Archive

Archive for May, 2012

ชี้ออก พรบ. ปรองดองระวังเสื้อแดงบางส่วนมองว่าหักหลัง ฝ่ายค้านไม่เอา พรบ.ปรองดองย้ำห้ามแตะ ม.112 เตือนอาจเป็นจุดเปลี่ยนสงครามความขัดแย้งทางความเชื่อ

May 26th, 2012 No comments


สมาคมนักข่าว – ฝ่ายค้านระบุรัฐบาลเลือกแนวทางออก พรบ.ปรองดองแบบสุดขั้ว อาจบานปลายสู่สงครามความขัดแย้งทางความเชื่อ ย้ำห้ามแตะ ม. 112 “พนัส” ระบุเสื้อแดงบางส่วนไม่พอใจ มองว่าถูกหลอกถูกหักหลัง เพราะมาตรา 5 ออกมาเพื่อทักษิณโดยเฉพาะ และยุติการแสวงหาความจริงเอาผิดผู้ทำร้ายประชาชน แนะล้มหลักคำพิพากษาศาลฎีกา “ให้รัฐประหารสำเร็จเป็นรัฐาธิปัตย์” ตัดต้นตอปฏิวัติ

การสัมมนาสาธารณะหัวข้อ “พลวัตทางการเมืองหลัง 111 คืนชีพ ???” จัดโดยผู้เข้าอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 3 สถาบันอิศรา มูลนิธิสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย วิทยากรผู้อภิปรายประกอบด้วย นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ แกนนำชาติพัฒนา นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล เลขาธิการมูลนิธิ 111 ไทยรักไทย นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ นายพนัส

ทัศนียานนท์ อดีต ส.ว.ตาก อดีต ส.ส.ร. 2540 ดำเนินการอภิปรายโดย นายเสถียร วิริยะพรรณพงศา ผู้สื่อข่าวอาวุโส เครือเนชั่น จัดขึ้นที่ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มีประชาชนและสื่อมวลชนเข้าร่วมฟังการเสวนาประมาณ 80 คน

การสัมมนาเริ่มต้นจากวิทยากรได้ตอบสอบถามผู้ดำเนินรายการถึงความเห็นเกี่ยวกับการเสนอร่าง พรบ.ปรองดองแห่งชาติในแง่มุมต่าง ๆ โดยหลายเสียงเป็นกังวลว่าจะนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงในสังคมไทยในอนาคต

​นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่าเดิมสถาบันพระปกเกล้าเสนอ 3 แนวทาง คือ แนวทางแรกล้มล้างทั้งหมด แล้วคืนเงิน4 หมื่นกว่าล้านบาทให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ใน 54 คน มีคนเห็นด้วย 2 คน แนวทางที่ 2 คือ ในระหว่างสอบสวนยกเลิกหมด ยกเว้นส่วนที่ตัดสินไปแล้ว และแนวทางที่ 3 คือ ยกเลิกหมด แล้วเริ่มกระบวนการสอบสวนใหม่ โดยไม่ถือว่า ขาดอายุความ แต่วันนี้สภา ฯ กลับยกแนวคิดที่ 1 ซึ่งเป็นแนวคิดสุดขั้วซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิเห็นด้วยเพียง 2 คนขึ้นมานำ

นายนิพิฏฐ์ย้ำว่าประเด็นนี้ตนเห็นว่าจะทำให้เกิดความรุนแรงขึ้น แทนที่จะเกิดความปรองดอง และจะยิ่งจะสร้างความขัดแย้งขึ้นอีก นอกจากนี้ ยังมีสิ่งที่ตนคาใจ คือ หากยึดหลักนี้และคืนเงินให้ พ.ต.ท.ทักษิณ

ชินวัตร จะต้องคืนเงินให้แก่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัษฎ์ และจอมพลถนอม กิตติขจร หรือไม่ เพราะทั้งสองคนถูกยึดทรัพย์ด้วยคำพิพากษาของศาลฎีกาเช่นกัน

“อย่ามาตัดตอนขบวนการยุติธรรมด้วยการออก พรบ. ปรองดองเพื่อนิรโทษกรรม ถ้ากล่าวหาว่าสั่งฆ่าประชาชน ก็ไปพิสูจน์ทางศาล กล่าวหาว่าเผาบ้านเผาเมือง ก็ไปพิสูจน์ทางศาล มันยุติธรรมดีหรือไม่” นายนิพิฏฐ์กล่าว

นายนิพิฏฐ์ย้ำว่าสงครามครั้งใหญ่ในอนาคตเป็นสงครามที่ต่อสู้เรื่องความเชื่อสูงสุดของมนุษย์ เช่นสงครามศาสนา ขออย่างเดียวอย่าแต่ความเชื่อสูงสุดของตนและคนไทยอีกส่วน ขอเรื่อง ม.112 ถ้าไม่หยุดอาจจะต้องมาฆ่ากันจริงก็ได้ เพราะเวลาชุมนุมเสื้อแดงจะชูป้าย 112 แล้วกากบาก เขียนว่า “กูไม่เคารพพ่อหนักหัวใคร” มวลชนที่กำลังเติบโตและควบคุมไม่ได้ ถ้าไปแตะต้องความเชื่อสูงสุดเมื่อไหร่เกิดสงครามกันแน่ คุณไปลบล้างผลพวงปฏิวัติผมถอยหมดเพราะเสียงข้างน้อย แต่บางเรื่องขออย่าไปยุ่ง

ด้าน นายพนัสกล่าวว่ากฎหมายปรองดองที่จะออกมา จะทำให้เกิดจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญทางการเมืองไทย มวลชนเสื้อแดงส่วนหนึ่งจะมองว่าเขาถูกลอยแพ เพราะมีบทบัญญัติคุ้มครองความผิดของ ศอฉ. เจ้าหน้าที่ทหาร ตรงนี้จะเป็นนิมิตหมายที่ทำให้ประชาชนตระหนักว่าอันที่จริงประชาชนถูกหลอกใช้หรือไม่ และอาจจะนำไปสู่การเกิดพรรคใหม่ทางการเมืองอย่างพรรคกรีน

