Archive

Archive for the ‘Smartphone’ Category

The Chatterbox: The winner of AIS Start Up Weekend 2011

May 20th, 2012 No comments

ทีม Chatter Box


Interview Chatterbox’s co-founder Tareef Jafferi:

1. Explain what the application does.

The Chatterbox mobile application is a product that bridges content providers and broadcasters with their audiences – with the purpose of creating an augmented channel for entertainment and user-engagement. The product leverages an opportunity in which the audience seeks a medium to socialize around a topic of interest (in this case, a TV program). Concurrently, broadcasters and content providers can use data provided by users to customize content and learn more about their audiences. Chatterbox aims to make television more interactive and social for the benefit of all.

The application and its features are a product of extensive market research, focus group studies, an understanding in behavioral psychology (gamification), and user-testing. The challenge is developing a tool that enhances rather than distracts a user’s attention from the media content. At the same time, users will feel an immediate impact and social advantage of using the application while watching television.

2. Talk about business model, revenue streams, and marketing strategies.

The Chatterbox product is a result of comprehesive market research and study, in parallel with special insight into telecommunication and media outlook over the next 5 years. With the emergence of social media in the realm of television, there is much new found activity in this industry. Subsequent to the formation of the product idea, we explored every facet of existing developments in Social TV. Furthermore, by understanding the needs of each stakeholder and of the user, we can create a product worthy of its potential.

Identifying the key stakeholders in the TV ecosystem is critical in creating a business model to sustain the platform. Chatterbox is designed to connect not only with TV audiences, but with broadcasters, content producers, and celebrities as well.

Revenue streams include targeted advertising, merchandizing, and market intelligence – each stream also mutually benefiting one or more key stakeholders.

Finally, the Chatterbox platform will leverage celebrity and TV show endorsements to grow user-base while concurrently providing a channel to advertise and sell products, as well as provide user engagement data that will help content producers better understand their audiences.

3. What kind of market reaction do you expect? How many downloads by the end of the year.?

Looking at the overlap between TV viewers and smartphone owners, we hope to be able to access a potential pool of 12+ million users. We hope to hit 100,000+ downloads by the end of the year.

4. When will the application be launched, and what platforms will it support?

The application will be launched early August. It will be launched for both iOS and Android devices.

5. When was the company set up, and how much capital has been put in?

The company is privately owned and funded by its co-founders (Tareef Jafferi, Taarif Jafferi and Kavin Kavin Asavanant). It is in the process of being formed as an LLC. The funded amount is not disclosed.

6. Do we have investors yet, who are they, and how is the investment structured?

We have interested Venture Capitalists, but do not plan to proceed with investment funding rounds until after we launch in August. The investment structure will be negotiated at that point in time.

7. What do you think about Startup Weekend and how did you benefit from participating?

Startup Weekend 2011 hosted by AIS was a fantastic event. It was a chance for like-minded people to come together, share ideas, and network. The atmosphere was also conducive for creative thinking.

Overall, it was a spark that the start-up community in Thailand needed to build on. Six months after the event, I find myself working with some members of my team as well as talent from other teams.

View :2465

ช้อปปิ้งบนมือถือ “เกิด” ในตลาดเกิดใหม่ ประเทศไทยนำหน้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งช้อปออนไลน์และบนโทรศัพท์มือถือ

May 1st, 2012 No comments

ผลสำรวจเกี่ยวกับการช้อปปิ้งออนไลน์จากมาสเตอร์การ์ด หรือ MasterCard Worldwide Online Shopping Survey เผยช่องว่างเกี่ยวกับการช้อปปิ้งออนไลน์ระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะคนในภูมิภาคนี้ชอบจับจ่ายใช้สอยผ่านทางโทรศัพท์มือถือมากขึ้น

การสำรวจในครั้งนี้ กลายเป็นมาตรฐานในการวัดแนวโน้มของผู้บริโภคเกี่ยวกับการช้อปปิ้งออนไลน์ โดยได้มีการสำรวจทั่วทั้ง 25 ประเทศในระหว่างวันที่ 5 ธันวาคม 2554 ถึง 6 กุมภาพันธ์ 2555 สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 7,373 คน จาก 14 ประเทศ โดยสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการช้อปปิ้งออนไลน์ ทั้งนี้ผลสำรวจและรายงานประกอบต่างๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องใดใดกับผลประกอบการทางการเงินของมาสเตอร์การ์ดทั้งสิ้น

ในแง่ของการใช้จ่ายและวางแผนจะใช้จ่ายออนไลน์นั้น ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่า ในเรื่องของการช้อปปิ้งออนไลน์ระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับตลาดเกิดใหม่ในเอเชียแปซิฟิคมีช่องว่างแคบลงเรื่อยๆ โดยประเทศที่นำหน้าพุ่งแรงแซงประเทศอื่นคือประเทศไทย ทั้งในแง่ของการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ (80%) และแนวโน้มในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ในอีก 6 เดือนข้างหน้า (93%) เคียงคู่มากับประเทศจีน โดยเกาหลี (84%) และมาเลเซีย (79%) ที่มีแนวโน้มในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ในอีก 6 เดือนข้างหน้าสูงเช่นกัน ส่วนเวียดนามนั้น แม้มีจำนวนผู้วางแผนจะจับจ่ายออนไลน์ที่สูงถึง (87%) แต่เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับการออนไลน์ช้อปปิ้งนั้นมีเพียงแค่ 61%

โดยภาพรวม ประเทศที่มีการเจริญเติบโตอย่างเห็นได้ชัดในเรื่องของออนไลน์ช้อปปิ้ง ได้แก่ ประเทศไทย เพิ่มขึ้น 13% ออสเตรเลีย (+10%) อินโดนีเซีย (+15%) นิวซีแลนด์ (+9%) และฟิลิปปินส์ (+15%) ส่วนประเทศที่เกิดการถดถอยของออนไลน์ช้อปปิ้งคืออินเดีย (-14%) สิงคโปร์ (-10%) และเกาหลี (-17%) ที่แม้เกาหลีจะมีแผนการใช้จ่ายออนไลน์ภายใน 6 เดือนนี้ สูงถึง 84% ก็ตาม

สำหรับการเจริญเติบโตของออนไลน์ช้อปปิ้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดัชนีที่ได้จากประเทศเวียดนาม ซึ่งเพิ่งมีการสำรวจในปีนี้ พุ่งแรงไม่แพ้มาเลเซียและอินโดนีเซียเลยทีเดียว

การเจริญเติบโตของการช้อปปิ้งบนมือถือ

แม้ว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (71%) กล่าวว่าพวกเขาค่อนข้างนิยมใช้โน้ตบุ้คในการช้อปปิ้งออนไลน์ แต่การใช้อุปกรณ์อย่างโทรศัพท์มือถือสำหรับขาช้อปชาวเอเชียก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากในตลาดเกิดใหม่ โดยผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทย 59% เลือกใช้โทรศัพท์มือถือสำหรับสั่งสินค้าออนไลน์ ตามด้วย จีน (37%) เวียดนาม (32%) และอินเดีย (32%)

เหตุผลในการเลือกใช้โทรศัพท์มือถือสำหรับการซื้อสินค้าออนไลน์นั้น ส่วนใหญ่เป็นเพราะความสะดวกสบาย (57%) และได้มีการอ้างอิงว่าเป็นเพราะปัจจุบันมีแอพลิเคชั่นที่รองรับออนไลน์ช้อปปิ้งเพิ่มมากขึ้น (46%) โดยสองอันดับสูงสุดในการใช้จ่ายผ่านทางโทรศัพท์มือถือคือ การซื้อเพลง (24%) และแอพลิเคชั่น (31%) ตามด้วยการซื้อคูปองส่วนลดจากเว็บไซต์ (17%) เสื้อผ้าและเครื่องประดับ (17%) และบัตรชมภาพยนตร์ (16%)

“ผลการสำรวจนี้แสดงให้เห็นว่าประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่หลายคนมองว่าเป็นตลาดเกิดใหม่นั้น กำลังเป็นตลาดที่ก้าวขึ้นมาท้าทายหรือในบางกรณีก็แซงหน้าตลาดที่เติบโตแล้วในแง่การช้อปปิ้งออนไลน์” นายฟิลลิป เยน หัวหน้าฝ่ายระบบชำระเงิน Emerging Payments ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง และแอฟริกา มาสเตอร์การ์ด เวิลด์วายด์ กล่าว

“นอกเหนือไปกว่านั้น สมาร์ทโฟนกลายเป็นอุปกรณ์นักช้อปในภูมิภาคของเราให้ความไว้วางใจ และมาสเตอร์การ์ดก็ได้มีการพัฒนานวัตกรรมในระบบชำระเงินอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความสะดวกสบาย และความมั่นใจในความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคที่ใช้จ่ายออนไลน์”

จากโครงการความร่วมมือ “โมบาย มันนี่” หรือ “MasterCard Mobile Money Partnership Program” มาสเตอร์การ์ดได้ร่วมงานกับพันธมิตรผู้ให้บริการแพลตฟอร์มชั้นนำของโลกอย่าง Comviva, Sybase 365 และ Utiba เพื่อให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าและบริการผ่านทางโทรศัพท์มือถือได้ตามร้านค้าธรรมดาและร้านค้าออนไลน์ทั่วโลก รวมทั้งสามารถโอนเงินและชำระค่าใช้จ่ายผ่านทางมือถือได้ด้วย

View :3575

3G พลิกโฉมการสื่อสารไร้สายของไทย คนกรุงกว่าร้อยละ 89 มีแผนใช้งานในอนาคต

August 15th, 2011 No comments

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ปัจจุบัน การสื่อสารโทรคมนาคมได้เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนยุคใหม่ นอกเหนือจากการสื่อสารในรูปแบบเสียงแล้ว การสื่อสารในยุคปัจจุบันได้เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคการสื่อสารที่เน้นข้อมูลในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งมีทั้งภาพและเสียงหรือที่เรียกกันว่ามัลติมีเดียมากยิ่งขึ้น ปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญอย่างหนึ่งในการตอบสนองความต้องการในการสื่อสารของยุคนี้ คือ ความเร็วในการรับและส่งผ่านข้อมูล ซึ่งเป็นที่มาของเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงในยุคที่ 3 หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า 3G (Third Generation)

ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เอกชนรายหลักได้มีการเปิดทดสอบให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่เดิม (HSPA) มาตั้งแต่ปี 2552 โดยจำกัดขอบเขตในบางพื้นที่ของกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ ทำให้ผู้บริโภคบางส่วนเกิดความคุ้นเคยและได้ทดลองใช้งานบริการ 3G มาก่อนหน้านี้ ในขณะที่การเปิดประมูลใบอนุญาตให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1GHz จะต้องรอการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งคาดว่าอย่างเร็วที่สุดน่าจะจัดตั้งได้ในช่วงปลายไตรมาส 3 ของปี 2554 และการประมูลน่าจะถูกจัดขึ้นได้ในช่วงกลางปี 2555 เป็นอย่างเร็ว อย่างไรก็ดี ผู้ให้บริการเอกชนรายหลักได้เริ่มทยอยเปิดตัวให้บริการ 3G เชิงพาณิชย์บนคลื่นความถี่เดิมในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 นี้ ซึ่งนับได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนแปลงสำคัญที่จะพลิกโฉมการสื่อสารโทรคมนาคมของไทยให้เข้าสู่ยุคการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ทำการสำรวจในหัวข้อพฤติกรรมการใช้งานบริการ 3G ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ โดยมีจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 629 ชุด เพื่อศึกษาความต้องการการใช้งานบริการ 3G และบริการเสริมด้านข้อมูลต่างๆบนอุปกรณ์เคลื่อนที่

 ผลสำรวจความต้องการใช้บริการ 3G…คนกรุงมีแผนใช้ 3G ในอนาคตสูงถึงร้อยละ 89.5

การเปิดทดสอบให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่เดิมตั้งแต่ปี 2552 นับได้ว่ามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความคุ้นเคยในหมู่ผู้บริโภคในการใช้งานบริการ 3G นอกจากนี้ ยังมีส่วนสำคัญในการให้ข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผน และกำหนดยุทธวิธีการทำตลาดในช่วงระยะถัดไปที่จะมีการทยอยเปิดให้บริการ 3G เชิงพาณิชย์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 ไม่ว่าจะเป็นด้านการพัฒนาบริการเสริมด้านข้อมูล หรือแม้แต่การพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่นใหม่ๆที่ต้องอาศัยการสื่อสารความเร็วสูง จากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งานบริการ 3G ในระยะที่ผ่านมา พบประเด็นต่างๆ ดังนี้

