Archive

Archive for the ‘e-payment’ Category

บัตรเดบิตกสิกรไทย เซเว่นเพิร์ส เงินสดในมือคุณ…… ช้อปออนไลน์/ออฟไลน์ง่ายๆ เพียง…..“แตะ รูด กด”

September 3rd, 2015 No comments

 

หากคุณเคยเจอปัญหาเหล่านี้ คือ หากคุณมักจะได้เศษเหรียญเพ่ิมทุกครั้งหลังจากแวะซื้อของ 7-Eleven โดยเฉพาะเหรียญ 50 สตางค์ และ 25 สตางค์ หรือหากคุณมักจะต้องแวะกดเงินสดเกือบทุกครั้งเพื่อแวะซื้อของใน 7-Eleven  ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป หากคุณพกบัตร บัตรเดบิตกสิกรไทย เซเว่นเพิร์ส (7 Purse Debit card)

711

นอกจากจะสะดวกสบายในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่ยอดการใช้จ่ายไม่สูงมาก (small amount of daily expense) แล้ว บัตรเดบิตกสิกรไทย เซเว่นเพิร์ส ยังตอบโจทย์การใช้จ่ายในชีวิตประจำวันทั้งออฟไลน์​และออนไลน์ เพียงแค่ “แตะ รูด กด”

  •       แตะ..ซื้อของที่ร้าน 7-Eleven
  •       รูด..ได้ทุกร้านค้าทั่วโลก
  •       กด..เอทีเอ็ม
  •       และช้อปออนไลน์ 

นอกจากนี้บัตรเดบิตกสิกรไทย เซเว่นเพิร์ส ยังให้คุณสะดวกในการไม่ต้องพกเงินสดครั้งละจำนวนมากๆ เพื่อจับจ่ายใช้สอย เพียงพกบัตรไว้จะไปไหนใกล้ไกลมีเงินใช้เสมอ เพราะบัตรเดบิตกสิกรไทย เซเว่นเพิร์ส ให้คุณชำระค่าสินค้าหรือบริการแทนเงินสดได้เหมือนบัตรเครดิตสูงสุดถีงวันละ 200,000 บาท ทุกเวลา กว่า 30 ล้านร้านค้าทั่วโลกที่รับบัตร VISA และให้คุณเบิกถอนเงินสดได้ทั่วโลก (ที่เครื่องเอทีเอ็มที่มีเครื่องหมาย Plus หรือ VISA)​ได้สูงสุดถีงวันละ 200,000 บาท (วงเงินเริ่มต้น 50,000 บาท) ตลอด 24 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้ จำนวนเงินที่สามารถถอนได้สูงสุดในแต่ละครั้ง ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของธนาคารเจ้าของเครื่องเอทีเอ็ม 

  • บัตรเดบิตกสิกรไทย เซเว่นเพิร์ส ยังให้คุณโอนเงินไปบัญชีกสิกรไทยของใครก็ง่ายด้วยวงเงินสูงสุดวันละ 1,000,000 บาท (วงเงินเริ่มต้น 200,000 บาท)
  • โอนเงินไปธนาคารไหนก็ได้ที่เครื่องเอทีเอ็มกสิกรไทย ด้วยวงเงินสูงสุดถีงวันละ 100,000 บาท (ครั้งละ 30,000 บาท)

Screen 7112

คุณยังสามารถเลือกรับบริการ K-mAlert (บริการรับข้อมูลทางโทรศัพท์มือถือกสิกรไทย) ที่แจ้งรายการโอนเงินของคุณส่งตรงถีงโทรศัพท์มือถือผู้รับตามหมายเลขที่คุณต้องการทันที นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้ บัตรเดบิตกสิกรไทย เซเว่นเพิร์ส เพื่อ …..

  • ชำระค่าสินค้าหรือบริการได้ทันทีกว่า 600 บริษัท ที่เครื่องเอทีเอ็มกสิกรไทย
  • เติมเงินโทรศัพท์มือถือได้ทุกระบบ โดยไม่มีค่าธรรมเนียม
  • ฝากเงินได้สบายๆ ที่เครื่องฝากเงินอัตโนมัติของธนาคารกสิกรไทย
  • ปรับวงเงินถอน โอน ได้ตามความต้องการ ด้วยบริการปรับวงเงินบัตรเอทีเอ็มที่ K-Contact Center (ไม่เกินวงเงินสูงสุดของบัตร)
  • ใช้บริการ K-Contact Center 0 2888 8888 และ K-Cyber Banking ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง ความสะดวกที่ได้รับง่ายๆ โดยไม่ต้องไปสาขา
  • รู้ทุกการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิต ด้วย K-mAlert (บริการรับข้อมูลทางโทรศัพท์มือถือกสิกรไทย) ที่แจ้งรายละเอียดการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตตรงถึงมือถือคุณ สมัครฟรีที่เครื่องเอทีเอ็มและ K-Contact Center
  • ตรวจสอบการใช้จ่ายผ่านบัตรทั้งวันที่ใช้ ร้านค้า และจำนวนเงินย้อนหลัง 3 เดือน นับจากวันที่มีการใช้จ่าย ด้วยบริการพิมพ์ Statement ฟรี ที่เครื่องเอทีเอ็มกสิกรไทย
  • ปรับเปลี่ยนวงเงินถอน โอน ซื้อสินค้าต่อวัน ได้ตามความต้องการ ด้วยบริการปรับวงเงินบัตรเดบิตที่ K-Contact Center (ไม่เกินวงเงินสูงสุดของบัตร)
  • เปลี่ยนรหัสบัตรเดบิตได้ง่าย และบ่อยตามความต้องการที่เครื่องเอทีเอ็มกสิกรไทย 

kbank711

 

คุณสามารถสมัครบัตรเดบิตกสิกรไทย เซเว่นเพิร์ส ได้ที่ธนาคารกสิกรไทยทุกสาขาใกล้บ้าน แค่มีบัญชีออมทรัพย์ ก็สามารถทำบัตรเดบิตกสิกรไทย เซเว่นเพิร์ส ได้แล้ว โดยมีค่าธรรมเนียมแรกเข้า 200 บาท และค่าธรรมเนียมรายปี 300 บาท จากนั้นก็นำบัตรเดบิตกสิกรไทย เซเว่นเพิร์ส ไปเติมเงินได้ที่ 7-Eleven ทุกสาขา เพียงเท่านี้คุณก็สามารถพกบัตรเดบิตกสิกรไทย เซเว่นเพิร์ส ใบเดียว เพื่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพียงแค่ “แตะ รูด กด”​ได้ทุกที่….

 

advertorial

View :10960

K-Mobile Banking Plus พก (แอพฯ) ไว้ ชีวิตจะสะดวกขึ้นเยอะ!

July 31st, 2015 No comments

Screen Shot 2558-07-31 at 1.20.18 PM
จากประสบการณ์ตรงจากการได้ลองใช้บริการ K-Mobile Banking Plus ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นของธนาคารกสิกรไทยบนสมาร์ทโฟน พบว่าเป็นแอพฯ ที่ตอบโจทย์รูปแบบชีวิตมากที่สุดแอพฯ หนึ่งเลยทีเดียว โดยเฉพาะเรื่องเงินๆ ทองๆ แอพฯ​K-Mobile Banking Plus ช่วยทำให้เรื่องการจัดการด้านการเงินต่างๆ ทั้งเรื่องการจ่ายบิล โอนเงิน เติมเงินใหักับบริการต่างๆ เป็นไปอย่างง่ายดาย สะดวก และรวดเร็ว ที่สำคัญปลอดภัย

ที่ตัวเองใช้ประจำ คือ การจ่ายค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่างวดรถ (ค่าสินเชื่อ/เช่าซื้อ) และค่าบัตรทางด่วน ซึ่งทุกอย่างทำเสร็จภายในไม่กี่วินาที นอกจากจ่ายชำระค่าบริการต่างๆ แล้วบริการที่ใช้ประจำอีกอย่างคือ การโอนเงิน ซึ่งสะดวก รวดเร็ว และประหยัด (ค่าธรรมเนียม) เดี๋ยวมาเล่าให้ฟังว่าเป็นยังไง …..