“มีมาตรา 5 สำหรับคุณทักษิณโดยเฉพาะ ลบล้างผลการตัดสินต่อคุณทักษิณทั้งยึดทรัพย์ ทั้งจำคุกด้วย จุดนี้อาจเป็นตัวชนวนที่อาจทำให้เพื่อไทยเดินไปทาง เสื้อแดงก็อาจแตกกันเอง เป็นเสื้อแดงที่เอาทักษิณ กับเสื้อแดงที่เอาประชาธิปไตย ซึ่งอาจจะก่อกวนและก่อเกิดความรุนแรง และไม่เชื่อว่ารัฐบาลที่เกิดใหม่ แม้จะมาจาก 111 จะแก้ไขได้ ถ้าเสื้อแดงกลุ่มนี้มีค่อนข้างมาก เพราะเขาไม่ได้อ้างหลักปรองดองแบบนี้ เขาต้องการให้คนผิดต้องถูกลงโทษ เป็นนิรโทษกรรมอีกแบบ ไม่ใช่การล้มล้างผลพวงการรัฐประหารจริง ๆ ถ้าให้ดีควรมีการปฏิรูปการเมืองอีกรอบ และคอรัปชั่นเชิงนโยบายมีมูล ถ้าแก้ไม่ได้วงจรอุบาทว์ก็จะถูกหยิบยกกลับมา และบวก ม.112 สุดท้ายจะกลับมาเป็นสงครามความเชื่อบวกสงครามคอรัปชั่น” นายพนัสกล่าวในเชิงสนับสนุนนายนิพิฏฐ์

นายพนัสกล่าวว่าร่าง พรบ.ปรองดองมีความสมดุลอย่างดี นิรโทษกรรมการรัฐประหาร การปราบเสื้อแดง ปราบเสื้อเหลือง ขณะเดียวกันก็คืนให้คุณทักษิณ เป็นการเกี้ยเซี้ยไม่ใช่การปรองดอง เพราะทุกคนอิสระก็กลับสู่สถานีรบของตัวเอง การเมืองก็จะกลับเป็นแบบเดิม ๆ อีก

นายพนัส กล่าวถึงการรัฐประหารว่าถ้าอยากต่อต้านรัฐประหารจริงต้องล้างคำพิพากษาศาลฎีกา ที่วินิจฉัย “เมื่อทำรัฐประหารสำเร็จก็เป็นรัฐาธิปัตย์” ตราบใดที่ไม่ลบคนทำรัฐประหารก็สบายใจ รัฐธรรมนูญที่จะเขียนต่อไปก็ไม่มีความหมาย ถ้าคำพิพากษาต้นตอนี้ไม่ล้มล้างไป

“ผมพูดไปไกลกว่านิติราษฎร์ ควรทำเหมือนประเทศตุรกี เอาผู้ทำรัฐประหารย้อนหลังมาลงโทษทั้งหมด ถ้าแก้ตรงนี้ไม่ได้ โอกาสที่จะเกิดเงื่อนไขรัฐประหารก็จะเกิดขึ้นอีก การเปลี่ยนบรรทัดฐานนี้ได้เมื่อศาลฎีกาประชุมใหญ่แล้วมีมติให้เปลี่ยนแปลง เพราะไม่อย่างนั้นไม่ว่าจะเกิดการรัฐประหารขึ้นอีกกี่ครั้ง ก็จะตัดสินแบบเดียวกันนี้” นายพนัสกล่าว

ส่วน นายวิชิตกล่าวว่า เท่าที่ดูคร่าว ๆ ก็คิดว่าตรงใจกับประชาชนทั้งประเทศที่ต้องการจะเห็นความปรองดอง แต่ว่าจะไปถึงขนาดไหน ก็ต้องไปดูรายละเอียดของข้อกฎหมายอีกทีหนึ่งว่า

สำหรับแนวทางปรองดองที่มีอยู่สามกรอบนั้น นายวิชิตกล่าวว่ากรอบแรกคือนิรโทษกรรมให้กับเจ้าหน้าที่ที่ไปทำร้ายผู้ชุมนุม และผู้ชุมนุมที่ถูกกล่าวหาไม่ว่าจะเป็นข้อหาก่อการร้าย ข้อหาผิด พรก. อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ก็จะยกเลิกไม่ดำเนินคดี กรอบที่สอง เป็นเรื่องการล้มล้างผลพวงของการรัฐประหาร หมายถึงเรื่องของ การตั้ง คตส. ตั้งกระบวนการยุติธรรมที่หลายมาตรฐาน และเป็นกระบวนการยุติธรรมที่ไม่ปกติ เพื่อจัดการกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ให้ได้รับโทษจำคุก 2 ปี กรณีที่ดินรัชดา และกรอบที่สาม ก็เป็นเรื่องของกรอบการคืนสิทธิให้กับบ้านเลขที่ 111 ส่วน 109 จะเป็นไปได้แค่ไหน ก็ต้องรอดู

“ส่วนคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ จะได้รับผลพวงจากเรื่องนี้ด้วยหรือไม่ในฐานะผู้สั่งการสลายการชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากก็ยังไม่แน่ใจ” นายวิชิตกล่าว

ต่อข้อถามว่า พรบ.ปรองดองจะกลายเป็นชนวนความขัดแย้งอย่างที่วิเคราะห์กันหรือไม่นั้น นายวิชิต กล่าวว่า หากเราสามารถอธิบายหรือยึดหลักนิติธรรมให้ชัดเจน ชี้แจงให้สื่อมวลชนและพี่น้องประชนให้เข้าใจ ยกตัวอย่างกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ เห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม พ.ต.ท.ทักษิณก็บอกว่า รับได้หากจะกลับมาแล้วถูกดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรมตามปกติ ตรงนี้ประชาชนรับได้หรือไม่ ที่สำคัญจะอธิบายอย่างไรให้พี่น้องประชาชนเข้าใจ

“แม้กระทั่ง ม.112 ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมก็ไม่อยากกล่าวถึงเพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แต่กรณีอย่างนี้ ผมเชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไหนก็ตาม ถ้ามีมุมที่เป็นคุณและเป็นโทษ มุมหนึ่งมองว่ากระทบสถาบัน มุมหนึ่งบอกปกป้องสถาบัน รัฐบาลไหนก็ไม่เอาด้วยที่จะเข้าไปกำหนดนโยบายหรือแก้ไขอะไร ถ้าถามผม ความคิดที่จะเข้าไปแก้ไข ม.112 คิดว่ามีเปอร์เซ็นต์น้อยมาก เพราะว่าขณะนี้ยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน” นายวิชิตกล่าว

