Archive

Archive for February, 2012

2 องค์กรสื่อจับมือ ซีพีออลล์ ชวนสื่อมวลชนประกวดเรื่องสั้น “อิศรา อมันตกุล”

February 22nd, 2012 No comments

สมาคมนักข่าว – สถาบันอิศรา ร่วมกับ บมจ. ซีพี ออลล์ ประเดิมโปรเจค จัดประกวดเรื่องสั้นดีเด่น “รางวัลอิศรา อมันตกุล” หวังสร้างเวทีทดสอบฝีมือด้านการเขียนให้สื่อมวลชน

เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2555 ที่อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการบริหารสมาคมนักข่าวฯ ร่วมกับสถาบันอิศรา โดยการสนับสนุนจากบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาด้านงานเขียน และเพื่อเปิดพื้นที่ให้สื่อมวลชนได้มีโอกาสสร้างสรรค์ผลงานการเขียนที่มี คุณค่าและเป็นประโยชน์ด้วยการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” จึงเห็นสมควรให้มีการจัดประกวดวรรณกรรมจากปลายปากกาเพื่อรับรางวัลเรื่อง สั้นดีเด่นรางวัลอิศรา อมันตกุล ซึ่งจะจัดขึ้นในปี 2555 นี้เป็นปีแรก โดยผลงานที่ได้รับรางวัลจะได้รับเงินสดพร้อมเกียรติบัตรมูลค่ารวมกว่า 35,000 บาท

“สมาคมนักข่าวฯ ต้องการให้มีเวที่จะประลองฝีมือด้านการเขียนเรื่องสั้นอย่างเป็นทางการ สำหรับนักข่าวซึ่งต้องใช้พื้นฐานด้านการเขียนเป็นหลัก ทั้งยังเป็นการเปิดอิสระทางความคิดให้กับนักข่าวที่อาจมีความสนใจหรือความ ถนัดนอกเหนือไปจากสายงานที่ทำอยู่ เนื่องจากเรื่องสั้นที่จะส่งเข้ามาร่วมประกวดไม่ได้จำกัดเนื้อหา เท่ากับเป็นการเปิดพื้นที่ให้ผู้เขียนได้สร้างสรรค์ผลงานอย่างเต็มที่” นายกสมาคมนักข่าวฯ กล่าว

ด้านนายสุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บมจ. ซีพี ออลล์ ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น ร้านอิ่มสะดวกของคนไทย กล่าวว่า ซีพี ออลล์ ได้ให้การสนับสนุนการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” ติดต่อกันมาเป็นปีที่ 5 และเพื่อเป็นการต่อยอดการจัดอบรมดังกล่าวจึงเห็นว่าการจัดประกวดเรื่องสั้น จะช่วยส่งเสริม สนับสนุนและเป็นกำลังใจให้กับสื่อมวลชนผู้สนใจงานเขียนที่จะก้าวสู่การเป็น นักเขียนมืออาชีพในอนาคต

“ซีพี ออลล์ มีนโยบาย CSR ด้านการส่งเสริมการอ่าน การเขียนและการศึกษามาโดยตลอด อาทิ โครงการเซเว่นบุ๊ค อวอร์ด เป็นการประกวดหนังสือดีเด่น เพื่อเปิดโอกาสให้นักเขียนทั่วประเทศได้แสดงผลงานเพื่อส่งเสริมให้เกิดงาน เขียนที่มีคุณภาพ โครงการค่ายกล้าวรรณกรรมและโครงการค่ายเซเว่น อีเลฟเว่น ถอดรหัสวาดการ์ตูนในฝัน โครงการที่เปิดโอกาสให้เยาวชนได้ฝึกทักษะด้านการเขียน การอ่าน และการมีความคิดสร้างสรรค์ โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเขียนและการวาดการ์ตูนมาถ่ายทอดความรู้ ตลอดจนการลงทุนก่อตั้ง โรงเรียนปัญญาภิวัฒน์เทคโนธุรกิจและสถาบันการจัดการปัญญาภิวัตน์ สถาบันการศึกษาที่เน้นการเรียนการสอนแบบเรียนจากประสบการณ์จริงพร้อมมีราย ได้ระหว่างเรียนเพื่อส่งเสริมด้านการศึกษาและพัฒนาเยาวชน”  นายสุวิทย์ กล่าวทิ้งท้าย

