Archive

Archive for the ‘เบ็ดเตล็ด (Press/ Release)’ Category

รวม 6 ที่พักรีวิวเยี่ยมจาก Booking.com ในอโยธยา

March 28th, 2018 No comments

ช่วงนี้ทุกคนต่างก็กำลังอินกับแม่หญิงการะเกดกันทั้งบ้านทั้งเมืองจนทำให้อยุธยาเมืองเก่าของเราแต่ก่อนกลับมาฮอตฮิตอีกครั้งในหมู่ผู้เดินทางชาวไทยทิ่นิยมไปเที่ยวแบบไปเช้าเย็นกลับด้วยความที่เป็นเมืองซึ่งไม่อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ เท่าไรนัก อย่ากระนั้นเลย หากอยากจะตามรอยแม่หญิงการะเกดให้เต็มที่แล้ว ทำไมไม่ลองใช้เวลาช่วงวันหยุดของคุณด้วยทริปค้างคืนที่อยุธยาเสียเลยเล่า วันนี้ Booking.com ผู้นำระดับโลกด้านการเชื่อมโยงผู้เดินทางกับตัวเลือกที่พักน่าทึ่งหลากหลายประเภท จึงขอรวบรวม 6 ที่พักที่ได้รีวิวคะแนนสูงจากผู้เข้าพักในตัวเมืองอยุธยามานำเสนอ เผื่อใครอยากจะลองใช้เวลาวันหยุดให้เต็มอิ่มในแบบแม่หญิงที่อยุธยากัน

Phuttal Residence

unnamed

ให้บริการที่พักในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีอินเทอร์เน็ตไร้สาย (WiFi) ฟรี บาร์บีคิว และพื้นที่จอดรถส่วนตัวฟรีในสถานที่ ห้องพักมีโทรทัศน์จอแบน บางห้องมีพื้นที่นั่งเล่นสำหรับผ่อนคลายหลังจากวันที่เหน็ดเหนื่อย บางห้องมีลานระเบียงหรือระเบียง ห้องน้ำส่วนตัวพร้อมพื้นที่ฝักบัว เครื่องใช้ในห้องน้ำฟรีและเครื่องเป่าผมเพื่อความสะดวกสบายของผู้เข้าพัก พร้อมห้องครัวส่วนกลางและจักรยานสำหรับการใช้งานฟรี โดยย่านที่พักเป็นพื้นที่ยอดนิยมสำหรับการขี่จักรยาน ที่พักตั้งอยู่ห่างจากอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเป็นระยะทาง 1.1 กิโลเมตร ห่างจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาเป็นระยะทาง 1.6 กิโลเมตร สนามบินที่ใกล้ที่สุดคือสนามบินนานาชาติดอนเมืองซึ่งอยู่ห่างจากที่พักเป็นระยะทาง 49 กิโลเมตร

Silp Pa Phra Nakhon Si Ayutthaya

2

ตั้งอยู่ในตัวเมืองพระนครศรีอยุธยาและตั้งอยู่ห่างจากวัดมหาธาตุเป็นระยะทาง 900 ม. ที่พักมีห้องอาหารและอินเทอร์เน็ตไร้สาย (WiFi) ฟรี ห้องพักบางห้องมีวิวของสวนหย่อมหรือวิวของเมือง ห้องพักติดตั้งโทรทัศน์จอแบน ที่พักมีห้องนั่งเล่นส่วนกลาง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาอยู่ห่างจาก Silp Pa Phra Nakhon Si Ayutthaya เป็นระยะทาง 1.4 กม. ในขณะที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาอยู่ห่างออกไปเป็นระยะทาง 1.7 กม. สนามบินที่ใกล้ที่สุดคือสนามบินนานาชาติดอนเมืองซึ่งอยู่ห่างจากที่พักเป็นระยะทาง 48 กม.

Iudia Hotel

3

ที่พักสไตล์บูติกแห่งนี้ตั้งอยู่ท่ามกลางซากโบราณของวัดและพระราชวังเก่า หันหน้าไปทางอุทยานประวัติศาสตร์มรดกโลกอยุธยา ให้บริการห้องพักพร้อมอินเทอร์เน็ตไร้สาย (Wi-Fi) ฟรี มีคาเฟ่และสระว่ายน้ำกลางแจ้ง ห้องพักปรับอากาศของ iuDia Hotel มีลานภายในหรือสามารถมองเห็นวิวของแม่น้ำเจ้าพระยา ตกแต่งด้วยของเก่า มีโทรทัศน์จอแบน เครื่องเล่นดีวีดี อุปกรณ์ชงชาและกาแฟ และมินิบาร์ ที่พักตั้งอยู่ห่างจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาโดยใช้เวลาเดิน 15 นาที ห่างจากวัดมหาธาตุเป็นระยะทาง 1 กิโลเมตร และห่างจากสถานีรถไฟอยุธยาเป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร ผู้เข้าพักสามารถเที่ยวสำรวจบริเวณโดยรอบด้วยตัวเองและที่พักมีจักรยานสำหรับใช้งานฟรี และท่านที่นำรถยนต์มาด้วยสามารถจอดรถในสถานที่ได้ฟรี

Niwas Ayutthaya

4

ตั้งอยู่ในเขตเมืองโบราณของอยุธยา ห่างจากวัดมหาธาตุและวัดราษฎร์บูรณะโดยใช้เวลาเดิน 10 นาที มีบริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย (Wi-Fi) ฟรีทั่วบริเวณที่พักห้องพักทุกห้องตกแต่งด้วยสถาปัตยกรรมแบบไทย มีเครื่องปรับอากาศ และโทรทัศน์ นอกจากนี้ยังมีห้องน้ำในตัวหรือห้องน้ำส่วนตัวด้านนอกพร้อมเครื่องใช้ในห้องน้ำฟรีและฝักบัว มีบริการซักรีดและบริการนวดเพื่อมอบความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นแก่ผู้เข้าพัก ที่พักแห่งนี้อยู่ห่างจากสถานีรถไฟจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้เวลาขับรถ 15 นาที และห่างจากท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิในกรุงเทพฯ โดยใช้เวลาขับรถ 1 ชั่วโมง 15 นาที

Ayothaya Riverside House

5

ที่พักซึ่งตกแต่งสไตล์ไทยเดิมพร้อมเพิ่มความเก๋ด้วยห้องพักบนเรือ ตั้งอยู่ถัดจากวัดกษัตราธิราชวรวิหาร มีบริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย (Wi-Fi) ฟรีทั่วบริเวณที่พัก ผู้เข้าพักสามารถเดินเล่นในสวนหย่อมหรือพักผ่อนริมฝั่งแม่น้ำ จากที่พักแห่งนี้ ท่านใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์เพียง 5 นาทีไปยังวัดไชยวัฒนาราม พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย และตลาดน้ำวัดท่าการ้อง ที่พักทั้งหมดประกอบด้วยเครื่องปรับอากาศหรือพัดลม และห้องน้ำในตัวหรือห้องน้ำรวม ห้องพักบางห้องมีทีวี ตู้เย็น และระเบียง ที่พักแห่งนี้มีที่จอดรถสาธารณะฟ​​รี และบริการซักรีด

บ้านหลวงชำนิฯ

6

ตั้งอยู่ห่างจากวัดมหาธาตุโดยใช้เวลาเดิน 5 นาที ให้บริการห้องพักสไตล์ไทยดั้งเดิม บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย (Wi-Fi) ฟรี และที่จอดรถสาธารณะฟรีในสถานที่โรงแรมตั้งอยู่ห่างจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ตลอดจนสถานีรถไฟและสถานีขนส่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพียง 5 นาทีเมื่อเดินทางด้วยรถยนต์ห้องพักปรับอากาศแต่ละห้องแวดล้อมด้วยพรรณไม้อันเขียวขจี มีโทรทัศน์ระบบช่องสัญญาณดาวเทียม ตู้เย็น โต๊ะทำงาน ห้องน้ำส่วนตัวด้านล่างพร้อมฝักบัวและเครื่องใช้ในห้องน้ำฟรี โรงแรมมีบริการรับฝากสัมภาระ บริการซักรีด บริการจักรยานเช่า และสวนสำหรับการพักผ่อนของผู้เข้าพัก โรงแรมแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้กับร้านอาหารท้องถิ่นหลายแห่งโดยใช้เวลาเดินไม่เกิน 5 นาที

[ข่าวประชาสัมพันธ์​]

View :3572

“ไทยแลนด์ พาวิลเลียน แอมบาสเดอร์” ปั้นเยาวชนสู่ทูตแห่งท้องทะเลไทยทำหน้าที่ไกลถึงเกาหลี

October 14th, 2011 No comments

ทช.ต่อยอดงานเอ็กซ์โประดับโลก Yeosu International Exposition 2012 ณ เมืองยอซู เปิดโอกาสเยาวชนไทย สู่การเป็นทูตแห่งท้องทะเล ภายใต้โครงการ “ไทยแลนด์ พาวิลเลียน แอมบาสเดอร์” สร้างประสบการณ์-เพิ่มศักยภาพเยาวชนไทยในเวทีโลก พร้อมปั้นไทยแลนด์พาวิลเลียนเป็น 1 ใน 5 พาวิลเลียนยอดนิยม