ทางด้าน นายวิชิตกล่าวว่าองค์กรศาลต้องเปลี่ยนแปลงแนวคิด ตุลาการภิวัตน์ต้องลดน้อยลง คนคิดใช้อำนาจนอกระบบมาเปลี่ยนแปลงจะลดน้อยลง และแนวคิดบางเรื่องของกลุ่มนิติราษฎร์เรื่องลบล้างผลพวงของรัฐประหารทุกเรื่อง จะยิ่งมีส่วนช่วยลดการรัฐประหาร

ขณะที่ นายสุวัจน์กล่าวว่าสังคมตระหนักว่าการปรองดองมีความจำเป็น แต่ขอมองอย่างการทูต ก่อนที่จะเป็นทางการกระบวนการปรองดองจะมีสิ่งที่ไม่เป็นทางการ เช่นจับเข่าคุยกันในหมู่ผู้ขัดแย้งก่อน ถ้าการเมืองแก้ด้วยการเมือง หากนักเมืองคิดว่าเป็นความรับผิดชอบของเรา ก็ต้องลงมารับผิดชอบจริง ๆ อยากเห็นผู้ใหญ่ที่มีบารมี หรือนักการเมือง 111 เดินสายพูดคุยกัน เพราะเวลานี้เราขาดตัวเชื่อมทางการเมือง

ต่อข้อถามว่าการเมืองวันนี้ยังมีความเสี่ยงรัฐประหารหรือไม่นั้น นายสุวัจน์กล่าวว่า เราเห็นกันอยู่แล้วว่าการรัฐประหารสวนกระแสโลก กระแสสังคม ระยะยาวเสียหายมาก ถ้ายึดหลักประชาธิปไตย 4 ปี ให้ประชาชนคือคำตอบจะดีที่สุด จะรักษาความเป็นมาตรฐานของประเทศไทยสูงในสายตาระดับโลก สิ่งที่ดีที่สุดคือการสร้างภูมิคุ้มกันในระบอบประชาธิปไตย

View :4313
Categories: Uncategorized Tags:

12 เทรนด์ สูตรสำเร็จของธุรกิจยุคโลกไร้พรมแดน

May 24th, 2012 No comments

ฟูจิตสึเผยรายงานพิเศษ บทวิเคราะห์แนวโน้มสำคัญทางธุรกิจที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในอนาคต

ฟูจิตสึ ผู้ให้บริการด้านไอทีรายใหญ่อันดับหนึ่งของญี่ปุ่น และอันดับสามของโลก ได้รวบรวมแนวคิดและวิสัยทัศน์ทางด้านเทคโนโลยีเพื่อองค์กรธุรกิจจากผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก นำเสนอแนวโน้ม 12 ประการที่สำคัญ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและพฤติกรรมของผู้บริโภคในรูปแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ไว้ในรายงานพิเศษ “Technology Perspectives A thought-provoking look at key forces of change” ดังนี้

1. ยุคแห่งข้อมูลเชิงลึกแบบฉับพลัน ผ่าน “ คลาวด์ – HPC”

ในโลกของยุคข้อมูลข่าวสารนั้นความรวดเร็วในการเข้าถึงและความสามารถในการรวบรวมสารสนเทศจากรอบด้าน ถือเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จขององค์กร และคาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าระบบต่างๆจะมีความซับซ้อนมากขึ้นทั้งในแง่ของระบบและการพัฒนาการของการเชื่อต่อถึงกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งความต้องการข้อมูลเชิงลึกแบบฉับพลัน ก่อให้เกิดสถาปัตยกรรมด้านการประมวลผลรูปแบบใหม่ ขณะที่บทบาทของไคลเอ็ต/เซิร์ฟเวอร์ที่กำลังโดดเด่นมากว่า 30 ปี กำลังจะหายไป บทบาทสำคัญจะตกอยู่ที่ระบบคลาวด์ ระบบประมวลผลสมรรถนะสูง (HPC – High-Performance Computing) ระบบวิเคราะห์เชิงลึก และลักษณะการทำงานแบบอัตโนมัติระหว่างเครื่องจักรกลด้วยกันโดยที่มนุษย์ไม่ต้องเข้ามาดูและสั่งการแต่เป็นการนำเทคโนโลยียุคใหม่เข้ามาเสริมชีวิตประจำวันได้อย่างน่าสนใจ

2. ธุรกิจไร้พรมแดน “เชื่อมต่อแบบไร้ขีด”

ธุรกิจไร้พรมแดนมอบช่องทางในการเข้าถึงลูกค้าให้แก่ธุรกิจในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ขนาดเล็กสามารถให้บริการโซลูชั่นแก่ธุรกิจขนาดใหญ่ทั่วโลกได้โดยไม่ติดข้อจำกัด ก่อให้เกิดโอกาสเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย คลาวด์จะกลายเป็นรากฐานสำคัญของบริการยุคใหม่ ภายใต้ความยืดหยุ่นที่มากขึ้นแก่ผู้บริโภค

3. เทคโนโลยีเพื่อมนุษย์ “Human Centric”

ระบบประมวลผลที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลางถือเป็นการพัฒนาการอันยิ่งใหญ่แห่งยุคศตวรรษที่ 21 มีแนวคิดหลักอยู่ที่การสร้างสรรค์แนวทางการทำงานของระบบไอทีให้ผสานกลืนกับรูปแบบการดำรงชีวิตของมนุษย์ ถือเป็นการต่อยอดจากยุคที่มีคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายเป็นศูนย์กลาง และเป็นการพลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ของมนุษย์ครั้งยื่งใหญ่อีกครั้ง โดยจะเข้ามาเปลี่ยนลักษณะการบริโภคและการดำเนินชีวิตของผู้คนให้มีความสะดวกขึ้น การนำเสนอสิ่งต่างๆ แก่ผู้บริโภคจะสอดคล้องกับความต้องการของแต่ละคนมากขึ้น อันเป็นผลมากจากความชาญฉลาดของระบบ ที่สามารถจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลของผู้บริโภคแต่ละคนได้อย่างละเอียด

