Archive

Archive for the ‘e-commerce’ Category

ช้อปปิ้งบนมือถือ “เกิด” ในตลาดเกิดใหม่ ประเทศไทยนำหน้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งช้อปออนไลน์และบนโทรศัพท์มือถือ

May 1st, 2012 No comments

ผลสำรวจเกี่ยวกับการช้อปปิ้งออนไลน์จากมาสเตอร์การ์ด หรือ MasterCard Worldwide Online Shopping Survey เผยช่องว่างเกี่ยวกับการช้อปปิ้งออนไลน์ระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะคนในภูมิภาคนี้ชอบจับจ่ายใช้สอยผ่านทางโทรศัพท์มือถือมากขึ้น

การสำรวจในครั้งนี้ กลายเป็นมาตรฐานในการวัดแนวโน้มของผู้บริโภคเกี่ยวกับการช้อปปิ้งออนไลน์ โดยได้มีการสำรวจทั่วทั้ง 25 ประเทศในระหว่างวันที่ 5 ธันวาคม 2554 ถึง 6 กุมภาพันธ์ 2555 สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 7,373 คน จาก 14 ประเทศ โดยสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการช้อปปิ้งออนไลน์ ทั้งนี้ผลสำรวจและรายงานประกอบต่างๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องใดใดกับผลประกอบการทางการเงินของมาสเตอร์การ์ดทั้งสิ้น

ในแง่ของการใช้จ่ายและวางแผนจะใช้จ่ายออนไลน์นั้น ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่า ในเรื่องของการช้อปปิ้งออนไลน์ระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับตลาดเกิดใหม่ในเอเชียแปซิฟิคมีช่องว่างแคบลงเรื่อยๆ โดยประเทศที่นำหน้าพุ่งแรงแซงประเทศอื่นคือประเทศไทย ทั้งในแง่ของการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ (80%) และแนวโน้มในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ในอีก 6 เดือนข้างหน้า (93%) เคียงคู่มากับประเทศจีน โดยเกาหลี (84%) และมาเลเซีย (79%) ที่มีแนวโน้มในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ในอีก 6 เดือนข้างหน้าสูงเช่นกัน ส่วนเวียดนามนั้น แม้มีจำนวนผู้วางแผนจะจับจ่ายออนไลน์ที่สูงถึง (87%) แต่เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับการออนไลน์ช้อปปิ้งนั้นมีเพียงแค่ 61%

โดยภาพรวม ประเทศที่มีการเจริญเติบโตอย่างเห็นได้ชัดในเรื่องของออนไลน์ช้อปปิ้ง ได้แก่ ประเทศไทย เพิ่มขึ้น 13% ออสเตรเลีย (+10%) อินโดนีเซีย (+15%) นิวซีแลนด์ (+9%) และฟิลิปปินส์ (+15%) ส่วนประเทศที่เกิดการถดถอยของออนไลน์ช้อปปิ้งคืออินเดีย (-14%) สิงคโปร์ (-10%) และเกาหลี (-17%) ที่แม้เกาหลีจะมีแผนการใช้จ่ายออนไลน์ภายใน 6 เดือนนี้ สูงถึง 84% ก็ตาม

สำหรับการเจริญเติบโตของออนไลน์ช้อปปิ้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดัชนีที่ได้จากประเทศเวียดนาม ซึ่งเพิ่งมีการสำรวจในปีนี้ พุ่งแรงไม่แพ้มาเลเซียและอินโดนีเซียเลยทีเดียว

การเจริญเติบโตของการช้อปปิ้งบนมือถือ

แม้ว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (71%) กล่าวว่าพวกเขาค่อนข้างนิยมใช้โน้ตบุ้คในการช้อปปิ้งออนไลน์ แต่การใช้อุปกรณ์อย่างโทรศัพท์มือถือสำหรับขาช้อปชาวเอเชียก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากในตลาดเกิดใหม่ โดยผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทย 59% เลือกใช้โทรศัพท์มือถือสำหรับสั่งสินค้าออนไลน์ ตามด้วย จีน (37%) เวียดนาม (32%) และอินเดีย (32%)

เหตุผลในการเลือกใช้โทรศัพท์มือถือสำหรับการซื้อสินค้าออนไลน์นั้น ส่วนใหญ่เป็นเพราะความสะดวกสบาย (57%) และได้มีการอ้างอิงว่าเป็นเพราะปัจจุบันมีแอพลิเคชั่นที่รองรับออนไลน์ช้อปปิ้งเพิ่มมากขึ้น (46%) โดยสองอันดับสูงสุดในการใช้จ่ายผ่านทางโทรศัพท์มือถือคือ การซื้อเพลง (24%) และแอพลิเคชั่น (31%) ตามด้วยการซื้อคูปองส่วนลดจากเว็บไซต์ (17%) เสื้อผ้าและเครื่องประดับ (17%) และบัตรชมภาพยนตร์ (16%)

“ผลการสำรวจนี้แสดงให้เห็นว่าประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่หลายคนมองว่าเป็นตลาดเกิดใหม่นั้น กำลังเป็นตลาดที่ก้าวขึ้นมาท้าทายหรือในบางกรณีก็แซงหน้าตลาดที่เติบโตแล้วในแง่การช้อปปิ้งออนไลน์” นายฟิลลิป เยน หัวหน้าฝ่ายระบบชำระเงิน Emerging Payments ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง และแอฟริกา มาสเตอร์การ์ด เวิลด์วายด์ กล่าว

“นอกเหนือไปกว่านั้น สมาร์ทโฟนกลายเป็นอุปกรณ์นักช้อปในภูมิภาคของเราให้ความไว้วางใจ และมาสเตอร์การ์ดก็ได้มีการพัฒนานวัตกรรมในระบบชำระเงินอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความสะดวกสบาย และความมั่นใจในความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคที่ใช้จ่ายออนไลน์”

จากโครงการความร่วมมือ “โมบาย มันนี่” หรือ “MasterCard Mobile Money Partnership Program” มาสเตอร์การ์ดได้ร่วมงานกับพันธมิตรผู้ให้บริการแพลตฟอร์มชั้นนำของโลกอย่าง Comviva, Sybase 365 และ Utiba เพื่อให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าและบริการผ่านทางโทรศัพท์มือถือได้ตามร้านค้าธรรมดาและร้านค้าออนไลน์ทั่วโลก รวมทั้งสามารถโอนเงินและชำระค่าใช้จ่ายผ่านทางมือถือได้ด้วย

View :3575

Sanook’s E-Commerce launched Dealfish.com

February 21st, 2012 No comments

Tiwa York, managing director of Sanook’s E-Commerce talks about the company’s online classified business, www.dealfish.co.th, which is targeted to be number one in the market by the end of this year.

 

View :2398

ธอมัสไอเดียชี้แนวโน้มดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งและอีคอมเมิร์ซปีหน้าระอุ แนะใช้กลยุทธ์ชิงพื้นที่ดิจิตอลแพลตฟอร์มครบวงจรเข้าถึงผู้บริโภค

December 21st, 2011 No comments

ธอมัสไอเดีย อินเตอร์แอคทีฟเอเยนซี่ชั้นนำของไทย ชี้แนวโน้มดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งของไทยปีหน้าเร่งเครื่องเต็มอัตราศึก หลังพิสูจน์ด้วยจำนวนผู้บริโภคที่แอคทีฟบนโลกออนไลน์ของไทยที่โตก้าวกระโดด ความนิยมในโซเชียลเน็ตเวิร์ค รวมทั้งพฤติกรรมการหาข้อมูลและเสพข่าวสารผ่านสื่อดิจิตอลมากขึ้น แม้ในยามวิกฤตยิ่งพบว่าสื่อออนไลน์เป็นช่องทางที่ทรงพลังมากที่สุด แนะผู้ประกอบการและองค์กรต้องระดมใช้กลยุทธ์ดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งให้ครบทุกแพลตฟอร์ม คาดส่วนแบ่ง

งบการตลาดปีหน้าพุ่ง 5-15% ในขณะที่มูลค่าสื่อโฆษณาออนไลน์มีสัดส่วน 2-5% ของมูลค่าสื่อโดยรวม เหตุจากจำนวนผู้บริโภคและปัจจัยสนับสนุนรวมทั้งเทคโนโลยีพร้อมรองรับการใช้งานมากขึ้น

อุไรพร ชลสิริรุ่งสกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ธอมัสไอเดีย จำกัด


อุไรพร ชลสิริรุ่งสกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ธอมัสไอเดีย จำกัด เผยว่าสาเหตุที่ปีหน้า 2012 จะเป็นปีที่การแข่งขันของกลยุทธ์ดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งดุเดือดมากขึ้นว่า “เนื่องจากผู้ประกอบการมีความเข้าใจ และวงการสื่อเองเริ่มมีความพร้อมในการเปิดบริการใหม่ๆ รองรับสื่อออนไลน์สูงขึ้น ในขณะที่ผู้บริโภคก็พร้อมและมีพฤติกรรมคุ้นชินกับการใช้ชีวิตออนไลน์ ทำให้นักการตลาดกล้าตัดสินใจใช้และวางแผนอย่างจริงจังมากขึ้นในปีหน้า หลังจากใช้เวลาปรับตัวและศึกษามานานกว่า 2 ปีแล้ว”

สิ่งที่เป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ง่าย และตอบคำถามของนักการตลาดได้ดีที่สุด คือ ตัวเลขของสมาชิกบนโซเชียลมีเดียทั้งหลาย อาทิ ข้อมูลโซเชียลเน็ตเวิร์คที่คงอันดับ 1 ยังเป็นเฟซบุ๊คอยู่เช่นเดิม ด้วยจำนวนสมาชิกคนไทยบนเฟซบุ๊คที่มี

กว่า 13.3 ล้านคน แบ่งประเภทของผู้ใช้ตามวัย พบว่าช่วงอายุ 18-24 ปี 34% และ 25-34 ปี 29% ส่วนบนทวิตเตอร์มีสมาชิกกว่า 8.5 แสนคน และยูทูบมีผู้เข้าใช้งานต่อวันมากกว่า 5 ล้าน ยิ่งในช่วงที่เกิดวิกฤติน้ำท่วมพบว่าคนส่วนใหญ่หันมาใช้สื่อออนไลน์ในการหาข้อมูลและติดต่อกัน จนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน

“นอกจากจำนวนพื้นที่ในสื่อออนไลน์ต่างๆ จะถูกจับจอง นักการตลาดก็หันมาใช้กลยุทธ์ดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งในแพลตฟอร์มที่หลากหลายมากขึ้นในปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นโซเชียลเน็ตเวิร์คกับบทบาทของ Call Center แคมเปญออนไลน์ต่างๆ การสื่อสารและกิจกรรมโปรโมชั่นบนโลกเสมือนที่ไม่แตกต่างจากโรดโชว์ ทำให้ลูกค้าหรือเป้าหมายรับรู้เรื่องแบรนด์และคุ้นเคยจนนำไปสู่การซื้อขายสินค้าผ่านระบบอีคอมเมิร์ซที่สมบูรณ์แบบ สร้างรายได้มหาศาลในเวลาไม่นาน นี่คือ พลังของดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งที่เกิดขึ้นจริงแล้วในบ้านเรา ทำให้ปี 2012 จะเป็นปีที่นักการตลาดขับเคี่ยวกันบนโลกออนไลน์เข้มข้นกว่าเดิม ด้วยงบประมาณ กลยุทธ์และแผนการตลาดที่สร้างสรรค์อย่างจริงจัง” อุไรพรกล่าว

เพื่อเป็นการแนะนำให้นักการตลาดพร้อมรับศึกการตลาดออนไลน์ที่ทรงอิทธิพลในปีใหม่นี้ อุไรพร ในฐานะดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งกูรูที่คลุกคลีวงการออนไลน์มากกว่า 10 ปี ได้รวบรวมข้อมูลมาสรุปเป็นดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งเทรนด์ของปี 2012 ดังนี้

1) ไล่ให้เจอกลยุทธ์ออนไลน์ที่ “ใช่”

DIGITAL MARKETING STRATEGY – Corporate Wants to Get It Right

กลยุทธ์ดิจิตอลมาร์เก็ตติ้ง – องค์กรต้องคัดสรรกลยุทธ์ที่เหมาะกับตน และทำอย่างไรให้ได้ผลเลิศ

องค์กรเริ่มมีความเข้าใจในการตลาดออนไลน์และโซเชียลมีเดียจากการใช้งานจริงแล้ว แต่นักการตลาดต้องมองหาสูตรสำเร็จที่เหมาะกับสินค้าและบริการของตน อาทิ นโยบายที่กำหนดรูปแบบการสนทนาในเฟซบุ๊ค การสร้างแคมเปญออนไลน์ และข้อปฏิบัติเมื่อเกิดวิกฤตหรือมีข้อความเชิงลบ (Negative Message) เกิดขึ้นในโซเชียลเน็ตเวิร์ค เป็นต้น จนถึงการเชื่อมดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งบนแพลตฟอร์มให้ทำงานได้ครบวงจร เช่น Search, Social Media, e-Mail Marketing, Mobile Marketing ฯลฯ ดังนั้น การกำหนดนโยบายเชิงกลยุทธ์การตลาดออนไลน์นี้ ต้องขยายผลไปยังโซเชียลเน็ตเวิร์ค ให้ลูกค้ากลับมาหาอย่างต่อเนื่อง (Repeat Visit) ในเฟซบุ๊ค หรือเว็บไซต์ แล้วพัฒนาความสัมพันธ์ต่อเนื่องกับลูกค้าสู่การทำการตลาดและการซื้อสินค้าได้จริง

2) ใช้อินติเกรตดิจิตอลแพลตฟอร์มสร้างเครื่องมือทรงพลัง

DIGITAL PLATFORM INTEGRATION – Social Everywhere

การใช้ดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งให้สอดประสานในทุกช่องทางออนไลน์ เชื่อมโซเชียลในทุกพื้นที่สื่อออนไลน์

หลังจากที่องค์กรใช้และติดตามการทำงานของช่องทางออนไลน์ที่หลากหลาย เพื่อการสื่อสารและการทำธุรกิจในทุกช่องทาง หากมีการนำมาอินติเกรตกันได้เป็นอย่างดีแล้ว จะทำให้การทำงานของออนไลน์แพลตฟอร์มทั้งหมดเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายที่ทรงพลังทางการตลาดได้อย่างคาดไม่ถึง ตัวอย่างเช่น การเชื่อมโยงระหว่างเว็บไซต์ อีคอมเมิร์ซ แคมเปญออนไลน์ โซเชียลมีเดีย และ e-CRM เป็นต้น เพราะเทคโนโลยีอินเตอร์แอคทีฟในแต่ละแพลตฟอร์มเป็นเสมือนตัวช่วยให้นักการตลาดวิเคราะห์ ทำการตลาดและขยายผลด้วยกลไกอัตโนมัติได้อย่างเป็นระบบและรวดเร็ว

3) วัดผลความสำเร็จของโซเชียลมีเดียด้วยเป้าหมายธุรกิจที่ตั้งไว้

SOCIAL MEDIA FOR BUSINESS RESULT – More Business Focus, More Measurable

โซเชียลมีเดียเป็นที่ยอมรับ แต่จะดีกว่าไหมถ้าผลลัพธ์เหนือความแรงพิชิตเป้าหมายให้นักการตลาดด้วย

แม้ว่าจำนวนสมาชิกในเฟซบุ๊คหรือโซเชียลมีเดียต่างๆ ขององค์กร สะท้อนถึงความสำเร็จของกลยุทธ์ดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งที่สร้างฐานการสื่อสารได้ในระยะแรก แต่ในปีหน้าที่มีการแข่งขันสูง เป้าหมายที่แท้จริงจึงไม่ใช่ปริมาณอีกต่อไป เพราะนักการตลาดจะหันมาเรียกร้องบทสรุปที่วัดผลทางการตลาดเชิงคุณภาพ และการสร้าง Sales Lead มากขึ้น นอกจากนี้ การเปรียบเทียบข้อมูลทางการตลาด (Benchmark) กับคู่แข่งและธุรกิจใกล้เคียง ยังเป็นข้อมูลที่ซับซ้อน แต่ระบบอินเตอร์แอคทีฟของโซเชียลมีเดียก็มีคุณสมบัติที่เอื้อให้ผู้เชี่ยวชาญใช้วิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูล หาผลลัพธ์จากแคมเปญหรือการประชาสัมพันธ์ได้

4) สร้างแรงดึงดูดให้ผูกพันธ์กับแบรนด์ด้วย Branded Content

BRANDED CONTENT – Better Quality Reach with Engaging Conversations

ปรากฏการณ์กระชับวงล้อมรอบตัวผู้บริโภคด้วย Branded Content ผ่านสื่อออนไลน์มีเดียที่หลากหลาย

คุณลักษณะเด่นของสื่ออินเตอร์แอคทีฟ คือ การถ่ายทอด Branded Content ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างประสบการณ์ผู้บริโภคผ่านเรื่องราว (Story) ในรูปแบบ Web Video, Webisode, Web Movie หรือ การสร้าง Lifestyle App, e-book, หรือ Game ล้วนเป็นสิ่งดึงดูดผู้บริโภคให้เข้าถึงแบรนด์ได้มากขึ้น และง่ายยิ่งขึ้นเมื่อเนื้อหานั้นอยู่ในระยะประชิดตัวตลอดเวลาอย่างมือถือ แทบเล็ต แถมผู้บริโภคยังพร้อมให้เวลาส่วนตัวและยินดีที่จะแนะนำต่อให้เครือข่ายด้วยเทคโนโลยีในการถ่ายทอดแสนสะดวก การได้อินเตอร์แอคกับเนื้อหาของแบรนด์ จะสร้างการจดจำและเข้าใจแบรนด์ได้ดี

5) ซื้อง่ายขายคล่องบนโลกอีคอมเมิร์ซ

E/F/M-COMMERCE – Anytime & Anywhere

ราคาโดนใจ ช้อปง่าย ได้ของไว จุดเปลี่ยนร้านค้าเพื่อผู้บริโภค ผ่านเครื่องมืออีคอมเมิร์ซที่แสนสะดวก

E-commerce, F-Commerce, M-commerce เริ่มเป็นที่คุ้นเคยของผู้บริโภคที่นิยมการช้อปปิ้งออนไลน์ ซึ่งแบรนด์ควรให้ความสำคัญในการสร้างแพลตฟอร์มรองรับความต้องการซื้อของผู้บริโภค หากผู้บริโภคสนใจสินค้าที่กำลังค้นหาออนไลน์ ต้องซื้อได้ทันที เทรนด์นี้เป็นที่น่าสนใจของนักการตลาด เพราะเร่งยอดขายได้และถูกใจผู้บริโภค สินค้าที่อยู่ในลิสต์ยอดนิยม ได้แก่ บันเทิง-เพลง-ภาพยนตร์ หนังสือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และแฟชั่น ส่วนช่องทางที่น่าลงทุนสร้างระบบมากที่สุด คือ M-Commerce ที่ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่ายจากสมาร์ทโฟนและแทบเล็ต

6) เข้าใจดิจิตอลเทคโนโลยีและเลือกช่องทางเพื่อแจ้งเกิดในใจผู้บริโภค

DEVICE + APP + TECHNOLOGY – Consumer Takes Choices; Corporate Takes Chances

อุปกรณ์สื่อสาร แอพพลิเคชั่นและเทคโนโลยี โอกาสที่ท้าทายของนักการตลาด

ตัวแปรที่ผลักดันให้ดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งในประเทศไทยมีความสำคัญ คือ อุปกรณ์มือถือ แอพพลิเคชั่นและเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นทำให้ผู้บริโภคต้องเลือก ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต หรือค่ายมือถือและแอพที่เกี่ยวข้อง ล้วนแต่ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปด้วย เมื่อมีช่องทางและเนื้อหาที่หลากหลายมากขึ้น อย่าลืมว่าในมุมมองของผู้บริโภคการมีตัวเลือกเยอะเป็นสิ่งดี เพราะช่วยเรื่องการแข่งขันด้านกลไกราคาและคุณภาพของสินค้าหรือบริการ แบรนด์อื่นก็เข้ามาชิงพื้นที่ได้ นักการตลาดต้องตัดสินใจในเรื่องเงินลงทุนและช่องทางโฆษณาให้เหมาะสม

7) เร่งยอดขายด้วยโปรโมชั่นออนไลน์ที่สดใหม่ได้ทุกวัน

SHORT-TERM PROMOTION – As Hot as Deal!

