Archive

Archive for the ‘startup’ Category

Beacon VC ลงทุนใน Ookbee ต่อยอดธุรกิจ C Channel ประเทศไทย

March 8th, 2018 No comments

บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล ประกาศร่วมลงทุนในอุ๊คบี ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มด้านดิจิทัลไลฟ์สไตล์อันดับหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สนับสนุนการต่อยอดธุรกิจ ซี แชนเนล ไทยแลนด์ สื่อออนไลน์ที่นำเสนอเนื้อหาเชิงไลฟ์สไตล์ ที่อุ๊คบีผลิตโดยความร่วมมือกับ ซี แชนเนล เจแปน รวมถึงการขยายสู่ธุรกิจใหม่ที่จะเปิดตัวในไตรมาสแรกของปีนี้ ตั้งเป้าหมายเป็นช่องทางให้ธนาคารสามารถเข้าถึงกลุ่มกลุ่มคน “โพสต์มิลเลนเนียล” ได้อย่างแตกต่างและสร้างสรรค์ ตอกย้ำภาพลักษณ์ของธนาคารด้านความเป็นผู้นำบนดิจิทัลแพลตฟอร์ม

นายธนพงษ์ ณ ระนอง กรรมการผู้จัดการ บริษัทบีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด

นายธนพงษ์ ณ ระนอง กรรมการผู้จัดการ บริษัทบีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด

นายธนพงษ์ ณ ระนอง กรรมการผู้จัดการ บริษัทบีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด เปิดเผยว่า บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล เป็นบริษัทของธนาคารกสิกรไทยที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการลงทุนสตาร์ทอัพ มีความมุ่งมั่นในการคัดเลือกและลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพ เพื่อต่อยอดธุรกิจของธนาคารกสิกรไทย ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ บริษัท อุ๊คบี จำกัด เป็นสตาร์ทอัพไทย ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างความแปลกใหม่ในด้านการผลิตสิ่งพิมพ์ดิจิทัลในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มธุรกิจด้วยผลิตภัณฑ์ที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์อีบุ๊คที่รับคอนเทนต์จากบริษัทผู้พิมพ์มาจัดจำหน่าย ปัจจุบันมีการต่อยอดธุรกิจที่มีเนื้อหาหลากรูปแบบมากขึ้น โดยให้การสนับสนุนทั้งคอนเทนท์ที่ผลิตโดยมืออาชีพและคอนเทนต์จากผู้ใช้บริการ รวมทั้งให้ความสำคัญต่อเทรนด์ใหม่ ๆ และนวัตกรรมทางสื่อดิจิทัลที่มีช่องทางการรับชำระเงินบนออนไลน์ที่ครอบคลุม

ธุรกิจหนึ่งที่น่าสนใจของอุ๊คบี คือ ซี แชนเนล ไทยแลนด์ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มนิตยสารไลฟ์สไตล์ในรูปแบบวิดีโอออนไลน์ สร้างขึ้นจากความร่วมมือระหว่างอุ๊คบี กับ ซี แชนเนล เจแปน ล่าสุดบีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จึงได้ตัดสินใจร่วมลงทุนในอุ๊คบี สำหรับการพัฒนาต่อยอด ซี แชนเนล ไทยแลนด์

นอกจากนี้ทางอุ๊คบีกำลังขยายธุรกิจใหม่ซึ่งจะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการภายในไตรมาสแรกของปีนี้ โดยธุรกิจดังกล่าวจะเป็นการสร้างความแข็งแกร่งในทางธุรกิจให้แก่กลุ่มผู้ผลิตคอนเทนต์ที่อยู่บนแพลตฟอร์มของอุ๊คบี และเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพและหลากหลายมากขึ้นแก่ผู้ใช้บริการเพื่อจะตอบสนองไลฟ์ไตล์ผู้บริโภคยุคใหม่อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งบีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล ตั้งเป้าหมายว่าการลงทุนดังกล่าวจะช่วยให้ธนาคารกสิกรไทยสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้รับข้อมูลข่าวสารในวิธีการที่แตกต่างและน่าสนใจ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เรียกว่า “โพสต์มิลเลนเนียล” ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของธนาคาร ตอกย้ำภาพลักษณ์ของธนาคารด้านความเป็นผู้นำบนดิจิทัลแพลตฟอร์ม