ทั้งนี้  สื่อมวลชนที่สนใจสามารถส่งผลงานมายัง israstory@gmail.com พร้อมส่งต้นฉบับจริงมาที่ สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย 538/1 ถนนสามเสน เขตดุสิต กทม. 10300 ดูรายละเอียดหลักเกณฑ์และดาวน์โหลดแบบฟอร์มการส่งผลงานได้ที่ www.tja.or.th หรือ www.isra.or.th หมดเขตส่งผลงาน วันเสาร์ที่ 31 มี.ค. 2555 ประกาศผลการตัดสินและรับรางวัลในวันศุกร์ที่ 18 พ.ค. 2555 ณ ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล ชั้น 3 อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน

View :2495

Sanook’s E-Commerce launched Dealfish.com

February 21st, 2012 No comments

Tiwa York, managing director of Sanook’s E-Commerce talks about the company’s online classified business, www.dealfish.co.th, which is targeted to be number one in the market by the end of this year.

 

View :2395

แผนการดำเนินงานเพื่อผลักดันโครงการ SMART THAILAND

February 21st, 2012 No comments

 

จีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

กล่าวถึงแผนการดำเนินงานเพื่อผลักดันโครงการ SMART THAILAND

View :2297

โครงการ SMART THAILAND

February 21st, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดแผน ดำเนินงานเพื่อผลักดันโครงการ SMART THAILAND ให้กับสื่อมวลชนเมื่อวันจันทร์​ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555

View :2990
Categories: e_Government, Technology, Telecom Tags:

Interview: Henri Holm, senior vice president of Rovio Asia

February 21st, 2012 No comments

Henri Holm, senior vice president of Rovio Asia, Rovio Entertainment, the Finnish game developer and the creator of Angry Birds gave an interview, when he visited Thailand one day after launching Angry Birds on Facebook platform, about the company’s strategy and goal.

View :2352

Think Technology ซอฟต์แวร์เฮ้าส์ท้องถิ่น ฝีมือไม่เล็ก

February 21st, 2012 No comments

สัมภาษณ์​คุณ​อภิชัย เรืองศิริปิยะกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท Think Technology จำกัด บริษัทซอฟต์แวร์แห่งเมืองขอนแก่น

ถาม Think Technology ตั้งมาตั้งแต่ปีอะไรคะ ทุนจดทเท่าไหร่ และมีโปรแกรมเมอร์กี่คน
ตอบ ตั้งตั้งแต่ปี 2548 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 100,000 บาท ครับ โดยเร่ิมจากมีโปรแกรมเมอร์ 1 คน ครับ

ถาม Digital Magazine เป็น หนึ่ง ใน สี่ ธุรกิจ ของ Think Technology นี่คิดเป็นรายได้ประมาณกี่เปอร์เซ็นต์คะ
ตอบ 35% ครับ

ถาม เป้าหมายทางธุรกิจของ Think Technology คือ อะไร
ตอบ เป็นคำถามที่ตอบยากครับ เพราะเราไม่ใช่บริษัทยักษ์ใหญ่ ที่ต้องตั้งเป้าหมายให้เป็นอันดับหนึ่ง มีMarket Share เท่าโน้น เท่านี้ เรารู้ตัวเราดีครับ ว่าเล็ก แต่ที่เราทำก็คือ ทำให้ดีที่สุด และอีกส่วนหนึ่งก็คือ การดึงงานจากเมืองหลวง เข้ามาสุ่ขอนแก่น เพื่อไม่ให้น้องๆ ต้องเข้าไปทำงานในเมืองกรุงฯ (ไม่รู้ว่าจะเป็นเป้าหมายได้หรือเปล่า แต่มันเป็นส่วนหนึ่งที่ผมทำตลอดเวลา)