สมัครง่าย

เร่ิมจากขั้นตอนการสมัครใช้บริการ ทำได้ง่ายๆ เพียงโหลดแอพฯ K-Mobile Banking Plus มาไว้ที่สมาร์ทโฟนเราจากนั้นก็กดสมัครที่ตู้เอทีเอ็มของธนาคารกสิกรได้ ทำตามขั้นตอนเพียงไม่กี่วินาทีก็เสร็จสิ้นกระบวนการสมัคร และเริ่มต้นใช้งานกันได้เลย

การใช้งานก็แสนจะง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อนอะไร ตัวแอพฯ ถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่าย ใครๆ ก็สามารถใช้งานได้ด้วยตัวเอง (เมนูชัดเจน ขั้นตอนการไปยังรายการต่างชัดเจน ไม่ยุ่งยากซับซ้อน)

เร่ิมจากกดแอพฯ เพื่อเข้าใช้บริการ จากนั้นก็ใส่รหัสผ่าน 6 หลักที่เราตั้งค่าไว้ รหัสนี้ต้องใส่ทุกครั้งที่จะเข้าใช้งานแอพฯ​เหมือนๆ กับที่เราต้องใส่รหัส 4 หลักทุกครั้งที่ใช้บริการที่ตู้เอทีเอ็ม ปล.ทุกครั้งที่จะใช้งานแอพฯ K-Mobile Banking Plus คุณจะต้องปลดการเชื่อมต่อผ่าน WiFi เสียก่อน เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน
Screen Shot 2558-07-31 at 1.20.30 PM

เมื่อเข้ามาถึงแอพฯ หน้าแรกที่คุณจะเจอคือ balance ของบัญชีคุณ ว่า ณ เวลานั้นที่คุณเข้ามาในแอพฯ เงินคงเหลือในบัญชีคุณทีเท่าไร จากนั้นคุณก็สามารถเลือกทำธุรกรรมทางการเงินได้แทบจะทุกอย่างผ่านหน้าจอสมาร์ทโฟน

3 บริการหลัก: โอนเงิน เติมเงิน จ่ายบิล
หน้าแรกของแอพฯ K-Mobile Banking Plus มี 3 เมนูหลักในเลือกใช้งาน คือ โอนเงิน เติมเงิน และจ่ายบิล เมนูที่เหลือ คือ รายการโปรดและประวัติการใช้งาน (ซึ่งในส่วนนี้เราสามารถตั้งค่า/บันทึก/สร้างได้เอง เพื่อความสะดวกในการใช้งานในครั้งต่อไป ไม่ต้องมากดเลขที่ reference No. หรือเลขที่บัญชีทุกครั้งที่ใช้งาน)

Screen Shot 2558-07-31 at 1.20.38 PM

ภายใต้เมนู “โอนเงิน” หากเราเพิ่งเริ่มใช้งาน เราก็จะยังไม่มีรายการโปรดกับประวัติการโอนเงิน เราก็จะเลือกเมนู “รายการใหม่” หรือเลือก “QR Code” ของหมายเลขบัญชีปลายทางที่จะรับโอน (หากมีการสร้าง QR Code ไว้) พอเราเลือกโอนเงิน​“รายการใหม่” เราก็เลือกได้อีกว่า เราจะโอนเงินไปให้ใคร โอนไปบัญชีของฉัน (บัญชีอื่นที่เรามี) หรือ “บัญชีอื่น” “เบอร์มือถือ” “โอนเงินระหว่างประเทศ” และ “QR Code” (ในกรณีที่มี QR Code ของบัญชีปลายทางที่รับโอน)

ส่วนมากหากจะโอนเงิน เราจะเลือก “บัญชีอื่น” (เพราะส่วนมากโอนเงินให้บุคคลอื่น) ซึ่งแอพฯ K-Mobile Banking Plus รองรับการโอนเงินไปยัง 12 ธนาคารปลายทาง ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคาร CIMB ธนาคารทหารไทย ธนาคาร UOB ธนาคาร L&H ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ ธนาคารธนชาต และธนาคารออมสิน พอเราเลือกธนาคารปลายทางที่จะโอนเงินไปเสร็จแล้วเราก็กรอกเลขที่บัญชีและจำนวนเงินที่ต้องการโอน จากนั้นแอพฯ จะ generate หน้ารายละเอียดของธุรกรรม (ว่าโอนเงินจากบัญชีอะไร ไปบัญชีอะไร มีชื่อบัญชีและเลขที่บัญชีของต้นทางปลายทางชัดเจน และจำนวนเงินต้องการโอน) ให้เราตรวจสอบก่อนว่าถูกต้องไหม ก่อนที่จะทำการกด “ยืนยัน” การโอน จากนั้นระบบก็จะ generate หน้าใบเสร็จดิจิทัลที่มีรายละเอียดของธุรกรรมรายการนั้นๆ ครบถัวนชัดเจน และจะจัดเก็บอัตโนมัติลงบนมือถือเรา แต่ยังมี option ให้เราสามารถกดส่งใบเสร็จนั้นไปให้ผู้รับโอนผ่านช่องทางสื่อสารต่างๆ ได้แก่ SMS, email, LINE, Facebook, Facebook Messenger และอื่นๆ ได้แก่ Twitter, Dropbox WhatsApp เป็นต้น

Screen Shot 2558-07-31 at 1.23.11 PM

 

นอกจากการโอนเงินไปยังบัญชีธนาคารอื่นๆ แล้ว เรายังโอนเงิน ไปยัง “เบอร์มือถือ” ได้เพียงเลือก “โอนเงิน” => “เบอร์มือถือ” จากนั้นก็กรอกเบอร์มือถือ และจำนวนเงินที่ต้องการโอน

สำหรับเมนู “เติมเงิน” ภายใต้เมนูนี้ ก็มีบริการอีกเพียบที่อำนวยความสะดวกให้กับเราในการเติมเงินให้ค่าบริการดิจิทัลต่างๆ ที่เรามี เริ่มจากการเติมเงินเบอร์มือถือ เติมเงินบัตร Easy Pass บัตรเติมน้ำมัน​(บัตรกสิกรไทย) และอื่นๆ (คนขายแฮปปี้ออนไลน์, ทรูมูฟ เอช (เพื่อนคู่ค้า) และ ไอบาท)

การเติมเงินเบอร์มือถือ เติมได้ทั้งเบอร์ของตัวเอง (เราเลือกได้ว่าจะเติมเท่าไร 50, 100, 150, 200, 250, 300, 350, 400, 450, 500, 800 และ 1,500 บาท) และเบอร์ของคนอื่นที่เราต้องการเติมเงินให้ โดยใส่หมายเลขโทรศัพท์ของเบอร์ที่ต้องการโอนเงินให้ ไม่ว่าเบอร์มือถือนั้นจะเป็นของค่ายไหน ก็โอนได้หมด ทั้งเอไอเอ วัน-ทู-คอล แฮปปี้ ทรูมูฟเอช ทรูมูฟ i-Mobile 3GX และ i-Kool 3G

ที่เราใช้ประจำในส่วนของการเติมเงิน คือ การเติมเงินเข้าบัตร Easy Pass พบว่าสะดวกสุดๆ แถมค่าธรรมนียมในการโอน (5 บาทต่อรายการ) ถูกกว่าเดินไปเติมที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส (10 บาทต่อรายการ) ที่ชอบใจมาก คือ เรากดเติมเงินเข้าบัตร Easy Pass ตอนไหนก็ได้ เพราะเป็นคนที่ชอบลืมดูยอดเงินคงเหลือในบัตร Easy Pass ว่าเหลือเท่าไหร่ ตอนแรกๆ ไปตายเอาที่หน้าด่านประจำ คือ เงินหมดแต่ไม่รู้ตัว แต่ตอนหลังปรับใหม่มาพอตรวจสอบยอดเงินคงเหลือจากแอพฯ ของ Easy Pass เสร็จก็จะทำการเติมเงินเข้าบัตรทันทีผ่านแอพฯ K-Mobile Banking Plus ทำให้ปัญหาที่ต้องไปจอดติดที่หน้าด่านหลังพบว่าเงินในบัตรไม่พอค่าผ่านทาง ทำให้แทนที่จะเร็วกลับช้า แถมเสียเวลาเพื่อนร่วมทางคนอื่นๆ ด้วย ก็หายไป

 

Screen Shot 2558-07-31 at 1.21.12 PM

 

