Archive

Archive for June, 2010

NATIONAL ID: Smart idea born over 20 years ago

June 30th, 2010 No comments

by Asina Pornwasin

Mission to make registration easy led to new card The man behind the ?smart card?, the national ID that will allow easier access to government services both online and off-line, first began to realise his life’s mission more than two decades ago.

Now, with Thailand among the first countries in the world to compel all its citizens to acquire such a card, Surachai Srisaracam said he marvels at how a task he initiated has expanded into one involving a workforce of 20,000.

Surachai now heads one of the largest national schemes “Project Population Registration” and it is entering a crucial phase. Once the Cabinet approves the card’s final design, each citizen will be given a new ID card with a smart chip that will contain information about him or her. But human rights and privacy issues, which have hounded the project’s progress, are sure to resurface.

Misuse or abuse of personal information, or possible input of such information as job changes or criminal background, remains a concern.

Surachai, however, is adamant about the benefits the smart card can give its holder. It all started 20 year ago when Surachai was an official working at the district level. His work was bedevilled by faulty or incomplete information, he said. The problems that occurred most often were incorrect information input through human error, missing documents and out-of-date databases.

These problems made an efficient national registration administration system seem unachievable. At the time, Surachai was studying for a masters degree in Public Administration and Management Information Systems. The problems in his work challenged him to write his thesis on possible solutions.

“It was my dream to apply my knowledge to the organisation, and improve and re-engineer the operations to make them better,” he said.

On returning to his government post after completing his studies, he was tasked with organising a proposal for the smart-card scheme for Cabinet consideration. That was 20 years ago.

“After the plan was approved by Cabinet, we spent two years planning and preparing resources. We used existing resources and then collected as much information as possible from 1,077 offices in76 provinces. It took four years to manually collect all the information we needed,” Surachai said.

The Thai population database consisted of a database of registered households, a database of people, a database of registered voters, and a database of registered marriages and divorces.

“It was complete but the information was not updated because we worked manually. So, all the information from offices in the 76 provinces would be sent to the central office for updating once a month,” he said.

Even though it was updated monthly, the central database made Thailand the first country outside the US to win the Smithsonian Award in 1990 for using IT to improve the management of mankind.

The award encouraged Surachai to move forward with the project. As the director of the Registration Processing Centre, he initiated a project to link all 1,077 offices throughout the country to a computer network in order to improve the efficiency of registration services.

“It was my mission to allow people to spend less time when using the services of the registration offices wherever they are. In Bangkok or in rural areas they should receive the same standard of service,” he said.

All 1,077 offices of the Bureau of Registration Administration throughout the country have been connected via an online network, which allows information about the Thai populace to be updated in real time. When information is changed or updated at any bureau office the database server in Bangkok is automatically updated.

“It also allows us to provide ID card registration for people within 15 seconds instead of three months,” Surachai said.

This is the first step towards realisation of the all-in-one card concept. The card will ultimately come with multiple applications to serve multiple purposes. Instead of being just an ID card containing a person’s name it will also contain other information on the holder’s healthcare insurance, tax record, driving licence and social security status.

“There is no other country that is encouraging its entire population to have a smart card as an ID card. Other countries have issued a national ID smart card as an option for those who want one and are willing to pay for it,” said Surachai.

But these other countries may have good reasons for not compelling people to have such cards. Data-protection legislation is a very complicated matter and until a nation is well equipped enough and has deep-rooted respect for human rights, a smart ID card could be a double-edged sword.

But Surachai said he only considers himself a tech man, and aims to export the knowledge and drive Thailand to be a regional leader in terms of efficient registration of people.

http://www.nationmultimedia.com/home/2004/02/23/headlines/NATIONAL-ID-Smart-idea-born-20-years-ago-94038.html

View :2036

จุดเปลี่ยนอีคอมเมิร์ซไทย…

June 21st, 2010 No comments

อาจกล่าวได้ว่าปีนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนของวงการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซ (Electronics Commerce: E-Commerce) ของไทยเมื่อผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซรายใหญ่อย่างตลาดดอทคอม (Tarad.com) ประกาศเดินหน้านำเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านอีคอมเมิร์ซจากหุ้นส่วนธุรกิจอย่าง Rakuten ยักษ์การค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เบอร์หนึ่งจากแดนปลาดิบมายกระดับบริการอีคอมเมิร์ซให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กหรือเอสเอ็มอี (Small and Medium Enterprise: SME) ในไทย

แม้ว่าอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยจะถือกำเนิดมานานมากกว่าทศวรรษแล้วก็ตาม แต่ที่ผ่านอีคอมเมิร์ซในไทยนั้นถือว่ายังไม่ใช่อีคอมเมิร์ซอย่างแท้จริง แต่นับจากนี้ไป ตลาดดอทคอมจะนำเทคโนโลยีด้านอีคอมเมิร์ซมาสนับสนุนเอสเอ็มอีไทยให้สามารถสร้างรายได้ที่แท้จริงจากการทำการค้าออนไลน์…

ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาดดอทคอม จำกัด

อีคอมเมิร์ซยุค 3: Total Online Transaction

ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาดดอทคอม จำกัด กล่าวว่า หากจะนิยามยุคสมัยของอีคอมเมิร์ซแล้วปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคที่ 3 ของอีคอมเมิร์ซ ซึ่งยุคที่ 3 เป็นยุคที่ทุกธุรกรรมของอีคอมเมิร์ซเกิดขึ้นและเสร็จสิ้นลงบนโลกออนไลน์อย่างแท้จริง (Total Online Transaction) ทั้งนี้อีคอมเมิร์ซในยุคที่ 1 คืออีคอมเมิร์ซแบบคลาสสิฟรายด์ (Classified E-Commerce) และอีคอมเมิร์ซในยุคมา คือ อีคอมเมิร์ซยุคแคทตาล็อก (Catalog E-Commerce) ซึ่งเป็นการทำอีคอมเมิร์ซกึ่งออนไลน์และกึ่งออฟไลน์

