Archive

Archive for the ‘Technology’ Category

เมื่อครั้งพูดคุยกับ “สมคิด จิรานันตรัตน์”

December 18th, 2018 No comments

บทสัมภาษณ์นี้เป็นการพูดคุยกับ “คุณสมคิด จิรานันตรัตน์” อดีตประธาน บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) ถึงเรื่องทิศทางของธุรกิจธนาคารในอนาคตว่าจะเดินไปในทางไหนเมื่อถูกดิจิทัลปั่นป่วน เป็นการสัมภาษณ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2561 ก่อนที่จะมีการเปิดตัว KPlus เวอร์ชั่นใหม่ และมาลงหลังจากที่คุณสมคิดได้เกษียณจากตำแหน่งนี้ไปแล้วเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 61 ที่ผ่านมา

 

K.Somkid3

เมื่อ digital disruption …..

ทุกคนมีความท้าทายหมดในโลกยุคนี้ เพราะว่าโลกยุคนี้เทคโนโลยีเปลี่ยนเยอะ แล้วเทคโนโลยีที่เปลี่ยนก็เป็ยสิ่งที่อาจจะทำให้วิธีการแบบเดิมๆ ธุรกิจแบบเดิมๆ อาจจะมีความเสี่ยงสูงมาก และอาจจะอยู่ไม่ได้

ที่ผ่านมาเราก็เห็นตัวอย่างหลายธุรกิจที่อยู่ไม่ได้เพราะเทคโนโลยีเข้ามา disrupt เช่น ธุรกิจสื่องสิ่งพิมพ์ อยู่ไม่ได้เพราะว่าต้นทุนที่จะทำสื่อสิ่งพิมพ์กระดาษสูงมากกว่าสื่ออนไลน์​และผู้บริโภคก็หันไปบริโภคสื่ออนไลน์มากขึ้น เรื่องต้นทุนและพฤติกรรมผู้บริโภคทำให้ธุรกิจแบบเดิมอยู่ไม่ได้ อาจจะทุก sector ค่อยๆ ลามไปทีละ sector ก่อนหน้านั้นเป็นกล้องถ่ายรูป ตอนนี้ธุรกิจทีวีก็มีผลกระทบ ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมไปบริโภคสื่อ YouTube Facebook และสื่ออื่นๆ มากขึ้น ธุรกิจแบบเดิมอยู่ยาก ทั้งต้นทุนสูงกว่าและผู้บริโภคก็เปลี่ยนพฤติกรรม

ตอนนี้มาถึงธุรกิจทางด้านการเงิน เช่นเดียวกัน ต้นทุนต่ำลงอย่างมาก เพราะว่าต้นทุนในการทำ transaction บนสื่อออนไลน์ เช่น บน mobile เทียบกับสาขามันต่างกันเยอะมาก ผู้บริโภคก็หันมาใช้สื่อทางออนไลน์ ทาง mobile มากขึ้นๆ จะเห็นได้ว่า transaction บน mobile มากกว่าสาขาถึง 10 เท่า ณ ปัจจุบัน ของเราเองภายในช่วง 4-5 ปีเท่านั้นเอง ซึ่งมากกว่า ATM ถึง 2 เท่า (เมื่อก่อน ATM มี transaction มากที่สุด)​ แนวโน้มแบบนี้จะทำให้ต้นทุนของการให้บริการทางสื่อ mobile หรือสื่ออื่นในอนาคต จะต่ำลงๆ รูปแบบการให้บริการเปลี่ยนไป ดีขึ้นกว่าเดิม

สื่อทาง mobile เมื่อเทียบกับ Internet Banking / Cyber Banking มันดีกว่า ถูกกว่า และปลอดภัยกว่า แต่คนอาจจะยังไม่ทราบว่า mobile banking ปลอดภัยกว่า cyber banking แนวโน้มของคนที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้ mobile banking สูงมากขึ้นๆ

ภัยคุกคามของธนาคารคือ …

threat สำคัญสำหรับธุรกิจการเงิน คือ คนที่จะเข้ามาอยู่ในธุรกิจการเงิน ไม่จำเป็นต้องอยู่ในธุรกิจการเงินเดิม อาจจะไม่ใช่คู่แข่งคนเดิม อาจจะเป็นคนนอกธุรกิจการเงิน อาจจะเป็นบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ อาจจะเป็นบริษัท e-commerce ขนาดใหญ่ อาจจะเป็นบริษัท telco ขนาดใหญ่ อาจจะเป็น fintec ที่มีกำลังทรัพย์อย่างมาก คือ คนที่จะเข้ามาในธุรกิจแบบใหม่ หรือเข้ามาในธุรกิจการเงินจากภายนอก เขาต้องมีฐานเงิน เขาต้องมีฐานลูกค้า เขาต้องมีเทคโนโลยี ถ้าเขามี 3 อย่างนี้ ในอนาคตเส้นที่แบ่งเขตว่า เขตไหนหรือเขตของ financial industry มันถูกล้างไปหมดเลย

ในโลกแบบใหม่เส้นแบ่งเขตไม่มีแล้ว เราจะเห็นได้ว่า ถ้าเรายังทำแบบเดิม ยังคิดแบบเดิม รูปแบบการบริการเป็นแบบเดิม เราน่าจะมีปัญหา อันนี้เป็นสาเหตุหลักที่เราตั้ง KBTG และอันนี้ก็เป็นภารกิจหลักที่จะทำให้ KBTG และ KBank และธุรกิจธนาคาร ในประเทศไทนรอดพ้นจากการถูก take over หรือการถูก disrupt โดยธุรกิจแบบอื่น เราเป็นมา 2-3 ปีแล้ว ถึงตั้ง KBTG ขึ้นมา

Landscape ของ baking industry ….

Landscape ข้างหน้ามีความไม่ชัดเจนเยอะ ว่ารูปแบบของ landscape ข้างหน้าเป็นยังไง รูปแบบของการแข่งขันเป็นยังไง landscape ข้างหน้ามันเป็น “ดินแดนที่ยังไม่มีใครค้นพบ” เราต้องไปหา ต้องไปสร้างขึ้นมาว่า “ดินแดนที่ยังไม่มีใครค้นพบ” หน้าตาเป็นยังไง และเป็นภารกิจที่เราต้องทำอยู่ เพราะว่า “ดินแดนที่ยังไม่มีใครค้นพบ” มันจะสร้างให้เป็นแบบไหน

มีความท้าทายแน่นอนอยู่แล้ว อะไรก็ตามที่เป็นของใหม่ ใครก็ตามที่อยู่ในสภาพแบบนี้คิดว่าต้องท้าทาย เพราะเป็นสิ่งที่ไม่มีใครรู้ และเป็นสิ่งที่เราต้องช่วยคิดและสร้างขึ้นมาก ท้าทายอยู่แล้ว แต่ถามว่าเราจะหนีมันหรือไม่ จะหลบ จะยอมให้คนอื่นเขาทำขึ้นมา แล้วเราอยู่เฉยๆ หรือเปล่า เป็นไปไม่ได้

ตั้งเป้าที่เติบโต 10X ….

ถามว่าเราเป็นผู้นำในเรื่องนี้ไหม ตอนนี้ในโลกดิจิทัลในเมืองไทยก็ถือว่า KBANK เป็นผู้นำในเรื่อง mobile banking ในประเทศไทย ถ้าพูดถึงจำนวน volume, transaction ลูกค้า ใน SEA เราก็เป็นผู้นำ ถ้าพูดถึง scale ระดับโลก การเป็นผู้นำใน SEA มันขี้ปะติ๋วมากเลย เทียบระดับโลกไม่ได้เลย ระดับโลกเขาพูดกันเป็น 100 ล้านคน 1,000 คน อย่าง WeChat, Alipay เขาพูดกันเป็น 1,000 ล้านคน ของเรา 10 ล้านคน เล็กน้อยมาก เราต้องคิดถึงตัวเลขที่ใหญ่กว่า 10 ล้านคน เราไมไ่ด้คิดแค่ปัจจุบัน เราคิดถึง 5-10 ปีข้างหน้า เราคิดถึงตัวเลขที่เป็น 10X ไม่ใช่แค่ % incremental increase แต่เป็น explotential increase เราคิดถึงตัวลข 10 เท่า ซึ่ง timeframe ยังกำหนดไมได้ เราหวังว่าวิธีการ สิ่งที่เราทำเราตั้งเป้าว่าจะไปสู่ตัวเลขที่เป็น 10 เท่าได้ ส่วนจะเป็นถึงเมื่อใด วันนี้ถ้าบอกก็แสดงว่าโม้เกินไป เพราะยังไม่มีอะไรที่ชัดขนาดนั้น

แต่คิดว่าเราต้องหารูปแบบ วิธีการที่จะทำให้เราไปถึง10 เท่าให้ได้ก่อน แล้วเราลองทำมันสัก 1-2 ปี และหลังจาก 1-2 ปีแล้วเราถึงจะบอกได้ว่า อีกกี่ปีเราถึงจะไปถึง 10 เท่าแง่จำนวนคนใช้ แสดงว่าไม่เฉพาะในประเทศไทย ต้องเป็น regional หรือ global player ต้องขยายไปขอบเขตที่ใกล้ที่สุดก่อน คือ indo-china, CLMV, indonesia เป็นประเทศที่เราคุ้นเคย

การเข้ามประเทศเราต้องการการ support จาก regulation และเราต้องเป็น global player mentality mindset คิดแบบ local ไม่ได้ คิดแบบ local เราจะคิดถึงแต่วิธีการที่เราคุ้นเคย และวิธีการที่เป็นคนไทยทำตรงกับผู้บริโภคคนไทย ถ้าเราจะเป็น regional หรือ global player เราต้องคิดเป็น universal มากขึ้น โดยที่สิ่งที่เราคิด สิ่งที่เราทำต้องเป็น platform ที่เปิดมากพอที่จะไปสู่ regional ได้ หรือแม้กระทั่ง ในอนาคตถ้าไปถึง 10X อาจจะมากกว่า regional ซึ่งต้องอาศัย factor ที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน คือ factor ด้านการคิดการออกแบบ platform ต้องต่างจากปัจจุบัน ผู้ที่เข้ามาร่วมใน platform ต้องแตกต่างจากที่เราคิดอยู่ในปัจจุบัน ปัจจุบันเราบอกว่า KPlus เป็นเฉพาะของ KBank แต่ถ้าเราจะเป็น platform อนาคต มันจะต้อง beyond one bank และต้อง beyond banking

ความคิดนี้มันจะอยู่ใน KPlus version ใหม่ เราคิดมานานแล้วคิดมาเป็นปีแล้ว จะชัดขึ้นเรื่อยๆ ใน 2 ปี หลังจาก 2 ปีที่มันชัดขึ้น มันจะไปสู่ regional ได้ หลังจาก 5 ปี ถ้า regional success มันจะไปสู่ภาพที่ใหญ่กว่านั้นได้ global ได้

KPlus as a platform …

เราจะเริ่มเห็นวิธีคิดใน KPlus version ใหม่ ว่าเป็น opened platform มากขึ้น วิธีคิดจะใช้ AI มากขึ้น วิธีคิดจะรองรับ partner ที่จะเข้ามาอยู่ใน platform มากขึ้น วิธีคิดที่จะเอาลูกค้าเป็นศูนย์กลางมากขึ้น บริการต่างๆ ไม่จำกัดเฉพาะบริการทางการเงิน partner ก็ไม่จำเป็นต้องเป็น bank/finance KPlus เป็น platform

วิธีคิด ออกแบบ จะต้องให้บริการได้มากกว่าประเทศไทยได้ แต่ช่วงต้นต้องโฟกัสที่ประเทศไทยก่อน ให้โมเดลมัน work ได้ก่อน ถ้า model มัน work ได้ในเมืองไทย การ expand ไป regional มันไม่ได้ยาก

Version เก่าไม่ได้คิดถึงคนต่างประเทศเลย และไม่ได้คิดถึงธุรกิจที่อยู่นอกเหนือธุรกิจ banking เลย และไม่ได้คิดถึงการเอา AI เป็นพื้นฐานของบริการ เรามี AI เข้าไปใส่ได้บ้าง แต่ไม่ใช่ AI as a platform มันเป็น AI ที่เข้าไปเสริมบางจุด แต่ KPlus version ใหม่จะเป็น AI as a platform

เราคิดใหม่ รื้อใหม่ เปลี่ยนวิธีคิดใหม่ ทำมาปีหนึ่ง end-user แค่อัพเดทแอพฯ เขาจะเห็นอย่างอื่นเพิ่มมากขึ้น แต่รุปแบบการทำ transaction experience จะเหมือนเดิม เขาจะเห็น AI-based service หรือ GADE suggestion มากขึ้น เป้าคือ 10 เท่าของ 10 ล้าน เรามองยาว เราไม่มองแค่ตัวเลขในประเทศไทย เรามองยาวว่าวิธีการที่เราทำจะนำไปสู่ 100 ล้านคนได้ คืออะไร มันคือ challenge ของผมและ KBank เพราะผมไม่มีความสามารถในการทำคนเดียวได้ เราต้องทำงานเป็นทีม

จุดที่ทำให้เราต้องเอา technology กลับมาดูแลเองทั้งหมด คือ เรามองเห็นว่า technology จะมา disrupt ถ้าเราไม่ build capability เอง การทำ tech reengineer เราทำมาเรื่อยๆ เป็นเวลา 10 ปี

การที่จะต้อง build capability ในวันข้างหน้าที่จะต้องเป็น technology สำหรับอนาคต การที่จะต้อง attract talent เก่งๆ การที่จะต้องสร้าง culture ให้มีความกระฉับกระเฉง ว่องไว รวดเร็ว มันจำเป็นต้องแยก KBTG ออกมา เพราะถ้าอยู่ในองค์กรเดิมที่มีความใหญ่อยู่ มันแก้ไม่ทัน มันเป็นไปได้ยาก ต้องแยกออกมาเป็นหน่วยเฉพาะกิจ แก้ไขได้เร็วและเป็นตัวที่มองไปข้างหน้า ช่วยสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ

เรื่องการสร้างความสามารถ จำนวน resource เทียบกับสิ่งที่เราจะทำ หรือเทียบกับความท้าทายว่าเราอยากจะสร้างอะไรใหม่ มันไม่เคยพอ เรายังต้องการ resource อีกจำนวนมาก แต่ว่าฐานที่เราสร้างขึ้นผมคิดว่าเราสร้างขึ้นมาทั้งเรื่องกำลังคน ความสามาถรของคน เราสร้างฐานได้ดีถึงดีมาก ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่ถามว่าพอไหม ไม่พอ เราสร้างฐาน resource ด้าน AI ขึ้นมาดีพอสมควรในช่วงปีครึ่งที่ผ่านมา เรามีฐานที่ทำเรื่อง blockchain ทำเรื่อง mobile ซึ่งเราทำมา 5 ปีแล้ว ในขณะที่เราไม่ outsource เรื่อง mobile banking เราสร้างเองมา 5 ปีแล้วเพราะเราคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เป็นฐานที่จะเป็นกำลังสำคัญในอนาคต ตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว

KADE 04

KBTG:

ทีม KBTG มี 1,200 คน มี KLabs คิดว่า 70% เป็น technology people เราต้องการสร้าง KLabs สู่ระดับ world class ไม่ใช่แค่ประเทศไทย ต้องมีคนระดับ world class บริษัทระดับ world clase ทำอะไรได้เราก็ต้องทำได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีใหม่ หรือ blockchain หรือ AI design. mobile ถ้า world calss ทำอะไรได้เราก็ต้องทำได้เหมือนกัน capability เดียวกัน

KLabs เป็นอาวุธสำคัญ เป็นคนที่เราเลือก ซึ่งเราเลือกจากคนที่สามารถทำงานกับบริษัท global ได้ ด้วยความสามารถเดียวกัน ถ้าเขาเข้า Google ได้ เข้า Facebook ได้ เราอยากได้
KLabs เป็น part นึงของ KBTG ทุกคนต้องทำงานร่วมกัน ทั้งหมดเป็นกองทัพ เราคือ technology company เราไม่ใช่ bank เราต้องการให้คน recognize เราเป็น world class technology company

การบริหารพนักงานเจนมิลลิเนียม ….

คุณสมคิดอายุ 58 ปี พนักงานส่วนใหญ่ที่ต้องดูแล ที่ KLabs อายุเฉลี่ยไม่ถึง 30 ปี เทียบเคียงกับบริษัทเทคโนโลยีดีๆ ระดับโลกได้ ถ้าทั้ง KBTG อายุเฉลี่ยคือ 30 ปลายๆ

ผมนี่รุ่น baby boom เราผ่านเศรษฐกิจที่ยากลำบาก เป็นคนที่มีความมุ่งมั่น อดทน ทนๆๆๆ แต่คนยุคมิลลิเนียม เขาโตมากับเทคโนโลยี เขาเป็น digital native เป็นคนที่ทำอะไรหลายๆ อย่างด้วยความรวดเร็ว คิดอะไรเร็ว ทำอะไรเร็ว และไม่ได้โตมาแบบลำบาก เพราะฉะนั้น วิธีคิด mindset ต่างๆ ไม่เหมือนกัน

เราก็ต้องทำงานกับเขาได้ เขาก็ต้องทำงานกับเราได้ ทำอย่างไรให้คนสองเจนเนอเรชั่น หรือว่าช่องว่างของวัยวันอยู่ด้วยกันได้ ผมว่ามันต้องคลุกคลีกัน เราต้องฟังเขา เขามีไอเดียดีๆ หลายอย่าง และเขาก็ต้องฟังเรา เพราะเราก็มีประสบการณ์ดีๆ หลายอย่าง ถ้ามี respect ซึ่งกันและกัน อันนี้ไปได้ และเราก็เรียนรู้ซึ่งกันและกัน อย่าให้มันเป็น สิ่งที่ generation gap แล้ว ทำงานร่วมกันไม่ได้ ถ้าคิดแบบนั้นจะลำบาก จะไม่เกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน เหมือนกับอยู่บ้าน คุณก็มีลูกมีหลานก็คนละ generation ทำไมปู่ย่าตายาย ถึงอยู่กับลูกหลานได้ ทำไมบ้างครัวครัวอยู่กันได้ บางครอบครัวฟังกันไม่รู้เรื่อง มันต้องอยู่ที่ต้อง respect ซึ่งกันและกัน

เราอยากทำอันนี้ให้เป็น opened platform ให้ช่วยชีวิตคนดีขึ้น และถ้ามันทำได้จริง platform นี้มันขยายไปสู่ regional ได้ ขยายไป global ได้ มันก็อยู่รอดได้ และมันก็ช่วยเศรษฐกิจของชาติได้ มันช่วยให้คนมีความคิดที่จะทำธุรกิจใหม่ๆ ได้ดีขึ้น

เรามาคนละฟากกัน แต่สุดท้ายอาจจะคิดคล้ายๆ กัน อาจจะไปเจอกันที่เดียวกัน
เราเติบโตมาจาก bank mobile banking เติบโตมาจากการที่เรามี source of fund เรามีคนที่เรารู้จักเป็นอย่างดี คนพวกนี้มีตัวตน แต่คนที่เติบโตมาจาก social network บางทีตัวตนเขาไม่เคยเห็น การที่เขาจะก้าวจาก social network มาสู่ serious business เขาต้องก้าวผ่านภูเขาเหมือนกัน เราก็ต้องก้าวผ่านภูเขา แต่ภูเขาคนละลูก

Motto ในการทำงาน …..
จริงๆ ไม่มี motto ในการทำงาน ผมคิดว่าเวลาทำงาน เราไม่ยอมแพ้ เราไม่เคยยอมแพ้กับสิ่งที่ยังมองไม่เห็น ไม่เคยยอมแพ้กับสิ่งที่มันเป็นความมืด ไม่เคยยอมแพ้กับสิ่งที่บอกว่าเป็นไปไม่ได้ ถ้าเราไม่ยอมแพ้กับสิ่งเหล่านี้ เราก็สามารถที่จะทำให้ ความเป็นไปไม่ได้ ที่บอกว่า beyond possibility มัน possible มันไม่ใช่ motto แต่ผมคิดแบบนี้ อะไรก็ตามที่มัน impossible หรือมัน beyond possibility ถ้าเราไม่ยอมแพ้ เราสู้กับมัน มันต้องถึงฝั่งสักวัน

อยากเห็นความคิดดีๆ อยากเห็นคนที่เก่งๆ มาทำของที่เกิดประโยชน์ เราอยากเห็น เราอยาก support และเราอยากจะช่วย ถ้าเขามาอยู่ใน ecosystem เดียวกับเราได้ หรือเราช่วยให้เขาสามารถที่จะ ประสบความสำเร็จได้ โดยเข้ามาอยู่ใน platform หรือ ecosystem ของเรา เราก็ยินดีช่วยสนับสนุนทุกอย่าง ผมคิดว่า startup ถ้ามีคนสนับสนุนที่ดี เขาไปได้ คนที่มีไอเดียดีๆ เก่งๆ ถ้าอยู่คนเดียวหรือว่าไม่ได้มี ecosystem ที่จะช่วย เขาต้องลงแรงออกแรงเยอะมาก เราก็ผ่านจุดนั้นมาก่อน

View :4212

ระบบเครือข่ายเซนเซอร์เฝ้าติดตามผลกระทบในฝั่งทะเลอันดามัน จากเหตุแผ่นดินไหวที่ประเทศอินโดนีเซีย

April 12th, 2012 No comments

ระบบเครือข่ายเซนเซอร์เฝ้าติดตามและส่งข้อมูลลักษณะทางกายภาพของระบบ นิเวศวิทยาปะการัง สามารถจับชายหาดและภาพใต้ทะเลฝั่งอันดามันในช่วงเวลา 18.00-18.30 น. ของวันที่ 11 เมษายน 2555 คาดว่าจะเป็นช่วงที่เกิดเหตุน้ำขึ้นลงผิดปกติในเขตเกาะราชาใหญ่ จังหวัดภูเก็ต อันเป็นผลมาจากแผ่นดินไหวที่ประเทศอินโดนีเซีย โดยทีมนักวิจัยจากศูนย์ความรู้เฉพาะด้านนิเวศวิทยาพยากรณ์และการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์พบความผิดปกติน้ำทะเลขึ้นลงประมาณ10 เซ็นติเมตร

ภาพขณะลงไปติดตั้งอุปกรณ์เมื่อปี 2011


หมายเหตุ : ( ข้อมูลโครงการวิจัยเพิ่มเติม ) ระบบเครือข่ายเซนเซอร์เฝ้าติดตามและส่งข้อมูลลักษณะทางกายภาพของระบบ นิเวศวิทยาปะการัง
ภายใต้โครงการเครือข่ายบุคลากรและการสร้างศูนย์ความรู้เฉพาะด้าน Centre of Excellence : CoE

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค ร่วมกับ ศูนย์ความรู้เฉพาะด้านนิเวศวิทยาพยากรณ์และการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และผู้ประกอบการรีสอร์ท ร่วมกันพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการแก้ปัญหาชายฝั่ง โดยมุ่งศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดการฟอกขาวของปะการัง ระบบสารสนเทศนี้จะช่วยให้นักวิจัยมีข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะทำความเข้าใจ กระบวนการต่างๆ ที่มีผลต่อชายฝั่ง นำไปสู่การแก้ปัญหาชายฝั่ง ทั้งทางกายภาพและชีวภาพ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีแนวปะการังที่สวยงามหลายจุดทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่ง อันดามัน ผลผลิตและความหลากหลายทางชีวภาพที่สูงมากของแนวปะการัง ปัญหาการตายของแนวปะการังซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด จะมีผลกระทบต่อมวลมนุษย์สุดที่จะประเมินได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ ปะการังเหล่านี้เพื่อการจัดการ อย่างเข้าใจ และอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์นี้ไว้ สถาบันการศึกษาต่างๆ ให้ความสนใจที่จะศึกษา เก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมของแนวปะการัง แต่เนื่องด้วยงบประมาณและเวลาที่จำกัด ทำให้ไม่สามารถทำการศึกษาแนวปะการังได้ทุกๆแห่งทั่วประเทศไทย การศึกษาและติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมส่วนใหญ่แล้วเป็นการวางเซน เซอร์ และไปเก็บตัวอย่างทุกๆ 2-3 เดือน ทำให้ข้อมูลที่ได้ไม่เป็นแบบ real-time เมื่อเกิดปะการังฟอกขาวขึ้นในช่วงที่ยังไม่ได้ออกไปเก็บข้อมูล การศึกษาปัจจัยทางกายภาพที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวได้ไม่ทันถ่วง ที ทำให้ไม่สามารถเข้าใจถึงปัจจัยทางกายภาพที่มีผลทำให้เกิดปรากฎการณ์ ปะการังฟอกขาวอย่างถ่องแท้ได้

ปรากฎการณ์อุณหภูมิน้ำทะเลที่เพิ่ม สูงขึ้นทำให้เกิดปะการังฟอกขาวไป มากกว่า 60 ประเทศทั่วโลกในปีคศ. 1998 และในปีคศ. 2010 นักวิจัยจำเป็นต้องทำความเข้าใจรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำทะเล และการตอบสนอง ของปะการังต่ออุณหภูมิน้ำทะเลที่เปลี่ยนแปลงไป การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อ การเกิดปะการังฟอกขาวก็เป็นส่วนหนึ่งของการเข้าใจปัญหา การเก็บข้อมูลทางกายภาพของสิ่งแวดล้อมที่ระบบนิเวศปะการังแบบ realtime เป็นหนทางเดียวที่ช่วยในการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ถูกต้องแม่นยำมาก ขึ้น ศูนย์ความรู้เฉพาะด้านนิเวศวิทยาพยากรณ์และการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้มีการติดตั้งเซนเซอร์วัดอุณหภูมิน้ำทะเลและแสง ตามจุดต่างๆแบบ offline and online และสถานีตรวจวัดอากาศอัตโนมัติ เป็นการนำเทคโนโลยีใหม่ด้านไอที เข้าไปศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของสภาพแวดล้อมแนวปะการัง จากระยะไกล

ภาพขณะลงไปติดตั้งอุปกรณ์เมื่อปี 2011


รศ.ดร.กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี ผู้อำนวยการศูนย์ความรู้เฉพาะด้านนิเวศวิทยาพยากรณ์และการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดเผยว่า”โครงการติดตั้งระบบเครือข่ายเซ็นเซอร์เฝ้าติดตามและส่งข้อมูลลัก ษณทางกายภาพของ ระบบนิเวศวิทยาปะการัง มีจุดเริ่มมาตั้งแต่การติดตั้งเซ็นเซอร์แบบอิสระ หรืออุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิน้ำทะเลและแสงแดด ตามจุดต่างๆใต้ท้องทะเล บริเวณบ้านรายารีสอร์ทแอนด์สปา เกาะราชาใหญ่ จ.ภูเก็ต แต่ข้อมูลที่ได้ไม่ทันสถานการณ์ เพราะการตรวจดูข้อมูลจากอุปกรณ์นักวิจัยต้องเดินทางไปเก็บในช่วง 2-3 เดือนต่อครั้ง ทำให้บางครั้งปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวสิ้นสุดไปแล้ว ด้วยเหตุนี้ เนคเทคซึ่งมีความร่วมมือกับเครือข่ายสังเกตการณ์แนวปะการัง และได้รับความร่วมมือจากออสเตรเลียให้ยืมเซ็นเซอร์อัจฉริยะ (Conductivity Temperature and Depth Pressure Sensor : CTD) จำนวน 2 เครื่อง ให้นำมาติดตั้งเสริมอุปกรณ์เซ็นเซอร์ตัวเดิม ทำให้ทีมวิจัยสามารถเฝ้าดูข้อมูลผ่านระบบไอทีได้ตลอดเวลา สามารถปรับเปลี่ยนระบบการเก็บข้อมูลและการวัด สามารถตั้งค่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบ เช่น ตั้งค่าอุณหภูมิวิกฤติ หรือให้ตรวจสอบปรากฏการณ์ เป็นต้น แถมยังสามารถควบคุมหรือสั่งการได้จากศูนย์ควบคุมบนบก เป็นระบบเครือข่ายเซนเซอร์ที่ส่งข้อมูลลักษณะทางกายภาพแบบ realtime online เป็นวิธีแบบใหม่ที่จะ นิยมใช้กันทั่วโลก ประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกในเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศที่ 4 ของโลกที่มีระบบเครือข่ายเซ็นเซอร์ศึกษาลักษณะทางกายภาพทางทะเลของแนว ปะการังที่ทันสมัย ถัดจากประเทศออสเตรเลีย ไต้หวัน และเกาะมูกิ ในมหาสมุทรแปซิฟิก

นายปิยะวัฒน์ เสงี่ยมกุล ผู้จัดการโรงแรมบ้านรายา รีสอร์ท แอนด์สปา เกาะราชาใหญ่ จ.ภูเก็ต กล่าวถึงการตัดสินใจสนับสนุนงานวิจัยชิ้นนี้ว่า “ตนเป็นคนรักธรรมชาติและชื่นชอบการประดาน้ำ ได้มีโอกาสเข้ามาบริหารรีสอร์ตหลังเรียนจบวิศวกรรมศาสตร์ สาขาไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ซึ่งทุกวันตนจะดำน้ำลงไปเก็บขยะในอ่าวขอนแค แต่ด้วยความที่ไม่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการอนุรักษ์มากนัก จึงรู้สึกยินดีต้อนรับนักวิทยาศาสตร์และทุกหน่วยงานที่จะเข้ามาดำเนินการใดๆ เพื่อช่วยฟื้นฟูและอนุรักษ์ธรรมชาติในพื้นที่ไว้ นอกจากนี้ รีสอร์ตของตนยังมีความเพียบพร้อมด้านการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นระบบ 3จี ไว-ไฟ และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตผ่านสายเคเบิลใยแก้วนำแสง จึงคิดว่าเหมาะเป็นสถานที่สำหรับการทำวิจัยด้วย การสนับสนุนอาคารศูนย์วิจัยในรีสอร์ตเป็นเหมือนการทำธุรกิจแบบวิน-วิน ตนได้มีส่วนอนุรักษ์ธรรมชาติ ทางรีสอร์ตสามารถใช้ข้อมูลเป็นสภาพอากาศแบบเรียลไทม์ให้ลูกค้าได้ทราบ กล้องที่ติดตั้งไว้ใต้ทะเลเพื่อติดตามดูปะการังก็สามารถถ่ายทอดมายังล็อบบี้ ของโรงแรมได้ นับเป็นจุดขายที่โดดเด่นของรีสอร์ต นอกจากนี้ ประเทศชาติก็ยังได้ประโยชน์ด้วย ทุกคนได้ประโยชน์หมด”

ภาพขณะลงไปติดตั้งอุปกรณ์เมื่อปี 2011

ดูภาพ Update เพิ่มเติมและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://www.facebook.com/ecoinfo

View :3992

แผนการดำเนินงานเพื่อผลักดันโครงการ SMART THAILAND

February 21st, 2012 No comments

 

จีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

กล่าวถึงแผนการดำเนินงานเพื่อผลักดันโครงการ SMART THAILAND

View :2297

โครงการ SMART THAILAND

February 21st, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดแผน ดำเนินงานเพื่อผลักดันโครงการ SMART THAILAND ให้กับสื่อมวลชนเมื่อวันจันทร์​ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555

View :2990
Categories: e_Government, Technology, Telecom Tags:

Interview: Henri Holm, senior vice president of Rovio Asia

February 21st, 2012 No comments

Henri Holm, senior vice president of Rovio Asia, Rovio Entertainment, the Finnish game developer and the creator of Angry Birds gave an interview, when he visited Thailand one day after launching Angry Birds on Facebook platform, about the company’s strategy and goal.

View :2352

รมว.อนุดิษฐ์ ​นาครทรรพ ให้ความเห็นถึงกรณีที่ถูกกล่าวหาว่าไม่ดำเนินการกับเว็บหมิ่น

February 12th, 2012 No comments

รมว.อนุดิษฐ์ ​นาครทรรพ ให้ความเห็นถึงกรณีที่ถูกกล่าวหาว่าไม่ดำเนินการกับเว็บหมิ่น แต่กลับมาดำเนินการบล็อก Simsimi [ให้ความเห็นหลังงานสัมมนาประชุมใหญ่ของชมรมนักข่าวสายไอที เพราะมีนักข่าวสอบถาม เมื่อเสารที่ 4 ก.พ. 2555]

View :2400

ไอดีซีปรับลดการคาดการณ์ตลาดฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และตลาดพีซีโลกอันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์น้ำท่วมในไทย

November 14th, 2011 No comments

มหาอุทกภัยในประเทศไทยนั้นกำลังสร้างความเสียหายอันประเมินค่ามิได้ต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งอุตสาหกรรมการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด อันเป็นผลจากการที่โรงงานผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์กว่า 6 โรงงานได้รับความเสียหายต้องหยุดการผลิตไป โดยงานวิจัยฉบับใหม่ของบริษัทวิจัยไอดีซีชี้ว่า เหตุการณ์นี้จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อยอดการจัดจำหน่ายสินค้าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือพีซีในช่วงครึ่งแรกของปี 2555 ทั่วโลกเช่นกัน

ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้นั้น ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นฐานการผลิตหลักของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ โดยมีจำนวนการผลิตเป็น 40-45% ของโลก แต่หลังจากต้นเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นมา น้ำที่หลากอยู่ทั่วที่ราบภาคกลางได้ทำให้สายการผลิตเกือบครึ่งต้องหยุดชะงักไป ไม่เพียงแต่โรงงาน และ สายการ ผลิตเท่านั้นที่ได้รับความเสียหาย แต่เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ยังส่งผลให้พนักงานไม่สามารถเดินทางไปทำงานได้ และไฟฟ้าเองก็ใช้การไม่ได้ในหลายพื้นที่อีกด้วย ถึงแม้การประเมินความเสียหายทั้งหมดจะยังคงไม่สามารถทำได้จนกว่าระดับน้ำจะลดลง แต่ในขณะนี้ก็เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าจะเกิดภาวะขาดแคลนฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้าอย่างแน่นอน

ความร้ายแรงของภาวะการขาดแคลนครั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของอุตสาหกรรมในการฟื้นตัวจากความเสียหายที่มีต่อสายการผลิตในประเทศไทย ไอดีซีเชื่อว่าผู้ผลิตจะฟื้นตัวและกลับมาเพิ่มกำลังการผลิตให้เป็นปกติได้ในระยะเวลาอันไม่นานนัก แต่อย่างไรก็ตามสินค้าฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์จะยังคงขาดตลาดต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง ดังนั้นผู้ผลิตสินค้าพีซีควรจะมีแผนรองรับสิ่งต่อไปนี้

• การขาดตลาดของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์อย่างรุนแรงตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน 2554 และส่งผลต่อเนื่องไปยังไตรมาสที่ 1 ของปี 2555
• การผลิตสินค้าพีซีส่วนใหญ่ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 นั้นสามารถทำได้โดยการใช้ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ที่มีอยู่ในคลังของโรงงาน นั่นทำให้ยอดการผลิตพีซีในช่วงเวลาดังกล่าวได้รับผลกระทบน้อยกว่า 10% แต่สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดคือยอดการผลิตพีซีในไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 นั้นอาจต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ถึง 20% ซึ่งนี่คือผลมาจากการขาดแคลนฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของพีซีนั่นเอง
• ราคาฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์จะถีบตัวสูงขึ้นเพราะปริมาณสินค้ามีน้อยกว่าความต้องการซื้อ อีกทั้งต้นทุนของผู้ผลิตเองก็สูงขึ้นอันเนื่องมาจากต้นทุนของวัตถุดิบ ค่าใช้จ่ายในการเร่งขนส่งสินค้า และค่าใช้จ่ายในการย้ายฐานการผลิตที่เพิ่มมากขึ้น
• อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์จะเริ่มฟื้นตัวในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า และราคาของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์จะคงที่ภายในเดือนมิถุนายน โดยสิ่งต่างๆ จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในครึ่งหลังของปี 2555
• ผู้ผลิตพีซีรายเล็กจะสูญเสียลูกค้าระดับองค์กรให้กับผู้ผลิตรายใหญ่กว่า ซึ่งอาจนำไปสู่การควบรวมกิจการระหว่างผู้ผลิตด้วยกันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดที่มีอัตราการเติบโตสูง

นายจอห์น ริดนิ่ง รองประธานฝ่ายงานวิจัยตลาดฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และเซมิคอนดัคเตอร์ของไอดีซีได้แถลงว่า “เพื่อที่จะรับมือกับวิกฤติครั้งนี้ ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์จะให้ความสำคัญกับการจัดส่งสินค้าไปให้ลูกค้าที่มียอดการสั่งซื้อสูงอย่างเช่นผู้ผลิตพีซีรายใหญ่ๆ ในขณะเดียวกันก็มุ่งเน้นไปที่การจัดส่งสินค้าที่มีกำไรสูงซึ่งก็คือสินค้าที่เป็นส่วนประกอบของเซิร์ฟเวอร์และสตอเรจระดับองค์กร แต่อย่างไรก็ตามผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์คงไม่สามารถละเลยลูกค้ารายเล็กๆ ได้ เพราะลูกค้าเหล่านี้จะยังคงมีความสำคัญเมื่อกำลังการผลิตกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว”

“เราน่าจะได้เห็นวิธีการจัดการด้านการผลิตและการทำข้อตกลงกับลูกค้าแบบต่างๆ ที่น่าสนใจ เนื่องจากผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์จะต้องทำทุกวิถีทางเพื่อฟื้นฟูกำลังการผลิต และในขณะเดียวกันจะต้องวางแผนที่จะพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสด้วย”

ซึ่งนายไบรอัน มา รองประธานฝ่ายงานวิจัยตลาดอุปกรณ์ต่อพ่วงประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกของไอดีซีได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “ตลาดพีซีในเอเชียแปซิฟิก (ยกเว้นญี่ปุ่น) น่าจะได้รับผลกระทบมากกว่าตลาดในภูมิภาคอื่นๆ เพราะยอดขายของพีซีที่ประกอบตามร้านนั้นมีปริมาณสูงในภูมิภาคนี้ แต่นั่นก็อาจเป็นโอกาสอันดีของผู้ผลิตพีซีแบรนด์เนมที่สามารถสั่งซื้อฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ได้ในปริมาณมาก ในการเพิ่มส่วนแบ่งตลาดได้”

“การบริโภคสินค้าพีซีภายในประเทศไทยเองก็ยังเป็นคำถามสำคัญ เพราะมีปัจจัยเกี่ยวข้องมากมายตั้งแต่เรื่องของความสามารถในการขนส่งและกระจายสินค้าไปจนถึงแผนการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐ แต่เราเคยเห็นตัวอย่างจากในอดีตมาหลายครั้งแล้วว่าตลาดในประเทศไทยมักจะฟื้นตัวจากวิกฤตการณ์ได้อย่างรวดเร็ว และเราก็หวังว่าจะไปเห็นการฟื้นตัวแบบนั้นอีกครั้งหนึ่งในครึ่งปีหลังของปีหน้า”

โดยไอดีซีได้จัดทำงานศึกษาวิจัยที่มีชื่อว่า “The PC Market Is Disrupted By HDD Shortages: The Severity, Resulting Opportunities, And Expected PC Market Reactions” ซึ่งเป็นงานวิจัยที่จะประเมินถึงผลกระทบจากภาวะการขาดแคลนสินค้าฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์อันเกิดจากวิกฤติอุทกภัยในประเทศไทย ที่มีต่อตลาดพีซีในไตรมาส 4 ปี 2554 และในครึ่งปีแรกของปี 2555 ซึ่งได้มีการนำสมมุติฐานในเรื่องของระยะในการฟื้นฟูอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และระยะเวลาที่ใช้ในการเพิ่มปริมาณฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ในคลังสินค้าให้กลับมาสู่ภาวะปกติเข้าไปในกรอบการวิเคราะห์ อีกทั้งงานวิจัยชิ้นนี้ยังได้ประมาณการณ์ราคาของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย

View :2343

ICT Policy

October 1st, 2011 No comments

The Information and Communication Technology Minister Anudit Nakornthap said at the seminar hosted by Information and Technology Press Club (ITPC) last month that the short-term ICT policies are free tablet and free wifi in the pubic area that will start within late of this year.

Anudit Nakornthap

And, the ministry will drive its main policy that is to increase broadband penetration rate to achieve 80 to 85 per cent in the next four years, from now less than 10 per cent.

Currently, 2G network in Thailand is over demand but the quality in only voice, we plan to increase network to 3G in order to allow people to experience the triple play- voice, data, and video, said Anudit.

“For free wifi, we have already develop the action and implement plans. It is free for people to use wifi for free in education, government area, and tourist area. We can offer the free wifi from using USO fund,” said Anudit.

He added that free wifi will encourage the local content development. The increasing broadband penetration rate will also help open the room for local content development. Free wifi project, will be started within this year and the model of investment will be collaboration between government and private sector.

For e-commerce, Thailand is now not go forwards as well. it is also the duty of ICT Ministry. in the next 6 to 9 months, the e-commerce in Thailand will be more active. The ICT Ministry will work closely with the Ministry of Commerce to encourage the e-commerce deployment in Thailand.

Moreover, ICT Ministry plans to drive e-government. Smart ID card will be utilized mostly in order to provide e-government services to people.

“Now, we have the main data based included people and business data baed from Department of Internal and Department of Revenue, we will to integrate both of them and utilize this data base.”

He added that the ICT Ministry will drive the government information network (GIN) project that will be utilized and to allow government organizations to not duplicated invest and not integrated. The network will be utilized to conduct tele-conference and to increase the quality of government’s services.

The ministry also focuses on the prime ministerial operation center (PMOC).

“For example, in healthcare segment, currently there are network laid down to connect the local public health in the local area to the center to conduct the tele-health service. Smart Thailand is aimed to allow Thai people to use IT to improve their daily life.
The ICT Ministry will establish the national data center and to optimize the smart ID card to get to government services efficiency,” said Anudith.

Since the government’s main policies are to support SMEs business, software business in Thailand is accounted in this SMEs; and to promote the local software development. Once, the network coverage is cover wide area will lead and increase demand in local content/ local software consumption as well. The government will exercise this policy through the Software Industry Promotion Agency (Sipa).

http://www.mict.go.th/download/article/article_20110826155742.pdf

View :2429

เนชั่น จับมืออินเทล ชวนคอไอทีสนทนาเรื่องเทคโนโลยีในอนาคต….NForum: NForum: Beyond Speed & Connected World: What’s Next?

August 3rd, 2011 No comments

เสาร์นี้ บ่ายโมงครึ่งเป็นต้นไป เนชั่น จับมืออินเทล ชวนคอไอทีสนทนาเรื่องเทคโนโลยีในอนาคต….

• เทรนด์ของเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อตอบรับกับความต้องการใ​นการทำงานและไลฟสไตล์ของคนใ​นปัจจุบัน
• การพัฒนาของเทคโนโลยีและพีซ​ีในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาและทิศทางในอนาค​ต
• เทคโนโลยีล้ำสมัยของอินเทลท​ี่มีในปัจจุบัน
• แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีในอ​นาคต

ผู้ร่วมเสวนา ได้แก่….

คุณเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ
กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
ร่วมงานกับอินเทลมาตั้งแต่ต้นปี 2539 ในตำแหน่งผู้จัดการ-อินเทลอาคิเทคเจอร์ ประจำสำนักงานประเทศไทย โดยรับผิดชอบการเผยแพร่กลยุทธ์และเทคโนโลยีของอินเทล ตลอดจนแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพัฒนาของวงการอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์แก่ผู้ใช้ ทั้งในกลุ่มองค์กรธุรกิจและผู้ใช้ทั่วไปโดยตรง ก่อนที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้จัดการในปัจจุบัน

คุณพาที สารสิน
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด
(ปริญญาตรี บริหารธุรกิจและวิทยาการคอมพิวเตอร์ จาก Clark University มลรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา
ปริญญาโท สื่อสารมวลชน (ภาพยนตร์และวิดีทัศน์) จาก มหาวิทยาลัยอเมริกัน วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา)

คุณสมเถา สุจริตกุล
ใช้นามปากกาว่า SP Somtow ในการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ที่มีกลิ่นอายเป็นเอเซีย ผลงานของสมเถาเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด แต่ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ และได้รับรางวัลเกียรติคุณมากมายในต่างประเทศ ผลงานที่สำคัญได้แก่ “มาริสาราตี” Jasmine Nights, Aquilard กับ Absent Thee From Felicity Awhile (ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล John W.Campbell และรางวัล Hugo), Starship&Haiku (ได้รับรางวัล Locus Award), เรื่องสั้น The Dust (ได้รับรางวัล Edmund Hamilton Memorial Award ในปี 2525), เรื่องสั้นชุด Inquestor เรื่องศูนย์การค้าในอวกาศ Mallworld, ชุด Aquiiad, นวนิยายเรื่อง Starship&Haiku, รวมเรื่องสั้นชุด Fire From The Wine-Dark Sea, นวนิยายเรื่อง The Darkling Wind (ติดอันดับ Locus Bestseller)

คุณสมชัย สิทธิชัยศรีชาติ
กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ค้าส่งอุปกรณ์ไอทีรายใหญ่ของไทย

ผู้ดำเนินรายการในงานนี้ก็ได้แก่ …..

1. วรวิสุทธิ์ ภิญโญยาง (@worawisut)
ผู้อยู่เบื้องหลัง ‘Marketing Hub’ คอลัมน์นิสต์ประจำ Bangkokbiznews.com และผู้ก่อตั้งเว็บ Appreview.in.th (@appreview)

2. ภิรดี พิทยาธิคุณ (@NuPink)
ทีมกองบรรณาธิการของเว็บ Thumbsup.in.th (@thumbsupTH)

ผู้สนใจสามารถเข้าไปลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมการเสวนาที่น่าสนใจครั้งนี้ได้ที่นี่
https://spreadsheets.google.com/spreadsheet/viewform?formkey=dDM3cmV0WTRmeEQxVHhRMGNrajdiVlE6MA

View :3002

อินเทลร่วมฉลองครบรอบ 30 ปีคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกสานต่อนวัตกรรมคอมพิวเตอร์จากปัจจุบันสู่อนาคต

July 29th, 2011 No comments


อินเทลร่วมรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์ที่บริษัทมีส่วนสำคัญในการปฏิวัติวงการไอทีตั้งแต่ยุคของคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็มเครื่องแรกไปจนถึงยุคแห่งการเติบโตของคอมพิวเตอร์และยุครุ่งเรืองของแท็บเบล็ต

ในขณะที่เรากำลังฉลองช่วงเวลาครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์โลกของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลอยู่นี้ การทำความเข้าใจว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีอิทธิพลสูงเพียงใดต่อชีวิตประจำวันในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมานั้นนับเป็นสิ่งที่ยากทีเดียว ปัจจุบันเราสามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้นเพียงปลายนิ้วสัมผัส และราคาของคอมพิวเตอร์ถูกลงมากอย่างที่ไม่มีใครสามารถคาดเดาได้เมื่อ 30 ปีก่อนหน้านี้ ไมโครโปรเซสเซอร์ของอินเทลกลายมาเป็นหัวใจสำคัญในการปฏิวัติวงการคอมพิวเตอร์ โดยมีบทบาทในการส่งเสริมอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง ช่วยยกระดับประสิทธิภาพของการดำเนินธุรกิจให้สูงขึ้น อีกทั้งยังมีส่วนช่วยรังสรรค์ไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภคทั่วโลกอย่างมากอีกด้วย

จากจุดเริ่มต้นของ “สิ่งเร้นลับหลังม่านดำ”

ก่อนที่จะเกิดเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ในปี 2524 ผู้สนใจคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มักจำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มที่มีความสนใจในเทคโนโลยี ผู้ที่ซื้อคอมพิวเตอร์โดยส่วนใหญ่จึงเป็นผู้ที่สนใจนำไปใช้ในกิจกรรมอดิเรกของตน และกระหายที่จะเรียนรู้ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงการใช้งาน องค์ประกอบต่างๆ และพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมา แต่หลังจากนั้นไอบีเอ็มได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงแนวคิดดังกล่าว โดยการสร้างมาตรฐานสากลขึ้นมาในวงการอุตสาหกรรม และผลักดันการใช้งานคอมพิวเตอร์ให้ออกมาปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการใช้งานทั่วโลกในวงกว้าง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผู้คนจึงเริ่มเปลี่ยนมุมมองความคิดโดยมองว่า คอมพิวเตอร์คือเครื่องมือชนิดหนึ่งและไม่ใช่ของเล่นอีกต่อไป
ไอบีเอ็มเปิดตัวพีซีเป็นครั้งแรกในเดือนสิงหาคมปี 2524 ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดของยุคแห่งการหลบซ่อนอยู่ในเงามืดของคอมพิวเตอร์ และก้าวสู่ยุคของการพัฒนาอย่างแท้จริง เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกของไอบีเอ็มใช้ไมโครโปรเซสเซอร์รุ่น อินเทล 8086 เป็น “สมอง” ภายในคอมพิวเตอร์

การแปรสภาพของเครื่องพิมพ์ดีดที่มีจอเรืองแสง
ระบบประมวลผลผ่านการแปรสภาพต่างไปจากเดิมอย่างมาก นับตั้งแต่ถือกำเนิดขึ้นมาเป็นครั้งแรก
ผู้ที่อายุน้อยกว่า 45 ปีอาจไม่สามารถจินตนาการได้ว่าการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคเริ่มแรกเป็นอย่างไร จอภาพที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นจอโมโนโครมที่แสดงตัวอักษรและตัวเลขสีเขียวเรืองแสงออกมา แม้ว่าในช่วงแรกๆ มีการจำหน่ายจอสีด้วยเช่นกัน แต่จอสีมีการใช้ในแวดวงที่จำกัดและมีราคาค่อนข้างสูงมาก ในยุคนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานได้ไม่คล่องตัวมากนัก เนื่องจากยังไม่มีการแสดงผลแบบกราฟฟิกและไม่มีเมาส์สำหรับใช้งาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ใช้ในยุคปัจจุบันอาจนึกไม่ถึง ในขณะที่ผู้บริโภคในปัจจุบันสามารถซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีไมโครโปรเซสเซอร์ชั้นยอดอย่าง อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 2 ทั้งสามรุ่น คือ อินเทล คอร์ ไอ5 ไอ7 และ ไอ3 ทีมีพลังสมรรถนะในการประมวลผลที่ดีเยี่ยมกว่าสมัยก่อนมาก รวมทั้งยังประกอบด้วยคุณสมบัติต่างๆ อีกมากมาย (ขึ้นอยู่กับรุ่นของโปรเซสเซอร์) อาทิ Intel® Quick Sync, Intel® Wireless Display 2.0, Intel® Turbo Boost Technology 2.0 และเทคโนโลยีรุ่นล่าสุดอื่นๆ อีกหลากหลาย

ในปัจจุบัน เราสามารถเพลิดเพลินกับภาพกราฟฟิกที่มีความละเอียดสูง สร้างวิดีโอหรือภาพยนตร์ได้อย่างง่ายดาย ดาวน์โหลดข้อมูลได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที ซึ่งประสบการณ์เหล่านี้ล้วนแตกต่างจากสมัยก่อนโดยสิ้นเชิง

เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกมีราคาราวๆ 3,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 91,000 บาท) หรือราคาสูงกว่าเงินเดือนเฉลี่ยของคนไทยในขณะนั้นประมาณ 10 เท่า ปัจจุบันราคาคอมพิวเตอร์เฉลี่ยอยู่ที่ 1.75 เท่าของเงินเดือนเฉลี่ยของคนไทย และในอนาคตราคาอาจจะยิ่งถูกลงเรื่อยๆ

ในยุคนั้นคอมพิวเตอร์จำนวน 10,000 เครื่อง ถือเป็นจำนวนที่มากมายมหาศาลแล้ว จอห์น มาร์คอฟ นักเขียนของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ ผู้เขียนบทความชื่อ “มองย้อนหลังพีซีเครื่องแรกของฉัน” ที่ได้รับการตีพิมพ์เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2544 เล่าว่า ไอบีเอ็มคาดว่าจะจำหน่ายคอมพิวเตอร์ได้ 240,000 เครื่องภายในเวลา 5 ปี แต่ปรากฏว่าไอบีเอ็มได้รับยอดสั่งซื้อจำนวนนี้ภายในเดือนแรกเท่านั้น ปัจจุบันมีการจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์กว่าหนึ่งล้านเครื่องต่อวัน ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในเวลาไม่นานในช่วงชีวิตของเรา

เครื่องคอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็มรุ่นแรก และ “เครื่องเลียนแบบ” ที่ปรากฏตามมาในช่วงต้นปี 2525 ถูกผู้คนมองว่าเป็นแค่ “เครื่องพิมพ์ดีดที่มีจอเรืองแสง” หรือ “เครื่องคิดเลขชั้นดีกว่าปกติ” เท่านั้น เนื่องจากคอมพิวเตอร์เหล่านี้ยังทำงานได้อย่างจำกัด แต่ในปัจจุบัน คุณสมบัติต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ได้ขยายขอบเขตออกไปถึงระดับที่ผู้คนในยุคก่อนหน้านี้ไม่เคยจินตนาการว่าจะทำได้มาก่อน คอมพิวเตอร์สามารถทำหน้าที่เป็นโทรศัพท์ ไปรษณีย์ โรงภาพยนตร์ คลังจัดเก็บข้อมูล และเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำรงชีวิตของเราไปแล้ว

วันนี้และอนาคต

กอร์ดอน มัวร์ ผู้ก่อตั้งอินเทลตั้งข้อสังเกตเอาไว้ในปี 2508 ว่า ความจุของโปรเซสเซอร์จะเพิ่มขึ้นสองเท่าทุกๆ 18 เดือน ซึ่งนำไปสู่ประสิทธิภาพในการประมวลผลที่เพิ่มเป็นทวีคูณภายในช่วงเวลาสั้นๆ คำพูดดังกล่าวต่อมาได้กลายเป็น “กฎของมัวร์” และแนวโน้มดังกล่าวยังคงเป็นจริงมาจนถึงทุกวันนี้ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพในการประมวลผลสำหรับผู้บริโภคมากกว่าคอมพิวเตอร์ที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเคยใช้ในการส่งคนไปดวงจันทร์เสียอีก และวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ก็มิได้หยุดนิ่งอยู่แค่นั้นหลังจากผ่านไปแล้ว 30 ปี

นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโคร อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ความก้าวหน้าในสามทศวรรษที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทในการปฏิวัติวิธีการที่ผู้คนสื่อสาร ทำงาน ศึกษาและเรียนรู้ ตลอดจนแสวงหาความสุขใส่ตัว ในขณะที่วิวัฒนาการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วสำหรับโปรเซสเซอร์ของอินเทลจะยิ่งทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถในการจัดการงานต่างๆ เพิ่มสูงขึ้นอย่างที่ผู้คนในช่วงหนึ่งหรือสองปีก่อนหน้านี้คาดไม่ถึงว่าจะทำได้”

ปัจจุบันระบบประมวลผลมีการแปลงสภาพต่างไปจากเดิมอย่างมาก จากยุคที่เป็นแค่เครื่องพิมพ์ดีดซึ่งมีจอเรืองแสง ไปจนถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โน้ตบุ๊ก เน็ตบุ๊ก และอุปกรณ์เสริมต่างๆ ที่ใช้งานร่วมกับพีซีได้ สมาร์ทโฟน กระทั่งมาถึงยุคของแท็บเบล็ต คอมพิวเตอร์กลายเป็นอุปกรณ์ที่มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น และยังคงทวีความแข็งแกร่งไปทั่วโลก วิสัยทัศน์ของอินเทลในอนาคตอันใกล้นี้คือ การนำรูปแบบการใช้งานแนวใหม่มาใช้ ซึ่งมาในรูปของคอมพิวเตอร์แบบพกพารุ่นใหม่อย่าง Ultrabook นั่นเอง คอมพิวเตอร์ชนิดนี้จะให้ประสิทธิภาพและคุณสมบัติต่างๆ ของโน้ตบุ๊กที่มีอยู่ในปัจจุบันไปผสมผสานกับคุณสมบัติต่างๆ ของแท็บเบล็ต เพื่อให้มีรูปแบบการใช้งานที่สามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย ด้วยดีไซน์ของเครื่องที่บางมาก (บางไม่ถึง 20 มม.) น้ำหนักเบาและดูเรียบหรู ในราคาทั่วไปที่ต่ำกว่า 1,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 29,900 บาท) นอกจากนั้น คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ยังช่วยส่งเสริมให้ผู้บริโภคแต่ละรายสามารถเป็นเจ้าของคอมพิวเตอร์ได้มากกว่าหนึ่งเครื่อง เพื่อเป็นเครื่องมือในการสื่อสารที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงาน ที่บ้าน หรือขณะอยู่บนท้องถนนก็ตาม


นอกจากนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์จะกลายเป็นศูนย์กลางสำหรับทุกครัวเรือน ไม่ว่าจะใช้เป็นระบบประมวลผลข้อมูล เพื่อความบันเทิง หรือใช้ระบบสื่อสารก็ตาม โดยใช้เทคโนโลยีที่มีวิวัฒนาการอย่าง Wi-Di (Wireless Display) ซึ่งจะเข้ามาเป็นตัวเชื่อมการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และทีวีได้ และสมาชิกในบ้านทุกคนสามารถหันมาใช้เวลาอันมีค่าร่วมกันได้มากขึ้น ใน “ยุคแห่งการเติบโตของคอมพิวเตอร์” คอมพิวเตอร์ที่บ้านจะได้รับการใช้งานมากขึ้น และผู้บริโภคจะกลายเป็นศูนย์กลางเพื่อกำหนดประสบการณ์การใช้อินเทอร์เน็ตของตนเอง ซึ่งนั่นเป็นเรื่องที่ยากจะคาดเดาว่าจะมีอะไรรอเราอยู่ที่ปลายนิ้วในอนาคตอันใกล้นี้

เมื่อถึงจุดหนึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ อินเทลคาดหวังว่าการก้าวกระโดดของประสิทธิภาพในครั้งต่อไปจะทำให้ระบบประมวลผลก้าวไปสู่ยุคใหม่อีกครั้ง ตัวอย่างเช่นคอมพิวเตอร์ที่สามารถรับคำสั่งที่เป็นเสียงพูดและตอบสนองได้ในทันทีเป็นต้น

เราได้เดินทางมาไกลมาก นับตั้งแต่ยุคที่พัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาที่ผู้คนต้องปรับตัวเข้าหาเทคโนโลยี จนถึงปัจจุบันที่ไลฟ์สไตล์และความต้องการต่างๆ ของผู้คนได้กลายเป็นปัจจัยหลักของการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับเทคโนโลยีไปแล้ว ระบบประมวลผลส่วนบุคคลได้กลายมามีความเป็นส่วนบุคคลอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

View :3880
Categories: Technology Tags: ,