Archive

Archive for the ‘Social Media’ Category

ท่าที “อนุดิษฐ์” ต่อกรณีทวิตเตอร์ออกกฏใหม่

February 3rd, 2012 No comments

นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้สัมภาษณ์ กรณีทวิตเตอร์ออกกฏใหม่ที่จะปิดกั้นข้อความบางข้อความไม่ให้บางประเทศได้เห็น [Starting today, we give ourselves the ability to reactively withhold content from users in a specific country — while keeping it available in the rest of the world. We have also built in a way to communicate transparently to users when content is withheld, and why.] ที่ผ่านมา ทวิตเตอร์ ยินยอมลบข้อความทวีต (Tweet) ออกจาก ระบบทวิตเตอร์ เมื่อได้รับคำสั่งจากรัฐบาลในแต่ละประเทศ สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงนับจากนี้คือทวิตเตอร์ได้เพิ่มความสามารถในการเลือกปิดกั้นการรับส่งข้อความแก่ผู้ใช้ในประเทศใดประเทศหนึ่งได้แล้ว …. ว่า

“เริ่มจากทวิตเตอร์​ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ ซึ่งหากทวิตเตอร์มีเงื่อนไขในการให้บริการโดยคำนึงถึงกม.ของแต่ละประเทศก็เป็นเรื่องที่ดี”

“กระทรวงไอซีทีจะดำเนินการเป็นไปตามกม.​เรื่องกม.เรื่องการไปละเมิดสิทธิเสรีภาพบุคคลอื่น การใช้ข้อความที่ไม่เหมาะสม ก็ยึดเอากม.ของประเทศเป็นหลัก กม.หลักๆ ที่เกี่ยวของมีหลายตัว ได้แก่ ประมวลกม.อาญามาตราต่างๆ ที่ไปเกี่ยวข้องกับการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กและมีการละเมิด พรบ.คอมพิวเตอร์​การใช้ข้อความเป็นเท็จ​การใช้ข้อความไปละเมิดสิทธิเสรภาพของคนอื่น ซึ่งจะทำตามข้อบังคับของกม.”

“ทวิตเตอร์เองเพ่ิงประกาศ เรื่องการให้ความร่วมมือ คิดว่า การกำหนดเรื่องแนวทางและประสานงานต่อไป และจะไม่ถูกนำมาใช้ในทางการเมือง รธน.กำหนดไว้แล้วว่าสิทธิเสรีภาพของปชช.ต้องอยู่ภายใต้กม.​แสดงออกได้แต่จะต้องไม่ไปละเมิดสิทธิผู้อื่น”

“ในเบื้องต้นจะดูความชัดเจนในการกำหนดเงื่อนไขในการใชบริการของทวิตเตอร์ ให้เกิดค.ชัดเจนก่อนว่าเขาจะดำเนินการในรูปแบบอย่างไร และจะดูการดำเนินการของเราให้สอดคล้อง เรียกว่ากระบวนการบริหารจัดการคงต้องกำหนดขึ้น เพื่อให้การบริหารจัดการ การประสานงาน และทำให้เราสามารถบริหารงานภายใต้ของกม.”

“เรื่องนี้อยู่ที่ผู้ให้บริการก่อน การที่เขาคำนึงถึงการใช้ระบบเขาไปละเมิดสิทธิเสรีภาพ ไปละเมิดกม.ประเทศอื่น เป็นเรื่องที่ดี ส่วนเรื่องที่จะบริหารจัดการให้เป็นไปตามกม.ของแต่ละประเทศก็จะต้องมีการพูดคุยกับต่อไป”

“เวลาที่เราจะสมัครใช้งานทวิตเตอร์​จะมี Term and condition ซึ่งคือ เงื่อนไขของการใช้บริการ คงต้องพิจารณาจาก term and condition ของทวิตเตอร์ที่กำหนดให้ผู้ใช้ลงทะเบียนยอมรับเงื่อนไขเหล่านั้นก่อนที่จะเข้าไปใช้บริการ ซึ่งหากเขาได้กำหนดโดยคำนึงถึงการละเมิดกม.ในประเทศทั้งหลายก็จะเป็นเรื่องที่ดี และผู้ที่อยู่ในแต่ละประเทศจะประสานงานกับเขาได้ก็จะเป็นเรื่องที่ดี”

“จริงๆ เราประสานงานกับผู้ให้บริการในสังคมออนไลน์อยู่แล้ว ไม่ใช่แค่ทวิตเตอร์รายเดียว ยังมี เฟซบุ๊ค และยูทูป ซึ่งเป็นโซเชียล เน็ตเวิร์ก ที่มีผู้ใช้บริการมาก”

ทันทีที่ทวิตเตอร์มีมาตรการนี้และกระทรวงไอซีทีมีท่าทีตอบรับ ก็ได้สอบถามความเห็นไปยังผู้คนบนโลกออนไลน์ ผ่านทาง Twitter และ Google+ ว่าเห็นด้วยหรือไม่กับแนวทางนี้ของทวิตเตอร์และท่าทีของก.ไอซีที และนี่คือ ส่วนหนึ่งของความคิดเห็น ….​


Arthit Thurdsuwarn – เห็นด้วย … เพราะสิ่งผิด กม. ก็ควรถูกควบคุมอยู่แล้ว ไม่มีเหตุผลที่ชุมชนออนไลน์ใหญ่ขนาดใหญ่ จะได้รับการยกเว้น และเห็นว่า นอกจาก Twitter แล้ว Social Media อื่น ๆ ก็ควรได้รับการควบคุมให้อยู่ในกรอบ กม. เช่นกัน

Surapong Sappayakhom – ไม่เห็นด้วยครับ เพราะไม่มั่นใจว่าจะเจอการเลือกปฎิบัติหรือไม่ เนื่องจากเรายังคงได้เห็นเว็บหมิ่นเกิดขึ้นมากมายและต่อเนื่อง ขออภัยที่ผมขอสงวนการอ้างอิงหรือระบุ URL และ Key word ของเว็บหมิ่นฯ มา ณ. ที่นี้ครับ

Tanis Buapaijit – ผิดจริงก็น่าจะเซ็นเซอร์ได้..แต่มันจะเครื่องมือในการปิดกั้นข่าวสารไม่ให้ประชาชนรับรู้หรือเปล่าหละ? ยิ่งปิดยิ่งกั้นสักวันมันก็จะแตกเหมือนเราปิดกั้นน้ำนั่นแหละครับปัจจุบันประชาชนไม่ได้โง่เขลาที่จะเชื่อข่าวสารไปซ่ะทุกเรื่อง บางเรื่องมันก็เป็นข่าวมั่ว ประชาชนคนทั่วไปน่าจะเป็นผู้คัดกรองข่าวสารเองว่าจริงหรือไม่จริงอย่าลืมว่าข่าวสารประเภทข่าวลือยิ่งปิดยิ่งกั้น ก็ยิ่งลือไปกันใหญ่..

ธนิต เฉื่อยทอง – ผมว่ามันเป็นการปิดกั้นข่าวสารที่ไม่เป้นประโยชน์ต่อรัฐบาลที่อยู่ในช่วงนั้น ๆ มากกว่า ประโยชน์ของประเทศนะครับ ขนาดเว็ปหมิ่นยังไม่ทำอะไรเลย แล้วจะมาปิดกั้นความคิดเห็นได้ยังไงกันครับ

RT @papapoocee: เป็นกระจกสะท้อนพรบ.การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ของประเทศไทยว่าเป็นกระดาษแผ่นหนึ่งที่ไม่อาจทำให้ผู้ใช้งานตระหนักถึงความผิดได้ ซึ่งยิ่งขานรับกฎใหม่ทันทีอย่างรวดเร็ว ยิ่งชัดเจนมากขึ้นว่า ICT กำลังเจอทางตัน และพยายามหาตัวช่วยเข้ามาบริหารจัดการเรื่องพวกนี้ เลยสงสัยว่า ที่ผ่านมา ICT ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันให้ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตมีความสุขในการใช้งานบ้างไหมครับ? นอกจากเอาลิควิดมาป้ายๆ

RT @thaiopengames: ที่เกิดประเด็นน่าจะอยู่ที่วิธีการค้นหาการกระทำผิดมากกว่าครับ คิดว่าคงจะใช้วิธีรับแจ้งรายงานแล้วตรวจสอบ มากกว่าการคอยติดตามรายบุคคล ในเมื่อถ้ามันผิดจริงๆ แล้วทวิตเตอร์เปิดช่องให้เครื่องมือทางกฎหมายสามารถดำเนินการยับยั้งได้ ก็เป็นเรื่องที่ดีครับ แต่ต้องมีมาตรฐาน ถ้าขาดมาตรฐานในการชี้ถูกผิด ช่องทางตรวจสอบนี้ก็จะไม่ได้รับการยอมรับต่อสาธารณะ Twtจะไม่ได้เป็นที่แสดงออกเสรี เคสเหมือนๆ มธ. เลยครับ

RT @pampam_northcap: ไม่เห็นด้วยค่ะ การ censor เป็นการปิดกั้นเสรีภาพทางความคิด ไม่ว่าจะเป็นการปิดกั้นระดับไหนก็ตาม

RT @YLVR: ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการปิดกั้นสื่อ และ เสรีภาพในการแสดง คคห. ซึ่งผู้ทวิตต้องรับผิดชอบตัวเองอยู่แล้ว

สามารถอ่านประกาศของทวิตเตอร์ฉบับเต็มได้ที่ http://blog.twitter.com/2012/01/tweets-still-must-flow.html

View :2776
Categories: Social Media Tags:

รมว.ไอซีที แถลงข่าว กรณี ทวิตเตอร์ @PouYingluck โดนแฮค [Audio]

October 3rd, 2011 No comments

[Audio] รัฐมนตรีอนุดิษฐ์​นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแถลงข่าวความคืบหน้าของกรณีทวิตเตอร์นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร แถลงเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2554 ที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

001_A_011_ICT

View :2414

มุมมองนักกฏหมาย กรณีทวิตเตอร์นายกฯ ยิ่งลักษณ์โดนแฮค

October 3rd, 2011 No comments

เมื่อเช้าหลังจากที่รัฐมนตรีอนุดิษฐ์​นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแถลงข่าวความคืบหน้าของกรณีทวิตเตอร์นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรเสร็จสิ้นตอนเช้าของวันนี้ อาจารย์ไพบูลย์​ อมรภิญโญเกียรติ นักกฎหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ทวิตแสดงความคิดเห็นดังนี้

@paiboona: น่าติดตามแถลงข่าวของไอซีทีกรณีแฮ็กทวิตเตอร์อย่างยิ่งโดยเฉพาะการตั้งข้อกล่าวหากับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและการปรับใช้พรบคอมฯครับ

@paiboona: หลังไอซีทีแถลงผมจะวิเคราะห์ข้อเท็จจริงกับข้อกมครับว่าจะจับคนร้ายได้?ไอซีทีถูกแฮ็กทุกทีที่มีการเปลี่ยนขั้วการเมืองแต่ไม่เคยจับคนร้ายได้เลย?