4. ยุคแห่งสารสนเทศ ไม่ใช่เทคโนโลยี “Data Center not only Technology”

ในอนาคต สารสนเทศจะกลายเป็นทรัพย์สินใหม่ที่ช่วยสร้างสรรค์พัฒนาธุรกิจ ในการแข่งขันทางธุรกิจ ผู้ชนะคือผู้ที่ดึงประโยชน์ออกมาจากข้อมูลที่มีอยู่มากมายรอบข้างได้มากที่สุด ภายใต้อุปสรรคของปริมาณข้อมูลขนาดใหญ่ที่เพิ่มขึ้นที่ต้องเผชิญบนโลกนี้ถึง 5,000 ล้านกิกะไบต์ในทุกๆ 2 วันและมากขึ้นเรื่อยๆ ยุคต่อไปถือเป็นยุคแห่งการแข่งขันด้านข้อมูลข่าวสาร แข่งกันมากขึ้นเพื่อให้เข้าใจลูกค้าได้ดีกว่าเดิม องค์กรที่ไม่สามารถดึงประโยชน์จากสารสนเทศออกมาใช้งานได้จะกลายเป็นองค์กรที่ล้าหลังและขาดความแข็งแกร่งในการแข่งขันกับคู่แข่ง

5. โลกแห่งการเชื่อมต่อ “Internet of Thing”

เหมือนว่าทุกสสารของโลกนี้สามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างไม่น่าเชื่อ ภายใต้นิยามว่า Internet of Thing หรือสิ่งที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ในอนาคตการโต้ตอบแบบอัตโนมัติระหว่างอุปกรณ์กับอุปกรณ์จะมีเพิ่มมากขึ้นจนสามารถทำงานได้เองโดยที่มนุษย์ไม่ต้องเกี่ยวข้องแต่อย่างใด ข้อมูลข่าวสารส่วนใหญ่ในอนาคตจะถูกสร้างขึ้นโดยจักรกลที่มีความสามารถที่ใกล้เคียงมนุษย์ไปทุกขณะ

6. รูปแบบทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป “Cloud Changing”

การดำเนินธุรกิจในยุคใหม่ แต่ละบริษัทมีอิสระในการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรซึ่งกระจายอยู่ทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่โลกเวอร์ช่วลที่จับต้องไม่ได้ แต่เป็นแรงผลักดันสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ ปัญหาการติดตั้งที่ซับซ้อนมีการลงทุนค่าฮารด์แวร์อย่างมหาศาลเริ่มหมดไปด้วยแนวคิดของคลาวด์ และจะเริ่มเห็นผู้ให้บริการโซลูชั่นต่างนำเสนอแพลตฟอร์ม ซอฟต์แวร์ และบริการต่างๆ ในลักษณะทีมีความเฉพาะเจาะจงในฟังก์ชั่นการทำงานมากขึ้น และที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือ บางครั้งลูกค้าก็กลับเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นได้เช่นเดียวกัน

7. ปัจจัยจากโลกภายนอก “Crowdsourcing or co-creation”

ในอีก 5 ปีข้างหน้า เส้นแบ่งกั้นระหว่างองค์กร ผู้บริโภค และซัพพลายเออร์ จะลดลงจนแทบนิยามไม่ได้ ด้วยแนวคิดใหม่อย่าง คราวด์ซอร์สซิ่ง (crowdsourcing) หรือ โค-ครีเอชั่น (co-creation) ธุรกิจต้องหันมามองปัจจัยภายนอกมากกว่าเดิม องค์กรไม่สามารถที่จะยืนหยัดอยู่อย่างโดดเดี่ยวเหมือนเมื่อก่อนได้อีกต่อไป รวมไปถึงเรื่องของระบบความปลอดภัยที่ต้องไม่ใช่เรื่องการครอบครอง ควบคุม แต่ต้องมองถึงการปกป้องบุคคลและสารสนเทศมากขึ้นกว่าเดิม

8. ปฏิบัติการแห่งการมอบทางเลือก “Way to Success”

ปัจจุบันแนวคิดของการให้พนักงานใช้อุปกรณ์ดิจิตอลส่วนตัวในที่ทำงานกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งบริษัทเองก็ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านซอร์ฟแวร์ไปได้พอสมควร แต่จะมีปัญหาอุปสรรคในดเนการควบคุมการใช้งานและปัญหาการรั่วไหลและความปลอดภัยต่างๆ ดังนั้นการให้พนักงานใช้เหมือนกันหมดไม่ไช่ทางออกที่เหมาะสมในอนาคตแต่ควรให้พนักงานเลือกอุปกรณ์ที่พึงพอใจได้เอง อย่างไรก็ดีหากวางแผนอย่างเหมาะสม ก็สามารถเปลี่ยนบทบาทของเทคโนโลยีที่สร้างปัญหาเรื่องความปลอดภัย ให้กลายเป็นคำตอบที่ต้องการได้ไม่ยาก โดยอาศัยเทคโนโลยีคลาวด์ เวอร์ช่วลไลเซชั่น หรือซอฟต์แวร์เชิงบริการ หลักการสำคัญคือ ควรรู้ว่าใครต้องการอะไร และจับคู่ทางเลือกให้เหมาะสมที่สุดกับผู้ใช้แต่ละคน

9. ปฏิวัติรูปแบบการทำงานในยุคโซเชียลมีเดีย “Social Media”

ยุคปัจจุบันทุกคนต่างกลายเป็นผู้เสพติดโซเซียลมีเดีย และได้ปฏิวัติรูปแบบการดำเนินธุรกิจลักษณะเดิมให้ยากต่อการควบคุมและหลายองค์กรต่างขยาดกับการขยับตัวเข้าหาสื่อดังกล่าว แต่ต้องไม่ลืมว่าพลังของโซเชียลมีเดีย คือ พลังแห่งการเชื่อมต่อ และหากใช้อย่างเหมาะสม ก็จะกลายเป็นเครื่องมือสำหรับสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและตอกย้ำภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้อย่างดี ที่ต้องตระหนักไว้ก็คือ ยุคแห่งการดำเนินธุรกิจจะก้าวเข้าสู่การข้ามเส้นแบ่งบทบาทของผู้คนที่เป็นไปอย่างอิสระบนโลกโซเชียลมีเดียที่นับวันจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