ถาม บริษัท ได้พัฒนา/ผลิต ดิจิตอล แมกกาซีนให้กับที่ไหนมาบ้างแล้ว
ตอบ Bazaar Magazine, LIPS Magazine ส่วนอื่นๆ ก็เล็กๆ น้อยๆ ครับ เป็นการทำงานร่วมกันมากกว่า ส่วนในอนาคตจะมีออกมาอีกสองปกครับ ไม่นับรวม Digital Magazine ของ บริษัทเอง ปัจจุบัน Bazaar Magazine ได้หยุดทำไปแล้ว

ถาม tools / technologies ที่บริษัทใช้ในการพัฒนา ดิจิตอล แมกกาซีน ได้แก่ อะไรบ้าง
ตอบ Tools หลักๆ จะใช้ Adobe inDesign, Woodwing Solution, Xcode, ปัจจุบันเพิ่ม Adobe Dreamweaver ขึ้นมาเพื่อเขียน HTML5 ที่จะทำ Digital Books บน iOS

ถาม ปัจจัยอะไรที่ขับเคลื่อนการขยายตัวของตลาดดิจิตอลแมกกาซีน
ตอบ ในเมืองไทย ตอนนี้พูดยาก เพราะทาง Publisher เอง ยังต้องการเพียง Static Magazine บน iPad เท่านั้น ปัจจัยที่จะทำให้ Digital Magazine ขยายตัวออกไปได้น่าจะเป็นความเข้าใจว่า Digital Magazine คืออะไร ไม่ใช่เพียง PDF ใน App ที่มีไอคอนของบริษัทตนเอง ถ้า Publisher เข้าใจ การขยายตัวก็จะมากขึ้นครับ

ถาม ขอทราบชื่อ digital magazine app ที่บริษัทพัฒนาไปแล้วว่ามีอะไรบ้าง และยอดดาวน์โหลดเป็นอย่างไรบ้าง ขอทราบจำนวนยอดดาวน์โหลด
ตอบ จากที่ตอบไปแล้วก็คือของ LIPS Magazine และ Bazaar Magazine(ปัจจุบัน ไม่ได้ทำให้แล้ว) ส่วนยอดดาวน์โหลดนี้ ทาง Publisher เป็นคนดูครับ ผมไม่ได้เข้าไปดูในส่วนนี้ เลยขออภัยที่ไม่ทราบจริงๆ ครับ

ถาม digital magazine ที่บริษัทผลิตนี่รองรับแพลตปอร์มอะไรบ้าง และรองรับการแท็ปเล็ตขนาดกี่นิ้วบ้าง
ตอบ ปัจจุบัน เราสามารถผลิตเพื่อรองรับ 3 Platform คือ iOS, Android และ BlackBerry Playbook ทั้ง 7นิ้ว, 9.7 นิ้ว จะได้เห็นชัดเจนคงเป็น Magazine ของบริษัทที่จะปล่อยออกมาพร้อมกัน 3Platform เลยครับ

ถาม มองภาพรวมของตลาดดิจิตอล แมกกาซีนไว้อย่างไรบ้าง อาทิ ขนาดตลาด อัตราการเติบโต สภาพการแข่งขัน การตอบรับของผู้บริโภค และการปรับตัวของธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์
ตอบ ภาพรวมของ Digital Magazine ผมว่ายังไปได้อีกไกลครับ เพราะผู้บริโภคเริ่มมีอุปกรณ์ในการอ่าน และเข้าถึงได้ง่ายขึ้น เพราะเราสามารถสร้างออกไปได้หลากหลาย Platform แต่สถาพการแข่งขันสุง จาก Static Magazine ที่มีต้นทุนต่ำกว่า ส่วนการปรับตัว Publisher ยังปรับตัวช้าครับ อาจต้องทำให้ Publisher เข้าใจก่อนครับว่า Digital Magazine เป็นอย่างไร เพราะจากสถานะการณ์แบบนี้ น่าจะมี Publisher ลงมาเล่นมากกว่านี้

ถาม มีการซับงานพัฒนาดิติอลแมกกาซีนให้กับนักพัฒนาในท้องถิ่นด้วยหรือไม่
ตอบ มีแน่นอนครับ เพราะเป้าหมายของเราคือนำงานมาแบ่งให้กับบริษัทในท้องถิ่น ขณะนี้เราก็ขยายไปถึงรับผลิต Mobile App ทั้ง iOS และ Android โดยมีบริษัทท้องถิ่นเป็น Outsource ให้ ส่วนเรา ก็ทำการ QC ช่วยลูกค้าครับ