เลยถือโอกาสสอบถามอาจาย์ดังนี้….​

@lekasina: ไม่แน่ใจว่า ขอข้อมูลอะไรไปบ้างค่ะ ทางนั้นเขาสามารถให้ข้อมูลบางอย่างได้ไหมคะ หากรัฐบาลร้องขออ่ะค่ะ

@paiboona: เป็นดุลยพินิจของทวีตเตอร์ครับ

@paiboona: เท่าที่เคยทำในทางคดีจะให้แค่ไอพีแต่ข้อมูลส่วนบุคคลไม่ให้ครับขัดต่อกมอเมริกา ทวีตเตอร์ยึดข้อกำหนดในเว็บไซท์เป็นหลักครับ

@paiboona: ที่สำคัญตอนนี้ยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหากับผู้ต้องสงสัยเลยครับแล้วใช้อำนาจอะไรไปขอทวีตเตอร์ที่เป็นบริษัทที่มีที่อยู่ในต่างปท.ครับ

@paiboona: ทางปฏิบัติแค่ไอพีไม่พอครับยิ่งถ้ามืออาชีพจะปลอมไอพีและใช้ dynamic IP ครับแต่ถ้าเป็นมือสมัครเล่นอาจได้ผลครับ

@lekasina: แล้วเคสนี้อาจารย์มองว่า มืออาชีพไหมคะ

@paiboona: ส่วนตัวผมยังเชื่อว่าไม่มีการแฮกแต่เป็นเรื่องรหัสผ่านหลุดไปยังบุคคลภายนอกครับ แต่ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นครับ

@paiboona: ฟังแถลงไอซีทีแล้วไม่เชื่อว่ารู้ตัวแล้วเร็วไปการทำCyber investigation ต้องใช้เวลาและคดีนี้ต้องมีการทำcomputer forensic เพื่อยืนยันตัวคนทำด้วย

ประเด็นขอข้อมูลจากทวิตเตอร์อเมริกาคงไม่ให้ครับ เพราะดูจากเนื้อหากระทู้ไม่น่าผิดกมอเมริกาครับเท่าที่ดูอาจจะเป็นแค่ไฟไหม้ฟางเหมือนที่คมช.เคยโดน

การแฮ็กFBหรือTwitterเป็นไปได้ยากมากเพราะดู algorhytm และระบบความปลอดภัยของทั้งสองเว็บยากต่อการแฮ็กมาก และupdatedตลอดเวลาปัญหาที่userมากกว่าครับ

ปัญหาในคดีส่วนใหญ่ในเมืองไทยช่องโหว่วของการใช้SMอยู่ที่ผู้ใช้ครับเช่นการจำรหัสผ่าน การแชร์รหัสผ่านในกลุ่มผู้ใช้. ลืม log out หลังใช้งานครับ

เมื่อคืน (คืนวันเกิดเหตุทวิตเตอร์นายกฯ ถูกแฮค) ได้สอบถามอาจารย์ไพบูลย์​ดผ่านไทม์ไลน์ทวิตเตอร์ดังนี้ค่ะ

@lekasina: คิดว่ากรณีนี้จะส่งผลอย่างไรต่อร่างพรบ.คอมพ์ฉบับปี.ที่ตอนนี้อยู่ที่ก.ไอซีทีบ้างไหมคะ

@paiboona: ถ้าจับไม่ได้ก็คงแก้กมให้รุนแรงขึ้นแน่นอนครับ

@paiboona: จริงๆแล้วการแฮ็กครั้งนี้เป็นดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพของไอซีทีและหน่วยงานรัฐเป็นอย่างดีถ้าจับคนผิดไม่ได้แล้วถ้าปชชเป็นผู้เสียหายจะทำ?

@paiboona:ส่วนตัวผมว่าการปรับข้อกมกับการแฮ็กที่เกิดขึ้นชัดเจนและง่ายต่อการปรับใช้มากแต่หากไม่เข้าใจก็คงเสนอแก้กมแรงขึ้นซึ่งแก้ไขไม่ตรงจุด

@paiboona:เป็นไปได้ครับแต่ต้องตามว่าใครเป็นเจ้าภาพยกร่างครับ:) รัฐบาลชุดนี้ไม่น่าใช้ร่างรัฐบาลเดิมเพราะถูกวิจารณ์หนักมากครับ

@lekasina:อาจารย์เห็นด้วยไหมคะที่จะแยกเอาพรบ.คอมพ์ออกมาเป็น pure computer crime ไปเลยอ่ะค่ะ

@paiboona: ที่ถูกควรเป็นอย่างนั้นแต่ติดปัญหาที่กม.วิอาญา วิอาญาปัจจุบันไม่ให้อำนาจตำรวจและศาลรวบรวมพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ก่อนฟ้องหรือแจ้งความถ้าไม่แก้วิอาญาก็คงต้องใช้พรบคอมฯไปก่อนครับ

@lekasina: แปลว่าหากจะมีการผลักดันร่างพรบ.คอมพ์อีกครั้ง จะไม่ร่างเดิมทียกสมัยรมว.จุติหรือคะ

@paiboona:คิดว่าคนละขั้วกันไม่น่าใช้ร่างเก่าครับ

@lekasina: อย่างนี้..ยกร่างนานไหมคะ หากทำกันตามกระบวนการปกติอ่ะค่ะ

@paiboona:ขึ้นอยู่กับทีมที่ยกร่างถ้ายกร่างดีๆ+ประชาพิจารณ์ก็น่าจะอย่างน้อย1ปีครับ

@lekasina: หากจะมีการปรับร่าง อาจารยืคิดว่มีประเด็นหลักๆ อะไรบ้างคะที่คนยกร่างชุดใหม่จะปรับแก้ จากร่างปัจจุบันอ่ะค่ะ

@paiboona: หลายประเด็นครับ >> ตัดเรื่องทำสำเนาออกครับเพิ่มเรื่องการยกเว้นความรับผิดของผู้ให้บริการตามม15อาจเลียนแบบDMCA กมอเมริกา ไม่จำเป็นต้องมีหน่วยงานเฉพาะ >> การได้มาซึ่งพยานหลักฐานฯลฯครับ >>ที่สำคัญยกเลิกการอบรมพนงไอซีทีหรือcyber cop ที่ใช้แบบเร่งด่วน 4วัน เป็น4เดือนตามกมและมีการอบรมด้านcomputer forensicอย่างจริงจัง

@lekasina หากมีการยกร่างใหม่จริงๆ และปรับแก้ตามประเด็นที่อจกล่าวมา จะทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์น้อยลงไหมคะ ได้รับการสนับสนุนมากขึ้นไหมคะ

@paiboona: ครับ อยากให้คนที่ร่างคือคนที่ถูกบังคับใช้ด้วยเช่นสื่อ ไอเอสพี โฮสติ้ง คนทำเว็บ ฯลฯไม่ใช่ตำราของรัฐ+นักวิชาการที่ไม่ได้ปฏิบัติจริงครับ

@lekasina ต้องขึ้นกับว่า กระบวนการยกร่างของเขาจะเปิดโอกาสให้ปชช. ในแต่ละภาคส่วนเข้าไปมีส่วนร่วมมากน้อยแค่ไหนด้วยใช้่ไหมคะ

@paiboona: ใช่ครับ

View :2851

“เทคโนโลยี”… เครื่องจักรหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจในปัจจุบัน

July 5th, 2011 No comments

ปฏิเสธไม่ได้เสียแล้วว่าความสามารถในการแข่งขันขององค์กรธุรกิจในปัจจุบันถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีต่างๆ มากมาย จนเทคโนโลยีกลายเป็นส่วนหนึ่งของดำเนินธุรกิจไปเสียแล้ว องค์กรธุรกิจจะมีความได้เปรียบหรือจะเสียเปรียบในเชิงการแข่งขันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่ปัจจัยหลักหนึ่งในนั้นคือ การใช้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วย ทุกองค์กรธุรกิจในปัจจุบันไม่ว่าจะขนาดใหญ่ กลาง หรือเล็กล้วนแล้วแต่ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีและมีการลงทุนด้านนี้อย่างเอาจริงเอาจัง

ศิวัตร เชาวรียวงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็ม อินเตอร์แอคชั่น จำกัด (m Interaction)


ศิวัตร เชาวรียวงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็ม อินเตอร์แอคชั่น จำกัด (m Interaction) บริษัทเอเจนซี่โฆษณาสื่อดิจิตอลและสื่อออนไลน์รายใหญ่ในเครือกรุ๊ปเอ็ม (Group M) กล่าวว่า การใช้เทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรมเป็นสิ่งที่มีมาก่อนอยู่แล้วบริษัทที่มีความล้ำหน้าเชิงการผลิตจะได้เปรียบหลายอย่าง ทั้งสามารถผลิตได้รวดเร็วขึ้นและคุณภาพสินค้าดีขึ้น ล้วนนำมาซึ่งข้อได้เปรียบทางธุรกิจ ยุคต่อมาคือการใช้เทคโนโลยีกับระบบข้อมูลกับการทำงานภายในของบริษัท ซึ่งเริ่มในประเทศไทยอย่างจริงจังเมื่อ 10 ปีที่แล้วที่หลายองค์กรขนาดใหญ่มีการลงทุนระบบเทคโนโลยี ทำให้บริษัทขนาดใหญ่มีความได้เปรียบเชิงการแข่งขันทางธุรกิจอย่างชัดเจน ซึ่งปัจจุบันข้อได้เปรียบตรงนี้อาจมองไม่เห็น เพราะเป็นกระบวนการภายใน และแต่ละบริษัทก็ล้วนติดอาวุธชนิดนี้กันหมดแล้ว เพราะฉะนั้นหากองค์กรไหนไม่มีการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้จะเสียเปรียบ ส่วนถ้ามีจะได้เปรียบแต่จะได้เปรียบมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับผู้บริหารด้วย

เทคโนโลยี … ปัจจัยความสำเร็จของการตลาดยุคปัจจุบัน:

ในฐานะนักการตลาดนักโฆษณา ศิวัตร มองว่า เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้ามามีบทบาทอย่างมากในเรื่องของการตลาด ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นสองส่วนหลักๆ คือ เรื่องการตลาดเชิงข้อมูล บริษัทไหนที่เล่นกับข้อมูลได้เก่งได้ฉลาดก็มีโอกาสที่จะสื่อสารออกไปได้ถูกใจลูกค้ามากขึ้น เกิดขึ้นทั้งในการสื่อสารระหว่างบริษัทกับบริษัทและบริษัทกับผู้บริโภค เทคโนโลยีกำลังมีบทบาทอย่างเห็นได้ชัดในเรื่องการตลาดและการโฆษณา เพราะความได้เปรียบในเชิงการผลิตการกระบวนการทำงานภายในขององค์กรขนาดใหญ่ทันกันหมด จะแตกต่างกันขึ้นกับผู้บริหารและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในเชิงการตลาด

“ข้อมูลนั้นสำคัญเพราะเนื่องจากบริษัทดำเนินกิจกรรทางการตลาดเพื่อหวังผลกำไร ดังนั้นข้อมูลจะเข้ามาช่วยได้มากในการที่จะบอกว่าควรจะขายใคร ควรจะโฟกัสที่ลูกค้ากลุ่มไหน ลูกค้าแต่ละกลุ่มมีพฤติกรรมอย่างไร พอบริษัทรู้แล้วจะได้รู้ว่าวิธีการทำตลาดสำหรับลูกค้าแต่ละกลุ่มควรจะเป็นอย่างไร ด้วยวิธีแบบไหน ซึ่งพื้นฐานล้วนมาจากข้อมูลทั้งสิ้น ซึ่งหากอยู่ในบริบทของเว็บและอินเทอร์เน็ต ข้อมูลเหล่านี้ก็คือข้อมูลที่อยู่เบื้องหลังเว็บไซต์ต่างๆ ความฉลาดของเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซในการที่จะรู้พฤติกรรมของลูกค้าที่เข้ามาในเว็บไซต์จนกระทั่งเกิดการซื้อเป็นอย่างไร และเทคโนโลยีที่มีผลต่อรูปแบบของงานโฆษณา ซึ่งที่หลายๆ องค์กรต้องเริ่มหันมาสนใจ เพราะว่า ลูกค้ามีพฤติกรรมในการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันมากขึ้น สินค้าต่างๆ ก็เลยต้องปรับตัวมากขึ้น”

ศิวัตรยังมองว่าสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่เล็กมากๆ เทคโนโลยีอาจจะยังไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่ความสำคัญจะอยู่ที่การสร้างเอกลักษณ์ของตัวสินค้า ความคิดสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการกิจการ เมื่อธุรกิจขนาดเล็กขยายมาเป็นขนาดกลางจะมีความสนใจเทคโนโลยีมากขึ้นเพราะหากไม่มีเทคโนโลยีมาใช้แล้วจะทำให้ควบคุมประสิทธิภาพการทำงานได้ยาก ธุรกิจขนาดกลางขยายเป็นขนาดใหญ่เรื่องระบบงานหลังบ้านยังคงต้องมีเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน

สิ่งที่กำลังเป็นจุดเปลี่ยนในการทำธุกริจในปัจจุบันในมุมมองของศิวัตร คือ ตัวผู้บริโภค เพราะปัจจุบันผู้บริโภคใช้เทคโนโลยีมากขึ้น และมีพฤติกรรมใช้อินเทอร์เน็ต และอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ ทั้งสมาร์ทโฟน (Smart Phone) และอุปกรณ์แท็ปเล็ต (Tablet) ต่างๆ เพื่อหาข้อมูลสินค้าและบริการที่ต้องการมากขึ้น นักการตลาดหากมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นคนกลุ่มนี้จะต้องเข้าใจและให้ความสำคัญกับตรงนี้เพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อสื่อสารกับลูกค้า กอปรกับ เม็ดเงินที่ธุรกิจเริ่มลงทุนด้านการตลาดการโฆษณาออนไลน์มากขึ้น สมัยก่อนจะลงสื่อดั้งเดิมมากขึ้น ปัจจุบันการตลาดและการโฆษณาต้องอาศัยเทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อสร้างความแตกต่าง และต้องการรักษาฐานลูกค้าเดิมที่มีอยู่ ซึ่งต้องการใช้ฐานข้อมูลเพื่อสร้างการสื่อสารกับลูกค้าแต่ละคนลงในรายละเอียด