นายเกษมสันต์ จิณณวาโส อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) ได้จัดโครงการ ไทยแลนด์ พาวิลเลียน แอมบาสเดอร์ หรือ ทูตแห่งท้องทะเลไทย เพื่อสรรหาเยาวชนไทย ไปเป็นตัวแทนเผยแพร่วัฒนธรรมไทย และนำเสนอการบริหารจัดการท้องทะเลไทยในงาน Yeosu International Exposition 2012 ณ เมืองยอซู สาธารณรัฐเกาหลี ในระหว่างวันที่ 12 พฤษภาคม ถึง 12 สิงหาคม 2555 ซึ่งถือเป็นการร่วมงานเอ็กซ์โประดับโลกอีกครั้ง ของประเทศไทย หลังจากประสบความสำเร็จจากการร่วมงาน เซี่ยงไฮ้ เวิลด์เอ็กซ์โป 2010 เมื่อปีที่ผ่านมา

โดยไทยแลนด์พาวิลเลียนแอมบาสเดอร์ ที่เปิดรับสมัครในปีนี้ ต้องการเยาวชนเพื่อทำหน้าที่ใน 2 ส่วนสำคัญ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ส่วนนิทรรศการ เพื่อเผยแพร่เอกลักษณ์ความโดดเด่นของมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมความเป็นไทยผ่าน “อาคารศาลาไทย” และนักแสดงประจำอาคารศาลาไทย ซึ่งต้องมีความสามารถด้านการแสดง นาฏศิลป์ไทย ,นาฏศิลป์สากล หรือการแสดงผสมผสานระหว่างไทยและสากลที่แปลกใหม่สร้างสรรค์ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงประจำศาลาไทยและการแสดงประจำวันชาติ ในงาน Yeosu International Exposition 2012 ณ เมืองยอซู สาธารณรัฐเกาหลี

ทั้งนี้ในการหาตัวแทนประเทศไทยเพื่อเป็น ไทยแลนด์พาวิลเลียนแอมบาสเดอร์นั้น ได้ขยายคุณสมบัติผู้สนใจร่วมสมัคร จากกลุ่มเยาวชนสู่กลุ่มคนทำงาน อายุ 18-30 ปี โดยต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถด้านภาษา ไทย เกาหลี และอังกฤษ มีใจรักในธรรมชาติโดยเฉพาะท้องทะเลและวัฒนธรรมไทย

“การเข้าร่วมงาน Yeosu International Exposition 2012 ณ เมืองยอซู สาธารณรัฐเกาหลี ของประเทศไทยในครั้งนี้ สามารถต่อยอดสู่สังคมผ่านกิจกรรมดีๆ ด้วยการเปิดเวทีคัดสรรเยาวชนไทยที่มีความสามารถไปทำหน้าที่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของ 2 ชาติ และยังเผยแพร่….ทะเลไทยและวัฒนธรรมไทยให้อีกหลายๆชาติที่เข้าร่วมงาน ถือเป็นการจุดประกายอีกหนึ่งสิ่งดีๆให้เกิดแก่สังคมคนรุ่นใหม่ ที่จะต้องหันมามองเรื่องของการดูแลอนุรักษ์ส่งแวดล้อมที่ยั่งยืนอย่างจริงจัง” นายเกษมสันต์กล่าว

อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ การร่วมงาน Yeosu International Exposition 2012 จัดขึ้น ภายใต้แนวคิด “The Living Ocean and Coast :Diversity of Resources and Sustainable Activities โดยประเทศไทยได้กำหนดแนวคิดการร่วมงานครั้งนี้ด้วยคอนเซ็ป “ Colors of Diversity : Capacity of Thailand และคาดหวังว่า ความน่าสนใจของทะเลไทย วัฒนธรรมไทยและความสามารถในการนำเสนอจะทำให้อาคารศาลาไทยเป็น 1 ใน 5 พาวิลเลียนที่ได้รับความนิยมสูงสูงจากกว่า 120 พาวิลเลียนอีกด้วย

สำหรับผู้มีความสามารถและสนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถ ตรวจสอบคุณสมบัติและดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.thailandpavilion2012 .com ยื่นใบสมัคร พร้อมหลักฐาน รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว 1 รูป , รูปถ่ายเต็มตัว 1 ใบ ขนาด 4”x6”,ใบรับรองผลการเรียน (Transcription) , สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน ผ่านอีเมล info@thailandpavilion2012.com หรือส่งไปรษณีย์มาที่ บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) 545 ซอยปรีดีพนมยงค์ 42 สุขุมวิท 71 พระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110 วงเล็บมุมซอง ไทยแลนด์ พาวิลเลียน แอมบาสเดอร์ ส่งภายในวันที่ 22 ต.ค.2554

ในส่วนของผู้ผ่านการคัดเลือกจากหลักฐานและใบสมัคร เข้าสัมภาษณ์กับผู้ทรงคุณวุฒิ ในวันที่29ต.ค.2554 ที่บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) 545 ซอยปรีดีพนมยงค์ 42 สุขุมวิท 71 พระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กทม. ติดต่อสอบถามข้อมูล 02-725-9333 ต่อ 351,361,371,

View :2740

รำลึก ๑๓๐ ปี ชาตกาลหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)

July 28th, 2011 No comments

อพท. ประสานแนวคิดสร้างสรรค์ ร่วมกับ 3 องค์กร จัดงาน “ศิลปบรรเลง เพลงอัมพวา ครั้งที่ ๑ ในวาระ ๑๓๐ ปี ชาตกาลหลวงประดิษฐไพเราะ หรือ ศร ศิลปบรรเลง” เพื่อเชิดชูเกียรติหลวงประดิษฐไพเราะ ดุริยกวี ๕ แผ่นดิน สร้างกิจกรรมท่องเที่ยวทางดนตรีไทยให้เมืองอัมพวา เมืองแห่งวัฒนธรรมและศูนย์กลางดนตรีไทย ด้วยแนวคิดการจัดการการท่องเที่ยวสร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรม เพื่อเป้าหมายการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท กรรมการและผู้อำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยว่า “อพท. ร่วมกับมูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เทศบาลตำบลอัมพวา และองค์การบริหารส่วนตำบลสวนหลวง ดำเนินการจัดงาน “ศิลปบรรเลง เพลงอัมพวา ครั้งที่ ๑ ในวาระ ๑๓๐ ปี ชาตกาลหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)” เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ดุริยกวี ๕ แผ่นดิน ผู้ถือกำเนิดที่อัมพวาและสร้างชื่อเสียงให้แก่ท้องถิ่น ทั้งในระดับประเทศและระดับชาติ

จุดประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ เพื่อสร้างบรรยากาศเมืองวัฒนธรรมที่เป็นศูนย์กลางของดนตรีไทย สร้างความมั่นคงทางจิตวิญญาณของภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่กับชาวสมุทรสงคราม โดยมุ่งหวังให้เป็นโครงการนำร่องในการจัดมหกรรมดนตรีไทยประจำปีของจังหวัดสมุทรสงคราม ด้วยการสืบทอดมรดกความเป็นศูนย์กลางทางดนตรีไทยในอดีตที่เชื่อมโยงสู่บรรยากาศของเมืองวัฒนธรรมในปัจจุบัน และเพื่อจุดประกายการพัฒนาดนตรีไทยในอนาคต รวมทั้งยังเป็นการจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ให้มีรากฐานอันมั่นคง ทั้งเป็นต้นแบบให้เกิดการวางแผนจัดกิจกรรมทางดนตรีในระดับอื่นๆ ต่อไป

หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปะบรรเลง) ดุริยกวี ๕ แผ่นดิน ผู้มีฝีมือทางระนาดเอกดีเยี่ยม นับตั้งแต่วัยเยาว์จนได้รับคัดเลือกเข้าไปถวายงานดนตรีแก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ในรัชกาลที่ ๕ ที่วังบูรพาภิรมย์พระนคร และได้สร้างคุณูปการทางดนตรีไทย อันเป็นที่ประจักษ์มาตลอดระยะเวลา ๕ แผ่นดิน โดยเป็นทั้งศิลปินดนตรี ดุริยกวี และครูสอนดนตรีไทยให้แก่บุคคลทุกระดับชั้น จึงนับได้ว่าเป็นบุคคลแห่งตำนานดนตรีไทยที่สำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์ แม้เมื่อถึงแก่กรรมก็ยังปรากฏผลงานการประพันธ์เพลงที่แพร่หลาย และการจัดกิจกรรมดนตรีที่พัฒนามาถึงทุกวันนี้

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ นี้ ตรงกับวาระ ๑๓๐ ปี ชาตกาลของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) จึงนับเป็นโอกาสอันดีที่หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ร่วมมือกันจัดงานเทศกาลดนตรี “ศิลปบรรเลง เพลงอัมพวา” โดยงานนี้นับได้ว่าเป็นการรวมตัวกันครั้งประวัติศาสตร์ของคนในวงการดนตรีไทย เพื่อร่วมรำลึกและเชิดชูเกียรติหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ซึ่งมีกิจกรรมมากมายที่น่าสนใจ อาทิการประชันดนตรี ปี่พาทย์เสภา มหาดุริยางค์พิเศษ ระนาด ๑๓๐ ราง การแสดงดนตรีของศิลปินระดับปรมาจารย์ อาทิ วงฟองน้ำ วงชัยยุทธ์ โตสง่า ฯลฯ รวมไปถึงพิธีกรรมทางศาสนา กิจกรรมบันเทิง และการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในคุณค่าดนตรีไทยแก่สาธารณชน

