Archive

Archive for the ‘Article’ Category

นักการเมือง/การตลาดดิจิทัล เชื่อ social media มีอิทธิพลสูงมากต่อการเลือกตั้งในครั้งนี้

January 15th, 2019 No comments

นักการเมือง/การตลาดดิจิทัล เชื่อ social media มีอิทธิพลสูงมากต่อการเลือกตั้งในครั้งนี้ อาจมีการใช้กลยุทธ์​ fake news แบบเนียนๆ มีการทำ personalized แคมเปญเจาะกลุ่มเฉพาะเจาะลง 

ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กว่าวว่า พรรคการเมืองใช้ social media ในการหาเสียงเลือกตั้งมากกว่าครั้งก่อนๆ เพราะว่าอิทธิพลของ social media เข้ามาทดแทนสื่อกระแสหลัก คนเสพรับและกระจายข้อมูลข่าวสารมากกว่า สื่อ social media มีอิทธิพลมากขึ้น แต่ละพรรคมีการจ้างคนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารจัดกาสรขจ้อมูลเนื้อหาบน social media แต่ยังไม่เห็นการเปิดให้รับฟังความเห็นของประชาชน เน้นการนำเสนอกิจกรรม/ ทัศนคตดิ ของตัวผู้สมัคร/พรรคการเมืองเองมากกว่า

แต่ยิ่งใกล้วันเลือกตั้ง ปัญหาเรื่องข่าวหลอก/ข่าวลวง การบิดข้อมูลบางอย่างเพื่อประโยชน์ต่อพรรคการเมืองของตนเอง จะเห็นมากขึ้นเรื่อยๆ ประชาชนและสื่อมวลชนต้องระวัง เพื่อไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือในการปั่นกระแส ต้องตรวจสอบข้อมูลข่าวสารอย่างละเอียด ครบถ้วนก่อนนำเสนอ 

แข่งขันกันรุ่นแรง มีการปล่อยทั้งข่าวจริงข่างลวง บางครั้งไม่ใช่ข่าวเท็จ แต่เลือกนำเสนอข่าวสาร/ข้อมูลแค่บางอย่างที่ตัวเองได้เปรียบ หรือให้คู่ต่อสู้เสียเปรียบ สื่อมวลชนกระแสหลักต้องตรวจสอบคัดกรอง 

Social media อาจไม่มีผลโดยตรงต่อผลการเลือกตั้งในครั้งนี้ แต่มีส่วนในการตอกย้ำความเชื่อทางการเมืองของคน ยิ่งใกล้วันเลือกตั้งยิ่งต้องระวัง 

เชื่อว่าแต่ละพรรคการเมืองจะใช้กลยุทธ์การสื่อสาร fake news เป็นอาวุธลับของพรรคการเมือง แต่ไม่ใช้ fake news แบบข้อมูลเท็จ 100% แต่นำเสนอข้อเท็จจริงแค่ 70-80% ของข้อเท็จจริงแล้วบิดประเด็น หรือข้อเท็จจริงทั้งหมดแต่เลือกตีความบางอย่างมานำเสนอเท่านั้น เพื่อทำให้คนเข้าใจผิด เพื่อโจมตีคู่แจ่ง หรือเพื่อสนับสนุนตัวเอง /พรรคตัวเอง 

นักข่าวต้องชี้แจ้งประชาชนว่าส่วนไหนคือ ข้อเท็จจริง ส่วนไหนคือข้อมูบที่ผ่านการตกแต่งมา ส่วนประชาชนก็ต้องระวังในการเสพข้มูล ต้องใช้พลังของ social ในการตรวจสอบข้อเท็จจริง 

นักการเมืองไทยไม่ได้ใช้ social media เป็นประจำ ทำให้มีลุกเล่นในการใช้ social media สู้นักการเมืองในต่างประเทศที่นักการเมืองใช้ social media เป็นประจำ ไม่ได้ 

ในไทยลักษณะการใช้เป็นลักษณะของทีมงานเป็นหลักมากกว่า ทำมให้การสื่อสารไม่ทันทีทันใดเท่าสื่อเอง 

Social media ที่มีอิทธิพลต่อการเลือตั้งในครั้งนี้คือ LINE Facebook และ Twitter ซึ่งมีบทบาทแต่ต่างกัน Twitter ใช้เพื่อสื่อสารอย่างรวดเร็ว ส่วน Facebook เน้นการสื่อสารเป็นกลุ่ม เน้นการ engagement ส่วน LINE มีทั้งสื่อสารแบบ 1 ต่อ 1 หรือเป็นกลุ่ม จะมีการใช้งานร่วมกันทุก social media อาทิ ปล่อยคลิปลง YouTube แล้วค่อยมาปั่นกระแสต่อใน LINE Facebook และ Twitter

ชนัฐ เกิดประดับ social media communication specialist กล่าวว่า บทบาทของ social media คือ เป็น mass media แต่มี niche เฉพาะกลุ่ม และพรรคการเมืองเจาะเลยว่าใน niche นั้นใครคือ micro-incluencer ในกลุ่มนั้น ก็จะเอามาเป็นหัวคะแนนออนไลน์ ซึ่งหัวคะแนนใน social media จะเป็นหัวคะแนนในเรื่องของนโยบาบ เรื่องของแนวคิด ไม่ได้เป็นหัวคะแนนแบบแจกเงิน ซึ่งเป็นเรื่องใหม่มากๆ สำหรับเมืองไทย

“บนโลก social media ร้อนฉ่าใน niche แต่ละกลุ่ม ทำให้พรรคการเมืองใหญ่ หรือคนที่กุมอำนาจอยู่ไม่ได้ได้เปรียบ และผล poll ก็อาจจะมไ่เป็นอย่างที่ออกมา ในกลุ่มย่อยๆ ที่เป็น niche ไม่มีใครรู้ว่า เขาคุยออะไรกัน แล้วคะแนนออกมาเป็นยังไง”

เลือกตั้งครั้งที่แล้ว socail media เพิ่งเป็นที่นิยม และกลุ่มผู้ใช้งานยังไม่ mass เท่ากับในวันนี้ วันนี้ social media มีมากและหลากชนิดขึ้น เข้าถึงกลุ่มคนที่มีความหลากหลายมากขึ้น มีตั้งแต่ผู้สูงอายุเล่น LINE กลุ่มเด็กเข้ามาใช้ Twitter มากขึ้น เพราะฉะนั้น ส่ิงแรกเลยที่เห็นความแตกต่างของบทบาทของ social media ต่อการเลือกตั้งในครั้งนี้คือ ในมิติของฐานมวลชนกว้างขึ้นและหลากหลายขึ้น ประการต่อมา มีความเป็น niche มากขึ้น เจาะเฉพาะกลุ่มมากขึ้น เราจะเห็นกลุ่มต่างๆ ของคนบน social media เยอะมาก โดยเฉพาะบน Facebook และ LINE และ Twitter ที่มีการใช้ # เพื่อสื่อสารในกลุ่ม

การใช้ social media เพื่อการสื่อสารทางการเมือง ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย จะมีความเฉพาะ และต้อง customize มากขึ้น ไม่เหมือนครั้งที่แล้วที่ social media เหมือนป้ายหาเสียงบนออนไลน์ ที่พรรคการเมืองใช้ประกาศนโยบายพรรค แต่ครั้งนี้บางพรรคเริ่มที่จะมีนโยบายบางอย่างและโฟกัสที่บางกลุ่ม แล้วสื่อสารผ่าน social media นอกจากนี้ ยังมีการใช้การทำ data mining ว่ากลุ่มไหนสนใจนโยบายด้านไหน แล้วมีการโยนนโยบายลงไปใน socila media กลุ่มนั้น มีการใช้ AI จับข้อมูลว่าในแต่ละกลุ่มเขาพูดคุยเรื่องการเมืองอะไรกัน และมีใครเป็น influencer 

“การใช้สื่อ traditional ในการหาเสียงจะน้อยลง ยกเว้นในเรื่องนโยบายใหญ่ๆ เพราะใช้เงินเยอะ และสาดกระจายกลุ่มคน โดยไม่รู้ว่าคุ้มไหม นอกจากนี้ social media เป็นโอกาสใหม่ๆ ให้กับพรรคการเมืองใหม่ๆ การสื่อสารด้านการเมือง (political communication) ไม่ใช่เรื่องของเงินทุนอย่างเดียว เพราะทุกคนสามารถเข้าถึงและเป็นจ้าของสื่อได้ แต่มันเป็นเรื่องของการที่เขาสามารถเอาสิ่งที่เขาเขียน content creator คือ เขาจะต้องเขียนเนื้อหาให้เข้าถึงกลุ่มคน​ โดยใช้ภาษาที่เข้าถึงคนแต่ละกลุ่ม นักการเมืองยุคนี้ต้องโชว์​ sincerity ในการสื่อสารผ่าน social media เพราะจะมีคนคอยตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา”

ข่าวปลอม fake news จะมีเยอะมากบน social media ไม่ว่าจะเป็นการตัดต่อ การโจมตี (สารพัดเรื่อง) พรรรคการเมืองมีวิธีในการรับมือกับ crisis management ได้ไว้แค่ไหน 

Social media มีผลมากต่อการเลือกตั้ง เพราะเด็กรุ่นใหม่ที่เพิ่งจะมีสิทธิได้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งอยู่บน social media เยอะมาก และใช้เวลาอยู่บน social media เยอะมากกว่าบนเวลาบน traditional media ฉะนั้น พรรคการเมืองไหนสามารถยึดครองคนกลุ่มนี้ได้ชนะ นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มคนแก่ ที่ชอบเล่น LINE พรรคการเมืองควรรู้ว่า social media ไหนเข้าถึงกลุ่มคนเหล่านี้ และรู้ว่าคนเหล่านี้ต้องการนโยบายอะไร และถ้าเกิดดราม่ากับพรรคการเมือง จะสามารถแก้ปัญหาได้ทันที อันนี้ชนะ 

Social media มีผลมากและยากมากสำหรับพรรคการเมืองไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองที่มีทีมงานบริหารจัดการให้ ทีมงานดีแต่ content ที่ออกไปกับภาพลักษณ์พรรคตรงกันไหม ทีมงานไม่ดีโอกาสหลุดสูง ทีมงานดี ทุกอย่างดี แต่สื่อสาร fake ออกไป จะมีถูกตรวจสอบโดยกระแสของ social 

รอบนี้คะแนนเสียงยากคาดเดา เพราะมีกลุ่ม niche ที่กระจายอยู่บน social media เยอะมาก 

การหาเสียงของพรรคการเมือง จะมีทั้ง talk big จับกลุ่ม mass และมีการสื่อสารแบบ customized ทั้งสองอย่างเดินไปด้วยกัน 

“การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการวัดกันว่า ใครจะชนะ ระหว่างคนสูงอายุ โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ที่ชอบประชานิยม กับคนรุ่นหนุ่มสาว ซึ่งส่วนใหญ่ anit ประชานิยม หาก กลุ่มคนหนุ่มสาวชน social media ชนะสื่อ traditional meida”

ผศ.สกุลศรี ศรีสารคาม หัวหน้าสาขาวารสารศาสตร์คอนเวอร์เจ้นท์ คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ การใช้ social media เข้มข้นมากกว่าครั้งก่อนมาก เพราะคนมีทักษะการใช้งานมากขึ้น การทำ content ธรรมดาจะไม่สามารถจูงใจ/สร้างฐานเสียง ฐานแฟนได้ ฉะนั้น การทำ content จะเนียนขึ้น จนแยกไม่ออกว่า หาเสียง หรือปั่นกระแส ยั่วยุ ทำลายฝั่งตรงข้าม 

คนจำนวนมากอยู่ในภาวะที่ยังตัดสินใจไม่ได้ ถ้าได้รับข้อมูลอะไรเป็นประจำมีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งแน่นอน ส่วน fake news จะมีเยอะมาก และจะเนียนมาก  จะแทรกอยู่ในทุกๆ message ไม่ใช่ข่าวปลอม แต่เป็นข้อมูลที่จริงบางส่วน ข้อมูลที่ตัดต่อ ปั่นกระแส จูงใจความคิด 

“ความน่ากลัวคือ เราจะแยกข้อเท็จจริงความเห็นและกระแสการปั่นให้เกลียดกันไม่ชอบกัน หรือเลือกฝ่าย ได้ยากมากขึ้น กว่าครั้งที่ผ่านมา จะมีกระบวนการการใช้ social media ที่ซับซ้อนขึ้น เพราะทุกคนเรียนรู้แล้วว่า social media มีอิทธิพลมากขนาดไหน มีอิทธิพลจากต่างประเทศด้วยว่า แค่ทำให้คนเห็นข้อมูลอะไรอย่างเดียวเยอะๆ จะทำให้คนเชื่อได้แน่นอน ฉะนั้น จะเห็๋น content ที่ทำมห้คนเลือกข้าง จะถูก feed มาบน social media มากขึ้นมาก เพราะฉะนั้น คนจะต้องมี election literacy มากๆ เราเห็นคนรู้เท่าทันสื่อ social media มากขึ้น พลเมืองที่มีความ active รู้กระบวนการในการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพิ่มมากขึ้น คนกลุ่มนี้ ที่เป็น active citizen มีความสนใจทางการเมือง มีความรู้เท่าทันสื่อ คือความหวัง ให้เกิดการใช้ social media เพื่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างสร้างสรรค์” 

ณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง นักการตลาดดิจิทัล กล่าวว่า นี่เป็นครั้งแรกที่เห็นการเลือกตั้งในไทยในช่วงเวลาที่การใช้ดิจิทัลมันสุกงอม ซึ่ง Social media มีบทบาทต่อการเลือกครั้งนี้มาก เพราะ social media คือ หนึ่งในช่องทางรับข่าวสารหลักของประชาชนในกลุ่มใหญ่ๆ ของสังคมปัจุบัน การรับข้อมูลข่าวสาร ทำให้คนเปลี่ยนทัศนคติ/ ความเชื่อ Social media แต่ละตัวมีบทบาท แต่มีบทบาทที่แตกต่างกัน ตามแต่ละกลุ่มคน