“อีคอมเมิร์ซไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการค้าออนไลน์ ซึ่งเป็นยุคอีคอมเมิร์ซสมบูรณ์แบบ นั่นคือ เป็นการค้าออนไลน์ 100 เปอร์เซ็นต์ที่ทุกรายการค้าขายเกิดขึ้นและจบลงบนออนไลน์”มิร์ซแบบ ในยุคที่ นึ่ตลาด ยบริการ น ภาวุธ กล่าวว่า ้ซื้อไปในเวลาเดียวกัน สุด รฝึกอบรมหากผู้ประกอบการมีความต้องการเพิ่อง,biNbb,bi

การทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีด้านอีคอมเมิร์ซและองค์ความรู้ด้านการตลาดบนโลกการค้าออนไลน์จะเข้ามามีบทบาทอย่างมาก อีคอมเมิร์ซมิใช่เป็นเพียงการเปิดหน้าร้านเพื่อขายสินค้าของผู้ประกอบการรายเล็กที่ไม่มีหน้าร้านหรือมีเงินทุนต่ำเท่านั้น แต่อีคอมเมิร์ซ คือธุรกิจที่มีโอกาสทางการตลาดสูงสำหรับเอสเอ็มอีที่ต้องการมีช่องทางการตลาด ช่องทางในการจำหน่ายสินค้าและบริการของตนเองอย่างถาวร ด้วยต้นทุนที่ประเมินกับรายได้ (Cost Efficiency) แล้วคุ้มกว่ามาก

“อีคอมเมิร์ซยุคนี้เป็นของผู้ประกอบการตัวจริงที่เอาจริงเอาจัง ไม่ใช่ผู้ประกอบการสมัครเล่นที่ทำอีคอมเมิร์ซเป็นอาชีพเสริมหรืองานอดิเรก”

การเข้ามาถือหุ้นของบริษัทราคูเท็น (Rakuten) จำกัด บริษัทที่ดำเนินธุรกิจอี คอมเมิร์ซอันดับ 1 ในญี่ปุ่น และอันดับ 8 ของโลกในบริษัทตลาดดอทคอมจำกัดนั้นไม่ได้หมายถึงเม็ดเงินกว่า 67 เปอร์เซ็นต์ของการถือครองหุ้น แต่หมายถึงการเข้ามาขององค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านอีคอมเมิร์ซที่จะมายกระดับขีดความสามรถในการสร้างธุรกิจอีคอมเมิร์ซให้กับเอสเอ็มอีของไทย

เพราะการเข้ามาของ “ราคูเท็น” ทำให้ตลาดอทคอมเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการอีคอมเมิร์ซจากการให้ “เช่า” พื้นที่ (Space) ในห้างสรรสินค้าบนโลกออนไลน์ไปสู่การนำเสนอบริการครบวงจร (Total Solutions) ให้กับผู้ประกอบการ และได้เปลี่ยนบทบาทหน้าที่ www.tarad.com จากการเป็นเพียงห้างสรรพสินค้าออนไลน์ให้ร้านค้าเข้ามาเช่าพื้นที่ขายของไปสู่การเป็นศูนย์รวมร้านค้า (Premium Mall) ที่มีบริการทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการแบบครบครัน

ภาวุธอธิบายเพิ่มว่า เดิมที่ตลาดดอทคอมให้บริการเฉพาะพื้นที่บน www.tarad.com เท่านั้น โดยบริษัทไม่ได้เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียในยอดขายของผู้เช่าหน้าร้านออนไลน์ และบริการหลักคือให้เช่าพื้นที่ขายของบนอินเทอร์เน็ตเท่านั้น รายได้หลักของตลาดดอทคอมจึงมาจาก “ค่าเช่า” หน้าร้านออนไลน์ และรายได้จากบริการเสริม คือ รายได้จากการขาย บริการเสริมอื่นๆ และบริการฝึกอบรมหากผู้ประกอบการมีความต้องการเพิ่ม

“ที่ผ่านมาเราขายพื้นที่ ร้านค้าก็เพียงมาเปิดร้านขายของออนไลน์ ส่วนบริการฝึกอบรม หรือบริการระบบชำระเงิน และระบบส่งของ เรามีบริการบ้าง แต่ยังไม่ครบวงจรและมีประสิทธิภาพเท่ในปัจจุบัน ที่สำคัญ ทุกบริการล้วนเป็นบริการที่ผู้ประกอบการต้องจ่ายเพิ่มเพื่อใช้บริการ ดังนั้น ผู้ประกอบยังไม่มียอดขายก็จะยังไม่ซื้อบริการเหล่านี้”

ทว่านับแต่นี้ต่อไป รูปแบบธุรกิจของตลาดดอทคอมได้เปลี่ยนใหม่หมด สินค้าและบริการหลักของตลาดดอทคอมคือการขายโซลูชั่นอีคอมเมิร์ซครบวงจร (Total E-Commerce Solution) ให้กับผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ โดยมุ่งหวังให้ผู้ประกอบการเหล่านี้มีรายได้จากการขายสินค้าผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซมากที่สุด ผ่านการผลักดันและความช่วยเหลือทางการตลาดแบบ 360 องศาจากตลาดดอทคอม

“กลยุทธ์หลักของตลาดดอทคอม คือการสนับสนุนผู้ประกอบการ (Merchant) ในขณะที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นในการซื้อสินค้าออนไลน์ให้กับผู้ซื้อไปในเวลาเดียวกัน ฉะนั้น เราจะสนับสนุนผู้ขาย และปกป้องผู้ซื้อ เพื่อให้ระบบนิเวศของอีคอมเมิร์ซเดินหน้าได้อย่างรวดเร็วและก้าวกระโดด”

4 บริการหลักของ Tarad.com

คือ 4 ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

ภายใต้โซลูชั่นอีคอมเมิร์ซครบวงจรที่ตลาดดอทคอมนำเสนอนั้น ประกอบไปด้วยบริการ 4 ส่วนหลัก ได้แก่ ระบบอีคอมเมิร์ซของตลาดดอทคอม (Tarad Merchant System: TMS) ระบบการรับชำระเงินออนไลน์ (Online Payment System) การจัดส่งสินค้า (Logistic) และการตลาดออนไลน์ (Online Marketing)