10. ขุมพลังแห่งฝูงชน “Power of Human”

โลกที่ทุกส่วนเชื่อมต่อถึงกันได้อย่างสะดวกบนโลกออนไลน์ และผู้คนทั่วโลกจะมีส่วนช่วยกันสร้างธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอดีต อาจกล่าวได้ว่าแนวคิดเรื่องการทำงานร่วมกับฝูงชนบนโลกออนไลน์ กำลังกลายเป็นเป็นมิติใหม่ที่จะช่วยสร้างจุดแข็งให้แก่บริษัท ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรและผู้บริโภค ในแบบที่ทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์ และยังเปิดมิติใหม่ที่ช่วยให้องค์กรเข้าถึงบริการ หรือองค์ความรู้ที่สามารถนำมาต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของธุรกิจตนเองได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดด้วย

11. โครงสร้างองค์กรที่เปลี่ยนไป “Flexible organization”

การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีนั้นนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค ในยุคอนาคตแนวคิดที่จะรวบทุกสิ่งไว้ในมืออาจไม่ไช่ทางออกที่ดี และไม่สำคัญเท่าการบริหารจัดการห่วงโซ่แห่งคุณค่าของธุรกิจให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เหมือนเดิมไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภครูปแบบใดก็ตาม ดังนั้นธุรกิจจำเป็นต้องมองรูปแบบการดำเนินกิจการใหม่ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวที่สุด และเพื่อรับมือกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ระบบบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานด้านสารสนเทศกลายเป็นเรื่องสำคัญในยุคระบบนิเวศน์แบบดิจิตอลที่เชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างเข้าด้วยกัน รูปแบบการดำเนินกิจการลักษณะเดิมๆจะไม่สามารถแข่งขันได้อีกต่อไป

12. สิ้นมนตร์ขลังแห่งโลกโมบาย “ Mobility Life”

ผู้บริโภคจะคุ้นเคยกับบริการบนระบบคลาวด์ผ่านอุปกรณ์พกพามากขึ้น และเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมการใช้งานครั้งใหญ่ เมื่อผสานกับหลากหลายทางเลือกด้านการเชื่อมต่อแบบไร้สาย ทั้ง 3G, 4G หรือแม้แต่ 5G ที่เริ่มมีการพูดถึง ก็จะเร่งความเร็วในการเปลี่ยนแปลงให้มากกว่าเดิม โลกโมบายจะกลายเป็นสิ่งสามัญขั้นพื้นฐานสำหรับองค์กรธุรกิจ และผู้บริโภคทั่วไป เราจะได้เห็นอุปกรณ์หลากหลายที่ทำงานข้ามแพลตฟอร์มได้อย่างราบรื่น รวดเร็วขึ้น ทั้งในการประมวลผลและการเชื่อมต่อ รวมถึงเรื่องความปลอดภัยชั้นสูง และการเชื่อมต่อกับคลาวด์ ซึ่งทั้งหมดจะฝังกลบยุคแห่งพีซี และนำเราก้าวเข้าสู่โลกโมบายอย่างแท้จริง

View :5687
Categories: Article Tags:

The Chatterbox: The winner of AIS Start Up Weekend 2011

May 20th, 2012 No comments

ทีม Chatter Box


Interview Chatterbox’s co-founder Tareef Jafferi:

1. Explain what the application does.

The Chatterbox mobile application is a product that bridges content providers and broadcasters with their audiences – with the purpose of creating an augmented channel for entertainment and user-engagement. The product leverages an opportunity in which the audience seeks a medium to socialize around a topic of interest (in this case, a TV program). Concurrently, broadcasters and content providers can use data provided by users to customize content and learn more about their audiences. Chatterbox aims to make television more interactive and social for the benefit of all.

The application and its features are a product of extensive market research, focus group studies, an understanding in behavioral psychology (gamification), and user-testing. The challenge is developing a tool that enhances rather than distracts a user’s attention from the media content. At the same time, users will feel an immediate impact and social advantage of using the application while watching television.

2. Talk about business model, revenue streams, and marketing strategies.

The Chatterbox product is a result of comprehesive market research and study, in parallel with special insight into telecommunication and media outlook over the next 5 years. With the emergence of social media in the realm of television, there is much new found activity in this industry. Subsequent to the formation of the product idea, we explored every facet of existing developments in Social TV. Furthermore, by understanding the needs of each stakeholder and of the user, we can create a product worthy of its potential.

Identifying the key stakeholders in the TV ecosystem is critical in creating a business model to sustain the platform. Chatterbox is designed to connect not only with TV audiences, but with broadcasters, content producers, and celebrities as well.

Revenue streams include targeted advertising, merchandizing, and market intelligence – each stream also mutually benefiting one or more key stakeholders.

Finally, the Chatterbox platform will leverage celebrity and TV show endorsements to grow user-base while concurrently providing a channel to advertise and sell products, as well as provide user engagement data that will help content producers better understand their audiences.

3. What kind of market reaction do you expect? How many downloads by the end of the year.?

Looking at the overlap between TV viewers and smartphone owners, we hope to be able to access a potential pool of 12+ million users. We hope to hit 100,000+ downloads by the end of the year.

4. When will the application be launched, and what platforms will it support?

The application will be launched early August. It will be launched for both iOS and Android devices.

5. When was the company set up, and how much capital has been put in?

The company is privately owned and funded by its co-founders (Tareef Jafferi, Taarif Jafferi and Kavin Kavin Asavanant). It is in the process of being formed as an LLC. The funded amount is not disclosed.

6. Do we have investors yet, who are they, and how is the investment structured?

We have interested Venture Capitalists, but do not plan to proceed with investment funding rounds until after we launch in August. The investment structure will be negotiated at that point in time.

7. What do you think about Startup Weekend and how did you benefit from participating?

Startup Weekend 2011 hosted by AIS was a fantastic event. It was a chance for like-minded people to come together, share ideas, and network. The atmosphere was also conducive for creative thinking.

Overall, it was a spark that the start-up community in Thailand needed to build on. Six months after the event, I find myself working with some members of my team as well as talent from other teams.