กลไกสื่อโฆษณาบนออนไลน์ ที่สามารถระบุเฉพาะเจาะจงการเข้าถึงในรายบุคคล ไม่ใช่การ broadcast ทำให้มีความเสี่ยงในการเล็ดลอดการตรวจสอบ สมัยก่อนแคมเปญหาเสียง ออกทีวี คนทั้งประเทศเห็นแคมเปญเดียวกัน แต่หากมาลงโฆษณาผ่าน Facebook Google ที่เป็น personalized ads/dynamic ads ทำให้คนแต่ละคนได้รับข้อมูลที่ไม่เหมือนกัน แตกต่างกันไป คำถามคือ กกต.​มีเครื่องมือในการตรวสจสอบเรื่องเหล่านี้ครบถ้วนหรือไม่ ถ้าหากคนแต่ละคนได้ข้อมูลที่ไม่เหมือนกัน แตกต่างกัน จะนำมาสู่ bias และการตัดสินใจที่แตกต่างกัน 

ประชาธิปไตยที่ดีเกิดขึ้นจากการที่ทุกคนได้รับข้อมูลตรงกัน เดียวกัน แล้วทุกคนตัดสินอยู่บนพื้นฐานว่าในข้อมูลที่ทุกคนมี แต่ละคนเลือกที่จะเลือกอะไร หากมีการใช้เครื่องมือบน social media ที่มีความเป็น personbalized สูง กลายเป็นว่า แต่ละคนได้ข้อมูลที่ไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน เจตจำนงของประชาธิปไตยที่ให้ทุกคนเลือกบนพื้นฐานข้อมูลเดียวกันอาจจะไม่เกิดขึ้น กกต ต้องควบคุมตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่ามันเป็น fair game 

Fake news ไม่ใช่ข่าวปลอม แต่คือ distort information คือ ข้อมูลที่ถูกตัดแต่ง เปลี่ยนแปลง บิดเบือน หรือการทำ selective truth ถ้าข้อมูลข่าวสารถูกบิดเบือน ทำให้เกิดความเชื่อ และความคิดในการเลือกฝ่ายไหน ไม่เลือกฝ่ายไหน

“ผมห่วงว่าคนที่คุมการเลือกครั้งนี้ รู้เท่าทันสื่อ social media ไหม การเลือกตั้งครั้งนรี้เรารอมานาน อยากให้มันยุติธรรม คนทีกำกับดูแลเองควรศึกษาทำความเข้าใจ และเข้าไปคุยกับเจ้าของแพลตฟอร์ม ปรับความเข้าใจว่าจะมีวิธีการอย่างไร เพื่อป้องกันอย่างเป็นกลาง และเป็นธรรมกับทุกๆ ฝ่าย ไม่ใช่เป็นการปิดกั้นข่าวสาร แต่เป็นการที่เราป้องกันไม่ให้คนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ผิดๆ” 

ภูมิจิต ศิระวงศ ประเสริฐ Thai Directory Editor for curlie.org กล่าวว่า ครั้งที่แล้ว social media ถูกใช้เหมือน traditional media เหมือนซื้อโฆษณา แต่ตอนนี้ ไม่ใช่แค่พรรค แต่นักการเมืองเข้ามาสื่อสารกับประชาชนบน social media ทำให้ประชาชนรู้สึกมี power มากขึ้น comment ไปถึงเขาได้ ครั้งนี้มีการจัดตั้งทีมงาน มีการจ้างเอเจนซี่เพื่อทำการสื่อสารทางการเมืองผ่าน social media แทนการซื้อโฆษณาประกาศนโยบายพรรค  

มองว่าพรรคการเมืองจะใช้กลยุทธ fake news เพื่อบอกความจริงครึ่งนึง แต่ไม่ใช่การโกหก หลอกลวง เพราะคนจับผิดกันเร็วมาก และมองว่า social media จะมีบทบาทชี้ผลการเลือกตั้งในกลุ่ม swing vote ในกลุ่มเด็กรุ่นใหม่ 

 

View :3951

ธุรกิจ E-Commerce ปี’56…คาดเติบโตร้อยละ 25-30

July 2nd, 2013 No comments

ความก้าวหน้าของระบบไร้สาย 3G บนอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ประกอบกับการซื้อขายออนไลน์ หรือ E-Commerce ผ่านอุปกรณ์ไอทีแบบเดิมอย่างคอมพิวเตอร์ ที่มีข้อจำกัดในเรื่องของความสะดวกสบายในการพกพาและการใช้งาน ผลักดันให้การซื้อขายออนไลน์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ หรือที่เรียกว่า “M-Commerce” กลายเป็นช่องทางใหม่ที่มาแรง และน่าจะเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยหนุนการเติบโตของการซื้อขายออนไลน์ในระยะต่อจากนี้ไป ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ธุรกิจ E-Commerce ในปี 2556 น่าจะมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยได้รับปัจจัยหนุนสำคัญต่างๆ ดังนี้

การเปิดให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz หนุนยุค E-Commerce บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ การทยอยเปิดให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาของผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ได้มีส่วนสร้างความพร้อมในด้านโครงข่ายการสื่อสารไร้สายความเร็วสูง ซึ่งเมื่อประกอบกับความนิยมในอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่มีสมรรถนะสูงอย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต จะกลายเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญส่วนหนึ่งในการผลักดันกิจกรรมการตลาดและการจับจ่ายสินค้าและบริการออนไลน์ให้เข้าสู่ยุค M-Commerce โดยนักการตลาดสามารถประยุกต์ใช้ช่องทางดังกล่าว ในการดึงดูดให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงและซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา

พฤติกรรมผู้บริโภคที่นิยมการทำกิจกรรมออนไลน์และความเชื่อมั่นในระบบความปลอดภัย พฤติกรรมผู้บริโภคโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน มีความเคยชินกับการทำกิจกรรมต่างๆ ออนไลน์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น การท่องอินเทอร์เน็ตบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ และการเข้าถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นต้น โดยสามารถดูได้จากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและต่อเนื่องของการใช้บริการด้านข้อมูลบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ของผู้บริโภคโดยในปี 2555 มีการเติบโตของมูลค่าการใช้บริการด้านข้อมูลสูงถึงร้อยละ 44.1 คิดเป็นมูลค่า 50,800 ล้านบาท

สำหรับในปี 2556 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า มูลค่าการใช้บริการด้านข้อมูลบนอุปกรณ์เคลื่อนที่น่าจะขยายตัวราวร้อยละ 39.7-47.5 คิดเป็นมูลค่า 70,900-74,800 ล้านบาท ทั้งนี้ ความนิยมในกิจกรรมออนไลน์ของผู้บริโภค ประกอบกับความเชื่อมั่นในระบบความปลอดภัยในการสั่งซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งความเชื่อมั่นในตัวผู้ประกอบการ ความเชื่อมั่นในระบบการชำระเงิน และการเก็บรักษาข้อมูลต่างๆ ก็น่าจะเป็นแรงผลักดันหนึ่งให้ผู้บริโภคหันมาใช้บริการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่มากขึ้น

การสร้างช่องทางการตลาดและออกแคมเปญเพื่อกระตุ้นการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ ผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ต่างพัฒนาและเปิดตัวแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่อำนวยความสะดวกผู้บริโภคในการค้นหา ตรวจสอบข้อมูลโปรโมชั่น พร้อมทั้งชำระค่าสินค้าและบริการแบบครบวงจร นอกจากนี้ ในด้านการชำระเงินสำหรับบริการซื้อขายออนไลน์ สถาบันการเงินต่างๆ ได้พัฒนาระบบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการต่างๆ พร้อมทั้งออกโปรโมชั่นทางการตลาดเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ โดยผู้บริโภคจะได้รับส่วนลดเมื่อชำระเงินออนไลน์ด้วยบัตรต่างๆ ดังกล่าว ซึ่งคาดว่าน่าจะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาสนใจและจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการออนไลน์มากขึ้น

จากแนวโน้มและปัจจัยสำคัญต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2556 มูลค่าตลาดธุรกิจ E-Commerce จะมีอัตราการเติบโตประมาณร้อยละ 25 ถึง 30 หรือคิดเป็นมูลค่าราว 1.32 ถึง 1.35 แสนล้านบาท โดยสินค้าที่น่าจะมีการจับจ่ายมากที่สุดยังคงเป็นกลุ่มสินค้าที่มีราคาไม่สูงมากนัก อาทิ สินค้าแฟชั่น (เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า) เครื่องสำอาง และอาหารเสริม เป็นต้น

การประยุกต์ 3G กับ E-Commerce …ช่องทางการตลาดยุคใหม่ของผู้ประกอบการ

ระบบสื่อสารไร้สาย 3G บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ นอกจากจะถูกใช้เป็นช่องทางสำหรับผู้ประกอบการในการให้บริการซื้อขายสินค้าและบริการออนไลน์แล้ว ผู้ประกอบการยังสามารถประยุกต์ใช้ความสามารถของอุปกรณ์เคลื่อนที่ในการทำการตลาดเพื่อส่งเสริมการประกอบกิจกรรมเชิงธุรกิจได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งมีการพัฒนารูปแบบใหม่ๆ อยู่เสมอ โดยตัวอย่างการประยุกต์ใช้ที่มักพบเห็นในปัจจุบันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น เชื่อมต่อกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อทำการตลาด และสร้างฐานลูกค้า จากจำนวนผู้ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องอย่างก้าวกระโดดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประกอบกับระยะเวลาที่ผู้บริโภคอยู่บนเครือข่ายสังคมออนไลน์แต่ละวันก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในปัจจุบันอยู่ที่ระดับเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าวันละ 3 ชั่วโมง โดยเฉพาะการเชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่สามารถกระทำได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งนับเป็นโอกาสของผู้ประกอบการที่จะใช้ช่องทางดังกล่าวในการทำการตลาด อาทิ การประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคได้เข้าถึงและรับรู้ข่าวสารได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง การสนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน เป็นต้น

การทำการตลาดผ่านระบบระบุพิกัดสถานที่บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ โดยผู้บริโภคสามารถรับทราบถึงข้อมูลของร้านค้าในบริเวณที่ตนอยู่ รวมไปถึงโปรโมชั่นที่น่าสนใจ และสามารถเลือกเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ หรือหาเส้นทางไปยังร้านค้าดังกล่าวได้

อย่างไรก็ดี รูปแบบการดำเนินธุรกิจ E-Commerce ผ่านเครื่องมือต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของกลุ่มเป้าหมายที่มักเป็นกลุ่มขนาดเล็กและส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มวัยรุ่น ทำให้เป็นโอกาสสำหรับธุรกิจบางประเภทที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่มเท่านั้น อาทิ สินค้าแฟชั่นวัยรุ่น (เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า) สินค้าเพื่อสุขภาพและความงาม (อาหารเสริม เครื่องสำอาง) แต่ถึงกระนั้น ด้วยเทคโนโลยีทางด้านไอทีที่ถูกพัฒนาให้มีการใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน อีกทั้งยังมีราคาไม่สูงนัก ประกอบกับไลฟ์สไตล์ที่เป็นแบบสังคมเมืองและกระจายออกสู่ต่างจังหวัด (Urbanization) ก็น่าจะช่วยสนับสนุนให้ฐานลูกค้า E-Commerce ขยายตัวมากขึ้นในระยะข้างหน้า

การเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ประกอบการ E-Commerce

การทำธุรกิจบริการซื้อขายสินค้าและบริการออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จนั้น ยังมีข้อพึงคำนึงอยู่บางประการที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องทำความเข้าใจและเตรียมพร้อมเพื่อรองรับโอกาสทางธุรกิจ ดังนี้

การบริหารจัดการระบบส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพ นับได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ E-Commerce ผู้ประกอบการควรมีการเตรียมระบบจัดส่งสินค้าที่รวดเร็ว ตรงเวลา และสามารถตรวจสอบสถานะได้โดยลูกค้า โดยผู้ประกอบการอาจร่วมเป็นพันธมิตรกับผู้ประกอบการที่ให้บริการรับจัดส่งสินค้าตามบ้านซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านระบบจัดส่งสินค้าอยู่ก่อนแล้ว

ระบบชำระเงินที่น่าเชื่อถือ นับได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญอีกประการที่จะสร้างความไว้วางใจแก่ลูกค้าในการจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการในร้านค้าออนไลน์ โดยทางเลือกหนึ่งของผู้ประกอบการที่น่าจะสะดวกและลดขั้นตอนการพัฒนาระบบการชำระเงินเอง คือ การเลือกใช้ระบบที่พัฒนาโดยสถาบันการเงิน ซึ่งนอกจากจะสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคแล้ว ยังอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในการจัดการทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ

การพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ใช้งานง่าย ผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการออนไลน์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ จำเป็นต้องเตรียมพัฒนาแอพพลิเคชั่นจากมุมมองการใช้งานของผู้บริโภค เช่น ความสะดวกในการค้นหารายละเอียดสินค้าและบริการ ข้อมูลเปรียบเทียบสินค้าและบริการเพื่อประกอบการตัดสินใจ และข้อมูลโปรโมชั่นที่น่าสนใจ เป็นต้น โดยแอพพลิเคชั่นที่ถูกพัฒนาต้องใช้งานง่ายและไม่ซับซ้อน

กล่าวโดยสรุปแล้ว ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ธุรกิจ E-Commerce ของไทยยังมีแนวโน้มเติบโตได้อีกมาก ซึ่งนับเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการที่สามารถใช้เป็นช่องทางเสริมในการทำรายได้เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากการสร้างรายได้ผ่านช่องทางหลัก หรือในขณะเดียวกัน การเริ่มต้นทำธุรกิจผ่านช่องทาง E-Commerce น่าจะตอบโจทย์ได้ดีสำหรับผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจ แต่มีข้อจำกัดในเรื่องของเงินลงทุน เนื่องจากมีต้นทุนการดำเนินงานที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการทำธุรกิจแบบมีหน้าร้าน
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีอุปสรรคหรือปัจจัยเสี่ยงบางประการที่สร้างความกังวลให้กับผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้าและบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ผู้บริโภคมักมีความกังวล ได้แก่ คุณภาพของสินค้าไม่ตรงกับที่ระบุ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อความซื่อตรงของผู้ประกอบการ ซึ่งถ้าผู้ประกอบการสามารถสร้างความเชื่อมั่นและขจัดข้อกังวลดังกล่าวไปได้ ก็น่าจะมีส่วนผลักดันให้ผู้บริโภคไว้วางใจ จนเกิดการบอกต่อ และหันมาสนใจใช้บริการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์มากขึ้น

View :6053

สรุปความจากสัมภาษณ์และฟังบรรยายของ @JeffJarvis

June 7th, 2013 No comments

ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ Jeff Jarvis ผู้อำนวยการ ของ Tow-Knight Center for Entrepreneurial Journalism ที่ City University of New York …อยากจะสรุปประเด็นเก็บไว้ตรงนี้ก่อน (จากที่สัมภาษณ์และตอนที่ @JeffJarvis พูดบนเวที)