 คนกรุงเทพฯกำลังใช้งานบริการ 3G อยู่ร้อยละ 36.6 ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้ใช้งานที่มีแผนจะใช้งานในอนาคตมีถึงร้อยละ 89.5

จากการสอบถามถึงการใช้งานบริการ 3G ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามราวร้อยละ 36.6 กำลังใช้งานบริการ 3G อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นสัดส่วนที่ไม่น้อย ในช่วงที่การเปิดให้บริการ 3G เชิงพาณิชย์เพิ่งจะอยู่ในระยะเริ่มต้น อย่างไรก็ดี ผู้ตอบแบบสอบถามราวร้อยละ 54.4 ให้ข้อมูลว่ายังไม่เคยใช้งานบริการ 3G มาก่อน โดยมีเหตุผลหลัก คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ของตนไม่รองรับระบบ 3G คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 53.5 ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามในกลุ่มที่ให้เหตุผลดังกล่าวมีแผนที่จะใช้งานบริการ 3G ในอนาคตสูงถึงร้อยละ 85.2 แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ผู้บริโภคในกลุ่มดังกล่าวจะเปลี่ยนโทรศัพท์เคลื่อนที่ใหม่เพื่อให้สามารถใช้งาน 3G ได้

นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามยังให้เหตุผลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสาเหตุที่ยังไม่เคยใช้งานบริการ 3G อีกว่า พื้นที่ให้บริการ 3G ยังไม่ครอบคลุม คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 52.3 สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจาก การเปิดให้บริการ 3G ในช่วงก่อนหน้านี้ ยังคงเป็นลักษณะการทดสอบให้บริการ ซึ่งจำกัดอยู่เฉพาะบางพื้นที่ของกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่เท่านั้น อย่างไรก็ดี ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายหลักมีแผนที่จะเปิดให้บริการ 3G ครอบคลุมเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ ภายในสิ้นปี 2554 นี้ และจะครอบคลุมทั่วประเทศภายใน 3 ปี ทำให้ข้อจำกัดเกี่ยวกับพื้นที่ให้บริการ 3G มีแนวโน้มลดลงในอนาคต

จากผลการสำรวจยังพบอีกว่า โดยภาพรวมแล้ว ผู้ตอบแบบสอบถามที่ยังไม่เคยใช้บริการ 3G มีแผนที่จะใช้บริการในอนาคตสูงถึงร้อยละ 89.5 ของผู้ที่ยังไม่ได้ใช้บริการในปัจจุบัน สะท้อนถึงโอกาสทางการตลาดอันสำคัญสำหรับผู้ให้บริการโครงข่าย 3G รวมไปถึงผู้ให้บริการเสริมด้านคอนเทนต์ และนักพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่น ที่จะพัฒนาบริการหรือแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่ต้องอาศัยการสื่อสารความเร็วสูง

 ร้อยละ 80 ของผู้ใช้งานบริการ 3G ในปัจจุบัน ใช้บริการ 3G ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่

ปัจจุบัน การเชื่อมต่อเพื่อใช้งานบริการ 3G สามารถกระทำผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้หลากหลาย ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ เน็ตบุ๊ค แท็บเล็ต และโน๊ตบุ๊คผ่านแอร์การ์ด 3G จากผลการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯราวร้อยละ 80 ใช้บริการ 3G ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ และมีสัดส่วนการใช้บริการผ่านสมาร์ทโฟนสูงถึงร้อยละ 84.8 ของผู้ใช้บริการ 3G ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของผู้บริโภคในการถือครองสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่มีสมรรถนะสูง และสามารถใช้งานได้หลากหลายวัตถุประสงค์ผ่านทางโมบายล์แอพพลิเคชั่น ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการรองรับการพัฒนาบริการเสริมทางด้านข้อมูลใหม่ๆในอนาคตมากยิ่งขึ้น

ในขณะเดียวกัน อุปกรณ์เคลื่อนที่ประเภทแท็บเล็ต ซึ่งมีสัดส่วนผู้ใช้งานบริการ 3G ผ่านอุปกรณ์ดังกล่าวถึงร้อยละ 13.0 ก็เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่น่าจับตามองเช่นกัน เนื่องจาก ฟังก์ชั่นการทำงานที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับสมาร์ทโฟน แต่ด้วยความเร็วในการประมวลผลข้อมูลที่สูงกว่า ขนาดของหน้าจอแสดงผลที่ใหญ่ และสามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นที่ถูกพัฒนาสำหรับสมาร์ทโฟนได้ ประกอบกับผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ไอซีทีในไทยเริ่มเข้ามาทำตลาดอย่างจริงจังตั้งแต่ช่วงปลายปี 2553 ทำให้ผู้บริโภคเริ่มให้ความสนใจใช้งานแท็บเล็ตในวงกว้างมากยิ่งขึ้น

 ผลสำรวจบริการด้านข้อมูล…คนกรุงต้องการช่องทางสื่อสารรูปแบบใหม่ที่เน้นมัลติมีเดีย

ปัจจุบัน ผู้บริโภคมีแนวโน้มใช้งานบริการด้านข้อมูล (Non-Voice) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2553 บริการด้านข้อมูลมีมูลค่ากว่า 2.6 หมื่นล้านบาท ขยายตัวราวร้อยละ 24.4 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.2 ของมูลค่ารวมบริการด้านเสียงและข้อมูล ในขณะที่ปี 2554 บริการด้านข้อมูลมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยได้แรงสนับสนุนจากการทยอยเปิดตัวการให้บริการ 3G เชิงพาณิชย์ของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายหลักในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 ประกอบกับการเติบโตของตลาดสมาร์ทโฟนที่กำลังอยู่ในกระแสความนิยม ซึ่งจะมีส่วนผลักดันการใช้งานบริการด้านข้อมูลให้เพิ่มสูงยิ่งขึ้น โดยในปี 2554 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า บริการด้านข้อมูลจะมีมูลค่าราว 3.3 ถึง 3.5 หมื่นล้านบาท ขยายตัวราวร้อยละ 27.0 ถึง 34.6 คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 20.8 ของตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยรวม

จากผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยเกี่ยวกับพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯต่อบริการด้านข้อมูลบนระบบ 3G พบว่า บริการที่มีผู้ต้องการใช้ผ่านระบบ 3G มากที่สุด ได้แก่ เครือข่ายสังคมออนไลน์ (ร้อยละ 71.6) รองลงมาคือ ชมทีวีออนไลน์ (ร้อยละ 64.7) บริโภคข่าวสาร (ร้อยละ 59.3) และฟังเพลงออนไลน์ (ร้อยละ 54.7) สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของผู้บริโภคในการใช้งานเครือข่าย 3G เพื่อเป็นช่องทางการสื่อสารรูปแบบใหม่ในการส่งผ่านข้อมูลปริมาณมาก ทั้งในรูปแบบข้อความ ภาพและเสียง ทั้งนี้ เพื่อการอัพเดทข้อมูลกิจกรรมที่ตนทำอยู่ให้แก่เครือข่ายเพื่อนฝูง หรือเพื่อสร้างความบันเทิงส่วนตัว รวมไปถึงการบริโภคข่าวสารในรูปแบบมัลติมีเดีย ซึ่งบริการกลุ่มนี้ค่อนข้างเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคในวงกว้างได้ทุกเพศทุกวัย ขณะที่บริการที่ค่อนข้างมีวัตถุประสงค์ในการใช้ที่เฉพาะเจาะจง อย่างเช่น ธนาคารบนมือถือ การซื้อสินค้าออนไลน์ เป็นต้น จะมีผู้สนใจในสัดส่วนที่น้อยกว่า

เมื่อพิจารณาความต้องการใช้งานบริการด้านข้อมูลบนระบบ 3G แยกตามช่วงอายุ อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า กลุ่มคนรุ่นใหม่ในช่วงอายุ 15 ถึง 29 ปี มีความต้องการใช้บริการด้านข้อมูลบนระบบ 3G ที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ และบริการเพื่อความบันเทิงต่างๆ ในสัดส่วนที่สูงกว่ากลุ่มช่วงอายุอื่น นอกจากนี้ ยังเป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มคนรุ่นใหม่ก็มีความสนใจบริการด้านข่าวสารเช่นกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นสัดส่วนที่ต่ำกว่ากลุ่มช่วงอายุอื่น แต่ก็มีสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 56.1

สำหรับกลุ่มที่มีอายุอยู่ในช่วง 30 ถึง 44 ปี ให้ความสนใจกับบริการด้านข้อมูลทุกประเภท และมีสัดส่วนปานกลางเมื่อเทียบกับผู้ตอบแบบสอบถามในช่วงอายุอื่น ยกเว้น บริการที่เกี่ยวกับการจับจ่ายซื้อสินค้าหรือบริการ ซึ่งกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามในช่วงอายุดังกล่าวมีผู้ให้ความสนใจสูงกว่าผู้ตอบแบบสอบถามในช่วงอายุอื่น สำหรับกลุ่มผู้มีอายุมากกว่า 44 ปี ให้ความสนใจใช้บริการเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร และธนาคารบนมือถือในสัดส่วนที่สูงกว่ากลุ่มช่วงอายุอื่น และไม่ค่อยให้ความสนใจในการจับจ่ายซื้อสินค้าหรือบริการมากนัก

 ผลสำรวจบริการด้านความบันเทิงออนไลน์…คนกรุงต้องการบริการที่มีคอนเทนต์หลากหลาย

ปัจจุบัน การบริโภคดิจิทัลคอนเทนต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่นั้น มักจะเป็นไปเพื่อความสนุกสนานบันเทิงใจ ไม่ว่าจะเป็นการชมทีวี ฟังเพลง หรือเล่นเกม โดยบริการเหล่านี้รวมเรียกว่า โมบายล์เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ (Mobile Entertainment) สำหรับประเทศไทย ในอดีตที่ผ่านมา บริการดังกล่าวมักมีข้อจำกัดจากความเร็วของโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งอยู่ระหว่าง 80 ถึง 200 กิโลบิตต่อวินาที ทำให้คุณภาพการให้บริการไม่ค่อยเป็นที่พอใจของผู้บริโภค อย่างไรก็ดี การทยอยเปิดให้บริการ 3G ในช่วงครึ่งหลังของปี ย่อมเป็นปัจจัยสำคัญที่จะพลิกโฉมการให้บริการโมบายล์เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ให้มีทั้งคุณภาพและความหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดบริการด้านข้อมูลที่เกี่ยวกับความบันเทิงแบบออนไลน์ โดยผู้บริโภคสามารถชมทีวี ฟังเพลง หรือเล่นเกม ในขณะที่เชื่อมต่อการใช้บริการได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องรอการดาวน์โหลดเนื้อหามาเก็บไว้ที่อุปกรณ์เคลื่อนที่ก่อน จึงจะสามารถบริโภคเนื้อหาดังกล่าวได้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ทำการสำรวจความต้องการของผู้บริโภคต่อลักษณะเนื้อหาและการชำระเงินในการใช้บริการความบันเทิงแบบออนไลน์บนระบบ 3G โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้

 ผู้บริโภคสนใจชมภาพยนตร์มากที่สุด และอยากจะจ่ายรายเดือนเพื่อชมหนึ่งช่องรายการไม่อั้น