View :2459

“นพพร ฟามาซี” ร้านขายยาไฮเทคแห่งเกาะพะงัน

May 20th, 2012 No comments

นักท่องเที่ยวและชาวบ้านแห่งเกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี เชื่อแน่ว่าไม่มีใครไม่รู้จักร้าน “นพพร ฟามาซี” ร้านขายยาและมินิมาร์ทเก่าแก่อายุ 20 ปีแห่งนี้อย่างแน่นอน “นพพร ชูแก้ว”เจ้าของที่บุกเบิกร้านขายยาตั้งแต่มีเพียงสาขาเดียวจนปัจจุบันมี 11 สาขา และกำลังจะเปิดอีกสาขาในอีก 2 เดือนข้างหน้า เผยเคล็ดลับของการบริหารร้ายขายยาที่มีสาขาจำนวนมากและมีสินค้าหมุนเวียนต่อสาขาอีกนับหมื่นรายการได้อย่างมีประสิทธิภาพว่า “ไอทีคือตัวช่วยสำคัญ”

นพพร เล่าวว่า ตนเป็นคนเมืองตรัง แต่ได้ย้ายมาตั้งรกรากที่เกาะพะงันกับภรรยาที่เป็นคนเกาะพะงัน และได้เริ่มต้นธุรกิจร้านขายยายซึ่งเป็นธุรกิจครอบครัวของภรรยามาเก่าก่อน มาตั้งเป็น “นพพร ฟามาซี”ที่เป็นทั้งร้านขายยาและมินิมาร์ทตั้งแต่ 20 ปีที่แล้ว จากสาขาแรกนพพรก็ขยายสาขาเพิิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตามการเจริญเติบโตของเกาะพะงัน ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติหลั่งไหลมาท่องเที่ยวบนเกาะจำนวนมากทุกปี นพพรขยายกิจการร้านขายยาอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบันมีสาขามากถึง 11 สาขา โดยที่ 9 สาขาอยู่ในเกาะพะงัน และอีก 3 สาขาอยู่ที่เกาะเต่า

“ตอนแรกเลยมาเปิดเป็นร้านเล็กๆ ลูกค้าก็จะเป็นชาวบ้านธรรมดาๆ เป็นคนบนเกาะเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการเท่าไหร่ จนหลายปีต่อมาคนทั่วไปและนักท่องเที่ยวเริ่มรู้จักเกาะพะงัน จึงทำให้มีนักท่องเที่ยวมากขึ้นๆ ธุรกิจที่ทำอยู่เลยต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ให้ดูดีและมีมาตรฐานขึ้น พอนักท่องเที่ยวเริ่มมากขึ้น เราเองก็ต้องปรับปรุงร้าน ขยายสาขาเพิ่ม ตรงจุดนี้ทำให้ต้องหันมาพึ่งไอทีในการควบคุมดูแล ทั้งในส่วนสต๊อคยา การบริหารสต๊อค ข้อมูลสินค้า ราคา และอื่นๆอีกเยอะที่ลำพังใช้คนอย่างเดียวไม่สามารถทำได้” นพพรกล่าว

เมื่อจำนวนสินค้าที่ขายในร้านก็มีจำนวนมากทั้งยาและส่วนของมินิมาร์ท ทำให้นพพรซึ่งมีความคุ้นเคยกับคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี เพราะชอบในเทคโนโลยีจึงเริ่มนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการลงบันทึกจำนวนและประเภทของสินค้าที่ขาย รวมถึงรายการสินค้าที่ขายของแต่ละสาขาเมื่อราวสิบปีที่แล้ว แต่เมื่อธุรกิจขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ด้วยจำนวนสาขาที่เพ่ิมมากขึ้น จำนวนสินค้าที่ต้องจัดเก็บมีเพ่ิมมากขึ้นอย่างมาก ทำให้การจัดเก็บข้อมูลสินค้าด้วยตนเองลงเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สะดวกอีกต่อไป นพพรจึงเริ่มมองหาซอฟต์แวร์ที่จะเข้ามาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลของสินค้าและรายการขายของทุกร้านเพื่อที่จะได้เห็นภาพรวมของธุรกิจร้านขายยาทุกสาขาได้อย่างชัดเจนและได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน

“ตอนแรกๆที่หันมาใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลสินค้าและรายการขายก็รู้สึกได้เลยว่ามันดีมาก มันควบคุมทุกอย่างได้ง่ายขึ้น เราเองก็ทำงานน้อยลง เหนื่อยน้อยลง แต่พอเริ่มขยายสาขาออกไปเรื่อยๆ ปัญหาก็เริ่มเกิด เช่น ข้อมูลสินค้าที่ไม่สามารถแชร์กันได้ทุกสาขา เรื่องการสำรองข้อมูล เรื่องความเสี่ยงที่ข้อมูลในคอมจะสูญหายเนื่องจากคอมพิวเตอร์พัง การอัพเดทข้อมูลต่างๆ การพัฒนาตัวโปรแกรม และอื่นๆอีกมากมาย การแก้ปํญหาก็ต้องทำเป็นจุดๆแก้ทีละอย่าง เกิดปัญหาตรงไหนก็แก้ตรงนั้น ซึ่งต้องใช้เวลาและคนที่มีความรู้ด้านไอทีจริงๆ ก็ค่อนข้างเหนื่อยพอสมควร ทำให้ผมเริ่มมองหาระบบที่จะสามารถตอบโจทย์ตรงความต้องการของผม และคำตอบก็มาตกที่ระบบซอฟต์แวร์ผ่านคลาวด์”

นพพรจึงตัดสินใจเลือกใช้บริการซอฟต์แวร์ผ่านระบบคลาวด์ของบริษัท Absolute Software จำกัด นพพรเลือกใช้ทุก module ของระบบซอฟต์แวร์บริหารสินค้าคงคลัง (Stock and Inventory Management System) ตั้งแต่ระบบ POS (Point of Sale), ระบบจัดซื้อ,ระบบการเงิน, ระบบฐานข้อมูลสินค้าและระบบรายงานการขาย ไปจนถึงระบบบริหารสินค้าคงคลัง