– คนทำสื่อต้องเปลี่ยนชุดความคิด หมดยุคการเป็น “นายทวารแห่งข่าวสาร”แล้ว มันพังทลายลงเพราะเทคโนโลยี ตอนนี้ข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้น สร้างขึ้น ถูกแชร์ส่งต่อ โดยทุกภาคส่วนในสังคม
– คนทำสื่อต้องเปลี่ยนบทบาทตัวเองจากนายทวารข่าวสาร เป็น “ผู้สร้างมูลค่าเพิ่มให้ข่าวสาร” เหล่านั้น อาทิ ต้องยื่นข้อมูลที่แพร่สะพัดทั่วไปว่าจริงหรือไม่อย่างไร สื่อสามารถช่วยยืนยัน “แหล่งข่าว” (คนที่เผยแพร่ข่าวสารนั้นๆ) ได้ว่าเป็นใคร เพื่อให้คนรับสารได้รับข้อมูล ว่าข่าวสารที่แพร่จากผู้นั้นน่าเชื่อถือหรือไม่เพียงใด
– สื่อจะต้องทำเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศข้อมูลข่าวสาร ไม่ต้องทำทุกอย่างเองทั้งหมด ทำเฉพาะส่วนที่เราถนัดและมีจุดแข็ง ส่วนที่เหลือปล่อยให้คนอื่นทำ แล้วก็ไปร่วมมือกับเขา
– สื่อต้องสร้าง”ความร่วมมือ” กับ ทุกภาคส่วนในสังคมที่มีส่วนในการสร้าง และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และสื่อต้องสร้าง “ความสัมพันธ์/ปฏิสัมพันธ์” กับ “คนอ่าน/คนดู” ไม่ใช่ตั้งหน้าตั้งตาทำข่าวโดยไม่สนใจความต้องการของคนในสังคม เพราะปัจจุบัน พฤติกรรมของคนที่บริโภคข่าวสารเปลี่ยนไป และซับซ้อนมากขึ้น เป็นส่วนตัว และมีความหลากหลายมากขึ้น สื่อเจอความท้าทายในการนำเสนอข่าวที่ตอบสนองคนหมู่มากกับตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคล ซึ่งในประด็นนี้สื่อจะต้องมีการทำการศึกษาตลาดมากขึ้น
– “สื่อ” และ “ข่าว” ไม่ใช่ ธุรกิจของเนื้อหาอีกต่อไป แต่เป็น “ธุรกิจบริการ” เราให้บริการ “ข่าว” ซึ่งธุรกิจบริการนี้ก็ต้องมี “การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า”ซึ่งก็คือ คนอ่าน/ คนดูข่าว
– แนวโน้มของสื่อในอนาคตคือ จะเป็นไปใน 2 ทิศทาง คือ “ใหญ่ไปเลย” กับ “เล็กไปเลย” ซึ่งสามารถเป็นพันธมิตรกันได้
– เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้เกิดสื่อขนาดเล็ก ที่เป็นแบบ entrepreneur journalism ได้ ซึ่งประเด็นอ่อนไหวของสื่อแบบนี้คือ ethic เพราะผู้บริหารและบก. คือ คนเดียวกัน (หรือกลุ่มเดียวกัน) ซึ่ง @JeffJarvis บอกว่า ประเด็นนี้ยังเป็นประเด็นที่ท้าทาย แต่กองบก.จะต้องยึดมั่นในหลักจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ และต้องฝึกอบรมวัฒนธรรมนี้ให้คนข่าวด้วย ซึ่งแน่นอนไม่มีอะไรมาการันตีได้ เพราะมันไม่ใช่กม.แต่ “สินทรัพย์” ที่มีค่าที่แท้จริงคนทำสื่อ คือ “ความน่าเชื่อ”

“สินทรัพย์” ที่มีค่าที่แท้จริงคนทำสื่อ คือ “ความน่าเชื่อ” !!!!

Jeff Jarvis
Blog: http://buzzmachine.com/
Twitter: https://twitter.com/jeffjarvis
Google Plus: https://plus.google.com/+JeffJarvis/posts

View :5457
Categories: Article Tags:

12 เทรนด์ สูตรสำเร็จของธุรกิจยุคโลกไร้พรมแดน

May 24th, 2012 No comments

ฟูจิตสึเผยรายงานพิเศษ บทวิเคราะห์แนวโน้มสำคัญทางธุรกิจที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในอนาคต

ฟูจิตสึ ผู้ให้บริการด้านไอทีรายใหญ่อันดับหนึ่งของญี่ปุ่น และอันดับสามของโลก ได้รวบรวมแนวคิดและวิสัยทัศน์ทางด้านเทคโนโลยีเพื่อองค์กรธุรกิจจากผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก นำเสนอแนวโน้ม 12 ประการที่สำคัญ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและพฤติกรรมของผู้บริโภคในรูปแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ไว้ในรายงานพิเศษ “Technology Perspectives A thought-provoking look at key forces of change” ดังนี้

1. ยุคแห่งข้อมูลเชิงลึกแบบฉับพลัน ผ่าน “ คลาวด์ – HPC”

ในโลกของยุคข้อมูลข่าวสารนั้นความรวดเร็วในการเข้าถึงและความสามารถในการรวบรวมสารสนเทศจากรอบด้าน ถือเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จขององค์กร และคาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าระบบต่างๆจะมีความซับซ้อนมากขึ้นทั้งในแง่ของระบบและการพัฒนาการของการเชื่อต่อถึงกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งความต้องการข้อมูลเชิงลึกแบบฉับพลัน ก่อให้เกิดสถาปัตยกรรมด้านการประมวลผลรูปแบบใหม่ ขณะที่บทบาทของไคลเอ็ต/เซิร์ฟเวอร์ที่กำลังโดดเด่นมากว่า 30 ปี กำลังจะหายไป บทบาทสำคัญจะตกอยู่ที่ระบบคลาวด์ ระบบประมวลผลสมรรถนะสูง (HPC – High-Performance Computing) ระบบวิเคราะห์เชิงลึก และลักษณะการทำงานแบบอัตโนมัติระหว่างเครื่องจักรกลด้วยกันโดยที่มนุษย์ไม่ต้องเข้ามาดูและสั่งการแต่เป็นการนำเทคโนโลยียุคใหม่เข้ามาเสริมชีวิตประจำวันได้อย่างน่าสนใจ

2. ธุรกิจไร้พรมแดน “เชื่อมต่อแบบไร้ขีด”

ธุรกิจไร้พรมแดนมอบช่องทางในการเข้าถึงลูกค้าให้แก่ธุรกิจในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ขนาดเล็กสามารถให้บริการโซลูชั่นแก่ธุรกิจขนาดใหญ่ทั่วโลกได้โดยไม่ติดข้อจำกัด ก่อให้เกิดโอกาสเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย คลาวด์จะกลายเป็นรากฐานสำคัญของบริการยุคใหม่ ภายใต้ความยืดหยุ่นที่มากขึ้นแก่ผู้บริโภค

3. เทคโนโลยีเพื่อมนุษย์ “Human Centric”

ระบบประมวลผลที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลางถือเป็นการพัฒนาการอันยิ่งใหญ่แห่งยุคศตวรรษที่ 21 มีแนวคิดหลักอยู่ที่การสร้างสรรค์แนวทางการทำงานของระบบไอทีให้ผสานกลืนกับรูปแบบการดำรงชีวิตของมนุษย์ ถือเป็นการต่อยอดจากยุคที่มีคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายเป็นศูนย์กลาง และเป็นการพลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ของมนุษย์ครั้งยื่งใหญ่อีกครั้ง โดยจะเข้ามาเปลี่ยนลักษณะการบริโภคและการดำเนินชีวิตของผู้คนให้มีความสะดวกขึ้น การนำเสนอสิ่งต่างๆ แก่ผู้บริโภคจะสอดคล้องกับความต้องการของแต่ละคนมากขึ้น อันเป็นผลมากจากความชาญฉลาดของระบบ ที่สามารถจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลของผู้บริโภคแต่ละคนได้อย่างละเอียด

4. ยุคแห่งสารสนเทศ ไม่ใช่เทคโนโลยี “Data Center not only Technology”

ในอนาคต สารสนเทศจะกลายเป็นทรัพย์สินใหม่ที่ช่วยสร้างสรรค์พัฒนาธุรกิจ ในการแข่งขันทางธุรกิจ ผู้ชนะคือผู้ที่ดึงประโยชน์ออกมาจากข้อมูลที่มีอยู่มากมายรอบข้างได้มากที่สุด ภายใต้อุปสรรคของปริมาณข้อมูลขนาดใหญ่ที่เพิ่มขึ้นที่ต้องเผชิญบนโลกนี้ถึง 5,000 ล้านกิกะไบต์ในทุกๆ 2 วันและมากขึ้นเรื่อยๆ ยุคต่อไปถือเป็นยุคแห่งการแข่งขันด้านข้อมูลข่าวสาร แข่งกันมากขึ้นเพื่อให้เข้าใจลูกค้าได้ดีกว่าเดิม องค์กรที่ไม่สามารถดึงประโยชน์จากสารสนเทศออกมาใช้งานได้จะกลายเป็นองค์กรที่ล้าหลังและขาดความแข็งแกร่งในการแข่งขันกับคู่แข่ง

5. โลกแห่งการเชื่อมต่อ “Internet of Thing”

เหมือนว่าทุกสสารของโลกนี้สามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างไม่น่าเชื่อ ภายใต้นิยามว่า Internet of Thing หรือสิ่งที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ในอนาคตการโต้ตอบแบบอัตโนมัติระหว่างอุปกรณ์กับอุปกรณ์จะมีเพิ่มมากขึ้นจนสามารถทำงานได้เองโดยที่มนุษย์ไม่ต้องเกี่ยวข้องแต่อย่างใด ข้อมูลข่าวสารส่วนใหญ่ในอนาคตจะถูกสร้างขึ้นโดยจักรกลที่มีความสามารถที่ใกล้เคียงมนุษย์ไปทุกขณะ

6. รูปแบบทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป “Cloud Changing”

การดำเนินธุรกิจในยุคใหม่ แต่ละบริษัทมีอิสระในการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรซึ่งกระจายอยู่ทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่โลกเวอร์ช่วลที่จับต้องไม่ได้ แต่เป็นแรงผลักดันสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ ปัญหาการติดตั้งที่ซับซ้อนมีการลงทุนค่าฮารด์แวร์อย่างมหาศาลเริ่มหมดไปด้วยแนวคิดของคลาวด์ และจะเริ่มเห็นผู้ให้บริการโซลูชั่นต่างนำเสนอแพลตฟอร์ม ซอฟต์แวร์ และบริการต่างๆ ในลักษณะทีมีความเฉพาะเจาะจงในฟังก์ชั่นการทำงานมากขึ้น และที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือ บางครั้งลูกค้าก็กลับเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นได้เช่นเดียวกัน

7. ปัจจัยจากโลกภายนอก “Crowdsourcing or co-creation”

ในอีก 5 ปีข้างหน้า เส้นแบ่งกั้นระหว่างองค์กร ผู้บริโภค และซัพพลายเออร์ จะลดลงจนแทบนิยามไม่ได้ ด้วยแนวคิดใหม่อย่าง คราวด์ซอร์สซิ่ง (crowdsourcing) หรือ โค-ครีเอชั่น (co-creation) ธุรกิจต้องหันมามองปัจจัยภายนอกมากกว่าเดิม องค์กรไม่สามารถที่จะยืนหยัดอยู่อย่างโดดเดี่ยวเหมือนเมื่อก่อนได้อีกต่อไป รวมไปถึงเรื่องของระบบความปลอดภัยที่ต้องไม่ใช่เรื่องการครอบครอง ควบคุม แต่ต้องมองถึงการปกป้องบุคคลและสารสนเทศมากขึ้นกว่าเดิม

8. ปฏิบัติการแห่งการมอบทางเลือก “Way to Success”

ปัจจุบันแนวคิดของการให้พนักงานใช้อุปกรณ์ดิจิตอลส่วนตัวในที่ทำงานกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งบริษัทเองก็ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านซอร์ฟแวร์ไปได้พอสมควร แต่จะมีปัญหาอุปสรรคในดเนการควบคุมการใช้งานและปัญหาการรั่วไหลและความปลอดภัยต่างๆ ดังนั้นการให้พนักงานใช้เหมือนกันหมดไม่ไช่ทางออกที่เหมาะสมในอนาคตแต่ควรให้พนักงานเลือกอุปกรณ์ที่พึงพอใจได้เอง อย่างไรก็ดีหากวางแผนอย่างเหมาะสม ก็สามารถเปลี่ยนบทบาทของเทคโนโลยีที่สร้างปัญหาเรื่องความปลอดภัย ให้กลายเป็นคำตอบที่ต้องการได้ไม่ยาก โดยอาศัยเทคโนโลยีคลาวด์ เวอร์ช่วลไลเซชั่น หรือซอฟต์แวร์เชิงบริการ หลักการสำคัญคือ ควรรู้ว่าใครต้องการอะไร และจับคู่ทางเลือกให้เหมาะสมที่สุดกับผู้ใช้แต่ละคน

9. ปฏิวัติรูปแบบการทำงานในยุคโซเชียลมีเดีย “Social Media”

ยุคปัจจุบันทุกคนต่างกลายเป็นผู้เสพติดโซเซียลมีเดีย และได้ปฏิวัติรูปแบบการดำเนินธุรกิจลักษณะเดิมให้ยากต่อการควบคุมและหลายองค์กรต่างขยาดกับการขยับตัวเข้าหาสื่อดังกล่าว แต่ต้องไม่ลืมว่าพลังของโซเชียลมีเดีย คือ พลังแห่งการเชื่อมต่อ และหากใช้อย่างเหมาะสม ก็จะกลายเป็นเครื่องมือสำหรับสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและตอกย้ำภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้อย่างดี ที่ต้องตระหนักไว้ก็คือ ยุคแห่งการดำเนินธุรกิจจะก้าวเข้าสู่การข้ามเส้นแบ่งบทบาทของผู้คนที่เป็นไปอย่างอิสระบนโลกโซเชียลมีเดียที่นับวันจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

10. ขุมพลังแห่งฝูงชน “Power of Human”