ทั้งนี้ อพท. คาดหวังว่างานดังกล่าวจะเป็นกิจกรรมหลักที่ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมทางดนตรีให้กับเมืองอัมพวาอย่างต่อเนื่องไปทุกปี ที่สำคัญการจัดงานนี้เป็นไปตามแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวสร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรม นั่นคือ การสร้างสรรค์การท่องเที่ยวบนพื้นฐานของคุณค่าทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นหรือทุนทางวัฒนธรรม โดยหยิบยกเรื่องราวจากประวัติศาสตร์ ศิลปะท้องถิ่น ดนตรีพื้นบ้าน วิถีความเป็นชุมชน วรรณกรรม สถาปัตยกรรม หัตถกรรม ความงดงามของฝีมือช่าง และอื่นๆ มาจัดการให้เกิดความน่าสนใจสอดคล้องตามคุณค่าของชุมชนหรือเมือง และเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์ตรงผ่านการเรียนรู้นั้น เช่น การได้มาเรียนรู้เรื่องดนตรีไทยเป็นเวลา ๒ วัน ๑ คืน ในช่วงวันเสาร์อาทิตย์ โดยพักบ้านดนตรีแบบโฮมสเตย์ หรืออาจะเป็นการมาศึกษาเรียนรู้เรื่องความเป็นมาของศิลปินเอกด้านดนตรีไทย ประเภทเครื่องสี ตี เป่าของไทย สักประมาณ ๑-๒ ชั่วโมง โดยมีโอกาสได้ทดลองเล่นเครื่องดนตรีไทยนั้นจากครูผู้สอนด้วย ซึ่งนับว่าเป็นประสบการณ์ที่หาได้ยากยิ่งและน่าประทับใจ” ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท กล่าวอธิบาย

จึงนับได้ว่างาน “ศิลปบรรเลง เพลงอัมพวา ครั้งที่ ๑ ในวาระ ๑๓๐ ปี ชาตกาลหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)” เป็นเทศกาลดนตรีไทยครั้งยิ่งใหญ่แห่งปี ประกอบด้วยกิจกรรมที่มีคุณค่า การเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมและคุณค่าของศิลปดนตรีไทยให้ปรากฏแก่สาธารณชน โดยใช้ ๓ พื้นที่หลักในเขตอัมพวาเป็นพื้นที่จัดกิจกรรม ได้แก่ อุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (อุทยาน ร. ๒) โครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์ ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และบ้านดนตรี วัดภุมรินทร์กุฏีทอง ตำบลสวนหลวง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยจัดขึ้นระหว่าง วันที่ ๕-๗ สิงหาคม ๒๕๕๔ นี้

—–

ตารางรวมกิจกรรม “ศิลปบรรเลง เพลงอัมพวา ครั้งที่ ๑”

วันศุกร์ที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๔
ณ บ้านดนตรี วัดภุมรินกุฎีทอง
๑๙.๐๐–๒๑.๐๐ น. เพลงครูคู่สมัย : วงบอยไทย บางกอกไซโลโฟน โดย ชัยยุทธ โตสง่า ศิลปินศิลปาธร ประจำปี ๒๕๕๓ พร้อมด้วยดารารับเชิญ คนระนาดเอก ได้แก่ ครูปู บุญสร้าง เรืองนนท์ ร่วมบรรเลงเพลงภารตะนฤมิตร แหลม สมฤกษ์ ฉายแสง ร่วมบรรเลงเพลงเดี่ยวอาหนู และป้อม กองปราบ ประสิทธิ์ สิทธิชัย มาในเพลง “ดวล”

วันเสาร์ ที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๔
ณ ชั้นล่างเรือนไทยอาคาร ๒ อุทยาน ร.๒
๐๖.๐๐–๐๘.๐๐ น. โหมโรงเช้า ปี่พาทย์วงไทยบรรเลง
๐๘.๓๐-๐๙.๓๐ น. ทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่บูรพาจารย์ทางดนตรีไทย มโหรีวงกอไผ่ บรรเลงประกอบพิธี
๐๙.๓๐–๑๐.๓๐ น. ปาฐกถาเกียรติยศ “หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ดุริยกวีของแผ่นดิน” โดย ศ.ระพี สาคริก
๑๑.๐๐-๑๗.๓๐ น. การบรรเลงถวายมือ “ช่อดอกไม้ดนตรี สุนทรีย์บูชาครู” จากนักดนตรีสายศิษย์หลวงประดิษฐไพเราะฯ จำนวน ๑๑ วง โหมโรงกลางวันโดยวงปี่พาทย์วงที่ ๑
๑. สำนักการสังคีต กรมศิลปากร วงศิษย์ครูมนตรี ตราโมท
๒. วงศิษย์ครูถวิล อรรถกฤษณ์
๓. วงจรรย์นาฏย์
๔. วงศิษย์ครูโองการ กลีบชื่น
๕. วงศิษย์ครูรวม พรหมบุรี
๖. วงศิษย์ครูแสวง – ครูนิภา อภัยวงศ์
๗. วงศิษย์ครูพินิจ ฉายสุวรรณ
๘. วงศิษย์ครูน้ำว้า ร่มโพธิ์ทอง
๙. วงศิษย์ครูสมภพ ขำประเสริฐ
๑๐. วงศิษย์ครูประสิทธิ์ ถาวร
๑๑. วงศิษย์ครูเพชร จรรย์นาฏย์

ณ ลานวัฒนธรรมนาคะวะรังค์ โครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์
๑๔.๐๐-๑๘.๐๐ น. “สมานฉันท์ดนตรีไทยชัยพัฒนา” โดยสถาบันการศึกษาและวงดนตรีรับเชิญ จำนวน ๕ วง ได้แก่ วงคำหวาน วงพระพิรุณ วงแสนแสบ วงณัฐพนชัย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา วงโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว

ณ เวทีริมน้ำ อุทยาน ร.๒
๑๖.๐๐-๑๗.๐๐ น. เพลงครูคู่สมัย : วงฟองน้ำ
๑๗.๐๐-๑๘.๐๐ น. เพลงครูคู่สมัย : วงสไบ
๑๘.๓๐-๑๙.๓๐ น. เพลงครูคู่สมัย : ขุนอิน ออฟ บีท สยาม
๑๙.๓๐-๒๐.๐๐ น. เสวนา “ย้อนรอยภาพยนตร์โหมโรง” โดย อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์, ขุนอิน โตสง่า และ โอ อนุชิต
๒๐.๐๐-๒๑.๔๕ น. ฉายภาพยนตร์ “โหมโรง”

ณ บ้านดนตรี วัดภุมรินกุฎีทอง
๑๘.๐๐-๒๑.๐๐ น. ปี่พาทย์ประชันเชิง คู่ที่ ๑ วงศิษย์ครูบุญยงค์ เกตุคง – ไชยชนะ เต๊ะอ้วน (ระนาดเอก) วงศิษย์ผู้ใหญ่ประเสริฐ สดแสงจันทร์ – มีกิจ อินทรพิพัฒน์ (ระนาดเอก)
๒๑.๐๐-๒๔.๐๐ น. ปี่พาทย์ประชันเชิง คู่ที่ ๒ วงกอไผ่ – ทวีศักดิ์ อัครวงศ์ (ระนาดเอก) วงลายไทย – ธนาเศรษฐ์ อภิจิรนนท์ชัย (ระนาดเอก)

วันอาทิตย์ที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๔
ณ ชั้นล่างเรือนไทยอาคาร ๒ อุทยาน ร. ๒
๐๗.๐๐-๐๘.๐๐ น. โหมโรงเช้า – ปี่พาทย์วงลูกศิษย์และหลานศิษย์หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
๐๙.๐๐-๑๑.๓๐ น. – พิธีไหว้ครูดนตรีไทย ประจำปี ๒๕๕๔ มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
– พิธีกรอ่านโองการ โดย พันโทเสนาะ หลวงสุนทร และ ผู้ช่วยพิธีกร โดย ครูฉลาก โพธิ์สามต้น
– บรรเลงหน้าพาทย์โดย วงลูกศิษย์และหลานศิษย์ หลวงประดิษฐไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง)
๑๑.๓๐-๑๕.๐๐ น. – พิธีครอบครูดนตรีไทย
– การบรรเลงถวายมือ โดย ๑) “วงมหาดุริยางค์เยาวชนสมุทรสงคราม” บรรเลงเพลงบุหลันลอยเลื่อน และ แสนคำนึง ๒) “วงมหาดุริยางค์ระนาด ๑๓๐ ราง” เป็นการชุมนุมนักระนาดเอกทั่วประเทศ บรรเลงทางเดี่ยวเพลงอาหนู เพื่อแสดงความสามัคคีบูชาครู ๓) สิ้นสุดมหกรรมดนตรีฯ ครั้งนี้ ด้วย การบรรเลง และ ขับร้อง เพลงสรรเสริญพระบารมี ถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสมิ่งมหามงคลทรงเจริญพระชนมายุ ครบ ๗ รอบ ๘๔ พระพรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒

View :3270

นโยบายการลงทุนของคนต่างด้าวในภาคธุรกิจโทรคมนาคม ใครควรเป็นผู้กำหนด?

