Archive

Archive for the ‘Uncategorized’ Category

ระบบเครือข่ายเซนเซอร์เฝ้าติดตามผลกระทบในฝั่งทะเลอันดามัน จากเหตุแผ่นดินไหวที่ประเทศอินโดนีเซีย

April 12th, 2012 No comments

ระบบเครือข่ายเซนเซอร์เฝ้าติดตามและส่งข้อมูลลักษณะทางกายภาพของระบบ นิเวศวิทยาปะการัง สามารถจับชายหาดและภาพใต้ทะเลฝั่งอันดามันในช่วงเวลา 18.00-18.30 น. ของวันที่ 11 เมษายน 2555 คาดว่าจะเป็นช่วงที่เกิดเหตุน้ำขึ้นลงผิดปกติในเขตเกาะราชาใหญ่ จังหวัดภูเก็ต อันเป็นผลมาจากแผ่นดินไหวที่ประเทศอินโดนีเซีย โดยทีมนักวิจัยจากศูนย์ความรู้เฉพาะด้านนิเวศวิทยาพยากรณ์และการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์พบความผิดปกติน้ำทะเลขึ้นลงประมาณ10 เซ็นติเมตร

ภาพขณะลงไปติดตั้งอุปกรณ์เมื่อปี 2011


หมายเหตุ : ( ข้อมูลโครงการวิจัยเพิ่มเติม ) ระบบเครือข่ายเซนเซอร์เฝ้าติดตามและส่งข้อมูลลักษณะทางกายภาพของระบบ นิเวศวิทยาปะการัง
ภายใต้โครงการเครือข่ายบุคลากรและการสร้างศูนย์ความรู้เฉพาะด้าน Centre of Excellence : CoE

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค ร่วมกับ ศูนย์ความรู้เฉพาะด้านนิเวศวิทยาพยากรณ์และการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และผู้ประกอบการรีสอร์ท ร่วมกันพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการแก้ปัญหาชายฝั่ง โดยมุ่งศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดการฟอกขาวของปะการัง ระบบสารสนเทศนี้จะช่วยให้นักวิจัยมีข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะทำความเข้าใจ กระบวนการต่างๆ ที่มีผลต่อชายฝั่ง นำไปสู่การแก้ปัญหาชายฝั่ง ทั้งทางกายภาพและชีวภาพ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีแนวปะการังที่สวยงามหลายจุดทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่ง อันดามัน ผลผลิตและความหลากหลายทางชีวภาพที่สูงมากของแนวปะการัง ปัญหาการตายของแนวปะการังซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด จะมีผลกระทบต่อมวลมนุษย์สุดที่จะประเมินได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ ปะการังเหล่านี้เพื่อการจัดการ อย่างเข้าใจ และอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์นี้ไว้ สถาบันการศึกษาต่างๆ ให้ความสนใจที่จะศึกษา เก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมของแนวปะการัง แต่เนื่องด้วยงบประมาณและเวลาที่จำกัด ทำให้ไม่สามารถทำการศึกษาแนวปะการังได้ทุกๆแห่งทั่วประเทศไทย การศึกษาและติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมส่วนใหญ่แล้วเป็นการวางเซน เซอร์ และไปเก็บตัวอย่างทุกๆ 2-3 เดือน ทำให้ข้อมูลที่ได้ไม่เป็นแบบ real-time เมื่อเกิดปะการังฟอกขาวขึ้นในช่วงที่ยังไม่ได้ออกไปเก็บข้อมูล การศึกษาปัจจัยทางกายภาพที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวได้ไม่ทันถ่วง ที ทำให้ไม่สามารถเข้าใจถึงปัจจัยทางกายภาพที่มีผลทำให้เกิดปรากฎการณ์ ปะการังฟอกขาวอย่างถ่องแท้ได้

ปรากฎการณ์อุณหภูมิน้ำทะเลที่เพิ่ม สูงขึ้นทำให้เกิดปะการังฟอกขาวไป มากกว่า 60 ประเทศทั่วโลกในปีคศ. 1998 และในปีคศ. 2010 นักวิจัยจำเป็นต้องทำความเข้าใจรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำทะเล และการตอบสนอง ของปะการังต่ออุณหภูมิน้ำทะเลที่เปลี่ยนแปลงไป การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อ การเกิดปะการังฟอกขาวก็เป็นส่วนหนึ่งของการเข้าใจปัญหา การเก็บข้อมูลทางกายภาพของสิ่งแวดล้อมที่ระบบนิเวศปะการังแบบ realtime เป็นหนทางเดียวที่ช่วยในการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ถูกต้องแม่นยำมาก ขึ้น ศูนย์ความรู้เฉพาะด้านนิเวศวิทยาพยากรณ์และการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้มีการติดตั้งเซนเซอร์วัดอุณหภูมิน้ำทะเลและแสง ตามจุดต่างๆแบบ offline and online และสถานีตรวจวัดอากาศอัตโนมัติ เป็นการนำเทคโนโลยีใหม่ด้านไอที เข้าไปศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของสภาพแวดล้อมแนวปะการัง จากระยะไกล

ภาพขณะลงไปติดตั้งอุปกรณ์เมื่อปี 2011


รศ.ดร.กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี ผู้อำนวยการศูนย์ความรู้เฉพาะด้านนิเวศวิทยาพยากรณ์และการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดเผยว่า”โครงการติดตั้งระบบเครือข่ายเซ็นเซอร์เฝ้าติดตามและส่งข้อมูลลัก ษณทางกายภาพของ ระบบนิเวศวิทยาปะการัง มีจุดเริ่มมาตั้งแต่การติดตั้งเซ็นเซอร์แบบอิสระ หรืออุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิน้ำทะเลและแสงแดด ตามจุดต่างๆใต้ท้องทะเล บริเวณบ้านรายารีสอร์ทแอนด์สปา เกาะราชาใหญ่ จ.ภูเก็ต แต่ข้อมูลที่ได้ไม่ทันสถานการณ์ เพราะการตรวจดูข้อมูลจากอุปกรณ์นักวิจัยต้องเดินทางไปเก็บในช่วง 2-3 เดือนต่อครั้ง ทำให้บางครั้งปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวสิ้นสุดไปแล้ว ด้วยเหตุนี้ เนคเทคซึ่งมีความร่วมมือกับเครือข่ายสังเกตการณ์แนวปะการัง และได้รับความร่วมมือจากออสเตรเลียให้ยืมเซ็นเซอร์อัจฉริยะ (Conductivity Temperature and Depth Pressure Sensor : CTD) จำนวน 2 เครื่อง ให้นำมาติดตั้งเสริมอุปกรณ์เซ็นเซอร์ตัวเดิม ทำให้ทีมวิจัยสามารถเฝ้าดูข้อมูลผ่านระบบไอทีได้ตลอดเวลา สามารถปรับเปลี่ยนระบบการเก็บข้อมูลและการวัด สามารถตั้งค่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบ เช่น ตั้งค่าอุณหภูมิวิกฤติ หรือให้ตรวจสอบปรากฏการณ์ เป็นต้น แถมยังสามารถควบคุมหรือสั่งการได้จากศูนย์ควบคุมบนบก เป็นระบบเครือข่ายเซนเซอร์ที่ส่งข้อมูลลักษณะทางกายภาพแบบ realtime online เป็นวิธีแบบใหม่ที่จะ นิยมใช้กันทั่วโลก ประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกในเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศที่ 4 ของโลกที่มีระบบเครือข่ายเซ็นเซอร์ศึกษาลักษณะทางกายภาพทางทะเลของแนว ปะการังที่ทันสมัย ถัดจากประเทศออสเตรเลีย ไต้หวัน และเกาะมูกิ ในมหาสมุทรแปซิฟิก

นายปิยะวัฒน์ เสงี่ยมกุล ผู้จัดการโรงแรมบ้านรายา รีสอร์ท แอนด์สปา เกาะราชาใหญ่ จ.ภูเก็ต กล่าวถึงการตัดสินใจสนับสนุนงานวิจัยชิ้นนี้ว่า “ตนเป็นคนรักธรรมชาติและชื่นชอบการประดาน้ำ ได้มีโอกาสเข้ามาบริหารรีสอร์ตหลังเรียนจบวิศวกรรมศาสตร์ สาขาไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ซึ่งทุกวันตนจะดำน้ำลงไปเก็บขยะในอ่าวขอนแค แต่ด้วยความที่ไม่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการอนุรักษ์มากนัก จึงรู้สึกยินดีต้อนรับนักวิทยาศาสตร์และทุกหน่วยงานที่จะเข้ามาดำเนินการใดๆ เพื่อช่วยฟื้นฟูและอนุรักษ์ธรรมชาติในพื้นที่ไว้ นอกจากนี้ รีสอร์ตของตนยังมีความเพียบพร้อมด้านการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นระบบ 3จี ไว-ไฟ และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตผ่านสายเคเบิลใยแก้วนำแสง จึงคิดว่าเหมาะเป็นสถานที่สำหรับการทำวิจัยด้วย การสนับสนุนอาคารศูนย์วิจัยในรีสอร์ตเป็นเหมือนการทำธุรกิจแบบวิน-วิน ตนได้มีส่วนอนุรักษ์ธรรมชาติ ทางรีสอร์ตสามารถใช้ข้อมูลเป็นสภาพอากาศแบบเรียลไทม์ให้ลูกค้าได้ทราบ กล้องที่ติดตั้งไว้ใต้ทะเลเพื่อติดตามดูปะการังก็สามารถถ่ายทอดมายังล็อบบี้ ของโรงแรมได้ นับเป็นจุดขายที่โดดเด่นของรีสอร์ต นอกจากนี้ ประเทศชาติก็ยังได้ประโยชน์ด้วย ทุกคนได้ประโยชน์หมด”