“ปัจจุบันผู้บริโภคส่วนใหญ่มีพฤติกรรมแบบนี้ชัดเจน การวางแผนท่องเที่ยววันหยุด หาโรงแรมที่พัก ร้านอาหาร การตัดสินใจซื้อบ้าน คอนโด รถยนต์ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ทั้งหลายนี้เกิดขึ้นบนอินเทอร์เน็ต ถ้าหากนักการตลาดไม่เข้าใจสิ่งเหล่านี้จะเสียโอกาส และอาจจะเสียลูกค้าให้กับคู่แข่ง เรื่องนี้ที่มีความเด่นชัดมากคือ สินค้าในกลุ่ม High Involvement Product คือ สินค้าที่นานๆ ซื้อที มีราคาสูง ผู้บริโภคต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง ด้วยเหตุด้วยผล มีการเปรียบเทียบข้อมูลเยอะ ปัจจุบันการหาข้อมูลเหล่านี้เกิดขึ้นบนอินเทอร์เน็ต”

นอกจากนักการตลาดต้องเข้าใจพฤติกรรมนี้แล้วนักกาตลาดยังต้องมีเทคโนโลยีที่ต้องเก็บข้อมูลต่างๆ เหล่านี้เพื่อรู้จักลูกค้า รู้ว่าผู้บริโภคเขาพูดถึงสินค้า ธุรกิจของบริษัทอย่างไร เรื่องใหม่ๆ อาทิ เฟซบุ๊ค นักการตลาดต้องเข้ามาเก็บข้อมูลว่าผู้บริโภคเขาพูดคุยอะไรกันบ้าง เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในเชิงธุรกิจ

ส่วนสินค้าที่เป็น Low Involvement Product ได้แก่ สินค้า อุปโภคบริโภค เริ่มมีการมีการใช้เทคโนโลยีในการโฆษณา ซึ่งธุรกิจเหล่านี้ให้ความสำคัญ เนื่องจาก ลูกค้าเป้าหมายคือ ผู้บริโภคกลุ่มกว้าง และคนกลุ่มนี้มีพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีชีวิตประจำวันมากขึ้นอย่างมาก
เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างมากในธุรกิจการตลาดการโฆษณาตั้งแต่เทคโนโลยีในการเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูลออกมาเป็นกลยุทธ์ทางการตลาด ในแต่ละเอเจนซี่โฆษณาและที่ปรึกษาทางการตลาดจะต้องมีการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้เพื่อให้สามารถให้บริการลูกค้าได้ดีมากขึ้น

ศิวัตร กล่าวว่า สำหรับ บริษัท เอ็ม อินเตอร์แอคชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่ดูแลงานดิจิตอลทั้งหมดของกรุ๊ปเอ็ม (Group M) ที่ประกอบด้วย 4 บริษัทโฆษณายักษ์ใหญ่ได้แก่ Maxus, MEC, Media Com และ Mind Share ซึ่งรวมกันแล้วมีส่วนการตลาดราว 40 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้เอ็ม อินเตอร์แอคชั่นเองก็มีส่วนแบ่งทางการตลาดในโลกการตลาดออนไลน์ราว 40 เปอร์เซ็นต์เช่นกัน

“เราเป็นเอเจนซี่โฆษณา ทำงานร่วมกับ 4 เอเจนซี่ เราไปหาลูกค้าด้วยกัน บทบาทเราคือ ให้คำปรึกษาลูกค้า วางแผนการตลาดการโฆษณาบนโลกออนไลน์ รวมถึงให้บริการผลิตชิ้นงาน การคิดแคมเปญทางการตลาด รวมถึงการซื้อสื่อออนไลน์ ลูกค้าของบริษัทเราเป็นลูกค้ารายใหญ่ทั้งสิ้น”

ศิวัตร คาดการณ์ว่า เม็ดเงินที่ใช้ในสื่อโฆษณาออนไลน์ปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 2,000 พันล้านบาท เติบโตเฉลี่ยราว30-50 เปอร์เซ็นต์ต่อปี อัตราการขยายตัวมาก แต่สัดส่วนที่เป็นเม็ดเงินหากเทียบกับเงินโฆษณาทั้งหมดที่คาดว่าจะอยู่ที่ 90,000-100,000 ล้านบาท ยังน้อยอยู่

“ธุรกิจที่ใช้สื่อออนไลน์มากคือ ธุรกิจ High Involvement Product แต่ธุรกิจที่ใช้เม็ดเงินโฆษณามากคือธุรกิจ High Involvement Product คือสินค้าอุปโภคบริโภค ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนกลุ่มกว้าง ซึ่งสัดส่วนเงินโฆษณาสินค้ากลุ่มนี้ส่วนใหญ่ยังอยู่ที่สื่อออฟไลน์อยู่”

เทคโนโลยี … เพื่อนสนิทคนทำงาน:

สำหรับคนทำงานในปัจจุบัน ปฏิเสธไมได้ว่าเทคโนโลยีได้กลายเป็นเครื่องมือหลักในการทำงานไปเสียแล้ว และคนทำงานเองก็ได้ใช้เทคโนโลยีเพื่อกิจกรรมส่วนตัวหลากลาย ทั้งนี้เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีได้เคลื่อนเข้ามาใกล้ผู้บริโภคมากขึ้น การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ทั้งสมาร์ทโฟน (Smart Phone) และอุปกรณ์แท็ปเล็ต (Tablet) ต่างๆ ทำให้คนทำงานสามารถทำงานได้จากทุกที่ทุกเวลา เพราะความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมในปัจจุบันได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนทำงานเพิ่มมากขึ้นทั้งในกิจกรรมที่เป็นเรื่องส่วนตัวและเรื่องหน้าที่การงาน และได้พลิกโฉมรูปแบบการงานไปสู่การทำงานแบบทุกที่ทุกเวลา (Mobile Working)

วรวิสุทธิ์ ภิญโญยาง ผู้จัดการด้านดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง บริษัท โทเทิ่ล แอคเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)


วรวิสุทธิ์ ภิญโญยาง ผู้จัดการด้านดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง บริษัท โทเทิ่ล แอคเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เทคโนโลยีเข้ามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตทั้งในเรื่องของการทำงานและชีวิตส่วนตัว เทคโนโลยีในปัจจุบันกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำงานของทุกองค์กรและของทุกคนทำงานที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การใช้เทคโนโลยีในองค์กรสามารถช่วยบริษัทได้ในหลายเรื่องโดยเฉพาะเรื่องการปรับปรุงกระบวนการทำงานภายในขององค์กรที่ต้องติดต่อข้ามแผนก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรขนาดใหญ่

“โดยส่วนตัวใช้เทคโนโลยีทั้งในเรื่องานและเรื่องส่วนตัว เทคโนโลยีเป็นทั้งเครื่องมือช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นเพื่อนสนิทที่จะพกติดต่อไปทุกที่ตลอดเวลา ทั้งนี้จะต้องมีแอพพลิเคชั่นมาเสริมการทำงาน แอพพลิเคชั่นที่วรวิสุทธิ์ชอบใช้เพื่อช่วยในการทำงาน คือ แอพพลิเคชั่นที่ช่วยจัดการความคิด จัดทำแผนที่ความคิด จัดระบบงาน จัดระบบข้อมูล และจดการประชุม ตื่นเช้ามาจะต้องเช็คอีเมล์ด้วย iPad และจะเปิดดูแอพพลิเคชั่นที่มีอยู่ว่ามีการอัพเดทเวอร์ชั่นหรือยังเพราะผมเป็นคนที่ซื้อแอพพลิเคชั่นเยอะมาก ทุกๆ เช้าก็จะดูว่าแอพพลิเคชั่นไหนบ้างที่มีการอัพเดทเวอร์ชั่นใหม่ๆ เราก็จะได้อัพเดททุกเช้า แอพพลิเคชั่นที่ผมใช้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นแอพพลิเคชั่นเกี่ยกวับเรื่องงาน อาทิ แอพฯ จดโน้ต จดสิ่งที่จะต้องทำ แต่ผมก็ชอบแอพพลิเคชั่นด้านความบันเทิง อาทิ ชอบดูวีดีโอคลิปเพื่อการผ่อนคลายบ้าง อ่านข่าวบน iPad เป็นหลัก ผมจะรับ feed ข่าว และเก็บลงเครื่องไว้อ่านสะดวกมาก”

วรวิสุทธิ์ บอกว่า คนทำงานที่ต้องใช้เทคโนโลยีในการทำงาน และมีความคุ้นชินกับการใช้เทคโนโลยีและใช้เป็นประจำจะมีแนวโน้มว่าเส้นแบ่งระหว่างเวลางานกับเวลาเลิกงานจะไม่มี เพราะทุกคนจะทำงานตลอดเวลา ทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา

สำหรับ ดีแทค มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำให้การสื่อสารภายในองค์กรสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยจำนวนพนักงานกว่า 3,000 คน แต่มีจำนวนห้องประชุม 200 กว่าห้อง พนักงานสามารถสื่อสารผ่านอีเมล์ (email) ข้อความสั้น (Instant Message) หรือประชุมผ่านระบบประชุมทางไกล (VDO Conference) เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยให้กระบวนการทำงานข้ามแผนกภายในบริษัทกระชับ สั้นลง รวดเร็วมากขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานภายนอก เทคโนโลยียิ่งมีบทบาทอย่างมาก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่การแข่งขันทางธุรกิจทวีความรุนแรงมากขึ้น บริษัทจะต้องสามารถสื่อสารกับทั้งคู่ค้าและลูกค้าของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด การที่บริษัทจะสามารถสื่อสารและทำธุรกิจกับคู่ค้าและลูกค้าได้ดีนั้น ธุรกิจจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีช่วยเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงเทคโนโลยีที่ช่วยในการติดต่อสื่อสารกับองค์กรหรือบุคคลภายนอก อาทิ ระบบฐานข้อมูลลูกค้า ระบบวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าและคู้ค้า ระบบการตลาด ระบบลูกค้าสัมพันธ์ และระบบธุรกิจอัจฉริยะ ซึ่งระบบทั้งหมดนี้จะต้องอาศัยเทคโนโลยีทั้งสิ้น องค์กรธุรกิจที่มีระบบเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้ องค์กรธุรกิจนั้นๆ จะมีความสามารถในการแข่งขันสูง

“บริษัทไทยขนาดกลางและเล็กยังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับฐานข้อมูลลูกค้ามากนัก ซึ่งจะนำไปสู่การวางแผน การวิเคราะห์ การผลิตและการตลาดได้ ระบบไอทีในส่วนใหญ่ยังคงเป็นไปเพื่อกระบวนการทำงานภายในองค์กร ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับตัวพนักงานในองค์กร อาทิ ระบบงานบุคคล หลายบริษัทบริษัทเริ่มจะมีการลงทุนในระบบเทคโนโลยีมากขึ้นในการเรื่องของการตลาดเพิ่มมากขึ้น”

วรวิสุทธิ์ ย้ำว่า หากองค์กรธุรกิจไม่มีการใช้เทคโนโลยีในการตลาด ในการเก็บข้อมูลลูกค้า องค์กรนั้นก็จะไม่รู้จักลูกค้ากลุ่มเป้หมายของตนเองดีพอ ก็จะสูญเสียโอกาสทางธุรกิจและความสามารถในการแข่งขัน องค์กรใดที่มีความพร้อมและตระหนักถึงความสำคัญเทคโนโลยีและมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในองค์กรอย่างเหมาะสม จะช่วยทำให้ศักยภาพการทำงานและการแข่งขันขององค์กรธุรกิจเพิ่มมากขึ้น

View :5823

“จริยธรรมสื่อกับการใช้ Social Media”

June 5th, 2011 No comments

(เป็นงานเขียนที่เขียนขึ้นเว็บชมรมนักข่าวสายไอทีไปเมื่อปีที่แล้ว แต่คิดว่าเนื้อหายังคงทันสมัยปัจจุบันอยู่จึงขำนำมาเผยแพร่ที่บล็อกค่ะ)