ถาม Think Technology เป็นบริษัทในการบ่มเพาะของอีสานซอฟต์แวร์พาร์คหรือไม่
ตอบ จริงๆ THINK เร่ิมจากโครงการ Technopreneur หรือโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “เสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ทางด้านเทคโนโลยี” ของ Nectec ร่วมกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่นที่1 ปี 2547 จากนั้น ก็กลับมาเปิดบริษัทที่บ้านเกิด และในชณะนั้น ก็ได้มี อีสาน ซอฟท์แวร์ปาร์ค เกิดขึ้น เราก็ได้เข้าไปสมัคร เพื่อรับข้อมูลข่าวสาร และการสนับสนุนสถานที่ในการทำงาน

ถาม Think Technology และคุณอภิชัย ได้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือให้กับอีสานซอฟต์แวร์พาร์คใดๆ บ้าง
ตอน ตอนนี้ก็ได้ช่วยในส่วนการดึงงานจากกรุงเทพฯ เข้ามาให้บริษัทท้องถิ่น และเป็นวิทยากรในการอบรมต่างๆ อาทิเช่น โครงการพัฒนาบุคคลากรด้านซอฟท์แวร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ซึ่งตอนนี้อบรมเป็นรุ่นที่สองแล้ว) และได้ร่วมกันทำงานอีกหลายๆ งานครับ อาทิเช่น งาน Augmented Reality ของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำสิริณธร ซึ่งได้รับพระราชทานชื่อจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เป็นต้น ซึ่งทาง THINK นั้นยินดีในการถ่ายทอดเทคโนโลยี ความรู้ต่างๆ ให้กับคนในท้องถิ่น และทำงานร่วมกับสมาคมซอฟท์แวร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

View :3743

รมว.อนุดิษฐ์ ​นาครทรรพ ให้ความเห็นถึงกรณีที่ถูกกล่าวหาว่าไม่ดำเนินการกับเว็บหมิ่น

February 12th, 2012 No comments

รมว.อนุดิษฐ์ ​นาครทรรพ ให้ความเห็นถึงกรณีที่ถูกกล่าวหาว่าไม่ดำเนินการกับเว็บหมิ่น แต่กลับมาดำเนินการบล็อก Simsimi [ให้ความเห็นหลังงานสัมมนาประชุมใหญ่ของชมรมนักข่าวสายไอที เพราะมีนักข่าวสอบถาม เมื่อเสารที่ 4 ก.พ. 2555]

View :2400

ท่าที “อนุดิษฐ์” ต่อกรณีทวิตเตอร์ออกกฏใหม่

February 3rd, 2012 No comments

นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้สัมภาษณ์ กรณีทวิตเตอร์ออกกฏใหม่ที่จะปิดกั้นข้อความบางข้อความไม่ให้บางประเทศได้เห็น [Starting today, we give ourselves the ability to reactively withhold content from users in a specific country — while keeping it available in the rest of the world. We have also built in a way to communicate transparently to users when content is withheld, and why.] ที่ผ่านมา ทวิตเตอร์ ยินยอมลบข้อความทวีต (Tweet) ออกจาก ระบบทวิตเตอร์ เมื่อได้รับคำสั่งจากรัฐบาลในแต่ละประเทศ สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงนับจากนี้คือทวิตเตอร์ได้เพิ่มความสามารถในการเลือกปิดกั้นการรับส่งข้อความแก่ผู้ใช้ในประเทศใดประเทศหนึ่งได้แล้ว …. ว่า

“เริ่มจากทวิตเตอร์​ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ ซึ่งหากทวิตเตอร์มีเงื่อนไขในการให้บริการโดยคำนึงถึงกม.ของแต่ละประเทศก็เป็นเรื่องที่ดี”

“กระทรวงไอซีทีจะดำเนินการเป็นไปตามกม.​เรื่องกม.เรื่องการไปละเมิดสิทธิเสรีภาพบุคคลอื่น การใช้ข้อความที่ไม่เหมาะสม ก็ยึดเอากม.ของประเทศเป็นหลัก กม.หลักๆ ที่เกี่ยวของมีหลายตัว ได้แก่ ประมวลกม.อาญามาตราต่างๆ ที่ไปเกี่ยวข้องกับการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กและมีการละเมิด พรบ.คอมพิวเตอร์​การใช้ข้อความเป็นเท็จ​การใช้ข้อความไปละเมิดสิทธิเสรภาพของคนอื่น ซึ่งจะทำตามข้อบังคับของกม.”