บริการทีวีออนไลน์เป็นบริการลักษณะมัลติมีเดียซึ่งมีทั้งภาพเคลื่อนไหวและเสียง ข้อจำกัดที่สำคัญอย่างหนึ่งของการให้บริการดังกล่าว คือ ขนาดของข้อมูลมักจะใหญ่ ทำให้ความเร็วของโครงข่ายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดถึงคุณภาพของการให้บริการ โดยความเร็วขั้นต่ำที่พอจะเปิดให้บริการแบบออนไลน์ คือ 64 ถึง 80 กิโลบิตต่อวินาที จึงทำให้มีผู้ให้บริการบางรายเปิดให้บริการดังกล่าวบนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี ค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไปจากการที่ต้องรับส่งข้อมูลจำนวนมาก เมื่อเทียบกับอรรถรสของการชมที่ได้รับ ทำให้บริการดังกล่าวได้รับความนิยมไม่ค่อยสูงนัก ทั้งนี้ การเปิดให้บริการ 3G จะมีส่วนช่วยผลักดันให้คุณภาพของการให้บริการดีขึ้น รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการรับส่งข้อมูลที่ลดลง ซึ่งจะมีส่วนผลักดันให้บริการดังกล่าวขยายตัวยิ่งขึ้น

จากผลการสำรวจเกี่ยวกับรายการทีวีออนไลน์ที่ผู้บริโภคมีความต้องการชม พบว่า มีผู้ต้องการชมรายการภาพยนตร์มากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 78.6 รองลงมาคือ รายการข่าวและมิวสิกวีดีโอ ซึ่งมีสัดส่วนใกล้เคียงกันที่ราวร้อยละ 52 และเมื่อสอบถามถึงรูปแบบการชำระค่าชมรายการที่ต้องการจะเลือกชำระ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ราวร้อยละ 50 เลือกที่จะชำระแบบรายเดือนเพื่อชมหนึ่งช่องรายการแบบไม่อั้น ในขณะที่การจ่ายรายเดือนเพื่อชมหลายช่องรายการตามที่กำหนดไว้แบบไม่อั้น ซึ่งมักจะมีค่าใช้จ่ายรายเดือนสูงกว่านั้น กลับมีสัดส่วนที่ต่ำที่สุดคือร้อยละ 22.2 สะท้อนถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่อยากจะเลือกชมทีวีเฉพาะประเภทรายการที่ตนโปรดปรานจริงๆ และพร้อมที่จะจ่ายเฉพาะช่องรายการที่ชอบ เพื่อสามารถรับชมได้แบบไม่จำกัดในรอบเดือนนั้น

 ผู้บริโภคราวร้อยละ 30.5 ชอบเลือกเพลงจากค่ายใดก็ได้และซื้อเฉพาะเพลงที่ตนชอบ

ธุรกิจเพลงดิจิทัลบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ของไทยนั้นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น สืบเนื่องจาก ความเร็วของโครงข่ายสื่อสารไร้สายยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงนัก ทำให้ธุรกิจเพลงดังกล่าวถูกจำกัดอยู่แต่เพลงที่ได้รับการตัดต่อความยาวประมาณ 30 ถึง 60 วินาที เพื่อนำมาใช้เป็นเพลงในบริการเสียงรอสาย หรือติดตั้งเป็นเพลงเสียงเรียกเข้าบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือถ้าเป็นเพลงฉบับเต็มก็จำเป็นต้องดาวน์โหลดมาไว้ที่อุปกรณ์เคลื่อนที่ของตนก่อนแล้วฟังแบบออฟไลน์ สำหรับธุรกิจบริการฟังเพลงออนไลน์ ซึ่งผู้บริโภคสามารถเลือกฟังเพลงและเก็บเพลงไว้บนอินเทอร์เน็ตได้นั้น ยังคงถูกจำกัดอยู่แต่บนอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐานเป็นหลัก อย่างไรก็ดี การเปิดให้บริการ 3G จะเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันให้เกิดบริการดังกล่าวได้

จากผลการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยเกี่ยวกับลักษณะการชำระค่าบริการฟังเพลงออนไลน์ที่ผู้บริโภคต้องการ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการชำระเป็นรายเพลงและเลือกเพลงจากค่ายใดก็ได้ เป็นสัดส่วนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 30.5 สะท้อนถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในการฟังเพลงที่มักจะเลือกเฉพาะเพลงที่ชอบจริงๆ จากความหลากหลายที่นำเสนอโดยค่ายต่างๆ โดยไม่อยากจะชำระแบบรายเดือน ซึ่งโดยรวมแล้วอาจมีค่าใช้จ่ายโดยเปรียบเทียบที่สูงกว่า ถ้าจำนวนเพลงที่ตนชื่นชอบมีไม่มากนัก

 ผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเนื้อหาและราคาของเกมออนไลน์มากกว่าแหล่งพัฒนาเกม

ลักษณะของรูปแบบธุรกิจเกมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน คือ การขายเกมโดยให้ผู้บริโภคดาวน์โหลดเกมที่ต้องการมาไว้ที่อุปกรณ์คลื่อนที่ก่อนแล้วเล่นแบบออฟไลน์ ไม่ได้เล่นกันแบบออนไลน์เหมือนเกมออนไลน์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีขนาดเกมที่ใหญ่และซับซ้อนกว่า ทั้งนี้ เนื่องจากข้อจำกัดด้านความเร็วของโครงข่ายสื่อสารไร้สาย อย่างไรก็ดี ข้อจำกัดดังกล่าวน่าจะหมดไปเมื่อมีการเปิดให้บริการ 3G

จากการสอบถามถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเกมออนไลน์บนระบบ 3G พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าร้อยละ 58 ต้องการเกมออนไลน์ที่เล่นง่ายและสนุก ประกอบกับราคาที่ไม่แพงจนเกินไปนัก ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ปัจจัยเกี่ยวกับแหล่งที่มาของเกม ได้แก่ ต้องเป็นเกมต่างประเทศมีผู้ตอบเพียงร้อยละ 7.8 และชื่อเสียงบริษัทเกมมีผู้ตอบเพียงร้อยละ 13.0 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับเนื้อหา และราคาเป็นสำคัญ โดยให้ความสำคัญกับแหล่งที่มาเป็นลำดับรองลงมา

บทสรุป
การเริ่มทยอยเปิดให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่เดิมของผู้ให้บริการเอกชนรายหลักในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 มีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนโฉมหน้าการสื่อสารไร้สายของไทยให้เข้าสู่ยุคการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง และเป็นแรงผลักดันอันสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคการบริการด้านข้อมูลในหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดบริการด้านข้อมูลที่เกี่ยวกับความบันเทิงแบบออนไลน์ โดยผู้บริโภคสามารถชมทีวี ฟังเพลง หรือเล่นเกม ในขณะที่เชื่อมต่อการใช้บริการได้ทันที

จากผลการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยต่อผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯเกี่ยวกับการใช้บริการ 3G ซึ่งผู้ให้บริการเอกชนรายหลักได้เปิดทดสอบการให้บริการมาตั้งแต่ปี 2552 พบว่า ในเขตกรุงเทพฯมีผู้ที่กำลังใช้บริการ 3G อยู่ราวร้อยละ 36.6 ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้ใช้บริการ 3G ในปัจจุบันส่วนใหญ่ราวร้อยละ 80 ใช้งานผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ส่วนที่เหลือเป็นการใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค เน็ตบุ๊ค และแท็บเล็ต ในขณะที่ผู้ที่ยังไม่เคยใช้งานเลยมีอยู่ราวร้อยละ 54.4 อย่างไรก็ดี กลุ่มผู้ที่ยังไม่ได้ใช้งาน 3G ในปัจจุบันราวร้อยละ 89.5 มีแผนที่จะใช้งานในอนาคต สะท้อนถึงโอกาสทางการตลาดอันสำคัญสำหรับผู้ให้บริการโครงข่าย 3G และเครื่องลูกข่าย/ตัวเครื่อง รวมถึงผู้ให้บริการด้านคอนเทนต์ และนักพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่น ที่จะพัฒนาบริการเสริมหรือแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่ต้องอาศัยการสื่อสารความเร็วสูง

ความต้องการใช้งานบริการ 3G ของผู้บริโภคที่อยู่ในระดับสูงดังกล่าว ประกอบกับกระแสการเติบโตของตลาดสมาร์ทโฟนจะมีส่วนผลักดันให้บริการด้านข้อมูลมีการขยายตัวเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2554 บริการด้านข้อมูลจะมีมูลค่าราว 3.3 ถึง 3.5 หมื่นล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 27.0 ถึง 34.6 คิดเป็นสัดส่วนราว 20.8 ของมูลค่ารวมบริการด้านเสียงและข้อมูล

จากผลการสำรวจเกี่ยวกับความต้องการใช้งานบริการเสริมด้านข้อมูลบนระบบ 3G พบว่า บริการที่มีผู้ต้องการใช้ผ่านระบบ 3G มากที่สุด ได้แก่ บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ชมทีวีออนไลน์ บริโภคข่าวสาร และฟังเพลงออนไลน์ สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการช่องทางการสื่อสารแบบใหม่ของผู้บริโภค ที่สามารถส่งผ่านข้อมูลในปริมาณมาก ทั้งในรูปแบบข้อความ ภาพและเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการที่อยู่ในลักษณะความบันเทิงแบบออนไลน์ ที่ผู้บริโภคสามารถเชื่อมต่อการใช้บริการได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องรอการดาวน์โหลดเนื้อหามาเก็บไว้ที่อุปกรณ์เคลื่อนที่ก่อนจึงจะสามารถบริโภคเนื้อหาดังกล่าวได้

ความสนใจดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจของบริการด้านความบันเทิงแบบออนไลน์ หรือโมบายล์เอ็นเตอร์เทนเม้นท์บนระบบ 3G ในอนาคต ซึ่งจากแบบสอบถาม พบว่า ผู้ที่ต้องการใช้บริการทีวีออนไลน์ มีความต้องการชมรายการภาพยนตร์มากที่สุด รองลงมาเป็น ข่าว มิวสิกวีดีโอ ละคร เป็นต้น และส่วนใหญ่อยากใช้บริการแบบรายเดือน โดยสามารถชมเฉพาะช่องประเภทรายการที่ตนโปรดปรานได้แบบไม่อั้น ซึ่งแตกต่างจากบริการฟังเพลงออนไลน์ ที่ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ต้องการความหลากหลายของเพลง โดยสามารถเลือกได้จากหลายๆค่าย และต้องการซื้อเฉพาะเพลงที่ตนชอบจริงๆ ในขณะที่บริการเกมออนไลน์นั้น ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการเกมที่เล่นง่ายและสนุก ประกอบกับราคาที่ไม่แพงเกินไปนัก

จากแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการความบันเทิงรูปแบบใหม่ ซึ่งสามารถสร้างความบันเทิงแบบพกพาได้ทุกที่ทุกเวลา และยังพร้อมที่จะจ่ายค่าบริการ เพื่อสามารถเลือกคอนเทนต์ที่ตนชื่นชอบได้จากคลังคอนเทนต์ที่มีความหลากหลาย สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจของผู้ให้บริการคอนเทนต์ที่จะเข้ามาพัฒนาบริการด้านความบันเทิงบนช่องทางการสื่อสารรูปแบบใหม่ ที่มีศักยภาพในการเติบโตและมีโอกาสจะเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดบางส่วนจากช่องทางให้บริการความบันเทิงแบบดั้งเดิมได้ในอนาคต ขณะเดียวกัน พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มหันมาใช้เวลากับอุปกรณ์เคลื่อนที่มากขึ้น และฐานผู้ใช้ที่สามารถเข้าถึงเครือข่ายสื่อสาร (Coverage) ที่มีโอกาสขยายออกไปกว้างขึ้นในอนาคต อาจเป็นทิศทางที่ธุรกิจต่างๆต้องหันกลับมาพิจารณากลยุทธ์ทางการตลาด และโอกาสทางธุรกิจผ่านช่องทางอุปกรณ์เคลื่อนที่มากขึ้น

——————————————
Disclaimer
รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงข้อมูลได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณของตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็นหรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

View :4595
Categories: Article, Smartphone Tags:

“เทคโนโลยี”… เครื่องจักรหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจในปัจจุบัน

July 5th, 2011 No comments

ปฏิเสธไม่ได้เสียแล้วว่าความสามารถในการแข่งขันขององค์กรธุรกิจในปัจจุบันถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีต่างๆ มากมาย จนเทคโนโลยีกลายเป็นส่วนหนึ่งของดำเนินธุรกิจไปเสียแล้ว องค์กรธุรกิจจะมีความได้เปรียบหรือจะเสียเปรียบในเชิงการแข่งขันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่ปัจจัยหลักหนึ่งในนั้นคือ การใช้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วย ทุกองค์กรธุรกิจในปัจจุบันไม่ว่าจะขนาดใหญ่ กลาง หรือเล็กล้วนแล้วแต่ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีและมีการลงทุนด้านนี้อย่างเอาจริงเอาจัง

ศิวัตร เชาวรียวงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็ม อินเตอร์แอคชั่น จำกัด (m Interaction)


ศิวัตร เชาวรียวงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็ม อินเตอร์แอคชั่น จำกัด (m Interaction) บริษัทเอเจนซี่โฆษณาสื่อดิจิตอลและสื่อออนไลน์รายใหญ่ในเครือกรุ๊ปเอ็ม (Group M) กล่าวว่า การใช้เทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรมเป็นสิ่งที่มีมาก่อนอยู่แล้วบริษัทที่มีความล้ำหน้าเชิงการผลิตจะได้เปรียบหลายอย่าง ทั้งสามารถผลิตได้รวดเร็วขึ้นและคุณภาพสินค้าดีขึ้น ล้วนนำมาซึ่งข้อได้เปรียบทางธุรกิจ ยุคต่อมาคือการใช้เทคโนโลยีกับระบบข้อมูลกับการทำงานภายในของบริษัท ซึ่งเริ่มในประเทศไทยอย่างจริงจังเมื่อ 10 ปีที่แล้วที่หลายองค์กรขนาดใหญ่มีการลงทุนระบบเทคโนโลยี ทำให้บริษัทขนาดใหญ่มีความได้เปรียบเชิงการแข่งขันทางธุรกิจอย่างชัดเจน ซึ่งปัจจุบันข้อได้เปรียบตรงนี้อาจมองไม่เห็น เพราะเป็นกระบวนการภายใน และแต่ละบริษัทก็ล้วนติดอาวุธชนิดนี้กันหมดแล้ว เพราะฉะนั้นหากองค์กรไหนไม่มีการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้จะเสียเปรียบ ส่วนถ้ามีจะได้เปรียบแต่จะได้เปรียบมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับผู้บริหารด้วย

เทคโนโลยี … ปัจจัยความสำเร็จของการตลาดยุคปัจจุบัน:

ในฐานะนักการตลาดนักโฆษณา ศิวัตร มองว่า เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้ามามีบทบาทอย่างมากในเรื่องของการตลาด ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นสองส่วนหลักๆ คือ เรื่องการตลาดเชิงข้อมูล บริษัทไหนที่เล่นกับข้อมูลได้เก่งได้ฉลาดก็มีโอกาสที่จะสื่อสารออกไปได้ถูกใจลูกค้ามากขึ้น เกิดขึ้นทั้งในการสื่อสารระหว่างบริษัทกับบริษัทและบริษัทกับผู้บริโภค เทคโนโลยีกำลังมีบทบาทอย่างเห็นได้ชัดในเรื่องการตลาดและการโฆษณา เพราะความได้เปรียบในเชิงการผลิตการกระบวนการทำงานภายในขององค์กรขนาดใหญ่ทันกันหมด จะแตกต่างกันขึ้นกับผู้บริหารและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในเชิงการตลาด

“ข้อมูลนั้นสำคัญเพราะเนื่องจากบริษัทดำเนินกิจกรรทางการตลาดเพื่อหวังผลกำไร ดังนั้นข้อมูลจะเข้ามาช่วยได้มากในการที่จะบอกว่าควรจะขายใคร ควรจะโฟกัสที่ลูกค้ากลุ่มไหน ลูกค้าแต่ละกลุ่มมีพฤติกรรมอย่างไร พอบริษัทรู้แล้วจะได้รู้ว่าวิธีการทำตลาดสำหรับลูกค้าแต่ละกลุ่มควรจะเป็นอย่างไร ด้วยวิธีแบบไหน ซึ่งพื้นฐานล้วนมาจากข้อมูลทั้งสิ้น ซึ่งหากอยู่ในบริบทของเว็บและอินเทอร์เน็ต ข้อมูลเหล่านี้ก็คือข้อมูลที่อยู่เบื้องหลังเว็บไซต์ต่างๆ ความฉลาดของเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซในการที่จะรู้พฤติกรรมของลูกค้าที่เข้ามาในเว็บไซต์จนกระทั่งเกิดการซื้อเป็นอย่างไร และเทคโนโลยีที่มีผลต่อรูปแบบของงานโฆษณา ซึ่งที่หลายๆ องค์กรต้องเริ่มหันมาสนใจ เพราะว่า ลูกค้ามีพฤติกรรมในการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันมากขึ้น สินค้าต่างๆ ก็เลยต้องปรับตัวมากขึ้น”

ศิวัตรยังมองว่าสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่เล็กมากๆ เทคโนโลยีอาจจะยังไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่ความสำคัญจะอยู่ที่การสร้างเอกลักษณ์ของตัวสินค้า ความคิดสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการกิจการ เมื่อธุรกิจขนาดเล็กขยายมาเป็นขนาดกลางจะมีความสนใจเทคโนโลยีมากขึ้นเพราะหากไม่มีเทคโนโลยีมาใช้แล้วจะทำให้ควบคุมประสิทธิภาพการทำงานได้ยาก ธุรกิจขนาดกลางขยายเป็นขนาดใหญ่เรื่องระบบงานหลังบ้านยังคงต้องมีเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน

สิ่งที่กำลังเป็นจุดเปลี่ยนในการทำธุกริจในปัจจุบันในมุมมองของศิวัตร คือ ตัวผู้บริโภค เพราะปัจจุบันผู้บริโภคใช้เทคโนโลยีมากขึ้น และมีพฤติกรรมใช้อินเทอร์เน็ต และอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ ทั้งสมาร์ทโฟน (Smart Phone) และอุปกรณ์แท็ปเล็ต (Tablet) ต่างๆ เพื่อหาข้อมูลสินค้าและบริการที่ต้องการมากขึ้น นักการตลาดหากมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นคนกลุ่มนี้จะต้องเข้าใจและให้ความสำคัญกับตรงนี้เพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อสื่อสารกับลูกค้า กอปรกับ เม็ดเงินที่ธุรกิจเริ่มลงทุนด้านการตลาดการโฆษณาออนไลน์มากขึ้น สมัยก่อนจะลงสื่อดั้งเดิมมากขึ้น ปัจจุบันการตลาดและการโฆษณาต้องอาศัยเทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อสร้างความแตกต่าง และต้องการรักษาฐานลูกค้าเดิมที่มีอยู่ ซึ่งต้องการใช้ฐานข้อมูลเพื่อสร้างการสื่อสารกับลูกค้าแต่ละคนลงในรายละเอียด

“ปัจจุบันผู้บริโภคส่วนใหญ่มีพฤติกรรมแบบนี้ชัดเจน การวางแผนท่องเที่ยววันหยุด หาโรงแรมที่พัก ร้านอาหาร การตัดสินใจซื้อบ้าน คอนโด รถยนต์ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ทั้งหลายนี้เกิดขึ้นบนอินเทอร์เน็ต ถ้าหากนักการตลาดไม่เข้าใจสิ่งเหล่านี้จะเสียโอกาส และอาจจะเสียลูกค้าให้กับคู่แข่ง เรื่องนี้ที่มีความเด่นชัดมากคือ สินค้าในกลุ่ม High Involvement Product คือ สินค้าที่นานๆ ซื้อที มีราคาสูง ผู้บริโภคต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง ด้วยเหตุด้วยผล มีการเปรียบเทียบข้อมูลเยอะ ปัจจุบันการหาข้อมูลเหล่านี้เกิดขึ้นบนอินเทอร์เน็ต”

นอกจากนักการตลาดต้องเข้าใจพฤติกรรมนี้แล้วนักกาตลาดยังต้องมีเทคโนโลยีที่ต้องเก็บข้อมูลต่างๆ เหล่านี้เพื่อรู้จักลูกค้า รู้ว่าผู้บริโภคเขาพูดถึงสินค้า ธุรกิจของบริษัทอย่างไร เรื่องใหม่ๆ อาทิ เฟซบุ๊ค นักการตลาดต้องเข้ามาเก็บข้อมูลว่าผู้บริโภคเขาพูดคุยอะไรกันบ้าง เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในเชิงธุรกิจ

ส่วนสินค้าที่เป็น Low Involvement Product ได้แก่ สินค้า อุปโภคบริโภค เริ่มมีการมีการใช้เทคโนโลยีในการโฆษณา ซึ่งธุรกิจเหล่านี้ให้ความสำคัญ เนื่องจาก ลูกค้าเป้าหมายคือ ผู้บริโภคกลุ่มกว้าง และคนกลุ่มนี้มีพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีชีวิตประจำวันมากขึ้นอย่างมาก
เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างมากในธุรกิจการตลาดการโฆษณาตั้งแต่เทคโนโลยีในการเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูลออกมาเป็นกลยุทธ์ทางการตลาด ในแต่ละเอเจนซี่โฆษณาและที่ปรึกษาทางการตลาดจะต้องมีการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้เพื่อให้สามารถให้บริการลูกค้าได้ดีมากขึ้น

ศิวัตร กล่าวว่า สำหรับ บริษัท เอ็ม อินเตอร์แอคชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่ดูแลงานดิจิตอลทั้งหมดของกรุ๊ปเอ็ม (Group M) ที่ประกอบด้วย 4 บริษัทโฆษณายักษ์ใหญ่ได้แก่ Maxus, MEC, Media Com และ Mind Share ซึ่งรวมกันแล้วมีส่วนการตลาดราว 40 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้เอ็ม อินเตอร์แอคชั่นเองก็มีส่วนแบ่งทางการตลาดในโลกการตลาดออนไลน์ราว 40 เปอร์เซ็นต์เช่นกัน

“เราเป็นเอเจนซี่โฆษณา ทำงานร่วมกับ 4 เอเจนซี่ เราไปหาลูกค้าด้วยกัน บทบาทเราคือ ให้คำปรึกษาลูกค้า วางแผนการตลาดการโฆษณาบนโลกออนไลน์ รวมถึงให้บริการผลิตชิ้นงาน การคิดแคมเปญทางการตลาด รวมถึงการซื้อสื่อออนไลน์ ลูกค้าของบริษัทเราเป็นลูกค้ารายใหญ่ทั้งสิ้น”

ศิวัตร คาดการณ์ว่า เม็ดเงินที่ใช้ในสื่อโฆษณาออนไลน์ปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 2,000 พันล้านบาท เติบโตเฉลี่ยราว30-50 เปอร์เซ็นต์ต่อปี อัตราการขยายตัวมาก แต่สัดส่วนที่เป็นเม็ดเงินหากเทียบกับเงินโฆษณาทั้งหมดที่คาดว่าจะอยู่ที่ 90,000-100,000 ล้านบาท ยังน้อยอยู่

“ธุรกิจที่ใช้สื่อออนไลน์มากคือ ธุรกิจ High Involvement Product แต่ธุรกิจที่ใช้เม็ดเงินโฆษณามากคือธุรกิจ High Involvement Product คือสินค้าอุปโภคบริโภค ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนกลุ่มกว้าง ซึ่งสัดส่วนเงินโฆษณาสินค้ากลุ่มนี้ส่วนใหญ่ยังอยู่ที่สื่อออฟไลน์อยู่”

เทคโนโลยี … เพื่อนสนิทคนทำงาน:

สำหรับคนทำงานในปัจจุบัน ปฏิเสธไมได้ว่าเทคโนโลยีได้กลายเป็นเครื่องมือหลักในการทำงานไปเสียแล้ว และคนทำงานเองก็ได้ใช้เทคโนโลยีเพื่อกิจกรรมส่วนตัวหลากลาย ทั้งนี้เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีได้เคลื่อนเข้ามาใกล้ผู้บริโภคมากขึ้น การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ทั้งสมาร์ทโฟน (Smart Phone) และอุปกรณ์แท็ปเล็ต (Tablet) ต่างๆ ทำให้คนทำงานสามารถทำงานได้จากทุกที่ทุกเวลา เพราะความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมในปัจจุบันได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนทำงานเพิ่มมากขึ้นทั้งในกิจกรรมที่เป็นเรื่องส่วนตัวและเรื่องหน้าที่การงาน และได้พลิกโฉมรูปแบบการงานไปสู่การทำงานแบบทุกที่ทุกเวลา (Mobile Working)