ภาพขณะลงไปติดตั้งอุปกรณ์เมื่อปี 2011

ดูภาพ Update เพิ่มเติมและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://www.facebook.com/ecoinfo

View :3997

สวทช.​เปิดศูนย์นวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ และอิเล็กทรอนิกส์ อินทรีย์ (Thailand Organic @ Printed Electronics Innovation Center ) หรือ TOPIC

April 4th, 2012 No comments


ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดศูนย์นวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ และอิเล็กทรอนิกส์ อินทรีย์ (Thailand Organic @ Printed Electronics Innovation Center ) หรือ TOPIC เพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตนวัตกรรมใหม่ของอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์ได้ ( Organic & Printed Electronics) เน้นความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อพลิกโฉมอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทยให้ก้าวสู่นวัตกรรมแห่งโลกอนาคต นำร่องด้วยนวัตกรรมใหม่บนนิตยสารและบรรจุภัณฑ์ด้วยหมึกพิมพ์นำไฟฟ้าครั้งแรกในประเทศไทย หวังปลุกชีพอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งการโฆษณา สิ่งทอ บรรจุภัณฑ์ พาณิชย์ รวมถึงผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเด็ก ฯลฯ เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการขยายตลาดการค้าให้ภาคธุรกิจไทยเติบโตได้อย่างมีศักยภาพทั้งในและต่างประเทศ โดย ดร.ทวีศักดิ์ เปิดเผยว่า

“อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ถือเป็นอีกอุตสาหกรรมหลักในประเทศไทยที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและมีศักยภาพเป็นผู้นำด้านการพิมพ์ของอาเซียน แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันอุตสาหกรรมการพิมพ์กำลังประสบกับวัฏจักร “ขาลง” ซึ่งฉุดอุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้งระบบให้ตกต่ำอีกด้วย ดังนั้นประเทศไทยจึงต้องเร่งหาเทคโนโลยี ที่จะมาเปลี่ยนแปลงหรือสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านสิ่งพิมพ์อย่างเร่งด่วน สวทช.เองซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดเป้าหมายและมุ่งมั่นพัฒนางานวิจัยให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงพัฒนางานวิจัยที่สามารถรับมือกับสภาพปัญหาได้ทันเหตุการณ์ ทั้งในแง่การคิดค้นสิ่งใหม่ๆไปล่วงหน้า และการสนับสนุนภาคเอกชนในด้านการบริการวิจัยให้เอกชน การรับจ้างทดสอบ หรือแม้กระทั่งการร่วมลงทุนตั้งบริษัทกับเอกชน เพื่อนำนวัตกรรมใหม่ๆออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว และโดยอาศัยองค์ความรู้และงานวิจัยต่างๆที่ สวทช.ได้ริเริ่มดำเนินการไว้ และการทำงานที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานหลักๆ ในภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ สวทช.ได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาหมึกพิมพ์นำไฟฟ้า ที่สามารถพิมพ์ลงบนพื้นผิวต่างๆ ทำให้เราก้าวข้ามข้อจำกัดของอุตสาหกรรมการพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสรรวัสดุที่มีคุณสมบัติหลากหลาย ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ อาทิ Smart Packaging บรรจุภัณฑ์ที่สามารถแสดงข้อมูลหรือภาพเคลื่อนไหวบนหีบห่อ เพื่อแสดงวิธีการใช้งานผลิตภัณฑ์ บอกคุณภาพของสินค้ากระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค และสามารถส่งข้อมูลกลับมายังผู้ผลิตเพื่อการปรับปรุงคุณภาพสินค้าในอนาคต หรือ หมึกพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถนำมาใช้พิมพ์ RFID ไปพร้อมกับการพิมพ์ฉลากบรรจุภัณฑ์ ในราคาที่ถูกกว่า RFID แบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน , E-paper หรือกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ที่ม้วนได้ สามารถติดลงบนพื้นผิวโค้งงอเพื่อใช้ในงานโฆษณา หรือสิ่งพิมพ์อัจฉริยะ จอแสดงผลชนิด OLED ซึ่งนำไปเป็นส่วนประกอบในกล้องดิจิตอลหรือโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะให้ภาพที่คมชัดยิ่งขึ้น มีสีสันงดงาม ใช้พลังงานน้อยลง และต้นทุนการผลิตที่ต่ำ หรือเซลล์แสงอาทิตย์ที่เป็นฟิล์มบาง น้ำหนักเบาสามารถคลุมลงบนหลังคาหรือห่อหุ้มอาคารแทนการใช้ฟิลม์กรองแสงและสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในตัว ,อาคารประหยัดพลังงาน ที่นำเทคโนโลยีกระจกอัจฉริยะ ซึ่งสามารถควบคุมปริมาณแสงและความร้อนจากภายนอกที่จะส่องเข้าไปในตัวอาคารในระดับที่ต้องการ ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญของอุตสาหกรรมการก่อสร้างอาคารอนุรักษ์พลังงาน หรือแม้แต่นวัตกรรมทางการแพทย์เช่น เซ็นเซอร์ตรวจวัดน้ำตาลและไขมันในเลือด และเซ็นเซอร์เพื่อการตรวจสอบคุณภาพอาหาร เช่น สารตกค้างในอาหาร ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างเซ็นเซอร์ที่มีราคาถูก ใช้แล้วทิ้ง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบทำให้การบริโภคอาหารมีความปลอดภัย ตลอดจนเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ทั้งนี้ ศูนย์นวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ฯ จะเป็นศูนย์รวมเครือข่ายการทำงานระหว่างภาครัฐ และเอกชน โดยจะมีห้องปฏิบัติการ และบริการทางเทคนิค เพื่อบริการแก่ภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการให้คำปรึกษาในการใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ด้วยหมึกอิเล็กทรอนิกส์ หรือหมึกนำไฟฟ้า นอกจากนี้ ไทยยังเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ Organic Electronics Association หรือ O-EA ซึ่งเป็นสมาคมด้านอิเล็กทรอนิกส์และอินทรีย์ระดับโลกเพื่อเชื่อมโยงงานวิจัยระหว่างกลุ่มสมาชิกของ O-EA ที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งจะทำให้ไทยมีฐานข้อมูล และเครือข่ายการพัฒนางานวิจัยที่กว้างมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นการปฏิวัติวงการพิมพ์ของไทยให้ก้าวไปสู่โลกอนาคต ซึ่งผมมั่นใจว่าภาคธุรกิจที่เข้ามาร่วมกับ สวทช.จะได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมใหม่นี้ที่สามารถนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการได้หลากหลายให้สามารถแข่งขันได้ ตลอดจนเป็นทางเลือกใหม่ให้แก่ผู้บริโภคได้เข้าถึงนวัตกรรมใหม่ๆที่ใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตอีกด้วย” ดร.ทวีศักดิ์กล่าว

View :2610
Categories: Uncategorized Tags:

“สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน” จับมือ “วิชาการดอทคอม” จัดกิจกรรม “ค่ายลำแสงแห่งอนาคต…แสงซินโครตรอน”

April 4th, 2012 No comments

“ซินโครตรอน” รุกกลุ่ม นร.มัธยม หวังเสริมความรู้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอน จับมือวิชาการดอทค เปิด “ค่ายลำแสงแห่งอนาคต…แสงซินโครตรอน”รับสมัคร ตั้งแต่บัดนี้ – 20 เมษายน 2555

“สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน” จับมือ “วิชาการดอทคอม” จัดกิจกรรม “ค่ายลำแสงแห่งอนาคต…แสงซินโครตรอน” นำร่องเชิญชวนกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทย์ทั่วประเทศ จำนวน 20 คน เข้าสัมผัสเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนและการนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ณ ห้องปฏิบัติการแสงสยาม จ.นครราชสีมา

ดร.นวลวรรณ สงวนศักดิ์ รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า สถาบันฯ ร่วมกับ เว็บไซต์วิชาการดอทคอม จัดโครงการ “ค่ายลำแสงแห่งอนาคต…แสงซินโครตรอน” ขึ้นระหว่างวันที่ 3 – 4 พฤษภาคม 2555 ณ ห้องปฏิบัติการแสงสยาม จังหวัดนครราชสีมา โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์ จากทั่วประเทศที่มีความสนใจด้านฟิสิกส์ ได้เข้าสัมผัสเรียนรู้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอน เริ่มแต่กระบวนการผลิตโดยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน และการนำไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมถึงการทำกิจกรรมกลุ่มทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับนักวิจัยพี่เลี้ยง และทัศนศึกษาในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา กิจกรรมค่ายครั้งนี้ถือเป็นโครงการนำร่องครั้งแรกในกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ผ่านเว็บไซต์ที่เป็นแหล่งรวมทางด้านวิชาการเช่น วิชาการดอทคอม ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มเยาวชนในสังคมยุคสื่อสารออนไลน์เช่นปัจจุบัน

ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม “ค่ายลำแสงแห่งอนาคต… แสงซินโครตรอน” โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ คุณสมบัติต้องเป็นเยาวชนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทย์จากทั่วประเทศ จำนวน 20 คน พิจารณาจากการเขียนเรียงความหัวข้อ “เรียนฟิสิกส์ สนุกอย่างไร?” ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม และสมัครได้ที่ www.vcharkarn.com
!!! เปิดรับสมัครได้ตั้งแต่วันนี้– 20 เม.ย. 2555 !!!