โลกที่ทุกส่วนเชื่อมต่อถึงกันได้อย่างสะดวกบนโลกออนไลน์ และผู้คนทั่วโลกจะมีส่วนช่วยกันสร้างธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอดีต อาจกล่าวได้ว่าแนวคิดเรื่องการทำงานร่วมกับฝูงชนบนโลกออนไลน์ กำลังกลายเป็นเป็นมิติใหม่ที่จะช่วยสร้างจุดแข็งให้แก่บริษัท ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรและผู้บริโภค ในแบบที่ทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์ และยังเปิดมิติใหม่ที่ช่วยให้องค์กรเข้าถึงบริการ หรือองค์ความรู้ที่สามารถนำมาต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของธุรกิจตนเองได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดด้วย

11. โครงสร้างองค์กรที่เปลี่ยนไป “Flexible organization”

การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีนั้นนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค ในยุคอนาคตแนวคิดที่จะรวบทุกสิ่งไว้ในมืออาจไม่ไช่ทางออกที่ดี และไม่สำคัญเท่าการบริหารจัดการห่วงโซ่แห่งคุณค่าของธุรกิจให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เหมือนเดิมไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภครูปแบบใดก็ตาม ดังนั้นธุรกิจจำเป็นต้องมองรูปแบบการดำเนินกิจการใหม่ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวที่สุด และเพื่อรับมือกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ระบบบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานด้านสารสนเทศกลายเป็นเรื่องสำคัญในยุคระบบนิเวศน์แบบดิจิตอลที่เชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างเข้าด้วยกัน รูปแบบการดำเนินกิจการลักษณะเดิมๆจะไม่สามารถแข่งขันได้อีกต่อไป

12. สิ้นมนตร์ขลังแห่งโลกโมบาย “ Mobility Life”

ผู้บริโภคจะคุ้นเคยกับบริการบนระบบคลาวด์ผ่านอุปกรณ์พกพามากขึ้น และเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมการใช้งานครั้งใหญ่ เมื่อผสานกับหลากหลายทางเลือกด้านการเชื่อมต่อแบบไร้สาย ทั้ง 3G, 4G หรือแม้แต่ 5G ที่เริ่มมีการพูดถึง ก็จะเร่งความเร็วในการเปลี่ยนแปลงให้มากกว่าเดิม โลกโมบายจะกลายเป็นสิ่งสามัญขั้นพื้นฐานสำหรับองค์กรธุรกิจ และผู้บริโภคทั่วไป เราจะได้เห็นอุปกรณ์หลากหลายที่ทำงานข้ามแพลตฟอร์มได้อย่างราบรื่น รวดเร็วขึ้น ทั้งในการประมวลผลและการเชื่อมต่อ รวมถึงเรื่องความปลอดภัยชั้นสูง และการเชื่อมต่อกับคลาวด์ ซึ่งทั้งหมดจะฝังกลบยุคแห่งพีซี และนำเราก้าวเข้าสู่โลกโมบายอย่างแท้จริง

View :5692
Categories: Article Tags:

The Chatterbox: The winner of AIS Start Up Weekend 2011

May 20th, 2012 No comments

ทีม Chatter Box


Interview Chatterbox’s co-founder Tareef Jafferi:

1. Explain what the application does.

The Chatterbox mobile application is a product that bridges content providers and broadcasters with their audiences – with the purpose of creating an augmented channel for entertainment and user-engagement. The product leverages an opportunity in which the audience seeks a medium to socialize around a topic of interest (in this case, a TV program). Concurrently, broadcasters and content providers can use data provided by users to customize content and learn more about their audiences. Chatterbox aims to make television more interactive and social for the benefit of all.

The application and its features are a product of extensive market research, focus group studies, an understanding in behavioral psychology (gamification), and user-testing. The challenge is developing a tool that enhances rather than distracts a user’s attention from the media content. At the same time, users will feel an immediate impact and social advantage of using the application while watching television.

2. Talk about business model, revenue streams, and marketing strategies.

The Chatterbox product is a result of comprehesive market research and study, in parallel with special insight into telecommunication and media outlook over the next 5 years. With the emergence of social media in the realm of television, there is much new found activity in this industry. Subsequent to the formation of the product idea, we explored every facet of existing developments in Social TV. Furthermore, by understanding the needs of each stakeholder and of the user, we can create a product worthy of its potential.

Identifying the key stakeholders in the TV ecosystem is critical in creating a business model to sustain the platform. Chatterbox is designed to connect not only with TV audiences, but with broadcasters, content producers, and celebrities as well.

Revenue streams include targeted advertising, merchandizing, and market intelligence – each stream also mutually benefiting one or more key stakeholders.

Finally, the Chatterbox platform will leverage celebrity and TV show endorsements to grow user-base while concurrently providing a channel to advertise and sell products, as well as provide user engagement data that will help content producers better understand their audiences.

3. What kind of market reaction do you expect? How many downloads by the end of the year.?

Looking at the overlap between TV viewers and smartphone owners, we hope to be able to access a potential pool of 12+ million users. We hope to hit 100,000+ downloads by the end of the year.

4. When will the application be launched, and what platforms will it support?

The application will be launched early August. It will be launched for both iOS and Android devices.

5. When was the company set up, and how much capital has been put in?

The company is privately owned and funded by its co-founders (Tareef Jafferi, Taarif Jafferi and Kavin Kavin Asavanant). It is in the process of being formed as an LLC. The funded amount is not disclosed.

6. Do we have investors yet, who are they, and how is the investment structured?

We have interested Venture Capitalists, but do not plan to proceed with investment funding rounds until after we launch in August. The investment structure will be negotiated at that point in time.

7. What do you think about Startup Weekend and how did you benefit from participating?

Startup Weekend 2011 hosted by AIS was a fantastic event. It was a chance for like-minded people to come together, share ideas, and network. The atmosphere was also conducive for creative thinking.

Overall, it was a spark that the start-up community in Thailand needed to build on. Six months after the event, I find myself working with some members of my team as well as talent from other teams.

View :2465

“นพพร ฟามาซี” ร้านขายยาไฮเทคแห่งเกาะพะงัน

May 20th, 2012 No comments

นักท่องเที่ยวและชาวบ้านแห่งเกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี เชื่อแน่ว่าไม่มีใครไม่รู้จักร้าน “นพพร ฟามาซี” ร้านขายยาและมินิมาร์ทเก่าแก่อายุ 20 ปีแห่งนี้อย่างแน่นอน “นพพร ชูแก้ว”เจ้าของที่บุกเบิกร้านขายยาตั้งแต่มีเพียงสาขาเดียวจนปัจจุบันมี 11 สาขา และกำลังจะเปิดอีกสาขาในอีก 2 เดือนข้างหน้า เผยเคล็ดลับของการบริหารร้ายขายยาที่มีสาขาจำนวนมากและมีสินค้าหมุนเวียนต่อสาขาอีกนับหมื่นรายการได้อย่างมีประสิทธิภาพว่า “ไอทีคือตัวช่วยสำคัญ”

นพพร เล่าวว่า ตนเป็นคนเมืองตรัง แต่ได้ย้ายมาตั้งรกรากที่เกาะพะงันกับภรรยาที่เป็นคนเกาะพะงัน และได้เริ่มต้นธุรกิจร้านขายยายซึ่งเป็นธุรกิจครอบครัวของภรรยามาเก่าก่อน มาตั้งเป็น “นพพร ฟามาซี”ที่เป็นทั้งร้านขายยาและมินิมาร์ทตั้งแต่ 20 ปีที่แล้ว จากสาขาแรกนพพรก็ขยายสาขาเพิิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตามการเจริญเติบโตของเกาะพะงัน ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติหลั่งไหลมาท่องเที่ยวบนเกาะจำนวนมากทุกปี นพพรขยายกิจการร้านขายยาอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบันมีสาขามากถึง 11 สาขา โดยที่ 9 สาขาอยู่ในเกาะพะงัน และอีก 3 สาขาอยู่ที่เกาะเต่า

“ตอนแรกเลยมาเปิดเป็นร้านเล็กๆ ลูกค้าก็จะเป็นชาวบ้านธรรมดาๆ เป็นคนบนเกาะเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการเท่าไหร่ จนหลายปีต่อมาคนทั่วไปและนักท่องเที่ยวเริ่มรู้จักเกาะพะงัน จึงทำให้มีนักท่องเที่ยวมากขึ้นๆ ธุรกิจที่ทำอยู่เลยต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ให้ดูดีและมีมาตรฐานขึ้น พอนักท่องเที่ยวเริ่มมากขึ้น เราเองก็ต้องปรับปรุงร้าน ขยายสาขาเพิ่ม ตรงจุดนี้ทำให้ต้องหันมาพึ่งไอทีในการควบคุมดูแล ทั้งในส่วนสต๊อคยา การบริหารสต๊อค ข้อมูลสินค้า ราคา และอื่นๆอีกเยอะที่ลำพังใช้คนอย่างเดียวไม่สามารถทำได้” นพพรกล่าว

เมื่อจำนวนสินค้าที่ขายในร้านก็มีจำนวนมากทั้งยาและส่วนของมินิมาร์ท ทำให้นพพรซึ่งมีความคุ้นเคยกับคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี เพราะชอบในเทคโนโลยีจึงเริ่มนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการลงบันทึกจำนวนและประเภทของสินค้าที่ขาย รวมถึงรายการสินค้าที่ขายของแต่ละสาขาเมื่อราวสิบปีที่แล้ว แต่เมื่อธุรกิจขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ด้วยจำนวนสาขาที่เพ่ิมมากขึ้น จำนวนสินค้าที่ต้องจัดเก็บมีเพ่ิมมากขึ้นอย่างมาก ทำให้การจัดเก็บข้อมูลสินค้าด้วยตนเองลงเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สะดวกอีกต่อไป นพพรจึงเริ่มมองหาซอฟต์แวร์ที่จะเข้ามาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลของสินค้าและรายการขายของทุกร้านเพื่อที่จะได้เห็นภาพรวมของธุรกิจร้านขายยาทุกสาขาได้อย่างชัดเจนและได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน

“ตอนแรกๆที่หันมาใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลสินค้าและรายการขายก็รู้สึกได้เลยว่ามันดีมาก มันควบคุมทุกอย่างได้ง่ายขึ้น เราเองก็ทำงานน้อยลง เหนื่อยน้อยลง แต่พอเริ่มขยายสาขาออกไปเรื่อยๆ ปัญหาก็เริ่มเกิด เช่น ข้อมูลสินค้าที่ไม่สามารถแชร์กันได้ทุกสาขา เรื่องการสำรองข้อมูล เรื่องความเสี่ยงที่ข้อมูลในคอมจะสูญหายเนื่องจากคอมพิวเตอร์พัง การอัพเดทข้อมูลต่างๆ การพัฒนาตัวโปรแกรม และอื่นๆอีกมากมาย การแก้ปํญหาก็ต้องทำเป็นจุดๆแก้ทีละอย่าง เกิดปัญหาตรงไหนก็แก้ตรงนั้น ซึ่งต้องใช้เวลาและคนที่มีความรู้ด้านไอทีจริงๆ ก็ค่อนข้างเหนื่อยพอสมควร ทำให้ผมเริ่มมองหาระบบที่จะสามารถตอบโจทย์ตรงความต้องการของผม และคำตอบก็มาตกที่ระบบซอฟต์แวร์ผ่านคลาวด์”

นพพรจึงตัดสินใจเลือกใช้บริการซอฟต์แวร์ผ่านระบบคลาวด์ของบริษัท Absolute Software จำกัด นพพรเลือกใช้ทุก module ของระบบซอฟต์แวร์บริหารสินค้าคงคลัง (Stock and Inventory Management System) ตั้งแต่ระบบ POS (Point of Sale), ระบบจัดซื้อ,ระบบการเงิน, ระบบฐานข้อมูลสินค้าและระบบรายงานการขาย ไปจนถึงระบบบริหารสินค้าคงคลัง

นพพรบอกว่า เพียงแค่ร้ายขายของตนทุกร้านต่อเชือ่มเข้ากับอินเทอร์เน็ต ทุกรายการขาย และทุกสินค้าที่ขายออกไปของทุกสาขาจะถูกบันทุึกไว้ในระบบทันที ทำให้นพพรรู้ว่าสต็อกสินค้าของร้านสาขาใดมีสินค้ารายการใดบ้างของสาขาใดบ้างที่ลดลงและต้องการเติมเข้าสต็อก เพื่อให้มีของขายได้ตลอดเวลา

“สินค้าเราหมนุเวียนเร็วมาก เราต้องเติมของเข้าสต็อกทุกสัปดาห์ๆ ละ 2-3 ครั้ง เพราะเราจะรู้สถานะของสต็อกของทุกสาขา ข้อมูลจะเป็นปัจจุบัน คือ real-time ทันทีที่สินค้าถูกสแกนบาร์โค้ดที่จุดขาย ทำให้เราสามารถบริหารสต็อกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องสต็อกของมากเกินไป ในขณะที่ของก็จะไม่ขาดสต็อก”

Could computing ตอบโจทย์ปัญหาที่เกิดขึ้นได้หมดเลย ตอนนี้ “ร้านนพพร ฟามาซี”ทั้ง 11 สาขา ใช้บริการ Could computing ของ Absolute solution

“บริษัทซอฟต์แวร์นี้ดูแลผมดีมากๆ ทั้งเรื่อง Hardware และ Software โปรแกรมเมอร์ใจดีช่วยปรับปรุงตัวโปรแกรมให้เข้ากับงานของผม คอยให้คำแนะนำเรื่องการใช้งานและการสร้าง feature ใหม่ๆอยู่ตลอด ตอนนี้ผมควบคุมดูแลร้านได้สะดวกและไม่เหนื่อยเลย อยากทำอะไร อยากเปลี่ยนเเลงอะไรตรงไหนก็เปิดคอมพิวเตอร์ และคลาวด์ก็ทำให้ผมสามารถทำงานได้ทันทีทุกที่ ทุกเวลา ทุกวันนี้ผมนั่งมองตัวเลขรายได้ที่วิ่งเข้ามาแล้วมีความสุขครับ” นพพรกล่าวพร้อมรอยยิ้ม

View :4381

ธุรกิจโทรคมนาคมไทย: ถอยหลังลงคลอง ?

April 29th, 2012 No comments

โดย ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

ธุรกิจโทรคมนาคมเป็นเสาหลักของการพัฒนาทางเศรษฐกิจในยุคสารสนเทศที่ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลและความสามารถในการแพร่กระจายข้อมูลเป็นปัจจัยที่สร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน การมีบริการการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูงจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการที่ประเทศไทยก้าวข้ามกับดักของประเทศที่มีรายได้ปานกลาง (middle income trap) ไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง แต่ผู้เขียนมองสภาพตลาดโทรคมนาคมในประเทศไทยแล้ว กลับอยู่ในสภาวะถดถอยเนื่องจากการแข่งขันในตลาดมีจำกัด และยังอาจเกิดการผูกขาดในอนาคตอีกด้วย ผู้ประกอบการต่างชาติไม่สนใจที่จะเข้ามาลงทุนในธุรกิจโทรคมนาคมไทยด้วยเหตุผลดังนี้

ประการแรก การแข่งขันในธุรกิจโทรคมนาคมไทยยังคงจมปลักกับการช่วงชิงความได้เปรียบ เสียเปรียบกันจากระบบสัมปทาน ดังจะเห็นได้จากการแก้ไขเงื่อนไขในสัญญาสัมปทานหลายฉบับในอดีต และล่าสุดกรณีการทำสัญญาเพื่อให้บริการ 3G ระหว่างกลุ่มทรูกับ กสท. ที่ถูกมองว่าเป็นสัมปทานจำแลง การทำสัญญาในลักษณะดังกล่าวมีโอกาสเกิดขึ้นอีกสูง เนื่องจากผู้ประกอบการที่มีสายสัมพันธ์กับทางการเมืองย่อมเล็งเป้าไปที่การใช้ช่องทางของสัมปทานในการได้มาซึ่งคลื่นความถี่โดยการทำสัญญากับรัฐวิสาหกิจซึ่งอยู่ภายใต้อาณัติของฝ่ายการเมือง หากเป็นเช่นนั้นแล้ว ธุรกิจโทรคมนาคมไทยก็ไม่มีวันที่จะพัฒนาได้ เพราะการแข่งขันจะไม่มีวันเสรีและเป็นธรรม ผู้ประกอบการที่ไม่มีเส้นสายทางการเมืองก็ไม่สามารถสร้างความได้เปรียบจากระบบสัมปทานได้ ทำให้แข่งขันได้ยากและอาจถูกบีบออกจากตลาดในที่สุด

ประการที่สอง กฎ กติกาในการกำกับดูแลไม่คุ้มครองผู้ประกอบการรายย่อย ในปี พ.ศ. 2553 ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เอกชนรายที่ 4 คือ Hutch ต้องถอนตัวออกไปจากตลาด (ส่งผลให้กลุ่มทรูเข้ามาเทคโอเวอร์) เนื่องจากประสบผลขาดทุนจากการที่ไม่สามารถเชื่อมต่อโครงข่ายของตนกับโครงข่ายของผู้ให้บริการรายใหญ่ คือ AIS DTAC และ TRUE ซึ่งเรียกร้องค่าเชื่อมต่อโครงข่ายในอัตราที่สูงมาก คือ 1 บาทต่อนาทีได้ ลูกค้าของ Hutch จึงไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นนอกโครงข่าย กว่า กทช[1]. จะเข้ามาแก้ไขปัญหาโดยการกำหนดอัตราค่าเชื่อมต่ออ้างอิงที่ 50 สตางค์ต่อนาทีเมื่อกลางปี พ.ศ. 2553 ซึ่งเวลาก็ล่วงเลยไปแล้วกว่า 2 ปี ก็สายเกินไปเสียแล้ว ตัวอย่างของ Hutch ที่ต้องม้วนเสื่อไปคงทำให้ผู้ประกอบการต่างชาติรายอื่นๆ รวมทั้งผู้ประกอบการไทยรายใหม่ไม่กล้าเข้ามาในตลาดโทรคมนาคมไทย เพราะไม่มั่นใจว่า กฎ กติกาในการกำกับดูแลจะให้ความเป็นธรรมแก่เขาได้เพียงใด

ประการที่สาม กฎ กติกาของ กทช. นอกจากไม่คุ้มครองรายย่อยแล้วยังจำกัดการแข่งขันในตลาดอีกด้วย ดังจะเห็นได้จาก ประกาศ กทช. ว่าด้วยการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว พ.ศ ๒๕๕๔ ซึ่งได้กำหนดนิยามของคนต่างด้าวที่เข้มงวดกว่าที่ปรากฎอยู่ใน พ.ร.บ. การประกอบกิจการของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ อย่างมาก การดำเนินการดังกล่าวมีความผิดปกติอยู่มาก เนื่องจากมีการเร่งรีบและรวบรัดก่อนที่กรรมการชุดดังกล่าวจะหมดวาระ ทำให้มีการตั้งข้อสงสัยว่า ทั้งหมดนี้เป็นการดำเนินการเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้ประกอบการรายหนึ่งในตลาดที่มีเส้นสายทางการเมืองแน่นแฟ้นกับรัฐบาลในสมัยนั้นหรือไม่

ผู้เขียนได้ฝากความหวังไว้กับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่เข้ามารับตำแหน่งใหม่ว่าคงจะปรับปรุงกฎ กติกา ในการกำกับดูแลให้เอื้อต่อการแข่งขันที่เป็นธรรมในตลาดมากกว่าในอดีต บททดสอบแรก คือ ร่างประกาศฯ ว่าด้วยการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว ฉบับใหม่ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของ กทค.[2] ในเร็ววันนี้ ผู้เขียนได้เห็นร่างที่จะมีการนำเสนอแล้วก็มีความเป็นห่วงอย่างยิ่งว่า หากมีการเห็นชอบร่างดังกล่าวแล้ว ตลาดโทรคมนาคมไทยอาจถอยหลังเข้าคลองในอนาคตอันใกล้ ด้วยเหตุผลดังนี้

ประการแรก แม้ร่างดังกล่าวได้ตัดสาระที่เกี่ยวกับความมั่นคงออกไปหมดแล้ว (ซึ่งผู้เขียนเห็นด้วยว่าการอ้างเรื่องความมั่นคงนั้นเลื่อนลอย) หากแต่ยังคงบัญชีข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าวทั้ง 8 ข้อ ซึ่งรวมถึงการครอบงำผ่านแหล่งเงินทุน สัญญาจัดซื้อจัดจ้าง การถ่ายโอนค่าใช้จ่าย การทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา การโอนราคา ฯลฯ การวินิจฉัยว่าการประกอบธุรกรรมกับคนต่างด้าวในลักษณะใดจึงจะถือว่าเป็นการครอบงำนั้นขาดหลักเกณฑ์ หรือวิธีการพิจารณาที่ชัดเจนจึงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ กสทช. เป็นหลัก

ประการที่สอง ประกาศฉบับนี้ไม่มีเหตุผลรองรับที่ชัดเจนว่าทำไปเพื่ออะไร ธุรกิจโทรคมนาคมไทยมีปัญหาที่เกี่ยวกับการถูกคนต่างด้าวครอบงำหรือ และการครอบงำดังกล่าวดทำให้ผู้ใช้บริการเสียประโยชน์หรือถ่วงพัฒนาการของธุรกิจโทรคมนาคมไทยอย่างไร จึงต้องมีประกาศฉบับนี้ กรรมการชุดที่แล้วบอกว่าเป็นเรื่องความมั่นคง กรรมการชุดนี้บอกไม่เกี่ยวกับเรื่องความมั่นคง แต่ก็ไม่ยกเลิกและไม่สามารถชี้แจงเหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ได้ รวมทั้งไม่มีการทำรายงานที่แสดงผลดี ผลเสียต่อธุรกิจโทรคมนาคม และผู้บริโภคตามข้อกำหนดของ กสทช. เองตามเดิมจากที่ผู้เขียนเคยท้วงติงเมื่อกว่าครึ่งปีที่แล้ว

ประการที่สาม จนบัดนี้แล้ว กสทช. ก็ยังไม่สามารถชี้แจงได้ว่าประกาศดังกล่าวขัดกับพันธกรณีของประเทศไทยที่ให้ไว้ในองค์การการค้าโลกหรือไม่ เพียงแต่เขียนไว้ในร่างประกาศฉบับใหม่ว่า ประกาศฉบับนี้สามารถบังคับใช้ได้ “เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับความตกลงหรือสนธิสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคีหรือมีความผูกพันตามพันธกรณี” หากเนื้อหาเกี่ยวกับการครอบงำกิจการของคนต่างด้าวทั้งหมดขัดกับพันธกรณีของไทยในองค์การการค้าโลกแล้ว ประกาศนี้จะเป็นเพียงแค่เศษกระดาษที่แสดงถึงความไม่รอบคอบในการออก กฎ กติกา ของ กสทช. เท่านั้น เพราะไม่สามารถบังใช้กับนักลงทุนจากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก 153 ประเทศได้ แล้วจะออกมาเพื่ออะไร หรือคิดว่าจะใช้สำหรับนักลงทุนจากประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก เช่น อัฟกานิสถาน ลิเบีย หรือ เกาหลีเหนือ ?

ผู้เขียนเห็นว่า ประกาศฉบับนี้แท้จริงแล้วไม่ใช่เรื่องของการป้องกันการครอบงำธุรกิจโทรคมนาคมของคนต่างด้าว หากแต่เป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายใหม่ที่อาจสนใจเข้ามาแข่งขันในการประมูลคลื่น 3G และเป็นการเปิดช่องให้การเมืองเข้าครอบงำธุรกิจโทรคมนาคมไทยมากกว่า เนื่องจากประกาศนี้ทำให้ กสทช. สามารถใช้ดุลยพินิจได้อย่างเต็มที่ในการชี้ว่าผู้ประกอบการรายใดเป็นคนต่างด้าวและรายใดมิใช่คนต่างด้าว ผู้ประกอบการที่ไร้เส้นสายทางการเมืองอาจถูกบีบให้ออกจากตลาดเหมือนที่ Hutch เคยโดนมาแล้ว ณ เวลานั้นคนไทยก็คงจะต้องเตรียมควักกระเป๋าสตางค์จ่ายค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่แพงลิบลิ่วเหมือนในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2543 ที่มีผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (สัญชาติไทยแท้ ณ เวลานั้น) เพียงสองรายในตลาด

แม้ประกาศนี้จะกระตุ้นต่อม “รักชาติ” ของคนไทย แต่เราต้องไม่ลืมว่าที่ผ่านมานั้น การครอบงำของการเมืองที่มุ่งแสวงหากำไรจากการผูกขาดได้สร้างความเสียหายให้แก่ประเทศมากกว่าการครอบงำของคนต่างด้าวที่แสวงหากำไรจากการแข่งขันในตลาด

[1] คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม ตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งตอนนี้กลายเป็น คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช) ตาม. พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
[2] คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช)

View :2898

การกู้ข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ที่ถูกน้ำท่วม

November 30th, 2011 No comments

เขียนโดย นายเสฏฐวุฒิ แสนนาม
ผู้ให้คำแนะนำคือนายสรณันท์ จิวะสุรัตน์ และนายพรพรหม ประภากิตติกุล
หน่วยงาน: สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน)

จาก เหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา ส่งผลให้คอมพิวเตอร์ของหน่วยงาน สถานประกอบการ หรือบุคคลทั่วไป หลายแห่งจมอยู่ใต้น้ำ ซึ่งอาจมีข้อมูลที่สำคัญอยู่ในฮาร์ดดิสก์ และมีความจำเป็นต้องทำการกู้ข้อมูล (Data recovery) เพื่อให้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้โดยเร็วที่สุด แต่การกู้ข้อมูลนั้นมีหลายสิ่งที่ควรรู้และต้องคำนึงในการปฏิบัติ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อฮาร์ดดิสก์โดยไม่ตั้งใจ ดังนั้น การรู้จักการทำงานของฮาร์ดดิสก์ รูปแบบความเสียหาย วิธีการการแก้ไข และขั้นตอนการปฏิบัติในการกู้ข้อมูล ก็จะสามารถช่วยป้องกันความเสียหายและเพิ่มโอกาสในการกู้ข้อมูลกลับคืนมาได้

โครงสร้างการทำงานของฮาร์ดดิสก์

ปัจจุบัน มีการใช้งานฮาร์ดดิสก์อยู่ 2 แบบ คือแบบจานแม่เหล็ก และแบบ Solid-state (SSD)ซึ่งทั้ง 2 แบบมีโครงสร้างและการทำงานที่แตกต่างกันส่งผลให้มีความแตกต่างในเรื่องของการเก็บข้อมูลและการกู้ข้อมูลตามไปด้วย

ฮาร์ดดิสก์แบบจานแม่เหล็ก

ที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/Hard_drive

นิยม ใช้ในคอมพิวเตอร์ทั่วไป รวมถึงกล้องวีดีโอบางรุ่น เนื่องจากมีขนาดความจุค่อนข้างสูงและมีราคาที่ลดลงมาอยู่ในระดับที่ไม่สูง มากฮาร์ดดิสก์แบบแม่เหล็กจะใช้แผ่นจานโลหะเพื่อเก็บข้อมูล โดยมีมอเตอร์หมุนอยู่ภายใน และใช้หัวอ่านในการอ่านและเขียนข้อมูลลงในแผ่นจาน ในการอ่านหรือ เขียนข้อมูลจะใช้หลักการเปลี่ยนทิศทางของสนามแม่เหล็ก เพื่อเก็บข้อมูลในรูปแบบของเลขฐาน 2

ใน ขณะที่ฮาร์ดดิสก์ทำงาน หัวอ่านจะลอยอยู่เหนือแผ่นจานประมาณ 10 นาโนเมตร [2] (เส้นผมของมนุษย์มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 99 ไมโครเมตร) แผ่นจานจะหมุนด้วยความเร็วสูง ซึ่งในปัจจุบันมีความเร็วในการหมุนประมาณ 7200 – 10000 รอบต่อนาที (ประมาณ 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ดังนั้นหากฮาร์ดดิสก์มีการสั่นสะเทือนเกิดขึ้นในขณะที่หัวอ่านกำลังทำงานก็มีโอกาสสูงที่หัวอ่านจะไปขูดกับแผ่นจานแม่เหล็ก ซึ่งส่งผลให้ฮาร์ดดิสก์เสียหายอย่างถาวรได้