แคมเปญออนไลน์กระตุ้นใจนักช้อป ด้วยการลดเฉพาะกิจหรือแจกคูปองออนไลน์ ยิ่งซื้อก็ยิ่งมีโปรโมชั่นตามมาอย่างต่อเนื่อง

ทุกวันนี้ เวลาซื้อของผู้บริโภคไม่ได้เสิร์ชหาข้อมูลหรือถามความเห็นเพียงอย่างเดียว แต่ยังมองหาแคมเปญลดราคาออนไลน์ที่มีทั้งร้านและสินค้าให้เลือกมากมายที่ปลายนิ้ว เพียงแต่นักการตลาดรายใดที่จะสร้างโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดผู้บริโภคได้เร้าใจกว่า ถูกใจกว่า และมีความถี่อย่างต่อเนื่อง ผ่านช่องทาง ทั้งเว็บไซต์ของห้าง และโซเชี่ยลมีเดียแบรนด์เพจ ก็จะพิชิตยอดขายได้มากกว่า ตัวอย่างเช่น Flash Deal หรือ Deal of the Day เป็นสิ่งที่ทุก e-Shop ควรสร้างขึ้นเพื่อดึงดูดให้เกิด Daily Visit จากนักช้อป แม้แต่ e-coupon ที่ยังคงมาแรง ดังนั้น แบรนด์หรือองค์กรต้องพึ่งนักการตลาดที่ตัดสินใจรวดเร็วและมีทักษะบริหารจัดการได้ทั้งระบบปฏิบัติการออนไลน์และออฟไลน์คู่ขนานกัน เพื่อสร้างมาตรฐานของร้านค้าให้เป็นที่จดจำและซื้อซ้ำอีก

“ปัจจุบันข้อจำกัดเรื่องความไม่เข้าใจ ไม่กล้าทดลองการตลาดออนไลน์ลดน้อยลงมาก แต่ปัจจัยที่สำคัญที่นักการตลาดต้องตัดสินใจให้เฉียบขาดก่อนลุยแผนกลยุทธ์ตลาดออนไลน์ คือ นโยบายและวิสัยทัศน์ต่อ Integrated Digital Platform ที่มีทั้งเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย แบนเนอร์ แอพพลิเคชั่น โมบาย หรือ แคมเปญออนไลน์ ฯลฯ ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด การลงทุนกับดิจิตอลมาร์เก็ตติ้ง การพัฒนาศักยภาพของทีมวางแผนและทีมปฏิบัติการ โดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีและการพัฒนาระบบเพื่อรองรับการใช้งานร่วมกับส่วนงานขาย ขนส่ง บริการ ฯลฯ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว” อุไรพรเสริมท้าย

“สำหรับงบประมาณการตลาดที่เกี่ยวข้อง คาดว่าดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งผ่านช่องทางที่หลากหลายกว่าเดิมน่าจะได้รับการพิจารณาจากส่วนแบ่งงบการตลาดสูงถึง 5-15% ในขณะที่มูลค่าสื่อโฆษณาออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ สังเกตจากจำนวนอุปกรณ์ มือถือ พฤติกรรมผู้บริโภค และปัจจัยสนับสนุน เช่น ระบบสัญญาณเครือข่าย แหล่งข้อมูลและปริมาณเนื้อหา รวมทั้งความพร้อมของเจ้าของสื่อที่ลงทุนสร้างช่องทางออนไลน์ให้เข้าถึงคนทุกกลุ่มได้ง่ายขึ้น ในปี 2012 เราน่าจะได้เห็นสัดส่วนสื่อออนไลน์มากกว่า 4-5% ของมูลค่าสื่อโดยรวม” อุไรพรสรุป

สำหรับธอมัสไอเดีย ในปีหน้าจะเน้นการให้บริการดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งที่ครบวงจรทั้งระบบครอบคลุมทุกดิจิตอลแพลตฟอร์ม อาทิ วางกลยุทธ์การตลาดออนไลน์พร้อมดำเนินการพัฒนาและบริหารแคมเปญออนไลน์ การวางกลยุทธ์ดิจิตอลมีเดีย การบริหารและวิเคราะห์โซเชียลมีเดียพร้อมต่อยอดเต็มรูปแบบ การสร้างสรรค์ระบบอีคอมเมิร์ซขนาดใหญ่ และระบบ CRM ดูแลฐานข้อมูลลูกค้า ต่อเชื่อมกับเว็บไซต์ โมบายล์ และแอพพลิเคชั่น รวมไปถึงการเป็นที่ปรึกษาองค์กรขนาดใหญ่เกี่ยวกับกลยุทธ์ดิจิตอลมาร์เก็ตติ้ง

View :3943

ดอยตุง สร้างช่องทางใหม่ เปิดตัว www.doitung.com

August 26th, 2011 No comments

ดอยตุง เปิดตัว e-Commerce จากดอยสูงมุ่งสู่ผู้บริโภคระดับโลก เปิดช่องทางการซื้อขายทางอิเล็กทรอนิคส์ ภายใต้แนวทาง โลกสู่ชุมชน/ชุมชนสู่โลก (Global to Local / Local to Global) เปิดตัวเว็บไซต์ www.doitung.com นำเสนอผลิตภัณฑ์ดอยตุง และเผยแพร่แนวทางการพัฒนาการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน ตรงสู่ผู้บริโภคระดับคุณภาพที่ ให้ความสำคัญกับการบริโภคสินค้าคุณภาพและมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาธิการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้เปิดตัวโครงการ e-Commerce จากดอยสูงมุ่งสู่ผู้บริโภคระดับโลก เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์แบรนด์ดอยตุง ก้าวสู่ตลาดโลก ภายใต้ห่วงโซ่แห่งคุณค่าผลิตภัณฑ์ดอยตุง (DoiTung Value Chain) ที่เน้นการต่อยอดความชำนาญและภูมิปัญญาท้องถิ่น และเน้นการพัฒนาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์งานฝีมือต่างๆ อย่างครบวงจรด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดเอกลักษณ์และคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ

การจัดทำ www.doitung.com เป็นความร่วมมือ ระหว่าง โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ที่ได้พัฒนาช่องทางการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายทั่วโลก โดยเฉพาะผู้ที่สนใจงานที่เกิดขึ้นจากฝีมือของชนเผ่าต่างๆ สามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์แบรนด์ดอยตุง ผ่านระบบออนไลน์ได้

www.doitung.com จะเป็น สะพานเชื่อมสำคัญและทรงประสิทธิภาพ ระหว่าง ห่วงโซ่แห่งคุณค่าดอยตุง กับ ประชาคมโลก ทั้งในฐานะผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ดอยตุงอันทรงคุณค่า และผู้สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้แนวทาง โลกสู่ชุมชน/ชุมชนสู่โลก (Global to Local / Local to Global)

โลกสู่ชุมชน(Global to Local) คือ เทคโนโลยีระดับโลก ถูกใช้เป็นเครื่องมือด้านการตลาดของชุมชนจากดอยสูง ทำให้กลุ่มผู้บริโภคระดับคุณภาพทั่วโลก สามารถเข้าถึงคุณค่าผลิตภัณฑ์ดอยตุงได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านช่องทางกระจายสินค้าแบบดั้งเดิม

ประการสำคัญ กลุ่มเป้าหมายระดับคุณภาพทั่วโลกนี้ ได้รับทราบแนวทางการพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน ของโครงการพัฒนาดอยตุงฯ เกิดเป็นแรงบันดาลใจที่ร่วมสร้างสรรค์แนวทางการพัฒนาที่เอื้อประโยชน์ ต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม

ชุมชนสู่โลก (Local to Global) ผลิตภัณฑ์ จากห่วงโซ่แห่งคุณค่าดอยตุง ได้เข้าถึงผู้บริโภคระดับคุณภาพทั่วโลกที่ให้ความสำคัญกับคุณค่าผลิตภัณฑ์ในเชิงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวก็สามารถรับรู้ความต้องการใหม่ๆของผู้บริโภคโดยผ่านระบบการสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication) เป็นข้อมูลที่นำไปสู่ การพัฒนารูปแบบและคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ อย่างต่อเนื่อง

www.doitung.com นำเสนอผลิตภัณฑ์เด่นๆ จาก 2 ธุรกิจหลักของแบรนด์ดอยตุง คือ ด้านอาหารแปรรูป ได้แก่ กาแฟ แมคคาเดเมียนัทอบ คุกกี้แมคคาเดเมียนัท และ แมคคาเดเมียสเปรด และด้านผลิตภัณฑ์งานมือ ได้แก่ งานเซรามิค ปลอกหมอน กระเป๋า ผ้าพันคอ และผลิตภัณฑ์จากกระดาษสา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้วิถีชีวิตชนเผ่าในโครงการพัฒนาดอยตุงฯ เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด และทำให้พวกเขาได้เป็นผู้เชี่ยวชาญในการปลูกกาแฟแมคคาเดเมีย-พืชผลเมืองหนาว-ฝึกงานหัตถกรรมรูปแบบใหม่ๆอีกหลายประเภท เช่น งานกระดาษสา ตัดเย็บเสื้อผ้า การวาดลวดลายด้วยมือลงบนเครื่องปั้นดินเผา ฯลฯ ส่วนเยาวชนจากเผ่าพันธุ์ต่างๆ ก็ได้เรียนหนังสือในสถาบันการศึกษาชั้นสูงและได้ประกอบอาชีพหลากหลายทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชนและอาชีพส่วนตัว หลายคนได้กลับคืนมายังถิ่นฐาน มาทำงานในโครงการฯ และอยู่ร่วมกับครอบครัว

“ความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ดอยตุงผ่านช่องทาง e-Commerce นี้จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กระบวนการพัฒนาโครงการดอยตุงที่ดำเนินการครบวงจร สัมผัสได้จริง ได้แก่ การพัฒนาขั้นต้นน้ำ(Upstream Development) การพัฒนาขั้นกลางน้ำ(Midstream Development) และการพัฒนาขั้นปลายน้ำ(Downstream Development) จนอาจกล่าวได้ว่าดอยตุงเปรียบเสมือน “มหาวิทยาลัยที่มีชีวิต” ในด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพชีวิต มีรูปแบบและวิธีการแก้ปัญหาและการพัฒนาชุมชนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ครบถ้วนรอบด้านที่สุดทั้งในประเทศและในโลก สามารถให้คนได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้ในสภาพภูมิสังคมต่างๆ และเกิดประโยชน์ขยายวงสู่คนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ” เลขาธิการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ กล่าวเสริมท้าย