มาถึงเมนู “จ่ายบิล” ในแอพฯ K-Mobile Banking Plus มีรายการบิล (Bill Issuers) จำนวนมาก รองรับเพื่อให้ความสะดวกในการจ่ายบิลกับผู้ใช้งานจริงๆ ได้แก่ “บิลอื่น” “บิลบัตร” “บิลมือถือ” “สินเชื่อ/เช่าซื้อ” “อินเทอร์เน็ต” “ประกันภัย/ชีวิต”​เรียกได้่ว่า คุณสามารถจ่ายแทบทุกบิลได้ด้วยแอพฯ K-Mobile Banking Plus ไม่ว่าจะเป็นค่าอินเทอร์เน็ต ค่าเทอม (การศึกษา) ขายตรง ค่าตั๋ว เคเบิลทีวี โทรศัพม์มือถือ บริจาค ประกันภัย/ชีวิต ภาษี สาธาะรูปโภค สินเชื่อ/เช่าซื้อ สินค้า/บริการ หลักทรัพย์กองทุน และอื่นๆ อาทิ UD งานดี ทีวี ไดเร็ค ปิโตรพลัส เพย์ เน็ตเวอร์ค เป็นต้น

อีก 3 เมนูที่ใช้ประจำทุกเดือน คือ การจ่ายค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า และค่างวดรถ จากประสบการณ์ที่ใช้มาพบว่า การจ่ายค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ด้วยแอพฯ K-Mobile Banking Plus เป็นอะไรที่สะดวกสุดๆ เพราะเราไม่ต้องเดินทางไปชำระที่สถานที่รับชำระ หรือไปที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส คือเราไม่ต้องออกไปไหนเลย ไม่ว่าตอนนั้นเราจะอยู่ที่ไหน จะเวลาไหน เราก็สามารถทำการชำระค่าใช้ไฟฟ้าและค่าน้ำประปาได้ทันที แถมขั้นตอนไม่ยุ่งยากอะไรด้วย

จ่ายค่าน้ำประปา เพียงกดเมนู “จ่ายบิล” => สาธารณูปโภค => การประปานครหลวง จากนั้นแอพฯ ก็จะเปิดกล้องและแอพฯ สแกน QR Code/Barcode ขึ้นมา ให้เราเอาบิลค่าน้ำประปา ซึ่งมีทั้ง QR Code และ Barcode มาสแกน ใช้เวลาสแกนไม่กี่วินาทีเท่านั้นแอพฯ ก็จะแสดงรายละเอียดของใบเรียกเก็บค่าน้ำประปาขึ้นมา (ประกอบด้วย ชื่อบัญชีผู้ใช้น้ำ เลขที่อ้างอิง เลขที่การทำรายการ ยอดเงิน) เรากด ยืนยัน ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการชำระค่าน้ำ โดยไม่มีค่าธรรมเนียม ประหยัดทั้งเวลาที่ต้องเดินไปเคาน์เตอร์เซอร์วิสและเงินค่าธรรมเนียมการทำรายการ เมื่อชำระเงินเสร็จระบบก็จะสร้างใบเสร็จดิจิทัล (เป็นไฟล์ภาพ) ให้เราเก็บไว้ในมือถือ

ส่วนการจ่ายค่าไฟฟ้า ก็ง่ายไม่แพ้กัน เพียงแค่เลือก “จ่ายบิล” => สาธารณูปโภค => กฟน. จากนั้นระบบก็ให้กรอก “เลขที่อ้างอิง” และ “จำนวนเงิน” (ดูจากหน้าบิลได้เลย) จากนั้นกดยืนยัน ระบบก็จะสร้างใบ้เสร็จดิจิทัลเป็นไฟล์ภาพเก็บลงมือถือโดยอัตโนมัติเช่นกัน โดยมีค่าธรรมเนียม xxxx

การจ่ายค่างวดรถเป็นอีกการจ่ายบิลที่สะดวกมากเมื่อจ่ายอ่านแอพฯ K-Mobile Banking Plus แทนการไปชำระที่เคาน์เตอร์ธนาคารหรือที่เคานเตอร์เซอร์วิส เพราะสะดวกกว่า เร็วกว่า และที่สำคัญไม่ลืมชำระ เพราะนึกได้ว่ายังไม่จ่ายค่างดวรถตอนไหนก็หยิบมือถือมากดชำระตอนนั้นได้ทันที การจ่ายค่างวดรถมีขั้นตอนง่ายๆ แค่​“จ่ายบิล” => สินเชื่อ/เช่าซื้อ =>เลือกเจ้าหนี้ของเรา (แอพฯ K-Mobile Banking Plus ได้รวบรวมรายชื่อเจ้าหนี้ที่ให้บริการสินเชื่อ/เช่าซื้อไว้ค่อนข้างครบ ทั้งสินเชื่อ/เช่าซื้อสินค้า และสินเชื่อ/เช่าซื้อผ่านบัตรต่างๆ อาทิ บัตรอีซี่บาย และอิออน (Loan) รวมถึงลีสซิ่งต่างๆ อาทิ ลีสซิ่งกสิกรไทย ฮอนด้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีสซ่ิง ซิงเกอร์ ลีสซิ่ง และโตโยต้า ลีสซิ่งเป็นต้น)=> ใส่หมายเลขอ้างอิง (Reference No.1 และ Reference No.2) และจำนวนเงิน กดยืนยัน ขั้นตอนทั้งหมดใช้เวลาเพียง 1-2 นาทีเท่านั้น

อยากยกตัวอย่างความประทับใจอีกตัวอย่างที่เจอมากับตัวเอง วันก่อนต้องโอนเงินค่าเข้าสัมมนาไปยังบัญชีธนาคารปลายทางธนาคารหนึ่ง (ไม่ใช่ธนาคารกสิกรไทย) สาขาต่างจังหวัด เราก็เลยไปโอนเงินที่เคาน์เตอร์ธนาคารนั้น เจ้าหน้าที่บอกว่า “ค่าธรรมเนียม 35 บาทครับ เพราะเป็นสาขาต่างจังหวัด” เราบอก “อุ๋ย! มาถึงธนาคาร (เดียวกัน ยังมีค่าธรรมเนียมแพงขนาดนี้อีกหรอคะ” พนักงานยืนัยนว่า ครับ ค่าธรรมเนียม 35 ยาทสำหรับการโอนเงินไปบัญชีสาขาในต่างจังหวัด แม้ว่าจะเป็นการโอนจากธนาคารเดียวกัน” เราเลยบอกว่าขอยังไม่ทำรายการ จากนั้นก็เปิดแอพฯ แอพฯ K-Mobile Banking Plus (ในขณะที่ยังยืนอยู่ที่ธนาคารของบัญชีปลายทาง) และทำการโอนเงินค่าสัมมนาไปยังผู้จัดงาน ปรากฏว่า ค่าธรรมเนียม (จากการโอนเงินต่างธนาคาร และโอนไปยังบัญชีสาขาในต่างจังหวัด) 25 บาท ซึ่งถูกกว่าค่าธรรมเนียมโอนเงินจากบัญชีธนาคารเดียวกันแต่โอนไปสาขาจังหวัดอีก โอ้ว! รู้อย่างนี้ไม่ต้องเดินมาที่สาขาธนาคารของบัญชีปลายทางให้เมื่อยตุ้มเลยแหะ)

ที่เล่ามาให้ฟังทั้งหมด ขอบอกจากใจจริงว่า โดยส่วนตัวแล้ว ประทับใจกับแอพฯ K-Mobile Banking Plus ค่อนข้างมาก เพราะทำให้เสียเวลาในเรื่องของการจัดการจ่ายบิลต่างๆ ลดลง โอนเงินให้บุคคลอื่นได้รวดเร็วขึ้น แถมประหยัดค่าธรรมเนียม เพราะหลายบริการที่แม้ไม่ใช่บริการของธนาคารกสิกรไทยเองเขายังไม่คิดค่าธรรมเนียม ในขณะที่บางบริการแม้มีการคิดค่าธรรมเนียมแต่ก็เป็นค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่าค่าธรรมเนียมบนช่องทางอื่น เรียกได้ว่า แอพฯ K-Mobile Banking Plus คือธนาคารที่เปิดบริการ 24×7 เปิดตลอดเวลาทุกวัน แถมเปิดให้บริการทุกที่ทุกเวลาที่คุณต้องการด้วย … พกแอพฯ ไว้ชีวิตจะง่ายขึ้นเยอะค่ะ :)

advertorial

View :21001
Categories: e-payment Tags:

ไอซีทีผลักดันการขยายตลาดสินค้า OTOP ผ่านระบบ e-Commerce

August 24th, 2010 No comments

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ e-Commerce เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)

[youtube=http://www.youtube.com/watch?v=HGAuC6w0jeM]

โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) เป็นโครงการที่รัฐบาลให้การสนับสนุนเพื่อให้แต่ละชุมชนได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาสินค้า โดยรัฐบาลพร้อมที่จะช่วยเหลือทั้งในด้านความรู้สมัยใหม่และการบริหารจัดการ เพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีสินค้า OTOP ที่ได้มาตรฐานผลิตออกมาให้ประชาชนเลือกซื้อมากมาย ผ่านทางห้างสรรพสินค้า ร้านจำหน่ายสินค้า OTOP หรืองานจัดแสดงสินค้าต่างๆ ซึ่งข้อดี คือ สามารถจับต้องทดลองสินค้าได้ แต่ข้อเสีย คือ สินค้าตามห้างสรรพสินค้าจะมีราคาสูงกว่าที่ซื้อจากกลุ่มผู้ผลิตโดยตรงประมาณ 2 ถึง 3 เท่า ขึ้นอยู่กับสถานที่และค่าใช้จ่ายในการลงทุน บริหารจัดการ ค่าการตลาดของห้างสรรพสินค้า และยังมีสินค้าให้เลือกไม่มากนัก

ดังนั้น การเลือกซื้อสินค้า OTOP ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการค้นหาสินค้า OTOP ได้อย่างหลากหลาย ประหยัดเวลา รวมทั้งสะดวกรวดเร็ว ซึ่งหากมีการวางระบบการชำระเงินและระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพแล้ว ก็จะสามารถส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในสินค้า OTOP รวมถึงภาคธุรกิจให้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นได้

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า “ในฐานะประธานกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงได้วางนโยบายผลักดันให้การใช้งาน e-Commerce เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเป็นรูปธรรมเชื่อถือได้ ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ตลอดจนเพื่อใช้ขับเคลื่อนธุรกิจให้ประเทศ ช่วยเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงลดต้นทุนด้านการขนส่ง หรือ โลจิสติกส์ด้วย

โดยกระทรวงไอซีที ได้ร่วมกับ 6 หน่วยงานจัดทำโครงการ e-Commerce เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ขึ้นเป็นโครงการนำร่อง เพื่อให้ผู้ประกอบการ OTOP สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การผลิต การขนส่งสินค้า การประชาสัมพันธ์ การจำหน่าย และการรับชำระเงิน ซึ่งจะเอื้อต่อการจำหน่ายสินค้าของผู้ประกอบการ OTOP โดยใช้ศักยภาพของหน่วยงานทั้ง 6 ให้เกิดประโยชน์สูงสุด” นายจุติ กล่าว สำหรับ 6 หน่วยงานที่ให้ความร่วมมือในโครงการฯ นี้ ได้แก่ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ บริษัท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เพื่อจะนำสินค้า OTOP และสินค้าในโครงการพระราชดำริ มาจำหน่ายผ่านระบบการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce)

มีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ลูกค้าบัตรเครดิต ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะรับผิดชอบงานในด้านต่างๆ กรมการพัฒนาชุมชนจะทำหน้าที่คัดเลือก รวมรวบผลิตภัณฑ์ OTOP และประสานงานกับผู้ประกอบการ กรมส่งเสริมการส่งออกให้คำปรึกษาการประชาสัมพันธ์สินค้า OTOP ในรูปแบบภาษาต่างประเทศ ธนาคารกรุงไทย จัดทำระบบการรับชำระค่าสินค้าผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่เหมาะสม ส่วน บมจ.ทีโอที จะวางระบบการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) โดยจัดทำระบบร้านค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ www.tote-market.com เพื่อแสดงสินค้า รวบรวมคำสั่งซื้อ และฝึกอบรมให้ความรู้ทางด้าน e-Commerce

ขณะที่ บจ.ไปรษณีย์ไทย รับหน้าที่ด้านระบบการขนส่งสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งให้คำปรึกษาการใช้บรรจุภัณฑ์ ที่เหมาะสม และ บมจ.อสมท จะใช้เครือข่าย ช่องทางสื่อสารมวลชนแขนงต่าง ๆ ที่มีอยู่เพื่อสนับสนุนและเผยแพร่สินค้า OTOP ที่เข้าร่วมโครงการฯ

“โครงการฯ นี้จะช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ สังคม และเปิดโอกาสในการนำสินค้าสู่ตลาดในช่องทางออนไลน์ โดยใช้ระบบ ไอทีเข้ามาช่วย อันเป็นการขยายช่องทางการตลาดในการจำหน่ายสินค้า OTOP ให้แก่ผู้ซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น จึงช่วยสร้างรายได้และมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับประเทศ กล่าวคือ ทางตรงถือเป็นโครงการที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศได้เป็นอย่างมาก ส่วนทางอ้อมนั้นสามารถประชาสัมพันธ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล ดึงดูดให้มีลูกค้าเพิ่มขึ้นในต่างประเทศ อันเป็นการสร้างตลาดใหม่ ซึ่งเป็นตลาดที่พร้อมจะใช้บริการ เนื่องจากมีความสะดวก และยังไม่มีบริการใดที่ตอบสนองความต้องการลักษณะนี้ จึงทำให้สามารถสร้างตลาดในส่วนนี้ให้เติบโตได้อย่างมาก อีกทั้งยังสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ทันสมัยได้อีกด้วย” นายจุติกล่าว

View :3243

MOL’s CEO: Ganesh Kumar Bangah

July 15th, 2010 No comments

Money Online หรือ MOL เป็นตัวอย่างของบริษัทที่เกิดในช่วงดอทคอมบูมเมื่อสิบปีที่แล้ว และเป็น 1 ใน 3 บริษัทจากทั้งหมด 25 บริษัทที่นายทุนแห่ง Berjaya Group ได้ให้การสนับสนุนซึ่ง MOL สามารถเจริญเติบโตมาได้จนกระทั่งวันนี้มีธุรกิจในหลายสิบประเทศทั่วภูมิภาคเอเชีย และได้เข้าซื้อกิจการ Friendster.com จนมาล่าสุดได้จับมือเป็นพันธมิตรหลักในการชำีระเงินอีกรายให้กับ Facebook ซีอีโอคือคุณ Ganesh Kumar Bangah อายุเพิ่งจะ 30 กว่าๆ เอง เป็นตัวอย่างของธุรกิจดอทคอมที่ประสบความสำเร็จ หากใครอยากจะรู้จักเขาและบริษัทของเขาลองฟังคลิปนี้ดูค่ะ

[youtube=http://www.youtube.com/watch?v=KHHyuZlbCfU]

View :2273

จุดเปลี่ยนอีคอมเมิร์ซไทย…

June 21st, 2010 No comments

อาจกล่าวได้ว่าปีนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนของวงการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซ (Electronics Commerce: E-Commerce) ของไทยเมื่อผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซรายใหญ่อย่างตลาดดอทคอม (Tarad.com) ประกาศเดินหน้านำเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านอีคอมเมิร์ซจากหุ้นส่วนธุรกิจอย่าง Rakuten ยักษ์การค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เบอร์หนึ่งจากแดนปลาดิบมายกระดับบริการอีคอมเมิร์ซให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กหรือเอสเอ็มอี (Small and Medium Enterprise: SME) ในไทย

แม้ว่าอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยจะถือกำเนิดมานานมากกว่าทศวรรษแล้วก็ตาม แต่ที่ผ่านอีคอมเมิร์ซในไทยนั้นถือว่ายังไม่ใช่อีคอมเมิร์ซอย่างแท้จริง แต่นับจากนี้ไป ตลาดดอทคอมจะนำเทคโนโลยีด้านอีคอมเมิร์ซมาสนับสนุนเอสเอ็มอีไทยให้สามารถสร้างรายได้ที่แท้จริงจากการทำการค้าออนไลน์…

ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาดดอทคอม จำกัด

อีคอมเมิร์ซยุค 3: Total Online Transaction

ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาดดอทคอม จำกัด กล่าวว่า หากจะนิยามยุคสมัยของอีคอมเมิร์ซแล้วปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคที่ 3 ของอีคอมเมิร์ซ ซึ่งยุคที่ 3 เป็นยุคที่ทุกธุรกรรมของอีคอมเมิร์ซเกิดขึ้นและเสร็จสิ้นลงบนโลกออนไลน์อย่างแท้จริง (Total Online Transaction) ทั้งนี้อีคอมเมิร์ซในยุคที่ 1 คืออีคอมเมิร์ซแบบคลาสสิฟรายด์ (Classified E-Commerce) และอีคอมเมิร์ซในยุคมา คือ อีคอมเมิร์ซยุคแคทตาล็อก (Catalog E-Commerce) ซึ่งเป็นการทำอีคอมเมิร์ซกึ่งออนไลน์และกึ่งออฟไลน์

“อีคอมเมิร์ซไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการค้าออนไลน์ ซึ่งเป็นยุคอีคอมเมิร์ซสมบูรณ์แบบ นั่นคือ เป็นการค้าออนไลน์ 100 เปอร์เซ็นต์ที่ทุกรายการค้าขายเกิดขึ้นและจบลงบนออนไลน์”มิร์ซแบบ ในยุคที่ นึ่ตลาด ยบริการ น ภาวุธ กล่าวว่า ้ซื้อไปในเวลาเดียวกัน สุด รฝึกอบรมหากผู้ประกอบการมีความต้องการเพิ่อง,biNbb,bi

การทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีด้านอีคอมเมิร์ซและองค์ความรู้ด้านการตลาดบนโลกการค้าออนไลน์จะเข้ามามีบทบาทอย่างมาก อีคอมเมิร์ซมิใช่เป็นเพียงการเปิดหน้าร้านเพื่อขายสินค้าของผู้ประกอบการรายเล็กที่ไม่มีหน้าร้านหรือมีเงินทุนต่ำเท่านั้น แต่อีคอมเมิร์ซ คือธุรกิจที่มีโอกาสทางการตลาดสูงสำหรับเอสเอ็มอีที่ต้องการมีช่องทางการตลาด ช่องทางในการจำหน่ายสินค้าและบริการของตนเองอย่างถาวร ด้วยต้นทุนที่ประเมินกับรายได้ (Cost Efficiency) แล้วคุ้มกว่ามาก

“อีคอมเมิร์ซยุคนี้เป็นของผู้ประกอบการตัวจริงที่เอาจริงเอาจัง ไม่ใช่ผู้ประกอบการสมัครเล่นที่ทำอีคอมเมิร์ซเป็นอาชีพเสริมหรืองานอดิเรก”

การเข้ามาถือหุ้นของบริษัทราคูเท็น (Rakuten) จำกัด บริษัทที่ดำเนินธุรกิจอี คอมเมิร์ซอันดับ 1 ในญี่ปุ่น และอันดับ 8 ของโลกในบริษัทตลาดดอทคอมจำกัดนั้นไม่ได้หมายถึงเม็ดเงินกว่า 67 เปอร์เซ็นต์ของการถือครองหุ้น แต่หมายถึงการเข้ามาขององค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านอีคอมเมิร์ซที่จะมายกระดับขีดความสามรถในการสร้างธุรกิจอีคอมเมิร์ซให้กับเอสเอ็มอีของไทย

เพราะการเข้ามาของ “ราคูเท็น” ทำให้ตลาดอทคอมเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการอีคอมเมิร์ซจากการให้ “เช่า” พื้นที่ (Space) ในห้างสรรสินค้าบนโลกออนไลน์ไปสู่การนำเสนอบริการครบวงจร (Total Solutions) ให้กับผู้ประกอบการ และได้เปลี่ยนบทบาทหน้าที่ www.tarad.com จากการเป็นเพียงห้างสรรพสินค้าออนไลน์ให้ร้านค้าเข้ามาเช่าพื้นที่ขายของไปสู่การเป็นศูนย์รวมร้านค้า (Premium Mall) ที่มีบริการทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการแบบครบครัน

ภาวุธอธิบายเพิ่มว่า เดิมที่ตลาดดอทคอมให้บริการเฉพาะพื้นที่บน www.tarad.com เท่านั้น โดยบริษัทไม่ได้เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียในยอดขายของผู้เช่าหน้าร้านออนไลน์ และบริการหลักคือให้เช่าพื้นที่ขายของบนอินเทอร์เน็ตเท่านั้น รายได้หลักของตลาดดอทคอมจึงมาจาก “ค่าเช่า” หน้าร้านออนไลน์ และรายได้จากบริการเสริม คือ รายได้จากการขาย บริการเสริมอื่นๆ และบริการฝึกอบรมหากผู้ประกอบการมีความต้องการเพิ่ม

“ที่ผ่านมาเราขายพื้นที่ ร้านค้าก็เพียงมาเปิดร้านขายของออนไลน์ ส่วนบริการฝึกอบรม หรือบริการระบบชำระเงิน และระบบส่งของ เรามีบริการบ้าง แต่ยังไม่ครบวงจรและมีประสิทธิภาพเท่ในปัจจุบัน ที่สำคัญ ทุกบริการล้วนเป็นบริการที่ผู้ประกอบการต้องจ่ายเพิ่มเพื่อใช้บริการ ดังนั้น ผู้ประกอบยังไม่มียอดขายก็จะยังไม่ซื้อบริการเหล่านี้”

ทว่านับแต่นี้ต่อไป รูปแบบธุรกิจของตลาดดอทคอมได้เปลี่ยนใหม่หมด สินค้าและบริการหลักของตลาดดอทคอมคือการขายโซลูชั่นอีคอมเมิร์ซครบวงจร (Total E-Commerce Solution) ให้กับผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ โดยมุ่งหวังให้ผู้ประกอบการเหล่านี้มีรายได้จากการขายสินค้าผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซมากที่สุด ผ่านการผลักดันและความช่วยเหลือทางการตลาดแบบ 360 องศาจากตลาดดอทคอม

“กลยุทธ์หลักของตลาดดอทคอม คือการสนับสนุนผู้ประกอบการ (Merchant) ในขณะที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นในการซื้อสินค้าออนไลน์ให้กับผู้ซื้อไปในเวลาเดียวกัน ฉะนั้น เราจะสนับสนุนผู้ขาย และปกป้องผู้ซื้อ เพื่อให้ระบบนิเวศของอีคอมเมิร์ซเดินหน้าได้อย่างรวดเร็วและก้าวกระโดด”

4 บริการหลักของ Tarad.com

คือ 4 ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

ภายใต้โซลูชั่นอีคอมเมิร์ซครบวงจรที่ตลาดดอทคอมนำเสนอนั้น ประกอบไปด้วยบริการ 4 ส่วนหลัก ได้แก่ ระบบอีคอมเมิร์ซของตลาดดอทคอม (Tarad Merchant System: TMS) ระบบการรับชำระเงินออนไลน์ (Online Payment System) การจัดส่งสินค้า (Logistic) และการตลาดออนไลน์ (Online Marketing)

ซึ่งระบบ TMS เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่บริษัทพัฒนาและปรับปรุงมาโดยตลอดกว่า 10 ปีที่ผ่าน ในขณะที่ระบบการรับชำระเงินออนไลน์ของตลาดดอทคอมนั้นมีให้เลือกมากถึง 6 ช่องทาง ได้แก่ รับชำระผ่านบัตรเครดิต ผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส โทรศัพท์มือถือ ผ่านเครือข่ายชำระเงินของ PayPal และPaySbuy รวมถึงผ่านตู้เอทีเอ็มและระบบอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง ซึ่งตลาดดอทคอมคิดค่าธรรมเนียมระหว่าง 4-6 เปอร์เซ็นต์จากยอดขายในแต่ละรายการขายที่เกิดขึ้น

บริการต่อมาคือ บริการจัดส่งสินค้าซึ่งถือเป็นหัวใจความสำเร็จของผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ ตลาดดอทคอมได้ผูกระบบหลังบ้านกับไปรษณีย์ไทยในการเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้เช่าของตลาดดอทคอมทุกร้านสามารถเข้าระบบเพื่อตรวจสอบอัตราค่าจัดส่ง(ตามน้ำหนักสินค้า)ได้โดยตรงจากไปรษณีย์ไทย ทำให้ผู้ขายสามารถปิดการขายบนออนไลน์ได้ทันทีหากลูกค้าสนใจจะสั่งซื้อสินค้า