ฮาร์ดดิสก์แบบ Solid-state

ที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/Solid-state_drive

ฮาร์ดดิสก์ แบบ Solid-state ใช้หลักการเดียวกันกับอุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบพกพา เช่น Flash drive ซึ่งเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลรูปแบบใหม่ที่ไม่มีชิ้นส่วนที่เป็นการหมุนหรือหัวอ่านอยู่ภายใน โดยจะเปลี่ยนมาใช้การเก็บข้อมูลบน NAND Chip ซึ่งเป็นการอ่านและเขียนข้อมูลโดยใช้ไฟฟ้าส่งผลให้ฮาร์ดดิสก์แบบ Solid-state สามารถอ่านเขียนข้อมูลได้เร็วกว่าฮาร์ดดิสก์แบบจานแม่เหล็กแต่เนื่องจากมีราคาที่ค่อนข้างสูง และมีความจุน้อยกว่าฮาร์ดดิสก์แบบจานแม่เหล็ก จึงนิยมใช้ในอุปกรณ์ที่ต้องการการพกพาสะดวกและมีน้ำหนักเบา เช่น คอมพิวเตอร์โน้ตบุคแบบ Ultra-thin หรือโทรศัพท์มือถือบางรุ่น
ฮาร์ดดิสก์ แบบ Solid-state จะแบ่งพื้นที่ในการเก็บข้อมูลออกเป็นบล็อก (หรือ Cell)ซึ่งแต่ละ
บล็อกมีจำนวนครั้งในการเขียนหรือลบข้อมูลอยู่จำกัด ถ้าใช้ครบจำนวนครั้งที่กำหนดบล็อกนั้นจะไม่สามารถใช้งานได้อีก [4]
นอกจากนี้การเก็บข้อมูลจะไม่ได้เก็บแบบต่อเนื่องเหมือนฮาร์ดดิสก์แบบจานแม่ เหล็ก แต่จะใช้วิธี Logical mappingซึ่งเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลที่เก็บอยู่จริงในหน่วยความจำให้เป็นไฟล์ข้อมูล สำหรับคอมพิวเตอร์ ซึ่งส่วนที่ทำหน้าที่ดังกล่าวเรียกว่า Controller

ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้กับ ฮาร์ดดิสก์
ความเสียหายทางการภาพ (Physical)

ความ เสียหายที่เกิดขึ้นกับฮาร์ดดิสก์แบบจานแม่เหล็กจะเกิดกับส่วนของจานแม่เหล็กที่ใช้สำหรับบันทึกข้อมูล
ไม่ว่าจะเป็นการอยู่ภายใต้สนามแม่เหล็กที่ความแรงสูงจนข้อมูลที่เก็บอยู่ผิด เพี้ยน หรือหัวอ่านกระแทกกับจานข้อมูล ทำให้เข้าถึงข้อมูลในส่วนนั้นไม่ได้ เป็นต้น
ซึ่งถึงแม้ว่าในขณะที่ปิดเครื่อง หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์จะถูกเก็บให้ไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัยแล้วก็ตามแต่การที่ฮาร์ดดิสก์ตกจากที่สูงก็มีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายได้เช่นกัน หากหัวอ่านชำรุดแต่แผ่นจานแม่เหล็กยังสามารถใช้
งานได้อยู่ ก็ยังสามารถให้ผู้เชี่ยวชาญทำการถอดจานแม่เหล็กเพื่อนำไปอ่านข้อมูลออกมาใส่ในฮาร์ดดิสก์อื่นได้ แต่หากแผ่นจานแม่เหล็กชำรุดเสียหายโอกาสที่จะกู้ข้อมูลได้ก็น้อยลงไปด้วย [5] [6]
สำหรับ ฮาร์ดดิสก์แบบ Solid-state ถ้าส่วน Controller เสียหาย การกู้ข้อมูลจะทำได้ยากมากหรือแทบเป็นไปไม่ได้เลย เนื่องจากการกู้ข้อมูลต้องแกะเอา NAND Chip ออกมาคัดลอกข้อมูลแล้วนำชิ้นส่วนของข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อสร้างตารางข้อมูลใหม่
นอกจากนี้วิธีการเก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์แบบ Solid-state ยังแตกต่างกันออกไปตามวิธีการของผู้ผลิต
ปัจจุบันยังไม่มีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการกู้ข้อมูลในลักษณะนี้ จำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญทำเท่านั้น [7] [8] [9] [10]
ใน ประเทศไทย มีบริษัทที่ให้บริการกู้ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ในกรณีที่เกิดความเสียหายทางกายภาพ เช่น ศูนย์กู้ข้อมูล IDR หรือ ศูนย์กู้ข้อมูล i-CU เป็นต้น ซึ่งค่าใช้จ่ายในการกู้ข้อมูลก็จะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่กรณี อย่างไรก็ตาม ThaiCERT ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการกู้ข้อมูลดังกล่าว

ความเสียหายทางตรรกะ (Logical)
เป็น ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้งานซึ่งเกี่ยวข้องกับไฟล์หรือระบบโครงสร้างของการเก็บข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น การเผลอลบข้อมูล การ Format ฮาร์ดดิสก์ หรือการเขียนข้อมูลทับซึ่งความเสียหายในส่วนนี้สามารถกู้คืนได้ด้วยซอฟต์แวร์
โดยปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับกู้ข้อมูลอยู่จำนวนมาก ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรี เช่น Recuva หรือ TeskDisk เป็นต้น [11]

ทำอย่างไรหากฮาร์ดดิสก์จมน้ำ
หาก ฮาร์ดดิสก์จมน้ำ ไม่ว่าฮาร์ดดิสก์จะเสียหายอย่างไรก็ตามยังพอมีโอกาสที่จะกู้ข้อมูลได้ การกู้ข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ที่มีความเสียหายทางกายภาพนั้นไม่สามารถทำได้ด้วย ตนเองแต่สามารถขอความช่วยเหลือในการกู้ข้อมูล จากผู้เชี่ยวชาญได้ข้อแนะนำในการปฏิบัติในการเก็บ และจัดส่งฮาร์ดดิสก์ให้กับบริษัทที่ให้บริการ กู้ข้อมูล มีดังนี้

ฮาร์ดดิสก์แบบจานแม่เหล็ก

ไม่ควรทำการกู้ข้อมูลด้วยตนเองโดยเด็ดขาด เพราะเมื่อฮาร์ดดิสก์จมน้ำหัวอ่านอาจจะไปติดอยู่กับจานข้อมูล ถ้าจ่ายไฟเข้าไปจะเกิดการหมุนของหัวอ่านซึ่งอาจจะไปขูดกับจานข้อมูลทำให้ฮาร์ดดิสก์เสียหายถาวรได้
อย่าทำให้ฮาร์ดดิสก์แห้ง เพราะเมื่อฮาร์ดดิสก์แห้งจะเกิดคราบและเศษฝุ่นเกาะติดอยู่ที่จาน หรือหัวอ่านได้
อย่าทำให้ฮาร์ดดิสก์สั่น สะเทือน เนื่องจากหัวอ่านอาจจะขูดกับแผ่นจาน ทำให้ฮาร์ดดิสก์เสียหายได้
ทำให้ฮาร์ดดิสก์อยู่ในสภาพที่จมน้ำแบบที่ยังคงเป็นอยู่โดยอาจจะนำฮาร์ดดิสก์ใส่ในภาชนะที่ปิดมิดชิด เช่น กล่องโฟม หรือ กล่องใส่อาหาร แล้วส่งให้กับผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการกู้ข้อมูลต่อไป [13]

ฮาร์ดดิสก์แบบ Solid-state

สำหรับ ฮาร์ดดิสก์แบบ Solid-state (หรือ Flash drive) เนื่องจากเป็นแผงวงจร จึงสามารถทนทานต่อการจมน้ำได้บ้าง หากฮาร์ดดิสก์ถูกน้ำควรรีบนำฮาร์ดดิสก์ออกมาทำให้แห้งโดยเร็วด้วยการใช้ พัดลมเป่า ไม่ควรใช้ไดรเป่าผมหรือนำไปตากแดด จากนั้นเมื่อแน่ใจว่าฮาร์ดดิสก์แห้งสนิทแล้ว สามารถนำไปใช้งานต่อได้ แต่หากฮาร์ดดิสก์จมน้ำเป็นเวลานาน มีโอกาสที่จะทำให้แผงวงจรหรืออุปกรณ์ภายในขึ้นสนิมได้ ควรรีบทำให้แห้งแล้วส่งไปยังศูนย์กู้ข้อมูลเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญดำเนิน
การ ต่อไป [14]

การกู้ข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ที่ ถูกลบหรือเขียนข้อมูลทับ
หากฮาร์ดดิสก์ไม่ได้เสียหายทางกายภาพแต่ข้อมูลสูญหายเนื่องจากอุบัติเหตุในระหว่างการใช้งาน เช่น การเผลอลบไฟล์เอกสารสำคัญ หรือฮาร์ดดิสก์ถูก Format ยังสามารถใช้ซอฟต์แวร์ทำการกู้ข้อมูลได้ เนื่องจากเมื่อระบบทำการลบไฟล์ จะไม่ลบข้อมูลจริงทิ้งแต่จะลบส่วนที่เป็นการอ้างอิงตำแหน่ง (Index) ของข้อมูลแทน หมายความว่า “ชื่อ” ที่ใช้ในการอ้างอิงตำแหน่งของข้อมูลนั้นจะหายไป แต่ตัวข้อมูลยังคงอยู่ เมื่อฮาร์ดดิสก์แบบแม่เหล็กเขียนข้อมูลจะไม่ได้เปลี่ยนข้อมูลของบิทจาก0 เป็น 1 หรือ 1 เป็น 0 เป๊ะๆ แต่จะมีการเหลื่อมอยู่บ้าง
ถ้าสามารถอ่านข้อมูลดิบที่อยู่บนดิสก์แล้วทำการวิเคราะห์รูปแบบ (Pattern) ของการเปลี่ยนค่าจาก 0 เป็น 1 หรือ 1 เป็น 0 ได้ จะสามารถรู้ว่า ข้อมูลตรงส่วนนี้เคยมีค่าเป็นอะไรมาก่อน
นอกจากนี้ยังสามารถใช้กล้องสแกนแถบแม่เหล็กในฮาร์ดดิสก์ เพื่อดูค่าการจัดเรียงของสนามแม่เหล็กในดิสก์ได้ [15] อย่างไรก็ตาม การทำลายข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์นั้นก็ยังสามารถทำได้อยู่ จากการวิจัยพบว่า ถ้าเขียนทับข้อมูลนั้นมากกว่า 25 ครั้งจะไม่สามารถกู้ข้อมูลกลับคืนมาได้ [16] [17] [18]

การป้องกันข้อมูลสูญหาย
ในการป้องกันข้อมูลสูญหาย วิธีที่ดีที่สุดคือการสำรองข้อมูลอยู่อย่างสม่ำเสมอซึ่งการสำรองข้อมูลก็สามารถทำได้หลายวิธี เช่น ใช้การต่อฮาร์ดดิสก์แบบ RAID เพื่อสำรองข้อมูลไปยังฮาร์ดดิสก์อีกลูกหนึ่งโดยอัตโนมัติ หรือนำข้อมูลที่สำคัญไปฝากไว้กับผู้ให้บริการฝากข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

ข้อมูลเพิ่มเติม
* Data Remanence in Semiconductor Devices:
http://www.cypherpunks.to/~peter/usenix01.pdf

* List of data recovery software:
http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_data_recovery_software
* Reliably Erasing Data From Flash-Based Solid State Drives:
http://www.usenix.org/events/fast11/tech/full_papers/Wei.pdf
* Redundant_array_of_independent_disks:
http://en.wikipedia.org/wiki/Redundant_array_of_independent_disks

อ้างอิง
1. http://en.wikipedia.org/wiki/Hard_drive
2. http://www.pcguide.com/ref/hdd/op/heads/op_Height.htm
3. http://en.wikipedia.org/wiki/Solid-state_drive
4. http://www.datarecovery.net/articles/solid-state-drive-architecture.html
5. http://en.wikipedia.org/wiki/Data_remanence
6. http://en.wikipedia.org/wiki/Data_loss
7. http://www.datarecovery.net/solid-state-drive-recovery.html
8. http://www.datarecoverytools.co.uk/2010/02/21/is-ssd-data-recovery-possible-and-different-from-hard-drive-data-recovery/
9. http://www.recovermyflashdrive.com/articles/how-flash-drives-fail
10. http://www.recovermyflashdrive.com/articles/5-things-you-should-know-about-flash-drives
11. http://en.wikipedia.org/wiki/Data_recovery
12. http://www.dataclinic.co.uk/advanced-data-recovery-water-damaged-hard-disk-drive.htm
13. http://www.storagesearch.com/disklabs-art3-floods.html
14. http://www.associatedcontent.com/article/2556459/how_to_salvage_a_usb_flash_drive_from.html
15. http://www.nber.org/sys-admin/overwritten-data-guttman.html
16. http://www.cs.auckland.ac.nz/~pgut001/pubs/secure_del.html

17. http://www.anti-forensics.com/disk-wiping-one-pass-is-enough
18. http://www.anti-forensics.com/disk-wiping-one-pass-is-enough-part-2-this-time-with-screenshots

กระบวนการ “ปฐมพยาบาลฮาร์ดดิสก์” จากเหตุการณ์น้ำท่วม
โดย ดร.ชาลี วรกุลพิพัฒน์

หลังจากเราสามารถเข้าไปในบ้านได้แล้ว อันดับแรกคือจะต้องตรวจสอบระดับน้ำที่ได้ท่วมได้บ้าน จากนั้นใช้อุปกรณ์ตรวจสอบสัญญาณไฟฟ้ารั่ว เช่น เป็ดเช็คไฟรั่ง ไม้เช็คไฟรั่ว หรืออุปกรณ์อื่นๆ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีไฟฟ้ารั่วในบ้านของเรา
แต่เพื่อให้แน่ใจ ให้ปิดสะพานไฟ เพื่อป้องกันไม่ให้มีไฟฟ้ารั่วด้วย
ย้ายเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกน้ำท่วมไปยังบริเวณพื้นที่แห้ง
ข้อห้ามหากฮาร์ดดิสก์ถูกน้ำท่วม หรือแม้กระทั่งเคยถูกน้ำท่วม!!!
ห้ามลองเปิดให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน หรือถอดฮาร์ดดิสก์ไปต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
ห้ามแกะฝาครอบฮาร์ดดิสก์ออกมาทำความสะอาดด้วยตัวเอง
ห้ามทำให้ฮาร์ดดิสก์แห้งด้วยตนเอง อาจจะด้วยวิธีการเป่าแห้ง หรือแม้กระทั่งตั้งทิ้งไว้ให้แห้งเองก็ตาม
ถอดฮาร์ดดิสก์ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วให้นำใส่ถุงซิปทันที ถึงแม้ว่าฮาร์ดดิสก์จะยังคงเปียกอยู่ก็ตาม
ส่งฮาร์ดดิสก์ให้ศูนย์กู้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และมีนโยบายการรักษาความลับของลูกค้า เพื่อป้องกันข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ของเราถูกขโมย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากข้อมูลของท่านเป็นความลับ
ท้ายที่สุด บทเรียนที่ได้จากเหตุการณ์น้ำท่วมนี้ ต้องไม่ลืมว่า เราจะต้องทำการสำรองข้อมูลอยู่สม่ำเสมอ อาจจะบันทึกลงในแผ่นซีดี ดีวีดี ฮาร์ดดิสก์ภายนอก หรือแม้กระทั่งไดร์ฟ USB ก็ตาม และจะต้องวางเครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อบันทึกต่างๆ ในที่ที่ปลอดภัยจากน้ำท่วม หรืออาจจะหาถุงกันน้ำมาบรรจุสื่อบันทึกก็ได้

ข้อมูลบางส่วนอ้างอิงจาก http://www.idrlab.com/กู้ข้อมูลน้ำท่วม.html

View :3713

3G in Thailand: 89% in Bangkok May Use It

August 16th, 2011 No comments

By KResearch

The gradual launch of 3G service on existing frequencies by major mobile service providers in 2H11 should play a great role toward reforming Thai wireless telecommunications in this high-speed data communications era. 3G service is also an important framework for diversifying information services, particularly online entertainment services allowing consumers to watch TV, listen to music or play games online.