Beacon VC_logo

นายณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อุ๊คบี จำกัด กล่าวว่า วิสัยทัศน์ของบริษัทคือ การเติบโตและขยายแพลตฟอร์มเพื่อรองรับการสร้างและการบริโภคเนื้อหาที่มีความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งสร้างความแข็งแกร่งของผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจแก่ชุมชนแห่งนักสร้างสรรค์ สำหรับ ซี แชนเนล ไทยแลนด์ เป็น นิตยสารแฟชั่น วิดีโอออนไลน์ สำหรับผู้หญิง ที่มีการนำเสนอเนื้อหาเชิงไลฟ์สไตล์สร้างสรรค์ นับเป็นบริการที่อุ๊คบีเริ่มนำเสนอสู่ตลาดประเทศไทยตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา และได้รับความ นิยมอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีฐานผู้เข้าชม ซี แชนเนล ไทยแลนด์ ผ่านช่องทางเว็บไซต์ th.cchan.tv และเฟซบุ๊ค www.facebook.com/cchannel.thailand โดยมีจำนวนการเข้าชมมากกว่า 250 ล้านครั้งต่อเดือนและมียอดเข้าชมเฉลี่ยมากกว่า 150,000 ครั้งต่อคลิป

การเข้าเป็นพันธมิตรกับบีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล ที่ได้ให้การสนับสนุนเงินลงทุนแก่บริษัทครั้งนี้ จะช่วยให้อุ๊คบีสามารถพัฒนาต่อยอด ซี แชนเนล ไทยแลนด์ และนำเสนอธุรกิจใหม่สู่ตลาด ซึ่งจะเปิดตัวในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ นับเป็นก้าวสำคัญที่จะเสริมธุรกิจดิจิทัลไลฟ์สไตล์ของอุ๊คบีในปัจจุบันและเสริมสร้างความสัมพันธ์ของอุ๊คบีกับชุมชนสร้างสรรค์ต่าง ๆ ให้มีความสัมพันธ์และฐานการใช้งานที่เติบโตได้อย่างแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

บริษัท อุ๊คบี จำกัด เป็นสตาร์ทอัพไทย ดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2554 ปัจจุบันเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์มด้านดิจิทัลไลฟ์สไตล์อันดับหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีผู้ใช้บริการกว่า 10 ล้านคนและมากกว่า 1,000 ล้านเพจวิวต่อเดือน เปิดให้บริการเนื้อหาสาระและความบันเทิงบนแพลตฟอร์มออนไลน์หลากรูปแบบ ได้แก่ หนังสือ นวนิยายแปล การ์ตูน ดนตรี วีดิโอ บล๊อก แชท การพยากรณ์ ซึ่งมีทั้งคอนเทนท์จากทีมผลิตของบริษัทเองและคอนเทนท์จากผู้ใช้บริการ เป็นสตาร์ทอัพในระดับซีรีส์บี ที่จะเข้าสู่ซีรี่ส์ซี ภายในปีนี้

สำหรับ บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล เป็นบริษัทของธนาคารกสิกรไทย ก่อตั้งเมื่อปี 2560 โดยมีนายธนพงษ์ ณ ระนอง เป็นกรรมการผู้จัดการ เพื่อร่วมลงทุนในสตาร์ทอัพในประเทศไทยและต่างประเทศ มีวงเงินลงทุนทั้งหมดจำนวน 1,000 ล้านบาท

View :4093
Categories: startup Tags:

Wongnai เตรียมระดมรอบใหม่ 2 ล้านเหรียญ เพื่อบุกตลาดรีวิว Travel

August 16th, 2015 No comments

Wongnai เตรียมระดมรอบใหม่ 2 ล้านเหรียญ เพื่อบุกตลาดรีวิว Travel

– ขยายธุรกิจ review สู่ e-commerce
– ขยายธุรกิจไปต่างจังหวัด
– ขยาย category review ไป travel

tech startup ไทยหลายรายมีเป้าหมายที่จะเติบโตไปยังตลาดต่างประเทศ แต่สำหรัับ Wongnai เจ้าของแฟลตฟอร์มสำหรับการรีวิวร้านอาหารกลับมองว่าตลาดภายในประเทศ คือ น่านน้ำสำคัญในการเติบโตที่ยั้งยืนของ Wongnai

ยอด ชินสุภัคกุล ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Wongnai

ยอด ชินสุภัคกุล ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Wongnai


ยอด ชินสุภัคกุล ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Wongnai บอกว่า การขยายตัวของ Wongnai จะโฟกัสที่ตลาดในประเทศเพราะเหมาะสมกัยธุรกิจของ Wongnai มากที่สุด การแข่งขันธุรกิจ local review ที่ Wongnai ทำอยู่ การขยายไปประเทศอื่นที่ไม่ใช่ประเทศไทยเป็นสิ่งที่ยาก เพราะ local review ยึดโยงอยู่กับวัฒนธรรมและรสนิยมของคนท้องถิ่น ซึ่งทำให้ในขณะเดียวกันคู่แข่งขันจากต่างประเทศก็ไม่สามารถมาประสบความสำเร็จในตลาดท้องถิ่นที่มีเจ้าตลาดอยู่แล้วได้

“การที่ธุรกิจ local review จะขยายและเติบโตในตลาดต่างประทเศนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แม้กระทั่ง Yelp.com เองก็ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จในตลาด ญี่ปุ่น ไต้หวัน และสิงคโปร์ หรือ OpenRice.com ของฮ่องกงก็ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จในตลาดไทย อินโดนีเซีย หรือสิงคโปร์ เพราะ local review โดยเฉพาะรีวิวอาหารมันใกล้เคียงกับวัฒรธรรมมาก ใช่ว่าการเป็นบริษัทที่ดี มีสินค้าที่เจ๋ง แล้วไปอยู่ประเทศอื่น แล้วมันจะเวิร์ค ตรรกะความสำเร็จของการขายตัวไปตลาดต่างประเทศใช้ได้ยากกับธุรกิจที่เป็น local review เพระาสุดท้ายมันขึ้นกับ local taste ดังนั้น การขยายธุรกิจไปประเทศอื่นๆ เป็นไปได้ค่อนข้างยากที่จะไปสู้กับ local review เจ้าถิ่นของประเทศนั้นๆ”

ยอดเชื่อมั่นว่าตลาดประเทศไทยใหญ่พอสำหรับธุรกิจ local review อย่าง Wongnai ซึ่ง ณ วันนี้ Wongnai เองเป็นเจ้าตลาดรีวิวร้านอาหารที่เป็น local-based platform และเป้าหมายของ Wongnai คือ ขยายไปสู่การเป็นเจ้าตลาดรีวิวใน vertical industry ที่มีขยาดใหญ่อีก 2 อุตสาหกรรม นั่นคือ อุตสาหกรรมบริการด้านความงาม (Beauty Service) และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการเดินทาง (Travel Industry)

“Wongnai ไม่ใช่แค่แอพฯ รีวิวร้านอาหารเท่านั้น แต่ Wongnai คือ เราต้องเป็น insider ในทุกอย่าง ทั้งร้านอาหาร ความงามและอนาคต travel และอื่นๆ”

Wongnai ต้องการระดมทุนรอบใหม่มูลค่า 2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อนำเงินมาลงทุนขยายธุรกิจไปยัง vertical industry ใหม่ และขยายธุรกิจให้ทั่วประเทศ การระดมทุนครั้งใหม่นี้ ยอดคาดว่าจะสำเร็จเสร็จสิ้นได้ภายในสิ้นปีนี้

ส่วนพันธกิจหลักในปีนี้ของ Wongnai คือ การสร้างความเข้มแข็งให้การรีวิวร้านอาหาร และการรีวิวธุรกิจบริการด้านความงาม โดยขยายใน 2 มิติ มิติแนวกว้าง คือ การขยายพื้นที่การรีวิวให้ครอบคลุมทั่วประเทศมากขึ้น จากเดิมที่ร้านที่ Wongnai รีวิวส่วนใหญ่จะอยู่ในกรุงเทพฯ เป้าหมายหลักในปีนี้และปีหน้าคือ ขยายไปตลาดต่างจังหวัดมากขึ้น ตั้งเป้าขยายให้ครบ 10 จังหวัดภายในปี 2559 การขยายไปต่างจังหวัด คือ การไปเปิดสำนักงานสาขาและสร้างทีมงานย่อยในจังหวัดนั้น สำหรับจังหวัดที่ยังไม่ได้ไปเปิดสำนักงานสาขา ก็จะใช้วิธี Telesales

ส่วนมิติแนวลึก คือ การขยายขีดความสามารถในการสร้างรายได้จากฐานที่มีอยู่ ทั้งจำนวนร้านค้า จำนวนรีวิว จำนวนสมาชิกผู้ใช้งาน ด้วยการขยายรูปแบบธุรกิจจากเดิมที่ Wongnai มีรายได้หลักการค่าโฆษณา ทั้ง Advertising (ทั้ง banner ad และ listing ad) และ Advertorial ขยายไปสู่ธุรกิจ marketplace ที่สร้างรายได้จากส่วนแบ่งจากการขายของร้านค้าที่อยู่บนแพลตฟอร์มของ Wongnai

“รายได้จากรูปแบบธุรกิจใหม่จะมาไม่ถูกจำกัดด้วยพื้นที่โฆษณา แต่รายได้จะสามารถ scale ได้ไม่มีที่สิ้นสุด ปัจจุบัน Wongnai ให้บริการรีวิวอยู่บน 2 แพลตฟอร์ม คือ Wongnai [รีวิวร้านอาหาร] และ Wongnai Beauty [รีวิวธุรกิจบริการด้านความงาม] เรากำลังจะรวม Wongnai และ Wongnai Beauty เข้าด้วยกัน และเริ่มใช้รูปแบบธุรกิจ marketplace ในเดือนกันยานยน 2558 โดยเริ่มจาก restaurant category ก่อน จากนั้นค่อยขยายไปสู่ beauty category ในเดือนตุลาคม 2558”

ในเดือนกันยายน 2558 Wongnai จะเปิดตัว marketplace business model สำหรับ restaurant category ด้วยแคมเปญการตลาด Restaurant Week โดยนำร้านอาหาร 50 ร้านทั่วกรุงเทพฯ มาจัดคอร์สให้ Wongnai users สามารถซื้อได้ในราคาพิเศษ เพื่อเป็นการแนะนำว่าที่ Wongnai นอกจากรีวิวแล้วยังสามารถซื้อได้ด้วย และในเดือนถัดไปจะเปิด marketplace business model สำหรับ beauty category

“Business model ที่รายได้มาจาก advertising อย่างเดียว เราไม่สามารถโตแบบ exponential growth ได้ เราแค่โตแบบ liner growth เพราะ slot ของ ad เด็ม เราไม่สามารถ maximize revenue stream ไปได้มากกว่านี้ เนื่องด้วยข้อจำกัดในเรื่อง slot ของ ad ในแบบต่างๆ เราเลยต้องการหา business model เพื่อจะโตแบบ exponential growth แเราเชื่อใน transaction เพราะ e-commerce มา คนเร่ิมทำ online transaction มากขึ้นเรื่อยๆ เราเน้นว่าเราต้องมี transaction เกิดขึ้นบน Wongnai โดยเราจะให้ร้านค้าทำ e-voucher ให้ลูกค้าที่เข้ามาอ่านรีวิว”

ปัจจุบัน Wongnai มีร้านอาหารที่ถูกรีวิว 180,000 ร้าน มียอดผู้้ใช้งาน 2 ล้านคน มีรีวิวทั้งหมด 500,000 ชิ้น มียอดการเข้าชมเกือบ 300,000 ครั้งต่อวัน มียอดผู้ใช้งานต่อเดือน (Monthly Active Users) อยู่ที่ 500,000 คน ในขณะที่ Wongnai Beauty ปัจจุบันมีจำนวนร้านบริการความงาม 6,000 ร้าน จำนวนรีวิว 10,000 รีวิว และจำนวนผู้ใช้งาน 100,000 คน ซึ่งขนาดของ Wongnai Beauty มีสัดส่วนประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ของ Wongnai “ยอด”​ต้องการผลักดันให้ beauty category มีขนาดประมาณ​30-35 เปอร์เซ็นต์ของ Wongnai ก่อนที่จะขยายไปสู่ travel category

Wongnai ก่อตั้งกลางปี 2010 ด้วยแนวคิดที่ต้องการเป็นแพลตฟอร์มของการรีวิว ในช่วง 2 ปีแรก ธุรกิจของ Wongnai ไม่สามารถสร้างรายได้ได้เลย จนกระทั่งในปี 2012 Wongnai เริ่มมีรายได้จากการโฆษณาเมื่อเขาสามารถมีจำนวนร้านค้าที่มากพอ คือ เริ่มมีรีวิวหลัก 10,000 รีวิว มีผู้ใช้งาน 80,000 คน หลังจากได้ทุน Wongnai ก็เติบโตก้าวกระโดดจากที่มีผู้ใช้งาน 80,000 คนเพ่ิมเป็น 300,000 คน 1 ล้านคน และ 2 ล้านคนในปัจจุบัน ส่วนจำนวนรีวิวเพ่ิมจาก 10,000 รีวิวต้นๆ เป็น 500,000 รีวิว ยอดคนเข้าชมจาก 1 ล้านครั้งต่อเดือนเพ่ิมเป็น 7.5 ล้านครั้งต่อเดือนในปัจจุบัน คือ โต 7-8 เท่าใน 2 ปี (2013-2014)

“จริงๆ เราใกล้ break-even แล้วในรูปแบบธุรกิจแบบเก้า แต่เราต้องการลงทุนเพื่อให้ market cap เราใหญ่กว่านี้ รายได้ครึ่งปีแรกของปี 2558 มากกว่ารายได้ของปี 2557 ทั้งปี เราเติบโต 3 เท่าในทุก KPI มาตลาดตั้งแต่ปี 2013 หลังจากที่เราระดมทุนได้ เราได้ทุนมา 2 รอบ รอบแรกปี 2013 เป็น seed funding รอบสองปี 2014 เป็น series A ทั้งสองรอบเราได้จาก Recruit Strategic Partners เงินที่ได้มาเราก็มาลงทุนขยายธุรกิจเพ่ิม ปี 2015 นี้เราคิดว่าเราจะโต 2.5 เท่า”

มุมมองต่อ startups ไทย

“ผมมองว่ามีความเสี่ยงอยู่บ้างพอสมควร ทั้ง startup และนักลงทุน นักลงทุนตอนนี้อยากลงทุนประเทศไทยมาก startup ก็รู้จึงตั้ง startup มาระดมทุน ในขณะที่ startup ที่เป็น sustainable business ยังม่ไม่เยอะ หากมีการระดมทุนเยอะๆ แต่สุดท้ายแล้วไม่มี exist case สวยๆ หรือไม่มีบริษัทที่ทำกำไรได้มากจริงๆ สุดท้ายก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิด bubble อยากให้ startup คิดถึงเรื่องการทำเงิน การสร้างร้ายได้ ว่าจะมี revenue ที่โตเร็วเท่สารลงทุนได้อย่างไร จุดที่เป็นปัญหา คือ ปัจจัยภายนอก คือ คนในประเทศยังไม่ถึงจุดที่พร้อมจะจ่ายเงินมากเท่าที่นักลงทุนคิด ผมไม่อยากเห็น startup ทำเพื่อให้มี growth เพราะต้องการแค่ validation สูงๆ เพื่อการ exist มันอันตรายหาก fundamental ไม่แข็งแรง เราอาจจะประมาณการณ์ตลาดไง้ใหญ่มาก แต่จริงๆ spending ใหญ่แค่ไหน สุดท้ายหากตลาดไม่เกิดจริง เงินหมด บริษัทก็เจ๊ง นักลงทุนก็ไมไ่ด้เงินคืน”

“การที่ startup ไทยเน้นไปตลาดต่างประเทศ ก็เป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่ง บาง startup เหมาะที่จะไปต่างประเทศ บาง startup เหมาะที่จะโฟกัสตลาดในประเทศ ซึ่ง Wongnai เป็นอย่างหลัง หากผมทำเกมผมไปตลาดต่างประเทศแน่นอน แต่ผมทำ local content เลยคิดว่าไม่จำเป็นต้อง go global”

View :5979