“ในอดีตเราไม่เห็นภาพของการค้าขายอีคอมเมิร์ซแบบนี้ เพราะเราไม่ได้มีบริการแบบนี้ให้ เราแค่สร้างระบบและเปิดพื้นที่ให้ผู้ขายมาเช่าอยู่เปิดร้านค้าขายกันเอง โดยไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้ครบครันเช่นนี้ ที่สำคัญเราไม่มีการช่วยผู้ขายทำการตลาดผ่านออนไลน์เพื่อกระตุ้นการจับจ่ายบนอีคอมเมิร์ซ แต่อย่างใด”

ภาวุธ เน้นว่าความสำเร็จของการค้าขายไม่ว่าจะออนไลน์หรือออฟไลน์ก็คือ การทำการตลาด ที่ผ่านมาตลาดดอทคอมไม่มีนโยลายลงไปช่วยผู้ขายทำการตลาดเพื่อกระตุ้นการซื้อ แต่ภายใต้โซลูชั่นครบวงจรที่บริษัทนำเสนอนี้การลงไปช่วยผู้ขายทำการตลาดออนไลน์เป็นอีกหนึ่งบริการหลักที่ตลาดดอทคอมมีให้กับผู้ประกอบการ โดยบริษัทจะแต่งตั้งและมอบหมายให้มี “ผู้ช่วยส่วนตัว” ที่เรียกว่า E-Commerce Consultant สำหรับทุกๆ ร้านค้าบน Tarad.com โดยผู้ช่วยเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้ความช่วยเหลือทางทุกอย่าง ตั้งแต่การขาย ไปจนถึงการบริการและการตลาด อาทิ ช่วยคิดโปรโมชั่นหรือแคมเปญทางการตลาดให้กับผู้ขาย ให้คำปรึกษาเรื่องการทำการตลาดผ่านอีเมล์ ผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ เป็นต้น

“เดิมที่เราไม่มีบริการทั้งหมดนี้ให้ ใครใคร่ขายอะไรขายอย่างไรแล้วแต่เขา เราเก็บแค่ค่าเช่าร้านค้าออนไลน์รายเดือนๆ ละไม่กี่ร้อยบาทเท่านั้น แต่ภายใต้โมเดลธุรกิจแบบใหม่เราไม่ได้ให้เช่าพื้นที่อย่างเดียว เราจะช่วยทำยอดด้วย ซึ่งลูกค้าเราโต เราก็โตด้วย เราจะโตไปด้วยกัน เพราะเราเชื่อว่าความสำเร็จของลูกค้าเรา คือ ความสำเร็จของเรา”

Tarad.com ตั้งเป้าช่วย SME ไทยค้าออนไลน์

กลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักของบริการโซลูชั่นครบวงจรนี้ คือ เอสเอ็มอี ที่มีสินค้าพร้อมจำหน่าย และการใช้บริการ Premium Mall ที่ www.tarad.com นั้นผู้ประกอบการจะต้องมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้น คือ ค่าเช่ารายเดือน ซึ่งค่าเช่าส่วนนี้จะเกิดขึ้นทันทีแม้ว่าจะยังไม่มียอดขาย เพราะค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เป็นต้นทุนในการบริหารจัดการอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ตลาดดอทคอมนำเสนอ ค่าเช่ารายเดือนนี้เริ่มต้นตั้งแต่ 1,500 บาทต่อเดือน สำหรับสินค้าไม่เกิน 500 ชิ้น 3,000 บาทต่อเดือนสำหรับสินค้าไม่เกิน 1,000 ชิ้น และ5,000 บาทต่อเดือนสำหรับสินค้าจำกัดจำนวน และในทุกๆ รายการขายที่เกิดขึ้นจริงผู้ประกอบจะต้องเสียค่าธรรมเนียม (Transaction Fee) ในอัตรา 4-6 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายนั้นๆ

“ตัวอย่างความสำเร็จของผู้ประกอบการที่เข้ามาใช้ระบบของตลาดอทคอม อาทิ ร้านขายราวตากผ้าที่สนามหลวงสอง ยอดขายเพิ่มขึ้น 5,000 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ร้านขายวิกผม ยอดเพิ่มก้าวกระโดดเช่นกันถึง 1,000 เปอร์เซ็นต์ ที่ยอดเพิ่มมากขนาดนี้ เพราะผู้ประกอบการเหล่านี้เชื่อและทำตามที่เราแนะนำ ตั้งแต่การออกแบบ ตกแต่งหน้าร้านค้าออนไลน์ ไปจนถึงออกแบบโปรโมชั่นและแคมเปญการตลาด”

ผู้ประกอบการที่จะเข้ามาใช้บริการ Premium Mall ที่ www.tarad.com ได้นั้นจะต้องมีสินค้าในสต็อกพร้อมจัดส่งอย่างน้อย 50 รายการสินค้า ปัจจุบัน มีร้านค้าย้ายจากแพลตฟอร์มเดิมมาสู่แพลตฟอร์มใหม่นี้แล้วหลายราย และแต่ละราย ภาวุธ บอกว่า ยอดขายเติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดด โดยเฉลี่ยแล้วเพิ่มขึ้นถึง 200เปอร์เซ็นต์ เป้าหมายในปีนี้ ภาวุธมองว่าน่าจะมีผู้ประกอบการที่ย้ายมาจากระบบเก่าส่วนหนึ่งและเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ที่เพิ่งเข้ามาทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซในสัดส่วน 50:50 จากเป้าหมายยอดร้านค้าทั้งสิ้น 3,000- 4,000 ร้านค้าที่คาดว่าจะมาใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจร และเป้าหมายโดยรวมของตลาดดอทคอมคือการสร้างยอดขายรวมของร้านค้าทั้งหมดใน www.tarad.com ให้ได้ 5,000 ล้านบาทใน 5 ปีข้างหน้าเป็นอย่างน้อย

ทั้งนี้ยอดขายดังกล่าวจะมาจากจำนวนร้านค้าที่ทยอยเข้ามาทำอีคอมเมิร์ซกับตลาดดอทคอมภายใต้รูปแบบใหม่ที่กล่าวมานี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในปัจจุบันตลาดดอทคอมมีฐานผู้ซื้อสินค้า หรือที่เรียกว่า Tarad Member อยู่ราว 2 ล้านราย ทั้งนี้ตลาดดอทคอมได้สร้างระบบ Trust Mark ขึ้นในชุมชนตลาดออนไลน์ เพื่อช่วยสร้างความมั่นใจให้ผู้ซื้อที่มาซื้อสินค้าออนไลน์ที่ www.tarad.com โดยการรับประกันคืนเงินให้ในกรณีผู้ซื้อซื้อสินค้าแล้วไมได้รับของ โดยมีวงเงินคืนสูงสุดถึง 50,000 บาท

หากผู้ประกอบการรายใดยังไม่พร้อมที่จะย้ายหรือก้าวเข้ามาสู่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบครบวงจรนี้ ตลาดดอทคอมมีทางเลือกให้ผู้ประกอบการ โดยตลาดดอทคอมยังคงบริการเช่าพื้นที่ร้านค้าออนไลน์อย่างเดียวโดยไม่มีบริการสนับสนุน ส่งเสริมการขายใดใด เพราะในระบบเดิมนี้ตลาดดอทคอมมีร้านค้าอยู่ประมาณ 180,000 ราย ซึ่งในจำนวนนี้มีเพียงครึ่งเดียวที่ยังคงดำเนินธุรกิจค้าขายออนไลน์อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

คงจะไม่ผิดหากจะกล่าวว่าการปรับกลยุทธ์ในครั้งนี้ของเจ้าตลาดอีคอมเมิร์ซอย่างตลาดอดอทคอม เป็น “จุดเปลี่ยน” ของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ที่เดินมาถึงจุดอิ่มตัวของการทำอีคอมเมิร์ซแบบเดิม และเชื่อแน่ว่าต่อจากนี้ไปอีคอมเมิร์ซจะเป็นโอกาสและช่องทางทำธุรกิจที่สำคัญให้กับธุรกิจของไทยอย่างแน่นอน….