กระแสการเมืองที่ร้อนแรงผนวกกับการเข้ามาใช้สื่อสังคมอย่าง Social Media โดยเฉพาะทวิตเตอร์ (Twitter) อย่างเข้มข้นของสื่อมวลชนกระแสหลักทั้งนักข่าวหนังสือพิมพ์ นักข่าววิทยุ และนักข่าวโทรทัศน์ในการรายงานข่าวอย่างฉับไวจากพื้นที่ และแม้ว่าทวิตเตอร์จะทำให้ผู้ใช้เครือข่ายสังคมสามารถบริโภคข้อมูลข่าวสาร ที่สดทันต่อเหตุการณ์มากที่สุดเมื่อเทียบกับสื่อสารมวลชนประเภทอื่น แต่อีกด้านของความเร็วที่ทวิตเตอร์มีให้นั้นก่อให้เกิดช่องว่างของโอกาสผิด พลาดของการสื่อสาร ทั้งความผิดพลาดเรื่องข้อมูลที่เร็วเกินไปจนขาดการตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้อง ข้อความที่สั้นที่ขาดบริบทจนบางครั้งสื่อผิดความหมาย การส่งต่อข้อความที่สามารถส่งต่อกันไปอย่างรวดเร็วมากเหมือนการแพร่ของไวรัส (Viral Effect) นำมาซึ่งปัญหาในกรณีที่ข้อมูลที่ถูกสื่อสารต่อๆ กันไป เป็นข้อมูลเท็จ เป็นข่าวปล่อย ข่าวลือ ที่ยังการขาดตรวจสอบ ดังนั้น ในฐานสื่อมวลชนผู้นำเสนอข่าวสารจะต้องวางบทบาทและกำหนดกรอบกติกาในการใช้ สื่อใหม่นี้เพื่อการรายงานข่าวอย่างไรให้เกิดผลประโยชน์ต่อสังคมมากที่สุด และเกิดผลกระทบเชิงลบน้อยที่สุด…

อาจารย์ ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวารสารศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, คุณอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการอำนวยการ บมจ.เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น (NBC), นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย คุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์

สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นประเด็นที่มาของกิจกรรมเสวนา “จิบน้ำชา” ในหัวข้อ “จริยธรรมสื่อกับการใช้ Social Media” ของชมรมนักข่าวสายไอที ซึ่งได้รับเกียรติจาก คุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย คุณอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการอำนวยการ บมจ.เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น (NBC) และอาจารย์ ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวารสารศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมแสดงมุมมองต่อ “จริยธรรมสื่อกับการใช้ Social Media”

เสวนา “จิบน้ำชา” ในหัวข้อ “จริยธรรมสื่อกับการใช้ Social Media” ของชมรมนักข่าวสายไอที


“Social Media” ไม่ใช่แค่ทวิตเตอร์

ประเดิมเวทีด้วยการให้คำนิยามของ Social Media ให้ตรงกันเสียก่อน ซึ่งดร.มานะ บอกว่า Social Media ที่เข้ามามีบทบาทในฐานะสื่อใหม่ แท้จริงแล้ว Social Media คือสื่อดิจิตอลที่เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการทางสังคมที่ใช้ในการสื่อสาร เหมือนสื่อประเภทอื่นๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ แต่ทว่า Social Media สามารถมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) กับผู้รับสารได้ทันที นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งปัน แลกเปลี่ยนและแชร์ข้อมูลข่าวสารทั้งข้อความ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวระหว่างกันภายในเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจุดนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของวงการสื่อสารมวลชนไทย คือ จะมีลักษณะของการผสมผสานของสื่อ (Convergent Media) มากขึ้นเรื่อยๆ

Social Media จะแตกต่างจากสื่อดั้งเดิม ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ ตรงที่มันมีลักษณะของการสื่อสาร 2 ทาง (2-way communication) ซึ่ง Social Media มีมากกว่าแค่ Facebook และ Twitter ทั้งนี้ Social Media มีตั้งแต่ Blog, Micro-Blog อาทิ ทวิตเตอร์ Social Networking อาทิ Facebook และ Hi5,Online VDO อาทิ Youtube, Photo Sharing, Wiki อาทิ Wikipedia, Bookmarking และ Cloud Sourcing แม้แต่เว็บ Pantip.com เองก็ถือเป็น Social Media

“ทั้งนี้ลักษณะเด่นและเสน่ห์ของ Social Media คือ “การมีส่วนร่วม” เพราะผู้เสพสื่อหรือผู้รับสารสามารถกลายเป็นผู้ส่งสารได้ในเวลาเดียวกัน” ดร.มานะ กล่าว

ในขณะที่คุณอดิศักดิ์ มองว่า Social Media คือ Web2.0 และเครือเนชั่นเองก็มองว่าสื่อใหม่นี้จะเข้ามาคุกคามอย่างแน่นอน ดังนั้น จึงไม่รอช้าที่กระโจนเข้าใส่ก่อนตั้งแต่เมื่อสามปีที่แล้วด้วยการเปิดเว็บ บล็อก wwww.oknation.net ขึ้นมาเพื่อเป็นสังคมของนักข่าวพลเมือง (Citizen Reporter) โดยกำหนดให้คนบนเว็บบล็อกแห่งนี้ต้องมีตัวตนจริง เพื่อความน่าเชื่อถือ ปัจจุบัน wwww.oknation.net มีสมาชิกราว 60,000 คน และจะมีคนเข้ามาเขียนเรื่องทุกๆ นาที เฉลี่ย 1.5 นาทีต่อ 1 เรื่อง และมีจำนวนผู้เข้าชมมากกว่า 100,000 รายต่อวัน (Unique IP)

จนกระทั่งปลายปีที่ผ่านมา เครือเนชั่นเริ่มเข้ามาจับทวิตเตอร์อย่างเอาจริงเอาจัง โดยกำหนดเป็นนโยบายของบริษัทให้นักข่าวและผู้มีส่วนร่วมในการกระบวนการผลิต ข่าวราว 300 คน ต้องใช้ทวิตเตอร์ในการทำข่าว และกำหนดเป็นเป็นหนึ่งในมาตรการการประเมินผลงานขององค์กรด้วย และเพื่อเชื่อมโยงระหว่างสื่อเก่ากับสื่อใหม่ไปด้วยกัน เพราะจาก 300 คนที่มี Followers รวมกันทั้งสิ้นราว 160,000 ราย ซึ่งในจำนวนนี้อาจจะซ้ำกันอยู่ราวครั้งหนึ่ง

“นโยบายของเครือเนชั่นมีนโยบาย ให้นักข่าวใช้ทวิตเตอร์เพื่อแสดงตัวตนของความเป็นนักข่าวในภาคสนาม ใช้เพื่อสร้าง Personal Brand ของตัวนักข่าวเอง เนื่องจากมองว่าความน่าเชื่อถือของข่าวขึ้นอยู่กับนักข่าวภาคสนาม ดังนั้น เนชั่นจึงให้นักข่าวมีบทบาทในการสื่อสารกับผู้รับสารของแต่ละคนเองได้โดยตรง ผ่านทวิตเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันใน Top20 ของทวิตเตอร์ที่ถูก Mention มากที่สุด 10 รายเป็นคนของเนชั่น” คุณอดิศักดิ์ กล่าว

นักข่าว “ควร” หรือ “ไม่ควร” แยก Twitter Account

มีการพูดถึงอย่างกว้างขวางว่า “นักข่าว” ที่ใช้ทวิตเตอร์นั้น ควรหรือไม่ที่จะต้องมีชื่อผู้ใช้งาน (Twitter Account) แยกจากกันระหว่างบทบาทของนักข่าวและบทบาทของบุคคลธรรมดา ในประเด็นนี้มีการมองต่างมุมระหว่างคุณอดิศักดิ์ จากเนชั่น และคุณประสงค์ นายกสมาคมนักข่าวฯ โดยคุณอดิศักดิ์มองว่า เนชั่นไม่มองว่านักข่าวจำเป็นที่จะต้องแยก Twitter Account ทั้งนี้เพราะเนชั่นมองว่านักข่าวสามารถใช้ทวิตเตอร์รายงานข่าวได้และสามรถใช้ทวิตเตอร์เดียวกันนี้แสดงความคิดเห็นได้ในฐานะ “ความคิดเห็นส่วนตัว”

“เนชั่นต้องการให้ตัวตนของนักข่าวบนโลกทวิตเตอร์นั้นเป็นคนธรรมดาที่ทั้ง เรื่องงานและเรื่องส่วนตัว เวลางาน นักข่าวประจำที่ราชประสงค์ก็รายงานข่าวเข้ามา แต่นอกเวลางาน คุณจะไปกินข้าว ช้อปปิ้ง แล้วทวีตก็เป็นเรื่องส่วนตัว ผมว่าคนผ่านเข้ารับรู้ได้ว่าอันไหนงาน อันไหนส่วนตัว และไม่ได้เห็นว่าการใช้ Twitter Account เดียวแล้วจะทำให้การรายงานข่าวของนักข่าวขาดความน่าเชื่อถือ” คุณอดิศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติม

พร้อมอธิบายต่อว่า เนชั่นจึงกำหนดแนวทางการใช้ Social Media ขึ้นมา เพื่อเป็นกรอบในการทำงานให้นักข่าวในเครือซึ่งกรอบนี้อยู่ระหว่างการร่างยัง ไม่แล้วเสร็จ แต่สาระสำคัญของกรอบนี้คือ นักข่าวจะต้องยึดถือเรื่องความถูกต้องของข้อมูล ความเป็นธรรมในการรายงานข่าว เป็นหัวใจสำคัญในการใช้ Social Media เช่นเดียวกับสื่อทุกประเภทในเครือเนชั่น สำหรับการใช้ทวิตเตอร์ซึ่งมีความรวดเร็วในการสื่อสารมากนั้นนักข่าวจะต้องมี ความรอบคอบต้องมั่นใจว่าข้อมูลที่จะสื่อสารออกไปนั้นเป็นข้อมูลที่มีความถูก ต้อง การวิพากษ์วิจารณ์หรือแสดงความเห็นส่วนตัวทำได้แต่ด้วยถ้อยคำที่ไม่ส่อเสียด หยาบคาย และข้อมูลที่จะสื่อสารออกไปต้องเป็นประโยชน์ต่อผู้รับสาร ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นหลักปกติของการทำหน้าที่สื่อมวลชน

แต่คุณประสงค์มองต่างจากคุณอดิศักดิ์ โดยบอกว่า ส่วนตัวแม้ว่าจะไม่ได้ใช้ทวิตเตอร์แต่เห็นว่านักข่าวควรแยกบทบาทเรื่องงาน และเรื่องส่วนตัวบนโลกทวิตเตอร์ด้วยการแยก Twitter Account เหมือนดังเช่นสำนักข่าวรอยเตอร์ทำ ทั้งนี้เพื่อความน่าเชื่อถือและเป็นกลางในการรายงานข่าว ซึ่งจะทำให้นักข่าวสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น

“เวลางานก็ใช้ Twitter Account ของสำนักข่าว ข้อความทีทวีตไปก็เป็น ข้อเท็จจริง ไม่ควรทวีตความเห็นส่วนตัว หรือเรื่องส่วนตัว นอกเวลางาน หรือหากอยากจะทวีตแสดงความคิดเห็นก็ควรทำในอีก Twitter Account หนึ่ง และควรเป็น Twitter Account ที่ระบุตัวตนที่แท้จริงด้วย เพื่อความรับผิดชอบต้อข้อความที่สื่อสารออกไป” คุณประสงค์ ย้ำ

โดยนายกสมาคมนักข่าวฯ มองว่า คนรุ่นใหม่อาจจะขาดความรับผิดชอบต่อข้อความที่ตนเองสื่อสาร โดยมักนิยมจะใช้นามแฝงเวลาอยู่บนโลกออนไลน์ ไม่เฉพาะเพียงแต่ทวิตเตอร์เท่านั้น ซึ่งการไม่มีตัวตนทำให้คนเหล่านี้สามารถที่จะสื่อสารโดยขาดความรับผิดชอบต่อ ข้อความของตนเอง ทำให้สังคมเกิดปัญหา ซึ่งตรงนี้ถือเป็นจริยธรรมของผู้ใช้สื่อออนไลน์ ซึ่งนับวันจะมีน้อยลงทุกที ด้วยค่านิยมสมัยใหม่ที่มักใช้นามแฝงเพื่อเลี่ยงความรับผิดชอบต่อข้อความที่ สื่อสารออกไป ดังนั้น นักข่าว ในฐานะสื่อสารมวลชนจะต้องมีความรับผิดชอบต่อข้อความที่สื่อออกไป โดยจะต้องมีตัวตนที่ชัดเจน และต้องแยกบทบาทเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวออกจากกันผ่าน Twitter Account คนละชื่อกัน

ความรับผิดชอบอยู่ที่ใคร “นักข่าว” หรือ “องค์กรข่าว”

ต่อประเด็นที่มีการถกเถียงกันมากว่า “นักข่าว” หรือ “องค์กรข่าว” ควรจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อข้อความที่ได้เผยแพร่ผ่านช่องทาง Social Media ก็มีการมองต่างกันเล็กน้อย โดยคุณ ประสงค์มองว่า นักข่าวจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อข้อความที่ตนเองทวีตไปโดยตรง เพราะถือว่าการรายงานข่าวผ่านทวิตเตอร์นั้นมิได้ผ่านกระบวนการทำข่าวแบบดั้ง เดิมที่ต้องมีกระบวนการตรวจสอบข้อมูล ข้อเท็จจริงจากกองบรรณาธิการ ทำให้แทนที่จะมีความรับผิดชอบร่วมของกองบรรณาธิการต่อข้อความหรือข่าวที่นำ เสนอออกไป ตัวนักข่าวเองจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อข้อความข่าวนั้นๆ

ในขณะที่คุณอดิศักดิ์ มองต่างโดยเห็นว่า เนื่องจากเนชั่นได้กำหนดเป็นนโยบายชัดเจนว่าให้นักข่าวภาคสนามสามารถรายงาน ข่าวสดตรงจากพื้นที่ผ่านช่องทางทวิตเตอร์ได้นั้น ดังนั้นหากเกิดกรณีข้อความหรือข่าวผิดพลาด คลาดเคลื่อน ตัวนักข่าวจะมิใช่ผู้รับผิดชอบต่อข้อความนั้นเพียงผู้เดียว แต่องค์กรจะเข้ามาร่วมรับผิดชอบด้วย เพราะถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่

กรอบจริยธรรมการใช้ Social Media ของสื่อมวลชน

สำหรับแนวทางของกรอบจริยธรรมของการใช้ Social Media ของสื่อมวลชนนั้น วงเสวนามีแนวคิดไปในทางเดียวกันนั่นคือ สื่อมวลชนจะต้องยึดหลักจริยธรรมสื่อวิชาชีพในการใช้สื่อใหม่อย่าง Social Media ทุกประการเพียงแต่อาจจะต้องมีรายละเอียดเพิ่มเติมเข้ามาในลักษณะของข้อควรระวัง เพราะ Social Media มีความต่างจากสื่อดั้งเดิม ในเรื่องของความเร็ว การสื่อสารสองทาง และการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วผ่านเครือข่ายสังคม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งทวิตเตอร์ซึ่งเป็นข้อความสั้นเพียง 140 ตัวอักษร มีโอกาสมากที่จะกลายเป็นการสื่อสารที่ผิดความหมาย หรือถูกตีความผิดไปจากความหมายที่ต้องการจะสื่อ หรือถูกนำไปใช้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง เพราะข้อความเพียง140 ตัวอักษรของทวิตเตอร์นั้นไม่เพียงพอต่อการใส่บริบทของเรื่องราว ซึ่งอาจทำให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ง่าย แม้ว่าคุณอดิศักดิ์จะบอกว่า ผู้ที่จะทวีตข้อความยาวๆ นั้นสามารถทำได้ผ่านการทวีตอย่างต่อเนื่องกัน อย่างคุณ แคน สารริกา (@can_nw) เป็นต้น

ด้านดร.มานะเสริมว่า เนื่องจาก Social Media เป็นเรื่องใหม่สำหรับสังคมไทยและสำหรับวงการสื่อมวลชนไทย ที่ต้องอาศัยการเรียนรู้และปรับปรุงไปด้วยกัน แต่ก็มีข้อควรระวังของประเด็นที่ยังคงมีการถกเถียงอยู่ 4 ประเด็นนั่น คือ ประเด็นแรก เรื่องความรวดเร็วกับความถูกต้อง นักข่าวจะต้องสมดุลสองสิ่งนี้อย่างไร เนื่องจากทุกคนแข่งกันเร็ว แต่บางครั้งความรวดเร็วของข้อมูลที่สื่อออกไปขาดการตรวจสอบ ซึ่งธรรมชาติจากแตกต่างจากสื่อเก่าที่ต้องผ่านการตรวจสอบของกระบวนการทำงาน ของกองบรรณาธิการแต่ช้า

“การสื่อข้อมูลผ่านทวิตเตอร์ที่มีความเร็วในระดับทันทีทันใดและแพร่ กระจายรวดเร็วมากยิ่งต้องระวัง ยิ่งคุณเป็นนักข่าว ข้อมูลที่คุณสื่อออกไปคนที่เขาตามคุณอยู่เขาจะเชื่อคุณโดยทันทีว่าจริง ซึ่งตรงนี้อันตราย แต่หากข้อมูลมันไม่จริง จะมีคนตรวจสอบคุณทันที และความน่าเชื่อถือของคุณก็จะลดลง ซึ่งเป็นสิ่งที่นักข่าวที่ใช้ทวิตเตอร์จะต้องเรียนรู้และปรับปรุงต่อไป แต่ที่สำคัญ เมื่อคุณสื่อข้อความที่ผิดออกไป คุณอย่าช้าที่จะขอโทษ ซึ่งหากเป็นสื่อเก่าหากมีการนำเสนอข้อมูลที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนสื่อมักจะทำ เงียบๆ แล้วปล่อยมันเลยหายไป แต่กับสื่อใหม่คุณจะทำแบบนี้ไม่ได้” ดร.มานะ แสดงความคิดเห็น

พร้อมเสริมต่อว่า ประเด็นต่อมาคือ เรื่องของความเป็นส่วนตัวกับความเป็นพื้นที่สาธารณะ ซึ่งปัจจุบันยังคงเป็นปัญหาสำหรับคนทำข่าวและคนใช้ Social Media ในเมืองไทย เพราะหลายคนมักคิดว่า Social Media คือพื้นที่ส่วนตัว แต่ความเป็นจริงแล้วมันไม่ใช่ ดังนั้น นักข่าวและผู้ใช้งาน Social Media จะต้องเรียนรู้ธรรมชาติข้อนี้ของสื่อใหม่นี้ โดยเฉพาะนักข่าว เนื่องจากคนที่เขามาตามคุณเขามาตามคุณเพราะคุณเป็นนักข่าว ยิ่งหากคุณมีชื่อ Twitter Account ต่อท้ายด้วยชื่อสำนักข่าวของคุณด้วยแล้ว ยิ่งต้องระวังให้มาก เมื่อนักข่าวเรียนรู้ว่าพื้นที่บน Social Media เป็นพื้นที่สาธารณะคุณก็จะสามารถใช้มันอย่างเข้าใจมากขึ้น

ทั้งนี้ การใช้ข้อความสั้นอย่างทวิตเตอร์เพื่อแสดงทัศนะ หรือนำเสนอเรื่องราวที่ต้องอาศัยบริบทนั้นสามารถทำได้ผ่านการใช้สื่ออื่น ช่วย อาทิ กรณีของคุณสุทธิชัย หยุ่น (@suthichai) ที่มักจะใช้ทวิตเตอร์รายงานข้อเท็จจริง แต่หากมีความคิดเห็นเพิ่มเติม คุณสุทธิชัยจะใช้บล็อกส่วนตัวเป็นช่องทางการนำเสนอโดยใช้ทวิตเตอร์เป็น เครื่องมือในการบอกว่าหากให้อยากอ่านความเห็น บทวิพากษ์ วิจารณ์ สามารถตามไปอ่านได้ที่บล็อก

ประเด็นต่อมา คือ เรื่องของ “จุดยืนของนักข่าว กับจุดยืนขององค์กร” ซึ่งเป็นประเด็นต่อเนื่องจากความเป็นส่วนตัวกับความเป็นสื่อสาธารณะ ดังนั้น นักข่าวจะต้องแยกบทบาทเรื่องส่วนตัวกับเรื่องงานออกจากกันให้ชัดเจน เพราะหากไม่ชัดเจนแล้วจะเกิดปัญหา อาทิ การแสดงความคิดเห็น หรือารมณ์ส่วนตัวต่อข่าวการเมืองผ่าน Social Media ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะอาจก่อให้เกิดประเด็นปัญหาตามมาเรื่องความเข้าใจผิด ของผู้รับสารว่าความคิดเห็นที่คุณแสดงออกมานั้น เป็นจุดยืนของนักข่าวหรือเป็นจุดยืนขององค์กรข่าว ดังนั้น นักข่าวจะต้องระวังในจุดนี้ด้วย

และประการสุดท้าย คือ ประเด็นเรื่องการแบ่งปันข้อมูลกับการละเมิดข้อมูล เมื่อ Social Media เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถส่งต่อข้อความ ทั้งข้อความตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวได้อย่าง่ายดายและรวดเร็ว สิ่งที่อาจจะเป็นประเด็นปัญหาตามมาก็คือ “สิทธิ” ความเป็นเจ้าของในข้อมูลนั้น และการละเมิดสิทธิด้วยการส่งต่อข้อมูลหรือนำข้อมูลนั้นไปใช้ต่อ ซึ่งประเด็นนี้ยังไม่เกิดเป็นกรณีความกันขึ้นแต่เป็นประเด็นสำคัญอีกประเด็น ที่นักข่าวและผู้ใช้ Social Media ทุกคนจะต้องเรียนรู้และระมัดระวัง

สุดท้ายวงเสวนาก็จบลงตรงความเห็นร่วมกันว่านักข่าวที่ต้องใช้สื่อใหม่ อย่าง Social Media นี้จะต้องระมัดระวังเฉกเช่นเดียวกับการใช้สื่อเก่า และควรเอาแนวทางปฏิบัติ กรอบการทำงาน และจริยธรรมที่นักข่าวมีและใช้อยู่กับการทำงานบนสื่อดั้งเดิม มาปรับใช้กับสื่อใหม่นี้โดยอาศัยการเรียนรู้ลองผิดลองถูกอย่างระมัดระวัง โดยองค์กรวิชาชีพสื่อจะให้ความสำคัญกับ Social Media ผ่านการทำกรอบการทำงาน (เพิ่มเติมจากกรอบปฏิบัติเดิมที่มีอยู่) และทางสมาคมนักข่าวฯ เองก็ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ โดยจะดำเนินการผ่านทางชมรมนักข่าวสายไอทีต่อไปในอนาคต…

View :5854

ททท. ชูนโยบายปี 54 ด้วยการตลาดเชิงรุกใช้ “ดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง”

February 15th, 2011 No comments


อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนับเป็นเส้นเลือดหลักทางเศรษฐกิจของประเทศไทยรองจากอุตสาหกรรมส่งออก ด้วยความได้เปรียบในทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติหลั่งไหลจากทั่วสารทิศทั่วโลกมาเยือนประเทศไทยปีละจำนวนไม่น้อย ประเทศไทยยังคงเป็นจุดหมายปลายทางหลักแห่งหนึ่งของพวกเขาแม้ว่าปัจจุบันสภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศในแถบเอเชียด้วยกันจะมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของนักท่องเที่ยวที่อิงอยู่กับข้อมูลจำนวนมหาศาลบนอินเทอร์เน็ตและโน้มเอียงไปกับคำแนะนำ ติชมของเพื่อนนักเดินทางที่อยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้น จนแทบจะเรียบได้ว่ามี “อิทธิพล” ต่อความคิดและการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวอยู่มากในปัจจุบัน

ทำให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยจำต้องปรับนโยบายและเปลี่ยนแนวกลยุทธ จากเดิมที่ใช้ “สื่อดั้งเดิม” เป็นหลักเพียงอย่างเดียว ปัจจุบันภายใต้การบริหารงานของ “สุรพล เศวตเศรณี” ผู้ว่าการฯ คนปัจจุบัน ททท.จะเน้นนโยบายเชิงรุกในการใช้การตลาดออนไลน์หรือการตลาดแบบดิจิตอล (Online/Digital Marketing) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยมากยิ่งขึ้น

นโยบายของททท.ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยโดยใช้การตลาดออนไลน์หรือการตลาดแบบดิจิตอลเป็นอย่างไร
เนื่องจากปัจจุบันอินเทอร์เน็ตและโลกออนไลน์ โดยเฉพาะเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Networking) เข้ามามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก ทำให้ททท.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ต้องส่งเสริมให้เกิดการมาเที่ยวในเมืองไทยมากขึ้น เพื่อสร้างรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้กับประเทศเพิ่มมากขึ้น และสร้างชื่อเสียงของประเทศในเวทีโลก จำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การโปรโมทการท่องเที่ยวจากเดิมที่ทำอยู่ ได้แก่การซื้อพื้นที่โฆษณาในสื่อเก่า อาทิ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ที่เป็นกระดาษ ซึ่งมีข้อจำกัดทั้งในแง่ของความรวดเร็วของการเข้าถึง ความพลวัตรของข้อมูล ความแพร่หลายของข่าวสารที่มีจำกัด ทำให้ททท.พิจารณาแล้วเห็นว่าหากยังทำการโปรโมทการท่องเที่ยวไทยบนสื่อเดิมเพียงอย่างเดียวจะทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยเสียโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจำนวนมากและเสียโอกาสที่จะมีพื้นที่ยืนและมีแบรนด์อันแข็งแกร่งบนโลกออนไลน์ไปอย่างน่าเสียดาย

ดังนั้น ททท.จึงมีนโยบายที่จะเพิ่มกลยุทธการโปรโมทการท่องเที่ยวผ่านสื่อใหม่ (New Media) บนโลกออนไลน์ทั้งบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและบนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ทั้งสมาร์ทโฟน (Smart Phone) และแท็ปเลต (Tablet) ด้วยการพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวในประเทศไทย รวมถึงการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ทั้งเฟซบุ๊ค (www.facebook.com/AmazingThailand) และทวิตเตอร์ (Twitter.com/Go2Thailand) เป็นช่องทางในการสื่อสารระหว่างททท.กับกลุ่มเป้าหมายบนโลกออนไลน์

ททท.ได้เพิ่มสัดส่วนของงบประมาณในการโปรโมทการท่องเที่ยวผ่านสื่อใหม่จากเดิมที่มีเพียง 10-15 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณในการส่งเสริมทั้งหมดของททท.ในปี 2552 เพิ่มเป็น 30 เปอร์เซ็นต์ในปีที่ผ่านมาและจะเพิ่มเป็น 40 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ โดยตั้งเป้าว่าจะรักษาฐานนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวประเทศบ่อยๆ ที่มีสัดส่วนสูงถึง 60 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่าปีนี้จะเข้ามาเที่ยวเมืองไทยราว 15.5 ล้านคน ไว้ให้ได้ ซึ่งนักท่องเที่ยวในส่วนนี้จะเป็นกลุ่มที่เดินทางท่องเที่ยวด้วยตนเอง หรือมีส่วนกับการจัดแผนการท่องเที่ยวของตัวเอง ดังนั้นข้อมูลด้านการท่องเที่ยว ทั้งสินค้าและบริการของแหล่งท่องเที่ยว ข้อมูลที่พัก ข้อมูลพื้นที่ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มาก หน้าที่ของทท.คือการนำฐานข้อมูลที่เรามีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นข้อมูลของททท.และเป็นข้อมูลของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยล่าสุดททท.ได้นำข้อมูลเหล่านี้มาประยุกต์พัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่นที่เรียกว่า “Amazing Thailand” ซึ่งมีไว้บริการสำหรับอุปกรณ์ทุกแพลตฟรอ์ม ทั้งบน iOS ได้แก่บน iPad iPhone และ iPod และบน BlackBerry กับบนAndroid

ภายใต้แอพพลิเคชั่น “Amazing Thailand” ประกอบด้วยข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อนักท่องเที่ยวที่นิยมวางแผนการท่องเที่ยวด้วยตัวเอง และมีการเตรียมแผนการท่องเที่ยวล่วงหน้า โดยข้อมูลแบ่งออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับประเทศไทย (About Thailand) ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว (Destinations) ข้อมูลงานกิจกรรมต่างๆ (Event) แผนที่ (Map) บุ๊คมาร์ค (Bookmark) เคล็ดลับการช้อปปิ้ง (Shopping Tips) ข้อมูลแหล่งอาหารไทย (Thai Food) คำถามที่มักพบบ่อย (FAQs) และบริการคำค้น (Search)

จุดเด่นของแอพพลิเคชั่น “Amazing Thailand” คืออะไร
จุดเด่นของแอพพลิเคชั่นนี้คือ การต่อยอดข้อมูลด้านการท่องเที่ยวให้เกิดเป็นบริการรูปแบบใหม่ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการท่องเที่ยว อาทิ ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว (Destinations) ททท.ได้คัดสรรแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถเดินทางเข้าถึงได้ด้วยตัวเองมาให้บริการพร้อมบอกวิธีการเดินทางไป แนะนำสถานที่พัก รวมถึงสถานที่กินดื่ม และแหล่งช้อปปิ้ง เพื่อให้ข้อมูลเบ็ดเสร็จในที่เดียว เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวในการวางแผนการท่องเที่ยว และเอื้อให้นักท่องเที่ยวใช้เวลาท่องเที่ยวนานขึ้นและใช้จ่ายมากขึ้น ปัจจุบันททท.นำเสนอแหล่งท่องเที่ยวบนแอพพลิเคชั่นแล้ว 89 แห่ง

ทว่าประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวทั้งสิ้นมากกว่า 4,000 แห่ง ซึ่งททท.จะทยอยนำแหล่งท่องเที่ยวเหล่านั้นขึ้นมาไว้บนแอพพลิเคชั่นในอนาคต ทั้งนี้การเลือกแหล่งท่องเที่ยวก่อนหลังพิจารณาจากความพร้อมของผู้ประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่นั้นๆ ด้วยว่ามีความพร้อมและสามารถรองรับนักท่องเที่ยวที่อาจจะมีการติดต่อขอข้อมูลหรือสั่งจองบริการผ่านระบบออนไลน์ เพราะในอนาคตททท.มีแผนจะพัฒนาต่อยอดแอพพลิเคชั่นจากการให้บริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยวไปสู่การอำนวยความสะดวกในการสั่งจองหรือสั่งซื้อบริการด้านการท่องเที่ยวบนระบบออนไลน์ในคราวเดียวเลย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ททท.อาจจะต้องอาศัยพันธมิตรซึ่งเป็นผู้ประกอบการเข้ามาบริหารจัดการการซื้อหรือการจองออนไลน์ เนื่องจากด้วยอำนาจหน้าที่ของททท.เป็นหน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยว ดังนั้น ททท.จะไม่ลงไปให้บริการหรือบริหารระบบเอง

จุดเด่นอีกประการของแอพพลิเคชั่นนี้คือการสร้างความยืดหยุ่นให้กับงานกิจกรรมต่างๆ (Event) เดิมทีที่ใช้สื่อดั้งเดิมที่มีความยืดหยุ่นเรื่องเวลาและความเร็วในการผลิตและกระจายข้อมูลต่ำ ทำให้ททท.สามารถโปรโมทแต่เฉพาะงานกิจกรรมที่รู้ล่วงหน้า 6 เดือนถึง 1 ปี เพราะต้องให้เวลากับการผลิตสื่อค่อนข้างมาก ซึ่งจะโปรโมทได้เพียงกิจกรรมหลักที่จัดประจำในแต่ละปีตกราว 100 รายการ เท่านั้น แต่ด้วยสื่อดิจิตอล และออนไลน์มาร์เก็ตติ้งทำให้ททท.สามารถเพิ่มเติมข้อมูลกิจกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างปีที่มีมากถึงกว่า 1,000 กิจกรรมเข้าไปในแอพพลิเคชั่นนี้ได้ซึ่งจะช่วยดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวได้มากขึ้น

ซึ่งงานกิจกรรมต่างๆ (Event) นี้มีความสำคัญมากเนื่องจากเป็นสิ่งที่ช่วยดึงให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่ที่จัดงาน และทำให้เกิดการใช้จ่ายเงินของนักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวไม่มีข้อมูลงานต่างๆ เหล่านี้เขาก็ไม่เดินทางมา หรือเดินทางมาแต่ไม่ได้ใช้เวลาเที่ยวในเมืองไทยนานขึ้น เพราะคิดว่าไม่มีกิจกรรมอะไรที่เขาสนใจแล้ว ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่พลวัต หากไม่ได้สื่อใหม่เข้ามาช่วยเผยแพร่คงทำไม่ได้

แผนงานในปีนี้นอกจากจะให้บริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยวแล้ว ททท.มีแผนจะต่อยอดบริการเพื่อช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารถวางแผนการท่องเที่ยวได้ด้วยตัวเอง ด้วยการให้บริการข้อมูลและการเชื่อมโยงระบบบริการต่างๆ เข้าด้วยกัน อาทิ เมื่อนักท่องเที่ยวเจอสถานที่ที่อยากมาเที่ยว ก็สามารถรู้ได้ว่า สถานที่นี้อยู่ที่ไหน ไปอย่างไร และมีกิจกรรมอะไรให้เที่ยวหรือให้ทำบ้าง และหากเขาจะเปลี่ยนไปอีกสถานที่หนึ่งเขาสามารถไปได้อย่างไร ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะนำเสนอในหลายรูปแบบทั้งข้อมูลตัวอักษร ภาพ แผนที่และในอนาคตอาจจะเป็นมัลติมีเดีย ในอนาคตททท.จะทำแผนโปรโมทการท่องเที่ยวแบบ Permission Marketing เราจะออกแบบข้อมูลการท่องเที่ยวให้ตรงกับกลุ่มนักท่องเที่ยวในแต่ละเซ็กเม้นท์มากขึ้น โดยเราจใช้ฐานข้อมูลของนักท่องเที่ยวที่เรามีอยู่จากการที่เขาลงทะเบียนลงแอพพลิเคชั่นของเราไป และจากข้อมูลที่เขาได้ทำผ่านแอพพลิเคชั่นจะทำให้เรามีฐานข้อมูลของนักท่องเที่ยวแต่ละคน ซึ่งการจะทำการตลาดเชิงรุกในลักษณะนี้เราจะต้องได้รับอนุญาตจากนักท่องเที่ยวเป็นรายบุคคลเสียก่อน

เป้าหมายสูงสุดของททท.ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวคืออะไร
ททท.ต้องการสร้างความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทย เพราะอุตสาหกรรมนี้มีความอ่อนไหวตามเหตุปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้อยู่ค่อนข้างมาก ดังนั้น แทนที่เราจะขายบริการด้านการท่องเที่ยวด้วยสินค้าและบริการที่ตายตัวปีต่อปี เราสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลและสินค้าและบริการที่มีอยู่มาช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารถสร้างและออกแบบแผนการท่องเที่ยวที่มีความยืดหยุ่นสูงด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวนักท่องเที่ยวเองและประโยชน์ต่อผู้ประกอบการท่องเที่ยว ททท.เราเล่นบทบาทในฐานะผู้อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงและใช้ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ เราต้องการสร้างให้เกิดการเข้าถึงโดยตรงระหว่างนักท่องเที่ยวกับตัวสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว ทั้งนี้ททท.มิได้มุ่งหวังเพียงดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาเที่ยวเมืองไทยเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี พยายามให้เขาอยู่นานขึ้นในแต่ละทริป และพยายามให้เขาใช้จ่ายมากขึ้นในแต่ละครั้งที่มาเที่ยว แต่ททท.ยังมุ่งหวังให้นักท่องเที่ยวไทยออกเดินทางท่องเที่ยวไทยเพิ่มมากขึ้น นักท่องเที่ยวไทยเป็นอีกปัจจัยสำคัญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ในปีที่ผ่านมานักท่องเที่ยวไทยออกเที่ยวไทยราว 87 ล้านคนครั้ง (จำนวนครั้งของการท่องเที่ยว) ซึ่งในปีนี้ททท.ตั้งเป้าว่าจะกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวไทยออกเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็น 91 ล้านคนครั้ง

นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติปัจจุบันส่วนใหญ่กลายเป็นประชากรดิจิตอล (Digital Citizen) ซึ่งปฏิเสธไมได้ว่าเทคโนโลยีเป็นช่องทางสำคัญในการเข้าถึงพวกเขาและสื่อสารกับพวกเขาได้ตรงความต้องการ ส่วนตัวผมเองไม่ได้เป็นคนใช้หรือรู้เรื่องเทคโนโลยีมากนัก แต่ผมรู้และเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีในฐานะเครื่องมือสื่อสารอันทรงพลัง ผู้ในฐานะผู้บริหารและผู้ให้นโยบายจึงได้ให้นโยบายกับเจ้าหน้าที่ของททท.ทุกคนว่าองค์กรเราจะเดินหน้าสู่ทิศทางนี้ เราจะใช้เทคโนโลยีมากขึ้นทั้งเรื่องการทำงานภายในองค์กรเราเองและเรื่องงานที่เราจะต้องส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและเพื่อสื่อสารกับทั้งนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยว จากนี้ไปจะเห็นบทบาทของททท.ในมิติขององค์กรที่ใช้เทคโนโลยีในการทำงานอย่างมากอย่างแน่นอน

(บทความนี้ตีพิมพ์ในวารสารรายสามเดือน Smart Industry)

View :3414

Zuckerberg in Bangkok

December 30th, 2010 No comments

[youtube=http://www.youtube.com/watch?v=tnKSs2SV7H8&feature=youtu.be]

 

Mark Zuckerberg, Facebook’s co-founder, was impressed with the Thai culture he experienced at the wedding ceremony this week of his close friend Chris Cox, the vice president of Facebook.

Vivatvong Vichit-Vadakan, the father of Cox’s bride Visra Vichit-Vadakan, said Zuckerberg had taken part in all three days of his daughter’s wedding and was impressed with the culture he had experienced throughout the proceedings.

“He is a very nice, humble person. We chatted. I thanked him for taking part in my daughter’s wedding in Bangkok for three days. We didn’t talk about business, or even about Facebook or social networking in Thailand, as he had come for the wedding ceremony and was here in a private capacity,” said Vivatvong, who is chief open-source technologist at Loxley Business Information Technology-PointAsia.

He said Zuckerberg had seen a lot of Thai culture during his stay, as his family had arranged a full traditional Thai-style wedding ceremony for 40 of Cox’s friends who had come over from the United States.

Cox joined Facebook four years ago. “Mark joined the merit-making ritual as part of the wedding ceremony on Monday, and then he also joined the engagement

ceremony yesterday [Tuesday]. These two activities were at the bride’s home in Sukhumvit Soi 24. And we had the wedding ceremony yesterday morning at the house of General MR Kukrit Pramoj,” said Vivatvong.

He added that his daughter had been friends with Cox since 2000, when they were freshmen at Stanford University. Cox was studying symbolic systems while Visra was studying human biology, but they were both in the university’s Traditional Japanese Drum Club, which is where they met.

Their relationship continued in the ensuing years and blossomed into that of lovers three years ago, he said.

After graduation, Cox pursued a master’s in computer science at the same university, while Visra came back to Thailand, working for TK Park during the time that Sirikorn Maneerin was deputy education minister. She is now a second-year graduate student of the Film School at New York University and expects to earn her master’s degree next year.

Vivatvong said Zuckerberg would not be staying in the Kingdom to celebrate the New Year.

“He is a very nice and humble guy. He is not as he is portrayed in the movie ‘The Social Network’,” he said.

Zuckerberg, dressed in grey T-shirt and jeans, arrived at last night’s party venue – a restaurant on Sukhumvit 36 – at about 8pm in a van and accompanied by security guards. Journalists took photographs but he did not respond to any of their questions.

Published on December 30, 2010 at The Nation

http://www.nationmultimedia.com/home/Zuckerberg-impressed-with-Thai-culture-30145482.html

Other story about Mark Zuckerberg

http://www.nationmultimedia.com/2010/12/29/national/Facebook-founder-spotted-in-Bangkok-pub-30145429.html

View :2805

LG focuses more on digital marketing next year

December 19th, 2010 No comments

LG aims to focus more on digital marketing next year with the 25 per cent increase in its above-the-line marketing budget that raised from Bt56 million to Bt70 million.

Thunyachate Ekvetchavit, marketing director, head of Corporate Marketing at LG Electronics (Thailand) said that LG plans to increase budget for its digital marketing from Bt50 millions to Bt70 millions.

Due to the rapid increase of internet users across the devices and platforms and the rapid growth of mobile devices both of smart phone and tablets that raise the wide and huge of online consumers in Thailand. Also, behavior of consumers currently has been changed to be online and social network.

LG Electronics has started its digital marketing since last year and concentrate more this year. The company has rolled out 10 marketing campaigns throughout this year with the use of Bt56 million of digital marketing budget.

“This year, we are very success in using digital marketing to drive our marketing campaigns throughout the year. Our brand awareness is increased by 5 to 10 per cent. We will continue on this way and will increase budgets'” said Thunyachate.

He said digital marketing is playing more important and going to the mass. By 2012, LG Electronics Thailand wants to become the top brand – to be number one consumer electronic company in Thailand- in brand preference, and also wants to be at least top 3 in all across its business units included home entertainment; home appliance; air conditioner; mobile phone; and business solution.

“Our main digital marketing is “integrated” marketing strategy blended between offline and online campaign, depending on what kinds of campaigns and what target groups of them,” said Thunyachate.

He added that in the year 2012, the company plans to increase its digital marketing budget to 15 per cent of the company’s above-the-line marketing budget, increased from 10 per cent in next year and 8 per cent of this year.

“We see it is in the transition period of marketing therefore we need to integrate the online and offline marketing and to balance the mass and the niche target group of marketing campaigns carefully,” said Thunyachate.

However, this year, LG’ s strategy is recognized with the industry accolades both globally and in Thailand including a Silver PR Lion award at Cannes for the ‘Lollipop Love Story’ campaign; a Silver award in the Campaign Technology & Telecom category at the Digital Marketing Awards (DMA); and 7 accolades at Thailand’s Adman awards.

View :2900

นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ผ่านความเห็นชอบจากครม.แล้ววันนี้

November 9th, 2010 No comments

นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ

๑. ความเป็นมา

รัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๗๘ ได้กำหนดให้รัฐดำเนินการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน รวมถึง การจัดทำและการให้บริการสาธารณะ ระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึง เท่าเทียมกันทั่วประเทศ และรัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ว่าจะพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมขั้นพื้นฐานให้ครอบคลุมทั่วประเทศและสร้างโอกาส ในการเข้าถึงบริการของประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน รวมทั้งได้จัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสารของประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๕๔ – ๒๕๖๓) หรือ ICT 2020 เพื่อใช้เป็นกรอบทิศทางในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งกำหนดเป้าหมายการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและการสื่อสาร ให้เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ มีคุณภาพและความมั่นคงปลอดภัยเทียบเท่ามาตรฐานสากล ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๓

รัฐบาลได้ตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ ภายใต้กรอบนโยบาย ICT 2020 ในการพัฒนาประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การบริการของรัฐ การรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงความมั่นคงและปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนช่วยส่งผลต่อการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศได้อย่างต่อ เนื่อง ทั้งยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกิจการโทรคมนาคม กิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาบริการบรอดแบนด์ของประเทศ ปัจจุบันยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ โดยมีประชากรที่ใช้บริการบรอดแบนด์เพียงร้อยละ ๓.๕ ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเขตนครหลวงและเมืองใหญ่ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำและช่องว่างทางดิจิทัลระหว่างประชาชนในเขต เมืองและชนบท รวมทั้งเป็นปัจจัยที่กระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว

ใน การนี้ รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและใช้เป็นกรอบการดำเนินการและขับเคลื่อนการพัฒนา บริการบรอดแบนด์ ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่หลากหลาย มีความก้าวหน้าทันสมัย สอดคล้องกับบริบทและสภาพพื้นที่ของประเทศไทย และตอบสนองความต้องการการใช้บริการของทุกภาคส่วน โดยที่รัฐมีบทบาทเป็นผู้กำหนดนโยบายและสนับสนุนการให้มีและการใช้บริการ บรอดแบนด์อย่างทั่วถึงเท่าเทียมกัน รวมถึงส่งเสริมให้ภาคเอกชนและประชาชนร่วมดำเนินการไปสู่ความสำเร็จ โดยมีองค์กรกำกับดูแลที่เป็นอิสระตามกฎหมายทำหน้าที่กำกับดูแลการประกอบ ประกอบกิจการให้มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม

 

๒. นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ

๒.๑ ภาครัฐมีเจตนารมณ์ที่จะสนับสนุนการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ อันถือเป็นบริการที่มีความสำคัญเทียบเท่าบริการที่เป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้น ฐานของประชาชน ให้ทั่วถึง เพียงพอ ในราคาที่เหมาะสม ภายใต้การแข่งขันเสรีและเป็นธรรม

๒.๒ ประชาชนคนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ได้ อย่างเต็มที่ ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำและลดช่องว่างทางดิจิทัล ทั้งในเชิงภูมิศาสตร์และเชิงกลุ่มประชากร สามารถกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคทั่วประเทศ ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

๒.๓ ภาครัฐและภาคธุรกิจสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการพัฒนาบรอดแบนด์ได้ อย่างเต็มที่ เพื่อเพิ่มผลิตภาพ และความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน

๒.๔ ในการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ รัฐจะบริหารจัดการทรัพย์สินด้านโทรคมนาคมที่รัฐได้ลงทุนไปแล้วและอาจจะลงทุน เพิ่มเติม เพื่อประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการโทรคมนาคมทุกรายอย่างเสมอภาค โดยการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และรัฐจะไม่ผูกขาดที่จะเป็นผู้ลงทุนในการจัดให้ม บริการต่าง ๆ แต่เพียงผู้เดียว แต่จะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการทุกรายที่พึงประสงค์และมีศักยภาพที่จะลงทุน เพื่อให้บริการ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดโครงข่ายบรอดแบนด์ทั่วประเทศ โดยให้มีการแข่งขันเสรีและเป็นธรรมในการให้บริการ

๒.๕ ในเรื่องที่เกี่ยวกับเขตอำนาจอธิปไตยของชาติ เช่น ตำแหน่งวงโคจรของดาวเทียม จุดขึ้นฝั่งของเคเบิลใต้น้ำ หรือจุดเชื่อมต่อโครงข่ายข้ามพรมแดน ถือว่าเป็นส่วนที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของชาติและเป็นสิทธิหรือทรัพยากร ที่รัฐจะส่งเสริมให้มีการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในแง่ของการนำมาใช้งานเพื่อตอบสนองต่อความต้องการภายในประเทศ และการนำมาใช้งานเพื่อเพิ่มศักยภาพและโอกาสในการที่จะพัฒนาความร่วมมือและ การค้าระหว่างประเทศรัฐจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและกำกับดูแลการดำเนินการ ตามนโยบาย โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุนจัดให้มีบริการดัง กล่าว

๒.๖ รัฐจะส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคมส่วนปลายทางทั้งแบบใช้สายและ ไร้สาย ผู้ประกอบการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ผลิตเนื้อหา ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ และผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

 

๓. เป้าหมาย

๓.๑ พัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์ให้ครอบคลุมประชากร ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐ ภายในปี ๒๕๕๘ และไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๙๕ ภายในปี ๒๕๖๓ โดยมีคุณภาพบริการที่ได้มาตรฐานและมีอัตราค่าบริการที่ เหมาะสม   รวมทั้งให้มีบริการบรอดแบนด์ความเร็วสูงผ่านเคเบิลใยแก้วนำแสงในเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาค   ความเร็วไม่ต่ำกว่า 100 Mbps ภายในปี ๒๕๖๓

๓.๒ ประชาชนสามารถได้รับบริการผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ ทั้งในด้านการศึกษา สาธารณสุข การเฝ้าระวังและเตือนภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ และบริการสาธารณะอื่น ๆ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ โดย

๓.๒.๑ ขยายโอกาสทางการศึกษา โดยโรงเรียนในระดับตำบลสามารถเข้าถึงบริการ บรอดแบนด์ที่มีคุณภาพ ภายในปี   ๒๕๕๘ และโรงเรียนทั่วประเทศสามารถเข้าถึงบริการดังกล่าวได้ภายในปี ๒๕๖๓

๓.๒.๒ ขยายบริการสาธารณสุข โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือสถานีอนามัยทุกแห่งสามารถเข้าถึงบริการ บรอดแบนด์ที่มีคุณภาพเดียวกับโรงพยาบาลประจำจังหวัดหรือเทียบเท่า รวมทั้งมีการเชื่อมโยงและให้บริการระบบประกันสุขภาพและประกันสังคมผ่านโครง ข่ายบรอดแบนด์ ภายในปี   ๒๕๕๘

๓.๒.๓ ขยายการให้บริการระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลทุกแห่งของประเทศสามารถเข้าถึงบริการบรอดแบนด์ที่ มีคุณภาพในระดับเดียวกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด และหน่วยงานของรัฐในส่วนกลาง เพื่อให้ประชาชนในทุกตำบลสามารถใช้บริการต่าง ๆ ที่จะมีในระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ได้ตลอดเวลาภายในปี ๒๕๕๘

๓.๒.๔ ให้ประเทศมีระบบการเฝ้าระวังเตือนภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ และเหตุฉุกเฉินผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ ให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที

๓.๓ ภาคธุรกิจไทยสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากโครงข่ายบรอดแบนด์ได้อย่างทั่ว ถึงและเท่าเทียมกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และการเติบโตของเศรษฐกิจไทยอย่างสมดุลและต่อเนื่อง รวมทั้งให้โครงข่ายบรอดแบนด์เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดย รวม โดย

๓.๓.๑ ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีโดยรวมให้อยู่ในกลุ่ม Top 25% ของประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงสุดในการจัดลำดับ World Competitiveness Rankings

๓.๓.๒ เกิดการขยายตัวของธุรกิจที่ใช้การสร้างสรรค์ การออกแบบ และบริการใหม่ ๆ ที่ดำเนินการได้ทุกพื้นที่ในประเทศไทยผ่านเครือข่ายบรอดแบนด์ ส่งผลให้เกิดการกระจายรายได้ไปยังพื้นที่ที่ มิใช่เขตเมือง

๓.๓.๓ สัดส่วนมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อ GDP เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๑๐ ภายในปี ๒๕๕๘

๓.๔ ลดการใช้พลังงานและการใช้ทรัพยากร โดยใช้การสื่อสารหรือเข้าถึงข้อมูลร่วมกันผ่านบริการ บรอดแบนด์ทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการ ซึ่งจะส่งผลในการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดภาวะโลกร้อน

๓.๕ ลดต้นทุนการให้บริการบรอดแบนด์โดยรวม โดยเฉพาะด้านการเชื่อมต่อวงจรออกต่างประเทศและการนำบรอดแบนด์เข้าถึงผู้ใช้ บริการ เพื่อให้อัตราค่าใช้บริการบรอดแบนด์ลดต่ำลง ประชาชนผู้บริโภคโดยทั่วไปสามารถเข้าถึงบริการได้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น

๓.๖ เกิดการพัฒนาเนื้อหาสาระ ( Content) และโปรแกรมประยุกต์ ( Application) ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา การสาธารณสุข การป้องกันชีวิตและทรัพย์สิน ศาสนาและวัฒนธรรม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการดำรงชีวิตประจำวัน รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินธุรกิจให้มีขีดความสามารถทางการแข่งขันมากยิ่งขึ้น

๓.๗ ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจถึงคุณค่า และความเสี่ยงของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เร่งตัวเร็วขึ้น อันเป็นผลเนื่องมาจากการขยายการใช้บริการบรอดแบนด์ รวมถึงมีความรู้และทักษะในการใช้งานบรอดแบนด์อย่างสร้างสรรค์และเกิด ประโยชน์

๓.๘ อุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีการพัฒนา เกิดการขยายตัว และยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ไปสู่ระดับสากล

 

๔. แนวทางดำเนินการ

๔.๑ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการบรอดแบนด์

๔.๑.๑ ส่งเสริมให้มีการแข่งขันในธุรกิจบริการบรอดแบนด์ บนพื้นฐานการแข่งขันเสรีและเป็นธรรม ซึ่งจะไม่มีการผูกขาด รวมถึงการเปิดกว้างทางเทคโนโลยี เพื่อก่อให้เกิดการลงทุนในโครงข่ายและขยายการให้บริการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทั่วถึง มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม

๔.๑.๒ สนับสนุนให้มีการขยายบริการบรอดแบนด์ไปสู่พื้นที่ชนบทห่างไกล ภายใต้หลักการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม

๔.๑.๓ สนับสนุนให้มีการลงทุนพัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์ในทุกระดับ ให้มีปริมาณเพียงพอ คุณภาพได้มาตรฐานสากล และมีต้นทุนต่ำ ด้วยการลงทุนของภาคเอกชนหรือภาครัฐร่วมเอกชน และส่งเสริมให้เกิดการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการ เพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อน ทั้งนี้ เพื่อให้
ผู้ประกอบธุรกิจบริการสามารถใช้ประโยชน์ได้โดยการกำกับดูแลด้วยกติกาการแข่ง ขันเสรีเป็นธรรม ไม่มีการผูกขาดหรือการใช้อำนาจเหนือตลาดที่กีดกันการแข่งขัน

๔.๑.๔ สนับสนุนการดำเนินการขององค์กรกำกับดูแลในการจัดสรรคลื่นความถี่อันเป็น ทรัพยากรสื่อสารของชาติ เพื่อกิจการโทรคมนาคม กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน

๔.๑.๕ สนับสนุนผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการในท้องถิ่นให้สามารถลงทุนในเทคโนโลยีทางเลือกและวิธี การสื่อสารที่เหมาะสมที่มีการลงทุนไม่สูงมาก เพื่อสร้าง เชื่อมต่อ และให้บริการโครงข่ายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๔.๑.๖ ปรับโครงสร้างและบทบาทของรัฐวิสาหกิจสาขาโทรคมนาคม กิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ในการให้บริการโครงข่ายให้เอื้อต่อการให้บริการบรอดแบนด์อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการแข่งขันเสรีและเป็นธรรมของผู้ประกอบการทุกราย

๔.๑.๗ ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมโทรคมนาคมให้อยู่ภายใต้ระบบใบอนุญาตและมีการแข่งขัน บนพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน เพื่อกระตุ้นให้มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและระบบโครงข่ายหลักที่จำเป็นต่อ การจัดให้มีบริการบรอดแบนด์อย่างทั่วถึง

๔.๑.๘ ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านโทรคมนาคม รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ด้านโครงข่ายและบริการบรอดแบนด์ที่ทันสมัยให้สามารถใช้งานเชิงพาณิชย์ เพื่อลดต้นทุนในการให้บริการ บรอดแบนด์แก่ประชาชน ลดการพึ่งการนำเข้า และสนับสนุนการพัฒนาของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม กิจการ กระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์

๔.๒ การพัฒนาการใช้ประโยชน์จากบรอดแบนด์

๔.๒.๑ สนับสนุนให้มีการใช้งานบรอดแบนด์อย่างกว้างขวาง เพื่อขยายตลาดและฐานผู้ใช้งาน โดยส่งเสริมการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ ( Applications) และเนื้อหา ( Content) ที่หลากหลาย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิตประจำวันของ ประชาชน รวมทั้ง เชื่อมโยงระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ บริการการศึกษา บริการสาธารณสุข บริการข้อมูลข่าวสาร และบริการอื่นของภาครัฐ ผ่านบริการบรอดแบนด์ เพื่อสร้างอุปสงค์ในบริการบรอดแบนด์อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ ภาครัฐจะต้องระมัดระวังมิให้ส่งผลกระทบหรือเกิดการบิดเบือนของกลไกตลาด

๔.๒.๒ ส่งเสริมการพัฒนาทักษะและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ    ( IT Literacy) และการรู้เท่าทันและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารอย่างสร้างสรรค์ ( Information literacy) ของประชาชน ชุมชนและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ( SMEs) ให้สามารถใช้ประโยชน์จากบริการบรอดแบนด์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และใช้เป็นโอกาสในการสร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเอง โดยเฉพาะประชาชนในชนบท กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มเกษตรกร ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ

๔.๒.๓ ส่งเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการในธุรกิจทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับบริการบรอด แบนด์ เช่น ผู้ประกอบการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคม ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ผลิตโปรแกรมประยุกต์ ผู้ผลิตเนื้อหา ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

๔.๒.๔ กำหนดมาตรการสนับสนุนและจูงใจในการใช้บรอดแบนด์ เพื่อลดการใช้พลังงานและการใช้ทรัพยากร ทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการ โดยเฉพาะในภาคการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์

๔.๓ การประกันความมั่นคงปลอดภัยของโครงข่ายบรอดแบนด์และความปลอดภัยของสังคมโดยรวม

๔.๓.๑ พัฒนายกระดับบุคลากรผู้เชี่ยวชาญความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศและโครงข่ายทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ

๔.๓.๒ มีการสร้างโครงข่ายทางเลือกหลายเส้นทางที่ใช้เชื่อมโยงประเทศไทยไปสู่ประเทศ ในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก โดยไม่จำกัดรูปแบบไม่ว่าจะเป็นเคเบิลใต้น้ำ เคเบิลพื้นดิน หรือดาวเทียม และจะเปิดกว้างให้มีการลงทุนในลักษณะดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยภาครัฐ ภาคเอกชน หรือการร่วมลงทุน

๔.๓.๓ กำหนดมาตรการป้องกันผลกระทบเชิงลบและภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ บริการบรอดแบนด์อย่างแพร่หลาย โดยสร้างความเข้าใจแก่ทุกภาคส่วนเกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบเชิง ลบที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งการดำเนินมาตรการอย่างจริงจังในการป้องกันอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต
การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล และการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

๔.๓.๔ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบ และบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับข้อมูลที่มีความสำคัญ เช่น ข้อมูลดิน น้ำ อากาศ จราจร หรือข้อมูลที่เกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติต่าง ๆ และพัฒนาระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ เหตุฉุกเฉิน ผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ ให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างทันท่วงที และเชื่อถือได้ รวมทั้งมีแผนฉุกเฉิน รองรับในกรณีที่โครงข่ายบรอดแบนด์นี้ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติดังกล่าว

๔.๓.๕ สร้างความตระหนักและให้ความรู้แก่ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน ภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศถึง แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ด้านสารสนเทศ

๔.๔ การบริหารจัดการขับเคลื่อนนโยบายและการประสานการกำกับดูแล

๔.๔.๑ ให้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ บูรณาการคณะทำงานในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและจัดตั้งคณะอนุกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีหน้าที่ (๑) จัดทำกรอบแผนการดำเนินการเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายตามนโยบายบรอดแบนด์ แห่งชาติ (๒) กำหนดตัวชี้วัดและวิธีประเมินผลที่จำเป็นสำหรับการติดตามความสำเร็จของ นโยบาย (๓) เสนอองค์กรที่รับผิดชอบดำเนินการตามแผนปฏิบัติการข้างต้น (๔) จัดทำรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินการตามนโยบายฯ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี และสาธารณะเป็นระยะ ๆ

๔.๔.๒ จัดให้มีการประสานงานกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน รวมทั้งองค์กรกำกับดูแล เพื่อสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันการให้บริการ ภายใต้หลักเกณฑ์การกำกับดูแลที่เอื้อต่อการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม รวมทั้ง บูรณาการเป้าหมายและแผนงาน ทรัพยากรโทรคมนาคม และทรัพยากรการลงทุนของประเทศในภาพรวม เพื่อจัดให้มีบริการบรอดแบนด์อย่างทั่วถึง มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม อันจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาประเทศและการยกระดับคุณภาพ ชีวิตของประชาชน

๔.๔.๓ การดำเนินงานตามนโยบายนี้ จะได้รับการสนับสนุนจากการลงทุนโดยมาตรการสนับสนุนของภาครัฐ หรือผู้ประกอบการทุกราย หรือจากกองทุนตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ….

View :2792

Nokia C7, second Symbian3 smartphone, hits Thai market

November 6th, 2010 No comments

Together with the device launch, Nokia also announced the grand opening of Nokia Experience Studio and introduced new applications from Nation Group and Sanook! to meet consumer needs for news and information on the go.

Nation Multimedia Group joins hand with Nokia (Thailand) in the launch of Nokia C7,Nokia smartphone run by Symbian 3, by offer news app for users. The move is strategy of The Nation to transform its news provision from mainly printed and online version to offer readers news across device and platforms, said Chutintra Wattanakul, New Media Develpment director at Nation Broadcasting Corporation.

She added that The  Nation is now leading the new way people consume news and it is the first news firm jumped into social media and
make news available in smartphone.

“Today is our commitment to be news leader to make news to be reach our potential readers on all devices,” said Chutintra.

Under the collaboration, The Nation will provide news from its three main newspaper included The Nation’s English news, Bangkokbiznews and Kom Chad Luek for free of charge.

“We are working as the real partners that The Nation provide news for free but we have ads on the page,” said Chutintra.

The Nation’s news app will be on Nokia’s Ovi store and available there for all Nokia smartphone.

Meanwhile, Shumit Kapoor, Nokia (Thailand)’s general manager said that The Nation and Sanook.com are two main local content partners that offer local content for Nokia users in Thailand.

He added that Nokia will be key vendor to drive smartphone market to be around 30 per cent of total mobile phone market in 2011. It is increased from 18 per cent of this year mobile phone market.

“We will see a lot of the growth of smartphone will come from Nokia. Nokia is really large share in smart phone market and we did not lose (market) share. Nokia is market leader in smartphone,” said Kapoor.

He added that Smartphone will be over 50per cent of total mobile phone market in Thailand in 2012, said Kapoor.

Nokia C7 is it’s second Symbian 3 smartphone launched following E8 . There are two more Symbian 3 smartphone included Nokia C6-01 and E7 by the end of this year.

Apart from Symbian 3, Nokia plans to launch MeeGo smartphone in several form factors and designs in Thailand sometime next year. Thailand is among first countries to see MeeGo smartphone,” said Kapoor.

At Ovi store, there are thousands apps available most of them are free apps and game is the most popular apps. Currently, there are 2.7 million-downloads at Ovi store.

Among countries in Southeast Asia, Thailand has the highest numbers of downloads. It is because Nokia change the billing model from electronic payment to be operator billing since a few weeks ago.

Now,there are 175 million users using Nokia worldwide that might attract developers to create new chic and cool apps for Ovi store.

The retail price of the Nokia C7 is 13,950 baht available in 3 colors including Charcoal Black, Frosty Metal and Mahogany Brown.

View :3059
Categories: Mobile Phone, Social Media Tags: , , ,