วรวิสุทธิ์ ภิญโญยาง ผู้จัดการด้านดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง บริษัท โทเทิ่ล แอคเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)


วรวิสุทธิ์ ภิญโญยาง ผู้จัดการด้านดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง บริษัท โทเทิ่ล แอคเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เทคโนโลยีเข้ามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตทั้งในเรื่องของการทำงานและชีวิตส่วนตัว เทคโนโลยีในปัจจุบันกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำงานของทุกองค์กรและของทุกคนทำงานที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การใช้เทคโนโลยีในองค์กรสามารถช่วยบริษัทได้ในหลายเรื่องโดยเฉพาะเรื่องการปรับปรุงกระบวนการทำงานภายในขององค์กรที่ต้องติดต่อข้ามแผนก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรขนาดใหญ่

“โดยส่วนตัวใช้เทคโนโลยีทั้งในเรื่องานและเรื่องส่วนตัว เทคโนโลยีเป็นทั้งเครื่องมือช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นเพื่อนสนิทที่จะพกติดต่อไปทุกที่ตลอดเวลา ทั้งนี้จะต้องมีแอพพลิเคชั่นมาเสริมการทำงาน แอพพลิเคชั่นที่วรวิสุทธิ์ชอบใช้เพื่อช่วยในการทำงาน คือ แอพพลิเคชั่นที่ช่วยจัดการความคิด จัดทำแผนที่ความคิด จัดระบบงาน จัดระบบข้อมูล และจดการประชุม ตื่นเช้ามาจะต้องเช็คอีเมล์ด้วย iPad และจะเปิดดูแอพพลิเคชั่นที่มีอยู่ว่ามีการอัพเดทเวอร์ชั่นหรือยังเพราะผมเป็นคนที่ซื้อแอพพลิเคชั่นเยอะมาก ทุกๆ เช้าก็จะดูว่าแอพพลิเคชั่นไหนบ้างที่มีการอัพเดทเวอร์ชั่นใหม่ๆ เราก็จะได้อัพเดททุกเช้า แอพพลิเคชั่นที่ผมใช้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นแอพพลิเคชั่นเกี่ยกวับเรื่องงาน อาทิ แอพฯ จดโน้ต จดสิ่งที่จะต้องทำ แต่ผมก็ชอบแอพพลิเคชั่นด้านความบันเทิง อาทิ ชอบดูวีดีโอคลิปเพื่อการผ่อนคลายบ้าง อ่านข่าวบน iPad เป็นหลัก ผมจะรับ feed ข่าว และเก็บลงเครื่องไว้อ่านสะดวกมาก”

วรวิสุทธิ์ บอกว่า คนทำงานที่ต้องใช้เทคโนโลยีในการทำงาน และมีความคุ้นชินกับการใช้เทคโนโลยีและใช้เป็นประจำจะมีแนวโน้มว่าเส้นแบ่งระหว่างเวลางานกับเวลาเลิกงานจะไม่มี เพราะทุกคนจะทำงานตลอดเวลา ทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา

สำหรับ ดีแทค มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำให้การสื่อสารภายในองค์กรสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยจำนวนพนักงานกว่า 3,000 คน แต่มีจำนวนห้องประชุม 200 กว่าห้อง พนักงานสามารถสื่อสารผ่านอีเมล์ (email) ข้อความสั้น (Instant Message) หรือประชุมผ่านระบบประชุมทางไกล (VDO Conference) เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยให้กระบวนการทำงานข้ามแผนกภายในบริษัทกระชับ สั้นลง รวดเร็วมากขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานภายนอก เทคโนโลยียิ่งมีบทบาทอย่างมาก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่การแข่งขันทางธุรกิจทวีความรุนแรงมากขึ้น บริษัทจะต้องสามารถสื่อสารกับทั้งคู่ค้าและลูกค้าของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด การที่บริษัทจะสามารถสื่อสารและทำธุรกิจกับคู่ค้าและลูกค้าได้ดีนั้น ธุรกิจจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีช่วยเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงเทคโนโลยีที่ช่วยในการติดต่อสื่อสารกับองค์กรหรือบุคคลภายนอก อาทิ ระบบฐานข้อมูลลูกค้า ระบบวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าและคู้ค้า ระบบการตลาด ระบบลูกค้าสัมพันธ์ และระบบธุรกิจอัจฉริยะ ซึ่งระบบทั้งหมดนี้จะต้องอาศัยเทคโนโลยีทั้งสิ้น องค์กรธุรกิจที่มีระบบเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้ องค์กรธุรกิจนั้นๆ จะมีความสามารถในการแข่งขันสูง

“บริษัทไทยขนาดกลางและเล็กยังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับฐานข้อมูลลูกค้ามากนัก ซึ่งจะนำไปสู่การวางแผน การวิเคราะห์ การผลิตและการตลาดได้ ระบบไอทีในส่วนใหญ่ยังคงเป็นไปเพื่อกระบวนการทำงานภายในองค์กร ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับตัวพนักงานในองค์กร อาทิ ระบบงานบุคคล หลายบริษัทบริษัทเริ่มจะมีการลงทุนในระบบเทคโนโลยีมากขึ้นในการเรื่องของการตลาดเพิ่มมากขึ้น”

วรวิสุทธิ์ ย้ำว่า หากองค์กรธุรกิจไม่มีการใช้เทคโนโลยีในการตลาด ในการเก็บข้อมูลลูกค้า องค์กรนั้นก็จะไม่รู้จักลูกค้ากลุ่มเป้หมายของตนเองดีพอ ก็จะสูญเสียโอกาสทางธุรกิจและความสามารถในการแข่งขัน องค์กรใดที่มีความพร้อมและตระหนักถึงความสำคัญเทคโนโลยีและมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในองค์กรอย่างเหมาะสม จะช่วยทำให้ศักยภาพการทำงานและการแข่งขันขององค์กรธุรกิจเพิ่มมากขึ้น

View :5838

Tablet/ Smart Phone + เครือข่ายสื่อสารไร้สาย หนุนรูปแบบการทำงานแบบ Mobile Working

June 8th, 2011 No comments


แนวโน้มการทำงานผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ที่กำลังขยายตัวเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันนั้นมีผลมาจากหลายปัจจัยสอดคล้องเกื้อหนุนกัน ทั้งปัจจัยความพร้อมของโครงข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งแบบมีสายและไร้สายรวมถึงโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคม ความพร้อมและแพร่หลายของตัวอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารแบบพกพาได้ ไปจนถึงความพร้อมระบบบริการซอฟต์แวร์ที่ให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือปัจจุบันเรียกกันว่าคลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ทั้งหมดทั้งมวลนี้ล้วนเป็นปัจจัยหนุนส่งให้คนทำงานเริ่มหันมาทำงานแบบ mobile working กันมากขึ้น

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาหลังการเข้ามาในประเทศไทยอย่างเต็มตัวของสมาร์ทโฟนที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ตอบสนองการทำงานและชีวิตส่วนตัว ทำให้ผู้คนสามารถจะติดต่อสื่อสารทั้งเสียงและอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกสบาย ทำให้ปริมาณการใช้งานโมบาย อินเทอร์เน็ต (Mobile Internet) ซึ่งเป็นการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายการสื่อสารของโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทำให้ผู้ให้บริการ (Mobile Operator) หันมาลงทุนเตรียมความพร้อมของโครงข่ายสื่อสารเพื่อให้สามารถรองรับกับการใช้งานของผู้ใช้จำนวนมากขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านโครงข่ายสื่อสารไร้สายได้กลายเป็นเรือธงทางธุรกิจของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือทุกราย

ปกรณ์ พรรณเชษฐ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายผลิตภัณฑ์ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ธุรกิจของดีแทคในปี 2554 คือการเเป็นผู้นำตลาดด้านโมบายอินเตอร์เน็ตโดยวางเป้าหมายเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์จากที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยในปีนี้บริษัทจะผลักดันให้มีการใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้นด้วยการลงทุนเตรียมความพร้อมของโครงข่ายและออกรูปแบบบริการที่หลากหลายและตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย อาทิ ที่ผ่านมามีการเปิดตัวแพ็คเกจอินเทอร์เน็ตสำหรับ iPad ในประเทศไทย เป็นต้น

“ดีแทคมีซิมมีประมาณ 6.5 แสนซิมที่เป็นดาต้าซิม คือซิมที่ลูกค้าซื้อไปเพื่อต่ออินเทอร์เน็ตเป็นหลัก คาดว่าน่าจะมีลูกค้าดาต้าซิมถึง 1 ล้านคนในสิ้นปีนี้ กลุ่มผู้ใช้โมบายอินเทอร์เน็ตจากสมารท์โฟนมีการเติบโตที่สูงมากในปีที่ผ่านมา ลูกค้าดีแทคที่ใช้อินเตอร์เน็ต 4.5 ล้านคนในเดือนมกราคมที่ผ่านมานั้นเป็นกลุ่มที่ใช้สมาร์ทโฟนถึง 20 เปอร์เซ็นต์ (นับรวมการใช้ผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของโนเกีย) โดยมีลูกค้าใช้โมบายอินเทอร์เน็ตผ่าน Aircard อยู่ราว10 เปอร์เซ็นต์”

ปกรณ์ กล่าวต่อว่า การใช้งานของผู้ใช้โมบายอินเทอร์เน็ตมีแนวโน้มทียังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในแง่ของจำนวนผู้ใช้งาน และ ปริมาณการใช้งานต่อคน ลูกค้าของดีแทคที่ใช้บริการโมบายอินเทอร์เน็ตแบบจ่ายรายเดือน (Postpaid Internet SIM) จะเป็นกลุ่มที่มีอัตราปริมาณการใช้งานเฉลี่ยต่อคน หรือ Data ARPU (Average Revenue Per User) สูงที่สุด ในขณะที่กลุ่มผู้ใช้งานโมบายอินเทอร์เน็ตแบบเติมเงิน (Happy Internet SIM) มีปริมาณการใช้งานอยู่ในระดับปานกลาง

“กลุ่มลูกค้าโมบายอินเทอร์เน็ตแบบรายเดือนจะใช้ Internet SIM เป็นซิมสำหรับดาต้าหรือเพื่อต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะ ซึ่งโดยมากใช้กับอุปกรณ์พกพา อาทิ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค และแท็ปเล็ต (Tablet) ซึ่งปัจจัยที่จะผลักดันให้การใช้งานโมบายอินเทอร์เน็ตในปีนี้ตอย่างมากคือการเข้ามาของแท็ปเล็ตและสมาร์ทโฟน ซึ่งปีนี้ดีแทคจะเปลี่ยนเครือข่ายเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของการใช้โมบายอินเทอร์เน็ตที่มีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

ด้านปรัธนา ลีลพนัง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานบริการเสริม บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำหัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า เรือธงหลักของปีนี้คือการขยายฐานลูกค้าที่ใช้งานโมบายอินเทอร์เน็ต โดยตั้งเป้าหมายว่าจะเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานโมบายอินเทอร์เน็ตของเอไอเอส ในขณะที่คาดการณ์ว่าปีนี้ตลาดน่าจะเติบโตราว 15 เปอร์เซ็นต์