July 28th, 2011 No comments

By ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

ในการประชุมของ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) รักษาการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งขาติ (กสทช.) เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ คณะกรรมการได้มีมติเห็นชอบร่างประกาศ กทช. ว่าด้วยการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว พ.ศ…. โดยให้มีการเพิ่มเติมข้อความในส่วนของการเกริ่นนำของร่างประกาศว่าเป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ มิใช่เป็นการเร่งรัดดำเนินการในห้วงระยะเวลาปัจจุบัน ซึ่งทำให้ผู้เขียนยิ่งมีข้อสงสัยว่า การดำเนินการดังกล่าวเป็นการเร่งรัดของ รักษาการ กสทช. ชุดนี้ก่อนที่จะหมดวาระในเวลาเพียงอีกเดือนกว่าๆ หรือไม่

ร่างประกาศฉบับนี้ไม่ได้อยู่ในความสนใจของสื่อมวลชนดังเช่นของ กรณี พ.ร.บ การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ (สืบเนื่องจากการที่บริษัท True Move ขอให้มีการตรวจสอบว่าบริษัท DTAC เป็นบริษัทต่างด้าวหรือไม่) หากแต่จะเป็น กฏ กติกาที่จะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญอย่างยิ่งต่อภาคธุรกิจโทรคมนาคมของไทย เนื่องจากประกาศดังกล่าวได้กำหนดนิยามของคนต่างด้าวจากอำนาจในการควบคุมบริษัท (corporate control) โดยพิจารณาจากปัจจัยที่หลากหลาย เช่น สิทธิในการออกเสียง แหล่งที่มาของเงินทุน การทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา สัญญาจัดซื้อจัดจ้าง สัญญาบริหาร การโอนราคา ฯลฯ ในการรับฟังความคิดเห็นนั้น (ซึ่งรายงานการรับฟังความคิดเห็นไม่ได้ลงในเว็บไซต์ ต้องขอ) ผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดมากกว่า 1 รายได้ทักท้วงว่า นิยามของคำว่า ”อำนาจในการควบคุม” ในร่างประกาศฯ ดังกล่าวกว้างเกินไป ชี้วัดได้ยาก ทำให้เกิดปัญหาในการตีความ นอกจากนั้นแล้ว การประเมินว่าคนต่างด้าวมีอำนาจในการควบคุมเกิน “กึ่งหนึ่ง” ของอำนาจการควบคุมโดยรวมของกิจการนั้นยิ่งไม่เป็นรูปธรรม ทำให้เกิดความไม่แน่นอนแก่ผู้ประกอบธุรกิจ

ผู้เขียนมีความเห็นว่า กฎ กติการในการกำกับดูแลธุรกิจที่มีความคลุมเครือและให้อำนาจดุลยพินิจอย่างกว้างขวางแก่หน่วยงานที่มีอำนาจในการบังคับใช้ ซึ่งมีอยู่อย่างดาษดื่นในประเทศไทยนั้น เป็นปัจจัยที่ทำลายภาคธุรกิจของประเทศ เนื่องจากผู้ประกอบการเอกชนต้องเสียเวลาและเงินตราในการวิ่งเข้าหาผู้ที่มีอำนาจเพื่อให้มีการตีความที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองหรือเป็นโทษต่อคู่แข่งมากกว่าที่จะใช้เวลาในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันในเชิงธุรกิจของตนเอง ทั้งนี้ ข้อ 3 ของร่างประกาศดังกล่าวระบุไว้ว่า “ … คณะกรรมการอาจพิจารณายกเว้นการบังคับใช้ประกาศนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน แก่การครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าวตามวรรคหนึ่งซึ่งมีลักษณะสอดคล้องกับแนวปฏิบัติอันเป็นที่ยอมรับทั่วในทางธุรกิจ แต่ทั้งนี้ให้พิจารณาข้อเท็จจริงและเหมาะสมเป็นรายกรณีไป” กสท. ได้ท้วงติงว่าข้อความนี้ให้อำนาจแห่งดุลยพินิจแก่หน่วยงานกำกับดูแลโดยปราศจากหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน โปร่งใส แต่การชี้แจงของสำนักงาน กสทช. เพียงระบุว่า “ผู้ประกอบการที่ดำเนินการแนวทางปฏิบัติอันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในทางธุรกิจ ซึ่งก็เป็นหลักที่ยอมรับได้อย่างเป็นสากลและมิได้เป็นการเลือกปฏิบัติแต่อย่างใด” ผู้เขียนอาจไม่ฉลาดพอ เพราะต้องยอมรับว่าอ่านแล้วไม่เข้าใจว่าที่ สำนักงาน กสทช. กล่าวมาได้ตอบข้อข้องใจของ กสท. อย่างไร

ในลักษณะเดียวกัน DTAC ก็ได้หยิบยกประเด็นว่า หากการครอบงำอำนาจในการควบคุมบริษัทของคนต่างด้าวนั้นเป็นไปโดยถูกกฎหมาย (ไม่มีนอมินี) และเกิดจากความสมัครใจของผู้ถือหุ้นไทยที่อาจขาดประสบการณ์ด้านธุรกิจโทรคมนาคมจึงไว้วางใจให้ผู้ถือหุ้นต่างชาติเป็นผู้บริการจัดการก็ไม่น่าเป็นสิ่งที่เสียหาย ทั้งนี้ พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ไม่ได้ห้ามต่างชาติมีอำนาจในการกำหนดนโยบายในบริษัทไทยแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม นิยามของคนต่างด้าวในกฎหมายดังกล่าวที่จงใจดูการถือหุ้นชั้นเดียวในการกำหนดสัญชาติของบริษัทนั้นสะท้อนชัดเจนว่ากฎหมายต้องการเปิดให้ต่างชาติสามารถเข้ามาเป็นผู้ควบคุมนิติบุคคลไทยได้โดยการถือหุ้นทางอ้อมเพียงแต่ในการถือหุ้นในแต่ละลำดับชั้นนั้น ผู้ถือหุ้นข้างมากต้องเป็นคนไทย ในประเด็นนี้ข้อวิเคราะห์ของสำนักงาน กสทช. ระบุว่า แม้บริษัทควรที่จะมีอิสระในการกำหนดโครงสร้างอำนาจในการบริหารจัดการบริษัทเอง แต่ในบางบริษัท “กรรมการมีสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับผู้ถือหุ้นเป็นพิเศษจนไม่รักษาผลประโยชน์ของบริษัทแต่เลือกที่จะกระทำการเพื่อผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นแทน” ผู้เขียนไม่แน่ใจว่า สำนักงาน กสทช. มีหน้าที่หรืออำนาจที่จะมาตัดสินใจว่ากรรมการรักษาผลประโยชน์ของบริษัทหรือไม่หรือ และ ผลประโยชน์ของบริษัทมิใช่ผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นหรือ ? แต่ที่สำคัญกว่านั้น ผู้เขียนยังไม่เข้าใจว่า ประกาศฯ ดังกล่าวมีความจำเป็นหรือสำคัญอย่างไรต่อการพัฒนาธุรกิจโทรคมนาคมไทย

เมื่อปลายปีที่แล้ว คณะอนุกรรมการป้องกันการทุจริตด้านเศรษฐกิจที่พิจารณาเรื่องการประมูลคลื่น 3G ได้ตั้งคำถามเดียวกันว่า กทช. มีแนวนโยบายและเหตุผลอย่างไรในการนำเสนอร่างประกาศซึ่งเป็นการจำกัดการลงทุนของต่างชาติ ในช่วงเวลาที่ กทช. ต้องการจะชักจูงให้มีบริษัทต่างชาติเข้าร่วมประมูลคลื่น 3 G จากการทำ Road show ในหลายประเทศ

อนึ่ง ข้อ 5 ของระเบียบคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติว่าด้วยการประเมินผลกระทบจากการกำกับดูแล พ.ศ. 2549 กำหนดให้ กทช. ต้องดำเนินการจัดทำการประเมินผลกระทบจากการกำกับดูแล ในกรณีที่มีการออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือข้อกำหนดใดๆ ที่เป็นการใช้อำนาจควบคุม หรือกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม โดยจะต้องประเมินผลกระทบต่อการแข่งขันในตลาด ผู้ประกอบการแต่ละราย ตลอดจนผลดีผลเสียต่อผู้บริโภคคนไทย ผู้เขียนได้พยายามติดต่อ สำนักงาน กสทช. เป็นเวลาเกือบ 2 วันเพื่อที่จะได้มาซึ่งรายงานดังกล่าวแต่ก็ไม่สำเร็จเนื่องจากมีการโยนกันไปโยนกันมาระหว่างเจ้าหน้าที่หลายส่วนโดยอ้างว่า ผู้ที่รับผิดชอบเรื่องนี้ไม่อยู่ไปประชุม ทั้งๆ ที่ระเบียบข้อ 5 ดังกล่าวเขียนไว้ชัดเจนว่า การเสนอร่างประกาศฯ ต่อคณะกรรมการฯ ต้องแนบรายงานการประเมินผลกระทบไปด้วยทุกครั้ง เรื่องที่มีความสำคัญเช่นนี้มีบุคคลคนเดียวที่รับผิดชอบหรือรับรู้หรือ ? ในประเทศที่พัฒนาแล้ว รายงานดังกล่าวจะต้องปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของหน่วยงานกำกับดูแลโดยไม่ต้องร้องขอ (และไม่ได้) เช่นนี้

ผู้เขียนคิดว่า แม้ร่างประกาศฯ ดังกล่าวได้ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นตามระเบียบของ สำนักงาน กสทช. และตามกฎหมายแล้ว แต่ กสทช. ยังไม่สามารถชี้แจงประเด็นหรือปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาสาระสำคัญของประกาศฯ เพื่อคลายข้อกังวลต่างๆ ของผู้ประกอบการ นอกจากนี้แล้ว การที่สำนักงานไม่เปิดเผยรายงานการประเมินผลกระทบของร่างประกาศฯ ดังกล่าวต่อสภาพการแข่งขันในตลาดและต่อเศรษฐกิจไทยตามที่กำหนดในระเบียบของ สำนักงาน กสทช. เอง ทำให้เกิดคำถามว่า กระบวนการในการออกประกาศฯ ดังกล่าวถูกต้องครบถ้วนมากน้อยเพียงใด และสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดข้อครหาว่าเป็นการเร่งรัดเพื่อผลประโยชน์ของธุรกิจบางกลุ่มเท่านั้น

สุดท้าย ผู้เขียนมีความเห็นว่า การลงทุนในธุรกิจโทรคมนาคมเป็นประเด็นทางนโยบายที่มีความสำคัญระดับประเทศมิใช่เป็นประเด็นที่หน่วยงานกำกับดูแลรายสาขาจะเข้ามาใช้อำนาจแห่งดุลยพินิจโดยไร้หลักเกณฑ์ในการตัดสินใจที่ชัดเจน โปร่งใส และปราศจากข้อมูลและหลักฐานของผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในวงกว้างต่อทั้งประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศที่สาธารณชนสามารถเข้าถึงได้ แต่ที่น่าเศร้ากว่านั้นคือ ปัญหาในลักษณะเดียวกันนี้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ได้เวลาหรือยังที่ธุรกิจและประชาชนจะต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิในการรับรู้ที่มาที่ไปของกฎ ระเบียบต่างๆ ที่จะมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของพวกเขามากขึ้น ?