“ทวิตเตอร์เองเพ่ิงประกาศ เรื่องการให้ความร่วมมือ คิดว่า การกำหนดเรื่องแนวทางและประสานงานต่อไป และจะไม่ถูกนำมาใช้ในทางการเมือง รธน.กำหนดไว้แล้วว่าสิทธิเสรีภาพของปชช.ต้องอยู่ภายใต้กม.​แสดงออกได้แต่จะต้องไม่ไปละเมิดสิทธิผู้อื่น”

“ในเบื้องต้นจะดูความชัดเจนในการกำหนดเงื่อนไขในการใชบริการของทวิตเตอร์ ให้เกิดค.ชัดเจนก่อนว่าเขาจะดำเนินการในรูปแบบอย่างไร และจะดูการดำเนินการของเราให้สอดคล้อง เรียกว่ากระบวนการบริหารจัดการคงต้องกำหนดขึ้น เพื่อให้การบริหารจัดการ การประสานงาน และทำให้เราสามารถบริหารงานภายใต้ของกม.”

“เรื่องนี้อยู่ที่ผู้ให้บริการก่อน การที่เขาคำนึงถึงการใช้ระบบเขาไปละเมิดสิทธิเสรีภาพ ไปละเมิดกม.ประเทศอื่น เป็นเรื่องที่ดี ส่วนเรื่องที่จะบริหารจัดการให้เป็นไปตามกม.ของแต่ละประเทศก็จะต้องมีการพูดคุยกับต่อไป”

“เวลาที่เราจะสมัครใช้งานทวิตเตอร์​จะมี Term and condition ซึ่งคือ เงื่อนไขของการใช้บริการ คงต้องพิจารณาจาก term and condition ของทวิตเตอร์ที่กำหนดให้ผู้ใช้ลงทะเบียนยอมรับเงื่อนไขเหล่านั้นก่อนที่จะเข้าไปใช้บริการ ซึ่งหากเขาได้กำหนดโดยคำนึงถึงการละเมิดกม.ในประเทศทั้งหลายก็จะเป็นเรื่องที่ดี และผู้ที่อยู่ในแต่ละประเทศจะประสานงานกับเขาได้ก็จะเป็นเรื่องที่ดี”

“จริงๆ เราประสานงานกับผู้ให้บริการในสังคมออนไลน์อยู่แล้ว ไม่ใช่แค่ทวิตเตอร์รายเดียว ยังมี เฟซบุ๊ค และยูทูป ซึ่งเป็นโซเชียล เน็ตเวิร์ก ที่มีผู้ใช้บริการมาก”

ทันทีที่ทวิตเตอร์มีมาตรการนี้และกระทรวงไอซีทีมีท่าทีตอบรับ ก็ได้สอบถามความเห็นไปยังผู้คนบนโลกออนไลน์ ผ่านทาง Twitter และ Google+ ว่าเห็นด้วยหรือไม่กับแนวทางนี้ของทวิตเตอร์และท่าทีของก.ไอซีที และนี่คือ ส่วนหนึ่งของความคิดเห็น ….​


Arthit Thurdsuwarn – เห็นด้วย … เพราะสิ่งผิด กม. ก็ควรถูกควบคุมอยู่แล้ว ไม่มีเหตุผลที่ชุมชนออนไลน์ใหญ่ขนาดใหญ่ จะได้รับการยกเว้น และเห็นว่า นอกจาก Twitter แล้ว Social Media อื่น ๆ ก็ควรได้รับการควบคุมให้อยู่ในกรอบ กม. เช่นกัน