นพพรบอกว่า เพียงแค่ร้ายขายของตนทุกร้านต่อเชือ่มเข้ากับอินเทอร์เน็ต ทุกรายการขาย และทุกสินค้าที่ขายออกไปของทุกสาขาจะถูกบันทุึกไว้ในระบบทันที ทำให้นพพรรู้ว่าสต็อกสินค้าของร้านสาขาใดมีสินค้ารายการใดบ้างของสาขาใดบ้างที่ลดลงและต้องการเติมเข้าสต็อก เพื่อให้มีของขายได้ตลอดเวลา

“สินค้าเราหมนุเวียนเร็วมาก เราต้องเติมของเข้าสต็อกทุกสัปดาห์ๆ ละ 2-3 ครั้ง เพราะเราจะรู้สถานะของสต็อกของทุกสาขา ข้อมูลจะเป็นปัจจุบัน คือ real-time ทันทีที่สินค้าถูกสแกนบาร์โค้ดที่จุดขาย ทำให้เราสามารถบริหารสต็อกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องสต็อกของมากเกินไป ในขณะที่ของก็จะไม่ขาดสต็อก”

Could computing ตอบโจทย์ปัญหาที่เกิดขึ้นได้หมดเลย ตอนนี้ “ร้านนพพร ฟามาซี”ทั้ง 11 สาขา ใช้บริการ Could computing ของ Absolute solution

“บริษัทซอฟต์แวร์นี้ดูแลผมดีมากๆ ทั้งเรื่อง Hardware และ Software โปรแกรมเมอร์ใจดีช่วยปรับปรุงตัวโปรแกรมให้เข้ากับงานของผม คอยให้คำแนะนำเรื่องการใช้งานและการสร้าง feature ใหม่ๆอยู่ตลอด ตอนนี้ผมควบคุมดูแลร้านได้สะดวกและไม่เหนื่อยเลย อยากทำอะไร อยากเปลี่ยนเเลงอะไรตรงไหนก็เปิดคอมพิวเตอร์ และคลาวด์ก็ทำให้ผมสามารถทำงานได้ทันทีทุกที่ ทุกเวลา ทุกวันนี้ผมนั่งมองตัวเลขรายได้ที่วิ่งเข้ามาแล้วมีความสุขครับ” นพพรกล่าวพร้อมรอยยิ้ม

View :4357

บสก.3 – สถาบันอิศรา จัดสัมมนาประเด็นร้อนรับการเมืองไทย “พลวัตทางการเมืองหลัง 111 คืนชีพ ???”

May 20th, 2012 No comments


ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 3 ภายใต้การสนับสนุนของสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย จัดสัมมนาสาธารณะเรื่อง “พลวัตทางการเมืองหลัง 111 คืนชีพ ???” ในวันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม 2555 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 3 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ เชิญร่วมรับฟังการอภิปรายแนวโน้มทิศทางการเมืองไทยและบทบาททางการเมืองของสมาชิกบ้านเลขที่ 111 จากนักการเมืองคนสำคัญ ที่จะหวนคืนสู่สนามการเมืองไทยอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2555 เป็นต้นไป หลังถูกเพิกถอนสิทธิครบ 5 ปี

พบกับ นักการเมือง อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย บ้านเลขที่ 111 และผู้ทรงคุณวุฒิทางการเมือง ตัวจริงเสียงจริง 4 ท่าน ประกอบด้วย นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ แกนนำพรรคชาติพัฒนา นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล เลขาธิการมูลนิธิ 111 ไทยรักไทย นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ และ นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีต ส.ว.ตาก และอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 2540 โดยมี นายเสถียร วิริยะพรรณพงศา ดำเนินรายการ

เวทีสัมมนาสาธารณะดังกล่าว ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 3 จัดขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อตอบสนองการรับรู้ข่าวสารและความเคลื่อนไหวทางการเมืองจากทุกภาคส่วน ตลอดจนกระตุ้นและสร้างจิตสำนึกการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนไทยทั้งประเทศ และที่สำคัญยังเป็นการช่วยพัฒนาทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอีกทางหนึ่งด้วย ผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการสัมมนาติดต่อสำรองที่นั่งได้ที่สถาบันอิศราโทร. 02 241 3905 หรือ 085 071 2840 หรือลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ที่ www.111reborn.weebly.com

View :2785
Categories: Uncategorized Tags:

บสก.3 – สถาบันอิศรา จัดสัมมนาประเด็นร้อนรับการเมืองไทย “พลวัตทางการเมืองหลัง 111 คืนชีพ ???”

May 8th, 2012 No comments

ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 3 ภายใต้การสนับสนุนของสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย จัดสัมมนาสาธารณะเรื่อง “พลวัตทางการเมืองหลัง 111 คืนชีพ ???” ในวันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม 2555 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 3 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ เชิญร่วมรับฟังการอภิปรายแนวโน้มทิศทางการเมืองไทยและบทบาททางการเมืองของสมาชิกบ้านเลขที่ 111 จากนักการเมืองคนสำคัญ ที่จะหวนคืนสู่สนามการเมืองไทยอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2555 เป็นต้นไป หลังถูกเพิกถอนสิทธิครบ 5 ปี

พบกับ นักการเมือง อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย บ้านเลขที่ 111 และผู้ทรงคุณวุฒิทางการเมือง ตัวจริงเสียงจริง 4 ท่าน ประกอบด้วย นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ แกนนำพรรคชาติพัฒนา นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ และ นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีต ส.ว.ตาก และอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 2540 โดยมี นายเสถียร วิริยะพรรณพงศา ดำเนินรายการ

เวทีสัมมนาสาธารณะดังกล่าว ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 3 จัดขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อตอบสนองการรับรู้ข่าวสารและความเคลื่อนไหวทางการเมืองจากทุกภาคส่วน ตลอดจนกระตุ้นและสร้างจิตสำนึกการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนไทยทั้งประเทศ และที่สำคัญยังเป็นการช่วยพัฒนาทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอีกทางหนึ่งด้วย ผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการสัมมนาติดต่อสำรองที่นั่งได้ที่สถาบันอิศราโทร. 02 241 3905 หรือ 085 071 2840 หรือลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ที่ www.111reborn.weebly.com

View :2760
Categories: Uncategorized Tags:

ช้อปปิ้งบนมือถือ “เกิด” ในตลาดเกิดใหม่ ประเทศไทยนำหน้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งช้อปออนไลน์และบนโทรศัพท์มือถือ