View :2033

ทรู ผนึกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย อบรม “นักข่าวพิราบน้อย” รุ่น 14 สร้างสรรค์คุณภาพคนข่าวยุคใหม่

July 14th, 2011 No comments


บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น โดย นางสาวเสาวนีย์ ลิมมานนท์ (นั่งกลาง) ผู้ช่วยบริหารงานกรรมการผู้จัดการใหญ่ รับผิดชอบงานซีเอสอาร์ และหัวหน้าสายงานสื่อสารองค์กร และประชาสัมพันธ์การตลาด กลุ่มทรู ร่วมกับ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดย นาย ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี (นั่งกลาง) นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เปิดเวทีอบรมเชิงปฏิบัติการ “นักข่าวพิราบน้อย” รุ่นที่14 ประจำปี 2554  ให้คณะนิสิต นักศึกษาจากภาควิชาวารสารศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และสื่อสารมวลชน จำนวนกว่า 80 คน จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ เข้าร่วมเรียนรู้ทักษะ และฝึกฝนความเป็นบุคลากรคนข่าวจากนักข่าวรุ่นพี่ ที่มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์จริงแบบมืออาชีพ พร้อมฝึกปฏิบัติการทำหนังสือพิมพ์เสมือนจริง ก่อนเข้าสู่สนามสื่อในสังคมอย่างมีคุณภาพ ณ อาคารทรู ทาวเวอร์ เมื่อเร็วๆ นี้
 
“ในวันเปิดการอบรมนี้ คณะนิสิต นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 80 คน ได้เรียนรู้ถึงการควบคุมระบบโครงข่ายการสื่อสารที่ครบวงจรของทรู เพื่อให้บริการออกมาได้เต็มประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล  พร้อมดำเนินการแก้ไขได้ทันทีตลอด 24 ชั่วโมง ก่อนเดินทางเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ“นักข่าวพิราบน้อย” ระหว่างวันที่ 14 – 17 กรกฎาคม 2554 ณ โรงแรมเทาทอง มหาวิทยาลัยบูรพา อ.เมือง      จ.ชลบุรี ซึ่งได้รับความร่วมมือจากสื่อมวลชนมืออาชีพทุกสำนักพิมพ์เข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และให้ข้อมูลกับนิสิต นักศึกษาได้เรียนรู้ และฝึกฝนทักษะจริงตลอดระยะเวลา 4 วันเต็มของการอบรม”
 
ข้อมูลโครงการ “นักข่าวพิราบน้อย”
“นักข่าวพิราบน้อย” เป็นกิจกรรมที่เกิดจากความร่วมมือของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และบมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เพื่อมุ่งส่งเสริม และสนับสนุนวิชาชีพสื่อสารมวลชนให้เป็นสาขาอาชีพที่ทรงเกียรติ และควรค่าแห่งความภาคภูมิใจสำหรับเยาวชนที่ศึกษาในศาสตร์วิชาวารสารศาสตร์ และนิเทศศาสตร์ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นบุคลากรคนสำคัญของการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ โดยจะมีกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษาที่ศึกษาในภาควิชาที่เกี่ยวข้องเข้ามาเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติการทำหนังสือพิมพ์ นอกจากนี้ ยังมีเวทีที่เปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษาแต่ละสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศจัดส่งผลงานหนังสือพิมพ์ประจำมหาวิทยาลัยเข้าแข่งขันเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการผลิตผลงานในการประกวด “รางวัลพิราบน้อย” ที่จัดขึ้นในช่วงต้นมีนาคมของทุกปี

View :2815

“เทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน ครั้งที่ 9” ชวนเด็กและเยาวชนเปิดโลกการอ่านกับแนวคิด “อ่านสนุก ปลุกจินตนาการ”

July 14th, 2011 No comments


พาเหรดกิจกรรมกระตุ้นต่อมอ่าน อาทิ ชวนพับกระดาษสไตล์ออริกามิ DIY การ์ดป็อปอัพ แต่งกายคอสเพลย์จากกระดาษ ประลองความเร็วเครื่องบินกระดาษ พิเศษครั้งแรกกับโซนหนังสือลดกว่า 50%

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธานเปิดงาน เทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน ครั้งที่ 9 (Book Festival for Young People 2011) โดย สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 13 – 17 กรกฎาคม 2554 เวลา 10.00 – 20.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ด้วยแนวคิด “อ่านสนุก ปลุกจินตนาการ” พร้อมมอบทุนเพื่อซื้อหนังสือให้แก่เด็กและเยาวชนด้อยโอกาสในโครงการทอฝันปันหนังสือให้น้อง ครั้งที่ 22 และมอบทุนให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนมาเลือกซื้อหนังสือเข้าห้องสมุดจำนวน 8 แห่ง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี กล่าวว่า “ผมรู้สึกยินดีที่สมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ ได้ดำเนินการจัดงานเทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชนมาอย่างต่อเนื่อง เพราะการส่งเสริมการอ่านไม่จำเป็นต้องพึ่งภาครัฐเพียงฝ่ายเดียว ภาคเอกชนอันได้แก่ สมาคม และองค์กรวิชาชีพต่างๆ ต้องร่วมกันส่งเสริม และหัวใจที่สำคัญที่สุด คือ ครอบครัวและชุมชน อันเป็นหน่วยของสังคมที่เล็กที่สุดต้องเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือ ทั้งนี้ รู้สึกชื่นชมยินดีต่อปณิธานของสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ในการผลักดันกิจกรรมส่งเสริมการอ่านตลอดระยะเวลากว่า 50 ปี หากพ่อแม่ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการอ่านแก่บุตรหลาน ชุมชนสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ก็จะทำให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการอ่าน เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ได้ โดยเฉพาะนิสัยรักการอ่านตั้งแต่ปฐมวัยนั้นมีส่วนสำคัญยิ่งต่อการมีนิสัยรักการอ่านอย่างยั่งยืน และหมายถึงเด็ก และเยาวชนจะมีนิสัยใฝ่รู้ อีกทั้งต้องมีทักษะในการอ่านคิดวิเคราะห์ด้วย เพราะจะช่วยเพิ่มพูนทักษะการคิดสร้างสรรค์ การแก้ไขปัญหา การดำเนินชีวิต และการเข้าสู่ภาคเศรษฐกิจ เข้าสู่สังคม”

นายวรพันธ์ โลกิตสถาพร นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เป้าหมายหนึ่งของสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ นอกจากมุ่งสร้างวัฒนธรรมการอ่านสู่สังคมแล้ว เรายังผลักดันการสร้างนิสัยรักการอ่านให้เกิดขึ้นแก่เยาวชนไทย กล่าวได้ว่าเรื่องการอ่านลำดับแรกควรเริ่มจากครอบครัวและโรงเรียนก่อน ที่พ่อแม่ ผู้ปกครองและครูต้องแนะนำและปลูกฝังค่านิยมให้แก่เด็ก เพื่อให้เขาได้รู้จักใช้หนังสือเพื่อเกิดจินตนาการทางความคิด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงสนับสนุนให้เด็กได้มีหนังสือดีที่เหมาะสมกับวัยและความสนใจ เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้ติดตัว เกิดการตื่นตัวกับการอ่าน และนำไปสู่นิสัยรักการอ่านในที่สุด

“สำหรับงานเทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน ได้จัดต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 9 แล้ว โดยปีนี้นำเสนอแนวคิด ‘อ่านสนุก ปลุกจินตนาการ’ เนื่องจากทางสมาคมฯ เล็งเห็นว่าการสร้างนิสัยรักการอ่านต้องเริ่มที่เยาวชน วัยที่เต็มไปด้วยความฝันและจินตนาการ ซึ่งหนังสือจะเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุด ที่จะช่วยแต่งแต้มสิ่งเหล่านั้นตลอดจนความคิดสร้างสรรค์ที่เหมาะสมได้ตลอดทุกช่วงวัย ดังนั้น สมาคมฯ จึงรณรงค์การใช้หนังสือเพื่อปลุกจินตนาการและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้านต่างๆ พร้อมทั้งสนับสนุนให้มีหนังสือดีที่จะให้ทั้งความสนุกสนานและความบันเทิงแก่ผู้อ่าน ควบคู่ไปกับการเติมเต็มจินตนาการทางความคิดด้วย”

“นอกจากกิจกรรมและนิทรรศการมากมายที่สมาคมฯเตรียมมาจัดอย่างเต็มพื้นที่กว่า 10,000 ตารางเมตรแล้ว ปีนี้เป็นปีแรกที่เราจัดโซนหนังสือ Books Super Sale มีหนังสือลดราคาตั้งแต่ 50% ขึ้นไปและสำหรับเด็กและเยาวชนต้องไม่พลาดสะสมการ์ดพลังออริกามิ ซึ่งมีให้สะสมครบชุด 10 แบบ โดยการ์ดพลังออริกามิ ทุกใบจะแสดงวิธีพับกระดาษรูปแบบต่างๆ โดยมีคะแนนพลังตามความยากง่ายของแบบนั้นๆ ซึ่งมั่นใจว่าเด็กและเยาวชนจะต้องชื่นชอบเป็นอย่างมาก”