In a survey conducted by KResearch on Bangkok residents’ opinions toward the use of 3G services in testing since 2009, Bangkok residents currently using 3G service totaled around 36.6 percent of the respondents. However, of those that have not used 3G services, some 89.6 percent stated that they plan to do so in the future.

Relatively high demand for 3G services, coupled with growth in the smart phone market will help expand non-voice services significantly. KResearch estimates that non-voice service revenue may reach THB3.3-3.5 billion in 2011, growing 27.0-34.6 percent, thus could reach 20.8 percent of overall mobile service revenue.

In the survey, most respondents responded positively toward using social networks, watching TV, receiving information and listening to music online, reflecting demand for new forms of communication that require high data transmission rates to transfer text, images, sound files and other media. Apparently, online entertainment services will be a popular form of non-voice services that will allow consumers to enjoy entertainment immediately after connecting to the Internet, wherein they will not have to save files on their mobile devices. –

View :2289
Categories: Article Tags: ,

3G พลิกโฉมการสื่อสารไร้สายของไทย คนกรุงกว่าร้อยละ 89 มีแผนใช้งานในอนาคต

August 15th, 2011 No comments

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ปัจจุบัน การสื่อสารโทรคมนาคมได้เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนยุคใหม่ นอกเหนือจากการสื่อสารในรูปแบบเสียงแล้ว การสื่อสารในยุคปัจจุบันได้เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคการสื่อสารที่เน้นข้อมูลในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งมีทั้งภาพและเสียงหรือที่เรียกกันว่ามัลติมีเดียมากยิ่งขึ้น ปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญอย่างหนึ่งในการตอบสนองความต้องการในการสื่อสารของยุคนี้ คือ ความเร็วในการรับและส่งผ่านข้อมูล ซึ่งเป็นที่มาของเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงในยุคที่ 3 หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า 3G (Third Generation)

ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เอกชนรายหลักได้มีการเปิดทดสอบให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่เดิม (HSPA) มาตั้งแต่ปี 2552 โดยจำกัดขอบเขตในบางพื้นที่ของกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ ทำให้ผู้บริโภคบางส่วนเกิดความคุ้นเคยและได้ทดลองใช้งานบริการ 3G มาก่อนหน้านี้ ในขณะที่การเปิดประมูลใบอนุญาตให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1GHz จะต้องรอการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งคาดว่าอย่างเร็วที่สุดน่าจะจัดตั้งได้ในช่วงปลายไตรมาส 3 ของปี 2554 และการประมูลน่าจะถูกจัดขึ้นได้ในช่วงกลางปี 2555 เป็นอย่างเร็ว อย่างไรก็ดี ผู้ให้บริการเอกชนรายหลักได้เริ่มทยอยเปิดตัวให้บริการ 3G เชิงพาณิชย์บนคลื่นความถี่เดิมในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 นี้ ซึ่งนับได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนแปลงสำคัญที่จะพลิกโฉมการสื่อสารโทรคมนาคมของไทยให้เข้าสู่ยุคการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ทำการสำรวจในหัวข้อพฤติกรรมการใช้งานบริการ 3G ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ โดยมีจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 629 ชุด เพื่อศึกษาความต้องการการใช้งานบริการ 3G และบริการเสริมด้านข้อมูลต่างๆบนอุปกรณ์เคลื่อนที่

 ผลสำรวจความต้องการใช้บริการ 3G…คนกรุงมีแผนใช้ 3G ในอนาคตสูงถึงร้อยละ 89.5

การเปิดทดสอบให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่เดิมตั้งแต่ปี 2552 นับได้ว่ามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความคุ้นเคยในหมู่ผู้บริโภคในการใช้งานบริการ 3G นอกจากนี้ ยังมีส่วนสำคัญในการให้ข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผน และกำหนดยุทธวิธีการทำตลาดในช่วงระยะถัดไปที่จะมีการทยอยเปิดให้บริการ 3G เชิงพาณิชย์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 ไม่ว่าจะเป็นด้านการพัฒนาบริการเสริมด้านข้อมูล หรือแม้แต่การพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่นใหม่ๆที่ต้องอาศัยการสื่อสารความเร็วสูง จากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งานบริการ 3G ในระยะที่ผ่านมา พบประเด็นต่างๆ ดังนี้

 คนกรุงเทพฯกำลังใช้งานบริการ 3G อยู่ร้อยละ 36.6 ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้ใช้งานที่มีแผนจะใช้งานในอนาคตมีถึงร้อยละ 89.5

จากการสอบถามถึงการใช้งานบริการ 3G ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามราวร้อยละ 36.6 กำลังใช้งานบริการ 3G อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นสัดส่วนที่ไม่น้อย ในช่วงที่การเปิดให้บริการ 3G เชิงพาณิชย์เพิ่งจะอยู่ในระยะเริ่มต้น อย่างไรก็ดี ผู้ตอบแบบสอบถามราวร้อยละ 54.4 ให้ข้อมูลว่ายังไม่เคยใช้งานบริการ 3G มาก่อน โดยมีเหตุผลหลัก คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ของตนไม่รองรับระบบ 3G คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 53.5 ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามในกลุ่มที่ให้เหตุผลดังกล่าวมีแผนที่จะใช้งานบริการ 3G ในอนาคตสูงถึงร้อยละ 85.2 แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ผู้บริโภคในกลุ่มดังกล่าวจะเปลี่ยนโทรศัพท์เคลื่อนที่ใหม่เพื่อให้สามารถใช้งาน 3G ได้

นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามยังให้เหตุผลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสาเหตุที่ยังไม่เคยใช้งานบริการ 3G อีกว่า พื้นที่ให้บริการ 3G ยังไม่ครอบคลุม คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 52.3 สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจาก การเปิดให้บริการ 3G ในช่วงก่อนหน้านี้ ยังคงเป็นลักษณะการทดสอบให้บริการ ซึ่งจำกัดอยู่เฉพาะบางพื้นที่ของกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่เท่านั้น อย่างไรก็ดี ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายหลักมีแผนที่จะเปิดให้บริการ 3G ครอบคลุมเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ ภายในสิ้นปี 2554 นี้ และจะครอบคลุมทั่วประเทศภายใน 3 ปี ทำให้ข้อจำกัดเกี่ยวกับพื้นที่ให้บริการ 3G มีแนวโน้มลดลงในอนาคต

จากผลการสำรวจยังพบอีกว่า โดยภาพรวมแล้ว ผู้ตอบแบบสอบถามที่ยังไม่เคยใช้บริการ 3G มีแผนที่จะใช้บริการในอนาคตสูงถึงร้อยละ 89.5 ของผู้ที่ยังไม่ได้ใช้บริการในปัจจุบัน สะท้อนถึงโอกาสทางการตลาดอันสำคัญสำหรับผู้ให้บริการโครงข่าย 3G รวมไปถึงผู้ให้บริการเสริมด้านคอนเทนต์ และนักพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่น ที่จะพัฒนาบริการหรือแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่ต้องอาศัยการสื่อสารความเร็วสูง

 ร้อยละ 80 ของผู้ใช้งานบริการ 3G ในปัจจุบัน ใช้บริการ 3G ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่

ปัจจุบัน การเชื่อมต่อเพื่อใช้งานบริการ 3G สามารถกระทำผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้หลากหลาย ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ เน็ตบุ๊ค แท็บเล็ต และโน๊ตบุ๊คผ่านแอร์การ์ด 3G จากผลการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯราวร้อยละ 80 ใช้บริการ 3G ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ และมีสัดส่วนการใช้บริการผ่านสมาร์ทโฟนสูงถึงร้อยละ 84.8 ของผู้ใช้บริการ 3G ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของผู้บริโภคในการถือครองสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่มีสมรรถนะสูง และสามารถใช้งานได้หลากหลายวัตถุประสงค์ผ่านทางโมบายล์แอพพลิเคชั่น ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการรองรับการพัฒนาบริการเสริมทางด้านข้อมูลใหม่ๆในอนาคตมากยิ่งขึ้น

ในขณะเดียวกัน อุปกรณ์เคลื่อนที่ประเภทแท็บเล็ต ซึ่งมีสัดส่วนผู้ใช้งานบริการ 3G ผ่านอุปกรณ์ดังกล่าวถึงร้อยละ 13.0 ก็เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่น่าจับตามองเช่นกัน เนื่องจาก ฟังก์ชั่นการทำงานที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับสมาร์ทโฟน แต่ด้วยความเร็วในการประมวลผลข้อมูลที่สูงกว่า ขนาดของหน้าจอแสดงผลที่ใหญ่ และสามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นที่ถูกพัฒนาสำหรับสมาร์ทโฟนได้ ประกอบกับผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ไอซีทีในไทยเริ่มเข้ามาทำตลาดอย่างจริงจังตั้งแต่ช่วงปลายปี 2553 ทำให้ผู้บริโภคเริ่มให้ความสนใจใช้งานแท็บเล็ตในวงกว้างมากยิ่งขึ้น

 ผลสำรวจบริการด้านข้อมูล…คนกรุงต้องการช่องทางสื่อสารรูปแบบใหม่ที่เน้นมัลติมีเดีย

ปัจจุบัน ผู้บริโภคมีแนวโน้มใช้งานบริการด้านข้อมูล (Non-Voice) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2553 บริการด้านข้อมูลมีมูลค่ากว่า 2.6 หมื่นล้านบาท ขยายตัวราวร้อยละ 24.4 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.2 ของมูลค่ารวมบริการด้านเสียงและข้อมูล ในขณะที่ปี 2554 บริการด้านข้อมูลมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยได้แรงสนับสนุนจากการทยอยเปิดตัวการให้บริการ 3G เชิงพาณิชย์ของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายหลักในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 ประกอบกับการเติบโตของตลาดสมาร์ทโฟนที่กำลังอยู่ในกระแสความนิยม ซึ่งจะมีส่วนผลักดันการใช้งานบริการด้านข้อมูลให้เพิ่มสูงยิ่งขึ้น โดยในปี 2554 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า บริการด้านข้อมูลจะมีมูลค่าราว 3.3 ถึง 3.5 หมื่นล้านบาท ขยายตัวราวร้อยละ 27.0 ถึง 34.6 คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 20.8 ของตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยรวม

จากผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยเกี่ยวกับพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯต่อบริการด้านข้อมูลบนระบบ 3G พบว่า บริการที่มีผู้ต้องการใช้ผ่านระบบ 3G มากที่สุด ได้แก่ เครือข่ายสังคมออนไลน์ (ร้อยละ 71.6) รองลงมาคือ ชมทีวีออนไลน์ (ร้อยละ 64.7) บริโภคข่าวสาร (ร้อยละ 59.3) และฟังเพลงออนไลน์ (ร้อยละ 54.7) สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของผู้บริโภคในการใช้งานเครือข่าย 3G เพื่อเป็นช่องทางการสื่อสารรูปแบบใหม่ในการส่งผ่านข้อมูลปริมาณมาก ทั้งในรูปแบบข้อความ ภาพและเสียง ทั้งนี้ เพื่อการอัพเดทข้อมูลกิจกรรมที่ตนทำอยู่ให้แก่เครือข่ายเพื่อนฝูง หรือเพื่อสร้างความบันเทิงส่วนตัว รวมไปถึงการบริโภคข่าวสารในรูปแบบมัลติมีเดีย ซึ่งบริการกลุ่มนี้ค่อนข้างเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคในวงกว้างได้ทุกเพศทุกวัย ขณะที่บริการที่ค่อนข้างมีวัตถุประสงค์ในการใช้ที่เฉพาะเจาะจง อย่างเช่น ธนาคารบนมือถือ การซื้อสินค้าออนไลน์ เป็นต้น จะมีผู้สนใจในสัดส่วนที่น้อยกว่า

เมื่อพิจารณาความต้องการใช้งานบริการด้านข้อมูลบนระบบ 3G แยกตามช่วงอายุ อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า กลุ่มคนรุ่นใหม่ในช่วงอายุ 15 ถึง 29 ปี มีความต้องการใช้บริการด้านข้อมูลบนระบบ 3G ที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ และบริการเพื่อความบันเทิงต่างๆ ในสัดส่วนที่สูงกว่ากลุ่มช่วงอายุอื่น นอกจากนี้ ยังเป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มคนรุ่นใหม่ก็มีความสนใจบริการด้านข่าวสารเช่นกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นสัดส่วนที่ต่ำกว่ากลุ่มช่วงอายุอื่น แต่ก็มีสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 56.1

สำหรับกลุ่มที่มีอายุอยู่ในช่วง 30 ถึง 44 ปี ให้ความสนใจกับบริการด้านข้อมูลทุกประเภท และมีสัดส่วนปานกลางเมื่อเทียบกับผู้ตอบแบบสอบถามในช่วงอายุอื่น ยกเว้น บริการที่เกี่ยวกับการจับจ่ายซื้อสินค้าหรือบริการ ซึ่งกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามในช่วงอายุดังกล่าวมีผู้ให้ความสนใจสูงกว่าผู้ตอบแบบสอบถามในช่วงอายุอื่น สำหรับกลุ่มผู้มีอายุมากกว่า 44 ปี ให้ความสนใจใช้บริการเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร และธนาคารบนมือถือในสัดส่วนที่สูงกว่ากลุ่มช่วงอายุอื่น และไม่ค่อยให้ความสนใจในการจับจ่ายซื้อสินค้าหรือบริการมากนัก