May 1st, 2012 No comments

ผลสำรวจเกี่ยวกับการช้อปปิ้งออนไลน์จากมาสเตอร์การ์ด หรือ MasterCard Worldwide Online Shopping Survey เผยช่องว่างเกี่ยวกับการช้อปปิ้งออนไลน์ระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะคนในภูมิภาคนี้ชอบจับจ่ายใช้สอยผ่านทางโทรศัพท์มือถือมากขึ้น

การสำรวจในครั้งนี้ กลายเป็นมาตรฐานในการวัดแนวโน้มของผู้บริโภคเกี่ยวกับการช้อปปิ้งออนไลน์ โดยได้มีการสำรวจทั่วทั้ง 25 ประเทศในระหว่างวันที่ 5 ธันวาคม 2554 ถึง 6 กุมภาพันธ์ 2555 สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 7,373 คน จาก 14 ประเทศ โดยสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการช้อปปิ้งออนไลน์ ทั้งนี้ผลสำรวจและรายงานประกอบต่างๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องใดใดกับผลประกอบการทางการเงินของมาสเตอร์การ์ดทั้งสิ้น

ในแง่ของการใช้จ่ายและวางแผนจะใช้จ่ายออนไลน์นั้น ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่า ในเรื่องของการช้อปปิ้งออนไลน์ระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับตลาดเกิดใหม่ในเอเชียแปซิฟิคมีช่องว่างแคบลงเรื่อยๆ โดยประเทศที่นำหน้าพุ่งแรงแซงประเทศอื่นคือประเทศไทย ทั้งในแง่ของการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ (80%) และแนวโน้มในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ในอีก 6 เดือนข้างหน้า (93%) เคียงคู่มากับประเทศจีน โดยเกาหลี (84%) และมาเลเซีย (79%) ที่มีแนวโน้มในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ในอีก 6 เดือนข้างหน้าสูงเช่นกัน ส่วนเวียดนามนั้น แม้มีจำนวนผู้วางแผนจะจับจ่ายออนไลน์ที่สูงถึง (87%) แต่เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับการออนไลน์ช้อปปิ้งนั้นมีเพียงแค่ 61%

โดยภาพรวม ประเทศที่มีการเจริญเติบโตอย่างเห็นได้ชัดในเรื่องของออนไลน์ช้อปปิ้ง ได้แก่ ประเทศไทย เพิ่มขึ้น 13% ออสเตรเลีย (+10%) อินโดนีเซีย (+15%) นิวซีแลนด์ (+9%) และฟิลิปปินส์ (+15%) ส่วนประเทศที่เกิดการถดถอยของออนไลน์ช้อปปิ้งคืออินเดีย (-14%) สิงคโปร์ (-10%) และเกาหลี (-17%) ที่แม้เกาหลีจะมีแผนการใช้จ่ายออนไลน์ภายใน 6 เดือนนี้ สูงถึง 84% ก็ตาม

สำหรับการเจริญเติบโตของออนไลน์ช้อปปิ้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดัชนีที่ได้จากประเทศเวียดนาม ซึ่งเพิ่งมีการสำรวจในปีนี้ พุ่งแรงไม่แพ้มาเลเซียและอินโดนีเซียเลยทีเดียว

การเจริญเติบโตของการช้อปปิ้งบนมือถือ

แม้ว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (71%) กล่าวว่าพวกเขาค่อนข้างนิยมใช้โน้ตบุ้คในการช้อปปิ้งออนไลน์ แต่การใช้อุปกรณ์อย่างโทรศัพท์มือถือสำหรับขาช้อปชาวเอเชียก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากในตลาดเกิดใหม่ โดยผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทย 59% เลือกใช้โทรศัพท์มือถือสำหรับสั่งสินค้าออนไลน์ ตามด้วย จีน (37%) เวียดนาม (32%) และอินเดีย (32%)

เหตุผลในการเลือกใช้โทรศัพท์มือถือสำหรับการซื้อสินค้าออนไลน์นั้น ส่วนใหญ่เป็นเพราะความสะดวกสบาย (57%) และได้มีการอ้างอิงว่าเป็นเพราะปัจจุบันมีแอพลิเคชั่นที่รองรับออนไลน์ช้อปปิ้งเพิ่มมากขึ้น (46%) โดยสองอันดับสูงสุดในการใช้จ่ายผ่านทางโทรศัพท์มือถือคือ การซื้อเพลง (24%) และแอพลิเคชั่น (31%) ตามด้วยการซื้อคูปองส่วนลดจากเว็บไซต์ (17%) เสื้อผ้าและเครื่องประดับ (17%) และบัตรชมภาพยนตร์ (16%)

“ผลการสำรวจนี้แสดงให้เห็นว่าประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่หลายคนมองว่าเป็นตลาดเกิดใหม่นั้น กำลังเป็นตลาดที่ก้าวขึ้นมาท้าทายหรือในบางกรณีก็แซงหน้าตลาดที่เติบโตแล้วในแง่การช้อปปิ้งออนไลน์” นายฟิลลิป เยน หัวหน้าฝ่ายระบบชำระเงิน Emerging Payments ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง และแอฟริกา มาสเตอร์การ์ด เวิลด์วายด์ กล่าว

“นอกเหนือไปกว่านั้น สมาร์ทโฟนกลายเป็นอุปกรณ์นักช้อปในภูมิภาคของเราให้ความไว้วางใจ และมาสเตอร์การ์ดก็ได้มีการพัฒนานวัตกรรมในระบบชำระเงินอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความสะดวกสบาย และความมั่นใจในความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคที่ใช้จ่ายออนไลน์”

จากโครงการความร่วมมือ “โมบาย มันนี่” หรือ “MasterCard Mobile Money Partnership Program” มาสเตอร์การ์ดได้ร่วมงานกับพันธมิตรผู้ให้บริการแพลตฟอร์มชั้นนำของโลกอย่าง Comviva, Sybase 365 และ Utiba เพื่อให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าและบริการผ่านทางโทรศัพท์มือถือได้ตามร้านค้าธรรมดาและร้านค้าออนไลน์ทั่วโลก รวมทั้งสามารถโอนเงินและชำระค่าใช้จ่ายผ่านทางมือถือได้ด้วย

View :3561