“คาดว่าปีนี้จะมียอดผู้เข้าชมงานประมาณ 200,000 คน และยอดเงินหมุนเวียนภายในงานมีไม่ต่ำกว่า 35 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 15% ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าปัจจุบันคนไทยเริ่มตื่นตัวกับการอ่านมากขึ้น ทำให้การจัดงานแต่ละครั้งประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายเป็นอย่างดี และคาดว่าครั้งนี้จะได้รับการตอบรับที่ดีเหมือนทุกครั้ง” นายวรพันธ์ กล่าว

นิทรรศการและกิจกรรมภายในงานเทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน ครั้งที่ 9 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “อ่านสนุก ปลุกจินตนาการ” ซึ่งจะแบ่งพื้นที่การจัดกิจกรรมออกเป็น 3 โซน

โซนซี 1 พบกับนิทรรศการ “มหัศจรรย์การอ่าน” ในโครงการ Bangkok Read for Life ของกรุงเทพมหานคร นิทรรศการส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องแนวทางการเลือกหนังสืออ่านให้สอดคล้องกับสไตล์การเรียนรู้ของตน และแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาของสมองในแต่ละวัยของสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD) กิจกรรม “หนังสือคือจินตนาการ” จากมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก

โซนพลาซ่า พบกับกิจกรรมมากมาย อาทิ นิทานในสวนกระดาษ จากเอสซีจี เปเปอร์ ร่วมกับมูลนิธิซิเมนต์ไทย กิจกรรมจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นำเสนอกิจกรรมและนิทรรศการภายใต้แนวคิด “ชุมชนในฝัน” ซึ่งประกอบด้วย ศิลปินน้อยประดิษฐ์ศิลปะ โครงการ 108 หนังสือดี นิทรรศการผลงานประกวดสื่อสร้างสรรค์วัยมันไร้ควันบุหรี่ ครั้งที่ 5 โครงการปิ๊งส์ กิจกรรมเวิร์คช้อปหนังสือทำมือ และการแสดงบนเวที

โซนเอเทรียม พบกับ กิจกรรม “อ่านสนุก ปลุกจินตนาการ” เน้นการสรรค์สร้างจินตนาการให้ออกมาเป็นรูปธรรมผ่านวัสดุประเภทกระดาษ ประกอบไปด้วย 4 กิจกรรม ที่ผู้ร่วมงานสามารถนำวิธีการพับกระดาษแบบต่างๆ กลับไปทำเองได้ที่บ้าน ได้แก่ กระดาษหรรษา (Origami) คอสเพลย์กระดาษ มโหตร (เทคนิคการตัดกระดาษแบบไทยๆ สำหรับใช้ในการตกแต่งสถานที่ในงานทำบุญ งานมงคลต่างๆ ในอดีต) DIY ประกอบโมเดลเป็นรูปสัตว์หลากชนิด เช่น สุนัข เต่า และไดโนเสาร์

พร้อมร่วมชมและเชียร์การแข่งขันผลงานที่ได้จากการพับกระดาษ อาทิ แข่งขันเครื่องบินกระดาษ กบกระดาษกระโดดไกล แข่งขันรถกระดาษพับ เป็นต้นและไปรษณีย์ไทย นำแสตมป์และสิ่งสะสมสินค้าที่ระลึกไปรษณีย์ต่างๆ มาจำหน่ายพร้อมถ่ายภาพแสตมป์ส่วนตัว

งานเทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน ครั้งที่ 9 จัดระหว่างวันที่ 13-17 กรกฎาคม 2554 เวลา 10.00 – 20.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thailandbookfair.com

View :3679

เก๋ไก๋มากสำหรับจดหมายเชิญ Flip Video Camcorder จากเอ็มดีซิสโก้

September 8th, 2010 No comments

นับเป็นการเชิญไปร่วมงานแถลงข่าวรูปแบบใหม่ที่น่าประทับใจมากๆ สมแล้วที่ซิสโ้ก้ฯ เป็นผู้นำด้าน VDO Conferencing

จดหมายเชิญ Flip Video Camcorder จากเอ็มดีซิสโก้

A message from ดร.ธัชพล โปษยานนท์.
ซิสโก้ขอเชิญร่วมงานแถลงข่าวความสำเร็จของซิสโก้ ประเทศไทย ปี 2010 ที่ผ่านมาและกลยุทธ์การรุกตลาดในปี 2011

วัน / เวลา / สถานที่
วัน: ศุกร์ที่ 10 กันยายน 2553
เวลา: 13.00 – 16.00 น.
สถานที่: ณ ห้องคลาสรูม 1-2 โซนแคมปัส โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ

View :2089

พีซีในเอเชียไตรมาสสุดท้ายโต32%

January 22nd, 2010 No comments

ไอดีซี รายงานว่า ยอดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในเอเชียแปซิฟิกดีดตัวขึ้นถึงร้อยละ 32 ในไตรมาส 4 ปี 2552

ที่สิงค์โปร์ และ ฮ่องกง วันที่ 19 มกราคม 2553 – จากรายงานการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นของไอดีซี พบว่า ยอดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่น ในไตรมาส 4 ปี 2552 มีอัตราการเติบโตที่ลดลงประมาณร้อยละ 3 จากไตรมาส 3 ปี 2552 แต่กลับมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 32 เมื่อเปรียบ เทียบกับไตรมาส 4 ปี 2551ซึ่งเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ถึงร้อยละ 4 เกือบทุกประเทศในภูมิภาคนี้มีอัตราการเติบโตเป็นเลขสองหลัก เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว โดยมีคอมพิวเตอร์แบบพกพาเป็นตัว กระตุ้นสำคัญที่ทำให้เกิดการเติบโต ยี่ห้อเลอโนโว ยังคงรั้งอันดับหนึ่งของภูมิภาคนี้ในไตรมาส 4 โดยเฉพาะแรงผลักดันจากยอดจำหน่ายในประเทศจีนที่สูงอย่างต่อเนื่อง

“มันเป็นการเรียกความมั่นใจของตลาดกลับมาเมื่อได้เห็นว่าตลาดสามารถฟื้นขึ้นได้ด้วยตนเองอย่างรวดเร็ว เมื่อเปรียบเทียบกับตลาดที่น่าหดหู่ในไตรมาส 4 ปี 2551 ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงวิกฤตทางการเงินระดับโลก” กล่าวโดยนายไบรอัน มา ผู้อำนวยการฝ่ายงานวิจัยตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ประจำไอดีซี เอเชียแปซิฟิก “ความต้อง การ  การใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีอยู่อย่างไม่สิ้นสุดของกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป    ทั้งในตลาดประเทศที่พัฒนาแล้ว  และที่กำลังเกิดใหม่จะยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญอย่างต่อเนื่องในปี  2553  ในขณะที่งบประมาณจากภาคธุรกิจต่าง ๆ กำลังจะฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ตลอดช่วงปีนี้”

ตลอดทั้งปี 2552 ตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในภูมิภาคนี้มีอัตราการเติบโตร้อยละ 14  ซึ่งสูงกว่าปี 2551 อยู่ร้อยละ 9 แต่ยังต่ำกว่าปี 2550 ที่สูงถึงร้อยละ 22 ยี่ห้อเลอโนโวก็ยังคงรั้งการเป็นผู้ค้าอันดับหนึ่งของตลาดในภูมิภาคนี้ไว้ได้ทั้งปีอีกปีหนึ่ง แม้ว่าความวิตกกังวลที่ถูกเปิดเผยมากขึ้นในปัจจุบันเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจที่ร้อน แรงในประเทศจีนอาจจะมีความเสี่ยงต่อตลาดโดยรวมได้ ไอดีซีคาดว่าในปี 2553 ภูมิภาคนี้จะมีอัตราการเติบโต ไม่น้อยกว่าร้อยละ 16 และร้อยละ 18 ในปี 2554

“ยอดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในสิงค์โปร์นั้นมีอัตราการเติบโตที่ร้อยละ 17 เมื่อเปรียบกับไตรมาสเดียว กันของปี 2551”  กล่าวโดย นายรูเบน แทน   ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายงานวิจัยตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลประจำ ไอดีซี เอเชียแปซิฟิก “จนถึง ณ ขณะนี้ ประเทศสิงคโปร์ยังอยู่ในความคาดหมายที่จะมีอัตราการเติบโตมากกว่าร้อยละ 10 ในปี 2553 หลังจากที่ตลาดมีการเติบโตกระเตื้องขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 6 ในปี 2552”

นางสาวเคธี่ ซิน ผู้จัดการฝ่ายงานวิจัยตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลประจำ ไอดีซี เอเชียแปซิฟิก กล่าวเสริมว่า “ยอดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในฮ่องกงปีนี้เติบโตดีกว่าที่ไอดีซีได้คาดการณ์ไว้ โดยมีอัตราการเติบโตมากกว่าร้อยละ 20 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2551 และหวังว่าสิ่งเลวร้ายที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้วกำลังจะหมดไปเมื่อภาวะเศรษฐกิจโลกกำลังค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

ตารางที่ 1

สัดส่วนยอดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น)  ตามผู้ค้าแต่ละราย  ในไตรมาส 4     ปี 2552 (ประมาณการณ์เบื้องต้น) เปรียบเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2552 และ ไตรมาส 4 ปี 2551

