Archive

Archive for March, 2010

“Cloud Computing” เทคโนโลยีอนาคต…..สำหรับ SME วันนี้!

March 21st, 2010 No comments

อาจกล่าวได้ว่าการเข้ามาของเทคโนโลยี Cloud Computing ในประเทศไทยที่คาดกันว่าจะเริ่มมีการพูดถึงละใช้งานแพร่หลายมากขึ้นอย่างมาก ในปีนี้นั้น ไม่เพียงแต่เฉพาะองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้นแต่ Cloud Computing จะลงไปให้บริการกับองค์กรธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SME) ซึ่งนับเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของผู้ให้บริการหลายราย จึงเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยเอื้อให้ SME สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากแอพพลิเคชั่นซอฟต์แวร์ธุรกิจต่างๆ ได้อย่างเต็มที่โดยใช้เงินลงทุนน้อยลง

ทั้งนี้โครงสร้างทางเทคโนโลยีของ Cloud Computing ที่เป็น “ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ” เป็นวิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบ Cloud Computing จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ระบบจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้อง การผู้ใช้ โดยระบบสามารถเพิ่มและลดจำนวนทรัพยากร รวมถึงเสนอบริการให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลาโดยที่ผู้ใช้ ไม่จำเป็นต้องทราบเลยว่าการทำงานหรือเหตุการณ์เบื้องหลังเป็นเช่นไร

องค์ประกอบของการใช้บริการจาก Cloud Computing นั้น ผู้ใช้มีเพียงอินเทอร์เน็ตก็สามารถใช้บริการต่างๆ ได้แล้ว ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการแอพพลิเคชั่นธุรกิจสำหรับกิจการตั้งแต่ขนาด เล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ รูปแบบบริการจะถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานแบบแยกชิ้น คือผู้ใช้สามารถเลือกใช้ประเภทบริการและจำนวนแอพพลิเคชั่นตามความต้องการใช้ งานจริง โดยเสียจ่ายใช้จ่ายตามปริมาณการใช้งานและจ่ายเป็นรายเดือนหรือรายปีก็ได้

Cloud Computing ทางเลือกสำหรับ SME ใช้ไอทีเสริมแกร่ง

ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจคอมพิวเตอร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า แนวโน้มทางธุรกิจกับการเติบโตของ Cloud Computing นั้น เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน จากผลการวิจัยล่าสุด ไอบีเอ็มคาดว่า Cloud Computing จะถูกใช้งานเพิ่มมากขึ้นและมีบทบาทอย่างมากในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า ด้วยเทคโนโลยีนี้ทรัพยากรทางด้านไอทีจะถูกผนวกรวมศูนย์เข้าด้วยกัน เพื่อช่วยองค์กรประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และช่วยให้องค์กรเพิ่มหรือลดขนาดของระบบไอทีได้ตามต้องการ

ทั้งนี้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Cloud Computing คือให้พลังการประมวลผลสมรรถนะสูงกว่าแต่เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า เพราะ Cloud Computing ช่วยลดความยุ่งยากซับซ้อนให้กับระบบไอทีทั้งหมด เนื่องจากองค์กรอาจใช้บริการจาก Cloud Computing ที่ถูกโฮสต์ไว้ภายนอกและซื้อใช้ในรูปแบบของบริการแทนที่จะต้องลงทุนซื้อ ซอฟท์แวร์มาใช้เอง ซึ่งวิธีการดังกล่าวถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจ SME ที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายและมีพนักงานฝ่ายเทคนิคอยู่อย่างจำกัด

Google Apps: บริการยอดฮิตบน Cloud Computing

สำหรับธุรกิจ SME นั้น ปัจจุบันมีแอพพลิเคชั่นธุรกิจที่ให้บริการเป็นภาษาไทยบน Cloud Computing แล้วหลายบริการจากผู้ให้บริการหลายรายไม่ว่าจะเป็น Google Apps จาก Google Inc. โดยความร่วมมือกับ Saleforce.com และล่าสุดบริการ Software Plus Service จากไมโครซอฟท์เตรียมเปิดบริการสำหรับลูกค้าในประเทศไทยในเร็วๆ นี้ด้วยเช่นกัน

Google Apps คือ ตัวอย่างของ Web 2.0 ที่เป็นจุดพลิกผลันให้เกิด Cloud Computing ที่รวมแอพพลิเคชั่นต่างๆ ผ่านจุดเดียว รวมไปถึงบริการที่มีอยู่มากมาย ตั้งแต่ Search Engine, G-mail, Picasa, Google Video, Google Doc, Google Calendar, YouTube, Google Maps, Google Reader และ Blogger เป็นต้น