Surapong Sappayakhom – ไม่เห็นด้วยครับ เพราะไม่มั่นใจว่าจะเจอการเลือกปฎิบัติหรือไม่ เนื่องจากเรายังคงได้เห็นเว็บหมิ่นเกิดขึ้นมากมายและต่อเนื่อง ขออภัยที่ผมขอสงวนการอ้างอิงหรือระบุ URL และ Key word ของเว็บหมิ่นฯ มา ณ. ที่นี้ครับ

Tanis Buapaijit – ผิดจริงก็น่าจะเซ็นเซอร์ได้..แต่มันจะเครื่องมือในการปิดกั้นข่าวสารไม่ให้ประชาชนรับรู้หรือเปล่าหละ? ยิ่งปิดยิ่งกั้นสักวันมันก็จะแตกเหมือนเราปิดกั้นน้ำนั่นแหละครับปัจจุบันประชาชนไม่ได้โง่เขลาที่จะเชื่อข่าวสารไปซ่ะทุกเรื่อง บางเรื่องมันก็เป็นข่าวมั่ว ประชาชนคนทั่วไปน่าจะเป็นผู้คัดกรองข่าวสารเองว่าจริงหรือไม่จริงอย่าลืมว่าข่าวสารประเภทข่าวลือยิ่งปิดยิ่งกั้น ก็ยิ่งลือไปกันใหญ่..

ธนิต เฉื่อยทอง – ผมว่ามันเป็นการปิดกั้นข่าวสารที่ไม่เป้นประโยชน์ต่อรัฐบาลที่อยู่ในช่วงนั้น ๆ มากกว่า ประโยชน์ของประเทศนะครับ ขนาดเว็ปหมิ่นยังไม่ทำอะไรเลย แล้วจะมาปิดกั้นความคิดเห็นได้ยังไงกันครับ

RT @papapoocee: เป็นกระจกสะท้อนพรบ.การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ของประเทศไทยว่าเป็นกระดาษแผ่นหนึ่งที่ไม่อาจทำให้ผู้ใช้งานตระหนักถึงความผิดได้ ซึ่งยิ่งขานรับกฎใหม่ทันทีอย่างรวดเร็ว ยิ่งชัดเจนมากขึ้นว่า ICT กำลังเจอทางตัน และพยายามหาตัวช่วยเข้ามาบริหารจัดการเรื่องพวกนี้ เลยสงสัยว่า ที่ผ่านมา ICT ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันให้ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตมีความสุขในการใช้งานบ้างไหมครับ? นอกจากเอาลิควิดมาป้ายๆ

RT @thaiopengames: ที่เกิดประเด็นน่าจะอยู่ที่วิธีการค้นหาการกระทำผิดมากกว่าครับ คิดว่าคงจะใช้วิธีรับแจ้งรายงานแล้วตรวจสอบ มากกว่าการคอยติดตามรายบุคคล ในเมื่อถ้ามันผิดจริงๆ แล้วทวิตเตอร์เปิดช่องให้เครื่องมือทางกฎหมายสามารถดำเนินการยับยั้งได้ ก็เป็นเรื่องที่ดีครับ แต่ต้องมีมาตรฐาน ถ้าขาดมาตรฐานในการชี้ถูกผิด ช่องทางตรวจสอบนี้ก็จะไม่ได้รับการยอมรับต่อสาธารณะ Twtจะไม่ได้เป็นที่แสดงออกเสรี เคสเหมือนๆ มธ. เลยครับ

RT @pampam_northcap: ไม่เห็นด้วยค่ะ การ censor เป็นการปิดกั้นเสรีภาพทางความคิด ไม่ว่าจะเป็นการปิดกั้นระดับไหนก็ตาม

RT @YLVR: ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการปิดกั้นสื่อ และ เสรีภาพในการแสดง คคห. ซึ่งผู้ทวิตต้องรับผิดชอบตัวเองอยู่แล้ว

สามารถอ่านประกาศของทวิตเตอร์ฉบับเต็มได้ที่ http://blog.twitter.com/2012/01/tweets-still-must-flow.html

View :2776
Categories: Social Media Tags:

CSR ปี 2555 วาระแห่งการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง CSR องค์กร