ลำดับ ผู้ค้า ส่วนแบ่งตลาดใน ไตรมาส 4 ปี 2553 ส่วนแบ่งตลาดใน ไตรมาส 3 ปี 2552 ส่วนแบ่งตลาดใน ไตรมาส 4 ปี 2551 อัตราการเติบโต เปรียบเทียบ     ปีต่อปี
1 Lenovo 22.6% 20.1% 19.6% 53%
2 HP 16.1% 18.4% 13.5% 58%
3 Dell 9.1% 8.9% 9.7% 24%
4 Acer 8.7% 8.8% 7.5% 54%
5 ASUS 4.6% 5.3% 4.0% 52%
รายอื่น ๆ 38.9% 38.4% 45.7% 13%
รวม 100.0% 100.0% 100.0% 32%
Source: IDC, January 2010
ตารางที่ 2

สัดส่วนยอดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น)  ตามผู้ค้าแต่ละราย  ประจำปี 2552 (ประมาณการณ์เบื้องต้น) เปรียบเทียบ ปี 2552 และ ปี 2551

ลำดับ ผู้ค้า ส่วนแบ่งตลาดปี 2552 ส่วนแบ่งตลาดปี 2551 อัตราการเติบโต เปรียบเทียบปีต่อปี
1 Lenovo 19.7% 18.3% 22%
2 HP 16.7% 14.1% 34%
3 Dell 8.7% 9.1% 9%
4 Acer 8.5% 7.5% 29%
5 ASUS 4.5% 3.7% 37%
รายอื่น ๆ 41.9% 47.2% 1%
รวม 100.0% 100.0% 14%
Source: IDC, January 2010

(Surce: IDC)

View :1915

ASOCIO to focus on green ICT, trade promotion

January 21st, 2010 No comments

The Asian-Oceanian Computing Industry Organization (ASOCIO) is starting the new decade with green in mind.  Fresh from its 27th General Assembly held in Melbourne, Australia last month, the influential regional Information Technology (IT) grouping has incorporated environmental preservation as one of its top priorities.

Themed Preserving Earth in the IT World, ASOCIO’s Green IT agenda will define initiatives geared towards promoting environment-friendly practices among its members which represents 21 countries across the region.

“We are starting a new decade. In every new beginning, we analyze the past and present to identify issues that need to be solved in order to realise a better future,” says newly-appointed ASOCIO president Looi Kien Leong.

He adds that broad-based world’s sentiments towards environmental issues have been highlighted at the recent Copenhagen Summit and ASOCIO would also like to play its part by advocating Green IT in the Asia Oceania region.

“Among ASOCIO member countries, Australia and Japan are the most advanced in terms of Green ICT initiatives. We can certainly learn from them,” says Looi, who is also an adviser to the National ICT Association of Malaysia (PIKOM) as well as Global Trade Committee Chair of the World IT and Services Alliance (WITSA).

ASOCIO’s Green IT initiatives essentially encompass two general areas – efforts to build a sustainable, energy- and cost- effective environment within a corporation and use of IT as a strategic tool to build solutions for external environment.

The broad outline of the initiatives was unveiled at last month’s Asia Pacific Digital Innovation Summit (APDIS 2009) in Melbourne. Pertinent issues and possible approaches for implementation were also discussed during a panel session entitled Sustainability & Green IT. The panel comprised speakers from ASOCIO member countries of Malaysia, Australia and Japan.

Towards this end, ASOCIO will be setting up Secretariat offices in various cities to support the envisioned increased activities, particularly those related to the green IT initiatives, across the region. These include offices in Kuala Lumpur, Bangkok, Taipei, Dhaka and Seoul. Tokyo will remain as the organization’s Headquarters.

More details on ASOCIO’s Green IT initiatives are expected to be announced in a near future.

(Source: ASOCIO Media Release)

View :2723

ไอบีเอ็มเผย 5 นวัตกรรมที่จะเปลี่ยนแปลงเมืองทั่วโลกใน 5 ปีข้างหน้า

January 15th, 2010 No comments

ไอบีเอ็ม เปิดเผยรายงานประจำปี “Next 5 in 5” ฉบับที่ 4 ซึ่งมีการคาดการณ์แนวโน้มทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่จะมีผลต่อรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนในเมืองต่างๆ ทั่วโลกในช่วง 5-10 ปีข้างหน้าดังต่อไปนี้

  • เทคโนโลยีจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในเมืองต่าง ๆ แข็งแรงยิ่งขึ้น
  • อาคาร ‘อัจฉริยะ’ จะสามารถรับรู้และตอบสนองมนุษย์ได้เหมือนสิ่งมีชีวิต
  • รถยนต์และรถประจำทางจะไม่ใช้น้ำมันและก๊าซอีกต่อไป
  • ระบบอัจฉริยะจะทำหน้าที่บริหารจัดการน้ำและช่วยประหยัดพลังงานในเมืองใหญ่
  • เมืองต่างๆ จะตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที แม้กระทั่งก่อนที่จะได้รับโทรศัพท์แจ้งเหตุ

ทุกวันนี้ ด้วยแนวโน้มในการย้ายถิ่นฐานของประชากรในแต่ละปีทั่วโลก มีประชากรราว 60 ล้านคน หรือกว่า 1 ล้านคนในแต่ละสัปดาห์ที่ย้ายถิ่นฐานจากชนบทเข้าสู่เมืองใหญ่ จากรายงานประจำปี “Next 5 in 5” ล่าสุด ซึ่งเป็นฉบับที่ 4 ของไอบีเอ็ม ได้ให้ความสนใจกับประเด็นดังกล่าว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะแนวโน้มการย้ายถิ่นฐานของประชากรเข้าสู่เมืองใหญ่ (Urbanization) มีมากอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีปี 2552 ที่ผ่านมานี้เอง มีการประเมินกันว่าประชากรส่วนใหญ่ของโลกในปัจจุบันอาศัยอยู่ในเขตเมืองมากกว่าชนบท ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก

นอกจากนั้นแล้ว ในรายงานดังกล่าว ยังให้ความสำคัญกับแนวโน้มของเทคโนโลยีที่มีผลกระทบและเกี่ยวโยงกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาและความท้าทายที่เมืองต่าง ๆ ต้องรับมือในอนาคตอันใกล้ เช่น ปัญหาการบริหารจัดการเมืองเพื่อรับมือกับจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น หรือการจัดการกับปัญหาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เสื่อมลง เป็นต้น

ที่ผ่านมา ไอบีเอ็มได้มีโอกาสทำงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐบาลในหลาย ๆ เมืองทั่วโลกในการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยให้ระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ในเมืองเหล่านั้น ‘ฉลาดขึ้น’ หรือมีประสิทธิภาพในการทำงานดียิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อช่วยส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเมืองนั้น ๆ นั่นเอง

ในช่วง 5 ปีข้างหน้านี้ ไอบีเอ็มคาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่สำคัญ 5 ประการดังต่อไปนี้

  • · เทคโนโลยีจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในเมืองต่าง ๆ แข็งแรงยิ่งขึ้น

ด้วยประชากรจำนวนมากที่ย้ายถิ่นฐานเข้าสู่เมืองใหญ่ มีผลทำให้เมืองเหล่านี้กลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคไปพร้อม ๆ กัน อย่างไรก็ตาม ในอนาคตอันใกล้ เทคโนโลยีจะมีบทบาทมากขึ้น โดยเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถพยากรณ์ได้ว่าจะเกิดโรคระบาดขึ้นเมื่อใด ที่ใด อย่างไร และมีพื้นที่ใดบ้างที่จะได้รับผลกระทบหลังจากเกิดโรคระบาดนั้น ๆ ขึ้น นอกจากนั้นแล้ว นักวิทยาศาสตร์จะสามารถพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยให้เจ้าหน้าที่ของรัฐฯ หรือโรงพยาบาล สถานศึกษา และหน่วยงานต่าง ๆ สามารถปรับปรุงการตรวจสอบ ติดตาม หรือเพิ่มมาตรการในการเตรียมพร้อมรับมือ และป้องกันโรคติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็น ไวรัส H1N1 หรือโรคระบาดอื่น ๆ เป็นต้น

ยิ่งไปกว่านั้น ในอนาคตอันใกล้ เราจะได้เห็น “อินเทอร์เน็ตเพื่อสุขภาพ” เกิดขึ้น ซึ่งระบบดังกล่าวจะเปิดโอกาสให้ข้อมูลทางการแพทย์ที่อยู่ในเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ นำไปถูกใช้งานร่วมกันอย่างปลอดภัย เพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาด และเอื้อประโยชน์ให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงยิ่งขึ้น  ที่ผ่านมา ไอบีเอ็มได้ทำงานร่วมกับองค์กรต่าง ๆ หลายแห่งทั่วโลก เช่น โครงการริเริ่มด้านสุขภาพและความปลอดภัยของโลก (Global Health and Security Initiative) ของ Nuclear Threat Initiative (NTI) และกลุ่มความร่วมมือแห่งตะวันออกกลางเพื่อการเฝ้าระวังโรคติดต่อ (Middle East Consortium on Infectious Disease Surveillance – MECIDS) โดยไอบีเอ็มช่วยพัฒนาเทคโนโลยีซึ่งจะเป็นมาตรฐานเพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพและการวิเคราะห์การระบาดของโรคติดต่อ เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนในอนาคต

  • · อาคาร ‘อัจฉริยะ’ จะสามารถรับรู้และตอบสนองมนุษย์ได้เหมือนสิ่งมีชีวิต

ในอนาคตอันใกล้ ด้วยแนวโน้มที่ผู้คนจะเข้าไปอาศัยและทำงานตามอาคารต่าง ๆ ในเมืองใหญ่มากขึ้น ในขณะเดียวกัน เทคโนโลยีและระบบอัจฉริยะก็จะช่วยทำให้ระบบต่าง ๆ ในตึกและอาคารสมัยใหม่ ‘ฉลาดขึ้น’ ไปพร้อม ๆ กัน โดยเทคโนโลยีจะถูกพัฒนาให้ทำหน้าที่จัดการดูแลอาคารสถานที่ต่าง ๆ ให้ทำงานได้ราวกับเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถรับรู้และตอบสนองมนุษย์ได้อย่างฉับไว เช่น อาคารสมัยใหม่ในอนาคต จะมีอุปกรณ์ตรวจจับหรือเซ็นเซอร์หลายพันตัวที่ติดตั้งตามจุดต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบสิ่งแวดล้อมภายในอาคาร ไม่ว่าจะเป็นความเคลื่อนไหวและอุณหภูมิ ไปจนถึงความชื้น การเข้าใช้พื้นที่ แสงสว่าง เป็นต้น

นอกจากนั้นแล้ว ในอาคารหลายแห่ง ซึ่งปัจจุบันมักประกอบไปด้วยระบบต่างๆ ที่ถูกบริหารจัดการแบบแยกส่วนและไม่ทำงานเชื่อมโยงประสานกัน เช่น ระบบปรับอากาศ ประปา ท่อระบายน้ำ ไฟฟ้า ฯลฯ เป็นต้น ในอนาคต ระบบต่าง ๆ เหล่านี้จะถูกบริหารจัดการแบบรวมศูนย์ เพื่อทำให้การบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด

ยิ่งไปกว่านั้น ระบบอัจฉริยะต่าง ๆ จะมีบทบาทมากขึ้นในหลาย ๆ ด้าน เช่น ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้อยู่อาศัยหรือใช้บริการในอาคารนั้น ๆ ช่วยอาคารประหยัดการใช้ทรัพยากร หรือช่วยลดปัญหาโลกร้อน เช่น ช่วยตรวจสอบระดับการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ในแบบเรียลไทม์ หรือในกรณีที่มีปัญหาอุปกรณ์บางชิ้นอาจไม่ทำงานหรือชำรุดเสียหาย ระบบอัจฉริยะนี้จะช่วยจัดการซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ ก่อนที่อุปกรณ์นั้นจะหยุดทำงาน เป็นต้น

ที่ผ่านมา มีอาคารหลายแห่งในปัจจุบัน ที่ติดตั้งระบบอัจฉริยะเพื่อช่วยบริหารจัดการระบบงานหลายประเภทแล้ว เช่น ช่วยลดการใช้พลังงาน ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ หรือเพิ่มความสะดวกสบายและความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้พื้นที่ภายในอาคาร ตัวอย่างเช่น โรงแรมไชน่า หังโจว ดราก้อน (China Hangzhou Dragon Hotel) ในประเทศจีน ที่เปิดโอกาสให้ไอบีเอ็มช่วยพัฒนาระบบบริหารจัดการโรงแรมที่ทำให้อุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ สามารถทำงานเชื่อมโยงถึงกันได้แบบอัจฉริยะ ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้เอง ถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับปรุงของโรงแรมสู่การเป็น“โรงแรมอัจฉริยะ” เป็นต้น

  • · รถยนต์และรถประจำทางจะไม่ใช้น้ำมันและก๊าซอีกต่อไป

นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่ตัวอักษร “E” บนมาตรวัดน้ำมันในรถยนต์ จะหมายถึง “Enough” หรือ “เพียงพอ” เพราะในอนาคตอันใกล้ รถยนต์และรถประจำทางจะไม่ต้องพึ่งพาพลังงานฟอสซิล เช่น น้ำมันและก๊าซ อีกต่อไป นั่นหมายถึง ในอนาคต รถยนต์จะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ชนิดใหม่ซึ่งรองรับการใช้งานได้นานหลายวันหรือหลายเดือนก่อนที่จะมีการชาร์จไฟอีกครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้ใช้งานรถคันนั้นบ่อยแค่ไหน  ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ของไอบีเอ็มและองค์กรพันธมิตรหลายแห่ง ได้ร่วมมือกันพัฒนาแบตเตอรี่ชนิดใหม่ที่ทำให้รถยนต์วิ่งได้ไกลถึง 300 ถึง 500 ไมล์ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่วิ่งได้เพียง 50 ถึง 100 ไมล์ นอกจากนี้ โครงข่ายระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ตามเมืองใหญ่หลายแห่งจะเปิดโอกาสให้รถยนต์สามารถชาร์จไฟในที่สาธารณะได้ อีกทั้งช่วยให้บุคคลทั่วไปสามารถใช้พลังงานที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Renewable Energy) เช่น พลังงานลม เป็นต้น เพื่อช่วยชาร์จแบตเตอรี่ โดยไม่ต้องพึ่งพาโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากถ่านหินอีกต่อไป  ด้วยวิธีการเหล่านี้เอง จะช่วยให้เมืองต่าง ๆ หลายแห่งสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศควบคู่ไปกับการช่วยลดมลภาวะทางเสียงไปในเวลาเดียวกัน

หนึ่งในตัวอย่างของพันธมิตรที่ร่วมมือกับไอบีเอ็มในโครงการดังกล่าว ได้แก่ กลุ่มความร่วมมือด้านการวิจัย ‘เอดิสัน’ ของประเทศเดนมาร์ก (EDISON Research Consortium) ซึ่งทำงานร่วมกับไอบีเอ็มในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะ เพื่อรองรับการใช้รถไฟฟ้าจำนวนมากที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานทางเลือกอย่างยั่งยืน (sustainable energy)

  • · ระบบอัจฉริยะจะทำหน้าที่บริหารจัดการน้ำและการประหยัดพลังงานในเมืองใหญ่

ปัจจุบัน ปัญหาเรื่องการบริหารจัดการน้ำถือเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งของโลก เนื่องจาก ทุกวันนี้ ประชากร 1 ใน 5 ของโลกไม่สามารถเข้าถึงน้ำดื่มที่สะอาดปลอดภัยได้ ในขณะเดียวกัน หน่วยงานของรัฐฯ ในหลาย ๆ เมืองทั่วโลกมีปัญหาการสูญเสียน้ำอย่างไม่จำเป็น โดยราว 50 เปอร์เซ็นต์ของปัญหาดังกล่าวมีสาเหตุมาจากการใช้อุปกรณ์จัดเก็บน้ำที่ไม่ได้มาตรฐานหรือชำรุด ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการคาดการณ์กันว่าความต้องการน้ำของมนุษย์จะเพิ่มขึ้น 6 เท่าในอีก 50 ปีข้างหน้าซึ่งถือเป็นปัญหาสำคัญที่โลกต้องรับมือในอนาคตอันใกล้ ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมกับปัญหาดังกล่าว ปัจจุบันเมืองต่างๆ ได้มีการติดตั้งระบบประปา ‘อัจฉริยะ’ ซึ่งทำหน้าที่ช่วยลดการสิ้นเปลืองน้ำได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์  นอกจากนั้น ที่ผ่านมาในหลาย ๆ เมืองทั่วโลก ได้มีการใช้ระบบท่อระบายน้ำ ‘อัจฉริยะ’ ที่นอกจากจะช่วยป้องกันการปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำลำคลองแล้ว ยังช่วยกรองน้ำให้สะอาดจนสามารถดื่มได้อีกด้วย  เทคโนโลยี ‘อัจฉริยะ’ สำหรับการกรองน้ำดังกล่าวนี้ช่วยให้เมืองต่างๆ สามารถนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ภายในชุมชน ซึ่งจะช่วยลดพลังงานที่ใช้ในการขนส่งน้ำลงได้ถึง 20 เปอร์เซ็นต์

ยิ่งไปกว่านั้น ในอนาคตอันใกล้จะมีความพยายามผนวกรวมเครื่องตรวจวัดแบบ ‘อัจฉริยะ’ หรือมิเตอร์แบบอินเทอร์แอคทีฟและเซนเซอร์เข้ากับระบบประปาและไฟฟ้า ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวทำขึ้นเพื่อวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลอย่างแม่นยำแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับการใช้น้ำและไฟฟ้าของผู้ใช้ตามบ้าน เพื่อทำให้ผู้ใช้เองสามารถบริหารจัดการการใช้น้ำและไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านปริมาณหรือเวลา

  • · เมืองต่างๆ จะตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที ก่อนที่จะได้รับโทรศัพท์แจ้งเหตุ

ในอนาคตอันใกล้ เมืองต่าง ๆ จะมีความสามารถในการลดและป้องกันเหตุฉุกเฉิน เช่น อาชญากรรมและภัยพิบัติ ได้ดีกว่าในปัจจุบันด้วยการใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและระบบอัจฉริยะ

ที่ผ่านมา ไอบีเอ็มได้ทำงานร่วมมือกับหน่วยงานปราบปรามอาชญากรรมในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้องอย่างฉับไว เพื่อให้การดำเนินมาตรการเชิงรุกในการป้องปรามอาชญากรรมทำได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น  ยกตัวอย่างเช่น ล่าสุด ไอบีเอ็มได้ร่วมงานกับหน่วยดับเพลิงแห่งนครนิวยอร์ก (Fire Department of the City of New York) ที่ได้ให้ความไว้วางใจไอบีเอ็มในการพัฒนาระบบที่ทันสมัย เพื่อช่วยเก็บรวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพในแบบเรียลไทม์ เพื่อป้องกันเหตุเพลิงไหม้ที่อาจเกิดขึ้น และช่วยคุ้มครองเจ้าหน้าที่ดับเพลิงไปในเวลาเดียวกัน

View :1886