การขยายตัวของการใช้งานโมบายอินเทอร์เน็ตมีอัตราการเติบโตที่สูงมากซึ่งเป็นการเติบโตทั้งจำนวนคนใช้งานและค่าเฉลี่ยการใช้งาน ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมาอัตราการเติบโตในส่วนนี้เพิ่มขึ้นกว่า 300 เปอร์เซ็นต์ ข้อมูลไตรมาสสุดท้ายของปี 2553 ลูกค้าเอไอเอสใช้งานโมบายอินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 94 ชั่วโมง ในปีนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 27 เปอร์เซ็นต์ ส่วนจำนวนผู้ใช้บริการน่าจะมากขึ้น 15 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มจาก 7.5 ล้านราย เป็น 9 ล้านราย ภายในสิ้นปีนี้ ล่าสุดเอไอเอสจับมือกับกูเกิล พัฒนาแอพพลิเคชั่นที่ใช้กับเว็บเบราเซอร์กูเกิล โครม (Google Chrome) ไว้ในเอไอเอสแอร์การ์ด (Air Card) ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตได้เร็วขึ้น มีระบบรักษาความปลอดภัยจากเว็บที่เป็นอันตรายต่างๆ ทั้งยังมีระบบดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นเสริมอื่นๆ เช่น โลเคชันเบสด์ เซอร์วิส และบริการเสริมจากเอไอเอส เพื่อช่วยการใช้งาน และสามารถตรวจสอบจำนวนการใช้งานได้

ด้านบริษัทวิจัย Frost & Sullivan คาดการณ์ว่าในปี 2558 จะมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตคิดเป็นสัดส่วน 55 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั้งประเทศ ซึ่งจะเพิ่มจากสัดส่วน 20 เปอร์เซ็นต์ในปีที่ผ่าน ซึ่งเติบโตในอัตราใกล้เคียงกับการเติบโตของตลาดบริการข้อมูลบนเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Non-Voice Service) ซึ่งในส่วนนี้ส่วนมากเป็นบริการต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริษัทวิจัยอีกสำนักอย่าง IDC คาดว่าไปในทิศทางเดียวกันว่า ราคาค่าบริการของการใช้งานในส่วนนี้จะมีการปรับลดลงราว 30 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากการแข่งขันของผู้ให้บริการ

อย่างไรก็ดี ปฏิเสธไมได้ว่าการเติบโตอย่างต่อเนื่องแบบก้าวกระโดดของอุปกรณ์พกพาทั้งแท็ปเล็ต (Tablet) และสมาร์ทโฟน (Smart Phone) เป็นปัจจัยส่งให้เกิดรูปแบบการทำงานแบบทุกที่ทุกเวลา ปัจจุบันอุปกรณ์พกพาทั้ง แท็ปเล็ต (Tablet) และสมาร์ทโฟน (Smart Phone) กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่คนทำงาน เพราะอุปกรณ์เหล่านี้นอกจากให้อิสระในการทำงานแล้วยังตอบโจทย์รูปแบบการใช้ชีวิตในสังคมออนไลน์ได้ตลอดเวลา

บริษัทวิจัย Frost & Sullivan คาดการณ์ว่าในปี 2558 ตลาดสมาร์ทโฟนในประเทศไทยจะมีสัดส่วนสูงถึง 60-65 เปอร์เซ็นต์ของตลาดโทรศัพท์มือถือรวมซึ่งเพิ่มจากสัดส่วนเพียง 18 เปอร์เซ็นต์ในปีที่ผ่านมา ในขณะที่ IDC คาดการณ์ว่า ตลาดสมาร์ทโฟนปีนี้จะอยู่ที่ 1.7 ล้านเครื่อง

จากการคาดการณ์ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (ซิป้า) ระบุว่า ตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปีนี้นาจะขยายตัวราว 9.6 เปอร์เซ็นต์ โดยจะมีมูลค่าประมาณ 61,080 ล้านบาท โดยสมาร์ทโฟนจะเติบโตสูงราว 24.9 เปอร์เซ็นต์และคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าตลาดที่ 31,090 ล้านบาท

เครือข่ายพร้อม อุปกรณ์พร้อม หากขาดซึ่งระบบที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีระสิทธิภาพและสะดวกสบายแล้ว รูปแบบการทำงานแบบ mobile working คงเกิดขึ้นได้ไม่เร็วนัก นักวิเคราะห์มองตรงกันว่า คลาวด์ คอมพิวติ้ง คืออีกหนึ่งปัจจัยที่จะหนุนส่งให้คนสามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลาจากที่ไหนก็ได้ที่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตครอบคลุม ปัจจุบันหลายองค์กรเริ่มหันมาลงทุนและใช้งานบนระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง

ผลการสำรวจล่าสุดของ Springboard Research เกี่ยวกับการใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้งในประเทศไทยพบว่า ร้อยละ 50 ขององค์กรที่ร่วมตอบแบบสำรวจวางแผนที่จะใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้งในอนาคต ซึ่งนับเป็นอัตราสูงสุดในภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ ร้อยละ 76 ขององค์กรมองว่าคลาวด์คอมพิวติ้งเป็นเครื่องมือทางไอทีที่มีความสำคัญเป็นลำดับแรกสุด ทั้งยังมีงบประมาณเตรียมพร้อมสำหรับการลงทุนในเรื่องดังกล่าว ผลสำรวจดังกล่าวชี้ชัดว่าคลาวด์คอมพิวติ้งมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอย่างรวด เร็วในช่วง 2 – 3 ปีต่อจากนี้ ทั้งนี้ ร้อยละ 41 ขององค์กรที่ร่วมตอบแบบสำรวจระบุว่าไมโครซอฟท์จะเป็นตัวเลือกของพวกเขาในการ ใช้งานบริการคลาวด์คอมพิวติ้งในอนาคต

ล่าสุด 2 ยักษ์ใหญ่จับมือกันให้บริการคลาวด์ ในประเทศไทย ได้แก่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมมือกันให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้งเพิ่มทางเลือกและคุณค่าทางธุรกิจที่มากขึ้นให้กับผู้ใช้งานด้วยผลิตภัณฑ์และบริการยุคใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานและช่วยยกระดับรูปแบบการทำงานของคนไทยให้สามารถใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้งได้ในหลากหลายช่องทางและอุปกรณ์

โดยไมโครซอฟท์และทรูจะนำเสนอบริการทางเลือกคลาวด์คอมพิวติ้งแบบเต็มรูปแบบจากไมโครซอฟท์ พร้อมด้วยบริการคอนเวอร์เจนซ์จากทรู ให้ธุรกิจเอสเอ็มอีและองค์กรในประเทศ เพื่อให้ลูกค้าจะได้รับประโยชน์ และจะได้รับบริการในระดับเอ็นเตอร์ไพรซ์ที่มีประสิทธิภาพในราคาสมเหตุสมผล ทั้งยังมีความน่าเชื่อถือและสามารถลดหรือเพิ่มการใช้งานตามที่ต้องการได้ โดยเครื่องมือต่างๆ รวมไปถึง อีเมล ปฏิทินนัดหมาย เครื่องมือการติดต่อสื่อสาร การทำงานร่วมกัน การประชุม และบริการคอนเวอร์เจนซ์ในรูปแบบต่างๆ

View :4461

Mobile Office แนวโน้มรูปแบบการทำงานใหม่ เปลี่ยนทุกที่เป็นที่ทำงาน ขับเคลื่อนประสิทธิภาพองค์กร

June 5th, 2011 No comments


ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอุปกรณ์และเครือข่ายการสื่อสาร ที่เอื้ออำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพจากที่ไหนมุมไหนเวลาไหนก็ได้ ทำให้เกิดรูปแบบการทำงานแบบใหม่ในยุคดิจิตอลที่คนทำงานสามารถติดต่อสื่อสารกัน ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ รูปแบบการทำงานแบบนี้เริ่มเป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับเพิ่มมากขึ้นในประเทศที่มีโครงข่ายการสื่อสารที่พร้อมที่จะให้คนทำงานสามารถที่ไหน อย่างไร ได้ทุกที่ทุกเวลา


บริษัทสื่อสารทางเสียงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตชื่อดังอย่าง Skype เองได้จัดทำสำรวจแนวโน้มของการทำงานที่บ้านจากคนทำงานกว่า 1,000 คนจาก 500 บริษัทในทุกขนาดในอเมริกา พบว่า การทำงานจากนอกที่ทำงานหรือทำงานจากที่บ้านมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนจะกลายเป็นเรื่องปกติในสังคมการทำงานในต่างประเทศแล้ว ตัวเลขเชิงสถิติจากผลการสำรวจมีความน่าสนใจซึ่งสะท้อนแนวโน้วรูปแบบการทำงานในอนาคตได้เป็นอย่างดี การสำรวจพบว่ามากกว่า 62 เปอร์เซ็นต์ของ 500 บริษัทได้มีนโยบายให้พนักงานทำงานจากที่บ้านได้ ในขณะที่ราว 34 เปอร์เซ็นต์ได้เริ่มให้พนักงานทำงานจากข้างนอกออฟฟิศบ้างเป็นครั้งคราว ซึ่งการให้พนักงานสามารถทำงานจากที่บ้านหรือจากที่ไหนก็ได้นอกที่ทำงานนั้นมีส่วนทำให้พนักงานมีความสามารถในการทำงานเพิ่มขึ้น

“อาร์เอส” ริเริ่ม Mobile Office:

ปัจจุบันมีหลายบริษัทในประเทศไทยที่เริ่มให้พนักงานทำงานจากที่บ้านหรือจากที่ไหน ก็ได้นอกที่ทำงาน อาทิ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ที่ให้ทีมงานด้าน Strategic Innovation Business ของบริษัทสามารถทำงานที่บ้านหรือนอกออฟฟิศได้ ซึ่งทีมงาน Strategic Innovation Business ของบริษัทอาร์เอส จำกัด (มหาชน) ทั้ง 3 คนมักจะนัดพบกันตามร้านกาแฟเพื่อระชุมหารือความคืบหน้าของงาน และเตรียมข้อมูลเพื่อนเข้าประชุมกับ “เฮียฮ้อ” คุณสุรชัย เชษฐ์โชติศักดิ์ ซีอีโอแห่งอาร์เอส และการประชุมกับหน่วยงานต่างๆ ภายในอาร์เอส

เนื่องจากหน่วยงาน Strategic Innovation Business เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เหมือนสมองของบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ที่ทำงานด้านวิจัยและจับจ้องเทคโนโลยีใหม่และนวัตกรรมที่จะเข้ามาเสริมธุรกิจบันเทิงของ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) อาทิตย์ เลิศรักษ์มงคล รองประธานสายงาน Strategic Innovation Business บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หน้าที่หลักของเขาและทีมงานคือการใช้ความคิดสร้างสรรค์และสรรหารูปแบบธุรกิจใหม่ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยการเกื้อหนุนของเทคโนโลยีและวิธีการคิดแบบใหม่ๆ ดังนั้นการนั่งทำงานภายในห้องสี่เหลี่ยม หรือการต้องเดินทางเพื่อไปทำงานในตอนเช้าและกลับบ้านในตอนเย็นร่วมเวลากับพนักงานคนอื่นๆ ไม่ได้ตอบโจทย์การทำงานทีมนี้ ซึ่งวัดผลงานที่ผลของเนื้อหางานมากกว่าจำนวนชั่วโมงที่เข้ามานั่งทำงานที่ที่ทำงาน

อาทิตย์มักจะใช้ร้านกาแฟ ที่มีบริการอินเทอร์เน็ตเป็นที่นัดประชุมและคุยงานกับทีมเป็นประจำทุกสัปดาห์ ส่วนวันอื่นอาทิตย์กับทีมงานจะทำงานอยู่ที่บ้าน เว้นแต่ในบางสัปดาห์ที่อาทิตย์ต้องเตรียมงานและข้อมูลเพื่อเข้าประชุมกับผู้บริหารเพื่อนำเสนอแนวความคิดและองค์ความรู้ใหม่ๆ สัปดาห์นั้นอาทิตย์และทีมจะนัดพบกันบ่อยมากขึ้น โดยปกติ อาทิตย์และทีมงานจะมีอุปกรณ์ในการทำงาน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากบริษัท อันได้แก่ อุปกรณ์แท็ปเล็ต (Tablet) ที่ทั้งทีมใช้อยู่คือ iPad ที่ลงแอพพลิเคชั่นสำหรับการ ทำงานไว้พร้อมสรรพ ไม่ว่าจะเป็น Pages สำหรับงานเอกสาร Keynote สำหรับงานพรีเซนเตชั่น และ Numbers สำหรับงานด้านตัวเลข เป็นต้น รวมถึงแอพพลิเคชั่นที่เป็นคลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ที่อาทิตย์ใช้อยู่เป็นประจำคือ Google Apps อาทิ Gmail และ Google Docs รวมถึง แอพพลิเคชั่นที่เป็นคลาวด์อื่นๆ อาทิ Dropbox เป็นต้น

“เราแทบไม่ต้องพกพาอุปกรณ์การทำงานที่เทอะทะ มากมาย เพียงแต่ iPad 3G และ iPhone 4 และหาที่นั่งทำงานที่มีอินเทอร์เน็ตไร้สาย (WiFi) ให้บริการเท่านั้นทุกอย่างก็อยู่ในมือเรา เราสามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา การทำงานแบบไม่ต้องเข้าออฟฟิศมีประโยชน์มากสำหรับงานที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์ คนจะทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุดตอนที่เขาอยู่ในสภาวะที่สบายๆ การทำงานที่ไหนก็ได้เป็นรูปแบบการทำงานที่เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานมากกว่าการที่ต้องเดินทางเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศมากไฟล์งานทุกอย่างจะอยู่ในเครื่อง iPad และเก็บไว้บนระบบคลาวด์ ซึ่งอาทิตย์สามารถเก็บและแชร์ไฟล์รวมถึงข้อมูลต่างๆ กับทีมงานตนและกับคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้สะดวกและง่ายดายมาก”

อาทิตย์เชื่อว่ารูปแบบการทำงานแบบ mobile office คือ ทำงานที่ไหนก็ได้นั้นจะเริ่มมีปรากฏให้เห็นเพิ่มมากขึ้นในเมืองไทย เพราะความพร้อมมากขึ้นของโครงข่ายสื่อสารอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั้ง WiFi และ 3G ประกอบกับอุปกรณ์ที่สามารถพกพาได้ง่ายและเปี่ยมประสิทธิภาพในการทำงานสูงเริ่มมีใช้แพร่หลาย และราคาไม่แพงมาก รวมถึงการที่มีแอพพลิเคชั่นที่สามารถตอบโจทย์การทำงานแบบ mobile office และเอื้อให้การทำงานที่ไหนก็ได้เป็นไปได้ง่ายและสะดวกขึ้น สำหรับตัวเขาเองและทีมงานได้เริ่มทำงานในรูปแบบ mobile office มาตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดี อาทิตย์มองว่า สิ่งสำคัญของรูปแบบการทำงานแบบนี้ซึ่งกำลังเป็นแนวโน้มอยู่ในขณะนี้นั้น จะสามารถนำมาปรับใช้ได้ไม่กับทุกหน่วยงานในแต่ธุรกิจ และบริษัทที่อนุญาตให้มีการทำงานแบบ mobile office ได้นั้นบริษัทจะต้องมีระบบการประเมินผลงานที่ตัวเนื้องานมากกว่าจำนวนชั่วโมงที่พนักงานเข้ามาทำงานในออฟฟิศ และตัวคนทำงานเองจะต้องปรับวิธีคิดและรูปแบบการทำงานให้สามารถ ทำงานแบบ Dynamic ได้ นั่นคือ ต้องทำงานได้ทำที่ทุกเวลา ทุกแอพพลิเคชั่น และต้องสามารถทำงานหลายๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน (multitasking workers)

“นอกจากเรื่องทักษะในการทำงานแบบหลายชนิดในเวลาเดียวกันพร้อมๆกันได้แล้ว คนทำงานในรูปแบบ mobile office นั้นจะต้องมีวินัยในการทำงานสูงและต้องรู้จักการบริหารเวลาที่ดีมากพอ เพราะการทำงานแบนี้จะใช้ผลงานที่ได้เป็นตัวชี้วัดสำคัญ” อาทิตย์กล่าวทิ้งท้าย

ผู้บริหาร “อเด็คโก้” ทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา:

นอกจาก บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) แล้ว ยังมีบริษัท อเด็คโก้ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทจัดหางานอันดับต้นๆ ของเมืองไทยเป็นอีกบริษัทหนึ่งที่มีโนบายให้พนักงานระดับผู้บริหารสามารถทำงานจากที่บ้านหรือจากนอก ที่ทำงานได้ บริษัท อเด็คโก้ (ประเทศไทย) จำกัด มีพนักงานราว 200 คน ซึ่งเป็นระดับผู้จัดการ 10 เปอร์เซ็นต์ที่สามารถทำงานแบบ mobile office ได้และ กานดา สุภาวศิน E-Business Development Manager กลุ่มบริษัท อเด็คโก้ ประเทศไทย เป็นหนึ่งในพนักงานจำนวนนั้น เธอเล่าว่า ด้วยหน้าที่การงานที่เธอต้องรับผิดชอบในส่วนงานด้านการสมัครงานออนไลน์/ดูแลผู้สมัคร งาน/ลูกค้า ทั้งระบบ Back Office และ Front Office และดูแลส่วน Online Marketing/SEO/Social Media ของบริษัทร่วมกับ Marketing Team ทำให้เธอต้องเดินทางบ่อยและต้องทำงานได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกสถานการณ์

กานดา เล่าว่า บริษัทของเธอมีนโยบายให้พนักงานระดับผู้จัดการสามารถทำงานแบบ work from home หรือ ทำงานแบบ mobile office ได้ ด้วยระบบของบริษัทที่เชื่อมโยงเครือข่ายการสื่อสารของสำนักงานสาขาทั้ง 6 แห่งในประเทศไทย (รวมสำนักงานใหญ่) ที่เปิดโอกาสให้ผู้จัดการสามารถเข้าระบบงานของบริษัทได้จากข้างนอกออฟฟิศผ่านระบบโครงข่ายส่วนตัวเสมือนหรือ VPN (Virtual Private Network) ทำให้กานดามมีความยืดหยุ่นในการทำงานสูงมาก เพราะเธอสามารถจะทำงานจากที่ไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นที่ร้านกาแฟ ร้านเบเกอร์รี่ร้านโปรด หรือมุมสบายๆ ในที่ทำงานของเธอเอง

“ด้วยลักษณะงานที่ต้องเดินทาง ติดต่อสื่อสารประสานงานกับทีมงานตามที่ต่างๆ และตามสาขาต่างๆ ของบริษัทอยู่ตลอดเวลา ทำให้เราต้องฝึกการทำงานแบบที่ไหน เมื่อไร ก็ทำงานได้ และเราจะสามารถทำงานหลายๆ อย่างพร้อมๆ กันได้ ซึ่งปัจจุบันปัจจัยต่างๆ มีความพร้อมและช่วยเสริมให้การทำงานแบบ mobile office เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

ปัจจุบัน อุปกรณ์ในการทำงานหลักของกานดา คือ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค กับโทรศัพท์มือถือ iPhone 4 ที่เธอมักจะพกไว้ข้างกายตลอดเวลา เธอบอกว่าเธอใช้ทุกช่องทางการสื่อสารเพื่อติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกับทีมงานของเธอ ไม่ว่าจะเป็นอีเมล์ หรือแอพพลิเคชั่นสื่อสารยอดนิยมอย่าง Skype, WhatsApp และ Viber ที่เธอมักจะใช้เป็นประจำ นอกเหนือไปจากการใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คเพื่อเข้าระบบงานของเธอที่ออฟฟิศผ่านเทคโนโลยี virtual desktop นอกเหนือไปจากแอพพลิเคชั่นที่กล่าวมาแล้ว กานดายังประยุกต์ใช้สื่อเครือข่ายสังคม (Social Network) อย่าง ทวิตเตอร์ (Twitter) เป็นช่องทางสื่อสารกับทีมงานช่องทางหนึ่ง และใช้เพื่อติดต่อสื่อสารกับสังคมออนไลน์และใช้เพื่อติดตามข่าวสาร

“เนื่องจากต้องดูแลทั้งประเทศไทยและเวียดนาม จึงต้อติดต่อสื่อสารข้ามประเทศ อยู่เป็นประจำ ซึ่งนโยบายบริษัทให้เราใช้ Skype ได้ เราก็จะประชุมงานกันผ่าน Skype เป็นประจำ และเมื่อต้องเดินทางไปเวียดนาม อุปกรณ์ทำงานของเราทั้ง คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค กับโทรศัพท์มือถือ iPhone 4 ก็สามารถช่วยให้เราทำงานแบบไร้รอยต่อ คือ ทำงานเหมือนกับอยู่ที่กรุงเทพฯ เพราะเราสามารถเข้าระบบงานของเราที่ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา เพราะที่นั่นเขามีเครือข่าย 3G ให้ใช้ฟรีตามร้านค้า ร้านอาหาร และสองข้างถนน สะดวกสบายมาก”

กานดาบอกว่า โดยส่วนตัวมองว่าแม้ว่าการทำงานแบบ mobile office จะไม่สามารถเข้ามาแทนที่การทำงานทั้งหมดของเธอได้ เพราะเธอยังคงต้องเข้าที่ออฟฟิศเพื่อประชุมงานอยู่เป็นประจำ แต่เธอก็ยอมรับว่าการทำงานในลักษณะแบบนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารเวลาในการทำงาน และช่วยลดต้นทุนการสื่อสาร ลดต้นทุนค่าเดินทางเพื่อจะไปประชุมลงไปได้มาก เธอเชื่อว่ารูปแบบการทำงานแบบ mobile office จะมีให้เห็นมากขึ้น แต่ทั้งนี้ขึ้นกับนโยบายของแต่ละบริษัทด้วย ซึ่งเธอมองว่าไม่ใช่ทุกหน้าที่การงานสามารถทำงานแบบ mobile office ได้ งานบางอย่าง อาทิ งานด้านบัญชี อาจจะต้องเข้ามาทำงานประจำที่ที่ออฟฟิศ

“การทำงานแบบ mobile office นั้นจะให้ประสบความสำเร็จและได้ระสิทธิภาพ บริษัทจะต้องให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับพนักงานด้วย อาทิ การให้พนักงานสามารถเข้าระบบข้อมูล ได้จากที่ไหนก็ได้ การสนับสนุนอุปกรณ์ และต้นทุนการสื่อสาร เป็นต้น ซึ่งการทำงานแบบ mobile office เอาเข้าจริงๆ แล้ว พนักงานที่มีประสิทธิภาพอยู่แล้วจะยิ่งทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะเขาจะทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมง เขาจะทำงานทุกที ทุกเวลา แบบไม่มันหยุด เพราะเขาจะทำงานเหมือนไม่ได้ทำงาน และจะทำงานได้หลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน”

กานดาเสริมว่า อยากให้องค์กรธุรกิจมองไปที่รูปแบบการทำงานแบบ mobile office มากขึ้น และควรจะสนับสนุนการทำงานแบบ mobile office ของพนักงาน ด้วยการสนับสนุนค่าอุปกรณ์และค่าค่าสื่อสาร ลงทุนระบบงานของบริษัทให้พนักงานสามารถเข้าผ่านอินเทอร์เน็ตจากที่ไหนเข้ามาทำงานก็ได้ เพราะในระยะยาวแล้ว ถือว่าเป็นการประหยัดต้นทุน เพราะพนักงานไม่ต้องเข้านั่งมาทำงานที่บริษัท บริษัทสามารถลดขนาดพื้นที่ ลดจำนวนอุปกรณ์ตั้งโต๊ะ ลดปริมาณการใช้พลังงานลงได้มาก

“การทำงานในสภาวะที่ผ่อนคลายจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น แต่คนที่จะสามารถทำงานแบบ mobile office จะต้องสามารถบริหารเวลา และควบคุมดูแลตนองให้ทำงานได้ดีด้วย” กานดากล่าวทิ้งท้าย

Google Apps + Cloud ปัจจัยเร่ง Mobile Office:

แนวโน้มรูปแบบการทำงานแบบ mobile office นั้นกำลังเป็นที่นิยมและเริ่มแพร่หลายมากขึ้นในประเทศไทย ด้วยความพร้อมของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีความครอบคลุมมากขึ้น กอปรกับสภาพการจราจรที่แออัดทำให้หลายองค์กรเริ่มหันมาทดลองให้พนักงานสามารถทำงานจากที่บ้านโดยไม่ต้องเข้าออฟฟิศ