View :2535

“ระบบลอจิสติกส์” หัวใจความสำเร็จของ “ออฟฟิศเมท”

December 4th, 2010 No comments

หากคิดถึง “เครื่องใช้สำนักงาน” เชื่อแน่ว่าหลายคนคงจะคิดถึง “ออฟฟิศเมท” ผู้ขายสินค้าเครื่องใช้สำนักงานที่ส่งตรงถึงบริษัท หรือบ้านคุณด้วยสโลแกนการตลาดการันตีคุณภาพว่า “ส่งถึงคุณในวันถัดไป” (สำหรับ 10 จังหวัดรอบกรุงเทพฯ) อย่างแน่นอน

แม้ว่าจะมีสินค้าที่อยู่ในคลังกว่า 20,000 รายการจากซัพพลายเออร์กว่า 400 ราย และต้องจัดส่งให้กับฐานลูกค้าที่มีอยู่ราว 100,000 ราย โดยเป็นลูกค้าองค์กร 80,000 รายและลูกค้าทั่วไป 20,000 ราย แต่ “ออฟฟิศเมท” ก็สามารถจัดส่งสินค้าที่มีความหลายหลายตามใบสั่งซื้อที่เข้ามาเฉลี่ยประมาณวันละ 1,500 ใบสั่งซื้อต่อวัน ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วย และตรงเวลา คุณภาพการบริการเช่นนี้เป็นจุดเด่นที่แม้จะมีผู้ขายสินค้าประเภทเดียวกันแต่ไม่สามารถชิงตำแหน่งเจ้าตลาดการขายเครื่องใช้สำนักงานออนไลน์แบบไม่มีหน้าร้านของ “ออฟฟิศเมท” ไปได้

วรวุฒิ อุ่นใจ กรรมการผู้จัดการ วัยสี่สิบเศษๆ ผู้บุกเบิก “ออฟฟิศเมท” มากับมือจนสามารถนำพาบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อกลางปีที่ผ่านมา กล่าวว่า หัวใจสำคัญของธุรกิจ ขายเครื่องใช้สำนักงานออนไลน์แบบไม่มีหน้าร้านของ “ออฟฟิศเมท” คือการบริหารสินค้าคงคลังและบริหารเส้นทางการจัดส่งสินค้าตามคำสั่งซื้อที่มีเข้ามาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง “เทคโนโลยีสารสนเทศ” (IT: Information Technology) เป็นตัวช่วยที่สำคัญมาโดยตลอด

บริษัทเริ่มนำระบบไอที และเริ่มพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล และระบบซอฟต์แวร์ด้านลอจิสติกส์ของตัวเองมาตั้งแต่สิบที่แล้ว โดยเริ่มต้นพัฒนาและใช้งานเพียงไม่กี่โมดูล (Module) จากนั้นก็มีการขยายการใช้งานจนครบทุกโมดูลอย่างในปัจจุบัน ได้แก่ ระบบการจัดซื้อ (Procurement System) ระบบการจัดการคลังสินค้า (Stock Management) และระบบกระจายสินค้า (Delivery System)

วรวุฒิ เล่าว่า ด้วยธุรกิจที่มีหน้าร้านบนอินเทอร์เน็ตและบนหน้ากระดาษแคตตาล็อก ทำให้ความท้าทายของธุรกิจ คือ การบริหารคลังสินค้าและการจัดส่งให้สินค้าถึงมือลูกค้าได้ถูกต้องครบถ้วนในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งบริษัทต้องการตัวช่วยในเรื่องของการบริหารสินค้าคงในคลังกับการบริหารระบบจัดส่งสินค้า และไอทีคือคำตอบ

บริษัทตัดสินใจลงมือพัฒนาระบบซอฟต์แวร์เองตามความต้องการใช้งานเฉพาะของตนเอง ด้วยโปรแกรมมือ 40 คนทุกวันนี้บริษัทมีระบบไอทีเป็นแกนหลักสำคัญในการทำให้กระบวนการทำงานของบริษัทไหลลื่นต่อเนื่องแบบอัตโนมัติ เริ่มตั้งแต่ ระบบการจัดซื้อ ระบบจะตรวจสอบดูว่าในคลังสินค้าสินค้าใดลดน้อยลงจนถึงขีดที่ต้องสั่งสินค้าเข้ามาสต็อกเพิ่มบ้าง ทั้งนี้บริษัทกำหนดให้คลังสินค้าขนาด 7,200 ตารางเมตรต้องสต็อกสินค้าได้ไม่เกิน 30 วันขาย ทำให้ระบบต้องคำนวณขนาดพื้นที่ ประเภทสินค้า และปริมาณการขายเพื่อใช้ในการสั่งซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์เข้ามาเก็บไว้ที่สต็อก

จากนั้นบริษัทก็มีระบบการบริหารจัดการคลังสินค้า ซึ่งเชื่อมโยงกับระบบการขายสินค้าของบริษัท นั่นคือ ทุกครั้งที่มีการขายเกิดขึ้น ณ หน้าร้านออนไลน์ หรือบนแคตตาล็อก รายละเอียดคำสั่งซื้อจะเข้ามาตัดสต็อกเองอัตโนมัติ ทำให้ระบบสินค้าคงคลังของบริษัทมีความเป็นปัจจุบันสูงมาก

นอกจากนี้ บริษัทยังเก็บข้อมูลรายงานการขายเพื่อวิเคราะห์ประเภทสินค้าขายดี หรือสินค้าที่มีการหมุนเวียนเร็ว เพื่อออกแบบการจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้า เพื่อให้การเคลื่อนขนย้ายสินค้าเป็นไปด้วยความสะดวกและรวดเร็ว สิ้นเปลืองพลังงานน้อยที่สุด อาทิ สินค้าที่มีการหมุนเวียนเร็วจะอยู่ใกล้กว่าสินค้าที่หมุนเวียนช้า เป็นต้น

ระบบต่อมาคือ ระบบการจัดส่งสินค้า ในส่วนนี้บริษัทมีการติดอุปกรณ์ GPS (Global Positioning System) ไว้ที่รถขนส่งสินค้าทั้ง 65- 70 คันที่ต้องวิ่งส่งสินค้าในแต่ละวัน โดยรถแต่ละคันมีภารกิจต้องส่งสินค้าโดยเฉลี่ยคันละ 35 จุดต่อวัน โดยรถแต่ละคันขนส่งสินค้าที่มีมูลคาโดยเฉลี่ยประมาณ 90,000-100,000 บาทต่อวัน ดังนั้น การติด อุปกรณ์ GPS ในรถทุกคันนอกจากจะช่วยเรื่องของความปลอดภัยของสินค้าแล้วยังช่วยเรื่องการทำ Real Time Tracking เพื่อตรวจสอบได้ตลอดเวลาว่ารถแต่ละคันวิ่งอยู่เส้นทางใดและอยู่  ณ จุดใดบ้าง นอกจากนี้ ระบบยังเก็บข้อมูลเส้นทางที่รถแต่ละคันวิ่งส่งสินค้าให้ลูกค้าตามทุกต่างๆ เพื่อมาคำนวณ วิเคราะห์ และออกแบบเส้นทางขนส่งสินค้าที่ดีที่สุด คือ เส้นทางที่ใกล้ที่สุด เส้นทางที่สะดวกที่สุด เพื่อลดเวลาและปริมาณน้ำมันในการส่งสินค้าในแต่ละเที่ยวลงได้เป็นอย่างดี

“ระบบไอทีทำให้เราสามารถบริหารการขนส่งสินค้าได้มีประสิทธิภาพ เราสามารถรักษาคุณภาพการจัดส่งสินค้าในเวลาที่เราการันตีกับลูกค้าได้ สามารถส่งสินค้าที่มีความหลากหลายให้ถึงมือลูกค้าได้อย่างครบถ้วนถูกต้องแม่นยำ และเราสามารถลดต้นทุนการบริหารจัดการ ลดต้นทุนค่าน้ำมันลดลง เดิมก่อนมีระบบไอทีใช้งานเต็มรูปแบบอย่างนี้ เราต้องใช้รถถึง 80 คัน เพื่อรองรับการส่งสินค้า 1,200 คำสั่งซื้อต่อวัน แต่ตอนนี้เราใช้รถแค่ 65-70 คันรองรับปริมาณคำสั่งซื้อ 1,500 คำสั่งซื้อต่อวัน”

ด้วยระบบงานที่มีประสิทธิภาพเช่นนี้ทำให้ผลประอบการของบริษัทตลอด 8 ปีที่ผ่านมาเติบโตต่อเนื่องราว 35-50 เปอร์เซ็นต์ต่อปี โดยเพิ่งมาเติบโตลดลงในปีที่ผ่านมา เนื่องจากเศรษฐกิจโดยรวมถดถอยและปัญหาทางการเมือง ซึ่งกระทบต่อธุรกิจบ้าง แต่ก็มีการเติบโตอยู่ราว 15 เปอร์เซ็นต์ โดยในปีนี้คาดว่าบริษัทจะสามารถเติบโตได้ราว 20 เปอร์เซ็นต์

วรวุฒิ กล่าวว่า ปีหน้าบริษัทจะมีการอัพเกรดระบบไอทีครั้งใหญ่ โดยมีเป้าว่าต้องลดต้นทุนของการส่งสินค้าจากเดิมที่ต่ำอยู่แล้ว คือ ราว 2.5-2.8 เปอร์เซ็นต์ของยอดขาย ให้ลดลงเหลือไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์ของยอดขาย

 

View :3272

นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ผ่านความเห็นชอบจากครม.แล้ววันนี้

November 9th, 2010 No comments

นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ

๑. ความเป็นมา

รัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๗๘ ได้กำหนดให้รัฐดำเนินการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน รวมถึง การจัดทำและการให้บริการสาธารณะ ระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึง เท่าเทียมกันทั่วประเทศ และรัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ว่าจะพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมขั้นพื้นฐานให้ครอบคลุมทั่วประเทศและสร้างโอกาส ในการเข้าถึงบริการของประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน รวมทั้งได้จัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสารของประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๕๔ – ๒๕๖๓) หรือ ICT 2020 เพื่อใช้เป็นกรอบทิศทางในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งกำหนดเป้าหมายการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและการสื่อสาร ให้เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ มีคุณภาพและความมั่นคงปลอดภัยเทียบเท่ามาตรฐานสากล ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๓

รัฐบาลได้ตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ ภายใต้กรอบนโยบาย ICT 2020 ในการพัฒนาประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การบริการของรัฐ การรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงความมั่นคงและปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนช่วยส่งผลต่อการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศได้อย่างต่อ เนื่อง ทั้งยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกิจการโทรคมนาคม กิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาบริการบรอดแบนด์ของประเทศ ปัจจุบันยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ โดยมีประชากรที่ใช้บริการบรอดแบนด์เพียงร้อยละ ๓.๕ ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเขตนครหลวงและเมืองใหญ่ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำและช่องว่างทางดิจิทัลระหว่างประชาชนในเขต เมืองและชนบท รวมทั้งเป็นปัจจัยที่กระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว

ใน การนี้ รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและใช้เป็นกรอบการดำเนินการและขับเคลื่อนการพัฒนา บริการบรอดแบนด์ ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่หลากหลาย มีความก้าวหน้าทันสมัย สอดคล้องกับบริบทและสภาพพื้นที่ของประเทศไทย และตอบสนองความต้องการการใช้บริการของทุกภาคส่วน โดยที่รัฐมีบทบาทเป็นผู้กำหนดนโยบายและสนับสนุนการให้มีและการใช้บริการ บรอดแบนด์อย่างทั่วถึงเท่าเทียมกัน รวมถึงส่งเสริมให้ภาคเอกชนและประชาชนร่วมดำเนินการไปสู่ความสำเร็จ โดยมีองค์กรกำกับดูแลที่เป็นอิสระตามกฎหมายทำหน้าที่กำกับดูแลการประกอบ ประกอบกิจการให้มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม

 

๒. นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ

๒.๑ ภาครัฐมีเจตนารมณ์ที่จะสนับสนุนการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ อันถือเป็นบริการที่มีความสำคัญเทียบเท่าบริการที่เป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้น ฐานของประชาชน ให้ทั่วถึง เพียงพอ ในราคาที่เหมาะสม ภายใต้การแข่งขันเสรีและเป็นธรรม

๒.๒ ประชาชนคนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ได้ อย่างเต็มที่ ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำและลดช่องว่างทางดิจิทัล ทั้งในเชิงภูมิศาสตร์และเชิงกลุ่มประชากร สามารถกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคทั่วประเทศ ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

๒.๓ ภาครัฐและภาคธุรกิจสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการพัฒนาบรอดแบนด์ได้ อย่างเต็มที่ เพื่อเพิ่มผลิตภาพ และความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน

๒.๔ ในการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ รัฐจะบริหารจัดการทรัพย์สินด้านโทรคมนาคมที่รัฐได้ลงทุนไปแล้วและอาจจะลงทุน เพิ่มเติม เพื่อประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการโทรคมนาคมทุกรายอย่างเสมอภาค โดยการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และรัฐจะไม่ผูกขาดที่จะเป็นผู้ลงทุนในการจัดให้ม บริการต่าง ๆ แต่เพียงผู้เดียว แต่จะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการทุกรายที่พึงประสงค์และมีศักยภาพที่จะลงทุน เพื่อให้บริการ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดโครงข่ายบรอดแบนด์ทั่วประเทศ โดยให้มีการแข่งขันเสรีและเป็นธรรมในการให้บริการ

๒.๕ ในเรื่องที่เกี่ยวกับเขตอำนาจอธิปไตยของชาติ เช่น ตำแหน่งวงโคจรของดาวเทียม จุดขึ้นฝั่งของเคเบิลใต้น้ำ หรือจุดเชื่อมต่อโครงข่ายข้ามพรมแดน ถือว่าเป็นส่วนที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของชาติและเป็นสิทธิหรือทรัพยากร ที่รัฐจะส่งเสริมให้มีการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในแง่ของการนำมาใช้งานเพื่อตอบสนองต่อความต้องการภายในประเทศ และการนำมาใช้งานเพื่อเพิ่มศักยภาพและโอกาสในการที่จะพัฒนาความร่วมมือและ การค้าระหว่างประเทศรัฐจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและกำกับดูแลการดำเนินการ ตามนโยบาย โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุนจัดให้มีบริการดัง กล่าว

๒.๖ รัฐจะส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคมส่วนปลายทางทั้งแบบใช้สายและ ไร้สาย ผู้ประกอบการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ผลิตเนื้อหา ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ และผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

 

๓. เป้าหมาย

๓.๑ พัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์ให้ครอบคลุมประชากร ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐ ภายในปี ๒๕๕๘ และไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๙๕ ภายในปี ๒๕๖๓ โดยมีคุณภาพบริการที่ได้มาตรฐานและมีอัตราค่าบริการที่ เหมาะสม   รวมทั้งให้มีบริการบรอดแบนด์ความเร็วสูงผ่านเคเบิลใยแก้วนำแสงในเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาค   ความเร็วไม่ต่ำกว่า 100 Mbps ภายในปี ๒๕๖๓

๓.๒ ประชาชนสามารถได้รับบริการผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ ทั้งในด้านการศึกษา สาธารณสุข การเฝ้าระวังและเตือนภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ และบริการสาธารณะอื่น ๆ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ โดย

๓.๒.๑ ขยายโอกาสทางการศึกษา โดยโรงเรียนในระดับตำบลสามารถเข้าถึงบริการ บรอดแบนด์ที่มีคุณภาพ ภายในปี   ๒๕๕๘ และโรงเรียนทั่วประเทศสามารถเข้าถึงบริการดังกล่าวได้ภายในปี ๒๕๖๓

๓.๒.๒ ขยายบริการสาธารณสุข โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือสถานีอนามัยทุกแห่งสามารถเข้าถึงบริการ บรอดแบนด์ที่มีคุณภาพเดียวกับโรงพยาบาลประจำจังหวัดหรือเทียบเท่า รวมทั้งมีการเชื่อมโยงและให้บริการระบบประกันสุขภาพและประกันสังคมผ่านโครง ข่ายบรอดแบนด์ ภายในปี   ๒๕๕๘

๓.๒.๓ ขยายการให้บริการระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลทุกแห่งของประเทศสามารถเข้าถึงบริการบรอดแบนด์ที่ มีคุณภาพในระดับเดียวกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด และหน่วยงานของรัฐในส่วนกลาง เพื่อให้ประชาชนในทุกตำบลสามารถใช้บริการต่าง ๆ ที่จะมีในระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ได้ตลอดเวลาภายในปี ๒๕๕๘

๓.๒.๔ ให้ประเทศมีระบบการเฝ้าระวังเตือนภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ และเหตุฉุกเฉินผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ ให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที

๓.๓ ภาคธุรกิจไทยสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากโครงข่ายบรอดแบนด์ได้อย่างทั่ว ถึงและเท่าเทียมกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และการเติบโตของเศรษฐกิจไทยอย่างสมดุลและต่อเนื่อง รวมทั้งให้โครงข่ายบรอดแบนด์เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดย รวม โดย

๓.๓.๑ ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีโดยรวมให้อยู่ในกลุ่ม Top 25% ของประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงสุดในการจัดลำดับ World Competitiveness Rankings

๓.๓.๒ เกิดการขยายตัวของธุรกิจที่ใช้การสร้างสรรค์ การออกแบบ และบริการใหม่ ๆ ที่ดำเนินการได้ทุกพื้นที่ในประเทศไทยผ่านเครือข่ายบรอดแบนด์ ส่งผลให้เกิดการกระจายรายได้ไปยังพื้นที่ที่ มิใช่เขตเมือง

๓.๓.๓ สัดส่วนมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อ GDP เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๑๐ ภายในปี ๒๕๕๘

๓.๔ ลดการใช้พลังงานและการใช้ทรัพยากร โดยใช้การสื่อสารหรือเข้าถึงข้อมูลร่วมกันผ่านบริการ บรอดแบนด์ทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการ ซึ่งจะส่งผลในการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดภาวะโลกร้อน

๓.๕ ลดต้นทุนการให้บริการบรอดแบนด์โดยรวม โดยเฉพาะด้านการเชื่อมต่อวงจรออกต่างประเทศและการนำบรอดแบนด์เข้าถึงผู้ใช้ บริการ เพื่อให้อัตราค่าใช้บริการบรอดแบนด์ลดต่ำลง ประชาชนผู้บริโภคโดยทั่วไปสามารถเข้าถึงบริการได้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น

๓.๖ เกิดการพัฒนาเนื้อหาสาระ ( Content) และโปรแกรมประยุกต์ ( Application) ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา การสาธารณสุข การป้องกันชีวิตและทรัพย์สิน ศาสนาและวัฒนธรรม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการดำรงชีวิตประจำวัน รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินธุรกิจให้มีขีดความสามารถทางการแข่งขันมากยิ่งขึ้น

๓.๗ ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจถึงคุณค่า และความเสี่ยงของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เร่งตัวเร็วขึ้น อันเป็นผลเนื่องมาจากการขยายการใช้บริการบรอดแบนด์ รวมถึงมีความรู้และทักษะในการใช้งานบรอดแบนด์อย่างสร้างสรรค์และเกิด ประโยชน์

๓.๘ อุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีการพัฒนา เกิดการขยายตัว และยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ไปสู่ระดับสากล

 

๔. แนวทางดำเนินการ

๔.๑ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการบรอดแบนด์

๔.๑.๑ ส่งเสริมให้มีการแข่งขันในธุรกิจบริการบรอดแบนด์ บนพื้นฐานการแข่งขันเสรีและเป็นธรรม ซึ่งจะไม่มีการผูกขาด รวมถึงการเปิดกว้างทางเทคโนโลยี เพื่อก่อให้เกิดการลงทุนในโครงข่ายและขยายการให้บริการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทั่วถึง มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม

๔.๑.๒ สนับสนุนให้มีการขยายบริการบรอดแบนด์ไปสู่พื้นที่ชนบทห่างไกล ภายใต้หลักการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม

๔.๑.๓ สนับสนุนให้มีการลงทุนพัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์ในทุกระดับ ให้มีปริมาณเพียงพอ คุณภาพได้มาตรฐานสากล และมีต้นทุนต่ำ ด้วยการลงทุนของภาคเอกชนหรือภาครัฐร่วมเอกชน และส่งเสริมให้เกิดการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการ เพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อน ทั้งนี้ เพื่อให้
ผู้ประกอบธุรกิจบริการสามารถใช้ประโยชน์ได้โดยการกำกับดูแลด้วยกติกาการแข่ง ขันเสรีเป็นธรรม ไม่มีการผูกขาดหรือการใช้อำนาจเหนือตลาดที่กีดกันการแข่งขัน

๔.๑.๔ สนับสนุนการดำเนินการขององค์กรกำกับดูแลในการจัดสรรคลื่นความถี่อันเป็น ทรัพยากรสื่อสารของชาติ เพื่อกิจการโทรคมนาคม กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน

๔.๑.๕ สนับสนุนผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการในท้องถิ่นให้สามารถลงทุนในเทคโนโลยีทางเลือกและวิธี การสื่อสารที่เหมาะสมที่มีการลงทุนไม่สูงมาก เพื่อสร้าง เชื่อมต่อ และให้บริการโครงข่ายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๔.๑.๖ ปรับโครงสร้างและบทบาทของรัฐวิสาหกิจสาขาโทรคมนาคม กิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ในการให้บริการโครงข่ายให้เอื้อต่อการให้บริการบรอดแบนด์อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการแข่งขันเสรีและเป็นธรรมของผู้ประกอบการทุกราย

๔.๑.๗ ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมโทรคมนาคมให้อยู่ภายใต้ระบบใบอนุญาตและมีการแข่งขัน บนพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน เพื่อกระตุ้นให้มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและระบบโครงข่ายหลักที่จำเป็นต่อ การจัดให้มีบริการบรอดแบนด์อย่างทั่วถึง

๔.๑.๘ ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านโทรคมนาคม รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ด้านโครงข่ายและบริการบรอดแบนด์ที่ทันสมัยให้สามารถใช้งานเชิงพาณิชย์ เพื่อลดต้นทุนในการให้บริการ บรอดแบนด์แก่ประชาชน ลดการพึ่งการนำเข้า และสนับสนุนการพัฒนาของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม กิจการ กระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์

๔.๒ การพัฒนาการใช้ประโยชน์จากบรอดแบนด์

๔.๒.๑ สนับสนุนให้มีการใช้งานบรอดแบนด์อย่างกว้างขวาง เพื่อขยายตลาดและฐานผู้ใช้งาน โดยส่งเสริมการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ ( Applications) และเนื้อหา ( Content) ที่หลากหลาย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิตประจำวันของ ประชาชน รวมทั้ง เชื่อมโยงระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ บริการการศึกษา บริการสาธารณสุข บริการข้อมูลข่าวสาร และบริการอื่นของภาครัฐ ผ่านบริการบรอดแบนด์ เพื่อสร้างอุปสงค์ในบริการบรอดแบนด์อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ ภาครัฐจะต้องระมัดระวังมิให้ส่งผลกระทบหรือเกิดการบิดเบือนของกลไกตลาด

๔.๒.๒ ส่งเสริมการพัฒนาทักษะและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ    ( IT Literacy) และการรู้เท่าทันและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารอย่างสร้างสรรค์ ( Information literacy) ของประชาชน ชุมชนและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ( SMEs) ให้สามารถใช้ประโยชน์จากบริการบรอดแบนด์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และใช้เป็นโอกาสในการสร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเอง โดยเฉพาะประชาชนในชนบท กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มเกษตรกร ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ

๔.๒.๓ ส่งเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการในธุรกิจทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับบริการบรอด แบนด์ เช่น ผู้ประกอบการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคม ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ผลิตโปรแกรมประยุกต์ ผู้ผลิตเนื้อหา ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

๔.๒.๔ กำหนดมาตรการสนับสนุนและจูงใจในการใช้บรอดแบนด์ เพื่อลดการใช้พลังงานและการใช้ทรัพยากร ทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการ โดยเฉพาะในภาคการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์

๔.๓ การประกันความมั่นคงปลอดภัยของโครงข่ายบรอดแบนด์และความปลอดภัยของสังคมโดยรวม

๔.๓.๑ พัฒนายกระดับบุคลากรผู้เชี่ยวชาญความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศและโครงข่ายทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ

๔.๓.๒ มีการสร้างโครงข่ายทางเลือกหลายเส้นทางที่ใช้เชื่อมโยงประเทศไทยไปสู่ประเทศ ในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก โดยไม่จำกัดรูปแบบไม่ว่าจะเป็นเคเบิลใต้น้ำ เคเบิลพื้นดิน หรือดาวเทียม และจะเปิดกว้างให้มีการลงทุนในลักษณะดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยภาครัฐ ภาคเอกชน หรือการร่วมลงทุน

๔.๓.๓ กำหนดมาตรการป้องกันผลกระทบเชิงลบและภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ บริการบรอดแบนด์อย่างแพร่หลาย โดยสร้างความเข้าใจแก่ทุกภาคส่วนเกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบเชิง ลบที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งการดำเนินมาตรการอย่างจริงจังในการป้องกันอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต
การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล และการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

๔.๓.๔ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบ และบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับข้อมูลที่มีความสำคัญ เช่น ข้อมูลดิน น้ำ อากาศ จราจร หรือข้อมูลที่เกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติต่าง ๆ และพัฒนาระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ เหตุฉุกเฉิน ผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ ให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างทันท่วงที และเชื่อถือได้ รวมทั้งมีแผนฉุกเฉิน รองรับในกรณีที่โครงข่ายบรอดแบนด์นี้ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติดังกล่าว

๔.๓.๕ สร้างความตระหนักและให้ความรู้แก่ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน ภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศถึง แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ด้านสารสนเทศ

๔.๔ การบริหารจัดการขับเคลื่อนนโยบายและการประสานการกำกับดูแล

๔.๔.๑ ให้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ บูรณาการคณะทำงานในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและจัดตั้งคณะอนุกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีหน้าที่ (๑) จัดทำกรอบแผนการดำเนินการเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายตามนโยบายบรอดแบนด์ แห่งชาติ (๒) กำหนดตัวชี้วัดและวิธีประเมินผลที่จำเป็นสำหรับการติดตามความสำเร็จของ นโยบาย (๓) เสนอองค์กรที่รับผิดชอบดำเนินการตามแผนปฏิบัติการข้างต้น (๔) จัดทำรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินการตามนโยบายฯ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี และสาธารณะเป็นระยะ ๆ

๔.๔.๒ จัดให้มีการประสานงานกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน รวมทั้งองค์กรกำกับดูแล เพื่อสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันการให้บริการ ภายใต้หลักเกณฑ์การกำกับดูแลที่เอื้อต่อการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม รวมทั้ง บูรณาการเป้าหมายและแผนงาน ทรัพยากรโทรคมนาคม และทรัพยากรการลงทุนของประเทศในภาพรวม เพื่อจัดให้มีบริการบรอดแบนด์อย่างทั่วถึง มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม อันจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาประเทศและการยกระดับคุณภาพ ชีวิตของประชาชน

๔.๔.๓ การดำเนินงานตามนโยบายนี้ จะได้รับการสนับสนุนจากการลงทุนโดยมาตรการสนับสนุนของภาครัฐ หรือผู้ประกอบการทุกราย หรือจากกองทุนตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ….

View :2804

ไอซีทีผลักดันการขยายตลาดสินค้า OTOP ผ่านระบบ e-Commerce

August 24th, 2010 No comments

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ e-Commerce เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)

[youtube=http://www.youtube.com/watch?v=HGAuC6w0jeM]

โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) เป็นโครงการที่รัฐบาลให้การสนับสนุนเพื่อให้แต่ละชุมชนได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาสินค้า โดยรัฐบาลพร้อมที่จะช่วยเหลือทั้งในด้านความรู้สมัยใหม่และการบริหารจัดการ เพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีสินค้า OTOP ที่ได้มาตรฐานผลิตออกมาให้ประชาชนเลือกซื้อมากมาย ผ่านทางห้างสรรพสินค้า ร้านจำหน่ายสินค้า OTOP หรืองานจัดแสดงสินค้าต่างๆ ซึ่งข้อดี คือ สามารถจับต้องทดลองสินค้าได้ แต่ข้อเสีย คือ สินค้าตามห้างสรรพสินค้าจะมีราคาสูงกว่าที่ซื้อจากกลุ่มผู้ผลิตโดยตรงประมาณ 2 ถึง 3 เท่า ขึ้นอยู่กับสถานที่และค่าใช้จ่ายในการลงทุน บริหารจัดการ ค่าการตลาดของห้างสรรพสินค้า และยังมีสินค้าให้เลือกไม่มากนัก

ดังนั้น การเลือกซื้อสินค้า OTOP ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการค้นหาสินค้า OTOP ได้อย่างหลากหลาย ประหยัดเวลา รวมทั้งสะดวกรวดเร็ว ซึ่งหากมีการวางระบบการชำระเงินและระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพแล้ว ก็จะสามารถส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในสินค้า OTOP รวมถึงภาคธุรกิจให้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นได้

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า “ในฐานะประธานกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงได้วางนโยบายผลักดันให้การใช้งาน e-Commerce เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเป็นรูปธรรมเชื่อถือได้ ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ตลอดจนเพื่อใช้ขับเคลื่อนธุรกิจให้ประเทศ ช่วยเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงลดต้นทุนด้านการขนส่ง หรือ โลจิสติกส์ด้วย

โดยกระทรวงไอซีที ได้ร่วมกับ 6 หน่วยงานจัดทำโครงการ e-Commerce เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ขึ้นเป็นโครงการนำร่อง เพื่อให้ผู้ประกอบการ OTOP สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การผลิต การขนส่งสินค้า การประชาสัมพันธ์ การจำหน่าย และการรับชำระเงิน ซึ่งจะเอื้อต่อการจำหน่ายสินค้าของผู้ประกอบการ OTOP โดยใช้ศักยภาพของหน่วยงานทั้ง 6 ให้เกิดประโยชน์สูงสุด” นายจุติ กล่าว สำหรับ 6 หน่วยงานที่ให้ความร่วมมือในโครงการฯ นี้ ได้แก่ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ บริษัท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เพื่อจะนำสินค้า OTOP และสินค้าในโครงการพระราชดำริ มาจำหน่ายผ่านระบบการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce)

มีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ลูกค้าบัตรเครดิต ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะรับผิดชอบงานในด้านต่างๆ กรมการพัฒนาชุมชนจะทำหน้าที่คัดเลือก รวมรวบผลิตภัณฑ์ OTOP และประสานงานกับผู้ประกอบการ กรมส่งเสริมการส่งออกให้คำปรึกษาการประชาสัมพันธ์สินค้า OTOP ในรูปแบบภาษาต่างประเทศ ธนาคารกรุงไทย จัดทำระบบการรับชำระค่าสินค้าผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่เหมาะสม ส่วน บมจ.ทีโอที จะวางระบบการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) โดยจัดทำระบบร้านค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ www.tote-market.com เพื่อแสดงสินค้า รวบรวมคำสั่งซื้อ และฝึกอบรมให้ความรู้ทางด้าน e-Commerce

ขณะที่ บจ.ไปรษณีย์ไทย รับหน้าที่ด้านระบบการขนส่งสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งให้คำปรึกษาการใช้บรรจุภัณฑ์ ที่เหมาะสม และ บมจ.อสมท จะใช้เครือข่าย ช่องทางสื่อสารมวลชนแขนงต่าง ๆ ที่มีอยู่เพื่อสนับสนุนและเผยแพร่สินค้า OTOP ที่เข้าร่วมโครงการฯ

“โครงการฯ นี้จะช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ สังคม และเปิดโอกาสในการนำสินค้าสู่ตลาดในช่องทางออนไลน์ โดยใช้ระบบ ไอทีเข้ามาช่วย อันเป็นการขยายช่องทางการตลาดในการจำหน่ายสินค้า OTOP ให้แก่ผู้ซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น จึงช่วยสร้างรายได้และมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับประเทศ กล่าวคือ ทางตรงถือเป็นโครงการที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศได้เป็นอย่างมาก ส่วนทางอ้อมนั้นสามารถประชาสัมพันธ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล ดึงดูดให้มีลูกค้าเพิ่มขึ้นในต่างประเทศ อันเป็นการสร้างตลาดใหม่ ซึ่งเป็นตลาดที่พร้อมจะใช้บริการ เนื่องจากมีความสะดวก และยังไม่มีบริการใดที่ตอบสนองความต้องการลักษณะนี้ จึงทำให้สามารถสร้างตลาดในส่วนนี้ให้เติบโตได้อย่างมาก อีกทั้งยังสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ทันสมัยได้อีกด้วย” นายจุติกล่าว

View :3245

“โฆษณาออนไลน์”… เครื่องมือโปรโมทธุรกิจราคาประหยัดสำหรับเอสเอ็มอี

August 8th, 2010 No comments

เป็นที่รู้กันดีว่าการโฆษณาเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดหลักสำคัญประการหนึ่งที่ทุกธุรกิจไม่สามารถปฏิเสธได้ เพราะแม้ว่าบริษัทคุณจะมีสินค้าและบริการดี ราคาดึงดูดอย่างไรก็ไร้ผลหากลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของคุณไม่ได้รับรู้ และการซื้อสินค้าและบริการก็จะไม่เกิดขึ้น สำหรับองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่อาจจะมีเม็ดเงินในการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์จำนวนมาก แต่สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก หรือเอสเอ็มอี (SME: Small and Medium Enterprise) ที่มีงบประมาณในการทำการตลาดค่อนข้างจำกัดอาจจะมีอุปสรรคในการเข้าถึงการับรู้ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอยู่มาก เพราะสื่อในการเผยแพร่โฆษณาในอดีต (Traditional Media) มีอยู่ไม่มากและมักจะถูกครอบครองโดยชิ้นงานโฆษณาของบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีเงินซื้อโฆษณา

แต่ในปัจจุบันสถานการณ์เริ่มเปลี่ยน อินเทอร์เน็ตและสื่อใหม่ที่เกิดขึ้นมากมายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อใหม่ที่อย่างโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) อย่าง Facebook หรือเสิร์จเอ็นจิ้น อย่าง Google ล้วนเปิดโอกาสการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเอสเอ็มอีอย่างมาก เพราะในปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มหันมาใช้เวลากับสื่ออินเทอร์เน็ตและสื่อใหม่ที่ว่านี้มากกว่าหรือพอๆ กับเวลาที่ใช้กับสื่อแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ ทำให้นักการตลาดจำนวนมากเริ่มหันมาทำการตลาดและโฆษณาบนสื่อออนไลน์เพิ่มมากขึ้น

โฆษณาออนไลน์โตต่อเนื่อง

จากการสำรวจจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยของศูนย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค พบว่าปัจจุบันประเทศไทยมีผู้จำนวนใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ประมาณ 16 ล้านคน หรือคิดเป็นเกือบ 20 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากร และคนจำนวนนี้ส่วนมากเริ่มใช้เวลากับสื่ออินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
ศิวัตร เชาวรียวงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มอินเตอร์แอคชัน จํากัด บริษัทให้คำปรึกษาทางด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์การตลาดและการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต กล่าวว่า เม็ดเงินโฆษณาออนไลน์ในประเทศไทยปีนี้คาดการณ์ว่ามีมูลค่าประมาณ 1,500 ล้านบาท ซึ่งเติบโตขึ้นราว 30 เปอร์เซ็นต์จากปีที่ผ่านมา สัดส่วนของโฆษณาออนไลน์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันยังคงเป็นการซื้อสื่อ (Display Ad) ตามเว็บไซต์ดังๆ ที่มีจำนวนผู้เข้าชมมากๆ (60 เปอร์เซ็นต์) อาทิ Sanook.com, MSN.co.th, และ Manager.co.th รองลงมาคือการใช้บริการโฆษณาออนไลน์กับ Google (30 เปอร์เซ็นต์) Facebook (10 เปอร์เซ็นต์)
แต่ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวของบริการโฆษณาออนไลน์บน Google และ Facebook เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วยสร้างกระแสการโฆษณาออนไลน์เพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย
“ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาสัดส่วนการโฆษณาออนไลน์บน Google และ Facebook เพิ่มมากขึ้นอย่างมาก เนื่องจากเป็นสื่อออนไลน์ที่เข้าถึงคนจำนวนมาก โดยเฉพาะ Facebook ที่มีจำนวนผู้ใช้ในปัจจุบันมากถึง 4.5 ล้านคน หรือเท่ากับ 1 ใน 4 ของจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เม็ดเงินโฆษณาออนไลน์ตั้งแต่ต้นปีนี้ไหลมาอยู่ที่สองสื่อนี้เป็นหลัก” ศิวัฒน์กล่าว

Google และ Facebook
ทางเลือกโฆษณาออนไลน์

ศิวัฒน์กล่าวเสริมว่ากลุ่มเป้าหมายของโฆษณาบน Google และบน Facebook ต่างกัน โฆษณาบน Google จะเน้นที่กลุ่มคนที่เข้ามาค้นหาข้อมูล ในขณะที่โฆษณาบน Facebook จะเน้นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายตามลักษณะประชากร (Demographic) และตามความสนใจ ซึ่งศิวัฒน์มองว่า โฆษณาออนไลน์ทั้งโฆษณาบน Google และ Facebook นั้นเหมาะกับทุกธุรกิจ แต่จะมีประโยชน์อย่างมากกับเอสเอ็มอี เพราะเป็นการโฆษณาที่ได้ประสิทธิภาพและค่อนข้างตรงกลุ่มเป้าหมายในขณะที่ใช้เงินค่าโฆษณาที่ต่ำกว่า เพราะการโฆษณาออนไลน์บน โฆษณาบน Google และบน Facebook นั้น ต้นทุนค่าโฆษณาของเอสเอ็มอีจะเกิดขึ้นต่อเมื่อเกิดการปฏิสัมพันธ์กับโฆษณาหรือที่เรียกว่า Pay per Click ซึ่งหากไม่เกิดการ ‘Click’ เอสเอ็มอีก็ไม่ต้องจ่ายเงินแม้ว่าข้อความโฆษณาจะไปปรากฏให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเห็นแล้วก็ตามที

“ข้อดีของโฆษณาบน Facebook คือ เอสเอ็มอีสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ตรงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายกว่า เพราะใน Facebook จะมีการจัดระบบกลุ่มคนที่จะเห็นโฆษณาตามลักษณะประชากร (Demographic) และตามความสนใจ ซึ่งใน Facebook มีระบบฐานข้อมูลของผู้ใช้มีที่ประสิทธิภาพค่อนข้างมาก ข้อดีอีกประการคือ การทำโฆษณาบน Facebook นั้นสามารถต่อยอดแคมเปญการตลาดของเอสเอ็มอีให้แพร่หลายอย่างรวดเร็วได้ในระยะเวลาอันสั้น (Viral Marketing) หากว่าแคมเปญการตลาดหรือโฆษณาชั้นนั้นๆ มีข้อความหรือข้อมูลที่ดีและตรงโดนใจผู้รับสาร เพราะข้อความโฆษณานั้นสามารถถูกผู้ใช้กด ‘Like’ และข้อมูลการกด ‘Like’ของคนๆ หนึ่งจะถูกบอกต่อในเครือข่ายเพื่อนของคนๆ นั้น และการที่เพื่อนเขามาชอบหรือมาปฏิสัมพันธ์กับโฆษณาชิ้นใดชิ้นหนึ่งมีแนวโน้มที่จะสร้างความสนใจให้กับเพื่อนของเขามาสนใจด้วย”

การลงโฆษณาบน Facebook เอสเอ็มอีสามารถทำได้ด้วยตนเองผ่านทางออนไลน์ แต่ก่อนอื่นเลยเอสเอ็มอีจะต้องมีหน้าเว็บไซต์ที่บรรจุข้อมูลแคมเปญทางการตลาดหรือข้อความที่จะโฆษณา จากนั้นก็มาสมัครใช้บริการโฆษณาได้โดยตรงผ่านหน้าเว็บของ Facebook และสามรถระบุได้ด้วยว่าจะใช้วิธีคิดเงินค่าโฆษณาแบบไหนระหว่าง แบบเหมา 1,000 Clicks แรกหรือแบบ Pay per Click จากนั้น Facebook จะทำการประมวลผลโดยใช้ระบบฐานข้อมูลเพื่อนำเสนอโฆษณานั้นให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้มากที่สุด

ในขณะที่โฆษณาบน Google นั้นได้รับความนิยมและเป็นช่องทางการใช้เม็ดเงินโฆษณาออนไลน์หลักในตะวันตกและในประเทศที่มีปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตสูง อาทิ ในประเทศอังกฤษราว 70 เปอร์เซ็นต์ของงบโฆษณาออนไลน์ทั้งหมด (ซึ่งอยู่ราว 20 เปอร์เซ็นต์ของงบโฆษณาทั้งหมด) จะเป็นการใช้เงินบนสื่อโฆษณาของ Google ที่เรียกว่า GoogleAdwords (adwords.google.com) ซึ่งเป็นรายได้หลักของ Google ทั่วโลก

“GoogleAdwords” ตัวช่วยเอสเอ็มอีเข้าถึงโฆษณาออนไลน์แค่ปลายคลิก

พรทิพย์ กองชุน ผู้จัดการ ฝ่ายการตลาดประจำประเทศไทย กูเกิลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า รูปแบบบริการโฆษณาของ Google มีอยู่ 2 ประเภทหลักๆ คือ Google Search และ Google’s Network ซึ่งโฆษณาออนไลน์ถือเป็นรายได้หลักถึง 97 เปอร์เซ็นต์ของ Google ทั่วโลกและบริการโฆษณาออนไลน์ของ Google หรือ Search Ad นั้นถูกออกแบบมาเหมาะสมสำหรับการใช้ประโยชน์จากระบบสืบค้นข้อมูลหรือเสิร์จเอ็นจิ้น (Search Engine) ของเอสเอ็มอีอย่างมาก พรทิพย์อธิบายว่า ประสิทธิภาพของ Search Ad มีสูงเพราะเหมือนเป็นการหยิบยื่นข้อมูลสินค้าและบริการให้แก่คนที่กำลังต้องการและมองหาสินค้าและบริการนั้นอยู่ ซึ่งนับว่าเป็นเวลาที่เหมาะสมอย่างมาก ทำให้โอกาสที่ลูกค้าเป้าหมายจะคลิกเข้ามาที่โฆษณาที่ปรากฏอยู่ข้างๆ ผลเสิร์จมีสูงมาก  ที่สำคัญหากลูกค้าไม่คลิกโฆษณาเอสเอ็มอีเจ้าของโฆษณาไม่ต้องเสียเงินค่าโฆษณา เพราะเงินค่าโฆษณาจะเกิดขึ้นต่อเมื่อเกิดการคลิกเข้ามาดูเท่านั้น

“ผู้ลงโฆษณาสามารถเลือก “คำหลัก” หรือ Key Word เองได้ว่าอยากให้โฆษณาของตนไปปรากฏอยู่ข้างๆ ผลเสิร์จของคำว่าอะไร ส่วนมาก Key Word จะเป็นคำที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของผู้ลงโฆษณา ซึ่ง Google มีบริการเครื่องมือช่วยให้ผู้ลงโฆษณาสร้าง Key Word ได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง เพียงเข้ามาที่ GoogleAdwords (adwords.google.com) ข้อความโฆษณาจะไปปรากฏยังหน้าผลเสิร์จที่ลูกค้าเป้าหมายของคุณกำลังค้นหาอยู่ ดังนั้นโอกาสในการปิดการขายย่อมมีมากขึ้น”

นอกจาก Search Ad แล้วบริการโฆษราออนไลน์ของ GoogleAdwords (adwords.google.com) ยังรวมไปถึงโฆษณาที่ไปปรากฏอยู่ในหน้าเว็บของพันธมิตรของ Google ในรูปของ Display Ad ได้อีก ซึ่งหลักการในการปรากฏข้อความโฆษณาในหน้าเว็บพันธมิตรจะใช้ “คำหลัก” หรือ Key Word เช่นกัน คือ โฆษณาจะไปปรากฏยังหน้าเว็บที่มีข้อความที่ตรงหรือเกี่ยวข้องกับ “คำหลัก” หรือ Key Word ที่อยู่ในข้อความโฆษณานั้นอยู่

ผู้ลงโฆษณาสามารถเข้ามาเลือกใช้บริการตามประเภทที่ตนเองต้องการได้ โดยราคาค่าใช้บริการจะเหมือนกันนั่นคือจะเสียจ่ายโฆษณาให้กับ Google ต่อเมื่อเกิดการคลิกเข้าไปดูโฆษณาเท่านั้น หากไม่เกิดการคลิกผู้ลงโฆษณาไม่ต้องจ่ายเงินแต่จะได้การมองเห็น (Visibility/ Eyes Ball) ไปฟรีๆ ปัจจุบัน Google มีเว็บของพันธมิตรของ GoogleAdword ในประเทศไทยประมาณ 30,000 เว็บ

“ด้วยประสิทธิภาพของการเข้าถึงคนจำนวนมากที่ใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่มีคนใช้บริการเสิร์จเอ็นจิ้นสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงให้ และด้วยเงื่อนไขการชำระค่าโฆษณาแบบนี้ GoogleAdwords จึงเป็นการลงทุนการทำโฆษณาที่คุ้มค่าและได้ประโยชน์มากๆ สำหรับเอสเอ็มอี เพราะคุณจะไม่ต้องมีต้นทุนค่าโฆษณาเลยจนกว่าจะมีการคลิกโฆษณา ซึ่งรูปแบบของโฆษณาในปัจจุบันรองรับเฉพาะข้อความ แต่ในอนาคตนี้ทางเราจะเพิ่มรูปแบบให้สามารถรองรับโฆษณาในรูปแบบอื่นๆ ได้หลากหลาย อาทิ Clip VDO, Flash, และ Banner เป็นต้น”

พรทิพย์กล่าวเสริมว่า บริการโฆษณาออนไลน์ของ Google นั้น สามรถรองรองการปรับเปลี่ยนรูปแบบและกลุ่มเป้าหมายของโฆษณาได้ด้วยตนเองง่าย อาทิ กลุ่มเป้าหมายภาษาไทย แต่เป็นเว็บในอเมริกาเท่านั้นที่เห็นโฆษณา ที่ผ่านมามีตัวอย่างบริษัทเอสเอ็มอีที่ใช้บริการลักษณะนี้แล้วประสบความสำเร็จ นั่นคือ บริษัท Siam Health Group ผู้ผลิตและจำหน่าย Smooth E ที่เริ่มมาใช้บริการโฆษณาออนไลน์ของ Google เพื่อทำตลาดภายในประเทศ จากนั้นก็ขยายไปทำตลาดคนไทยในอเมริกา ทำให้ยอดขายสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยที่ไม่ต้องมีหน้าร้านที่อเมริกา

“บริการ GoogleAdwords ของเราสามารถช่วยลูกค้าคำนวณ ROI (Return on Investment) ให้กับลูกค้าได้อย่างละเอียดด้วย ว่ารายการการซื้อสินค้ามาจากโฆษณาชิ้นไหน ที่ไปปรากฏอยู่ที่เว็บไหน หรือไปปรากฏอยู่ที่คำค้นไหน และมีการคลิกเข้ามาจำนวนเท่าใด”

นอกจาก GoogleAdwords แล้ว Google ยังมีบริการเสริมอีกมากมายไว้คอยให้ความช่วยเอสเอ็มอีในการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์บนออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Google Analytic, Display Ad Builder และ Conversion Tracking เป็นต้น ซึ่ง Google Analytic เป็นตัวช่วยวิเคราะห์ปริมาณของคนที่เข้ามาดูโฆษณาว่าเป็นใคร เข้ามาดูอะไร หรือสนใจอะไร เป็นต้น ส่วน Display Ad Builder คือ เครื่องมือที่ช่วยผู้ลงโฆษณาคิดคำและสร้างโฆษณาบนสื่อออนไลน์ และ Conversion Tracking คือ ระบบซอฟต์แวร์ที่ติดตามและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการคลิกโฆษณาและการเกิดการขาย และช่วยคำนวณ ROI ให้กับผู้ลงโฆษณา

นับว่าโฆษณาออนไลน์เป็นช่องทางการเผยแพร่โฆษณาประชาสัมพันธ์ในปัจจุบันที่ทรงประสิทธิภาพแต่ใช้เม็ดเงินน้อยกว่า และนี่คือโอกาสของเอสเอ็มอีที่สามารถใช้สื่อนี้เพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ได้ด้วยต้นทุนที่ดีกว่า แต่ที่สำคัญการที่จะทำโฆษณาออนไลน์ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดนั้น ก่อนอื่นเลยเอสเอ็มอีควรจะต้องมีหน้าบ้านหรือเว็บไซต์ของตนเองเสียก่อน ซึ่งในปัจจุบันสัดส่วนของเอสเอ็มอีที่มีเว็บไซต์มีเพียง 10 เปอร์เซ็นต์นั้น…

View :3132

MOL’s CEO: Ganesh Kumar Bangah

July 15th, 2010 No comments

Money Online หรือ MOL เป็นตัวอย่างของบริษัทที่เกิดในช่วงดอทคอมบูมเมื่อสิบปีที่แล้ว และเป็น 1 ใน 3 บริษัทจากทั้งหมด 25 บริษัทที่นายทุนแห่ง Berjaya Group ได้ให้การสนับสนุนซึ่ง MOL สามารถเจริญเติบโตมาได้จนกระทั่งวันนี้มีธุรกิจในหลายสิบประเทศทั่วภูมิภาคเอเชีย และได้เข้าซื้อกิจการ Friendster.com จนมาล่าสุดได้จับมือเป็นพันธมิตรหลักในการชำีระเงินอีกรายให้กับ Facebook ซีอีโอคือคุณ Ganesh Kumar Bangah อายุเพิ่งจะ 30 กว่าๆ เอง เป็นตัวอย่างของธุรกิจดอทคอมที่ประสบความสำเร็จ หากใครอยากจะรู้จักเขาและบริษัทของเขาลองฟังคลิปนี้ดูค่ะ

[youtube=http://www.youtube.com/watch?v=KHHyuZlbCfU]

View :2277

Facebook’s Vaughan Smith

July 15th, 2010 No comments

วันก่อนมีโอกาสไปร่วมงานแถลงข่าวเซ็นเอ็มโอยูระหว่าง Facebook กับ Money Online (MOL) ที่ประเทศมาเลเซีย Vaughan Smith ซึ่งเป็น Director of Business and Corporate Development ของ Facebook ได้พูดถึงโอกาสทางการตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พร้อมทั้งความตั้งใจของ Facebook ในการขยายตลาดมายังภูมิภาคแห่งนี้ผ่านความร่วมมือกับ MOL ดังที่จะได้ฟังจากคลิปวีดีโอนี้….

[youtube=http://www.youtube.com/watch?v=Aun-zpCim-s]

View :2047