินตนาการ” จะทำให้ “ข้อมูลชีวิต” เป็น “สาระ” ใหม่(ที่ไม่ใช่ข่าว): ไพลิน รุ่งรัตน์

กระบวน การเขียน “ความสะเทือนใจ” ก่อให้เกิดความอยากจะเขียน จากนั้นต้องใช้ “จินตนาการ” –> “ฐานข้อมูล” –> “การลงมือเขียน” : ไพลิน รุ้งรัตน์

ไพลิน รุ้งรัตน์กำลังยกตัวอย่างเรื่อง”ลมหายใจที่ปลายจมูก”อ่านแล้วแยกไม่ออกเลย ว่าเรื่องจริงหรือเรื่องแต่งพอพบนักเขียนจึงถามพบว่าเป็นเรื่องจริง

เป็นเรื่องที่เขียนขึ้นจากความสะเทือนใจอย่างแรง คนเขียนไม่ได้ใช้ฝีมือในการเขียนมาก เพีงแค่ใช้ภาษาเล่าเรื่องธรรมดา

“ถ้า คุณจบเรื่องของคุณไม่ได้ แปลว่าคุณคิดไม่ชัด” ไพลิน รุ้งรัตน์ >>>  เอ..อันนี้เหมือนการเขียนข่าวเลย ถ้าจบไม่ลงแปลว่าประเด็นไม่ชัด

“หากในชีวิตคุณไม่เคยสนใจคนอื่นเลย ก็อยากจะเป็นนักเขียน” ไพลิน รุ้งรัตน์

“เราจะต้องเลือกข้อมูลชีวิตที่เรามี มาใช้ให้เหมาะกับประเภทของงาน งานมันมี สารคดี เรื่องสั้น กวีนิพนธ์ เป็นต้น” ไพลิน รุ้งรัตน์

ไพลิน รุ้งรัตน์ นำเสนอวีดีโอ พร้อมชี้แนะว่า ด้วยข้อมูลนี้ สามารถเอามาทำเป็น สารคดี หรือ เรื่องสั้นก็ได้

“ต้อง เลือกข้อมูลชีิวิต มาเล่ามาเขียน…ถ้าเรื่องคุณดี ต่อให้คุณเขียนไม่ได้ ก็มาเกลาได้ แต่ถ้าคุณภาษาดี แต่เรื่องไม่ดีแก้ยาก” ไพลิน รุ่งรัตน์

ก่อนอื่นเลย ต้องคิด “แก่นเรื่อง” และต้องวางให้ชัดเจนก่อนเลย จากนั้นมาวาง “โครงเรื่อง” และ “ตัวละคร” : ไพลิน รุ้งรัตน์

“เรื่องสั้น จะมีตัวละครน้อย 1-5 ตัว อย่าใช้ตัวละครเยอะ ไม่งั้นจะตามเก็บตัวละครได้ไม่หมด” ไพลิน รุ้งรัตน์

“ตัวละคร คือ ผู้มีบทบาทในเรื่อง ไม่ใช่หมายถึง คน เท่านั้น” ไพลิน รุ้งรัตน์

กระบวน การเขียนเรื่องสั้น –> คิด “แก่นเรื่อง” –> วาง “ตัวละคร” –> วางโครงเรื่อง” (ว่าจะเดินเรื่องยังไง ขัดแย้งกี่ครั้ง): ไพลิน รุ้งรัตน์

กระบวน การเขียนเรื่องสั้น –> คิดแก่นเรื่อง –> วางตัวละคร–> วางโครงเรื่อง(ว่าจะเดินเรื่องยังไงขัดแย้งกี่ครั้ง)–>ลงมือเขียน:ไพลิน รุ้งรัตน์

“เรื่องที่จะเขียนมันต้องมี “ความขัดแย้ง” ไม่งั้นไม่สามารถดินเรื่องต่อได้ ไม่สามารถพัฒนาความขัดแย้งได้” : ไพลิน รุ้งรัตน์

“ความ กระชับ” กับ “วรรณศิลป์” เป็นสิ่งเดียวกัน นักเขียนเรื่องสั้น ต้องเกาะแก่งเรื่องให้แน่น อย่าหลุด อย่าเสียดายข้อมูล: ไพลิน รุ้งรัตน์