บริการ Google Apps คือชุดผลิตภัณฑ์ที่ติดตั้งบนเว็บ เพื่อการสื่อสารและช่วยในการทำงานร่วมกันที่พร้อมรองรับภาษาไทย โดยเป็นชุดแอพลิเคชันที่ติดตั้งบนเว็บ เช่น Google Talk อีเมล์ (G-mail) ภายใต้ชื่อโดเมนของผู้ใช้งานเอง เช่น yourname@yourdomain.com This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it ปฎิทิน (Google Calendar) และเอกสาร (Google Documents) เพื่อช่วยองค์กรต่างๆ ที่ต้องการชุดเครื่องมือด้านการสื่อสารคุณภาพสูงสำหรับให้บริการแก่ผู้ใช้ โดยไม่ต้องซื้อ ติดตั้ง หรือคอยบำรุงรักษาด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ให้ยุ่งยาก ผู้ใช้สามารถจัดการข้อมูลของตนได้เองทั้งหมดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต บริการต่างๆ จะถูกโฮสต์ไว้ที่ Google โดยผู้ใช้ที่ได้รับการตั้งค่าจากผู้ดูแลระบบ เพียงแค่เข้าไปที่หน้าล็อกอิน (Login) ผ่านคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ ก็เข้าใช้งานระบบได้ทันที อีกทั้งบริการต่างๆ ยังออกแบบมาให้รองรับปริมาณผู้ใช้ และพื้นที่เก็บข้อมูลจำนวนมากได้ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายด้านการบำรุงรักษาระบบได้อย่างมหาศาล

ทั้งนี้ Google Apps มีบริการให้เลือก อาทิ Google Apps Standard Edition บริการฟรีสำหรับธุรกิจ กลุ่มชมรมและองค์กร หรือแม้แต่นำมาประยุกต์ใช้ในครอบครัว โดยนำ Google Apps มาใช้กับโดเมน และ Google Apps Premier Edition ที่คิดค่าบริการ 50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี สำหรับผู้ใช้แต่ละคน โดยตัวระบบได้ออกแบบมาให้มีความสามารถมากขึ้น ทั้งด้านการติดตั้ง การบูรณาการระบบ และการจัดเก็บข้อมูล เหมาะสำหรับธุรกิจทุกประเภท มีบริการช่วยเหลือทางโทรศัพท์ ให้พื้นที่สำหรับจัดเก็บอีเมล์สูงถึง 10 กิกะไบต์ และมี API พร้อมสำหรับเชื่อมต่อ นอกจากนี้ยังมี Google Apps Education Edition: ใช้งานฟรีสำหรับโรงเรียน มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา พร้อมด้วยฟังก์ชั่นต่างๆ ครบถ้วนทั้งด้านการช่วยเหลือ การจัดเก็บข้อมูล และ API สำหรับงานพัฒนาต่อยอด โดยปัจจุบันมีผู้ใช้บริการ Google Apps ในประเทศไทยแล้วนับร้อยราย

ไมโครซอฟท์เตรียมส่งบริการบน Cloud Computing ลงตลาดไทยครึ่งปีหลัง

ทั้งนี้ ลักษณะบริการ Cloud Computing ไม่เพียงจะเป็นคู่แข่งสำคัญต่อไมโครซอฟท์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้ผลิตซอฟต์แวร์รายใหญ่อื่นๆ เช่น ออราเคิล และเอสเอพี ซึ่งมักสร้างรายได้จากการขายไลเซนส์การใช้งานซอฟต์แวร์ที่คิดตามการติดตั้ง ลงบนเครื่องแต่ละครั้ง รวมถึงค่าธรรมเนียมที่ได้จากการดูแล ปรับปรุงระบบให้ในภายหลัง

ดังนั้น ไมโครซอฟท์ จึงได้กระโดดเข้าสู่สมรภูมิของ Cloud Computing ด้วยการเปิดตัว Windows Azure วินโดวส์เวอร์ชั่นใหม่ที่รันบนอินเทอร์เน็ตที่ถูกหมายมั่นปั้นมือให้เป็น Cloud OS โดย Windows Azure สนับสนุนเทคโนโลยีหลักของไมโครซอฟท์เช่น .NET Framework และ Visual Studio 2008 ไมโครซอฟท์ตั้งใจให้ Windows Azure เป็นแพลตฟอร์มหรือรูปแบบมาตรฐานของเทคโนโลยี Cloud Computing เหมือนกับที่วินโดวส์โมบายล์ (Windows Mobile) เป็นแพลตฟอร์มของโปรแกรมบนโทรศัพท์มือถือ

ดร.ประสบโชค ประมงกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ไมโครซอฟท์ได้เตรียมความพร้อมการให้บริการ Cloud Computing ทั่วโลก ล่าสุดดาต้าเซ็นเตอร์ได้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว 5 ศูนย์ ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา โดยศูนย์ทั้งหมดสามารถให้บริการผู้ใช้ได้ทั่วโลก สำหรับตลาดเมืองไทยนั้นมีแนวโน้มว่าจะมีบริการบน Cloud Computing ให้บริการประมาณครึ่งหลังของปี 2552 อย่างแน่นอน โดยกลุ่มเป้าหมายคือธุรกิจทุกขนาด ซึ่งการให้บริการแอพพลิเคชั่นบน Cloud Computing นับเป็นกลยุทธ์ล่าสุดของไมโครซอฟท์ที่เปลี่ยนนิยามตัวเองจากบริษัทซอฟต์แวร์ (Software Company) เป็นบริการซอฟต์แวร์และบริการ (Software Plus Service Company)

ตัวอย่างบริการแอ พพลิเคชั่นบน Cloud Computing ของไมโครซอฟท์ ได้แก่ ชุดซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ ทั้ง Microsoft Word และ Excel รวมถึง Exchange และ Share Point ในรูปแบบออนไลน์ โดยผู้ใช้สามารถใช้งานผ่านเว็บเบราเซอร์ โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมบนเครื่องพีซี ซึ่งไมโครซอฟท์คาดหวังที่จะให้บริการโปรแกรมออฟฟิศออนไลน์ชนิดเต็มรูปแบบ ตั้งแต่โปรแกรมที่ทันสมัยมากที่สุดจนถึงเวอร์ชั่นธรรมดาในหลากหลายทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นแบบพ่วงโฆษณาไปกับตัวโปรแกรม ระบบสมาชิก และแบบมีค่าไลเซ่นส์

