Archive

Archive for December, 2009

ธปท. หนุน e-payment ดันไทยสู่ “สังคมไร้เงินสด”

December 29th, 2009 No comments

ด้วยภาระต้นทุนการบริหารจัดการ “เงินสด” ในรูปของธนบัตรและเหรียญที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศราว 1 ล้านล้านบาทต่อปีนั้นมีมูลค่าสูงถึง 3 พันล้านบาทต่อปี และก่อให้เกิดความไม่สะดวกสูงสุดในการใช้งานและบริหารจัดการ “เงินสด” ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ทำแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน 2553 ขึ้นเพื่อเป็นกรอบการพัฒนาระบบการชำระเงินระยะ 4 ปี โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี 2550 และจะมาสิ้นสุดในปี 2553 นี้ โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวเข้าสู่สังคมการใช้ “เงินสด” ในรูปของ Cashless เพิ่มมากขึ้น นั่นคือ การลดการใช้เงินสดที่อยู่ในรูปของธนบัตรและเหรียญ มาสู่การใช้เงินสดในรูปของอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ทั้งนี้แม้ว่าแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงินจะมาสิ้นสุดในปีหน้านี้ แต่ทว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะดำเนินการนโยบายดังกล่าวต่อเนื่องไปจนกว่าประเทศไทยจะมีอัตราส่วนการใช้เงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น

ธปท. คาดหวังสังคมไร้เงินสด (Cash-less society):

ความคาดหวังสูงสุดนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยต้องการเห็นสังคมไร้เงินสดเกิดขึ้นในประเทศไทยในอนาคต โดยรูปแบบการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันของในอนาคตนั้นผู้คนจะหันมาใช้เงินสดที่อยู่ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Money: e-money) ไม่ว่าจะเป็นรูปของบัตรพลาสติก หรือในรูปของโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์พกพาใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นนอนาคต ซึ่งหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยคือสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนเข้าสู่สังคมการใช้เงินสดแบบไร้เงินสด โดยให้เกิดความสะดวก และปอดภัยสูงสูงแก่ผู้ใช้งาน นอกจากนี้ยังคงไว้ซึ่งกฎ กติกาและบรรยากาศของการแข่งขันที่เท่าเทียมกันของผู้ให้บริการ

ฉิม ตันติยาสวัสดิกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายระบบข้อสนเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยหวังว่าแผนกลยุทธ์นี้จะก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนในการผลักดันให้มีการใช้ระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ด้วยบริการที่มีประสิทธิภาพ มั่นคงปลอดภัย และค่าธรรมเนียมที่เป็นธรรม โดยมีกฎหมายและการบังคับใช้ที่มีประสิทธิผล ซึ่งแผนกลยุทธ์นี้มีวัตถุประสงค์หลักๆ คือ เพื่อขยายการใช้ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment) ของผู้ใช้บริการทุกกลุ่ม เพื่อลดการใช้เงินสดในรูปของธนบัตรและเหรียญ โดยมีโครงสร้างค่าธรรมเนียมที่เหมาะสมและเป็นธรรม โดยจะนำกฎหมายที่รองรับการทำธุรกรรมผ่านระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment) มาใช้อย่างเป็นรูปธรรม โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะให้การกำกับดูแลให้ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment) มีความมั่นคงปลอดภัย มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบการเงินและระบบสถาบันการเงิน

ภายใต้แผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน 2553 นี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดแผนพัฒนา E-Money ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการในการส่งเสริมให้สังคมเคลื่อนเข้าสู่สังคมการใช้เงินสดแบบไร้เงินสด (Cash-less Society)

ประเด็นสำคัญของการพัฒนาสังคมไร้เงินสดนั้นเป็นเพราะว่าประเทศไทยนั้นมีการใช้เงินสดในระดับสูงซึ่งบริการด้านการเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์นั้นส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นระบบปิดที่ให้บริการเฉพาะลูกค้าภายในกลุ่มเท่านั้น กอปรกับค่าธรรมเนียมในการใช้บริการชำระเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ไม่มีความเหมาะสม นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านกฎหมายที่รองรับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ปัญหาภาระของผู้ให้บริการที่เพิ่มขึ้นจากการปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกำหนดกรอบการพัฒนาระบบ Local Switching เพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดการชำระเงินผ่านรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้เครือข่าย Switching ภายในประเทศ เพื่อช่วยทำให้ค่าธรรมเนียมร้านค้าที่จะต้องจ่ายให้กับธนาคารนั้นลดลงเนื่องจากมีปริมาณการใช้งานมากขึ้นจากการเป็นระบบเปิดแทนที่จะเป็นระบบปิดอย่างในปัจจุบัน ทำให้ร้านค้าเต็มใจที่จะรับชำระเงินผ่านรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น และท้ายที่สุดผู้ใช้บริการจะได้รับความสะดวกและใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์แทนเงินสดที่เป็นธนบัตรและเหรียญ

ในปัจจุบันประเทศไทยมีปริมาณการใช้เงินสดทั้งสิ้นกว่าล้านล้านบาทโดยมีต้นทุนในการบริหารจัดการเงินสดดังกล่าวสูงถึง 3 พันล้านบาทต่อปี หากว่าประเทศไทยหันมาใช้เงินสดในรูปของอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น ต้นทุนในการดูแลบริหารจัดการเงินสดในส่วนนี้จะลดลง

ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่าปัจจุบัน ณ สิ้นเดือนมิถุนายนปีนี้ ประชานมีเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในรูปของบัตรพลาสติกมกกว่า 60 ล้านใบ ในจำนวนนี้ 27.0 ล้านใบเป็นบัตรเดบิต ในขณะที่ 19.6 ล้านใบเป็นบัตรเอทีเอ็ม และอีก 13.1 ล้านใบเป็นบัตรเครดิต ซึ่งถึงแม้จะดูราวกับว่าอัตราส่วนของการมีเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ในรูปของบัตรพลาสติกที่อยู่ในรูปของบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตนั้นอยู่ในระดับสูง แต่ทว่าเงินสดในบัตรเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการรวมถึงเพื่อการจับจ่ายในชีวิตประจำวันนั้นมีอัตราส่วนที่น้อยมาก คนส่วนใหญ่ยังนิยมใช้บัตรเครดิตเพื่อชำระสินค้ามากกว่าบัตรเดบิต และยังคงใช้บัตรเอทีเอ็มเพื่อการถอนเงินมากกว่าการทำรายการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น การโอนเงิน การชำระค่าสินค้าและบริการ เป็นต้น

“โดยเฉลี่ยแล้ว ประเทศไทยมีอัตราการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์เพียง 2-3 ครั้งต่อคนต่อปีเท่านั้น ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งส่วนใหญ่จะมีอัตราการใช้เงินสดในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ในอัตราส่วนที่สูงจะมีอัตราการการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์มากกว่า 10 ครั้งต่อคนต่อปี” ฉิมกล่าว

ทั้งนี้ทั้งนั้นการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับได้แก่ การชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธนาคาร การชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างบริษัท/องค์กรเอกชน และการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ของประชาชนทั่วไป ซึ่งมูลค่ารวมของการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยคือ 60 ล้าน ล้านบาทต่อปี โดยมีเพียง 5.5 ล้านล้านบาทต่อปีเท่านั้นที่เป็นการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างบริษัท/องค์กรเอกชน และการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ของประชาชนทั่วไป ซึ่งการเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนของการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ในภาคธุรกิจและประชาชนนั้นจะมีส่วนช่วยให้อัตราการเติบโตของจีดีพีของประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากประโยชน์ของการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์นั้นคือจะช่วยให้ประเทศสามารถลดต้นทุนโดยรวมของการผลิตธนบัตรและเหรียญรวมถึงดูแลบริหารจัดการเงินสดในรูปของธนบัตรและเหรียญ และองค์กรธุรกิจเองก็จะสามารถลดต้นทุนโดยรวมของการบริหารจัดการเงินสดของตนเองได้

ทว่าในปัจจุบันใช่ว่าจะยังไม่มีการใช้เงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นเลยแต่อย่างใด ในปัจจุบันนั้นมีตัวอย่างของการใช้เงินแบบไร้เงินสด(Cash-less) เกิดเพิ่มมากขึ้นและเป็นตัวอย่างของการใช้เงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใกล้ตัวผู้คนอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการใช้บัตรโดยสารรถไฟฟ้า BTS รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT บัตรเงินสดสมาร์ทเพิร์ส (Smart Purse) ที่ร้านสะดวกซื้ออย่าง 7Eleven รวมไปถึง mobile money หรือการใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งในปัจจุบันผู้ให้บริการมือถือ 3 ค่ายยักษ์ใหญ่ก็ออกบริการทางการเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในรูปบริการ Mobile Money กันครบถ้วน

ค่ายมือถือโดดให้บริการ “เงินสดอิเล็กทรอนิกส์” ถ้วนหน้า:

เริ่มจากค่ายทรูที่ส่งบริษัท ทรูมันนี่ จำกัด บริษัทลูกที่ให้บริการด้านการเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้มีการเปิดตัวบริการทางการเงินแบบไร้เงินสด แต่เป็นการใช้เงินสดในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์บนโทรศัพท์มือถือมานานกว่า 3 ปีแล้ว โดยมีบริการทางการเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้เลือกหลากหลาย โดยทรูมันนี่ตั้งเป้าว่าจะเป็นผู้ให้บริการด้านการเงินอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำของประเทศ

ปิยชาติ รัตน์ประสาทพร ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัท ทรูมันนี่ จำกัด บริหารจัดการปริมาณ “เงินสด” ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์อยู่สูงถึง 26,000 ล้านบาทในปีที่ผ่านมาและคาดว่าจะเพิ่มเป็น 28,000 ล้านบาทในปีนี้ โดยมีบริการด้านการเงินอิเล็กทรอนิกส์ให้บริการอยู่ถึง 6 รูปแบบที่ครอบคลุมรูปแบบการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันของประชาชน ได้แก่ บัตรเงินสดทรูมันนี่ (True Money Cash Card) บริการชำระเงินทรูมันนี่ (True Payment Service) กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (electronic wallet: e-wallet), ระบบการชำระเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์ (payment gateway), ทัชซิม (Touch SIM), และบริการรับจองตั๋วผ่านออนไลน์ (WeBooking.com)

ปิยชาติ กล่าวเสริมว่า บริการทั้งหมดนั้นถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานที่หลากหลาย ทั้งงานใช้งานทั่วไปและการใช้งานแบบเฉพาะเจาะจง อาทิ บัตรเงินสดทรูมันนี่ (True Money Cash Card) นั้นสำหรับการใช้งานทั่วไป คือเป็นบัตรเงินสดที่ผู้ใช้สามารถเติมเงินลงไปแล้วนำมาใช้ซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการสำหรับสินค้าทุกอย่างในเครือทรู คอร์ปอเรชั่น ส่วนกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (electronic wallet: e-wallet) นั้นเป็นบริการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือ โดยให้ผู้โทรศัพท์มือถือสามารถพกเงินสดมูลค่าสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทไว้ในโทรศัพท์ได้เพื่อใช้จ่ายซื้อสินค้าชำระค่าบริการต่างๆ ของบริษัทในเครือทรูเองและของผู้ให้บริการที่เป็นพันธมิตรธุรกิจกับทรู อาทิ ชำระค่าไฟ ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ เป็นต้นซึ่งเงินสดในโทรศัพท์มือถือนั้นสามารถผูกติดกับบัญชีธนาคารได้ถึง 4 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารกรุงเทพ โดยผู้ใช้สามารถเติมเงินลงใน e-wallet ของตนเองง่ายๆ ผ่านตู้เอทีเอ็มของธนาคาร ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการ e-wallet แล้วทั้งสิ้น 5.6 ล้านคนซึ่งบริษัทคาดว่าจะเพิ่มเป็น 10 ล้านคนภายในสิ้นปี

นอกจาก e-wallet แล้วทรูมันนี่ยังมีบริการหัวหอกอีกบริการหนึ่งคือ touch SIM ที่รูปแบบจะคล้าๆย กับ e-wallet แต่เป็นกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์แบบออฟไลน์ คือเวลาใช้งานไม่ต้องออนไลน์ไปทำรายการกับธนาคาร แต่เงินสดนั้นถูกบรรจุอยู่ใน SIM ของโทรศัพท์ รูปแบบการใช้งานเหมือนกับการใช้บัตรเงินสดทั่วไป เพียงแค่นำโทรศัพท์มือถือที่บรรจุ touch SIM แตะที่เครื่องรับหรือเครื่องอ่านที่จุดรับชำระเงินของร้านค้าต่างๆ เท่านั้น ซึ่งปัจจุบันมีร้านค้าที่รับชำระเงินผ่าน touch SIM แล้วมากกว่า 2,000 ร้าน อาทิ ทรูคอฟฟี่ ซีพี เฟรชมาร์ท แมคโดนัล  Red Mango, Auntie Anne’s และเครือ Major Cineplex Group เป็นต้น ซึ่งทรูมันนี่มีเป้าหมายจะเพิ่มจุดรับชำระเงินผ่าน touch SIM เป็น 10,000 จุดภายในสิ้นปี 2552 และเป็น 50,000 จุดภายในปี 2553 และคาดว่าจะมีผู้ใช้บริการ touch SIM จากปัจจุบัน 50,000 คนเป็นราว 200,000 คนภายในสิ้นปีนี้

ในขณะที่ค่ายเอไอเอสเองก็ส่ง Advanced mPAY บริษัทลูกที่ให้บริการการเงินอิเล็กทรอนิกส์ลงสนามเช่นกัน โดยบริการของ Advanced mPAY นั้นมีอยู่ 4 ส่วนหลักได้แก่ บัตรเติมเงิน (card refill), บริการรับชำระเงินสำหรับ e-commerce บริการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ (money transfers) และบริการรับชำระเงินสำหรับองค์กรธุรกิจ (m-biz solutions)

ปัจจุบัน Advanced mPAY มีลูกค้าเพิ่มขึ้นราว 30 เปอร์เซ็นต์จากปีที่ผ่านมา ปัจจุบันมีลูกค้าทั้งสิ้นประมาณ 65,000 ราย และมีมูลค่าของเงินสดที่ผ่านระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ของ Advanced mPAY ประมาณ 400 ล้านบาทต่อเดือน

ในขณะที่ดีแทคเองก็ให้บริการด้นการเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน โดยร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทยให้บริการ ATM SIM ซึ่งเป็นการผูกบัญชีธนาคารกสิกรไทยไว้ใน SIM ของดีแทค และให้ผู้ใช้งานสามารถบริหารจัดการเงินสดในบัญชีธนาคารนั้นๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือได้ทุกที่ทุกเวลา โดยดีแทคตั้งเป้าว่าจะมีผู้ใช้บริการราว 1.3 ล้านคนภายในสินปีนี้ ซึ่งดีแทคกับธนาคารกสิกรไทยได้ร่วมมือกับเพิ่มจุดรับชำระเงินด้วย ATM SIM ล่าสุด ลูกค้า Aeon และ KTC สามารถชำระค่าบริการต่างด้วย ATM SIM ได้โดยไม่ต้องไปเข้าแถวรอชำระเงิน ปัจจุบัน ATM SIM มีพันธมิตรรับชำระผ่าน ATM SIM แล้วประมาณ 50-60 ราย

ทั้งนี้ทั้งนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจะสนับสนุนและผลักดัน (ผ่านแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน 2553) ให้เกิดการใช้งาน e-money และ e –payment เพิ่มมากขึ้น โดยจะผลักดันให้เกิดการใช้งานในภาคธุรกิจค้าปลีกและการคมนาค ซึ่งเป็น 2 ภาคส่วนธุรกิจที่มีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะทำหน้าที่ทั้งผู้กำกับดูและเป็นคนกลางในการประสานสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นสถานบันการเงิน ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชน ธุรกิจค้าปลีก ผู้ให้บริการเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงจะสร้างความมั่นใจให้ประชาชนผู้ใช้เงินสดอิเล็กทรอนิกส์มั่นใจในธุรกรรมต่างๆ ว่าปลอดภัยและมีกฎหมายรองรับ ทั้งหมดนี้เพื่อนำไปสู่สังคมไร้เงินสด ซึ่งเป็นสังคมที่มีอัตราส่วนของการใช้เงินสดแบบไร้เงินสดเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

“การจะไปถึงตรงจุดนั้นได้เป็นงานยากและท้าทายเพราะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้ผลักดันและสนับสนุนให้เกิดขึ้นในอนาคต” ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายระบบข้อสนเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวทิ้งท้าย….

View :4167
Categories: e-payment Tags:

“Social Web/Viral Marketing” อาวุธธุรกิจในยุค Social Network (2)

December 28th, 2009 No comments

อาจกล่าวได้ว่า Facebook และ Twitter คือ Social Media กำลังเป็นสื่อใหม่ที่ถูกจับตาและถูกพูดถึงมากที่สุดในหมู่นักการตลาด ผู้ประกอบการขนาดใหญ่เริ่มให้ความสำคัญและก้าวเข้ามาศึกษาและใช้ประโยชน์จากสื่อใหม่สองตัวนี้อย่างจริงจังแล้วหลายราย ซึ่งผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กเองก็ไม่ควรมองข้ามสื่อใหม่อย่าง Facebook และ Twitter นี้ซึ่งกำลังมีบทบาทและทรงพลังในแง่ของการสื่อสารการตลาดอย่างยิ่ง

ทั้งนี้ความสำคัญของ Facebook และ Twitter ในฐานะที่เป็น 2 สื่อทรงพลังของการสื่อสารการตลาดบนสังคมออนไลน์ หรือที่เรียกว่าเป็น Social Media Marketing ซึ่งเป็นเทรนที่กำลังมาแรงที่เหล่ากูรูทางเทคโนโลยีและกูรูทางการตลาดจัดสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ มุมมอง และประสบการณ์ตรงกันอย่างคึกคัก ย่อมต้องมีความสำคัญกับผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กหรือเอสเอ็มอีเช่นกัน

นอกจากนี้ Facebook และ Twitter ยังคงเหมาะกับธุรกิจขนาดกลางและเล็กที่มีเม็ดเงินในการทำการตลาดไม่มาก เพราะว่า Facebook สามารถช่วยให้ธุรกิจขนาดกลางและเล็กส่ง Message ทางการตลาดได้ถึงและตรงกลุ่มเป้าหมายด้วยงบประมาณอันน้อยนิดได้ เนื่องจากใน Facebook นั้นมี Demographic ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเตรียมไว้ให้แล้ว

แต่ก่อนอื่นเลยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องเร่งทำความเข้าใจในสื่อใหม่อย่าง Facebook และ Twitter เสียก่อนว่าเจ้าสองตัวนี้คืออะไรและจะเป็นเครื่องมือทางกาตลาดที่มีพลานุภาพได้อย่างไร และรีบเข้ามาลองใช้สื่อทั้งสองตัวนี้ในช่วงที่มันกำลังได้รับความนิยมสูงสุดอยู่ ณ ตอนนี้