การเขียนเรื่องสั้น นอกจาก “แก่นเรื่อง”,”ตัวละคร”,”โครงเรื่อง” แล้ว สิ่งที่อย่าลืม คือ “บทสนมนา” กับ “ฉาก”: ไพลิน รุ้งรัตน์

“การตั้งชื่อเรื่อง” เป็นตัวช่วยหนึ่งในการช่วยให้เราไม่หลงประเด็นที่จะเขียน :ไพลิน รุ้งรัตน์

“การเปิดเรื่อง” กับ “การปิดเรื่อง” เป็นอีกสองสิ่งที่สำคัญในการเขียน :ไพลิน รุ้งรัตน์

การเปิดเรื่อง อย่าเปิดเรื่องแรง ถ้าเิปิดทีเดียวจบ คนอ่านจะไม่ตามอ่านอีก: ไพลิน รุ้งรัตน์

แต่มีบางกรณีที่เปิดเรื่องด้วยตอนจบแต่คนอ่านยังอยากตามอ่านอยู่: ไพลิน รุ้งรัตน์

หัวใจสำคัญของการเขียนเรื่องสั้น คือ จะต้องมีโครงสร้าง(ของเรื่อง) เดียว : ไพลิน รุ้งรัตน์

นวนิยายขนาดสั้น จะีโครงเรื่องย่อย: ไพลิน รุ้งรัตน์

เรื่อง สั้นขนาดยาวกับนวนิยายขนาดสั้น ที่จำนวน30 หน้าเท่ากัน ค.ต่างคือ ชุดของโครงเรื่อง เรื่องสั้นมีโครงเรื่องชุดเดียวเท่านั้น:ไพลิน รุ้งรัตน์

พลังของเรื่องสั้น กับนวนิยาย มันต่างกัน: ไพลิน รุ้งรัตน์

พลัง ของเรื่องสั้น (ที่ดี) จะทำให้คนอ่านจำเรื่องนั้นไปตลอด อ่านจบแล้วเหมือนลูกศรปักกลางอก…แต่นวนิยายมันจะค่อยๆ ซึมเข้ามา: ไพลิน รุ้งรัตน์

การ อ่านเรื่องสั้น อ่านแล้วทิ้งช่วงมาอ่านต่อมันไม่ได้ มันต้องอ่านให้จบเรื่องรวดเดียว:ไพลิน รุ้งรัตน์>ใครเคยอ่านเรื่องสั้นไม่รวดเดียวจบบ้างคะ?

เรื่อง สั้นที่ดีเรื่องต้อง”กระทบใจ”,”สะเทือนใจ”ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเรื่อง เศร้าเสมอไปเรื่องสิ้นที่ดีแบบมีค.สุขก็มีแต่เรื่องเศร้ามันจะแรงกว่า

จบค่ะ

View :2668

ขอแบ่งปันข้อมูลจากการเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” ค่ะ

October 9th, 2010 No comments

ภาพเช้า ปาฐกถาพิเศษ “จากนักข่าวสู่นักเขียน” โดย เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ นักเขียนนักหนังสือพิมพ์อาวุโส

และ สนทนา “จากข้อมูลสู่เรื่องสั้น” โดย รุ่งมณี เมฆโสภณ เจ้าของผลงาน “คนสองแผ่นดิน” และ “ประชาธิปไตยเปื้อนเลือด” และนิรันศักดิ์ บุญจันทร์ บรรณาธิการจุดประกายวรรณกรรม

“”นัก เขียน” ในความหายของคนส่วนใหญ๋ แวบแรก คือ การเขียนนวนิยาย แต่ในความเป็นจริงการเขียนมีหลายรูปแบบ” พี่ประสงค์ นายกฯ สมาคมนักข่าว

ราย นามวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการ”ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” รุ่นที่ 4 ได้แก่ เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์, รุ่งมณี เมฆโสภณ, นิรันศักดิ์ บุญจันทร์(1)ชมัย ภร แสงกระจ่าง, ประชาคม ลุนาชัย, เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์, วัชระ สัจจะสารสิน, อุทิศ เหมะมูล และอริสรา ประดิษฐ์สุวรรณ(ผู้เข้าอบรมรุ่นที่2)(2)

หม่อม เจ้าอากาศ ดำเกิง เป็นผู้จุดประกายให้กับคนอ่านให้เป็นนักข่าว เป็นคนหนึ่ึ่งที่เป็นทั้งนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ รวมถึง ศรีบูรพา ด้วย

ทำไมนักเขียนจึงเป็นนักนสพ.ได้ และทำไมนักนสพ.เป็นนักข่าวได้ เพราะสมัยก่อนเขาเห็นว่าสังคมไม่เป็นธรรมกับคนที่อยู่ในสังคมด้วยกัน

คือ ต้องทำความจริงให้ปรากฏ ..ซึ่งนักข่าวมีประสบการณ์ตรงนี้อยู่ต็มๆ นักเขียนโดยเนื้อแท้อาจจะไม่ได้เป็นนักข่าว อาจจะไม่มีข้อมูลมากเท่านักข่าว

แต่สิ่งที่นักเขียนมีมากกว่านักข่าว คือ “จินตนาการ”

“เริ่มจากการเขียนข่าวให้ถูกต้องตรงข้อเท็จจริง ย่อความให้ได้ เป็นจุดเิ่่ริ่ิมต้นของการเป็นนักเขียน” พี่เรืองชัย ทรัพย์นิรัดร์

“พรสวรรค์เราทุกคนมี แต่อยู่ที่ว่าจะหยิับมันอกมาใช้ได้อย่างไง” พี่เรืองชัย ทรัพย์นิรัดร์

พี่เรืองชัย ทรัพย์นิรัดร์ บอกว่า “จินตนาการ ข้อเท็จจริง และประสบการณ์” คือ 3 ปัจจัยหลักของการเป็นนักเขียน

“เมื่อคุณอยากเป็นนักเขียน ให้คุณลงมือเขียน” พี่เรืองชัย ทรัพย์นิรัดร์

sesion ต่อไป คือ พี่รุ่งมณี เมฆโสภณ ผู้เขียน “ประชาธิปไตยเปื้อนเลือด” และ พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์ บก.จุดประกายวรรณกรรม

พี่ นิรันศักดิ์ บุญจันทร์”ยุคนี้ถ้าคุณอยากจะเขียนหนังสือคุณได้กระโดจนเข้าไปครึ่งตัวแล้ว การเป็นนักข่าวได้เปรียบมากในเรื่องของการมีข้อมูลในมือ”

พี่ นิรันศักดิ์”ผมแปลกใจมากว่าสถานการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา ไม่มีเรื่องสั้นหรืองานวรรณกรรมออกมาเลย สมัยก่อนนักเขียนนักข่าวคือตัวตนคนเดียวกัน”

พี่ นิรันศักดิ์ “การเป็นนักข่าวได้ความจริง นักเขียนคือความมีวรรณศิลป์ อาิาทิ ภาษาข่าว คือ “เขากล่าวว่า”,นักเขียน “เขากระซิบบอก” “เขาเอ่ยว่า”

พี่ รุ่งมณี โสภณ บอกว่า “ความร่ำรวยทางภาษา เกิดจากการอ่าน คือการสะสมเชิงปริมาณ สู่คุณภาพ จะเป็นนักเขียนที่ดีไม่ได้เลยหากไม่ได้อ่านหนังสือ”

“การ อ่านทำให้องค์ความรู้กว้างกว่าคนอื่น ทำให้เกิดการตั้งคำถามที่ดีกว่าคนอื่น การไม่อ่านนอกจะไเป็นนักเขียนไม่ได้แล้วยังเป็นนักข่าวไม่ได้ด้วย”

“การ เป็นนักเขียนต้องเป็นคนช่างสังเกตด้วย เพราะบางทีนักเขียนไม่ได้มีประสบการณ์ตรงหรอกแต่ใช้วิธีสังเกตและใส่ จินตนาการ”พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

“การ เป็นนักเขียนต้องเรียนรู้รูปแบบของงานเขียนด้วย โดยพื้นฐานมันจะมีรูปแบบมันอยู่แต่ไม่จำเป็นต้องยึดรูปแบที่ตายตัว” พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

“รูป แบบงานเขียน อาทิ รูปแบบงานเขียนเรื่องสั้น มีพล็อต มีวิธีการเดินเรื่อง มีจุดไคลแม็กซ์ มีจุดหักมุม เป็นต้น” พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

“โดยความเชื่อของผม นักข่าว คือ นักเขียน คนหนึ่ง เพราะเขามีเรื่องอยู่ เรื่องที่สามารถเอามาเขียนได้” พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

“การเลือกอ่านหนังสือที่ดี จะเป็นแรงส่งสู่การเป็นนักเขียนที่ดีอีกอย่างหนึ่ง” พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

“งานนักข่าวเป็นงานของข้อเท็จจริง มันเพ้อเจ้อไม่ได้ เลยอยากมากอบรมเป็นนักเขียน” นี่คือเหตุผลของนักข่าวหลายคนที่บอกกับวิทยากร

“การ เป็นนักเขียน คนที่รักงานเขียน เหมือนคนที่ทำงานไม่รู้จักเสร็จสิ้น เขียนแบบไม่รู้เหน็ดรู้เหนื่อย/การเป็นนักเขียน ต้อง”ชอบเขียน” พี่รุ่งมณี

“การชอบเล่า การชอบฝัน ไม่ทำให้เราเป็นนักเขียนได้ การเป็นนักเขียน ต้องชอบเขียน ไม่ว่าจะเขียนอะไรก็ตาม” พี่รุ่งมณี

พี่รุ่งมณี กำลังยกตัวอย่างพล็อตเรื่อง CSI ว่าเรื่องแค่ 45 นาที วางโครงเรื่องซับซ้อนไปมา …(เรื่องนี้โดยส่วนตัวชอบดูมาก)

พี่รุ่งมณี กำลังยกตย. เรื่องสั้นของคุณ มนู จรรยงค์ ลูกชายคุณมนัส จรรยงค์ ที่ชอบเขียนเรื่องของ”คนเล็กๆ”

“การเป็นนักเขียนต้องมีตาใน ที่เก็บรายละเอียดของคนเล็กๆ บางทีการเป็นนักข่าว ตาเรามักจะไปจับจ้องแต่คนใหญ่ๆ” พี่รุ่งมณี

พี่นิรันดร์ศักดิ์ บุญจันทร์ “คุณเล่าเรื่องเป็นไหม เล่าโดยการเขียน ไม่ใช่การเล่าปากเปล่า”

“ยุคนี้ถ้าคุณเขียนนิยายได้ประสบความสำเร็จสักเล่มหนึ่ง คุณจะลืมอาชีพนักข่าวไปเลย” พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

พี่นิรันศักดิ์ บอกว่า ให้ลองใช้เวลาเสาร์อาทิตย์เขียนเรื่องสั้นสักเรื่อง … แต่ปัญหาของนักข่าวคือเรื่องเวลา

อย่า บอกว่าไม่มีเวลาถ้าต้องการทำความฝันให้เป็นจริงเราต้องจัดการกับเวลาของตัว เองต้องกำหนดเป้าหมายและเส้นทางเองต้องทำงานหนักด้วยตัวเอง:รุ่งมณี

การเขียนตามเว็บ ตามบล็อก ส่วนหนึ่งใช่ “งานเขียน” แต่อีกหลายส่วนเป็นแค่ “การแสดงความคิดเห็น”… พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

“การ เขียนตามเว็บ ตามบล็อก เป็นงานวรรณกรรมที่ดีรึยัง…คำตอบคือ งานวรรณกรรมที่ดีต้องผ่านการพิสูจน์และยอมรับจากคนอ่านเสียก่อน” พี่นิรันศักดิ์

“ไม่ว่านักข่าวหรือ นักเขียน ชัยชนะของการเขียน คือ ข้อมูล” พี่รุ่งมณี เมฆโสภณ

“นักข่าวข้อมูลเยอะ เพราะฉะนั้นต้องฝึกให้จัดการกับข้อมูลให้เป็น” พี่รุ่งมณี เมฆโสภณ

จบภาคเช้าค่ะ

View :2414