ซึ่งระบบ TMS เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่บริษัทพัฒนาและปรับปรุงมาโดยตลอดกว่า 10 ปีที่ผ่าน ในขณะที่ระบบการรับชำระเงินออนไลน์ของตลาดดอทคอมนั้นมีให้เลือกมากถึง 6 ช่องทาง ได้แก่ รับชำระผ่านบัตรเครดิต ผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส โทรศัพท์มือถือ ผ่านเครือข่ายชำระเงินของ PayPal และPaySbuy รวมถึงผ่านตู้เอทีเอ็มและระบบอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง ซึ่งตลาดดอทคอมคิดค่าธรรมเนียมระหว่าง 4-6 เปอร์เซ็นต์จากยอดขายในแต่ละรายการขายที่เกิดขึ้น

บริการต่อมาคือ บริการจัดส่งสินค้าซึ่งถือเป็นหัวใจความสำเร็จของผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ ตลาดดอทคอมได้ผูกระบบหลังบ้านกับไปรษณีย์ไทยในการเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้เช่าของตลาดดอทคอมทุกร้านสามารถเข้าระบบเพื่อตรวจสอบอัตราค่าจัดส่ง(ตามน้ำหนักสินค้า)ได้โดยตรงจากไปรษณีย์ไทย ทำให้ผู้ขายสามารถปิดการขายบนออนไลน์ได้ทันทีหากลูกค้าสนใจจะสั่งซื้อสินค้า

“ในอดีตเราไม่เห็นภาพของการค้าขายอีคอมเมิร์ซแบบนี้ เพราะเราไม่ได้มีบริการแบบนี้ให้ เราแค่สร้างระบบและเปิดพื้นที่ให้ผู้ขายมาเช่าอยู่เปิดร้านค้าขายกันเอง โดยไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้ครบครันเช่นนี้ ที่สำคัญเราไม่มีการช่วยผู้ขายทำการตลาดผ่านออนไลน์เพื่อกระตุ้นการจับจ่ายบนอีคอมเมิร์ซ แต่อย่างใด”

ภาวุธ เน้นว่าความสำเร็จของการค้าขายไม่ว่าจะออนไลน์หรือออฟไลน์ก็คือ การทำการตลาด ที่ผ่านมาตลาดดอทคอมไม่มีนโยลายลงไปช่วยผู้ขายทำการตลาดเพื่อกระตุ้นการซื้อ แต่ภายใต้โซลูชั่นครบวงจรที่บริษัทนำเสนอนี้การลงไปช่วยผู้ขายทำการตลาดออนไลน์เป็นอีกหนึ่งบริการหลักที่ตลาดดอทคอมมีให้กับผู้ประกอบการ โดยบริษัทจะแต่งตั้งและมอบหมายให้มี “ผู้ช่วยส่วนตัว” ที่เรียกว่า E-Commerce Consultant สำหรับทุกๆ ร้านค้าบน Tarad.com โดยผู้ช่วยเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้ความช่วยเหลือทางทุกอย่าง ตั้งแต่การขาย ไปจนถึงการบริการและการตลาด อาทิ ช่วยคิดโปรโมชั่นหรือแคมเปญทางการตลาดให้กับผู้ขาย ให้คำปรึกษาเรื่องการทำการตลาดผ่านอีเมล์ ผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ เป็นต้น

“เดิมที่เราไม่มีบริการทั้งหมดนี้ให้ ใครใคร่ขายอะไรขายอย่างไรแล้วแต่เขา เราเก็บแค่ค่าเช่าร้านค้าออนไลน์รายเดือนๆ ละไม่กี่ร้อยบาทเท่านั้น แต่ภายใต้โมเดลธุรกิจแบบใหม่เราไม่ได้ให้เช่าพื้นที่อย่างเดียว เราจะช่วยทำยอดด้วย ซึ่งลูกค้าเราโต เราก็โตด้วย เราจะโตไปด้วยกัน เพราะเราเชื่อว่าความสำเร็จของลูกค้าเรา คือ ความสำเร็จของเรา”

Tarad.com ตั้งเป้าช่วย SME ไทยค้าออนไลน์

กลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักของบริการโซลูชั่นครบวงจรนี้ คือ เอสเอ็มอี ที่มีสินค้าพร้อมจำหน่าย และการใช้บริการ Premium Mall ที่ www.tarad.com นั้นผู้ประกอบการจะต้องมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้น คือ ค่าเช่ารายเดือน ซึ่งค่าเช่าส่วนนี้จะเกิดขึ้นทันทีแม้ว่าจะยังไม่มียอดขาย เพราะค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เป็นต้นทุนในการบริหารจัดการอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ตลาดดอทคอมนำเสนอ ค่าเช่ารายเดือนนี้เริ่มต้นตั้งแต่ 1,500 บาทต่อเดือน สำหรับสินค้าไม่เกิน 500 ชิ้น 3,000 บาทต่อเดือนสำหรับสินค้าไม่เกิน 1,000 ชิ้น และ5,000 บาทต่อเดือนสำหรับสินค้าจำกัดจำนวน และในทุกๆ รายการขายที่เกิดขึ้นจริงผู้ประกอบจะต้องเสียค่าธรรมเนียม (Transaction Fee) ในอัตรา 4-6 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายนั้นๆ

“ตัวอย่างความสำเร็จของผู้ประกอบการที่เข้ามาใช้ระบบของตลาดอทคอม อาทิ ร้านขายราวตากผ้าที่สนามหลวงสอง ยอดขายเพิ่มขึ้น 5,000 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ร้านขายวิกผม ยอดเพิ่มก้าวกระโดดเช่นกันถึง 1,000 เปอร์เซ็นต์ ที่ยอดเพิ่มมากขนาดนี้ เพราะผู้ประกอบการเหล่านี้เชื่อและทำตามที่เราแนะนำ ตั้งแต่การออกแบบ ตกแต่งหน้าร้านค้าออนไลน์ ไปจนถึงออกแบบโปรโมชั่นและแคมเปญการตลาด”