 ผลสำรวจบริการด้านความบันเทิงออนไลน์…คนกรุงต้องการบริการที่มีคอนเทนต์หลากหลาย

ปัจจุบัน การบริโภคดิจิทัลคอนเทนต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่นั้น มักจะเป็นไปเพื่อความสนุกสนานบันเทิงใจ ไม่ว่าจะเป็นการชมทีวี ฟังเพลง หรือเล่นเกม โดยบริการเหล่านี้รวมเรียกว่า โมบายล์เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ (Mobile Entertainment) สำหรับประเทศไทย ในอดีตที่ผ่านมา บริการดังกล่าวมักมีข้อจำกัดจากความเร็วของโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งอยู่ระหว่าง 80 ถึง 200 กิโลบิตต่อวินาที ทำให้คุณภาพการให้บริการไม่ค่อยเป็นที่พอใจของผู้บริโภค อย่างไรก็ดี การทยอยเปิดให้บริการ 3G ในช่วงครึ่งหลังของปี ย่อมเป็นปัจจัยสำคัญที่จะพลิกโฉมการให้บริการโมบายล์เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ให้มีทั้งคุณภาพและความหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดบริการด้านข้อมูลที่เกี่ยวกับความบันเทิงแบบออนไลน์ โดยผู้บริโภคสามารถชมทีวี ฟังเพลง หรือเล่นเกม ในขณะที่เชื่อมต่อการใช้บริการได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องรอการดาวน์โหลดเนื้อหามาเก็บไว้ที่อุปกรณ์เคลื่อนที่ก่อน จึงจะสามารถบริโภคเนื้อหาดังกล่าวได้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ทำการสำรวจความต้องการของผู้บริโภคต่อลักษณะเนื้อหาและการชำระเงินในการใช้บริการความบันเทิงแบบออนไลน์บนระบบ 3G โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้

 ผู้บริโภคสนใจชมภาพยนตร์มากที่สุด และอยากจะจ่ายรายเดือนเพื่อชมหนึ่งช่องรายการไม่อั้น

บริการทีวีออนไลน์เป็นบริการลักษณะมัลติมีเดียซึ่งมีทั้งภาพเคลื่อนไหวและเสียง ข้อจำกัดที่สำคัญอย่างหนึ่งของการให้บริการดังกล่าว คือ ขนาดของข้อมูลมักจะใหญ่ ทำให้ความเร็วของโครงข่ายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดถึงคุณภาพของการให้บริการ โดยความเร็วขั้นต่ำที่พอจะเปิดให้บริการแบบออนไลน์ คือ 64 ถึง 80 กิโลบิตต่อวินาที จึงทำให้มีผู้ให้บริการบางรายเปิดให้บริการดังกล่าวบนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี ค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไปจากการที่ต้องรับส่งข้อมูลจำนวนมาก เมื่อเทียบกับอรรถรสของการชมที่ได้รับ ทำให้บริการดังกล่าวได้รับความนิยมไม่ค่อยสูงนัก ทั้งนี้ การเปิดให้บริการ 3G จะมีส่วนช่วยผลักดันให้คุณภาพของการให้บริการดีขึ้น รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการรับส่งข้อมูลที่ลดลง ซึ่งจะมีส่วนผลักดันให้บริการดังกล่าวขยายตัวยิ่งขึ้น

จากผลการสำรวจเกี่ยวกับรายการทีวีออนไลน์ที่ผู้บริโภคมีความต้องการชม พบว่า มีผู้ต้องการชมรายการภาพยนตร์มากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 78.6 รองลงมาคือ รายการข่าวและมิวสิกวีดีโอ ซึ่งมีสัดส่วนใกล้เคียงกันที่ราวร้อยละ 52 และเมื่อสอบถามถึงรูปแบบการชำระค่าชมรายการที่ต้องการจะเลือกชำระ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ราวร้อยละ 50 เลือกที่จะชำระแบบรายเดือนเพื่อชมหนึ่งช่องรายการแบบไม่อั้น ในขณะที่การจ่ายรายเดือนเพื่อชมหลายช่องรายการตามที่กำหนดไว้แบบไม่อั้น ซึ่งมักจะมีค่าใช้จ่ายรายเดือนสูงกว่านั้น กลับมีสัดส่วนที่ต่ำที่สุดคือร้อยละ 22.2 สะท้อนถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่อยากจะเลือกชมทีวีเฉพาะประเภทรายการที่ตนโปรดปรานจริงๆ และพร้อมที่จะจ่ายเฉพาะช่องรายการที่ชอบ เพื่อสามารถรับชมได้แบบไม่จำกัดในรอบเดือนนั้น

 ผู้บริโภคราวร้อยละ 30.5 ชอบเลือกเพลงจากค่ายใดก็ได้และซื้อเฉพาะเพลงที่ตนชอบ

ธุรกิจเพลงดิจิทัลบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ของไทยนั้นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น สืบเนื่องจาก ความเร็วของโครงข่ายสื่อสารไร้สายยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงนัก ทำให้ธุรกิจเพลงดังกล่าวถูกจำกัดอยู่แต่เพลงที่ได้รับการตัดต่อความยาวประมาณ 30 ถึง 60 วินาที เพื่อนำมาใช้เป็นเพลงในบริการเสียงรอสาย หรือติดตั้งเป็นเพลงเสียงเรียกเข้าบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือถ้าเป็นเพลงฉบับเต็มก็จำเป็นต้องดาวน์โหลดมาไว้ที่อุปกรณ์เคลื่อนที่ของตนก่อนแล้วฟังแบบออฟไลน์ สำหรับธุรกิจบริการฟังเพลงออนไลน์ ซึ่งผู้บริโภคสามารถเลือกฟังเพลงและเก็บเพลงไว้บนอินเทอร์เน็ตได้นั้น ยังคงถูกจำกัดอยู่แต่บนอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐานเป็นหลัก อย่างไรก็ดี การเปิดให้บริการ 3G จะเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันให้เกิดบริการดังกล่าวได้

จากผลการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยเกี่ยวกับลักษณะการชำระค่าบริการฟังเพลงออนไลน์ที่ผู้บริโภคต้องการ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการชำระเป็นรายเพลงและเลือกเพลงจากค่ายใดก็ได้ เป็นสัดส่วนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 30.5 สะท้อนถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในการฟังเพลงที่มักจะเลือกเฉพาะเพลงที่ชอบจริงๆ จากความหลากหลายที่นำเสนอโดยค่ายต่างๆ โดยไม่อยากจะชำระแบบรายเดือน ซึ่งโดยรวมแล้วอาจมีค่าใช้จ่ายโดยเปรียบเทียบที่สูงกว่า ถ้าจำนวนเพลงที่ตนชื่นชอบมีไม่มากนัก

 ผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเนื้อหาและราคาของเกมออนไลน์มากกว่าแหล่งพัฒนาเกม

ลักษณะของรูปแบบธุรกิจเกมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน คือ การขายเกมโดยให้ผู้บริโภคดาวน์โหลดเกมที่ต้องการมาไว้ที่อุปกรณ์คลื่อนที่ก่อนแล้วเล่นแบบออฟไลน์ ไม่ได้เล่นกันแบบออนไลน์เหมือนเกมออนไลน์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีขนาดเกมที่ใหญ่และซับซ้อนกว่า ทั้งนี้ เนื่องจากข้อจำกัดด้านความเร็วของโครงข่ายสื่อสารไร้สาย อย่างไรก็ดี ข้อจำกัดดังกล่าวน่าจะหมดไปเมื่อมีการเปิดให้บริการ 3G

จากการสอบถามถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเกมออนไลน์บนระบบ 3G พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าร้อยละ 58 ต้องการเกมออนไลน์ที่เล่นง่ายและสนุก ประกอบกับราคาที่ไม่แพงจนเกินไปนัก ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ปัจจัยเกี่ยวกับแหล่งที่มาของเกม ได้แก่ ต้องเป็นเกมต่างประเทศมีผู้ตอบเพียงร้อยละ 7.8 และชื่อเสียงบริษัทเกมมีผู้ตอบเพียงร้อยละ 13.0 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับเนื้อหา และราคาเป็นสำคัญ โดยให้ความสำคัญกับแหล่งที่มาเป็นลำดับรองลงมา

บทสรุป
การเริ่มทยอยเปิดให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่เดิมของผู้ให้บริการเอกชนรายหลักในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 มีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนโฉมหน้าการสื่อสารไร้สายของไทยให้เข้าสู่ยุคการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง และเป็นแรงผลักดันอันสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคการบริการด้านข้อมูลในหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดบริการด้านข้อมูลที่เกี่ยวกับความบันเทิงแบบออนไลน์ โดยผู้บริโภคสามารถชมทีวี ฟังเพลง หรือเล่นเกม ในขณะที่เชื่อมต่อการใช้บริการได้ทันที

จากผลการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยต่อผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯเกี่ยวกับการใช้บริการ 3G ซึ่งผู้ให้บริการเอกชนรายหลักได้เปิดทดสอบการให้บริการมาตั้งแต่ปี 2552 พบว่า ในเขตกรุงเทพฯมีผู้ที่กำลังใช้บริการ 3G อยู่ราวร้อยละ 36.6 ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้ใช้บริการ 3G ในปัจจุบันส่วนใหญ่ราวร้อยละ 80 ใช้งานผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ส่วนที่เหลือเป็นการใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค เน็ตบุ๊ค และแท็บเล็ต ในขณะที่ผู้ที่ยังไม่เคยใช้งานเลยมีอยู่ราวร้อยละ 54.4 อย่างไรก็ดี กลุ่มผู้ที่ยังไม่ได้ใช้งาน 3G ในปัจจุบันราวร้อยละ 89.5 มีแผนที่จะใช้งานในอนาคต สะท้อนถึงโอกาสทางการตลาดอันสำคัญสำหรับผู้ให้บริการโครงข่าย 3G และเครื่องลูกข่าย/ตัวเครื่อง รวมถึงผู้ให้บริการด้านคอนเทนต์ และนักพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่น ที่จะพัฒนาบริการเสริมหรือแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่ต้องอาศัยการสื่อสารความเร็วสูง

ความต้องการใช้งานบริการ 3G ของผู้บริโภคที่อยู่ในระดับสูงดังกล่าว ประกอบกับกระแสการเติบโตของตลาดสมาร์ทโฟนจะมีส่วนผลักดันให้บริการด้านข้อมูลมีการขยายตัวเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2554 บริการด้านข้อมูลจะมีมูลค่าราว 3.3 ถึง 3.5 หมื่นล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 27.0 ถึง 34.6 คิดเป็นสัดส่วนราว 20.8 ของมูลค่ารวมบริการด้านเสียงและข้อมูล

จากผลการสำรวจเกี่ยวกับความต้องการใช้งานบริการเสริมด้านข้อมูลบนระบบ 3G พบว่า บริการที่มีผู้ต้องการใช้ผ่านระบบ 3G มากที่สุด ได้แก่ บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ชมทีวีออนไลน์ บริโภคข่าวสาร และฟังเพลงออนไลน์ สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการช่องทางการสื่อสารแบบใหม่ของผู้บริโภค ที่สามารถส่งผ่านข้อมูลในปริมาณมาก ทั้งในรูปแบบข้อความ ภาพและเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการที่อยู่ในลักษณะความบันเทิงแบบออนไลน์ ที่ผู้บริโภคสามารถเชื่อมต่อการใช้บริการได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องรอการดาวน์โหลดเนื้อหามาเก็บไว้ที่อุปกรณ์เคลื่อนที่ก่อนจึงจะสามารถบริโภคเนื้อหาดังกล่าวได้

ความสนใจดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจของบริการด้านความบันเทิงแบบออนไลน์ หรือโมบายล์เอ็นเตอร์เทนเม้นท์บนระบบ 3G ในอนาคต ซึ่งจากแบบสอบถาม พบว่า ผู้ที่ต้องการใช้บริการทีวีออนไลน์ มีความต้องการชมรายการภาพยนตร์มากที่สุด รองลงมาเป็น ข่าว มิวสิกวีดีโอ ละคร เป็นต้น และส่วนใหญ่อยากใช้บริการแบบรายเดือน โดยสามารถชมเฉพาะช่องประเภทรายการที่ตนโปรดปรานได้แบบไม่อั้น ซึ่งแตกต่างจากบริการฟังเพลงออนไลน์ ที่ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ต้องการความหลากหลายของเพลง โดยสามารถเลือกได้จากหลายๆค่าย และต้องการซื้อเฉพาะเพลงที่ตนชอบจริงๆ ในขณะที่บริการเกมออนไลน์นั้น ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการเกมที่เล่นง่ายและสนุก ประกอบกับราคาที่ไม่แพงเกินไปนัก

จากแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการความบันเทิงรูปแบบใหม่ ซึ่งสามารถสร้างความบันเทิงแบบพกพาได้ทุกที่ทุกเวลา และยังพร้อมที่จะจ่ายค่าบริการ เพื่อสามารถเลือกคอนเทนต์ที่ตนชื่นชอบได้จากคลังคอนเทนต์ที่มีความหลากหลาย สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจของผู้ให้บริการคอนเทนต์ที่จะเข้ามาพัฒนาบริการด้านความบันเทิงบนช่องทางการสื่อสารรูปแบบใหม่ ที่มีศักยภาพในการเติบโตและมีโอกาสจะเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดบางส่วนจากช่องทางให้บริการความบันเทิงแบบดั้งเดิมได้ในอนาคต ขณะเดียวกัน พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มหันมาใช้เวลากับอุปกรณ์เคลื่อนที่มากขึ้น และฐานผู้ใช้ที่สามารถเข้าถึงเครือข่ายสื่อสาร (Coverage) ที่มีโอกาสขยายออกไปกว้างขึ้นในอนาคต อาจเป็นทิศทางที่ธุรกิจต่างๆต้องหันกลับมาพิจารณากลยุทธ์ทางการตลาด และโอกาสทางธุรกิจผ่านช่องทางอุปกรณ์เคลื่อนที่มากขึ้น

——————————————
Disclaimer
รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงข้อมูลได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณของตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็นหรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

View :4595
Categories: Article, Smartphone Tags: