Archive

Archive for December, 2018

เมื่อครั้งพูดคุยกับ “สมคิด จิรานันตรัตน์”

December 18th, 2018 No comments

บทสัมภาษณ์นี้เป็นการพูดคุยกับ “คุณสมคิด จิรานันตรัตน์” อดีตประธาน บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) ถึงเรื่องทิศทางของธุรกิจธนาคารในอนาคตว่าจะเดินไปในทางไหนเมื่อถูกดิจิทัลปั่นป่วน เป็นการสัมภาษณ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2561 ก่อนที่จะมีการเปิดตัว KPlus เวอร์ชั่นใหม่ และมาลงหลังจากที่คุณสมคิดได้เกษียณจากตำแหน่งนี้ไปแล้วเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 61 ที่ผ่านมา

 

K.Somkid3

เมื่อ digital disruption …..

ทุกคนมีความท้าทายหมดในโลกยุคนี้ เพราะว่าโลกยุคนี้เทคโนโลยีเปลี่ยนเยอะ แล้วเทคโนโลยีที่เปลี่ยนก็เป็ยสิ่งที่อาจจะทำให้วิธีการแบบเดิมๆ ธุรกิจแบบเดิมๆ อาจจะมีความเสี่ยงสูงมาก และอาจจะอยู่ไม่ได้

ที่ผ่านมาเราก็เห็นตัวอย่างหลายธุรกิจที่อยู่ไม่ได้เพราะเทคโนโลยีเข้ามา disrupt เช่น ธุรกิจสื่องสิ่งพิมพ์ อยู่ไม่ได้เพราะว่าต้นทุนที่จะทำสื่อสิ่งพิมพ์กระดาษสูงมากกว่าสื่ออนไลน์​และผู้บริโภคก็หันไปบริโภคสื่ออนไลน์มากขึ้น เรื่องต้นทุนและพฤติกรรมผู้บริโภคทำให้ธุรกิจแบบเดิมอยู่ไม่ได้ อาจจะทุก sector ค่อยๆ ลามไปทีละ sector ก่อนหน้านั้นเป็นกล้องถ่ายรูป ตอนนี้ธุรกิจทีวีก็มีผลกระทบ ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมไปบริโภคสื่อ YouTube Facebook และสื่ออื่นๆ มากขึ้น ธุรกิจแบบเดิมอยู่ยาก ทั้งต้นทุนสูงกว่าและผู้บริโภคก็เปลี่ยนพฤติกรรม

ตอนนี้มาถึงธุรกิจทางด้านการเงิน เช่นเดียวกัน ต้นทุนต่ำลงอย่างมาก เพราะว่าต้นทุนในการทำ transaction บนสื่อออนไลน์ เช่น บน mobile เทียบกับสาขามันต่างกันเยอะมาก ผู้บริโภคก็หันมาใช้สื่อทางออนไลน์ ทาง mobile มากขึ้นๆ จะเห็นได้ว่า transaction บน mobile มากกว่าสาขาถึง 10 เท่า ณ ปัจจุบัน ของเราเองภายในช่วง 4-5 ปีเท่านั้นเอง ซึ่งมากกว่า ATM ถึง 2 เท่า (เมื่อก่อน ATM มี transaction มากที่สุด)​ แนวโน้มแบบนี้จะทำให้ต้นทุนของการให้บริการทางสื่อ mobile หรือสื่ออื่นในอนาคต จะต่ำลงๆ รูปแบบการให้บริการเปลี่ยนไป ดีขึ้นกว่าเดิม

สื่อทาง mobile เมื่อเทียบกับ Internet Banking / Cyber Banking มันดีกว่า ถูกกว่า และปลอดภัยกว่า แต่คนอาจจะยังไม่ทราบว่า mobile banking ปลอดภัยกว่า cyber banking แนวโน้มของคนที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้ mobile banking สูงมากขึ้นๆ

ภัยคุกคามของธนาคารคือ …

threat สำคัญสำหรับธุรกิจการเงิน คือ คนที่จะเข้ามาอยู่ในธุรกิจการเงิน ไม่จำเป็นต้องอยู่ในธุรกิจการเงินเดิม อาจจะไม่ใช่คู่แข่งคนเดิม อาจจะเป็นคนนอกธุรกิจการเงิน อาจจะเป็นบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ อาจจะเป็นบริษัท e-commerce ขนาดใหญ่ อาจจะเป็นบริษัท telco ขนาดใหญ่ อาจจะเป็น fintec ที่มีกำลังทรัพย์อย่างมาก คือ คนที่จะเข้ามาในธุรกิจแบบใหม่ หรือเข้ามาในธุรกิจการเงินจากภายนอก เขาต้องมีฐานเงิน เขาต้องมีฐานลูกค้า เขาต้องมีเทคโนโลยี ถ้าเขามี 3 อย่างนี้ ในอนาคตเส้นที่แบ่งเขตว่า เขตไหนหรือเขตของ financial industry มันถูกล้างไปหมดเลย

ในโลกแบบใหม่เส้นแบ่งเขตไม่มีแล้ว เราจะเห็นได้ว่า ถ้าเรายังทำแบบเดิม ยังคิดแบบเดิม รูปแบบการบริการเป็นแบบเดิม เราน่าจะมีปัญหา อันนี้เป็นสาเหตุหลักที่เราตั้ง KBTG และอันนี้ก็เป็นภารกิจหลักที่จะทำให้ KBTG และ KBank และธุรกิจธนาคาร ในประเทศไทนรอดพ้นจากการถูก take over หรือการถูก disrupt โดยธุรกิจแบบอื่น เราเป็นมา 2-3 ปีแล้ว ถึงตั้ง KBTG ขึ้นมา

Landscape ของ baking industry ….

Landscape ข้างหน้ามีความไม่ชัดเจนเยอะ ว่ารูปแบบของ landscape ข้างหน้าเป็นยังไง รูปแบบของการแข่งขันเป็นยังไง landscape ข้างหน้ามันเป็น “ดินแดนที่ยังไม่มีใครค้นพบ” เราต้องไปหา ต้องไปสร้างขึ้นมาว่า “ดินแดนที่ยังไม่มีใครค้นพบ” หน้าตาเป็นยังไง และเป็นภารกิจที่เราต้องทำอยู่ เพราะว่า “ดินแดนที่ยังไม่มีใครค้นพบ” มันจะสร้างให้เป็นแบบไหน

มีความท้าทายแน่นอนอยู่แล้ว อะไรก็ตามที่เป็นของใหม่ ใครก็ตามที่อยู่ในสภาพแบบนี้คิดว่าต้องท้าทาย เพราะเป็นสิ่งที่ไม่มีใครรู้ และเป็นสิ่งที่เราต้องช่วยคิดและสร้างขึ้นมาก ท้าทายอยู่แล้ว แต่ถามว่าเราจะหนีมันหรือไม่ จะหลบ จะยอมให้คนอื่นเขาทำขึ้นมา แล้วเราอยู่เฉยๆ หรือเปล่า เป็นไปไม่ได้

ตั้งเป้าที่เติบโต 10X ….

ถามว่าเราเป็นผู้นำในเรื่องนี้ไหม ตอนนี้ในโลกดิจิทัลในเมืองไทยก็ถือว่า KBANK เป็นผู้นำในเรื่อง mobile banking ในประเทศไทย ถ้าพูดถึงจำนวน volume, transaction ลูกค้า ใน SEA เราก็เป็นผู้นำ ถ้าพูดถึง scale ระดับโลก การเป็นผู้นำใน SEA มันขี้ปะติ๋วมากเลย เทียบระดับโลกไม่ได้เลย ระดับโลกเขาพูดกันเป็น 100 ล้านคน 1,000 คน อย่าง WeChat, Alipay เขาพูดกันเป็น 1,000 ล้านคน ของเรา 10 ล้านคน เล็กน้อยมาก เราต้องคิดถึงตัวเลขที่ใหญ่กว่า 10 ล้านคน เราไมไ่ด้คิดแค่ปัจจุบัน เราคิดถึง 5-10 ปีข้างหน้า เราคิดถึงตัวเลขที่เป็น 10X ไม่ใช่แค่ % incremental increase แต่เป็น explotential increase เราคิดถึงตัวลข 10 เท่า ซึ่ง timeframe ยังกำหนดไมได้ เราหวังว่าวิธีการ สิ่งที่เราทำเราตั้งเป้าว่าจะไปสู่ตัวเลขที่เป็น 10 เท่าได้ ส่วนจะเป็นถึงเมื่อใด วันนี้ถ้าบอกก็แสดงว่าโม้เกินไป เพราะยังไม่มีอะไรที่ชัดขนาดนั้น

แต่คิดว่าเราต้องหารูปแบบ วิธีการที่จะทำให้เราไปถึง10 เท่าให้ได้ก่อน แล้วเราลองทำมันสัก 1-2 ปี และหลังจาก 1-2 ปีแล้วเราถึงจะบอกได้ว่า อีกกี่ปีเราถึงจะไปถึง 10 เท่าแง่จำนวนคนใช้ แสดงว่าไม่เฉพาะในประเทศไทย ต้องเป็น regional หรือ global player ต้องขยายไปขอบเขตที่ใกล้ที่สุดก่อน คือ indo-china, CLMV, indonesia เป็นประเทศที่เราคุ้นเคย

การเข้ามประเทศเราต้องการการ support จาก regulation และเราต้องเป็น global player mentality mindset คิดแบบ local ไม่ได้ คิดแบบ local เราจะคิดถึงแต่วิธีการที่เราคุ้นเคย และวิธีการที่เป็นคนไทยทำตรงกับผู้บริโภคคนไทย ถ้าเราจะเป็น regional หรือ global player เราต้องคิดเป็น universal มากขึ้น โดยที่สิ่งที่เราคิด สิ่งที่เราทำต้องเป็น platform ที่เปิดมากพอที่จะไปสู่ regional ได้ หรือแม้กระทั่ง ในอนาคตถ้าไปถึง 10X อาจจะมากกว่า regional ซึ่งต้องอาศัย factor ที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน คือ factor ด้านการคิดการออกแบบ platform ต้องต่างจากปัจจุบัน ผู้ที่เข้ามาร่วมใน platform ต้องแตกต่างจากที่เราคิดอยู่ในปัจจุบัน ปัจจุบันเราบอกว่า KPlus เป็นเฉพาะของ KBank แต่ถ้าเราจะเป็น platform อนาคต มันจะต้อง beyond one bank และต้อง beyond banking

ความคิดนี้มันจะอยู่ใน KPlus version ใหม่ เราคิดมานานแล้วคิดมาเป็นปีแล้ว จะชัดขึ้นเรื่อยๆ ใน 2 ปี หลังจาก 2 ปีที่มันชัดขึ้น มันจะไปสู่ regional ได้ หลังจาก 5 ปี ถ้า regional success มันจะไปสู่ภาพที่ใหญ่กว่านั้นได้ global ได้

KPlus as a platform …

เราจะเริ่มเห็นวิธีคิดใน KPlus version ใหม่ ว่าเป็น opened platform มากขึ้น วิธีคิดจะใช้ AI มากขึ้น วิธีคิดจะรองรับ partner ที่จะเข้ามาอยู่ใน platform มากขึ้น วิธีคิดที่จะเอาลูกค้าเป็นศูนย์กลางมากขึ้น บริการต่างๆ ไม่จำกัดเฉพาะบริการทางการเงิน partner ก็ไม่จำเป็นต้องเป็น bank/finance KPlus เป็น platform

วิธีคิด ออกแบบ จะต้องให้บริการได้มากกว่าประเทศไทยได้ แต่ช่วงต้นต้องโฟกัสที่ประเทศไทยก่อน ให้โมเดลมัน work ได้ก่อน ถ้า model มัน work ได้ในเมืองไทย การ expand ไป regional มันไม่ได้ยาก

Version เก่าไม่ได้คิดถึงคนต่างประเทศเลย และไม่ได้คิดถึงธุรกิจที่อยู่นอกเหนือธุรกิจ banking เลย และไม่ได้คิดถึงการเอา AI เป็นพื้นฐานของบริการ เรามี AI เข้าไปใส่ได้บ้าง แต่ไม่ใช่ AI as a platform มันเป็น AI ที่เข้าไปเสริมบางจุด แต่ KPlus version ใหม่จะเป็น AI as a platform

เราคิดใหม่ รื้อใหม่ เปลี่ยนวิธีคิดใหม่ ทำมาปีหนึ่ง end-user แค่อัพเดทแอพฯ เขาจะเห็นอย่างอื่นเพิ่มมากขึ้น แต่รุปแบบการทำ transaction experience จะเหมือนเดิม เขาจะเห็น AI-based service หรือ GADE suggestion มากขึ้น เป้าคือ 10 เท่าของ 10 ล้าน เรามองยาว เราไม่มองแค่ตัวเลขในประเทศไทย เรามองยาวว่าวิธีการที่เราทำจะนำไปสู่ 100 ล้านคนได้ คืออะไร มันคือ challenge ของผมและ KBank เพราะผมไม่มีความสามารถในการทำคนเดียวได้ เราต้องทำงานเป็นทีม

จุดที่ทำให้เราต้องเอา technology กลับมาดูแลเองทั้งหมด คือ เรามองเห็นว่า technology จะมา disrupt ถ้าเราไม่ build capability เอง การทำ tech reengineer เราทำมาเรื่อยๆ เป็นเวลา 10 ปี

การที่จะต้อง build capability ในวันข้างหน้าที่จะต้องเป็น technology สำหรับอนาคต การที่จะต้อง attract talent เก่งๆ การที่จะต้องสร้าง culture ให้มีความกระฉับกระเฉง ว่องไว รวดเร็ว มันจำเป็นต้องแยก KBTG ออกมา เพราะถ้าอยู่ในองค์กรเดิมที่มีความใหญ่อยู่ มันแก้ไม่ทัน มันเป็นไปได้ยาก ต้องแยกออกมาเป็นหน่วยเฉพาะกิจ แก้ไขได้เร็วและเป็นตัวที่มองไปข้างหน้า ช่วยสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ

เรื่องการสร้างความสามารถ จำนวน resource เทียบกับสิ่งที่เราจะทำ หรือเทียบกับความท้าทายว่าเราอยากจะสร้างอะไรใหม่ มันไม่เคยพอ เรายังต้องการ resource อีกจำนวนมาก แต่ว่าฐานที่เราสร้างขึ้นผมคิดว่าเราสร้างขึ้นมาทั้งเรื่องกำลังคน ความสามาถรของคน เราสร้างฐานได้ดีถึงดีมาก ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่ถามว่าพอไหม ไม่พอ เราสร้างฐาน resource ด้าน AI ขึ้นมาดีพอสมควรในช่วงปีครึ่งที่ผ่านมา เรามีฐานที่ทำเรื่อง blockchain ทำเรื่อง mobile ซึ่งเราทำมา 5 ปีแล้ว ในขณะที่เราไม่ outsource เรื่อง mobile banking เราสร้างเองมา 5 ปีแล้วเพราะเราคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เป็นฐานที่จะเป็นกำลังสำคัญในอนาคต ตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว

KADE 04

KBTG:

ทีม KBTG มี 1,200 คน มี KLabs คิดว่า 70% เป็น technology people เราต้องการสร้าง KLabs สู่ระดับ world class ไม่ใช่แค่ประเทศไทย ต้องมีคนระดับ world class บริษัทระดับ world clase ทำอะไรได้เราก็ต้องทำได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีใหม่ หรือ blockchain หรือ AI design. mobile ถ้า world calss ทำอะไรได้เราก็ต้องทำได้เหมือนกัน capability เดียวกัน

KLabs เป็นอาวุธสำคัญ เป็นคนที่เราเลือก ซึ่งเราเลือกจากคนที่สามารถทำงานกับบริษัท global ได้ ด้วยความสามารถเดียวกัน ถ้าเขาเข้า Google ได้ เข้า Facebook ได้ เราอยากได้
KLabs เป็น part นึงของ KBTG ทุกคนต้องทำงานร่วมกัน ทั้งหมดเป็นกองทัพ เราคือ technology company เราไม่ใช่ bank เราต้องการให้คน recognize เราเป็น world class technology company

การบริหารพนักงานเจนมิลลิเนียม ….

คุณสมคิดอายุ 58 ปี พนักงานส่วนใหญ่ที่ต้องดูแล ที่ KLabs อายุเฉลี่ยไม่ถึง 30 ปี เทียบเคียงกับบริษัทเทคโนโลยีดีๆ ระดับโลกได้ ถ้าทั้ง KBTG อายุเฉลี่ยคือ 30 ปลายๆ

ผมนี่รุ่น baby boom เราผ่านเศรษฐกิจที่ยากลำบาก เป็นคนที่มีความมุ่งมั่น อดทน ทนๆๆๆ แต่คนยุคมิลลิเนียม เขาโตมากับเทคโนโลยี เขาเป็น digital native เป็นคนที่ทำอะไรหลายๆ อย่างด้วยความรวดเร็ว คิดอะไรเร็ว ทำอะไรเร็ว และไม่ได้โตมาแบบลำบาก เพราะฉะนั้น วิธีคิด mindset ต่างๆ ไม่เหมือนกัน

เราก็ต้องทำงานกับเขาได้ เขาก็ต้องทำงานกับเราได้ ทำอย่างไรให้คนสองเจนเนอเรชั่น หรือว่าช่องว่างของวัยวันอยู่ด้วยกันได้ ผมว่ามันต้องคลุกคลีกัน เราต้องฟังเขา เขามีไอเดียดีๆ หลายอย่าง และเขาก็ต้องฟังเรา เพราะเราก็มีประสบการณ์ดีๆ หลายอย่าง ถ้ามี respect ซึ่งกันและกัน อันนี้ไปได้ และเราก็เรียนรู้ซึ่งกันและกัน อย่าให้มันเป็น สิ่งที่ generation gap แล้ว ทำงานร่วมกันไม่ได้ ถ้าคิดแบบนั้นจะลำบาก จะไม่เกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน เหมือนกับอยู่บ้าน คุณก็มีลูกมีหลานก็คนละ generation ทำไมปู่ย่าตายาย ถึงอยู่กับลูกหลานได้ ทำไมบ้างครัวครัวอยู่กันได้ บางครอบครัวฟังกันไม่รู้เรื่อง มันต้องอยู่ที่ต้อง respect ซึ่งกันและกัน

เราอยากทำอันนี้ให้เป็น opened platform ให้ช่วยชีวิตคนดีขึ้น และถ้ามันทำได้จริง platform นี้มันขยายไปสู่ regional ได้ ขยายไป global ได้ มันก็อยู่รอดได้ และมันก็ช่วยเศรษฐกิจของชาติได้ มันช่วยให้คนมีความคิดที่จะทำธุรกิจใหม่ๆ ได้ดีขึ้น

เรามาคนละฟากกัน แต่สุดท้ายอาจจะคิดคล้ายๆ กัน อาจจะไปเจอกันที่เดียวกัน
เราเติบโตมาจาก bank mobile banking เติบโตมาจากการที่เรามี source of fund เรามีคนที่เรารู้จักเป็นอย่างดี คนพวกนี้มีตัวตน แต่คนที่เติบโตมาจาก social network บางทีตัวตนเขาไม่เคยเห็น การที่เขาจะก้าวจาก social network มาสู่ serious business เขาต้องก้าวผ่านภูเขาเหมือนกัน เราก็ต้องก้าวผ่านภูเขา แต่ภูเขาคนละลูก

Motto ในการทำงาน …..
จริงๆ ไม่มี motto ในการทำงาน ผมคิดว่าเวลาทำงาน เราไม่ยอมแพ้ เราไม่เคยยอมแพ้กับสิ่งที่ยังมองไม่เห็น ไม่เคยยอมแพ้กับสิ่งที่มันเป็นความมืด ไม่เคยยอมแพ้กับสิ่งที่บอกว่าเป็นไปไม่ได้ ถ้าเราไม่ยอมแพ้กับสิ่งเหล่านี้ เราก็สามารถที่จะทำให้ ความเป็นไปไม่ได้ ที่บอกว่า beyond possibility มัน possible มันไม่ใช่ motto แต่ผมคิดแบบนี้ อะไรก็ตามที่มัน impossible หรือมัน beyond possibility ถ้าเราไม่ยอมแพ้ เราสู้กับมัน มันต้องถึงฝั่งสักวัน

อยากเห็นความคิดดีๆ อยากเห็นคนที่เก่งๆ มาทำของที่เกิดประโยชน์ เราอยากเห็น เราอยาก support และเราอยากจะช่วย ถ้าเขามาอยู่ใน ecosystem เดียวกับเราได้ หรือเราช่วยให้เขาสามารถที่จะ ประสบความสำเร็จได้ โดยเข้ามาอยู่ใน platform หรือ ecosystem ของเรา เราก็ยินดีช่วยสนับสนุนทุกอย่าง ผมคิดว่า startup ถ้ามีคนสนับสนุนที่ดี เขาไปได้ คนที่มีไอเดียดีๆ เก่งๆ ถ้าอยู่คนเดียวหรือว่าไม่ได้มี ecosystem ที่จะช่วย เขาต้องลงแรงออกแรงเยอะมาก เราก็ผ่านจุดนั้นมาก่อน

View :4212