February 1st, 2012 No comments

สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เผยทิศทาง CSR ภายใต้แนวคิด CSR & Sustainability ปี 2555 เพื่อเป็นข้อมูลให้ธุรกิจใช้เป็นแนวทางในการเสริมความแข็งแกร่งทางกลยุทธ์ CSR เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนแก่องค์กรเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนจากความเสี่ยง วิกฤต และภัยพิบัติในด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในปี 2555

นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวในงานแถลง CSR & Sustainability ปี 2555 “Reinforcing your CSR” ในวันนี้ (1 ก.พ. 2555) ว่า การที่ธุรกิจมีแผนการดำเนินงาน CSR ที่ดีจะมีบทบาทอย่างมากในการสร้างความแข็งแกร่ง และสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ ซึ่งเห็นได้ชัดจากเหตุอุทกภัยครั้งล่าสุดที่บริษัทจดทะเบียนและองค์กรธุรกิจต่างๆ ต้องปรับแผนการดำเนินงานและแผนงานด้าน CSR เพื่อรองรับกับสถานการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้น และหลายธุรกิจแสดงให้เห็นว่าการมีแผนและการดำเนินงานด้าน CSR ที่ดี โดยดูแลและช่วยเหลือพนักงาน คู่ค้า ลูกค้า และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้ก่อให้เกิดผลบวกกับองค์กร เพราะได้แสดงให้เห็นว่าองค์กรมีความพร้อมทั้งในสถานการณ์ปกติและพร้อมรับมือเมื่อเกิดวิกฤตได้เป็นอย่างดี ซึ่งในที่สุดย่อมส่งผลดีต่อความยั่งยืนขององค์กร

สำหรับการส่งเสริม CSR แก่บริษัทจดทะเบียน ของสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) ตลาดหลักทรัพย์ฯ ในปี 2555 นี้ จะให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้บริษัทจดทะเบียนมีเครื่องมือและแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมเทียบเท่ามาตรฐานสากลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการจัดทำและเผยแพร่ Guidelines for Social Responsibility และ Guidelines for CSR Report แก่บริษัทจดทะเบียนและหน่วยงานที่สนใจ โดยที่ Guidelines ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนมีพัฒนาการงานด้าน CSR ทั้งในกระบวนการดำเนินธุรกิจขององค์กรและการจัดทำรายงานเปิดเผยข้อมูลด้าน CSR สำหรับผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย พร้อมกันนี้ สถาบันธุรกิจเพื่อสังคมมีแผนจัดการอบรมและ Workshop เพื่อให้บริษัทจดทะเบียนได้เรียนรู้และเข้าใจในการนำคู่มือมาประยุกต์สู่การปฏิบัติจริงในกระบวนการดำเนินงานขององค์กรอีกด้วย อันจะเป็นการเพิ่มคุณค่าองค์กรทำให้ได้รับความเชื่อมั่นจากผู้ลงทุนและสาธารณชน

“นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์อุทกภัย ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัยและภาคสังคมผ่านหลายช่องทาง โดยกิจกรรมหนึ่งที่ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง คือ การดำเนินงานผ่านกองทุน “ตลาดหุ้นร่วมใจ ช่วยภัยน้ำท่วม” ร่วมกับสภาธุรกิจตลาดทุนไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย สมาคมบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ และสมาคมนักศึกษาสถาบันวิทยาการตลาดทุนในการระดมความช่วยเหลือสู่ภาคประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน ทั้งในด้านการดำรงชีวิต ด้านที่อยู่อาศัย และที่ทำกิน ฯ อันเป็นการเติมเต็มความช่วยเหลือจากภาครัฐ”

นอกจากการช่วยเหลือของกองทุนฯ แล้ว ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) ยังได้ร่วมมือกับสถาบันไทยพัฒน์ ในการถอดบทเรียนกรณีความช่วยเหลือของภาคเอกชนกับการฟื้นฟูหลังประสบภัย ด้วยการรวบรวม Good Practices and Business Cases ในการทำงานช่วยเหลือฟื้นฟูของบริษัทจดทะเบียนจำนวน 10 บริษัท และการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ฯในการช่วยเหลือเยียวยา การฟื้นฟูหลังน้ำลด และการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มีความครอบคลุมทั้งมิติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล หรือที่เรียกรวมกันว่า ESG (Environment, Society, and Governance standards) ซึ่งเป็น 3 ประเด็นหลักที่หน่วยงานต้องคำนึงถึงในการดำเนินงานเรื่อง CSR ขององค์กร และคาดว่าจะเผยแพร่ผลการศึกษาได้ในไตรมาสสองของปี 2555 นี้

ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์


ด้าน ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เผยผลการศึกษาทิศทาง CSR & Sustainability ในปีนี้ว่า การเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางกลยุทธ์ CSR และ Sustainability ขององค์กร จะเป็นไฮไลท์สำคัญที่ธุรกิจจะหันกลับมาให้ความใส่ใจทั้งในเรื่องแผนงานหรือมาตรการ CSR ในช่วงเผชิญเหตุและฟื้นฟู (Response and Recovery) และในช่วงของการลดความเสี่ยงและการเตรียมความพร้อม (Risk Reduction/Mitigation and Readiness/Preparedness)

แผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ เป็นมาตรการที่จำเป็นในการรักษาสถานะการดำเนินงานทางธุรกิจขององค์กรให้คงอยู่ เพราะเมื่อธุรกิจประสบกับวิกฤตหรือภัยพิบัติทั้งจากภัยธรรมชาติและภัยที่มนุษย์ก่อขึ้น จนเป็นเหตุให้ความต่อเนื่องในการดำเนินงานเกิดความชะงักงัน ส่งผลเสียหายต่อผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่ธุรกิจ ไม่เฉพาะแก่คู่ค้าและผู้ส่งมอบ แต่ยังรวมถึงผลกระทบที่มีต่อลูกค้าและผู้บริโภค

“การลดความเสี่ยงและการเตรียมความพร้อม เป็นตัวอย่างของมาตรการที่ควรดำเนินการในบริบทความรับผิดชอบขององค์กรที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กร (ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกจ้าง แรงงานรับจ้าง ฯ) และในห่วงโซ่ธุรกิจ (คู่ค้า ผู้ส่งมอบ ลูกค้า ฯ) เพื่อมิให้การดำเนินงานหยุดชะงักจนส่งผลเสียหายต่อองค์กรและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง”

สถาบันไทยพัฒน์ ได้จัดตั้งข่ายงานทรัพยากรภัยพิบัติสำหรับภาคเอกชน ในชื่อ Thai DRN เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลและทรัพยากรสนับสนุนในการจัดการภัยพิบัติและการฟื้นฟูบูรณะหลังการเกิดภัยพิบัติของภาคเอกชนภายใต้แนวทาง “Build Back Better” โดยเป็นเสมือนแหล่งข้อมูลด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในเวอร์ชั่นพิเศษที่คำนึงถึงการดำเนินงาน CSR ผ่านกระบวนงานหลักขององค์กร และประเด็นความยั่งยืนที่ส่งผลกระทบเชิงบวกที่เห็นชัดและวัดได้

แนวโน้มที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งในปีนี้ คือ เศรษฐกิจสีเขียวในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืนและการขจัดความยากจน ที่เป็นวาระสำคัญของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (United Nations Conference on Sustainable Development – UNCSD) หรือที่เรียกว่าการประชุม Rio+20 ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนมิถุนายน ที่เมืองรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล และเป็นที่คาดหมายว่า การพัฒนาที่ยั่งยืนบทใหม่ รวมถึงโรดแม็ปเศรษฐกิจสีเขียวโลก จะเผยโฉมในเวทีประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนครั้งนี้

สำหรับรายละเอียดการประมวลแนวโน้ม CSR & Sustainability ปี 2555 ในทิศทางอื่นๆ สามารถศึกษาได้จากรายงาน
“6 ทิศทาง CSR & Sustainability ปี 2555: Reinforcing your CSR” ซึ่งจัดทำขึ้นโดยสถาบันไทยพัฒน์ สอบถามเพิ่มเติม 0 2930 5227 info@thaipat.org หรือดูรายละเอียดได้ที่ www.thaipat.org

View :2514