View :2537

เวทีเสวนา “โซเชียลมีเดียทางเลือกใหม่? ของการรายงานข่าวในภาวะวิกฤต”

March 30th, 2012 No comments
  1. Share
  2. Share
  3. Share
    RT @lekasina: @motorcyrubjang บอกว่าเพื่อนๆ ไม่เข้าใจว่าจะพกอุปกรณ์อะไรนักหนา พี่เขาบอกเพื่อนว่า มันสำคัญนะ (แกไม่เข้าใจหรอก) #SM4JR
  4. Share
  5. Share
    RT @moui: หลังจากที่ @motorcyrubjang blog ไปแล้ว มี จนท. มาอ่านพบ แล้วตามไปแก้ปัญหาให้ ตอนนี้ปัญหาแก้ไปแล้ว #SM4JR
  6. Share
    พี่วินมอ’ไซค์ เดชชาติ เจ๋งสุดๆ ในช่วง”ใครๆก็เป็นนักข่าวได้” เยาวชนที่มีโชเชียลมีเดียควรค่าแก่การเลียนแบบอย่างยิ่ง #SM4JR #Thai PBS
  7. Share
    พี่วิน @motorcyrubjang เล่าถึงเรื่องเพื่อนที่หมู่บ้าน ที่ศรีสะเกษ โดนสวมบัตรประชาชนโดยคนต่างด้าว แล้วเอามา blog ไว้ที่ oknation #SM4JR
  8. Share
    RT @lekasina: @motorcyrubjang บอกว่า จะเป็นนักข่าว (พลเมือง) ได้ หัวใจต้องมาก่อน ต้องใจรัก #SM4JR
  9. Share
    @motorcyrubjang พกอุปกรณ์เทคโนโลยีไว้ในกระเป๋าสะพานติดตัวไว้ตลอดเวลาขับรถ พอไว้ต้องใช้ เข้าร้านเน็ต สามารถส่งภาพเอาขึ้นบล้อกได้ทันที #SM4JR
  10. Share
    คุณพี่วิน @motorcyrubjang เล่าถึงวิธีการ blog ของตัวเอง ใจรักจริงๆ #SM4JR
  11. Share
    คุณ @motorcyrubjang ใช้ประโยชน์จาก Social Media ในการรายงานการรับส่งเอกสาร และใช้ในการรายงานข่าว #sm4jr
  12. Share
    @motorcyrubjang บอกว่า จะเป็นนักข่าว (พลเมือง) ได้ หัวใจต้องมาก่อน ต้องใจรัก #SM4JR
  13. Share
  14. Share
  15. Share
  16. Share
    ตอนนี้คุณวิลาวัลย์ บุญจันทร์ กลุ่มอาสาฝ่าน้ำท่วม ให้ความเห็นว่า social media ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมได้อย่างไร #SM4JR
  17. Share
    ทุกคนสามารถเป็นนักข่าวได้ แต่นักข่าวจริงๆก็จะมีการตรวจสอบข่าวก่อนทวิต แต่สำหรับนักข่าวพลเมืองสามารถใช้เทคโนโลยีมาใช้ในการรายงานข่าว #sm4jr
  18. Share
    พี่วิน @motorcyrubjang เล่าเรื่องการหัดเรียนภาษาอังกฤษด้วยตนเอง #SM4JR
  19. Share
    คุณวิลาวัลย์ : แนะนำให้ follow นักข่าวหลากสำนัก เพื่อว่าจะได้เห็นวิธีรายงานข่าวแตกต่างกัน #SM4JR
  20. Share
    คุณวิลาวัลย์ : ในความรีบของการรายงานข่าวด่วน นักข่าวบางสำนักไม่มีการตรวจสอบ พบมาแล้วตอนมีการแจ้งอพยพน้ำท่วมที่อยุธยา #SM4JR
  21. Share
    “น้ำมาให้รีบบอก” เป็นทวิตที่เจ๋ง เรายังตามติดตลอดเลย #sm4jr
  22. พี่ @motorcyrubjang โด่งดังชั่วข้ามคืนบนโลกออนไลน์ สู่โลกออฟไลน์ จากเหตุกาณณ์ระเบิดที่สุขุมวิท ซึ่งความจริงและพี่เขาบอกว่า พี่เขาใช้ทวิตเตอร์มานานก่อนหน้านั้น เพียงแต่ไม่มีใครรู้จักมากนัก พอขับรถผ่านที่เกิดเหตุ ด้วยสัญชาตญาณนักข่าวพลเมืง ที่พกอุปกรณ์ไอทีไว้ในกระเป๋าสะพานติดตัวไว้ตลอดเวลา ถ่ายรูปแล้วทวิต เท่านั้นเอง สื่อกระแสหลักก็ทวิตต่อ ไม่เพียงสื่อกระแสหลักในประเทศเท่านั้น แต่ BBC ยังนำไปเผยแพร่ต่อ ทำให้พี่เขากลายเป็นที่รู้จักทันที 
  23. Share
    ในวิกฤต ไม่ได้หวังความเนี๊ยบ แต่หวังความเข้าใจในข้อเท็จจริง เพื่อสื่อฯถึงผู้ประสบภัยโดยเร็วที่สุด :วิลาวรรณ #sm4jr
  24. Share
    มีทางเลือกมากมายบนโลกอินเตอร์เน็ต นอกเหนือจากการเป็นนักข่าวทาง net จะเป็นคอลัมน์นิสต์ก็ยังได้ เช่นรีวิวอาหาร ข้อมูลท่องเที่ยว #sm4jr
  25. Share
    ในช่วงวิกฤตน้ำท่วม เราใช้การสื่อสารผ่านsocial media ขอระดมโทรศัพท์มือถือจากภาคประชาชน เพื่อใช้ในการประสานงานของ จนท.และอาสา #sm4jr
  26. Share
    คุณวิลาวัลย์ : อาสาสมัครนักศึกษาที่มาช่วยทำ infographic มีไอเดียดีมาก เก่งมาก แค่แนะประเด็นแล้วอาสาฯ ไปทำกันต่อเอง #SM4JR
  27. Share
  28. Share
    RT @JJ_Sathon: ในวิกฤต สติ เป็นสิ่งที่ช่วยเราให้รอด ควรมีวิจารณญาณ และศึกษาให้ดีว่าเราใช้เพื่ออะไร:;วิลาวรรณ #sm4jr
  29. Share
    RT @moui: คำถามถึง @motorcyrubjang ไม่ได้เงิน แล้วทำทำไม, พี่วินบอกว่า ทำเพราะอยากทำ อยากบอกเรื่องราวให้คนอื่นรู้ #SM4JR
  30. Share
    ความกดดันของนักข่าวชุมชนไม่มากเท่านักข่าวตัวจริง แต่ความรับผิดชอบต่อสังคมไม่แพ้กัน ความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญ #sm4jr
  31. Share
    ข้อจำกัดของผมคือ แบตเตอร์รี่! smart phone พอ low battery จะถ่ายรูปไม่ได้ เพราะฉะนั้น ควรเรตรียมพร้อมเสมอ via @motorcyrubjang #SM4JR
  32. Share
    ตามข่าวจากหลายๆสำนัก แต่อย่ามอบรักให้ใครหลายๆคน #SM4JR
  33. Share
    คนเราสามารถผิดพลาดได้ นักข่าวพลเมืองก็อาจผิดพลาดได้ เพราะไม่ใช่มืออาชีพด้านนี้ การขออภัยและแก้ไขถือเป็นเรื่องปกติ #sm4jr
  34. Share
    กรณีส่งข้อมูลพลาด คุณวิลาวัลย์ บอกว่าให้ขอโทษแล้วก็แก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องไป #SM4JR
  35. Share
    ถ้ารายงานไปแล้ว (ทวิต) จะทำอย่างไร พี่วิน @motorcyrubjang บอกว่า เมื่อรู้ก็ต้องขอโทษแล้วรีบทวิตแก้ไขให้ถูกต้อง #SM4JR
  36. Share
    RT @MynameTai: ชมสดงานเสวนาจากหลายเว็บเลยค่ะ thaipbs.or.th/sm4jr , itpc.co.th , bu.co.th ตามประเด็นเสวนาที่ #sm4jr
  37. Share
    @motorcyrubjang “ข่าวมีอยู่ในทุกที่ ไม่จำเป็นต้องเป็นกระแสใหญ่โต เพียงแต่เราจะเห็นหรือเปล่า … แค่เรื่องเล็กๆ ก็มีผลต่อคนอื่นๆ ได้” #sm4jr
  38. Share
    คุณวิลาวัลย์ : คนเรามีความสนใจแตกต่างกัน บางเรื่องไม่ที่รายงานไป อาจไปตรงใจคนบางกลุ่มได้ #SM4JR
  39. Share
    พี่เดชชาติ ถ่ายภาพฝาท่อน้ำ ซอยปรีดี ๑๔ ชำรุด อัพขึ้นทวิต วันรุ่งขึ้นฝาใหม่มาทันที #sm4jr
  40. Share
    ทุกที่มีข่าวอยู่ ไม่จำเป็นต้องเป็นข่าวที่อยู่ในกระแสเท่านั้น – พิธีกรดำเนินรายการ #SM4JR
  41. Share
    พี่วิน @motorcyrubjang คอยแจ้งเหตุ สิ่งกีดขวางบนถนน ถนนชำรุดต่างๆ แจ้งในนามพลเมืองและมีการแจ้งทางการและมีสขมาช่วย #sm4jr
  42. Share
    ลำพังแค่ฟ้าครึ้มฝนตก รถติดหนัก การรายงานให้คนอื่นได้ทราบ ก็อาจมีผลต่อคนที่ต้องออกเดินทางได้เยอะเหมือนกัน #sm4jr
  43. Share
    การใช้ social madia จะต้องรับผิดชอบ และมีกาลเทศะ #sm4jr
  44. Share
    RT @moui: คุณวิลาวัลย์ : ปัญหาการเมือง สร้างปัญหากับสังคมไทยมาก แม้กระทั่งในงานอาสาตอนน้ำท่วม ก็ได้รับคำถามก่อนว่า เป็นสีอะไร #SM4JR
  45. Share
    RT @Mirror_org: เหนือสิ่งอื่นใด คือน้ำใจของภาคประชาชน ที่ร่วม ตอบสนอง140ตัวอักษร ที่มูลนิธิกระจกเงา ได้สื่อออกไปในช่วงวิกฤตน้ำท่วม #sm4jr
  46. Share
    RT @ThaiPBS: พี่ @motorcyrubjang ไม่ค่อยทวีตการเมือง เพราะเกรงจะไปสร้างีวามแตกแยกเพิ่ม #sm4jr
  47. Share
    RT @aum2u: แนะนำอย่าใช้ location based อย่าง foursquare มาเช็คอินบ้านตัวเอง ใช้เน็ตต้องระวังความเป็นส่วนตัวด้วย #sm4jr
  48. Share
    RT @ThaiPBS: ก่อนแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะของตนเอง หรือเห็นด้วยกับความคิดเห็นคนอื่น หยุดคิดสักนิดก่อน เพราะมันจะเป็นสิ่งที่ติดตัวเราไป #sm4jr
  49. Share
    RT @ThaiPBS: ไม่ได้ห้ามแสดงความคิดเห็น แต่เมื่อแสดงความคิดเห็นแล้วต้องพร้อมรับผิดชอบ #sm4jr
  50. Share
    นักข่าวที่ใช้ทวิตเตอร์ส่วนใหญ่ โดนผู้บริหารบังคับใช้ twitter แต่มอเตอร์ไซด์รับจ้างท่านนี้ เกิดจากอยากลองtwitter จริงๆ #sm4jr :)
  51. Share
    RT @JJ_Sathon: คนสังคมเมืองน่าจะมีวิจารณญาณ แยกแยกข่าวสารมากกว่า แต่ไม่ใช่ กลายเป็นคนเมืองที่ไม่สามารถแยกแยะ เชื่อไปหมด : วิลาวรรณ #sm4jr
  52. Share
    คุณวิลาวัลย์ : การรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่าน internet น้องๆ เยาวชน ก็ต้องรับรู้อย่างมีสติ และต้องรับผิดชอบต่อความเห็นที่แสดงออกไป #SM4JR
  53. Share
    คุณวิลาวัลย์ : เมื่อก่อนคนต่างจังหวัดจะเชื่อในทีวี เพื่อคิดว่าทีวีได้รับการกลั่นกรองมาหมดแล้ว แต่จริงๆ มันไม่ใช่เสมอไป #SM4JR
  54. Share
    รวมภาพบรรยากาศ งานเสวนา”Social Media ทางเลือกใหม่? ของการรายงานข่าวในภาวะวิกฤตค่ะ on.fb.me/HiQoVQ #sm4jr
  55. Share
    บล็อกของพี่เด่นชาติ @motorcyrubjang ที่ OK Nation oknation.net/blog/motorcyr… #sm4jr
  56. Share
    เรื่องบางเรื่อง ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยบน Social Media ก็ได้ โปรแกรมอย่าง Foursquare ก็ต้องระวังเรื่องการเช็คอินที่บ้าน เพราะโชว์พิกัด #sm4jr
  57. Share
    ไม่ได้ห้ามแสดงความคิดเห็น แต่เมื่อแสดงความคิดเห็นแล้วต้องพร้อมรับผิดชอบ #sm4jr
  58. Share
    RT @ThaiPBS: ก่อนแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะของตนเอง หรือเห็นด้วยกับความคิดเห็นคนอื่น หยุดคิดสักนิดก่อน เพราะมันจะเป็นสิ่งที่ติดตัวเราไป #sm4jr
  59. Share
    RT @ThaiPBS: ลำพังแค่ฟ้าครึ้มฝนตก รถติดหนัก การรายงานให้คนอื่นได้ทราบ ก็อาจมีผลต่อคนที่ต้องออกเดินทางได้เยอะเหมือนกัน #sm4jr
  60. Share
    @MilanShevaLive จับใจความว่า น่าจะหมายถึงกรณีผิดแล้วต้องขอโทษแก้ไข และรวมไปถึงกรณีที่มีประเดผ้นทางกฎหมาย (เช่น หมิ่นประมาท) ครับ #sm4jr
  61. Share
    RT @ThaiPBS: คุณทราย: “นักข่าวพลเมืองดูอย่างไรว่าประเด็นที่จะนำเสนอนั้นจะเป็นที่สนใจหรือเปผ้นประโยชน์ต่อคนทั่วไปไหม?” #sm4jr
  62. Share
    RT @moui: เด็กนักเรียนทั้งหลายจงฟัง คนที่มีความพยายาม ก็จะไปถึงความสำเร็จได้ #เรียนด้วยตนเอง #SM4JR
  63. Share
    RT @ThaiPBS: คนเราสามารถผิดพลาดได้ นักข่าวพลเมืองก็อาจผิดพลาดได้ เพราะไม่ใช่มืออาชีพด้านนี้ การขออภัยและแก้ไขถือเป็นเรื่องปกติ #sm4jr
  64. Share
    รวมภาพบรรยากาศ งานเสวนา”Social Media ทางเลือกใหม่? ของการรายงานข่าวในภาวะวิกฤตค่ะ on.fb.me/HiQoVQ #sm4jr
  65. Share
    พี่วินสรุปว่า ใครๆ ก็เป็นนักข่าวพลเมืองอาสาได้ ไม่ว่าจะมาจากภาคไหน เมืองไหน ลองหัดทวิต หัดแชร์ ให้คนทั่วโลกได้รู้เกี่ยวกับบ้านเรา #SM4JR
  66. Share
  67. เสวนาช่วงนี้จบลงแล้วนะคะ ^__^
View :2358
Categories: Uncategorized Tags:

ประชุมเครือข่ายนักวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน ประจำปี ๒๕๕๕ ประชุมสัมมนา “ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ครั้งที่ ๑

March 30th, 2012 No comments
  1. จัดโดย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ร่วมกับ  สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย , สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทยศูนย์ศึกษากฎหมายและนโยบายสื่อมวลชน , ชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์  และ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพวันศุกร์ที่  ๓๐  มีนาคม  ๒๕๕๕ เวลา ๐๘.๓๐-๑๗.๐๐ น.  ณ Convention Hall  สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 
  2. Share
  3. Share
    ดร.สมภพ : Convergence Journalism เป็นคำที่พูดกันอยู่ในขณะนี้ ซึ่งแปลเป็นไทยอาจจะแปลได้ว่า “วารสารบรรจบ” #ThaiJR
  4. Share
  5. Share
    Twitter เป็นทั้งปัจจุบันและอนาคตของทั้งอาจารย์ละผู้สื่อข่าว via @suthichai #ThaiJR
  6. Share
  7. Share
  8. Share
  9. Share
    @suthichai คนทำงานข่าวต้องมีจมูกที่พิเศษกว่าคนทั่วไป ไม่งั้นเราก็จะเหมือนคนทั่วไป ที่ก็ทำข่าวได้เหมือนเรา #ThaiJR
  10. Share
    วันนี้สื่อมวลชนไม่มีอำนาจเด็ดขาดในการเป็น “หมาเฝ้าบ้าน” (watch dog) และ “คนเฝ้าประตู” (Gate keeper) ได้เพียงลำพังอีกต่อไป #ThaiJR
  11. Share
    @suthichai สมัยก่อนเราเรียกตัวเองว่าเป็น Watchdog, gatekeeper หมาเฝ้าบ้านมีทั่วประเทศ ไม่ใช่เพียงแต่นักข่าวเท่านั้น #ThaiJR
  12. Share
    ความเป็น watch dog และ gate keeper ของสื่อมวลชนในอดีต ใช้ไม่ได้อย่างเดิมอีกต่อไป เมื่อก่อนมี editor ตอนนี้มี curator #ThaiJR
  13. Share
    @suthichai คนทำงานข่าวต้องมีจมูกที่พิเศษกว่าคนทั่วไป ไม่งั้นเราก็จะเหมือนคนทั่วไป ที่ก็ทำข่าวได้เหมือนเรา #ThaiJR
  14. Share
    “หากวันนี้เราไม่สามารถสอนให้นักข่าวเป็นหมาเฝ้าบ้านที่ดมกลิ่นได้ดีและมีประสิทธิภาพได้ นักข่าวจะตกงานเพราะตอนนี้ใครๆก็เป็นwatch dogได้ #ThaiJR
  15. Share
  16. Share
    RT @lekasina: กาาเรียนการสอนวารสารศาสตร์ ต่อไปนี้จะ ไม่มีคำว่า “Teacher” และ “student” แต่จะเป็น “co-learner” #THaiJR
  17. Share
    @suthichai ตอนนี้เป็นยุคของการแสวงหาของวงการสื่อที่ผมเรียกว่าเป็น Perfect Storm ผมถือว่าเป็นความท้าทาย หากไม่ปรับตัวจะกลายเป็นหายนะ #ThaiJR
  18. Share
    @suthichai ยุคนี้เป็นยุคที่มีแต่คำว่า Personal คือทำอะไรเป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Personal TV, Personal Channel ของตัวเอง #ThaiJR
  19. Share
    @suthichai บอกว่า ตอนนี้เราต้องเรียกตัวเองว่า Tableteers ไม่ใช่ reader, viewer หรือ listener อีกต่อไป #thaijr
  20. Share
    @suthichai อ.นิเทศฯในอนาคตต้องสอน ให้นศ.วิเคราะห์เครื่องมือ digital ทุก platform ต้อง Curator ของ content #ThaiJR
  21. Share
    เครื่องมือสื่อสาร โดยเฉพาะ social media ในปัจจุบันเอื้อให้นักข่าวสามารถทำ investigative reporting ได้ดีขึ้น #ThaiJR
  22. Share
    @suthichai ต้องสอนนศ.ให้เป็น 1. นักวิเคราะห์ข่าวดิจิทัลทุก Platform : ต้องออกไปทำข่าวได้ ตัดต่อ ทำรายงานออกมาได้ทุกรูปแบบ #thaijr
  23. Share
    2. สอนให้เป็น Curator ของ content ทุกรูปแบบ : ใช้ social media หาข้อมูล หาเนื้อห แล้วจัดรูปแบบใหม่นำเสนอออกไป via @suthichai #thaijr
  24. Share
    3.สอนให้เป็นJulian Assange แห่ง Wikileaks เป็นนักเจาะข่าว ล้วงความลับ เอาความจริงที่มีปย.มาเผยแพร่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ via @suthichai #thaijr
  25. Share
    4. ต้องสอนให้เป็น Multimedia user และ 5. เป็น Entrepreneur Journalist สามารถเป็นเจ้าของสื่อ สร้างสือได้เองบน SM via @suthichai #thaijr
  26. Share
    สุทธิชัย หยุ่น คาดการณ์ อีกไม่เกิน 5 ปี old media จะหมดสภาพ #ThaiJR
  27. Share
    RT @P_iNpota: Social media เป็นสิ่งที่ปลดแอกนักข่าวจากฎเกณฑ์เก่าๆที่เป็นข้อจำกัดการทำงาน ถ้าใช้เป็นจะเป็นอาวุธมีค่ามหาศาล :สุทธิชัย #thaijr
  28. Share
    Social media จะปรับแปลี่ยนการทำงานของนักข่าว จะเป็นสิ่งที่ปลดแอกนักข่าวจากกฏเกณฑ์ ข้อจำกัดเก่าๆ ของการทำงาน หากใช้เป็น #ThaiJR
  29. Share
    @suthichai : Entrepreneur Journalism (การเป็นสื่อของตัวเอง) เป็นสิ่งที่ต้องสอนในสาขานิเทศฯ เพราะเป็นพฤติกรรมของคนในยุคนี้ #ThaiJR
  30. Share
    เกาะติด ติดตามมุมมอง ความคิด ถึงทิศทางวารสารศาสตร์ของ @suthichai ได้ที่ “พรุ่งนี้ของคนบ้าข่าว” bit.ly/obnWoV ค่ะ #ThaiJR
  31. Share
    @suthichai ต้องสอนนศ.ให้เป็น 1. นักวิเคราะห์ข่าวดิจิทัลทุก Platform : ต้องออกไปทำข่าวได้ ตัดต่อ ทำรายงานออกมาได้ทุกรูปแบบ #thaijr
  32. Share
    2. สอนให้เป็น Curator ของ content ทุกรูปแบบ : ใช้ social media หาข้อมูล หาเนื้อห แล้วจัดรูปแบบใหม่นำเสนอออกไป via @suthichai #thaijr
  33. Share
    3.สอนให้เป็นJulian Assange แห่ง Wikileaks เป็นนักเจาะข่าว ล้วงความลับ เอาความจริงที่มีปย.มาเผยแพร่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ via @suthichai #thaijr
  34. Share
    4. ต้องสอนให้เป็น Multimedia user และ 5. เป็น Entrepreneur Journalist สามารถเป็นเจ้าของสื่อ สร้างสือได้เองบน SM via @suthichai #thaijr
View :1991
Categories: Uncategorized Tags:

มหากาพย์​ Tablet นักเรียน …

March 20th, 2012 No comments
  1. Share
    สัมภาษณ์สด น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ในรายการ Inside Thailand สดทาง www.springnewstv.tv
  2. มหากาพย์นี้เกิดขึ้นเมื่อหนึ่งปีที่แล้ว ตอนหาเสียงเลือกตั้ง ที่พรรคเพื่อไทยสัญญาว่าจะแจก tablet ให้นักเรียนป.1 ทั่วประเทศ หากได้เป็นรัฐบาล และก็ทำตามสัญญาตามที่หาเสียงๆว้จริงๆ แม้จะมีเสียงทักท้วงทั่วสารทิศถึงความพร้อมของเด็กนักเรียนระดับป.1 ความพร้อมของโครงข่ายอินเทอร์เน็ต และที่สำคัญความพร้อมของระบบการศึกษาและครู ที่หลายฝ่ายเป็นกังวลว่าอาจจะก้าวตามการของเครื่องเมือการเรียนรู้แบบใหม่นี้ไม่ทัน บ้างบอกว่าขอเวลาในการค่อยๆ ทยอยทดลองให้เด็กและครู​ได้ลองปรับการเรียนการสอน ให้เข้ากับเครื่องมือที่มาใหม่ บ้างก็ว่าขอให้ทดลองนำร่องให้บางโรงแรียนก่อน บ้างก็ว่าขอให้เปลี่ยนจากแจกเด็กป.1 ไปแจกเด็กที่โตกว่านี้ 
    แต่ไม่ว่าจะกี่คำทักท้วง และเสียงทัดทานให้ทบทวนโครงการ แต่ดูเหมือนรัฐบาลจะแน่วแน่กับสัญญาประชาคมที่ลั่นวาจาไว้ตอนหาเสียง มากกว่าสัญญาอื่นๆ ที่ให้ไว้ อาทิ เงินเดือน 15,000 บาททุกคน เป็นต้น ประกอบกับกระแสข่าวว่าโครงการนี้แท้จริงเป็นของพี่ชายท่านนายกฯบ้าง เป็นโครงการที่มีลับลมคมในที่รัฐบาลหรือคนในรัฐบาลจะได้ประโยชน์บ้าง จึงทำให้รัฐบาลแน่วแน่ที่จะเดินหน้าโครงการนี้ต่อไปอย่างไม่ลดละ แม้ว่าตลอดเวลาที่ผ่าานมาจะมีเสียงวิพากย์วิจารณ์ต่างๆ นาๆ ก็ตามที 
    จากนั้นรัฐบาลลจีนเสนอรายชื่อบริษัทเอกชนจีน 4 รายมาให้รัฐบาลไทยพิจาณา Huawei, Haier, TCL, Scope รัฐบาลไทยโดยคณะกรรมการบริหารนโยบาย 1 tablet 1 นักเรียน ที่มีรมต.ก.ศึกษาธิการเป็นประธาน และมีรมต.ก.ไอซีทีและก.ต่างประเทศเป็นรองประธาน ได้มีมติ (ถอดความจากเสียงสัมภาษณ์รมต.ไอซีที) ตามคณะกรรมการจัดซื้อ เลือกบริษัท Scope ด้วยเหตุผลที่ว่า ได้คะแนนคุณสมบัติสูงสุด และเสนอราคามาดีที่สุด และรอให้คณะกรรมการบริหารนโยบายฯ​นำเรื่องเสนอเข้าสู่ครม.เพื่อพิจารณาเห็นชอบ และเพื่อดำเนินการต่อไป
  3. แต่รอแล้วรอเล่าเรื่องนี้ก็ไม่ได้ถูกเสนอเข้าสู่การพิจารณาของครม.เสียที สัปดาห์หนึ่งผ่านไปก็แล้ว สองสัปดาห์ก็แล้ว ทำให้มีกระแสข่าวว่า มีการตกลงกันไม่ได้เรื่องการจัดการบริษัท tablet บ้าง มีความขัดแย้งกันระหว่างสองกระทรวงบ้าง มีใบสั่งมาว่าต้องเป็น Huawei บ้าง หลังจากนั้นเพียงไม่กี่วัน ก็มีการออกมาให้ข่าวว่า “ยังไม่มีการเลือกใคร แครบอกว่าใครเสนออะไร เท่าไหร่ อย่างไร” 
  4. ระหว่างนั้น นักข่าว ก็กุมขมับ และเช็คข่าวกันให้วุ่น เพราะมีกระแสว่า มีการดึงเกมการจัดหา tablet เพราะมีใบสั่งว่า จะเลือก Huawei เริ่มหนาหู จนรมต.ก.ไอซีทีออกมายืนยันว่าไม่มี Huawei ในการให้เข้ามาเสนอรายละเอียดอีกรอบในวันที่ 9 มีนาคมที่ผ่านมา เพราะ Huawei  เสนอราคามาสูงสุด ส���งเกินงบประมาณ 
  5. จากนั้นบ่ายวันพุธที่ 14 มีนาคม มีการรประชุมของคณะกรรมการบริหารนโยบายฯ มีมติเลือกบริษัทเอกชนจีน แต่ไม่สามาถรเปิดเผยได้ว่าเป็นใคร และจะดำเนินการทำหนังสือพร้อมรายละเอียดของข้อกฏหมายของไทยส่งไปให้รัฐบาลจีน รอรัฐบาลจีนตอบกลับมา ค่อยนำเรื่องเสนอเข้าครม.เพื่อพิจารณาเห็นชอบให้ดำเนินการต่อ
  6. ล่าสุด วันนี้ [20 มีนาคม 55] มติครม. (สัญจร) สดๆ ร้อนๆ จากภูเก็ตก็ออกมาแล้ว ว่ารัฐบาลมีมติให้การจัดการ tablet สำหรับเดก็นักเรียนชั้นป.1 นั้น เป็นไปในรูปแบบของการเซ็น MOU ระหว่างรัฐบาลไทยกับเอกชนจีนที่รับคัดเลือก แทนการจัดหามาแบบ G2G (Government-to-Government) หรือเป็นการเซ็นสัญญาระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน เหตุผลที่รัฐบาลให้คือ ไม่สามารถจัดกาด้วยวิธีการแบบ G2G ได้ เพราะผิดข้อกฏหมายของไทย  
  7. Share
    14:55 น. อนุดิษฐ์ระบุ”แท็บเล็ต”ใช้เอ็มโอยูเพื่อลดความเทอะทะ bit.ly/GB8nuU :Nation
  8. Share
    “อนุดิษฐ์”@Anudith ยันครม.ไฟเขียวเซ็นสัญญา “สโครป” ทำแท๊ปเล็ตป.1 ในราคา 81 เหรียญฯ คาดเซ็นสัญญาได้ในเดือนนี้ พร้อมจัดส่งถึงท่าเรือแหลมฉบัง
  9. Share
    RT @IT24hrs: RT @yoware: แท็บเล็ตผ่าน ครม.แล้ว กลับลำไม่ซื้อแบบ G2G กับจีน แต่ลดระดับลงเหลือแค่ซื้อภายใต้ MOU สองประเทศ”
  10. Share
    “อนุดิษฐ์” แจงว่า ครม.ให้เปลี่ยนหลักเกณฑ์จากซื้อ แท็บเล็ตแบบ G2G มาเป็นทางการไทยลงนามสัญญากับเอกชนจีน ภายใต้กรอบ MOU กับรัฐบาลจีน
  11. Share
    ถ้าเป็น G2G รัฐบาลจีนก็ต้องรับประกันเครื่องแท็บเล็ตที่เอกชนทำมาขายไทย ซึ่งกฎหมายจีนไม่เปิดช่องให้ทำได้
  12. Share
    แต่ภายใต้ MOU นี้ รัฐบาลจีนก็จะดูแลบริษัทเอกชนจีนที่หามาให้ไทยเลือก ให้ทำถูกต้องที่สุด…
  13. Share
    ระเบียบปกติ จัดซื้อของเกิน 2 ล้านบาท ต้องผ่าน e-Auction แต่กรณีแท็บเล็ต คณะกรรมการว่าด้วยระเบียบพัสดุ เปิดทางให้ทำได้ภายใต้ MOU
  14. Share
    คำถามคือ รัฐบาลจ่าย 1,900 ล้านทำสัญญาซื้อกับเอกชนจีนแบบนี้ได้หรือไม่ ? ไม่มีระเบียบใดเปิดทางให้จัดซื้อแบบ G2B ได้
  15. Share
    อนุดิษฐ์ เผยเซ็นต์สัญญาโครงการแท็บเล็ตป.1 สิ้นเดือนมี.ค.นี้
View :2205
Categories: Uncategorized Tags:

“จักร์กฤษ” นั่งประธานสภาการหนังสือพิมพ์ฯ สมัยที่ 7

March 7th, 2012 No comments

วันนี้ (6 มี.ค.) ได้มีการประชุมคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมัยที่ 7 ครั้งที่ 1/2555 เพื่อเลือกตั้งประธาน รองประธาน เลขาธิการ และกรรมการอื่นๆ ที่จำเป็นของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล จากเครือเนชั่น ได้รับเลือกเป็นประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมัยที่ 7 ด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ ส่วนรองประธานคนที่ 1 ได้แก่ นางผุสดี คีตวรนาฏ หนังสือพิมพ์ซิงจงเอี๋ยน และรองประธานคนที่ 2 ได้แก่ ศ.พิเศษ สิทธิโชค   ศรีเจริญ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมี นายวิโรจน์ วัฒนธาดากุล เป็นเลขาธิการ นายเฉลิมชัย ยอดมาลัย หนังสือพิมพ์แนวหน้า เป็นรองเลขาธิการ ส่วนเหรัญญิกได้แก่ นางสาวเจียมจิตต์ แซ่อึ่ง หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เลือกประธานอนุกรรมการชุดต่างๆ ได้แก่ ศ.พิเศษ สิทธิโชค ศรีเจริญ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์ นายธนดล มีถม หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เป็นประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ รศ.ดร.ดรุณี      หิรัญรักษ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ นายพรชัย ปุณณวัฒนาพร หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ เป็นประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ นายวิทิต ลีนุตพงษ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายกิจการระหว่างประเทศ นางอุบลนัดดา สุภาวรรณ หนังสือพิมพ์ไทยนิวส์รายวัน จังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานคณะอนุกรรมการสมาชิกสัมพันธ์ และ     นายภัทระ คำพิทักษ์ หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ เป็นประธานคณะอนุกรรมการจริยธรรมและสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน

ภายหลังการประชุมได้มีพิธีส่งมอบงาน โดยนายปราโมทย์ ฝ่ายอุประ ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมัยที่ 6 ได้ส่งมอบงานให้กับ นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติคนใหม่ กล่าวว่า      ภารกิจของคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ชุดใหม่ คือการปฏิรูปโครงสร้างการทำงาน ธรรมนูญ ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ซึ่งไม่สอดคล้องกับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะในยุคที่ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ รวมตัวกันก่อตั้งสภาการหนังสือพิมพ์ฯ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2540 ยังคงมีเพียงสื่อหนังสือพิมพ์เท่านั้น แต่ปัจจุบันกิจการหนังสือพิมพ์ ได้พัฒนาไปสู่ยุคของการหลอมรวมสื่อ สภาพของสื่อ และการละเมิดจริยธรรมมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น จำเป็นต้องมีการปฏิรูปครั้งใหญ่เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์สื่อที่เปลี่ยนไป

นายจักร์กฤษ กล่าวว่า เรื่องวิกฤติศรัทธาก็เป็นประเด็นสำคัญและเร่งด่วนอีกเรื่องหนึ่ง            ที่คณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ชุดใหม่จะต้องเร่งระดมความเห็น เพื่อทบทวนถึงบทบาทที่เป็นอยู่ และบทบาทที่ควรเป็นไป นอกจากนั้นความสัมพันธ์กับองค์กรสมาชิก ก็เป็นเรื่องที่ต้องให้ความใส่ใจ ทั้งนี้สภาการหนังสือพิมพ์ฯ จะจัดให้มีการประชุมเพื่อวางยุทธศาสตร์การทำงานในระยะ 3 ปีจากนี้ และวางรากฐานต่อไปในอนาคต เพื่อให้สภาการหนังสือพิมพ์ฯ เป็นที่หวังและพึ่งพิงได้

“ทุกคนที่เข้ามาทำงานในสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ถือว่าไม่มีสังกัด ไม่มีค่าย ไม่มีกรุงเทพฯ ไม่มีต่างจังหวัด มีแต่คนที่อาสามาทำงานเพื่อสถาบันสื่อโดยรวม เป็นอิสระจากต้นสังกัด และต้องขอขอบคุณกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่กรุณาเสียสละ มาทำงานเพื่อช่วยกันยกระดับมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน ให้เป็นที่ยอมรับของสังคมต่อไป” นายจักร์กฤษ กล่าว

นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมัยที่ 7 ปัจจุบันอายุ 52 ปี ดำรงตำแหน่งเป็นบรรณาธิการเครือเนชั่น

สำหรับรายชื่อกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติสมัยที่ 7 ทั้ง 21 คนประกอบด้วย กรรมการประเภทที่ 1 (เจ้าของ ผู้บริหารหรือผู้แทน) ได้แก่ นางอุบลนัดดา สุภาวรรณ จากหนังสือพิมพ์ไทยนิวส์รายวัน จังหวัดเชียงใหม่, นายพรชัย ปุณณวัฒนาพร จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์, นายธนดล    มีถม จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, นายบรรหาร บุญเขต จากหนังสือพิมพ์เพชรบูรณ์โพสต์ จังหวัดเพชรบูรณ์, และนายวิโรจน์ วัฒนธาดากุล จากหนังสือพิมพ์สยามรัฐ

กรรมการประเภทที่ 2 (บรรณาธิการ หรือตัวแทนผู้มีอำนาจจากกองบรรณาธิการ) ได้แก่     นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล จากเครือเนชั่น, นายธีรวัฒน์ ธรรมสกุล จากหนังสือพิมพ์บ้านเมือง,             นายศักดิ์สิทธิ์  วิบูลศิลป์โสภณ จากหนังสือพิมพ์เพชรภูมิ จังหวัดเพชรบุรี, นายเฉลิมชัย ยอดมาลัย จากหนังสือพิมพ์แนวหน้า และนายภัทระ คำพิทักษ์ จากหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

กรรมการประเภทที่ 3 (ผู้ปฏิบัติงานหนังสือพิมพ์) ได้แก่ นางผุสดี คีตวรนาฏ จากหนังสือพิมพ์ซิงจงเอี๋ยน, นางสาวเจียมจิตต์ แซ่อึ่ง จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ, นายนพรัฐ พรวนสุข จากหนังสือพิมพ์เอเอสทีวีผู้จัดการรายวัน และนายสุริยะ คชินทร จากหนังสือพิมพ์โลกวันนี้

สำหรับกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีก 7 คน ที่ได้รับเลือกตั้งจากคณะกรรมการทั้ง 3 ประเภท          ได้แก่ นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์, นายกวี จงกิจถาวร, ศ.พิเศษ สิทธิโชค ศรีเจริญ, รศ.ดร.ดรุณี   หิรัญรักษ์, นายวิทิต ลีนุตพงษ์, นางสาวสารี อ๋องสมหวัง  และดร.เจษฎ์ โทณะวณิก

 

View :2581

2 องค์กรสื่อจับมือ ซีพีออลล์ ชวนสื่อมวลชนประกวดเรื่องสั้น “อิศรา อมันตกุล”

February 22nd, 2012 No comments

สมาคมนักข่าว – สถาบันอิศรา ร่วมกับ บมจ. ซีพี ออลล์ ประเดิมโปรเจค จัดประกวดเรื่องสั้นดีเด่น “รางวัลอิศรา อมันตกุล” หวังสร้างเวทีทดสอบฝีมือด้านการเขียนให้สื่อมวลชน

เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2555 ที่อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการบริหารสมาคมนักข่าวฯ ร่วมกับสถาบันอิศรา โดยการสนับสนุนจากบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาด้านงานเขียน และเพื่อเปิดพื้นที่ให้สื่อมวลชนได้มีโอกาสสร้างสรรค์ผลงานการเขียนที่มี คุณค่าและเป็นประโยชน์ด้วยการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” จึงเห็นสมควรให้มีการจัดประกวดวรรณกรรมจากปลายปากกาเพื่อรับรางวัลเรื่อง สั้นดีเด่นรางวัลอิศรา อมันตกุล ซึ่งจะจัดขึ้นในปี 2555 นี้เป็นปีแรก โดยผลงานที่ได้รับรางวัลจะได้รับเงินสดพร้อมเกียรติบัตรมูลค่ารวมกว่า 35,000 บาท

“สมาคมนักข่าวฯ ต้องการให้มีเวที่จะประลองฝีมือด้านการเขียนเรื่องสั้นอย่างเป็นทางการ สำหรับนักข่าวซึ่งต้องใช้พื้นฐานด้านการเขียนเป็นหลัก ทั้งยังเป็นการเปิดอิสระทางความคิดให้กับนักข่าวที่อาจมีความสนใจหรือความ ถนัดนอกเหนือไปจากสายงานที่ทำอยู่ เนื่องจากเรื่องสั้นที่จะส่งเข้ามาร่วมประกวดไม่ได้จำกัดเนื้อหา เท่ากับเป็นการเปิดพื้นที่ให้ผู้เขียนได้สร้างสรรค์ผลงานอย่างเต็มที่” นายกสมาคมนักข่าวฯ กล่าว

ด้านนายสุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บมจ. ซีพี ออลล์ ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น ร้านอิ่มสะดวกของคนไทย กล่าวว่า ซีพี ออลล์ ได้ให้การสนับสนุนการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” ติดต่อกันมาเป็นปีที่ 5 และเพื่อเป็นการต่อยอดการจัดอบรมดังกล่าวจึงเห็นว่าการจัดประกวดเรื่องสั้น จะช่วยส่งเสริม สนับสนุนและเป็นกำลังใจให้กับสื่อมวลชนผู้สนใจงานเขียนที่จะก้าวสู่การเป็น นักเขียนมืออาชีพในอนาคต

“ซีพี ออลล์ มีนโยบาย CSR ด้านการส่งเสริมการอ่าน การเขียนและการศึกษามาโดยตลอด อาทิ โครงการเซเว่นบุ๊ค อวอร์ด เป็นการประกวดหนังสือดีเด่น เพื่อเปิดโอกาสให้นักเขียนทั่วประเทศได้แสดงผลงานเพื่อส่งเสริมให้เกิดงาน เขียนที่มีคุณภาพ โครงการค่ายกล้าวรรณกรรมและโครงการค่ายเซเว่น อีเลฟเว่น ถอดรหัสวาดการ์ตูนในฝัน โครงการที่เปิดโอกาสให้เยาวชนได้ฝึกทักษะด้านการเขียน การอ่าน และการมีความคิดสร้างสรรค์ โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเขียนและการวาดการ์ตูนมาถ่ายทอดความรู้ ตลอดจนการลงทุนก่อตั้ง โรงเรียนปัญญาภิวัฒน์เทคโนธุรกิจและสถาบันการจัดการปัญญาภิวัตน์ สถาบันการศึกษาที่เน้นการเรียนการสอนแบบเรียนจากประสบการณ์จริงพร้อมมีราย ได้ระหว่างเรียนเพื่อส่งเสริมด้านการศึกษาและพัฒนาเยาวชน”  นายสุวิทย์ กล่าวทิ้งท้าย

ทั้งนี้  สื่อมวลชนที่สนใจสามารถส่งผลงานมายัง israstory@gmail.com พร้อมส่งต้นฉบับจริงมาที่ สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย 538/1 ถนนสามเสน เขตดุสิต กทม. 10300 ดูรายละเอียดหลักเกณฑ์และดาวน์โหลดแบบฟอร์มการส่งผลงานได้ที่ www.tja.or.th หรือ www.isra.or.th หมดเขตส่งผลงาน วันเสาร์ที่ 31 มี.ค. 2555 ประกาศผลการตัดสินและรับรางวัลในวันศุกร์ที่ 18 พ.ค. 2555 ณ ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล ชั้น 3 อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน

View :2511

CSR ปี 2555 วาระแห่งการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง CSR องค์กร

February 1st, 2012 No comments

สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เผยทิศทาง CSR ภายใต้แนวคิด CSR & Sustainability ปี 2555 เพื่อเป็นข้อมูลให้ธุรกิจใช้เป็นแนวทางในการเสริมความแข็งแกร่งทางกลยุทธ์ CSR เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนแก่องค์กรเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนจากความเสี่ยง วิกฤต และภัยพิบัติในด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในปี 2555

นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวในงานแถลง CSR & Sustainability ปี 2555 “Reinforcing your CSR” ในวันนี้ (1 ก.พ. 2555) ว่า การที่ธุรกิจมีแผนการดำเนินงาน CSR ที่ดีจะมีบทบาทอย่างมากในการสร้างความแข็งแกร่ง และสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ ซึ่งเห็นได้ชัดจากเหตุอุทกภัยครั้งล่าสุดที่บริษัทจดทะเบียนและองค์กรธุรกิจต่างๆ ต้องปรับแผนการดำเนินงานและแผนงานด้าน CSR เพื่อรองรับกับสถานการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้น และหลายธุรกิจแสดงให้เห็นว่าการมีแผนและการดำเนินงานด้าน CSR ที่ดี โดยดูแลและช่วยเหลือพนักงาน คู่ค้า ลูกค้า และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้ก่อให้เกิดผลบวกกับองค์กร เพราะได้แสดงให้เห็นว่าองค์กรมีความพร้อมทั้งในสถานการณ์ปกติและพร้อมรับมือเมื่อเกิดวิกฤตได้เป็นอย่างดี ซึ่งในที่สุดย่อมส่งผลดีต่อความยั่งยืนขององค์กร

สำหรับการส่งเสริม CSR แก่บริษัทจดทะเบียน ของสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) ตลาดหลักทรัพย์ฯ ในปี 2555 นี้ จะให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้บริษัทจดทะเบียนมีเครื่องมือและแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมเทียบเท่ามาตรฐานสากลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการจัดทำและเผยแพร่ Guidelines for Social Responsibility และ Guidelines for CSR Report แก่บริษัทจดทะเบียนและหน่วยงานที่สนใจ โดยที่ Guidelines ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนมีพัฒนาการงานด้าน CSR ทั้งในกระบวนการดำเนินธุรกิจขององค์กรและการจัดทำรายงานเปิดเผยข้อมูลด้าน CSR สำหรับผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย พร้อมกันนี้ สถาบันธุรกิจเพื่อสังคมมีแผนจัดการอบรมและ Workshop เพื่อให้บริษัทจดทะเบียนได้เรียนรู้และเข้าใจในการนำคู่มือมาประยุกต์สู่การปฏิบัติจริงในกระบวนการดำเนินงานขององค์กรอีกด้วย อันจะเป็นการเพิ่มคุณค่าองค์กรทำให้ได้รับความเชื่อมั่นจากผู้ลงทุนและสาธารณชน

“นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์อุทกภัย ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัยและภาคสังคมผ่านหลายช่องทาง โดยกิจกรรมหนึ่งที่ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง คือ การดำเนินงานผ่านกองทุน “ตลาดหุ้นร่วมใจ ช่วยภัยน้ำท่วม” ร่วมกับสภาธุรกิจตลาดทุนไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย สมาคมบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ และสมาคมนักศึกษาสถาบันวิทยาการตลาดทุนในการระดมความช่วยเหลือสู่ภาคประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน ทั้งในด้านการดำรงชีวิต ด้านที่อยู่อาศัย และที่ทำกิน ฯ อันเป็นการเติมเต็มความช่วยเหลือจากภาครัฐ”

นอกจากการช่วยเหลือของกองทุนฯ แล้ว ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) ยังได้ร่วมมือกับสถาบันไทยพัฒน์ ในการถอดบทเรียนกรณีความช่วยเหลือของภาคเอกชนกับการฟื้นฟูหลังประสบภัย ด้วยการรวบรวม Good Practices and Business Cases ในการทำงานช่วยเหลือฟื้นฟูของบริษัทจดทะเบียนจำนวน 10 บริษัท และการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ฯในการช่วยเหลือเยียวยา การฟื้นฟูหลังน้ำลด และการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มีความครอบคลุมทั้งมิติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล หรือที่เรียกรวมกันว่า ESG (Environment, Society, and Governance standards) ซึ่งเป็น 3 ประเด็นหลักที่หน่วยงานต้องคำนึงถึงในการดำเนินงานเรื่อง CSR ขององค์กร และคาดว่าจะเผยแพร่ผลการศึกษาได้ในไตรมาสสองของปี 2555 นี้

ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์


ด้าน ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เผยผลการศึกษาทิศทาง CSR & Sustainability ในปีนี้ว่า การเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางกลยุทธ์ CSR และ Sustainability ขององค์กร จะเป็นไฮไลท์สำคัญที่ธุรกิจจะหันกลับมาให้ความใส่ใจทั้งในเรื่องแผนงานหรือมาตรการ CSR ในช่วงเผชิญเหตุและฟื้นฟู (Response and Recovery) และในช่วงของการลดความเสี่ยงและการเตรียมความพร้อม (Risk Reduction/Mitigation and Readiness/Preparedness)

แผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ เป็นมาตรการที่จำเป็นในการรักษาสถานะการดำเนินงานทางธุรกิจขององค์กรให้คงอยู่ เพราะเมื่อธุรกิจประสบกับวิกฤตหรือภัยพิบัติทั้งจากภัยธรรมชาติและภัยที่มนุษย์ก่อขึ้น จนเป็นเหตุให้ความต่อเนื่องในการดำเนินงานเกิดความชะงักงัน ส่งผลเสียหายต่อผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่ธุรกิจ ไม่เฉพาะแก่คู่ค้าและผู้ส่งมอบ แต่ยังรวมถึงผลกระทบที่มีต่อลูกค้าและผู้บริโภค

“การลดความเสี่ยงและการเตรียมความพร้อม เป็นตัวอย่างของมาตรการที่ควรดำเนินการในบริบทความรับผิดชอบขององค์กรที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กร (ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกจ้าง แรงงานรับจ้าง ฯ) และในห่วงโซ่ธุรกิจ (คู่ค้า ผู้ส่งมอบ ลูกค้า ฯ) เพื่อมิให้การดำเนินงานหยุดชะงักจนส่งผลเสียหายต่อองค์กรและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง”

สถาบันไทยพัฒน์ ได้จัดตั้งข่ายงานทรัพยากรภัยพิบัติสำหรับภาคเอกชน ในชื่อ Thai DRN เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลและทรัพยากรสนับสนุนในการจัดการภัยพิบัติและการฟื้นฟูบูรณะหลังการเกิดภัยพิบัติของภาคเอกชนภายใต้แนวทาง “Build Back Better” โดยเป็นเสมือนแหล่งข้อมูลด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในเวอร์ชั่นพิเศษที่คำนึงถึงการดำเนินงาน CSR ผ่านกระบวนงานหลักขององค์กร และประเด็นความยั่งยืนที่ส่งผลกระทบเชิงบวกที่เห็นชัดและวัดได้

แนวโน้มที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งในปีนี้ คือ เศรษฐกิจสีเขียวในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืนและการขจัดความยากจน ที่เป็นวาระสำคัญของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (United Nations Conference on Sustainable Development – UNCSD) หรือที่เรียกว่าการประชุม Rio+20 ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนมิถุนายน ที่เมืองรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล และเป็นที่คาดหมายว่า การพัฒนาที่ยั่งยืนบทใหม่ รวมถึงโรดแม็ปเศรษฐกิจสีเขียวโลก จะเผยโฉมในเวทีประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนครั้งนี้

สำหรับรายละเอียดการประมวลแนวโน้ม CSR & Sustainability ปี 2555 ในทิศทางอื่นๆ สามารถศึกษาได้จากรายงาน
“6 ทิศทาง CSR & Sustainability ปี 2555: Reinforcing your CSR” ซึ่งจัดทำขึ้นโดยสถาบันไทยพัฒน์ สอบถามเพิ่มเติม 0 2930 5227 info@thaipat.org หรือดูรายละเอียดได้ที่ www.thaipat.org

View :2522

เปิดใจ “คนข่าวกรุงเทพธุรกิจจุดประกาย” เบื้องหลัง “3 รางวัล” ข่าวส่งเสริมสิทธิเด็ก บทพิสูจน์ความสำเร็จเซ็คชั่น “จุดประกาย” สารคดีข่าวคุณภาพ

January 26th, 2012 No comments

"ชุติมา-นิภาวรรณ-ปานใจ" ผู้คว้า 3 รางวัลข่าวส่งเสริมสิทธิเด็ก

ตามที่ทีมข่าวจุดประกายได้รับรางวัลข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อหนังสือพิมพ์ 3 รางวัล ได้แก่ รางวัลยอดเยี่ยม จากผลงานข่าวเรื่อง “โลกมืดหลังเลนส์ อะไรก็เป็นไปได้” โดย “นิภาพร ทับหุ่น” รางวัลชมเชย 2 รางวัล จากผลงานข่าวเรื่อง “สิทธิเยาวชน คน (สกุล) ไม่ดัง” โดย “ปานใจ ปิ่นจินดา” และผลงานเรื่อง “ไม้เรียว รีเทิร์น” โดย “ชุติมา ซุ้นเจริญ” ซึ่งรับโล่รางวัลจากนายอานันท์ ปันยารชุน เมื่อ 24 มกราคมที่ผ่านมา นั้น

“คุณนิ-นิภาพร ทับหุ่น” เปิดเผยถึงแรงบันดาลใจในการนำเสนอข่าว “โลกมืดหลังเลนส์ อะไรก็เป็นไปได้” จนได้รับรางวัลผลงานยอดเยี่ยมว่า สารคดีเรื่องนี้ต้องการสะท้อนให้สังคมได้ตระหนักถึงโอกาสที่มนุษย์ทุกคนพึงมีอย่างเท่าเทียมกัน แม้บางกลุ่มจะได้ชื่อว่าเป็นคนด้อยโอกาส แต่คำว่า “ด้อย” ก็ไม่ได้หมายความว่า “ขาด” เสมอไป และการที่อาสาสมัครกลุ่มหนึ่งได้พยายามหยิบยื่นโอกาสให้กับเด็กๆ ผู้พิการทางสายตา เพื่อให้พวกเขา “เข้าถึงโอกาส” ก็เป็นเรื่องที่น่ายกย่อง เพราะพวกเขาสามารถทำให้เด็กๆ ผู้พิการสายตาเหล่านั้นมองเห็นโลกกว้างได้โดยใช้หัวใจเป็นสื่อ

ด้าน “คุณปราง-ปานใจ ปิ่นจินดา” กับผลงานข่าวเรื่อง “สิทธิเยาวชน คน (สกุล) ไม่ดัง”กล่าวถึงความตั้งใจในการนำเสนอข่าวที่มาจากอุบัติเหตุรถตู้โดยสารพลิกคว่ำบนทางด่วนซึ่งคร่าชีวิตบริสุทธิ์นับ 10 ว่า จากสถานการณ์ที่ได้รับความสนใจจากสังคมดังกล่าวสะท้อนแง่มุมของสิทธิพิเศษของเยาวชนไทยได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะสถานะทางสังคมของผู้ผิดซึ่งเป็นเด็กสาวตระกูลดัง “สิทธิ” ที่เด็กคนนี้ได้รับเรียกว่ามากเกินกว่าที่ “เยาวชนคนหนึ่ง” ควรจะได้รับหรือไม่

“คุณเอ๋-ชุติมา ซุ้นเจริญ” เจ้าของผลงานเรื่อง “ไม้เรียว รีเทิร์น” กล่าวถึงเรื่องราวในเนื้อข่าวที่นำเสนอว่า บทความชิ้นนี้ได้รวบรวมความเห็นที่แตกต่างของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ครู นักวิชาการ หรือนักจิตวิทยา เพื่อสะท้อนสภาพปัญหาที่แท้จริงว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสถานศึกษานั้น “ไม้เรียว” คือตัวการจริงหรือไม่ หรือมีบริบทอื่นใดที่ต้องให้ความสำคัญร่วมด้วย ซึ่งแม้ว่าผลลัพธ์ของการใช้ไม้เรียวจะขึ้นอยู่กับทัศนคติของผู้ใช้ และกติการในการใช้ แต่ “ไม้เรียว” ก็ยังถือเป็นสัญลักษณ์ของความรุนแรง และความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ซึ่งจำเป็นต้องควบคุมเพื่อปกป้องเด็กจากการถูกลงโทษด้วยวิธีการที่รุนแรง

ทางด้านนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นประธานในพิธีมอบรางวัล กล่าวว่า หลายข่าวช่วยจุดประเด็นการส่งเสริมสิทธิเด็กเพื่อแก้ปัญหาละเมิดสิทธิเด็ก การมอบรางวัลดังกล่าวถือเป็นการขยายความตระหนักรู้ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเยาวชนได้ตระหนักถึงปัญหาการละเมิดสิทธิเด็กที่ยังคงมีให้เห็นโดยทั่วไป และเพื่อรณรงค์ให้มีการนำเสนอข่าวในเชิงสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น โดยเชื่อว่าถ้าสังคมคำนึงถึงเรื่องนี้จะทำให้การเสนอข่าวของสื่อมวลชนมีความถูกต้องเที่ยงตรง และลดปัญหาการละเมิดสิทธิเยาวชนให้น้อยลง

อนึ่ง รางวัลนี้เกิดจากความตั้งใจของสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทยร่วมกับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย โดยมีองค์การยูนิเซฟประเทศไทยให้การสนับสนุนเป็นปีที่ 6 เพื่อยกย่องผลงานข่าวและสารคดีเชิงข่าวส่งเสริมสิทธิเด็ก ทั้งในประเภทหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ รวมทั้งหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติส่งเสริมสิทธิเด็กในโรงเรียน

ปีนี้ มีผลงานเข้าส่งประกวดทั้งหมดดังนี้ 1.ประเภทสื่อหนังสือพิมพ์ มีผู้ส่งผลงานเข้าประกวด 18 เรื่อง จากหนังสือพิมพ์ 4 ฉบับ 2.ประเภทสื่อวิทยุกระจายเสียง มีผู้ส่งผลงานเข้าประกวด 3 เรื่อง จากสถานีวิทยุ 4 ฉบับ 3.ประเภทโทรทัศน์ มีผู้ส่งผลงานเข้าประกวด 16 เรื่อง จากสถานีโทรทัศน์ 7 สถานี 4.ประเภทหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษา มีผู้ส่งผลงานเข้าประกวด 11 เรื่อง จากสถาบันการศึกษา 6 สถาบัน 5.ประเภทหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติในโรงเรียน มีผู้ส่งผลงานเข้าประกวดาก 16 โรงเรียน 6.สารคดีเชิงข่าวส่งเสริมสิทธิเด็กในภาวะวิกฤติน้ำท่วม ปี 2554 ประเภทสื่อโทรทัศน์ 11 เรื่อง จาก 8 สถานี

View :2450