Cloud Computing: ความท้าทายครั้งใหม่ของซอฟต์แวร์เฮ้าส์ไทย

สมเกียรติ อึงอารี นายกสมาคมผู้ประกอบการซอฟต์แวร์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า Cloud Computing อาจดูเป็นเหมือนปัจจัยลบต่อผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจซอฟต์แวร์จากการขายสินค้าเป็นไลเซ่นส์มาสู่การขาย บริการ ซึ่งในระยะแรก Cloud Computing ถือเป็น Killer ที่จะมาทำลายระบบการขายแบบเดิมแต่ในระยะยาวจะให้ประโยชน์ต่อผู้ประกอบการซอ ฟตแวร์ไทย เพราะ Cloud Computing เหมาะสำหรับแอพพลิเคชั่นพื้นฐานที่มีผู้ใช้จำนวนมาก อาทิ Excel และ Office แต่ไม่เหมาะกับแอพพลิเคชั่นที่เป็นระบบหลักอย่าง Core Banking ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยจึงต้องปรับตัวและเร่งพัฒนาตัวเองไปสู่การพัฒนา ซอฟต์แวร์โดยคำนึงถึงลูกค้าเป็นศูนย์กลางแทนความคิดแบบเดิมๆ ที่คิดถึงสินค้าเป็นหลัก

นอกจากนี้ในระยะยาว Cloud Computing จะมีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยในเรื่องของต้นทุนเพราะไม่ต้องลง ทุนสร้างเครือข่ายในการขาย และสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ได้เป็นโมดุลๆ ขายได้ทันที แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงให้มากคือบริการหลังการขาย เพราะเมื่อมีผู้ใช้บริการหันมาซื้อซอฟต์แวร์ผ่าน Cloud Computing มากขึ้น จึงต้องมั่นใจว่าสามารถให้บริการหลังการขายได้อย่างดี ในด้านผู้ใช้บริการก็จะได้ประโยชน์เพราะ Cloud Computing จะช่วยลดภาระค่าไลเซ่นส์มาสู่การจ่ายตามการใช้งานจริง

“Cloud Computing มีทั้งความเสี่ยงและโอกาส ถือเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยที่ต้องเรียนรู้เพื่อที่สร้าง เงินจากเทคโนโลยีใหม่นี้ให้ได้”

(บทความช้นนี้เคยถูกตีพิมพ์ในนิตยสาร SME Thailand)

View :3225
Categories: Internet Tags: ,

“Social Web/Viral Marketing” อาวุธธุรกิจในยุค Social Network (3)

March 18th, 2010 No comments

Social Media: ความท้าทายครั้ง (ใหม่) ใหญ่ของนักการตลาด….

ปัจจุบันสื่อใหม่อย่าง Social Media กำลังได้รับความสนใจจากแวดวงธุรกิจเพิ่มมากขึ้น โดยเริ่มจากความสนใจในกลุ่มนักการตลาดกลุ่มเล็กๆ ของไทยจากนั้นในเวลาเพียงไม่กี่เดือนความสนใจได้ถูกส่งต่อและแพร่กระจายไปในแวดวงธุรกิจอย่างรวดเร็วราวกับ ไฟไหม้ลามทุ่งหรือรวดเร็วราวกับ ไวรัส (Viral Awareness) ซึ่งแนวโน้มและความแรงของ Social Media นั้นคาดว่าจะมีเพิ่มมากขึ้นไม่เฉพาะในกลุ่มธุรกิจที่เป็น Long Tail Business ที่ถูกคาดหมายว่าน่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักแรกของการตลาดบน Social Media แต่ยังรวมถึงการขยับเข้ามาอย่างรวดเร็วของบรรดาธุรกิจขนาดใหญ่ที่แม้ว่าจะมีทุนมหาศาลในการทำการตลาด แต่พวกเขากลับตระหนักดีถึงกระแสของ Social Media จนต้องรีบเข้ามาจับจองพื้นที่…..


สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กเองนั้นจะต้องเร่งเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสื่อใหม่อย่าง Social Media นี้ให้เร็วเพื่อที่จะได้เร่งเข้ามาใช้ประโยชน์จากสื่อใหม่นี้ได้มากที่สุดในช่วงที่ทุกคนต่างก็กำลังเรียนรู้เพราะใครช่วงชิงพื้นที่การใช้งานอย่างเข้าใจก่อนย่อมได้เปรียบ และการมาของกระแส Social Media นั่นกล่าวได้ว่าเป็นความท้าทายครั้งใหม่ของนักการตลาดและเซียนการตลาดทั้งหลาย เพราะตอนนี้ Social Media กำลังแสดงบทบาทให้เห็นแล้วว่าไม่ได้เป็นเพียง “แฟชั่น” ที่มาแล้วเดี๋ยวก็ไป แต่ Social Media นั้นกำลังพลิกบทบาทเป็นแนวโน้มใหม่ของรูปแบบการทำการตลาดในอนาคตอย่างสิ้นเชิง

ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย กูรูด้านการตลาด และอาจารย์ประจำวิชาการจัดการกลยุทธ์ทางการตลาดและการจัดการยี่ห้อสินค้าให้เป็นที่รู้จัก บัณฑิตวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี เผยมุมมองว่า Social Media นั้นทำหน้าที่เป็น ‘P’ ตัวที่ 4 ของตำราการตลาด นั่นคือ บทบาทของ Promotion ที่มีความสำคัญมากต่อธุรกิจ เพราะ Social Media นั้นมีบทบาทเป็นช่องทางการสื่อสารทางการตลาด (marketing Communication) ที่ทรงประสิทธิภาพมาก ธันยวัชร์บอกว่าแม้สินค้าจะมี ราคาจะดี และสถานที่ขายจะดี แต่หากขาดซึ่งสื่อสารโปรโมทสินค้าที่ดีแล้วย่อมไม่นำมาซึ่งความสำเร็จฉันท์ใด ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการโลกการตลาดยุคเดิมนั้นย่อมไม่ได้รับการรับประกันว่าจะประสบความสำเร็จในการทำการตลาดในโลกยุคใหม่ โลกยุคที่สื่อสารการตลาดอิงแอบอยู่กับสื่อดิจิตอลมากขึ้น ดังนั้นนักการตลาดเองจำเป็นต้องปรับตัวให้เร็วเพื่อเข้ามาช่วงชิงความได้เปรียบของการเป็น First Mover ในสนามการตลาดดิจิตอลในโลกของ Social Media ที่ผลกระทบของมันนั้นมากมายเป็นทวีคูณ (Viral Effect)

เขากล่าวต่อว่าบทบาทของ Social Media ในเชิงการตลาดออนไลน์นั้นเริ่มเข้ามาในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเมื่อตั้งแต่เมื่อครั้ง Social Media ตัวแรกๆ อย่าง Hi5 เข้ามาและสร้างกระแสในสังคมไทยได้สักพักหนึ่งก่อนจะถูกเบียดตกเวทีไปโดย 2 หัวหอก Social Media อย่าง Facebook และ Twitter และเหตุที่สื่อออนไลน์อย่าง Facebook และ Twitter นั้นเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตคนในยุคปัจจุบันโดยเฉพาะบทบาทต่อภาคธุรกิจนั้นเป็นเพราะปัจจัยแวดล้อมเชิงบวก อันได้แก่ ความสามารถในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้นของสังคมไทย บริการอินเทอร์เน็ตบอร์ดแบนด์ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ส่วนมากจะใช้เวลาบนโลกอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น และเลือกที่จะเสพสื่อออนไลน์แทนสื่อดั้งเดิม ทำให้บทบาทของ Social Media ในช่วงนี้ถึงมาแรงและเป็นกระแสหลักของการตลาดออนไลน์ในปัจจุบัน

“การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ความนิยมใน Social Media ทำให้รูปแบบการสื่อสารทางการตลาดกลายเป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง (2-way communication) และผู้บริโภคในปัจจุบันกลายเป็น Pro-sumer (Producer + Consumer) คือ เป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคข่าวสารในเวลาเดียวกัน ซึ่ง Social Media ที่มาแรงสุดในปัจจุบันอย่าง Facebook และ Twitter นั้นกำลังเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารการตลาดในโลกยุคเว็บ 2.0 ใหม่หมดอย่างสิ้นเชิง ซึ่งหากนักการตลาดที่ต้องการอยู่รอดในโลกยุคเว็บ 2.0 และ 3.0 ในอนาคตนี้ไม่ตระหนักรู้ถึงความสำคัญแล้วมีโอกาสที่จะตกกระแสไปเลย”

นอกจากนี้ ธันยวัชร์ ยังบอกอีกว่า ยุคนี้นั้นผู้บริโภคเป็นใหญ่เป็นผู้กำหนดเกมทางการตลาดซึ่งนักการตลาดจะต้องเตรียมรับมือโดยใช้ความยืดหยุ่นทางการตลาดมาจับ Social Media และสื่อที่จะเกิดขึ้นใหม่ในอนาคตซึ่งจะไม่มี Barrier of Entry ดังนั้นหากใครเข้ามาในสนามนี้ช้ากว่าอาจต้องเสียเปรียบหลายขุม

“รูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบนี้นั้นสร้างความได้เปรียบให้ผู้ประกอบการรายกลางและเล็กที่เป็น Long Tail Business เพราะเป็นการสื่อสารการตลาดที่ต้นทุนต่ำ และยังใหม่มาก ฉะนั้น ความได้เปรียบในเรื่องของความสามารถในการเข้าถึงและใช้งานนั้นแทบจะไม่มี จะมีก็เพียงแต่ความได้เปรียบในแง่ที่ว่าใครเข้ามาเรียนรู้และใช้งานได้เป็นประเกิดประโยชน์ต่อธุรกิจของตนก่อนกัน ช่วงนี้เหมาะสมที่สุดที่นักการตลาดจะต้องเข้ามามีบทบาทในสนามนี้ เพราะต่อไปเมื่อคนเข้ามากันมากๆ แล้ว มันจะกลายเป็นของธรรมดาที่ใครๆ ก็ใช้ ซึ่งจะไม่คงเหลือความได้เปรียบให้กับเอสเอ็มอีอีกต่อไป ดังนั้นก้าวต่อไปคือการต่อยอดการทำการตลาดบนสื่อใหม่อย่างเข้มข้น ซึ่งถึงตอนนี้นักการตลาดก็ย่อมหนีไม่พ้นตำราการตลาดแต่ดัดแปลงมาใช้บนโลกออนไลน์แบบใหม่”

ธันยวัชร์ กล่าวทิ้งท้ายว่า Social Media นั้นใช้เวลาไม่นานที่จะเรียนรู้ให้ใช้งานเป็น แต่ใช้เวลานานกว่าจะเรียนรู้ว่าใช้ Social Media อย่างไรให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจสูงสุด

ในขณะที่ อุไรพร ชลสิริรุ่งสกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ธอมัสไอเดีย จำกัด อินเตอร์แอคทีฟเอเยนซี่ มีความเห็นไปในทางเดียวกันว่า Social Media จะเป็นช่องทางหลักในการสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ของผู้บริโภคหลังจากที่รุกคืบเข้ามาในกระแสวงการสื่อสารการตลาดอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ Facebook, Twitter และ Blog ต่างๆ ซึ่งได้ผลเร็วและโหมแรงปากต่อปาก (Word of Mouth) ในกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี มียอดผู้ใช้งานโดยรวมสูงกว่าคนดูโทรทัศน์ทั่วโลก คอนเทนต์ที่ผู้ใช้แชร์บน Facebook มากกว่า 1 พันล้านคอนเทนต์ในหนึ่งสัปดาห์

อย่างไรก็ตาม อุไรพรกล่าวเสริมว่า สิ่งที่ต้องระวัง คือ สื่อนี้ยากต่อการควบคุม และแนวโน้มในปีหน้า จะมีจำนวนของ User Generate Content หรือ UGC มากขึ้น ยิ่งทำให้การวางกลยุทธ์สื่อนี้เข้มข้นและต้องมีระบบการรองรับที่ดีด้วย โดยแบรนด์จะต้องให้ความสำคัญกับการสร้าง Customer Experience และ Customer Engagement กับผู้บริโภคมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคสามารถใช้เวลาเข้าถึงและรับรู้ข้อมูลนานกว่าสื่ออื่น และเนื่องจากเป็นสื่อที่มีผู้บริโภคสามารถโต้ตอบได้โดยตรง ทำให้สามารถรับรู้พฤติกรรมการเข้าถึงข้อมูลได้เป็นอย่างดีโดยไม่จำกัดเวลา

“เราคงจะเห็น Web Video ในรูปแบบ Webisode รวมถึงการออกแบบแคมเปญที่เน้นการรับรู้ของแบรนด์มากขึ้นในปีหน้า ความยาวแคมเปญที่สร้างการรับรู้ในแบรนด์ควรจะสามารถดึงดูด (Engage) ผู้ใช้ไว้ให้ได้อย่างน้อย 3-6 นาที นักการตลาดในอเมริกาถึง 48 เปอร์เซ็นต มีแนวโน้มให้ความสำคัญในส่วนนี้มากขึ้น”

นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบการตลาดอีกรูปแบบหนึ่งที่นักการตลาดควรให้ความสำคัญอย่างมากนั้นคือ Mobile Marketing ด้วยเทคโนโลยี 3G และอินเตอร์เน็ตบอร์ดแบนด์ขยายตัวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนตามอย่างรวดเร็ว และการเข้าถึงได้ง่าย เครื่องไอโฟนและแอพพลิเคชั่นของค่ายมือถือต่างๆ จากสถิติ 40 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้ Mobile Internet ใช้เว็บอย่างน้อย 2 ชั่วโมงต่ออาทิตย์

“จะเห็นว่าในต้นปีหน้าการแข่งขันของตลาดบนสื่อนี้จะทวีความรุนแรงมากกว่าปีนี้แน่นอน รวมทั้งการทำตลาดออนไลน์ผ่านทาง Mobile Internet จะทำให้นักการตลาดหันมาให้ความสำคัญต่อการสร้าง Mobile Internet Site กันมากขึ้น”

อุไรพร กล่าวทิ้งท้ายว่า นักการตลาดต้องปรับตัวให้ทันกระแสเทคโนโลยีอินเตอร์แอคทีฟและ Social Media ซึ่งเป็นความท้าทายและต้องคำนึงถึงข้อจำกัดในการวางกลยุทธ์ออนไลน์ที่เหมาะสมในช่วงเวลาแตกต่างกัน ที่ต้องตอบโจทย์ทางธุรกิจได้ และระบบแอปพลิเคชั่นอินเตอร์แอคทีฟ โซลูชั่นต่างๆ ควรรองรับการนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้งานควบคู่ไปกับการเสริมภาพลักษณ์ขององค์กรได้ด้วย

(บทความนี้ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Smart Industry ฉบับ ธันวาคม 2552- กุมภาพันธ์ 2553)

View :3413

Intel urged Thai Government to launch WiMAX spectrum

March 14th, 2010 No comments

Global information technology conglomerate Intel has once again urged the government to make telecom spectrums available for the creation of WiMax wireless broadband networks in Thailand.

[youtube=http://www.youtube.com/watch?v=Q17GJDo1cLA]

Vice president of Intel’s Sales and Marketing Group and general manager of Intel Asia-Pacific, Navin Shenoy

View :2016
Categories: Internet Tags: , ,

dtac launched iPhone

March 12th, 2010 No comments

Recently, Dtac officially kicked off its iPhone package with the aim to become number one iPhone seller in Thailand in next 12 months and aims to be the market leader in offering mobile Internet data market.

Thana Thienachariya, dtac’s Chief Commercial Officer said that dtac aims to sell at least 100,000 iPhone by this year with the better offers including price/ package, service, and channels, it believe that dtac will become the market leader in selling iphone and in providing mobile Internet data service.

“Currently, around 87,750 iPhone users are on dtac network. And only one day, on March 10, we have already get 3,000 orders for dtac’s iPhone,” said Thana.

iPhone price offered by dtac is Bt19,900 for iPhone 3G/8GB; Bt24,500 for iPhone 3GS/16 GB; and Bt28,500 for iPhone 3GS/32 GB. If users buy iPhone with package they will better price included Bt18,900 for iPhone 3G/8GB; Bt22,900 for iPhone 3GS/16 GB; and Bt26,400 for iPhone 3GS/32 GB.

Dtac offers iPhone with three different packages ranked from S, M, and L. S-package is Bt449 per month that users get 225 minutes of voice call, 200 SMS, 30 MMS, and 100 megabyte of data usage. Users will get free more 3 months after using 9 months. M-package is Bt580 per month offers users 250 minutes of voice call, 300 SMS, 50 MMS, and unlimited data usage. L-package is Bt690 per month offering users 350 minutes of voice call, 400 SMS, 75 MMS, and unlimited data usage. Both M and L packages, users will get free more 6 months after using 18 months.

“We also offer Bt650 for unlimited data usage for overall smart phone users as well,” said Thana.

For service, Thana said dtac prepare 150 iPhone Buddies that are dedicated staff trained to provide assistant for dtac’s iPhone users. It has dtac iPhone Buddies in every channel of 106 channels nationwide including 49 dtac centers, 31 iStudio shops, 5 TG Phone shops, 5 JayMart shops, and 16 direct-sale of iPhone Buddies.

“Due to the majority of iPhone targeted users are people who aspired to have and willing to learn to use applications on iPhone, these groups need assistants to help them in the basic use. dtac’s iPhone Buddy will help them be impress on our services,” said Thana.

The company prepared Bt100 million for marketing budgets dedicatedly for iPhone as well as with the Bt6 billion of network capacity expansion this year. Currently, dtac has 10,000 based-stations nationwide and all of them have EGDE capability.

More use of iPhone will force the company to increase its EDGE network capacity, so the company plans to expand its network from now at 2 Gigabit per second to be at least 3 Gbps by the end of this year.

“It depends on demand in data usages, if we found that the demand rapidly increased we can expand our network to 3.5 Gbps easily. We prepare our network capacity at 15 percent and have around 4 months in lead-time for network improvement. So, we confident that our data network will not be congressed,” said Thana.

Currently, dtac has 27 per cent of mobile data market. It aims to become market share leader with at least 30 per cent by this year.

View :3409
Categories: Mobile Phone Tags: ,

“แสนสิริ”….เรียนรู้ก่อนจึงเข้าใจใน…. Social Media

March 7th, 2010 No comments

หากเอ่ยถึงคำว่า “Social Media” เชื่อแน่ว่าหลายคนต้องนึกถึง Facebook และ Twitter เพราะเป็นสองอันดับเว็บด้าน Social Media ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดอยู่ในขณะนี้ ปัจจุบันมีธุรกิจจำนวนมากเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับ Facebook และ Twitter ในฐานะสื่อใหม่ที่เป็นเครื่องมือทางการตลาดที่น่าจับตามมองมากที่สุด แม้แต่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่อย่าง “แสนสิริ”ได้กระโดดลงมาในสนาม Social Media อย่างเต็มตัวเช่นกัน พร้อมประกาศเดินหน้าพัฒนาแผนการใช้สื่อใหม่นี้อย่างเต็มที่…

แต่ทว่าจะมีสักกี่คนที่รู้ว่ากว่าที่ “แสนสิริ” จะตั้งหลักบนสื่อใหม่ได้นั้น “แสนสิริ” เองต้องลองผิดลองถูกอยู่นานหลายเดือนกว่าจะเริ่มเข้าใจในธรรมชาติของสื่อใหม่อย่าง Social Media จน ณ วันนี้ถือว่า “แสนสิริ” เข้าใจและปรับใช้สื่อใหม่ได้อย่างค่อนข้างลงตัว

สมัชชา พรหมศิริ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสายงานกาตลาด บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เล่าให้ฟังว่า แสนสิริเริ่มรู้จักและเริ่มใช้ Social Media มาตั้งแต่ปลายปี 2550 เมื่อตอนที่ Social Media อย่าง Facebook เริ่มเข้ามาเมืองไทย ตอนนั้นเป็นจังหวะเดียวกันกับที่แสนสิริ จะเปิดตัวคอนโดมีเนียมโครงการใหม่ ที่เรียกว่า “Condominium Hype” ซึ่งสมัชชาเห็นว่า น่าจะมีการทำการตลาดแบบแปลกใหม่ จึงได้ลองหยิบ Facebook มาเป็นเครื่องมือสื่อสารทางการตลาดสำหรับโครงการนี้

โดยการบุกสื่อใหม่ในครั้งนั้น สมัชชาได้ทำทุกอย่างตามทฤษฎีสื่อสารการตลาด ไม่ว่าจะเป็นการเลือกสื่อใหม่อย่าง Facebook ซึ่งเป็นสื่อเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของโครงการฯ ที่เป็นคนในวัยทำงาน อยู่ในเมือง มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ และใช้อินเทอร์เน็ตเป็นกิจวัตรประจำวัน ซึ่งสมัชชาคิดว่า การใช้ Facebook เป็นเครื่องมือนั้นจะช่วยสร้างความแตกต่างและสร้างจุดขายให้กับแสนสิริในการทำการตลาด แต่ทว่าความจริงไม่ได้เป็นไปตามความคาดหมายที่ตั้งไว้

เขากล่าวว่า “มันล้มเหลวโดยสิ้นเชิง สิ่งที่เราทำตอนนั้นมันผิด มันไม่ใช่ เพราะว่าเรายังไม่เข้าใจธรรมชาติของมัน เราลองกับมันเหมือนมันเป็นสื่อๆ หนึ่งที่เราเคยมีเคยใช้ เราก็ไปเปิดหน้า Fan Page ชื่อ Condominium Hype แล้วเราก็ใส่แต่ข้อมูลข่าวสารและรายละเอียดของโครงการและโปรโมชั่นของโครงการ ปรากฏไม่มีคนใน Facebook ให้ความสนใจกับโครงการนี้อย่างที่เราคาดหวังให้มันเป็น ตอนนั้นมีคนมาเป็น Fan เราอยู่แค่ 30 คนเท่านั้นเอง ซึ่งครั้งนั้นถือเป็นการลองที่ผิด ตอนนั้นเรายังไม่รู้ว่าคนที่อยู่ Facebook ที่เขามาติดตามเราเขาอยากจะฟัง (ข้อมูลข่าวสาร) อะไร”

จากความล้มเหลวในครั้งนั้นทำให้สมัชชาและทีมงานต้องกลับมาตั้งหลักและทบทวนบทเรียนกันใหม่ และเริ่มลงมือศึกษาและลองใช้เวลาเล่น Facebook อย่างจริงจัง จนพบว่า เสน่ห์ของ Social Media อย่าง Facebook นั้นอยู่ตรงที่ความเป็นพื้นที่เปิดสำหรับคนที่ต้องการแบ่งปันประสบการณ์และข้อมูลที่ต่างคนต่างสนใจตรงกัน และลักษณะของการสื่อสารของธุรกิจใน Social Media นั้นจะต้องไม่เป็นการ Hard Sale เพราะคนในสังคม (ออนไลน์) ตรงนี้จะต่อต้านและไม่ให้ความสนใจทันที ในทางตรงกันข้าม สมัชชากล่าวเสริมว่า รูปแบบการสื่อสารบนโลกของ Social Media นั้นจะต้องอิงอยู่บนรูปแบบของความสัมพันธ์ฉันท์ “เพื่อน” มากกว่าในฐานะ “ผู้ขายกับผู้ซื้อ” และข้อมูลที่จะได้รับการต้อนรับจากสังคมตรงนี้จะต้องเป็นข้อมูลที่ทำให้เขาสามารถมีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งได้

ดังนั้น สมัชชาจึงเริ่มเดินหน้าใหม่อีกครั้งด้วยการใช้ Facebook เป็นเครื่องมือในการสื่อสารสำหรับกิจกรรมลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งทางบริษัทมีการจัดกิจกรรมลักษณะนี้บ่อยบนโลกออฟไลน์ สมัชชาเริ่มเดินหน้ากลยุทธ์ Facebook โดยการเปิดหน้า Fan Page ของแสนสิริขึ้นใหม่อีกครั้ง จากนั้นแทนที่จะนำเสนอโปรโมชั่นของโครงการ สมัชชาเลือกที่จะนำภาพถ่ายของกิจกรรมลูกค้าสัมพันธ์ที่แสนสิริจัดกิจกรรมขึ้นเป็นประจำเพื่อเชื่อมสัมพันธ์ลูกบ้านลงในหน้า Fan Page และเกือบจะในทันทีก็ได้รับการตอบสนองจากมวลหมู่สมาชิกบน Facebook ทั้งที่เป็นลูกบ้านและไม่ได้เป็นลูกบ้านของแสนสิริที่เข้ามา tag รูปของตนเองและเพื่อนของตนเองที่เขารู้จัก จากนั้นก็ทำการส่งต่อให้เพื่อนในเครือข่ายของตนได้ดู และหน้า Fan Page ของแสนสิริบน Facebook ก็ถูกแพร่กระจายผ่านการส่งต่อเป็นทอดๆ และในที่สุดพื้นที่บนหน้า Fan Page ของแสนสิริก็กลายเป็นพื้นที่กลางของ “ลูกบ้าน” ที่สามารถเข้ามาติดตามข่าวสารของเพื่อนบ้านร่วมโครงการได้อย่างง่ายดาย

นอกจากนี้ตัวลูกบ้านเองก็สามารถใช้พื้นที่ตรงนี้แชร์ข้อมูลของตนให้เพื่อนร่วมโครงการฯ ได้ ซึ่งการที่พื้นที่ตรงนี้ถูกเปิดเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับลูกบ้านของแสนสิริ ทำให้แสนสิริเองสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับลูกบ้านและเพื่อนของลูกบ้านที่วันนี้อาจจะยังไม่ได้เป็นลูกบ้านของแสนสิริได้อย่างแนบเนียนมากขึ้น

“เรามอง Facebook เหมือนสะพานที่ทอดไปให้กับคนที่เขายังไม่รู้จักโครงการหรือสินค้าของเราซึ่งอาจจะเป็นเพื่อนของเพื่อน ที่เข้ามาดูรูปเพื่อนหรือไปชวนเพื่อนมาดู เขาก็จะได้รับรู้ว่าแสนสิริมีอะไรให้ลูกบ้าน เขาเริ่มรับรู้ว่าเราทำอะไร ซึ่งในรูปก็มีภาพโครงการของเรา เขาอาจจะเกิดสนใจโครงการของเรา เขาก็สามารถเข้ามาดูรายละเอียดของโครงการต่างๆ ของเราได้ที่เว็บไซต์หลัก sansiri.com”

สมัชชา กล่าวว่า เขาได้วางบทบาทของแสนสิริบน Facebook ไว้ในฐานะ “เพื่อน” ของลูกบ้าน ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เสริมในการเป็นสะพานที่จะทอดพาเหล่าลูกบ้านและเพื่อนของลูกบ้านเข้ามาที่ “บ้านของแสนสิริ” ที่มีข้อมูลทุกอย่างของแสนสิริไว้ให้บริการ โดยเฉพาะข้อมูลการตลาดที่จะรวบรวมทุกโครงการ ทุกโปรโมชั่น โดยที่ลูกบ้านที่เดินข้ามเข้ามาสู่เว็บไซต์หลักของแสนสิรินั้นจะมีแรงต้านในการรับข้อมูลเชิงการตลาดน้อยลง

หลังจากที่เริ่มประสบความสำเร็จกับ Facebook แล้ว สมัชชาเริ่มมีความมั่นใจมากขึ้นในการทำการตลาดบนโลก Social Media จาก Facebook สมัชชาจึงเดินหน้าต่อไปยัง Twitter โดยเปิดแอคเคาน์ของแสนสิริ (twitter.com/sansiri) จากนั้นก็สื่อสารกับคนใน Twitter ผ่านบทสนทนาที่เป็นกันเอง โดยข้อความที่สื่อสารนั้นโดยมากจะเป็นการพูดคุยฉันท์เพื่อน แต่ก็แฝงด้วยข้อความทางการตลาดบ้างเล็กน้อย

“บทบาท Facebook ทำหน้าที่เชิงลูกค้าสัมพันธ์ ในขณะที่ Twitter ทำหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ว่าตอนนี้แสนสิริเรามีข่าวสาร กิจกรรม หรือโปรโมชั่นอะไรบ้าง เราก็บอกเขาในฐานะ เพื่อนมาบอกเพื่อน เวลาสนทนาผ่านตัวอักษร 140 ตัวอักษรเราก็ใส่คำ “ค่ะ” ลงไปตอนท้ายเพื่อให้รู้สึกว่าเราเป็นเพื่อนกันนะ แม้ว่าจะเป็นข้อความโปรโมชั่น แต่เราก็พูดให้ดูไม่เป็นการขายตรงๆ” สมัชชากล่าวและว่า

“ข้อดีอีกอย่างของ Facebook และ Twitter นั้นคือ ลูกบ้าน ลูกค้า หรือเพื่อนๆ ของลูกค้าเหล่านั้นเขาสมัครใจที่รับข้อความของเรา เพราะเขามีสิทธิที่จะเลือกว่าจะ “รับ” หรือ “ไม่รับ” ข้อความประชาสัมพันธ์ของบริษัทโดยไม่มีการยัดเหยียด ถ้าเมื่อใดที่เขาเห็นว่าเขาไม่ชอบเราแล้ว เราก็เลือก ‘Unfollow’ เราไป”

ทั้งนี้ แสนสิริได้ให้ความสำคัญกับ Facebook และ Twitter โดยการมอบหมายให้พนักงาน 2 คนดูแลรับผิดชอบการสื่อสารผ่าน 2 เว็บไซต์นี้อย่างจริงจังและเต็มตัว โดยผู้บริหารของบริษัทได้อำนวยความสะดวกให้ในเรื่องของการติดต่อประสานงานภายในองค์กร หากเกิดกรณีร้องเรียนหรือแจ้งซ่อมหรือแจ้งขอรับบริการผ่านมาทาง Facebook และ Twitter  ซึ่ง ณ วันนี้ แสนสิริ ได้กระชับสัมพันธ์อันดีกับประชาคมบนโลกออนไลน์ได้อย่างราบรื่น

แผนต่อไปของแสนสิริ สมัชชากล่าวว่า แสนสิริจะขยายรูปแบบการตลาดเชิง Social Media ไปสู่เว็บไซต์ Youtube.com โดยจะสร้างวีดีโอคลิปแนะนำโครงการ และสังคมรอบๆ โครงการ ในสถานที่ต่างๆ ของแสนสิริ เพื่อให้ลูกบ้านและลูกค้าในอนาคตได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมของแสนสิริบนโลกออนไลน์ได้

ซึ่งสมัชชาเชื่อว่า จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนบนโลกออนไลน์ทั้งที่เป็นและยังไม่เป็นลูกบ้านของแสนสิริ และความสัมพันธ์ที่ดีนี้อาจจะเกื้อหนุนการตลาดในทางอ้อมได้แม้แสนสิริจะไม่ได้หวังไว้ก็ตาม….

(บทความนี้ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Smart Industry ฉบับ ธันวาคม 2552- กุมภาพันธ์ 2553)

View :3362