ผู้ประกอบการที่จะเข้ามาใช้บริการ Premium Mall ที่ www.tarad.com ได้นั้นจะต้องมีสินค้าในสต็อกพร้อมจัดส่งอย่างน้อย 50 รายการสินค้า ปัจจุบัน มีร้านค้าย้ายจากแพลตฟอร์มเดิมมาสู่แพลตฟอร์มใหม่นี้แล้วหลายราย และแต่ละราย ภาวุธ บอกว่า ยอดขายเติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดด โดยเฉลี่ยแล้วเพิ่มขึ้นถึง 200เปอร์เซ็นต์ เป้าหมายในปีนี้ ภาวุธมองว่าน่าจะมีผู้ประกอบการที่ย้ายมาจากระบบเก่าส่วนหนึ่งและเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ที่เพิ่งเข้ามาทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซในสัดส่วน 50:50 จากเป้าหมายยอดร้านค้าทั้งสิ้น 3,000- 4,000 ร้านค้าที่คาดว่าจะมาใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจร และเป้าหมายโดยรวมของตลาดดอทคอมคือการสร้างยอดขายรวมของร้านค้าทั้งหมดใน www.tarad.com ให้ได้ 5,000 ล้านบาทใน 5 ปีข้างหน้าเป็นอย่างน้อย

ทั้งนี้ยอดขายดังกล่าวจะมาจากจำนวนร้านค้าที่ทยอยเข้ามาทำอีคอมเมิร์ซกับตลาดดอทคอมภายใต้รูปแบบใหม่ที่กล่าวมานี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในปัจจุบันตลาดดอทคอมมีฐานผู้ซื้อสินค้า หรือที่เรียกว่า Tarad Member อยู่ราว 2 ล้านราย ทั้งนี้ตลาดดอทคอมได้สร้างระบบ Trust Mark ขึ้นในชุมชนตลาดออนไลน์ เพื่อช่วยสร้างความมั่นใจให้ผู้ซื้อที่มาซื้อสินค้าออนไลน์ที่ www.tarad.com โดยการรับประกันคืนเงินให้ในกรณีผู้ซื้อซื้อสินค้าแล้วไมได้รับของ โดยมีวงเงินคืนสูงสุดถึง 50,000 บาท

หากผู้ประกอบการรายใดยังไม่พร้อมที่จะย้ายหรือก้าวเข้ามาสู่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบครบวงจรนี้ ตลาดดอทคอมมีทางเลือกให้ผู้ประกอบการ โดยตลาดดอทคอมยังคงบริการเช่าพื้นที่ร้านค้าออนไลน์อย่างเดียวโดยไม่มีบริการสนับสนุน ส่งเสริมการขายใดใด เพราะในระบบเดิมนี้ตลาดดอทคอมมีร้านค้าอยู่ประมาณ 180,000 ราย ซึ่งในจำนวนนี้มีเพียงครึ่งเดียวที่ยังคงดำเนินธุรกิจค้าขายออนไลน์อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

คงจะไม่ผิดหากจะกล่าวว่าการปรับกลยุทธ์ในครั้งนี้ของเจ้าตลาดอีคอมเมิร์ซอย่างตลาดอดอทคอม เป็น “จุดเปลี่ยน” ของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ที่เดินมาถึงจุดอิ่มตัวของการทำอีคอมเมิร์ซแบบเดิม และเชื่อแน่ว่าต่อจากนี้ไปอีคอมเมิร์ซจะเป็นโอกาสและช่องทางทำธุรกิจที่สำคัญให้กับธุรกิจของไทยอย่างแน่นอน….

View :4166

HTC Legend … มือถือสำหรับคนออนไลน์ (..สวย ดี ไม่แพงเกินไป)

June 6th, 2010 No comments

หากจะกล่าวว่าโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนี้หากไม่มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนยุคนี้ ยุคโซเชียล เน็ตเวิร์ก (Social Network) ที่ต้องการการสื่อสารกับคนอื่นตลอดเวลาแล้วอาจจะขายยากสักหน่อย ซึ่งวันก่อนได้มีโอกาสสัมผัส HTC Legend จุดมุ่งหมายแรกของการรับจะลองเล่นลองใช้ HTC Legend เพราะอยากจะลองเล่น Android Phone โทรศัพท์มือถือแพลตฟอร์มที่ถูกจับตาและคาดหมายว่าจะมาต่อกรและล้มแชมป์เจ้าแห่งสมาร์ทโฟนและเจ้าแห่งโมบายแอพพลิเคชั่นอย่าง iPhone นั่นเอง

โดยส่วนตัวแล้วกับแบรนด์ HTC นั้นไม่ค่อยสนิทกันมากนักในแง่ของความคุ้นเคยในการใช้งานมือถือ เพราะจากประสบการณ์ตรงเคยไม่เคยซื้อมาใช้ เคยใช้แต่ O2 ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็น Dopod จนมาเป็น HTC ในที่สุด ซึ่งคงจะไม่แฟร์นักหากจะเอาประสบการณ์ความทรงจำของการใช้ Windows Mobile ในอดีตสมัยยุค O2 มารู้สึกกับ HTC (แม้ว่าที่ผ่านมาจะแอบคิดมาโดยตลอดว่า HTC ใช้ยาก เพราะเป็น Windows Mobile ก็ตามที)

แต่ทว่าสัมผัสแรกที่จับ HTC Legend รู้สึกว่า “เออ….สวยดีวุ้ย บาง เบา เหมาะมือจัง” และหลังจากที่ได้มีโอกาสอยู่กับ HTC Legend มาสองอาทิตย์กว่า (แบบไม่ต่อเนื่อง เพราะว่าเป็นเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองพอดีทำให้ต้องมีภารกิจในการทำหน้าที่อื่น) ก็พบว่า HTC Legend เป็นมือถือที่น่าใช้สำหรับคนที่ต้องการมองหา Smart Phone ที่สมาร์ทจริงๆ ไม่ใช่ฉลาดแบบกึ่งๆ ในราคาสมเหตุสมผล HTC Legend ก็น่าจะเป็นตัวเลือกในอันดับต้นๆ เลยทีเดียว