แม้ว่า Facebook และ Twitter เป็น Social Media เหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกันในคุณสมบัติและความเหมาะสมในการใช้เพื่อสื่อสารการตลาด โดย Facebook และ Twitter จะเป็นเหมือน “รัก-ยม” ถ้าจะใช้ Social Network Marketing ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต้องรู้จักใช้ Facebook และ Twitter ให้เป็น ให้สมดุล และเกื้อกูลกันเอง

Facebook เปรียบเหมือนทัพหลวง ในขณะที่ Twitter เหมือนทัพหน้า ทั้งนี้เพราะใน Facebook นั้นมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ค่อนข้างมากและครบ ในขณะที่ Twitter นั้นเน้นการสื่อสารแบบทันทีทันใด (Real Time Marketing) ที่เน้นการสื่อสารผ่านตัวอักษรเป็นหลัก (แม้ว่าจะสามารถใส่รูปได้ก็ตามทีแต่เน้นการสื่อสารข้อความต่อข้อความ หากใส่รูปก็ทีละรูป)

Facebook ทัพหลวงทางการตลาดอนไลน์:

กล่าวคือที่ Facebook นั้น ผู้ประกอบการสามารถเข้ามาเปิดแอคเคาน์ใช้งานได้ที่ www.facebook.com โดยชื่อผู้ใช้งานนั้นควรเป็นชื่อของแบรนด์ (บริษัทหรือสินค้า) เพื่อสร้างการตอกย้ำในตราสินค้า (www.facebook.com/xxxxx) ส่วนภาพ Profile (Profile Photo) ซึ่งจะเป็นภาพหรือแบรนด์ของบริษัทหรือสินค้าบน Facebook ก็ควรเป็นโลโก้ของบริษัทหรือสินค้านั้นๆ ซึ่งในFacebook มีฟังก์ชั่นหลักๆ มากมายหลากหลายที่เอื้อต่อการใช้งานเชิงธุรกิจ โดยตัวแอคเคาน์ของ Facebook เอง ผู้ประกอบการสามารถใส่ข้อมูลตั้งแต่ข้อมูลเบื้องต้นของบริษัทแบบคร่าวๆ ไว้ในหน้า ‘Info’ ส่วนข้อมูลปัจจุบันที่เคลื่อนไหวทุกวัน หรือข้อมูลที่อยากจะสื่อสารกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายทุกวันอาทิ ข้อมูลสินค้าใหม่ หรือข้อมูลโปรโมชั่น ก็ใส่ไว้ในหน้า “Wall’

นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังสามารถอัพเดทกิจกรรมต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตในฟังก์ชั่น ‘Event’ และส่งเทียบเชิญออนไลน์ไปให้กลุ่มเป้าหมายได้ผ่านฟังก์ชั่น ‘Invite’ ซึ่งตัวฟังก์ชั่นนี้จะช่วยให้ผู้เชิญพอที่จะคาดการณ์ผลตอบรับได้ เพราะตัวฟังก์ชันนี้จะมีฟีเจอร์ให้ผู้ที่ถูกเชิญตอบกลับง่ายๆ ว่า ตกลง (‘Confirm’) อาจจะ (‘Maybe’)  หรือไม่ไป (‘No’) ซึ่งอย่างน้อยจะช่วยให้ผู้เชิญนั้นพอจะรู้ Feedback

สำหรับกิจกรรมที่ผ่านมาแล้วผู้ประกอบการสามารถนำมาโพสต์ในหน้า Wall ได้โดยสามารถสร้างเป็นอัลบั้มภาพหรือทำเป็นวีดีโอคลิปที่ความยาวไม่เกิน 20 นาที หรือทำลิงค์ไปยังเว็บไซต์หลักของบริษัทก็ได้ ซึ่งข้อดีของการใส่รูปนั้น หากผู้ประกอบการใส่รูปกิจกรรมที่รูปของลูกค้าอยู่ในนั้นก็จะก่อให้เกิดการ “Tag’ คือ การเข้ามาใส่ชื่อของคนในภาพซึ่งอาจทำโดยใครสักคนที่รู้จักคนในภาพนั้น และตัวระบบจะทำการส่งอัพเดทให้กับกลุ่มเพื่อนของคนที่ถูก ‘Tag’ เองโดยอัตโนมัติ โดยที่คนที่ถูก ‘Tag’ ไม่ได้เป็นคนทำการ ‘Tag’ และไม่ได้เป็นทั้งคนส่งอัพเดทให้กับกลุ่มเพื่อนในเครือข่าย ภาพนั้นหรือข้อความที่ติดไปกับภาพนั้นมันจะถูกกระจายแบบไวรัสได้อย่างง่ายดายและทันที…และนี่คือตัวอย่างหนึ่งของอานุภาพของ Social Media อย่าง Facebook

นอกจากแอคเคาน์หลักแล้วผู้ประกอบการยังสามารถเปิดเป็น Fan Page ได้ซึ่งความแตกต่างของ Fan Page กับแอคเคาน์หลักก็คือ ถ้าเปิดใช้งานในแอคเคาน์หลักนั้นการที่จะเพิ่ม “เพื่อน” (หรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย) ในเข้ามาในเครือข่ายสังคมของเรา เราจะต้องออกไป “เชิญ” (ส่ง ‘Request’) และรอการตอบรับว่าอยากจะเป็นเพื่อนกลับมา ในทางกลับกัน หากคนบน  Facebook อยากจะเป็นเพื่อนกับ “เรา” เขาจะต้องทำอย่างเดียวกัน แต่ในขณะที่ Face Page นั้น เป็นฟังก์ชั่นที่ให้เราสามารถสร้างหน้าคล้ายๆ หน้าแอคเคาน์หลักของ Facebook ซึ่งหากเราต้องการเพิ่มสมาชิกเราก็สามารถส่งเทียบเชิญ (Become a fan of xxxx) ไปยังกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ Facebook ได้โดยรอเขาตอบรับกลับมา ในขณะที่หากคนบน Facebook เขาอยากจะมาเป็นสมาชิกของ Fan Page เราเขาก็สามารถเป็นได้ทันทีโดยไม่ต้องรอการตอบรับจากเรา ซึ่งตรงจุดนี้จะต่างจากการเปิดเป็นแอคเคาน์หลัก ซึ่งทำให้การดึงคนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการทางตลาดของเราบนโลก Facebook นั้นสะดวกและง่ายกว่า

นอกจากนี้ในฟังก์ชั่นของ Fan Page ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานเชิงธุรกิจโดยเฉพาะ (เพราะตอนสมัครครั้งแรกนั้น Facebook จะถามว่าคุณคือคนที่ได้รับอนุญาตจากองค์กรของคุณเพื่อมาเปิดและเป็นเจ้าของ Fan Page ขององค์กรคุณหรือไม่) อาทิ สถิติการเข้าชมหน้า Fan Page ของคุณ ซึ่งจะนำเสนอเป็นเชิงตัวเลขและกราฟ เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความเคลื่อนไหวของ Fan Page ของคุณ โดยจะบอกจำนวนสมาชิกล่าสุด จำนวนผู้เข้าชมที่ไม่ซ้ำรายกัน (Unique Visitor) รวมถึงจำนวนหน้าที่ถูกเข้าไปเยี่ยมชม (Page View) ซึ่งฟังก์ชั่นที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นบริการฟรี แต่หากผู้ประกอบการจะต้องการเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานมากกว่านี้ อาทิ หากต้องการเพิ่มสมาชิกจำนวนมากๆ ก็อาจจะใช้บริการ Advertising ของ Facebook ซึ่งFacebook จะช่วยทำหน้าที่โฆษณาหน้า Fan Page ที่ซื้อ Ad ไปยังกลุ่มลูกคนกว่า 400 ล้านคนทั่วโลก (และมากกว่า 1 ล้านคนในประเทศไทยที่เป็นสมาชิกของ Facebook) ให้ โดยจะคิดค่าบริการโฆษณาใน 2 รูปแบบหลัก ๆ คือ คิดเหมา กับคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อรายสมาชิก


Twitter ทัพหน้าของการตลาดแบบไวรัส:

สำหรับ Twitter นั้น เป็นการสื่อสารข้อความสั้น หรือ Short Message ที่ถูกจำกัดอยู่ที่ 140 ตัวอักษรและเน้นกาสื่อสารแบบทันทีทันใด (Real Time Communication) นั้นเป็นอีกสื่อหนึ่งที่ถูกนักการตลาดหยิบมาใช้ควบคู่กับ Facebook เพื่อทำให้การสื่อสารการตลาดนั้นสัมฤทธิ์ผลมากขึ้น โดยคุณสมบัติของ Twitter และกลุ่มคนใน Twitter จะแตกต่างจากกลุ่มคนใน Facebook บ้าง เริ่มต้นจากการเข้าเป็นสมาชิกของ Twitter นั้นง่ายกว่าเพราะคนในสังคม Twitter สามารถเข้ามาติดตาม (มาเป็น Follower) ของคุณเมื่อไรก็ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตคุณก่อนและเขาสามารถ “เลิก” ตาม (Unfollow) เมื่อใดก็ได้เช่นกัน

การเปิดแอคเคาน์บน Twitter นั้นง่ายดายพอๆ กับ Facebook คือเข้าไปสมัครใช้งานได้ที่ Twitter.com (twitter.com/xxxx) โดยชื่อที่ได้มาจะเป็น @xxxx จากนั้นก็ใส่ข้อมูลเบื้องต้นในส่วนของ Bio จากนั้นก็เริ่มต้น “สื่อสาร” ข้อมูลทางการตลาดที่ต้องการ หรือในภาษา Twitter เรียกว่า “Tweet”

โดยข้อความทางการตลาดที่จะสื่อสารใน Twitter นั้นจะต้อง “เนียน” มาร์เก็ตติ้งมากกว่าใน Facebook เพราะในสังคมของ Twitter นั้น คนจะไม่นิยมและไม่ยินดีรับข้อมูล Hard Sale เพราะธรรมชาติของคนที่เล่น Twitter นั้นจะใช้ Twitter เพื่อสื่อสารเป็นหลักทั้งและในสังคมของ Twitter จะมีความเป็นเพื่อนพ้องกันสูง และข้อความที่จะสื่อสารนั้นจะต้องเป็นมีความเป็นเพื่อนและเป็นข้อความเป็นที่ประโยชน์หรือเป็นที่สนใจเท่านั้น หากเป็นข้อความทางการตลาดตรงๆ แข็งๆ อาทิ โปรโมชั่นสินค้า มักจะไม่ได้รับการต้อนรับจากสังคมตรงนี้เท่าที่ควร และส่วนใหญ่มักจะถูกต่อต้านด้วยซ้ำไป

นอกจากนี้ การสื่อสารกับกลุ่มคนบน Twitter ยังสามารถจัดหมวดหมู่ของ “ข้อความ” ได้โดยการใส่ Hastag # เพื่อให้ง่ายต่อการติดตามและประเมินผลของการสื่อสารเรื่องนั้นๆ ว่าได้รับความสนใจและถูกพูดถึงมากน้อยเพียงใด ซึ่งผู้ประกอบการสามารถปรับใช้มาเป็นโค้ดหรือรหัสในการรับโปรโมชั่นได้ อาทิ ลูกค้ารายใดนำโค้ดที่เราให้ไป ณ ช่วงเวลานั้นมาแสดงจะได้รับส่วนลดหรือของกำนัลจากทางบริษัทเมื่อมาใช้บริการ หรืเมื่อมาซื้อสินค้า เป็นต้น ซึ่งล่าสุด Twitter เองเริ่มมีฟังก์ชั่นให้จัดกลุ่มของ Follower ที่อยู่ในสังคมของเราได้ตามเงื่อนไขที่เราเองสามารถกำหนดเองได้ เพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสาร Message ไปยังกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจตรงกัน

ทั้งนี้รูปแบบการสื่อสารบนโลกของ Social Media อย่าง Twitter นั้นจะต้องอิงอยู่บนรูปแบบของความสัมพันธ์ฉันท์ “เพื่อน” มากกว่าในฐานะ “ผู้ขายกับผู้ซื้อ” และข้อมูลที่จะได้รับการต้อนรับจากสังคมตรงนี้จะต้องเป็นข้อมูลที่ทำให้เขาสามารถมีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งได้ ดังนั้นการสื่อสารกับคนใน Twitter จะต้งทำผ่านบทสนทนาที่เป็นกันเอง โดยข้อความที่สื่อสารนั้นโดยมากจะเป็นการพูดคุยฉันท์เพื่อน แต่ก็แฝงด้วยข้อความทางการตลาดบ้างเล็กน้อยแบบเนียนๆ และแทรกการตลาดแบบตรงๆ ได้ในบ้างในบางจังหวะ ประหนึ่งว่า “เพื่อนเอาโปรโมชั่น เอาอะไรดีดีมาบอกเพื่อน” แบบนี้ถึงจะประสบความสำเร็จ

ดังนั้น องค์กรธุรกิจที่ต้องการปักธงใน Twitter จะต้องใช้เวลาและจะต้องมีลงทุนเรื่องคนเพื่อให้มาดูแลรับผิดชอบกับช่องทางการสื่อสารนี้โดยเฉพาะ เพราะว่าแอคเคาน์ที่เปิดในนามองค์กรธุรกิจนั้นเป็นเสมือนตัวตนจริงบนสังคมออนไลน์นั้น ซึ่งหากจะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั้น “แอคเคาน์” นั้นจะต้องมีความถี่ในการปฏิสัมพันธ์กับคนในสังคมนั้นอย่างสม่ำเสมอ เพราะความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนนั้นมิได้สร้างขึ้นได้ชั่วข้ามคืน

ซึ่งข้อดีมากประการสำคัญของ Social Network Marketing คือใช้เงินน้อยแต่ใช้สมองมากเพราะฉะนั้น ข้อจำกัดเรื่องเงินทุนในการตลาดของผู้ประกอบการเอสเอ็มดีจะหมดไป อย่างไรก็ดี การตลาดจะต้องเป็นการตลาดแบบผสมผสานกนระหว่างสื่อเก่ากับสื่อใหม่ (Integrated Marketing) สำหรับศาสตร์และศิลป์ในการผสมสัดส่วนของการตลาดโดยใช้ทั้งสื่อเก่าและใหม่นั้นเป็นเรื่องของการประลองฝีมือกันระหว่างนักการตลาด ที่ต้องเข้ามาเรียนรู้และเข้าใจถึงอานุภาพและประโยชน์ที่เขาจะได้รับ หากรู้จักใช้ Social Network Marketing ให้เป็นนั่นเอง …..

View :2845

Government policy should assist building local software industry to persuade the global investment

December 17th, 2009 No comments

Even though the software industry has been established in the country for more than a decade and there has been attempts to drive software to become one of the flagship industry that expected to generate significant revenue to the country economic, but currently, it seems this industry still not reach its mission and it going far away from being in the world software map.

Software is an engine of economic growth. To help promote economic growth, the country’s policy makers have to determine policies to encourage the commercial software industry. Manoo Ordeedolchest, chairman of the Board, Software Park Thailand and former president of Software Industry Promotion Agency (Sipa), said that the government policy should assist building local software industry to persuade the global investment including provision of facilities, immigration and work permit, human resource development, and promotion package.

Manoo Ordeedolchest- Chairman of the Board, Software Park Thailand and Former President of Software Industry Promotion Agency (Sipa)

Manoo Ordeedolchest- Chairman of the Board, Software Park Thailand and Former President of Software Industry Promotion Agency (Sipa)

If Thailand wants to become the destination of software development, the government should provide the park facilities to welcome software companies to come in and have a place to settle down business in the country. Currently, the only facility is the Software Park located in Bangkok. It is not yet expanding to the region of the country, unless the private’s attempts to build the private software park in the north in Chiang Mai – Chiang Mai Software Technology and Outsourcing Centre – and in the south in Phuket – Software Park Phuket.

Moreover, the regulation around the immigration and work permit are also the important factors, because software industry is knowledge business requires the experts from abroad to come and work in the country. Therefore, the immigration and work permit processes should be more convenient for them. Even though, there has been effort to provide such this service, but it is still in the policy level, but it is not practical when is in the operation level.

“This point, the neighborhood countries are doing better than us. For Thailand, there is one-stop-service facilitate the oversea people at the first time, but when they need to renew their work permit or visa they have to show up this is quite not convenient for the foreign executive,” said Manoo.

Human resource…important capital:

Software is the knowledge-based industry, so human recourse development is also another key point for the government concern in helping strengthen local software industry. There is unclear which organization to oversee the human resource development for software industry and where the money for this task. It seems there are organizations who take care of this matter, both the Software Industry Promotion Agency (Sipa) and the Ministry of Education, but there is vacuum situation in software human resource development.

“Software is young industry that requires a lot of government support. If there is not enough action in support and encouragement for software industry from the government, it is too difficult to drive software industry to become the industry significant to the country economic and difficult to persuade the big foreign investment like Intel, IBM, and Microsoft that have invested in our neighborhood countries like Vietnam and Malaysia,” said Manoo.

Promotion package needed:

Also, the government’s promotion packages for software industry also play an important role. At the present, it seems the promotion package is not attractive enough and it seems only Board of Investment (BoI) responsible for this stuff. The government should develop more promotion packages coming up with not only in numbers but in quality of packages.

“If compare the government’s promotion package among four counties including China, Vietnam, Malaysia, and Thailand. Thailand is ranked in the forth. These countries realized that foreign investment brings investments, jobs, and technology transfers to their countries. Thailand’s distinguish promotion package is only BoI’s that provides company to wave the company’s income tax for eight years,” said Manoo.

BoI has been active in providing its support and promotion package. As a result, there have been around 30 to 40 foreign software companies come in Thailand per year, but it is too small number and most of them are small business therefore it is not significant impact to drive the entire software industry as a whole and it also is not impact tot the country’s economy as well.

Manoo recommended that the priority is to develop the retraining programs. As around 80 per cent of total 40,000 programmers are familiar with the traditional technologies that more costly than using the new software technologies, which reduces cost of software usage to more than 50 per cent.

Cost of retraining one programmer is around Bt200,000. Therefore, in order to help local software companies to get improve their software people the government should help them easily access the sources of funds.

“Angle fund is a must for building up the country’s software industry. It is so difficult to execute this in Thailand but we need to change point of view on this free condition of fund. If around 50 projects received angle fund were success and other 50 per cent were failure, it is success in term of angle fund initiative because even only 50 per cent success but these 50 per cent will create job opportunities for more other people,” said Manoo.

He insisted that if there is not action in these areas, Thailand will not on the world software map for sure. Thailand’s software industry will not reach its goal but just become only family-based-industry and will be not significant to the country’s economic.

However, at the present, the paradigm shift in software technology will help open more opportunities for Thailand’s software industry, he said. The software paradigm shift helps Thai software houses to have more chances to develop their niche software with less cost and shorter of time. There are three main important technologies included service oriented architecture (SOA), web2.0, and open source technology.

“Challenge is that how we can retrain our people on these new paradigms of software development effectively,” said Manoo.

Smart Thailand…key driver:

There is a good sign from the country’s second ICT master plan – for 2009 to 2013 that aims to turn the country become ‘Smart Thailand’ equipped with ‘Smart People’ and a ‘Smart Government’, under the plan, the first strategy – the Information Literacy strategy – will focus on human-resource development.

Moreover, it is to improve the country’s ICT readiness so it is better positioned on the world stage and to increase the contribution of the ICT industry to the country’s gross domestic product (GDP) to 20 per cent. It also will encourage Thailand’s export of niche software, increasing its contribution to about 30 per cent of the total software revenue.

By the end of 2013, ICT industry special focus on the software industry will become a major income generator for the country with the software industry’s worth of Bt150 billion, of which about 50 per cent would come from local software development.

View :1974

“Social Web/Viral Marketing” อาวุธธุรกิจในยุค Social Network (1)

December 14th, 2009 No comments

อาจกล่าวได้ว่าเมื่อโลกเชื่อมต่อกันจนผู้บริโภคสามารถติดต่อสื่อสารกันโดยตรงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้นอย่างทุกวันนี้ (Consumer-to-Consumer) ได้สร้างพลังให้กับผู้บริโภคอย่ามากและได้ส่งผลกระทบต่อกระบวนยุทธ์ทางการตลาด และท้าทายเหล่านักการตลาดชนิดที่เรียกได้ว่าแทบจะต้องฉีกตำราการตลาดแบบเก่าทิ้ง

การตลาดแบบดิจิตอล (Digital Marketing) กำลังมีบทบาทและเป็นที่จับตาและกล่าวขานถึงอย่างกว้างขวางในบรรดาขุนศึกการตลาดทั้งหลาย บรรดาธุรกิจต่างก็ตระหนักและให้ความสำคัญกับการตลาดรูปแบบใหม่นี้อย่างมาก ซึ่งการตลาดแบบใหม่นี้เป็นโอกาสทองของบรรดาเหล่าผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (เอสเอ็มอี) เพราะเป็นการตลาดที่มิได้อาศัยเม็ดเงินและสายป่านที่ยาวกว่าในการกำชัย แต่อาศัยความเข้าใจและการปรับตัวที่รวดเร็วกว่า ซึ่งหากเอสเอ็มอีเริ่มต้นที่จะเรียนรู้และเข้าใจเพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากการตลาดแบบใหม่นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Social Network… ปฐมบทของการตลาดแบบไวรัส

การตลาดแบบดิจิตอล (Digital Marketing) เริ่มเป็นที่กล่าวขานถึงอย่างมากในวงการตลาดทั่วโลก และเริ่มเข้ามามีบทบาทสร้างกระแสตื่นตัวในแวดวงธุรกิจไทยแล้ว การตลาดรูปแบบใหม่นี้เป็นการอาศัยพลังเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและอานุภาพของเครือข่ายสังคมบนโลกออนไลน์ (Social Network) เป็นพื้นฐานสำคัญ จากข้อมูลการวิจัยพบว่าผู้บริโภคในปัจจุบันนั้นเชื่อในสิ่งที่ผู้บริโภคด้วยกันพูดถึงสินค้าและบริการของผู้ให้บริการมากกว่าเชื่อในการข้อมูลที่เจ้าของสินค้าและบริการนำเสนอ ซึ่งข้อมูลที่ผู้บริโภคเหล่านี้ค้นหาเพื่อที่จะฟังและเชื่อตามนั้นเป็นข้อมูลที่สื่อสารกันในโลกของ Social Network ซึ่งนักการตลาดบางคนเรียกว่า Social Web Marketing หรือ Viral Marketing

ในปัจจุบัน Social Network ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ Facebook.com มีจำนวนสมาชิก ณ เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาถึง 250 ล้านคน ซึ่งหากเทียบเป็นประเทศแล้วจะเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกเลยทีเดียว ในประเทศไทยมีผู้ใช้ Facebook.com อยู่ประมาณ 8.5 แสนคน ซึ่งตัวเลขกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ (ปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยประมาณเกือบ 20 ล้านคน)

Social Network คืออะไร…Social Network คือเว็บที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้คนสมัครเข้ามาเป็นสมาชิกของสังคมออนไลน์นั้น โดยสมาชิกของสังคมออนไลน์นี้ส่วนมากจะมีการใส่ข้อมูลส่วนตัวพื้นฐาน อาทิ ชื่อ นามสกุล อายุ เพศ การศึกษา สถานที่ทำงาน กิจกรรมหรือความชอบส่วนตัว อาทิ อ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง หรือช้อปปิ้ง เป็นต้น นอกจากนี้ Social Web ยังถูกแบบมาเพื่อเก็บข้อมูล (Profile) ของสมาชิกทุกคน ไม่ว่าสมาชิกคนนั้นจะทำอะไร พูดอะไร สื่อสารกับใคร ไปไหนบนโลกไซเบอร์ ข้อมูลทุกอย่างจะถูกเก็บและจัดกลุ่มและจะถูกใช้เป็นอาวุธทางการตลาดที่สำคัญในอนาคต

เว็บสังคมออนไลน์นี้จะเปิดโอกาสให้สมาชิกสร้างสังคมหรือโลกส่วนตัวแบบที่ตนเองชอบและปรารถนาบนโลกออนไลน์ได้ เรียกได้ว่าถ้าชอบใครรักใครอยากจะคบกับใครอยากจะติดต่อกันใครก็สามารถออกแบบสังคมและกลุ่มเพื่อนของตนเองได้เอง เพียงแค่ไปขอ “Add” คนเหล่านั้น (ซึ่งต้องมีตัวตนหรือ Account อยู่บนโลกออนไลน์เดียวกัน) มาเป็นเพื่อนในเครือข่ายได้เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส ซึ่งฟีเจอร์ของสังคมออนไลน์ให้ผู้ใช้ได้ใส่ (post) ข้อมูลไม่ว่าจะเป็นข้อความ ภาพ วีดีโอ ตารางงาน รายการสิ่งที่จะต้องทำ บันทึก เรียกว่าแทบจะทุกสิ่งอย่างในชีวิตประจำวัน เป็นเหมือน Organizer ของชีวิตแถมยังเปิดให้เพื่อนๆ ที่อยู่ในเครือข่ายของเราสามาถรเห็นและรู้ทุกย่างก้าวของเรา ในขณะเดียวกันเราก็สามารถห็นและติดตามทุกจังหวะชีวิตของเพื่อนเราในสังคมออนไลน์ที่เป็นโลกส่วนตัวของเราได้แบบใกล้ชิดเรียกได้ว่าแทบทุกวินาทีที่เขามีการเคลื่อนไหว ทำให้สังคมออนไลน์นี้มีความผูกพันและมีความเป็นกลุ่มหรือพวกเดียวกันสูง

โลกหรือสังคมออนไลน์ของคนๆ หนึ่ง ซึ่งจะมีขนาดใหญ่แค่ไหน (คือมีสมาชิกในเครือข่ายของตนเองมากแค่ไหนขึ้นกับคนๆ นั้จะไปสร้างหรือ Add คนเข้ามาในโลกของตัวงมากแค่ไหน) ก็ตาม แต่ที่สำคัญอานุภาพของสังคมออนไลน์นี้อยู่ที่มันได้เชื่อมสังคมออนไลน์ของคนหลายๆ คนเข้ากันเป็นสังคมออนไลน์เดียวกันแบบไร้รอยต่อ โดยสร้างประสบการณ์ให้เราสามารถข้ามเข้าไปทัวร์สังคมออนไลน์ของคนที่อยู่ในเครือข่ายของเรา และเข้าไปเยี่ยมไปรู้จักไปสื่อสารกับเพื่อนและคนที่อยู่ในสังคมของเขาเหล่านั้นลึกลงไปเรื่อยๆ คือได้เพื่อนของเพื่อนมาเป็นเพื่อน เป็นเช่นนี้ต่อเนื่องไปเป็นลูกโซ่

Viral Marketing …โอกาสและความท้าทายครั้งใหม่ของเอสเอ็มอีไทย

ดังนั้นเมื่อคนใดคนหนึ่งในสังคมออนไลน์ที่มีพลังนี้พูดหรือวิจารณ์สินค้าหรือบริการอะไรของใครแล้วก็ตามคนอีกจำนวนมากจะรับรู้และส่วนมากคล้อยตาม นักการตลาดเรียกปรากฏการณ์นี้ว่าเป็น Viral Effect และพยายามจะใช้ประโยชน์จาก Viral Effect นี้กันอยู่เพียงแต่ว่าใครกันที่สามารถเข้าใจและหยิบมันมาใช้เป็นอาวุธทางการตลาดนี้ (Social Web/Viral Marketing) ที่ทรงประสิทธิภาพมากกว่ากัน เกมการตลาดวันนี้เปลี่ยนโฉมแล้ว SMEไทยเองต้องตระหนักรู้และเข้าใจถึงบทบาทและความสำคัญของ Social Web/ Social Network นี้ ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมี SME จำนวนไม่น้อยเริ่มแหย่ขาเข้ามาในสังคมออนไลน์นี้แล้ว

พลังของ Social Network นี้ได้เปลี่ยนพฤติกรรมหลายอย่างของผู้บริโภค เช่นว่า ในสหรัฐอเมริกาผู้บริโภคส่วนมาก (77 เปอร์เซ็นต์) จะนิยมอ่าน Review สินค้าและบริการก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ และ 24 เปอร์เซ็นต์ของผู้ซื้อรถยนต์ในสหรัฐอเมริกาจะเปลี่ยนใจจากรถยนต์แบรนด์หนึ่งไปซื้ออีกแบรนด์หนึ่งหลังจากอ่านและฟังคำวิจารณ์ของผู้คนใน Social Network

มนู อรดีดลเชษฐ์ ประธานบอร์ด เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย กล่าวว่าในต่างประเทศ Social Network เริ่มเข้ามามีบทบาทในภาคธุรกิจเพิ่มมากขึ้น องค์กรธุรกิจเริ่มนำสังคมออนไลน์มาเป็นอาวุธทางธุรกิจเพื่อสร้างช่องทางการตลาดแบบใหม่ และใช้ประโยชน์จก Viral Effect และเป็นโอกาสทองของผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กเพราะว่า Social Network ได้หล่นช่องว่างทางการตลาดระหว่างบริษัทขนาดใหญ่และเล็ก และได้มอบอำนาจในการสื่อสารให้กับบริษัทที่ขนาดเล็กให้สามารถเข้าถึงมวลชนจำนวนมหาศาลได้อย่างเท่าเทียมกับบริษัทขนาดใหญ่

อภิศิลป์ ตรุงกานนท์ ที่ปรึกษาก้านกลยุทธ์ธุรกิจออนไลน์ ซึ่งอดีตเคยเป็นผู้อยู่เบี้องหลังความสำเร็จของเว็บไซต์ Pantip.com และ PantipMarket.com กล่าวว่า Social Web/Viral Marketing ถือเป็นหัวใจของการตลาดยุคดิจิตอล และได้พลิกคัมภีร์การตลาดจากเดิมที่ต้องส่ง “สาร” หรือ Message ทางการตลาดออกไปกว้างๆ แบบหว่านๆ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มคนให้ได้มากที่สุดเพื่อสร้างกระแสความรับรู้ต่อแบรนด์ สินค้า และบริการนั้นๆ เพื่อสร้างความสนใจ และพิจารณาตัดสินใจซื้อ แต่โลกที่มีอินเทอร์เน็ตเป็นการสื่อสารขั้นพื้นฐาน (มากขึ้นเรื่อยๆ) การตลาดได้เปลี่ยนวิธีเข้าถึงเสียใหม่ ด้วยการเชื่อมโยงกันของผู้บริโภคบน Social Network “สาร” หรือ Message ทางการตลาด (ที่โดนและโดดเด่น) จะถูกส่งต่อกันไปเป็นทอดๆ และเพิ่มจำนวนเป็นเท่าทวีคูณโดยผู้รับสารนั้นๆ เสียเอง หรือที่เรียกว่าเป็น Viral Effect นั่นเอง

“อาจกล่าวได้ว่า Social Web หรือ Social Network เป็นอาวุธของการสร้าง Viral Effect หรือ Viral Marketing นั่นเอง เคล็ดลับคือทำอย่างไรให้คนบนอินเทอร์เน็ตพูดถึงเรา สินค้าและบริการของเราในทางที่ดีกันเยอะๆ นั่นเอง ทุกวันนี้คนใช้เวลาบนอินเน็ตเน็ตกันมากขึ้น และมีปฎิสัมพันธ์กันบนโลกออนไลน์เพิ่มมากขึ้น โดยมี 3 กิจกรรมหลักที่คนนิยมใช้เวลาอยู่กับมันมากบนอินเทอร์เน็ต คือ ดูวีดีโอ อ่านบล็อก และเข้าเสิร์จ โดยมีเว็บไซต์ที่ผู้คนยอมเสียเวลาอยู่กับมันมากที่สุดเวลาท่องโลกอินเทอร์เน็ต ได้แก่ Facebook, Yahoo, AOL, Google และ  Microsoft”

เช่นเดียวกับ ดร.เอียน เฟนวิค ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการตลาด สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า Social Network กำลังท้าทายสื่อกระแสหลัก จากปัจจุบันประชากรบนโลกอินเทอร์เน็ตทั่วโลกมีมากถึง 1.6 พันล้านคน ซึ่ง 41 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรอินเทอร์เน็ตโลกเป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในภูมิภาคเอเชีย นำโดยจีนที่มีประชากรอินเทอร์เน็ตอยู่ 298 ล้านคน ซึ่ง 22 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในจีน (162 ล้านคน) เป็นบล็อกเกอร์ (Blogger) และ Facebook.com คือสังคมออนไลน์ที่มีประชากรที่ระบุตัวตนที่ชัดเจนได้ไม่ซ้ำกัน (Unique Visitors) มากถึง 250 ล้านคน และเป็นสังคมออนไลน์ที่มีการเติบโตรวดเร็วที่สุดในโลกอยู่ในขณะนี้ ข้อมูล ณ วันที่ 15 กรกฎาคมที่ผ่านมา Facebook.com มีผู้ใช้ 250 ล้านคน 1 ใน 3 เป็นผู้ใช้ที่มีอายุระหว่าง 35-49 ปี และ 1 ใน 4 เป็นผู้ใช้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี

ดร.เอียน ยังบอกว่า นอกจาก Facebook.com แล้ว Twitter กำลังกลายเป็นสื่อดิจิตอลที่ทรงพลังไม่แพ้กันโดยในปัจจุบัน (ข้อมูล ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2552) มีผู้ใช้ Twitter ทั่วโลกอยู่ 7 ล้านผู้ใช้ที่ไม่ซ้ำกัน (Unique Users) กลุ่มผู้ใช้ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 35-49 ปี

เมื่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนมาสู่การปฎิสัมพันธ์กันผ่านโลกของสังคมออนไลน์มากขึ้นเช่นนี้ ดร.เอียนจึงกว่าวว่า คัมภีร์การตลาดยุกดิจิตอลได้เปลี่ยนจาก 4Ps ในอดีต คือ Product, Price, Place และ Promotion ไปสู่ ‘New 4Ps’ ได้แก่ Permission, Participation, Profile และ Personalization ดังนั้นนักการตลาดและนักธุรกิจที่จะกุมชัยชนะในเกมการตลาดยุคใหม่นี้จะต้องเข้าใจและศึกษาแนวโน้มของการเติบโตของสังคมออนไลน์ (Social Network) ให้ดี

ซึ่งการตลาดรูปแบบใหม่นี้เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการทุกขนาดสามารถมีโอกาสในการเข้าถึงตลาดและกลุ่มเป้าหมายของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดหากผู้ประกอบการเหล่านั้นเข้าใจและหยิบเอาอาวุธนี้มาใช้ได้อย่างเข้าใจและสร้างสรรค์ได้ก่อนกัน…

View :2731

เรียนลัด…ปักธงธุรกิจซอฟต์แวร์ไทยในต่างแดนจาก TSEP

December 12th, 2009 No comments

แม้ว่าประเทศไทยเราจะเริ่มมีอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์มาเกือบทศวรรษ แต่อาจกล่าวได้ว่าธุรกิจซอฟต์แวร์ไทยได้มีการส่งออกไปขายยังตลาดต่างประเทศภายใต้แบรนด์ของตัวเองอย่างเป็นรูปธรรมและได้รายได้เป็นกอบเป็นกำในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาหลังการรวมตัวกันของบริษัทซอฟต์แวร์คนไทยที่มีความศักยภาพและความพร้อมในนามของสมาคมผู้ส่งออกซอฟต์แวร์ไทย หรือ TSEP (Thai Software Export Promotion Association)

ที่ผ่านมาผู้ประกอบการภายใต้กลุ่ม TSEP มีการเปิดตลาดในเอเชียไปแล้ว 3 ตลาดได้แก่ เวียดนาม ญี่ปุ่น และฟิลิปินส์ ซึ่งการบุกตลาดเหล่านี้เพื่อปักธงธุรกิจซอฟต์แวร์ไทยในตลาดทั้ง 3 นี้ค่อนข้างประสบความสำเร็จ แต่ทว่าเส้นทางเดินตลอด 2 ปีที่ผ่านมาของบริษัทซอฟต์แวร์เหล่านี้ในการเข้าไปเจาะตลาดในประเทศที่มีความแตกต่างกันทั้งทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและความต้องการนั้นมิใช่เส้นทางที่โรยไว้ด้วยกลีบกุหลาบ บริษัทเหล่านี้ต้องทำไปเรียนรู้ไป (Learning by Doing) ต้องเรียนรู้ที่จะเก็บรายละเอียดระหว่างบรรทัดของการทำธุรกิจในตลาดที่ต่างกันซึ่งไม่มีเขียนบอกไว้ในตำราการตลาดและต้องปรับตัวปรับกลยุทธ์ตลอดเวลาเพื่อให้สอดคล้องกับแต่ละตลาด และวันนี้ด้วยยอดขายราว 400 ล้านบาทในแต่ละตลาดของกลุ่ม TSEP นับว่าเป็นย่างก้าวเริ่มต้นแห่งความสำเร็จของธุรกิจซอฟต์แวร์ไทยในตลาดต่างประเทศ

เฉลิมพล ปุณโณทก ประธานกลุ่ม TSEP

เฉลิมพล ปุณโณทก ประธานกลุ่ม TSEP ซึ่งหมวดอีกใบที่สวมคือ ซีอีโอของบริษัทซอฟต์แวร์คอลล์เซ็นเตอร์สัญชาติไทย CT Asia ที่โด่งดังทั้งในตลาดไทยและตลาดต่างประเทศ ได้เปิดใจถึงการทำตลาดซอฟต์แวร์ในต่างประเทศว่า เป็นเพราะว่าตลาดในประเทศนั้นมีขนาดเล็กเกินไปและไม่เพียงพอแต่การเติบโตของบริษัทซอฟต์แวร์ไทย ด้วยเหตุผลหลัก 2 ประการ ประการแรกคือนัยยะตรง นั่นคือขนาดของตลาดซอฟต์แวร์ในประเทศไทยมีขนาดไม่ใหญ่ มีมูลค่าประมาณ 60,000 กว่าล้าน คิดเป็นสัดส่วนเพียง 11 เปอร์เซ็นต์ของตลาด ICT ทั้งประเทศที่มีมูลค่ามากกว่า 500,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งที่ผ่านมาตลาดรวมของซอฟต์แวร์นั้นเติบโตถดถอยติดต่อกันมาปีนี้เป็นปีที่ 3 โดยในปี 2550 โตเพียง13.1 เปอร์เซ็นต์ลดลงจาก 20.8 เปอร์เซ็นต์ในปี 2549 และในปี 2551 เติบโตลดลงเหลือ 11.2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในปีนี้คาดว่าจะเติบโตเพียง 5.1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น และประการที่สองคือ นัยยะอ้อม นั่นคือ ในตลาดซอฟต์แวร์ในประเทศส่วนใหญ่เป็นสัดส่วนของซอฟต์แวร์ต่างชาติที่เข้ามากินตลาดในประเทศ

“นี่คือที่มาของการรวมตัวกันของบริษัทซอฟต์แวร์ที่มองเห็นแนวโน้มตลาดเหมือนๆ กัน และมีวิสัยทัศน์เหมือนกันว่าเราจะต้องออกไปหาเงินจากตลาดต่างประเทศ เพราะตลาดต่างประเทศนั้นมีขนาดใหญ่กว่าตลาดในประเทศมาก เพียงแต่ว่าเรามีความสามารถที่จะไปเอาเงินเขามาหรือไม่”

เปลี่ยน Mindset:

ตลอด 2 ปีของการทำงานของกลุ่ม TSEP เฉลิมพลกล่าวว่า ก่อนหน้านี้ไม่มีการรวมตัวกันของบริษัทซอฟต์แวร์เพื่อเดินไปสู่ความสำเร็จร่วมกันเหมือนที่กำลังเกิดขึ้นในช่วง 2 ปีนี้ ซึ่งเป็น 2 ปีแห่งการเปลี่ยนกระบวนการและรูปแบบแนวความคิด (Mindset) ของบริษัทซอฟต์แวร์ไทยไปสู่การเข้าใจในธุรกิจซอฟต์แวร์มากขึ้น ว่าธุรกิจซอฟต์แวร์นั้นจะต้องเติบโตด้วยกลไก Economy of Scale และเป็นธุรกิจที่ขายทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) เพราะฉะนั้นลำพังการทำตลาดในประเทศนั้นไม่สามารถทำให้บริษัทซอฟต์แวร์ไทยที่ต้องลงทุนในการทำวิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์นั้นสามารถคุ้มทุนได้ ในขณะที่การขยายตลาดออกต่างประเทศนั้นช่วยสร้าง Economy of Scale ให้กับการลงทุนกับบริษัทซอฟ์แวร์ไทยได้

ประเด็นต่อมาคือ การสร้างความเข้าใจให้ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย ว่าการเป็น Regional Player นั้นย่อมดีกว่าการเป็น Local Brand และการเป็นเจ้าของสินค้าเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญานั้นย่อมดีกว่าการเป็นผู้รับจ้างไม่ว่าจะรับจ้างในรูปแบบใด อาทิ รับทำ Outsourcing รับออกแบบและติดตั้งระบบ (System Integrator) หรือรับจ้างเขียนซอฟต์แวร์ต่างๆ เพราะการเป็น Regional Player

“ขายทรัพย์สินทางปัญญานั้นสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจได้มากกว่าการรับจ้างผลิตซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นการฝากอนาคตไว้กับผู้จ้างมากกว่าจะฝากอนาคตไว้บนขาตัวเอง”

ชูยุทธศาสตร์ Global Niche Cluster:

ดังนั้น จึงเกิดการรวมตัวกันของบริษัทซอฟต์แวร์ไทยที่ศักยภาพภายใต้ชื่อ TSEP โดยใช้กลยุทธ์ “Global Niche Cluster” นั่นคือ รวมกันเป็นคลัสเตอร์มุ่งเจาะที่ตลาดเฉพาะทางในพื้นที่ตลาดต่างประเทศ ซึ่งภายใต้ TSEP นั้นมีคลัสเตอร์หลักๆ 4 คลัสเตอร์ ได้แก่ การเงินการธนาคาร (Finance & Banking) โรงแรม (Hotel) ก่อสร้าง (Construction) และธุรกิจ Fast Moving Good (FMG) ซึ่งเป็นการรวมจุดต่างเพื่อประสานเป็นจุดแข็งในการทำตลาดร่วมกัน

เฉลิมพล กล่าวว่า การรวมตัวกันมีประโยชน์เด่นชัดในมุมมองของผู้ประกอบการ คือ การทำตลาดสินค้าร่วมกัน การทำกิจกรรมในต่างประเทศร่วมกัน และการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในต่างประเทศร่วมกัน ซึ่งลดความเสี่ยงในการเข้าตลาด ช่วยเพิ่มความเข้มแข็งในการทำตลาด และช่วยลดต้นทุนการทำธุรกิจในต่างประเทศ

กลยุทธ์ในการเปิดตลาด เริ่มจากการจับมือกันเป็นคลัสเตอร์ โดยเลือกบริษัทที่มีความแข็งแรงในแต่ละคลัสเตอร์ขึ้นเป็นผู้นำในการตลาด โดยจะทำคู่ขนานกับการศึกษาตลาดเป้าหมายว่ามีโอกาสทางการตลาดสำหรับซอฟต์แวร์เฉพาะทางด้านไหนตรงกับคลัสเตอร์ไหนของกลุ่ม TSEP เมื่อได้ตลาดเป้าหมายที่ต้องการ ศึกษาหาข้อมูลและตั้งสมมติฐานของความต้องการของตลาดเป้าหมาย ในขณะที่ก็รวบรวมบริษัทที่มีความเก่งและถนัดในแต่ละด้านนำซอฟต์แวร์มารวมกันแล้วขายเป็น “แพ็ค” โดยการเข้าไปเสนอขายนั้น จะเริ่มจากการเข้าไปเปิดการขายในรูปแบบของการจัดสัมมนาและเชิญกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเข้ามาร่วมฟังสัมมนา จากนั้นก็เสนอขาย และปิดการขาย ซึ่งกลยุทธ์นี้เป็นกลยุทธ์ที่กลุ่ม TSEP ใช้มาตลอด 2 ปีและประสบความสำเร็จ

ตัวอย่างเช่น ตลาดเวียดนามซึ่งเป็นสนามแรกของ TSEP เน้นมีโอกาสทางการตลาดอยู่ที่ภาคอุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร เพราะมีผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้จำนวนมากในขณะที่แต่ละรายอยู่ในระยะเริ่มของการนำเอาเทคโนโลยีเข้าไปเพิ่มประสิทธิภาพการทำธุรกิจและเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ดังนั้นตลาดนี้จึงหอมหวลมากสำหรับกลุ่ม TSEP ซึ่งมีการจับมือกับเป็นคลัสเตอร์การเงินการธนาคารโดยมี Wealth Management ซึ่งทำระบบ Risk Management เป็นหัวหอก ตามด้วย IT Works ทำระบบ Finger Print Recognition บริษัท Freewill Solution ทำระบบ Stock Trading บริษัท CT Asia ทำระบบคอลล์เซ็นเตอร์ บริษัทSimplify ทำระบบ Asset Management บริษัทอรุณสวัสดิ์ ทำระบบซอฟต์แวร์บนพีดีเอ เป็นต้น

ปักธงซอฟต์แวร์ไทยในต่างแดน….ประเดิมที่เวียดนาม:

โดย TSEP ได้เปิดตลาดทั้งที่โฮจิมินท์ และฮานอย และได้เปิดสำนักงานที่โฮจิมินท์ โดยร่วมกันเช่าพื้นที่เปิดเป็นสำนักงานและร่วมกันจ้างพนักงานคอลล์เซ็นเตอร์คนท้องถิ่นประจำที่สำนักงานที่นั่น ซึ่งเฉลิมพล กล่าวว่า การที่ในนามบัตรของบริษัทซอฟต์แวร์ไทยมีที่อยู่ของสำนักงานสาขาในต่างประเทศนั่นเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความน่าเชื่อถือได้โดยตรงจากลูกค้าเป้าหมาย และสร้างภาพลักษณ์บริษัทระดับภูมิภาคให้กับบริษัทซอฟต์แวร์ไทย

“ปัจจุบันเรามีบริษัทสมาชิกทั้งหมด 21 บริษัท เราไม่ได้ตั้งเป้าจำนวนสมาชิกแต่เป้าหมายของเราคือจำนวนโครงการที่เราจะได้จากตลาดต่างประเทศ และมูลค่าของโครงการโดยรวมมากกว่า เราตั้งเป้าว่าเราจะได้มากกว่า 20 โครงการใน 3 ประเทศ”

ซึ่งการไปเปิดตลาดแต่ละครั้งนั้นนอกจากบริษัทหัวหอกแล้ว TSEP ยังพากลุ่มบริษัทรายเล็กไปเปิดตลาดด้วย โดยเฉลิมพลให้เหตุผลว่า บริษัทที่อาจจะยังไม่เข้มแข้งตามไปเปิดตลาดด้วยนั้นบริษัทเหล่านั้นจะได้เรียนรู้ตลาดและได้ปรับเปลี่ยนมุมมองและวิธีคิดต่อการทำตลาดสินค้าประเภทซอฟต์แวร์ใหม่ และกลับมาปรับยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ในการทำตลาดของบริษัทตนเองเพื่อบุกตลาดในครั้งต่อไป

เฉลิมพล เล่าว่า ตลาดเวียดนามนั้นจะค่อนข้างให้ความเชื่อถือบริษัทซอฟต์แวร์ไทยว่าเป็นบริษัทในระดับภูมิภาค แต่เวียดนามก็เป็นลูกค้าที่มีความรอบครอบในการจ้างงาน คือ ลูกค้าที่เวียดนามจะมีการติดตามงานและประเมินผลตลอดเวลา และการเข้าทำตลาดในเวียดนามนั้น การสร้างความสัมพันธ์ระดับบุคคลก่อนนั้นจะเป็นพื้นฐานที่ดีต่อการสานต่อความสัมพันธ์เชิงธุรกิจ

“อีกประการหนึ่งคือวัฒนธรรมของเวียดนามเหนือ คือ ที่ฮานอย กับเวียดนามใต้ คือที่โอจิมินท์ นั้นต่างแตกต่างกันและค่อนข้างจะมองกันเป็นคู่แข่ง ฉะนั้นเวลาสนทนากับลูกค้าจะต้องคำนึงถึงจุดนี้ด้วย”

เข้าถ้ำเสือที่ตลาดญี่ปุ่น:

สำหรับตลาดญี่ปุ่นนั้น เฉลิมพลบอกว่า เป็นอีกหนึ่งตลาดที่เจาะเข้าไปค่อนข้างยากเพราะวัฒนธรรมของญี่ปุ่นจะนิยมของญี่ปุ่น คือเป็น Japanese First และประเทศญี่ปุ่นมองว่าประเทศไทยนั้นด้วยกว่าตนในเรื่องเทคโนโลยี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสทางการตลาดอยู่เลย ญี่ปุ่นเป็นตลาดที่มีอุปสรรคและโอกาสสูงเท่าๆ กัน

“ประเทศญี่ปุ่นเป็นตลาดขนาดใหญ่เพราะเงินเขาเยอะมาก สินค้าที่ขายบ้านเราราคาหนึ่งแล้วตั้งราคาขายเพิ่มขึ้น 3 เท่าตัวไปขายที่ญี่ปุ่นเขายังบอกว่าไม่แพงเลย เพราะฉะนั้น โอกาสเรามีอยู่ที่ว่าสินค้าเราต้องเป็นที่ต้องการของเขา ซึ่งสินค้าที่จะเจาะตลาดญี่ปุ่นได้คือสินค้าที่โปรแกรมเมอร์ญี่ปุ่นเขาไม่ทำกัน เพราะค่าแรงโปรแกรมเมอร์บ้านเขาสูงมาก และเขาก็จะพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบใหญ่ๆ เพื่อป้อนใหญ่ๆ อาทิ ป้อนโซนี่ โตโยต้า และโดโคโม ซึ่งซอฟต์แวร์เฉพาะทาง (Niche Market) อย่างระบบคอลล์เซ็นเตอร์ เป็นตัวอย่างของช่องว่างทางการตลาดที่มีอยู่ในตลาดญี่ปุ่น คือ เราต้องหามันให้เจอและเจาะเข้าตรงตลาดเฉพาะทางนั้น แต่ความท้าทายของการเข้าตลาดญี่ปุ่นคือเราต้องมีพันธมิตรที่เป็นญี่ปุ่นหรือเป็นคนที่ญี่ปุ่นเชื่อถือ อาทิ AI Soft มีอะมาดิอุสเป็นพันธมิตรก็เจาะเข้าตลาดนี้ได้ไม่ยากนัก อย่าง TSEP เรามี INSTEP ของดร.วิวัฒน์ (วงศ์วราวิภัทร์) ซึ่งมีคอนเนคชั่นที่ดีมากในญี่ปุ่นเป็นบริษัทหัวหอกในการบุกตลาดนี้”

บุกต่อที่ตลาดตากาล็อก:

และสุดท้ายตลาดฟิลิปินส์ที่ไปเปิดเพิ่งมาล่าสุด เฉลิมพล เล่าว่า ฟิลิปินส์เป็นตลาดที่มีโอกาสทางการตลาดค่อนข้างมาก เพราะว่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของฟิลิปินส์นั้นมีผู้เล่นจำนวนไม่มาก และองค์กรที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์อย่างเป็นรูปธรรมเหมือนประเทศไทย แต่อุปสรรคประการหนึ่งในการบุกตลาดฟิลิปินส์คือเรื่องภาษาอังกฤษ เพราะคนฟิลิปินส์จะใช้ภาษาอังกฤษได้ดีกว่าคนไทยทำให้คนฟิลิปปินส์มองคนไทยว่าด้อยกว่าในการของการสื่อสาร ทำให้อาจจะมีมุมมองต่อสินค้าซอฟต์แวร์ของไทยด้อยกว่าความเป็นจริง ซึ่งตรงนี้บริษัทที่จะไปเปิดตลาดที่ฟิลิปินส์จะต้องเตรียมความพร้อมในการพรีเซนต์และตอบคำถามสื่อสารให้ดี

“ฟิลิปินส์มีพื้นที่ตลาดให้เก็บเกี่ยวเยอะ แต่ก็มีข้อจำกัด เพราะจะมีตลาดที่เติบโตอยู่ไม่กี่ตลาด ซึ่งตลาดที่มีการเติบโตสูงในฟิลิปินส์ได้แก่ตลาดคอลล์เซ็นเตอร์ ตลาด BPO (Business Process Outsourcing) และตลาดท่องเที่ยว”

Lesson Learn จากผู้บุกเบิก:

อย่างไรก็ดี หากจะประเมินประสบการณ์ 2 ปีกับการบุกตลาดใน 3 ประเทศของกลุ่ม TSEP ออกมาเป็นบทเรียนสำหรับบริษัทซอฟต์แวร์ไทยนั้น เฉลิมพล กล่าวว่า บทสรุปหลักๆ สำคัญๆ อยู่ 3 ประการ ประการแรกบริษัทซอฟต์แวร์ต้องเตรียมความพร้อมของตนเอง ทั้งเรื่องสินค้าและคน ความพร้อมของสินค้าหมายถึงฟีเจอร์ฟังก์ชั่นของซอฟต์แวร์ รวมถึงคู่มือการใช้งานและเอกสารต่างๆ ต้องเป็นภาษาอังกฤษที่ได้มาตรฐาน ความพร้อมของคนจะต้องสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ค่อนข้างดี เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี

ประการต่อมาคือ การร่วมมือกันในรูปแบบของคลัสเตอร์ เพื่อเจาะตลาดแยกตามเซ็กเมนท์ โดยมีบริษัทที่มีความถนัดและเข้าแข็งในเซ็กเม้นท์นั้นเป็นหัวหอกและพาบริษัทกลางและเล็กที่อยู่ในคลัสเตอร์นั้นเข้าไปเจ้าะตลาดและเรียนรู้การทำตลาดร่วมกัน ซึ่งประโยชน์ก็มีดังที่กล่าวมาตอนต้นทั้งเรื่องลดความเสี่ยง ลดต้นทุน สร้างความน่าเชื่อ สร้างความเข้มแข็งในการทำตลาด เป็นต้น

ส่วนประการสุดท้าย คือ บริษัทที่ได้ลูกค้าในต่างประเทศแล้วจะต้องดูแลและให้บริการหลังการขายกับลูกค้าให้ดีและสม่ำเสมอ ต้องเตรียมพร้อมที่จะให้บริการลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมงเพราะลูกค้าในแต่ละประเทศอยู่ใน Time Zone ที่แตกต่างจากประเทศไทย เพราะฉะนั้นต้องเตรียมพร้อมที่จะทำงานได้ตลอดเวลา เพราะการให้บริการหลังการขายที่ดีนั้นย่อมนำมาซึ่งโอกาสในการขายในอนาคตต่อไปนั่นเอง

ปัจจัยของความสำเร็จนั้นมีหลายอย่าง ทั้งตัวบริษัทซอฟต์แวร์ สินค้า การศึกษาตลาด และการเตรียมความพร้อมในการเข้าตลาด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแม้ว่าเราจะใช้รูปแบบการทำตลาดเดียวกันในทุกตลาด แต่ว่าในแต่ละตลาดทั้ง 3 ประเทศที่เราไปสัมผัสมานั้น มีความแตกต่างในรายละเอียดของการเข้าทำตลาด ซึ่งเราได้เก็บสะสมประสบการณ์มาเรื่อยๆ เรียนรู้จากข้อผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ และนำมาปรับปรุงแก้ไข เราค่อยๆ สะสมองค์ความรู้ในการทำตลาดซอฟต์แวร์ในต่างประเทศ ซึ่งตรงนี้มีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าของเม็ดเงินที่เราขายของได้จริง เพราะเราสามารถนำองค์ความรู้นี้มาถ่ายทอดและขยายผลให้กับบริษัทซอฟต์แวร์ไทยอีกเป็นจำนวนมาก” เฉลิมพลกล่าวทิ้งท้าย….

View :2813