พรทิพย์ กองชุน ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท กูเกิ้ล ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า กรุงเทพฯเป็นเมืองที่คนต้องใช้เวลาในการเดินทางเพื่อไปทำงานมากที่สุดในโลก เนื่องจากสภาพการจราจรที่ติดขัดทั้งในช่วงเช้าและเย็น ระบบคมนาคมขนส่งไม่สะดวกสบายมากนัก และกรุงเทพฯเป็นเมืองใหญ่ ซึ่งสภาพแบบนี้เหมาะอย่างยิ่งที่จะรับรูปแบบของการทำงานแบบ mobile office มาใช้ ซึ่งในปัจจุบันพบว่า มีบริษัทขนาดใหญ่ไปจนถึงบริษัทขนาดกลางและเล็กในเมืองไทยหลายรายเริ่มหันมาใช้รูปแบบการทำงานแบบนี้แล้ว จะเห็นได้จากปริมาณการใช้ระบบซอฟต์แวร์ผ่านระบบคลาวด์เซอร์วิสของกูเกิ้ล ที่ให้บริการซอฟต์แวร์ระบบงาน Google Apps

“ความสามารถในการทำงานบนรูปแบบ mobile working ในปัจจุบันมีมากขึ้นมากเมื่อความพร้อมของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบวกกับความแพร่หลายของอุปกรณ์พกพาต่างๆ โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนและแท็ปเล็ต (Tablet) มีเพิ่มมากขึ้นจนยอดขายโดยรวมแซงหน้าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คเมื่อไตรมาสที่ผ่านมา นอกจากนี้อุปกรณ์พกพาฉลาดๆ แบบนี้เมื่อรวมกับระบบซอฟต์แวร์ที่กูเกิ้ลให้บริการผ่านคลาวด์คอมพิวติ้ง ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเรียกใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต ดังนั้น เขาจะทำงานที่ไหน และเมื่อใดก็ได้ ชีวิตการทำงานก็จะมีความสะดวกสบายมากขึ้น”

พรทิพย์ เล่าวว่า ตัวเธอเองในฐานะพนักงานกูเกิล ก็ได้ทำงานบนรูปแบบของ mobile working เนื่องจากเธอต้องเดินทางบ่อยแต่ต้องมีการประชุมติดต่อประสานงานกับทีมงานอยู่เป็นประจำ เธอพกพาอุปกรณ์การทำงานเพียงสมาร์ทโฟน และคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คที่บางเฉียบ ก็สามารถเปลี่ยนทุกสถานที่ที่เธออยู่ในปัจจุบันเป็นที่ทำงานเคลื่อนที่ได้อย่างง่ายดาย งานต่างๆ ที่เธอทำค้างอยู่ก็สามารถทำอย่างต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่เธอไม่ต้องพกพาไฟล์งานหรือไฟล์เอกสารใดๆ ไปด้วยกับเธอ แม้แต่ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System: OS) เธอยังไม่ต้องพกพาไว้ในคอมพิวเตอร์ เพียงแต่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากนั้นพรทิพย์ก็โหลดทุกอย่างที่จำเป็นต่อการทำงานลงมาที่เครื่องเพื่อทำงานจากนั้นก็จัดการจัดเก็บไฟล์งาต่างๆ กลับขึ้นไปไว้บนระบบคลาวด์ดังเดิมเมื่อทำงานเสร็จแล้ว

“รูปแบบการทำงานแบบนี้ พนักงานของกูเกิ้ลทั่วโลกทำอยู่ และเริ่มเห็นแพร่หลายเพิ่มมากขึ้นในเมืองไทย เพราะปัจจุบันระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีความครอบคลุมมากขึ้น และคนไทยเริ่มมีความคุ้นชินกับการใช้บริการคลาวด์ผ่านบริการของกูเกิ้ลหลายอย่าง อาทิ Gmail และ Google Doc ทำให้คนจำนวนไม่น้อยเริ่มที่จะทำงานจากทุกที่ที่เขาต้องการมากขึ้น คลาวด์แอพพลิเคชั่นที่ใช้เป็นประจำคือ Gmail, Google Talk, Calendar, Google Doc, SpreadSheet และ Google Map”

พรทิพย์ กล่าวเสริมว่า ธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (Small and Media Enterprise: SME) ในประเทศไทยหลายรายเริ่มมีการใช้ระบบงาน mobile solution มากขึ้น ระบบซอฟต์แวร์ Google Apps ช่วยประหยัดงบประมาณในการลงทุนระบบซอฟต์แวร์ เนื่องจาก เอสเอ็มอีสามารถเริ่มต้นใช้บริการได้ฟรีหากไม่ต้องการระบบซอฟต์แวร์ที่มีการการันตีคุณภาพของบริการ (Service Level Agreement: SLA) แต่หากเอสเอ็มอีต้องการใช้งานระบบซอฟต์แวร์ที่มาพร้อมบริการหลังการขาย ต้องการระบบรักษาความปลอดภัย และต้องการบริการเรื่องการพัฒนา ต่อยอกแอพพลิเคชั่น (API: Application Programming Interface) ก็สามารถใช้บริการ Google Enterprise ได้โดยลงทุนเริ่มต้นเพียง 50 เหรียญสหรัฐต่อ 1 บัญชีผู้ใช้งานต่อปี

“เอสเอ็มอีเริ่มใช้และเริ่มรู้ว่าเขาสามารถซิงค์ระบบงานทุกอย่างระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ทโฟน และแท็ปเล็ตได้อย่างง่ายดาย ปัจจุบันเอสเอ็มอีหลายรายเริ่มใช้แอพพลิเคชั่นที่จำเป็นระหว่างเดินทางมากขึ้น”

Google Apps รองรับการใช้งานตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และคอมพิวเตอร์พกพา ไปจนถึงแท็ปเล็ต และสมาร์ทโฟน และรองรับการใช้งานของอุปกรณ์ในทุกแพลตฟอร์มทั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ซิมเบี้ยน แอนด์ดรอยด์ และ iOS พรทิพย์ กล่าว่า จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือหรืออุปกรณ์พกพา (Mobile Internet Users) 12 ล้านคนในประเทศไทยเมื่อรวมกับความพร้อมของบริการ Google Apps และคลาวด์คอมพิวติ้ง จะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้เกิดรูปแบบการทำงานแบบ mobile working เพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน

ทั้งนี้นั้นบริษัทต่างๆ เมื่อเห็นแนวโน้มของความสามารถในการทำงานในทุกที่ทุกเวลาของพนักงานได้แล้ว หากมีการปรับนโยบายโดยอนุญาตให้พนักวานในส่วนวานที่ไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้ามาทำงานที่ทำงานสามารถทำงานจากที่บ้านหรือทำงานจากสถานที่ใดๆได้ จะยิ่งเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดรูปแบบการทำงานแบบ mobile office เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

“หากองค์กรใดมีนโยบายหรือกำลังเตรียมจะมีนโยบายให้พนักงานทำงานจากที่บ้านหรือภายนอกที่ทำงานได้ สิ่งที่บริษัทเหล่านี้จะต้องเตรียมพร้อมในเรื่องของระบบรักษาความพร้อมภัยของข้อมูล ซึ่งทางเลือกที่แนะนำสำหรับองค์ขนาดกลางและเล็กคือ การพึ่งพาบริการของคลาวด์คอมพิวติ้ง ของผู้ให้บริการ จะเป็นกูเกิ้ลหรือไม่ก็ได้ เพราะผู้ให้บริการคลาวด์จะมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและรับประกันคุณภาพบริการและความเสถียรของการใช้งานและการเข้าถึงระบบข้อมูลและแอพพลิเคชั่น”

พรทิพย์ กล่าวว่าหากเอสเอ็มอีรายใดต้องการใช้บริการคลาวด์ และ Google Apps หรือ Google Enterprise ลูกค้าสามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลและซื้อบริการได้ด้วยตนเองที่ www.google.com/a หรือจะติดต่อขอใช้บริการผ่านตัวแทนจำหน่ายของกูเกิ้ลในปรพเทศไทยอย่างเป็นทางการ 2 ราย คือ CRM & Cloud Consulting และ Tangerine ลูกค้าที่มีระบบงานระบบฐานข้อมูลของตัวเองอยู่แล้วก็สามารถมาใช้งานและรวมระบบเข้ากับระบบงานบนคลาวด์ของกูเกิ้ลได้อย่างง่ายดาย ซึ่งทั้ง 2 บริษัทคนไทยนี้จะสามารถให้บริการและคำปรึกษาลูกค้าที่ต้องการใช้บริการ Google Enterprise

เทคโนโลยี Mobility หัวใจขับเคลื่อน Mobile Office:

เนื่องจากโดยพื้นฐานมนุษย์ทุกคนต้องการความสะดวกสบายในการทำงานการมีสิงอำนวยความสะดวกที่เอื้อให้สามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา ย่อมทำให้มนุษย์มีความยืดหยุ่นในการทำงานและการใช้ชีวิตมากขึ้น มนู อรดีดลเชฐ ประธานคณะกรรมการบริหาร เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันความพร้อมเรื่องโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีทั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารพกพาที่มีความสามารถในการทำงานสูงขึ้น ประกอบกับความพร้อมของระบบซอฟต์แวร์ที่สามารถให้บริการผ่านเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งได้ ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการทำงานแบบทุกที่ทุกเวลาเพิ่มมากขึ้น

“จะเห็นการเปลี่ยนผ่านที่ชัดเจนภายในหนึ่งเจนเนอร์เรชั่นของคน ที่วิถีชีวิต วิถีการทำงานจะเปลี่ยนแปลงเป็นผลมาจากเทคโนโลยีที่เอื้ออำนวยทั้งโครงข่าย อุปกรณ์ และแอพพลิเคชั่น หากบริษัทหรือองค์กรธุรกิจไหนปรับตัวปรับรูปแบบการทำงานทัน เด็กรุ่นใหม่ที่เรียนจบมาจะเลือกที่จะไปทำงานกับบริษัทเหล่านั้น เพราะมันสอดคล้องกับวิถีชีวิตของเขา เขาไม่ถนัดทำงานในสภาพแวดล้อมที่เขาไม่คุ้น บริษัทหรือองค์กรธุรกิจจะต้องเรียนรู้ที่จะปรับวัฒนธรรมรูปแบบการทำงานให้สอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นความเปลี่ยนแปลงที่ปฏิเสธไม่ได้ ปัจจุบันมีคนที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตทั่วโลกถึง 2 พันล้านคน ในประเทศไทยมีคนใช้ Facebook 8 ล้านคน สิ่งเหล่านี้มีผลและอิทธิพลต่อวิถีชีวิตการสื่อสารและการทำงานทั้งสิ้น”

มนู กล่าวต่อว่า เครือข่ายสังคม (Social Network) จะเข้ามาเป็นโครงข่ายการสื่อสารหลักอย่างหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารในกลุ่มของคนในรุ่นใหม่ จากเดิมที่มีเพียงโทรศัพท์ประจำที่ เปลี่ยนเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ มาเป็นอินเทอร์เน็ต และปัจจุบันพัฒนาการมาเป็นเครือข่ายสังคม ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีสามารถจับต้องได้แล้ว องค์กรธุรกิจต้องพิจารณาว่านโยบายขององค์กรควรเป็นอย่างไรเพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบันนี้ให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด เพราะการที่มีความสามารถในการทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา (Mobility) มากขึ้น จะทำให้ทำงานได้มากขึ้น จึงนับว่าเป็นความท้าทายขององค์กรธุรกิจที่จะต้องมองแนวโน้มของการเปลี่ยนผ่านนี้ให้ออกและเตรียมพร้อมรับมือและปรับตัว

View :4417

เดลล์ประกาศรุกตลาดสมาร์ทโฟน เปิดตัว “เดลล์ เวนิว”

June 1st, 2011 No comments

นายอโณทัย เวทยากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดลล์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในงานแถลงข่าวการรุกตลาดสมาร์ทโฟนของเดลล์

นายคเณศณัฏฐ์ ชยามรฉัตรคุปต์ ผู้จัดการกลุ่มธุรกิจ Mobility บริษัท เดลล์ คอร์ปอเรชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด สาธิตคุณสมบัติของ “เดลล์ เวนิว”

 

รีวิว “เดลล์ เวนิว” โดย 6 บล็อกเกอร์

View :3011