View :4160

ธปท. หนุน e-payment ดันไทยสู่ “สังคมไร้เงินสด”

December 29th, 2009 No comments

ด้วยภาระต้นทุนการบริหารจัดการ “เงินสด” ในรูปของธนบัตรและเหรียญที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศราว 1 ล้านล้านบาทต่อปีนั้นมีมูลค่าสูงถึง 3 พันล้านบาทต่อปี และก่อให้เกิดความไม่สะดวกสูงสุดในการใช้งานและบริหารจัดการ “เงินสด” ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ทำแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน 2553 ขึ้นเพื่อเป็นกรอบการพัฒนาระบบการชำระเงินระยะ 4 ปี โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี 2550 และจะมาสิ้นสุดในปี 2553 นี้ โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวเข้าสู่สังคมการใช้ “เงินสด” ในรูปของ Cashless เพิ่มมากขึ้น นั่นคือ การลดการใช้เงินสดที่อยู่ในรูปของธนบัตรและเหรียญ มาสู่การใช้เงินสดในรูปของอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ทั้งนี้แม้ว่าแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงินจะมาสิ้นสุดในปีหน้านี้ แต่ทว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะดำเนินการนโยบายดังกล่าวต่อเนื่องไปจนกว่าประเทศไทยจะมีอัตราส่วนการใช้เงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น

ธปท. คาดหวังสังคมไร้เงินสด (Cash-less society):

ความคาดหวังสูงสุดนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยต้องการเห็นสังคมไร้เงินสดเกิดขึ้นในประเทศไทยในอนาคต โดยรูปแบบการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันของในอนาคตนั้นผู้คนจะหันมาใช้เงินสดที่อยู่ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Money: e-money) ไม่ว่าจะเป็นรูปของบัตรพลาสติก หรือในรูปของโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์พกพาใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นนอนาคต ซึ่งหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยคือสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนเข้าสู่สังคมการใช้เงินสดแบบไร้เงินสด โดยให้เกิดความสะดวก และปอดภัยสูงสูงแก่ผู้ใช้งาน นอกจากนี้ยังคงไว้ซึ่งกฎ กติกาและบรรยากาศของการแข่งขันที่เท่าเทียมกันของผู้ให้บริการ

ฉิม ตันติยาสวัสดิกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายระบบข้อสนเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยหวังว่าแผนกลยุทธ์นี้จะก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนในการผลักดันให้มีการใช้ระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ด้วยบริการที่มีประสิทธิภาพ มั่นคงปลอดภัย และค่าธรรมเนียมที่เป็นธรรม โดยมีกฎหมายและการบังคับใช้ที่มีประสิทธิผล ซึ่งแผนกลยุทธ์นี้มีวัตถุประสงค์หลักๆ คือ เพื่อขยายการใช้ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment) ของผู้ใช้บริการทุกกลุ่ม เพื่อลดการใช้เงินสดในรูปของธนบัตรและเหรียญ โดยมีโครงสร้างค่าธรรมเนียมที่เหมาะสมและเป็นธรรม โดยจะนำกฎหมายที่รองรับการทำธุรกรรมผ่านระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment) มาใช้อย่างเป็นรูปธรรม โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะให้การกำกับดูแลให้ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment) มีความมั่นคงปลอดภัย มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบการเงินและระบบสถาบันการเงิน

ภายใต้แผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน 2553 นี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดแผนพัฒนา E-Money ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการในการส่งเสริมให้สังคมเคลื่อนเข้าสู่สังคมการใช้เงินสดแบบไร้เงินสด (Cash-less Society)

ประเด็นสำคัญของการพัฒนาสังคมไร้เงินสดนั้นเป็นเพราะว่าประเทศไทยนั้นมีการใช้เงินสดในระดับสูงซึ่งบริการด้านการเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์นั้นส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นระบบปิดที่ให้บริการเฉพาะลูกค้าภายในกลุ่มเท่านั้น กอปรกับค่าธรรมเนียมในการใช้บริการชำระเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ไม่มีความเหมาะสม นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านกฎหมายที่รองรับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ปัญหาภาระของผู้ให้บริการที่เพิ่มขึ้นจากการปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกำหนดกรอบการพัฒนาระบบ Local Switching เพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดการชำระเงินผ่านรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้เครือข่าย Switching ภายในประเทศ เพื่อช่วยทำให้ค่าธรรมเนียมร้านค้าที่จะต้องจ่ายให้กับธนาคารนั้นลดลงเนื่องจากมีปริมาณการใช้งานมากขึ้นจากการเป็นระบบเปิดแทนที่จะเป็นระบบปิดอย่างในปัจจุบัน ทำให้ร้านค้าเต็มใจที่จะรับชำระเงินผ่านรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น และท้ายที่สุดผู้ใช้บริการจะได้รับความสะดวกและใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์แทนเงินสดที่เป็นธนบัตรและเหรียญ

ในปัจจุบันประเทศไทยมีปริมาณการใช้เงินสดทั้งสิ้นกว่าล้านล้านบาทโดยมีต้นทุนในการบริหารจัดการเงินสดดังกล่าวสูงถึง 3 พันล้านบาทต่อปี หากว่าประเทศไทยหันมาใช้เงินสดในรูปของอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น ต้นทุนในการดูแลบริหารจัดการเงินสดในส่วนนี้จะลดลง

ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่าปัจจุบัน ณ สิ้นเดือนมิถุนายนปีนี้ ประชานมีเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในรูปของบัตรพลาสติกมกกว่า 60 ล้านใบ ในจำนวนนี้ 27.0 ล้านใบเป็นบัตรเดบิต ในขณะที่ 19.6 ล้านใบเป็นบัตรเอทีเอ็ม และอีก 13.1 ล้านใบเป็นบัตรเครดิต ซึ่งถึงแม้จะดูราวกับว่าอัตราส่วนของการมีเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ในรูปของบัตรพลาสติกที่อยู่ในรูปของบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตนั้นอยู่ในระดับสูง แต่ทว่าเงินสดในบัตรเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการรวมถึงเพื่อการจับจ่ายในชีวิตประจำวันนั้นมีอัตราส่วนที่น้อยมาก คนส่วนใหญ่ยังนิยมใช้บัตรเครดิตเพื่อชำระสินค้ามากกว่าบัตรเดบิต และยังคงใช้บัตรเอทีเอ็มเพื่อการถอนเงินมากกว่าการทำรายการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น การโอนเงิน การชำระค่าสินค้าและบริการ เป็นต้น

“โดยเฉลี่ยแล้ว ประเทศไทยมีอัตราการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์เพียง 2-3 ครั้งต่อคนต่อปีเท่านั้น ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งส่วนใหญ่จะมีอัตราการใช้เงินสดในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ในอัตราส่วนที่สูงจะมีอัตราการการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์มากกว่า 10 ครั้งต่อคนต่อปี” ฉิมกล่าว

ทั้งนี้ทั้งนั้นการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับได้แก่ การชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธนาคาร การชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างบริษัท/องค์กรเอกชน และการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ของประชาชนทั่วไป ซึ่งมูลค่ารวมของการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยคือ 60 ล้าน ล้านบาทต่อปี โดยมีเพียง 5.5 ล้านล้านบาทต่อปีเท่านั้นที่เป็นการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างบริษัท/องค์กรเอกชน และการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ของประชาชนทั่วไป ซึ่งการเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนของการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ในภาคธุรกิจและประชาชนนั้นจะมีส่วนช่วยให้อัตราการเติบโตของจีดีพีของประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากประโยชน์ของการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์นั้นคือจะช่วยให้ประเทศสามารถลดต้นทุนโดยรวมของการผลิตธนบัตรและเหรียญรวมถึงดูแลบริหารจัดการเงินสดในรูปของธนบัตรและเหรียญ และองค์กรธุรกิจเองก็จะสามารถลดต้นทุนโดยรวมของการบริหารจัดการเงินสดของตนเองได้

ทว่าในปัจจุบันใช่ว่าจะยังไม่มีการใช้เงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นเลยแต่อย่างใด ในปัจจุบันนั้นมีตัวอย่างของการใช้เงินแบบไร้เงินสด(Cash-less) เกิดเพิ่มมากขึ้นและเป็นตัวอย่างของการใช้เงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใกล้ตัวผู้คนอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการใช้บัตรโดยสารรถไฟฟ้า BTS รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT บัตรเงินสดสมาร์ทเพิร์ส (Smart Purse) ที่ร้านสะดวกซื้ออย่าง 7Eleven รวมไปถึง mobile money หรือการใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งในปัจจุบันผู้ให้บริการมือถือ 3 ค่ายยักษ์ใหญ่ก็ออกบริการทางการเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในรูปบริการ Mobile Money กันครบถ้วน