ตั้งโจทย์กับตัวเองว่าจะลองใช้ HTC Legend เพื่อตอบสนองวิถีชีวิตการสื่อสารในชีวิตประจำวันของตัวเองดูสิว่า หากต้องออนไลน์อินเทอร์เน็ตบนมือถือตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์ ต้องปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและเจ้านายได้ตลอดเวลา ต้องอัพเดทหน้า Facebook Fanpage ต้อง Tweet พูดคุย อยากจะทวีตข่าวที่น่าสนใจจากสำนักข่าวต่างประเทศ หรือจะแชร์ข่าวนั้นให้เพื่อนใน Facebook จะสามารถทำทั้งหมดทุกอย่างได้ด้วยเครื่องมือถือเครื่องเดียวอย่าง HTC Legend หรือไม่….?

พอได้โจทย์แล้ว..ก็ลุยเลย แอพพลิชั่นแรกเลยที่พุ่งเข้าใส่ก็คือ ‘Market’ ซึ่งก็คือ Application Store ของ Android Phone นั่นเอง (เหมือนกับ iTune Application Store ของ iPhone) ความหา Twitter Client for Android มาให้หมดเกือบทุกตัว ที่กวาดมาได้ก็หลายตัวอยู่ อาทิ Twidroid, Seemicsและ TweetCaster จากนั้นก็ไปหา Facebook for Android ด้วย หลัง จากนั้นก็ลุยหาแอพฯ ข่าวในตลาด แล้วก็พบว่า สำนักข่าวนี่ไวจริง มีบริการข่าวของแทบทุกสำนักที่มีบริการบน iPhone ก็มีบริการบน Android Phone ด้วย

นอกจากแอพฯ สื่อสาร แอพฯ ข่าวแล้ว ใน ‘Market’ ยังมี แอพฯที่น่าสนใจอีกเพียบ โดยเฉพาะแอพฯฟรี การหาแอพฯใน ‘Market’ดูเหมือนจะหาง่ายกว่าบน Application Store ของ iPhone เพราะว่าที่ ‘Market’ จะจัดแอพฯ เป็นหมวดหมู่ให้ง่ายต่อการหา ส่วน Application Store ของ iPhone นั้นจะเรียงเป็น Top 25 Applications Free/Paid ซึ่งไมได้จัดเรียงตาม “ประเภท” ของแอพฯ ทำให้ ‘Market’ นั้นเหมาะกับคนที่มีแอพฯ ในใจที่ต้องการตั้งต้นแล้วมุ่งไปหา แต่เหมือนมาเดินช้อปแอพฯ เจออะไรน่าเล่น น่าใช้ก็โหลดมา

จากนั้นก็ลองท่องโลกออนไลน์โดยใช้ HTC Legend ผ่าน WiFi พบว่า ประสบการณ์บน HTC Legend Android กับ iPhone นั้นไม่ค่อยแตกต่างกันเท่าไหร่นัก (อาจต่างบ้าง เพราะว่าใช้ iPhone จนชินมือมากกว่าเล็กน้อย แต่นั่นไม่ใช่ประเด็น เพราะมนุษย์เราหากอยู่กับอะไรนานๆ ก็จะคุ้นชินกับสิ่งนั้นๆ ไปได้เอง) แต่สำหรับบางคนที่อาจจะไม่คุ้นกับการใช้หน้าจอสัมผัส โดยเฉพาะการใช้ Soft Keyboard แทนการจิ้ม Hard Keyboard อาจจะต้องการเวลาในการปรับตัวนิดนึง

เริ่มจากหน้าจอสัมผัสพบว่าการตอบสนองต่อการสัมผัสของ HTC Legend นั้นมีความไวพอๆ กับ iPhone หน้าจอสัมผัสก็มีความลื่นไหลได้ดีมาก “ลื่นปรื๊น ลื่นปรื๊น” การแสดงผลหน้าจอแบบ Sense UI ก็ช่วยทำให้การหา “ของ” อาทิ ไฟล์และข้อมูลต่างๆ หา “แอพพลิเคชั่น” ที่เก็บไว้ได้สะดวกง่ายดายเพียงปลายนิ้วสะบัด แต่การจัดเรียง “ของ” หรือ “แอพพลิเคชั่น” ต่างๆ ของ HTC Legend นั้น จะเรียงตามตัวอักษร ไม่ว่าแอพฯนั้นจะมาก่อนหรือหลังไม่สำคัญ ชื่อนั้นสำคัญกว่า เพราะมันจะเรียงตามตัวอักษรชื่อแอพฯ (ซึ่งต่างจาก iPhone ที่จะเรียงยงไงก็ได้แล้วแต่เรา อยากให้แอพฯอะไรอยู่หน้าไหน อยู่ใกล้อับแอพฯอะไรก็เคลื่อนย้ายได้หมด) เสียดายอยู่อย่างเดียวที่ไมได้ลองแอพฯ อีเมล์ เพราะว่า HTC Legend ให้ตั้งค่าเมล์หลักต้องเป็น POP3 เท่านั้น หากเป็น web mail หมดสิทธิ์

Facebook บน HTC Legend มีลูกเล่นแตกต่างจาก Facebook บน iPhone อยู่บ้าง นี่คืหอหน้าตาของเมนเมนูของ Facebook บน HTC Legend จะเห็นว่ามีอยู่ 6 ฟังก์ชั่นหลัก จะเห็นว่ามีฟังก์ชั่นในการจัดการ Page ซึ่ง iPhone ทำได้ แต่โดยรวมแล้ว ฟังก์ชั่นการใช้งานของ Facebook บน HTC Legend นั้นก็ใช้ง่ายและมากพอสำหรับการสื่อสารแบบครบอรรถรสบนมือถือจริงๆ

ซึ่งคุณสมบัติหลักอย่างหนึ่งที่ชอบมากๆ ของ HTC Legend คือการ “แชร์” ข้อมูล ทั้งข้อความ และภาพข้ามไปมาระหว่าง Social Network หลายตัวได้ ไม่ว่าจะแชร์จาก Facebook ไป Twitter หรือแชร์จาก Twitter ไป Facebook หรือ แชร์ข้ามไปข้ามมาระหว่าง Twitter Clinets บน Android ด้วยกันเอง (อันนี้เอาไว้ไปแชร์ข้อมูลที่คนอื่นใน Twitter โพสต์เข้ามา เพื่อแชร์ไปให้เพื่อนบน Facebook ได้รับรู้)

ส่วนการ Copy & Paste นั้น เป็นอีกฟังก์ชั่นการใช้งานหลักที่ใช้บ่อยมาก ซึ่งตอนแรกหาฟังก์ชั่นนี้ไม่เจอ ปรากฏว่าการจะ Copy & Paste นั้น จะต้องกดค้างไว้สักอึดใจ (อาจจะนานกว่าบน iPhone นิดหน่อย) ซึ่งฟังก์ชั่นนี้ไม่ต่างจากกัน

และอีกฟังก์ชั่นที่ชอบมากๆ อีกเช่นกัน คือ การเก็บภาพ snapshot ซึ่งการใช้ฟังก์ชั่นนี้แปลกมา คือ ต้องไปดาวน์โหลดแอพฯมาก่อน และแอพฯ ที่ใช้คือ Shoot Me และการจะเซฟหน้าจอได้นั้น ไม่ต้องกดปุ่มอะไรเลยเพียงแต่ “เขย่า” (Shake) เจ้า HTC Legend เท่านั้น…อืม…ประทับใจมาก…แปลกดี สนุกดีด้วย..(แต่เวลาเขย่าควรจับเครื่องแน่นๆ นะคะ ระวังจะหลุดมือ)

แต่สำหรับกล้องและการถ่ายรูปนั้น ต้องบอกว่า HTC Legend สู้ iPhone ไม่ได้ เพราะว่าจังหวะการกดชัตเตอร์ และจังหวะของการเก็บภาพที่ถ่ายไว้เพื่อที่จะถ่ายรูปใหม่นั้น จะกินเวลากว่า (คือช้ากว่า) iPhone อยู่หลายวินาที ซึ่งคุณสมบัตินี้ไม่เหมาะอย่างยิ่งที่จะเอาไว้ถ่าย “เหตุการณ์” แต่หากเอาไว้ถ่ายรูปเล่นก็ไม่ใช่ปัญหาหรือเรื่องน่าปวดหัวแต่อย่างใด

มีฟังก์ชั่นนึงที่คิดว่า HTC Legend เหนือกว่า iPhone ก็คือ Word Press เพราะว่า Word Press บน HTC Legend นั้นมีฟังก์ชั่นและ Look& Feel น่าใช้กว่า Word Press บน iPhone มากๆ หน้าตาของ Word Press บน HTC Legend ละหม้ายคล้ายบนเว็บเลย ใช้งานง่ายและดูสวยงามมาก..ชอบมากๆ

เกือบลืมไปอีกฟังก์ชั่นหนึ่งที่ลองแล้วชอบ (ลองเทียบกันเลย 2 เครื่องทั้ง HTC Legend และ iPhone) คือ การดู YouTube บน HTC Legend สวยงามชัดใสดีจริงๆ

สรุปจากการลองเล่นแอพพลิเคชั่นหลักๆ ที่ตัวเองใช้ประจำและชอบใช้ (ในฐานะของผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่รู้เรื่องเทคนิคมากมายนัก) ก็พบว่า HTC Legend เป็นโทรศัพท์มือถือที่ตอบโจทย์การใช้งานสำหรับคนที่มีไลฟ์สไตล์ชอบการออนไลน์ ชอบการท่องโลกอินเทอร์เน็ตและ Social Network จริงๆ เพราะใช้งานง่าย มีหลากหลายแอพพลิเคชั่นให้เลือก รูปลักษณ์ รูปทรงก็สวยงามดีด้วย

View :4233
Categories: Mobile Phone Tags: ,

“ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส”: “คำตอบ” ของการลงทุนซอฟต์แวร์สำหรับ SME

June 1st, 2010 No comments

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าในยุคที่ผู้ประกอบการต่างต้องพึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Techonology:IT) หรือไอที เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันที่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น นอกจากนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ทางธุรกิจที่ต้องพึงมีอย่างต่อเนื่องแล้ว ผู้ประกอบการยังคงต้องจับจ้องและลงทุนกับนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นมาใหม่อย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ นำมาซึ่งช่องว่างของการแข่งขันระหว่างผู้มีความสามารถในการลงทุนและเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้กับผู้ที่ไม่สามารถซึ่งส่วนมากล้วนแล้วแต่เป็นธุรกิจขนาดกลางและเล็ก หรือเอสเอ็มอี (Small and Medium Enterprise: SME) ที่โดนแรงกดดันจากสองทาง นั่นคือ แรงกดดันที่ต้องการยกระดับคุณภาพการแข่งขันด้วยการใช้ไอที ในขณะที่การที่จะมีไอทีใช้สำหรับเอสเอ็มอีดูเหมือนจะเป็นเรื่องของ “ต้นทุน” ที่ต้องคิดหนัก

ทว่าปัญหาเหล่านี้ของเอสเอ็มอีดูจะมีทีท่าคลีคลายไปในทางที่ดีขึ้นเนื่องเพราะปัจจุบันมีเทคโนโลยี ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส(Open Source Software) ที่เข้ามาเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถลงทุนในระบบซอฟต์แวร์ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าได้ ซึ่งกระแสของการใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สในประเทศไทยนั้นมีมานานหลายปีแล้ว แต่ดูเหมือนว่าจะยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก จนกระทั่งไม่กี่ปีที่ผ่านนี้ที่กระแสการตื่นตัวต่อการใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สในประเทศไทยมีความคึกคักมากขึ้นเมื่อบริษัทขนาดใหญ่และหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจต่างหันมาลงทุนในระบบซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สกันอย่างเอาจริงเอาจังและอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเริ่มเห็นผล

โอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์”: ถูกกว่า…แต่ไม่ฟรี

แต่บรรดาเอสเอ็มอีเองกลับเป็นกลุ่มที่ยังมีสัดส่วนของการใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สน้อยกว่าบริษัทขนาดใหญ่ ทั้งนี้เป็นเพราะเอสเอ็มอียังคงขาดความรู้ความเข้าใจในการนำซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สมาประยุกต์ใช้ในองค์กร เอสเอ็มอีส่วนมากยังคงมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส คือ “ของฟรี” ดังนั้นหากบริษัทของตนจะลงทุนในซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สบริษัทจะไม่มีค่าใช้จ่ายเลย ซึ่งความเข้าใจดังกล่าวนอกจากไม่ตรงความจริงแล้วยังนำมาซึ่งปัญหาในการเริ่มทดลองใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สในบรรดาเอสเอ็มอีหัวก้าวหน้าที่ลงทุนกับซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สแล้วไม่ประสบความสำเร็จ เพราะไม่มีการวางแผนการลงทุนในระบบซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ที่ชัดเจน

ดนุพล สยามวาลา กรรมการผู้จัดการ บริษัทไอซ์ โซลูชั่น จำกัด ผู้พัฒนาและให้บริการโอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์ และในฐานะประธานชมรมผู้ประกอบการโอเพ่นซอร์ส (BOSS) สังกัดสมาคมสมาพันธ์โอเพ่นซอร์สแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เอสเอ็มอีจะต้องทำความเข้าใจเรื่องการใช้โอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์เสียก่อนว่าซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สนั้นมีค่าใช้งานแต่ต่ำกว่าเนื่องจากไม่ต้องจ่ายค่าไลเซ่นส์ทุกๆ ไลเซ่นส์ ในทุกๆ ปี จากนั้นเอสเอ็มอีจะต้องถามตัวเองก่อนว่าตนเองนั้นต้องการนำซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อะไรเป็นหลัก เพื่อลดค่าใช้จ่ายเรื่องค่าไล่เซ่นส์ หรือเพื่อเพิ่มศักยภาพการทำธุรกิจ

“ที่ผ่านมาผู้ใช้เองยังไม่มีความรู้มากนักจึงนำซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สมาใช้เพื่อทดแทนซอฟต์แวร์เดิม อาทิ เอา Open Office มาแทน Microsoft Office เลยทันทีโดยมิได้มีการวางแผนล่วงหน้าในการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานภายในองค์กรและไม่ได้วางแผนการลงทุนในระบบไอทีในระยะยาวไว้ ทำให้พอใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สไปได้สักระยะหนึ่งจึงเกิดปัญหา”

ดนุพลกล่าวว่า เริ่มต้นเอสเอ็มอีจะต้องตรวจสอบความต้องการขององค์กรว่าต้องการนำซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สไปใช้ในกระบวนการทำงานใด และเพื่อวัตถุประสงค์อะไร ซึ่งจะต้องวางแผนไว้ล่วงหน้าให้ชัดเจน

ปัจจุบันซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สสำหรับระบบงานขององค์กรธุรกิจในทุกระดับของการทำงาน ได้แก่ ระดับโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) อาทิ ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ (Linux) ระดับของการสื่อสาร (Communication) อาทิ ระบบ Collaboration ระบบ IP Phone และระบบ Voice over IP; และระดับระบบงานด้านธุรกิจ (Business Applications) อาทิ ระบบอีอาร์พี (ERP: Enterprise Resource Planning) ระบบ Document Management และระบบบริหารจัดการข้อมูล Content Management System (CMS)

“ปัจจุบันระบบงานซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สที่กำลังได้รับความนิยมมากได้แก่ ระบบอีอาร์พี ระบบ Open Office และระบบบริหารจัดการข้อมูล (CMS: Content Management System) ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นระบบซอฟต์แวร์ระดับระบบงานด้านธุรกิจ” ดนุพลกล่าว

โอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์”: ลดค่าใช้จ่าย ….ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์:

ขณะที่สัมพันธ์ ระรื่นรมย์ กรรมการผู้จัดการบริษัท โอเพนซอร์ส ดิเวลอปเมนต์ จำกัด ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ที่มีประสบการณ์ในการดูแลโครงการระดับประเทศอย่างลินุกซ์ทะเลและออฟฟิศทะเล  และเป็นผู้พัฒนาซีดีรวมซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สบนวินโดวส์ที่ชื่อว่า “จันทรา” (Chantra) ของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือ ซิป้า (SIPA: Software Industry Promotion Agency) กล่าวว่า การใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สในองค์กรขนาดใหญ่กับในองค์กรขนาดกลางและเล็กนั้นจะมีความแตกต่างกัน องค์กรขนาดใหญ่จะมีแรงจูงใจในการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเพื่อลดต้นทุนค่าไลเซ่นส์ซอฟต์แวร์ ในขณะที่องค์กรขนาดกลางและเล็กจะมีแรงจูงใจในการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเพื่อลดการละเมิดซอฟต์แวร์และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

ทั้งนี้ เนื่องจากซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเป็นซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ที่มีการพัฒนาแบบเปิด และไม่มีค่าใช้จ่ายในการนำไปใช้งาน จึงเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์กับองค์กร ไม่ว่าจะเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อซอฟต์แวร์และอัพเกรดระบบ นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาความยุ่งยากของค่าไลเซ่นส์ซอฟต์แวร์และความเสี่ยงต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ ลดปัญหาในเรื่องไวรัสและช่องโหว่ของโปรแกรม และลดปัญหาความขึ้นกับผู้ผลิตซอฟต์แวร์เพียงรายเดียวที่มีอำนาจในการตัดสิน ใจอนาคตการใช้งานไอทีขององค์กร

“ต้นทุนของการใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส จะอยู่เพียงแค่ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนซอฟต์แวร์ทั้งหมดหากใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ ในขนาดของระบบและจำนวนผู้ใช้งานที่เท่ากัน โดยต้นทุนของการใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สจะเป็นต้นทุนค่าพัฒนา ปรับปรุง ติดตั้ง และดูแลระบบ รวมถึงการฝึกอบรมการใช้งาน” สัมพันธ์กล่าว

ทั้งนี้ ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สที่เป็นที่ต้องการของผู้ใช้งานทั้งองค์กรขนาดใหญ่และขนาดกลางและเล็กได้แก่ โอเพ่นออฟฟิศ (OpenOffice.org) ซึ่งเป็นชุดซอฟต์แวร์ออฟฟิศที่มีความสามารถและการใช้งานใกล้เคียงกับ Microsoft Office ทำงานได้บนหลายแพลตฟอร์มทั้ง Windows, Linux, Mac OS X ฯลฯ OpenOffice.org ประกอบด้วยโปรแกรมคือ OpenOffice.org Writer (แทน Word), OpenOffice.org Calc (แทน Excel), OpenOffice.org Impress (แทน PowerPoint) และ OpenOffice.org Base (แทน Access) จึงสามารถใช้ทดแทน Microsoft Office ได้ในงานส่วนใหญ่

“เมื่อองค์กรสนใจที่จะเปลี่ยนมาใช้ OpenOffice.org เราสามารถช่วยให้การดำเนินการง่ายขึ้น ตั้งแต่ขั้นตอนการตัดสินใจ วางแผนกระบวนการ ออกแบบนโยบาย ทำโครงการนำร่อง อบรมพนักงาน และ support ทำให้การเปลี่ยนมาใช้ OpenOffice.org เป็นเรื่องง่ายสำหรับองค์กรทุกขนาด” สัมพันธ์กล่าว

บ.ซอฟต์แวร์รวมตัวตั้งชมรมให้บริการซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส:

ปัจจุบัน มีบริษัทซอฟต์แวร์ที่ให้บริการด้านซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สอยู่เป็นจำนวนมาก และบริษทเหล่านี้เริ่มรวมตัวกันเพื่อนำเสนอบริการระบบงานซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สให้กับลูกค้า ดนุพล กล่าวว่า การรวมตัวกันของบริษัทซอฟต์แวร์ด้านโอเพ่นซอร์สในนาม ชมรมผู้ประกอบการโอเพ่นซอร์ส (BOSS) สังกัดสมาคมสมาพันธ์โอเพ่นซอร์สแห่งประเทศไทย (http://www.oss-business.com) นี้เพื่อเป็นแหล่งรวมของผู้ให้บริการและเพื่อให้ลูกค้าสามารถไว้วางใจว่าจะได้รับการบริการด้านซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สที่มีคุณภาพในจำนวนที่มากพอที่จะให้บริการได้ ซึ่งภายในชมรมฯ จะประกอบด้วยบริษัทซอฟต์แวร์ที่พัฒนาซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส 10 ราย ที่มีความเชี่ยวชาญในการให้บริการซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สในแต่ละด้าน ได้แก่ ลีนุกซ์ ระบบอีอาร์พี Open Office และ ระบบ CMS เป็นต้น

“เราได้ให้บริการพัฒนา ติดตั้ง ดูแลระบบ และฝึกอบรมการใช้งานให้กับลูกค้าไปเป็นจำนวนมาก การให้บริการของบริษัทในชมรมฯ นั้นจะเน้นการร่วมกันให้บริการเพื่อให้ลูกค้าได้รับประโยชน์สูงสุดจากความเชี่ยวชาญของผู้ประกอบการแต่ละราย โดยในแต่ละทีมที่ให้บริการลูกค้าจะประกอบด้วยบริษัทที่ความเชี่ยวชาญในซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สคนละด้านกันแต่ร่วมกันให้บริการ ภายในสิ้นปีนี้ทางชมรมฯตั้งเป้าว่าเราจะเพิ่มจำนวนบริษัทซอฟต์แวร์สมาชิกอีก 10 ราย ทั้งนี้เพื่อขยายศักยภาพในการให้บริการลูกค้าที่นับวันจะมีความต้องการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก” ดนุพลกว่า

พันธกิจของชมรมฯ อายุปีเศษแห่งนี้ คือการมุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สให้กับผู้ประกอบการในประเทศ ให้สามารถมีทางเลือกในการลงทุนระบบซอฟต์แวร์ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าแต่ได้ประสิทธิภาพของการทำงานที่ดีขึ้น ในขณะที่มีผู้ให้บริการที่มีความรู้ในหลายด้านและ เชื่อถือได้ นอกจากนี้ ชมรมฯ ยังตั้งเป้าว่าจะให้การฝึกอบรมการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สให้กับผู้ประกอบการเพื่อต่อยอดการใช้งานระบบซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สในองค์กร ฉะนั้น หากผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กรายใดมีความสนใจอยากหันมาใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส แต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี ก็สามารถมาเริ่มต้นที่ชมรมฯ นี้ได้ทันที

ดังนั้น หากจะใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สให้เต็มที่ เอสเอ็มอีจะต้องทำความเข้าใจเสียใหม่ว่า ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สนั้น เป็นซอฟต์แวร์ที่ “ฟรี” จริงแต่เฉพาะ ค่าลิขสิทธิ์ หรือค่าไลเซ่นส์ซอฟต์แวร์ (Software License) แต่มีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบให้ตรงตามความต้องการในการใช้งานขององค์กรนั้นๆ (Customization) การติดตั้งและดูแลระบบ (Implementation and Maintenance) ให้กับบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส และที่สำคัญผู้ประกอบการจะต้องมีการวางแผนในการลงทุนระบบซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ว่าจะใช้ระบบอะไรบ้าง อย่างไร

View :3359
Categories: Software Tags: , ,