ค่ายมือถือโดดให้บริการ “เงินสดอิเล็กทรอนิกส์” ถ้วนหน้า:

เริ่มจากค่ายทรูที่ส่งบริษัท ทรูมันนี่ จำกัด บริษัทลูกที่ให้บริการด้านการเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้มีการเปิดตัวบริการทางการเงินแบบไร้เงินสด แต่เป็นการใช้เงินสดในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์บนโทรศัพท์มือถือมานานกว่า 3 ปีแล้ว โดยมีบริการทางการเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้เลือกหลากหลาย โดยทรูมันนี่ตั้งเป้าว่าจะเป็นผู้ให้บริการด้านการเงินอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำของประเทศ

ปิยชาติ รัตน์ประสาทพร ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัท ทรูมันนี่ จำกัด บริหารจัดการปริมาณ “เงินสด” ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์อยู่สูงถึง 26,000 ล้านบาทในปีที่ผ่านมาและคาดว่าจะเพิ่มเป็น 28,000 ล้านบาทในปีนี้ โดยมีบริการด้านการเงินอิเล็กทรอนิกส์ให้บริการอยู่ถึง 6 รูปแบบที่ครอบคลุมรูปแบบการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันของประชาชน ได้แก่ บัตรเงินสดทรูมันนี่ (True Money Cash Card) บริการชำระเงินทรูมันนี่ (True Payment Service) กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (electronic wallet: e-wallet), ระบบการชำระเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์ (payment gateway), ทัชซิม (Touch SIM), และบริการรับจองตั๋วผ่านออนไลน์ (WeBooking.com)

ปิยชาติ กล่าวเสริมว่า บริการทั้งหมดนั้นถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานที่หลากหลาย ทั้งงานใช้งานทั่วไปและการใช้งานแบบเฉพาะเจาะจง อาทิ บัตรเงินสดทรูมันนี่ (True Money Cash Card) นั้นสำหรับการใช้งานทั่วไป คือเป็นบัตรเงินสดที่ผู้ใช้สามารถเติมเงินลงไปแล้วนำมาใช้ซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการสำหรับสินค้าทุกอย่างในเครือทรู คอร์ปอเรชั่น ส่วนกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (electronic wallet: e-wallet) นั้นเป็นบริการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือ โดยให้ผู้โทรศัพท์มือถือสามารถพกเงินสดมูลค่าสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทไว้ในโทรศัพท์ได้เพื่อใช้จ่ายซื้อสินค้าชำระค่าบริการต่างๆ ของบริษัทในเครือทรูเองและของผู้ให้บริการที่เป็นพันธมิตรธุรกิจกับทรู อาทิ ชำระค่าไฟ ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ เป็นต้นซึ่งเงินสดในโทรศัพท์มือถือนั้นสามารถผูกติดกับบัญชีธนาคารได้ถึง 4 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารกรุงเทพ โดยผู้ใช้สามารถเติมเงินลงใน e-wallet ของตนเองง่ายๆ ผ่านตู้เอทีเอ็มของธนาคาร ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการ e-wallet แล้วทั้งสิ้น 5.6 ล้านคนซึ่งบริษัทคาดว่าจะเพิ่มเป็น 10 ล้านคนภายในสิ้นปี

นอกจาก e-wallet แล้วทรูมันนี่ยังมีบริการหัวหอกอีกบริการหนึ่งคือ touch SIM ที่รูปแบบจะคล้าๆย กับ e-wallet แต่เป็นกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์แบบออฟไลน์ คือเวลาใช้งานไม่ต้องออนไลน์ไปทำรายการกับธนาคาร แต่เงินสดนั้นถูกบรรจุอยู่ใน SIM ของโทรศัพท์ รูปแบบการใช้งานเหมือนกับการใช้บัตรเงินสดทั่วไป เพียงแค่นำโทรศัพท์มือถือที่บรรจุ touch SIM แตะที่เครื่องรับหรือเครื่องอ่านที่จุดรับชำระเงินของร้านค้าต่างๆ เท่านั้น ซึ่งปัจจุบันมีร้านค้าที่รับชำระเงินผ่าน touch SIM แล้วมากกว่า 2,000 ร้าน อาทิ ทรูคอฟฟี่ ซีพี เฟรชมาร์ท แมคโดนัล  Red Mango, Auntie Anne’s และเครือ Major Cineplex Group เป็นต้น ซึ่งทรูมันนี่มีเป้าหมายจะเพิ่มจุดรับชำระเงินผ่าน touch SIM เป็น 10,000 จุดภายในสิ้นปี 2552 และเป็น 50,000 จุดภายในปี 2553 และคาดว่าจะมีผู้ใช้บริการ touch SIM จากปัจจุบัน 50,000 คนเป็นราว 200,000 คนภายในสิ้นปีนี้

ในขณะที่ค่ายเอไอเอสเองก็ส่ง Advanced mPAY บริษัทลูกที่ให้บริการการเงินอิเล็กทรอนิกส์ลงสนามเช่นกัน โดยบริการของ Advanced mPAY นั้นมีอยู่ 4 ส่วนหลักได้แก่ บัตรเติมเงิน (card refill), บริการรับชำระเงินสำหรับ e-commerce บริการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ (money transfers) และบริการรับชำระเงินสำหรับองค์กรธุรกิจ (m-biz solutions)

ปัจจุบัน Advanced mPAY มีลูกค้าเพิ่มขึ้นราว 30 เปอร์เซ็นต์จากปีที่ผ่านมา ปัจจุบันมีลูกค้าทั้งสิ้นประมาณ 65,000 ราย และมีมูลค่าของเงินสดที่ผ่านระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ของ Advanced mPAY ประมาณ 400 ล้านบาทต่อเดือน

ในขณะที่ดีแทคเองก็ให้บริการด้นการเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน โดยร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทยให้บริการ ATM SIM ซึ่งเป็นการผูกบัญชีธนาคารกสิกรไทยไว้ใน SIM ของดีแทค และให้ผู้ใช้งานสามารถบริหารจัดการเงินสดในบัญชีธนาคารนั้นๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือได้ทุกที่ทุกเวลา โดยดีแทคตั้งเป้าว่าจะมีผู้ใช้บริการราว 1.3 ล้านคนภายในสินปีนี้ ซึ่งดีแทคกับธนาคารกสิกรไทยได้ร่วมมือกับเพิ่มจุดรับชำระเงินด้วย ATM SIM ล่าสุด ลูกค้า Aeon และ KTC สามารถชำระค่าบริการต่างด้วย ATM SIM ได้โดยไม่ต้องไปเข้าแถวรอชำระเงิน ปัจจุบัน ATM SIM มีพันธมิตรรับชำระผ่าน ATM SIM แล้วประมาณ 50-60 ราย

ทั้งนี้ทั้งนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจะสนับสนุนและผลักดัน (ผ่านแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน 2553) ให้เกิดการใช้งาน e-money และ e –payment เพิ่มมากขึ้น โดยจะผลักดันให้เกิดการใช้งานในภาคธุรกิจค้าปลีกและการคมนาค ซึ่งเป็น 2 ภาคส่วนธุรกิจที่มีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะทำหน้าที่ทั้งผู้กำกับดูและเป็นคนกลางในการประสานสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นสถานบันการเงิน ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชน ธุรกิจค้าปลีก ผู้ให้บริการเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงจะสร้างความมั่นใจให้ประชาชนผู้ใช้เงินสดอิเล็กทรอนิกส์มั่นใจในธุรกรรมต่างๆ ว่าปลอดภัยและมีกฎหมายรองรับ ทั้งหมดนี้เพื่อนำไปสู่สังคมไร้เงินสด ซึ่งเป็นสังคมที่มีอัตราส่วนของการใช้เงินสดแบบไร้เงินสดเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

“การจะไปถึงตรงจุดนั้นได้เป็นงานยากและท้าทายเพราะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้ผลักดันและสนับสนุนให้เกิดขึ้นในอนาคต” ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายระบบข้อสนเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวทิ้งท้าย….

View :4167
Categories: e-payment Tags: