ท่าที “อนุดิษฐ์” ต่อกรณีทวิตเตอร์ออกกฏใหม่
นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้สัมภาษณ์ กรณีทวิตเตอร์ออกกฏใหม่ที่จะปิดกั้นข้อความบางข้อความไม่ให้บางประเทศได้เห็น [Starting today, we give ourselves the ability to reactively withhold content from users in a specific country — while keeping it available in the rest of the world. We have also built in a way to communicate transparently to users when content is withheld, and why.] ที่ผ่านมา ทวิตเตอร์ ยินยอมลบข้อความทวีต (Tweet) ออกจาก ระบบทวิตเตอร์ เมื่อได้รับคำสั่งจากรัฐบาลในแต่ละประเทศ สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงนับจากนี้คือทวิตเตอร์ได้เพิ่มความสามารถในการเลือกปิดกั้นการรับส่งข้อความแก่ผู้ใช้ในประเทศใดประเทศหนึ่งได้แล้ว …. ว่า
“เริ่มจากทวิตเตอร์ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ ซึ่งหากทวิตเตอร์มีเงื่อนไขในการให้บริการโดยคำนึงถึงกม.ของแต่ละประเทศก็เป็นเรื่องที่ดี”
“กระทรวงไอซีทีจะดำเนินการเป็นไปตามกม.เรื่องกม.เรื่องการไปละเมิดสิทธิเสรีภาพบุคคลอื่น การใช้ข้อความที่ไม่เหมาะสม ก็ยึดเอากม.ของประเทศเป็นหลัก กม.หลักๆ ที่เกี่ยวของมีหลายตัว ได้แก่ ประมวลกม.อาญามาตราต่างๆ ที่ไปเกี่ยวข้องกับการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กและมีการละเมิด พรบ.คอมพิวเตอร์การใช้ข้อความเป็นเท็จการใช้ข้อความไปละเมิดสิทธิเสรภาพของคนอื่น ซึ่งจะทำตามข้อบังคับของกม.”
“ทวิตเตอร์เองเพ่ิงประกาศ เรื่องการให้ความร่วมมือ คิดว่า การกำหนดเรื่องแนวทางและประสานงานต่อไป และจะไม่ถูกนำมาใช้ในทางการเมือง รธน.กำหนดไว้แล้วว่าสิทธิเสรีภาพของปชช.ต้องอยู่ภายใต้กม.แสดงออกได้แต่จะต้องไม่ไปละเมิดสิทธิผู้อื่น”
“ในเบื้องต้นจะดูความชัดเจนในการกำหนดเงื่อนไขในการใชบริการของทวิตเตอร์ ให้เกิดค.ชัดเจนก่อนว่าเขาจะดำเนินการในรูปแบบอย่างไร และจะดูการดำเนินการของเราให้สอดคล้อง เรียกว่ากระบวนการบริหารจัดการคงต้องกำหนดขึ้น เพื่อให้การบริหารจัดการ การประสานงาน และทำให้เราสามารถบริหารงานภายใต้ของกม.”
“เรื่องนี้อยู่ที่ผู้ให้บริการก่อน การที่เขาคำนึงถึงการใช้ระบบเขาไปละเมิดสิทธิเสรีภาพ ไปละเมิดกม.ประเทศอื่น เป็นเรื่องที่ดี ส่วนเรื่องที่จะบริหารจัดการให้เป็นไปตามกม.ของแต่ละประเทศก็จะต้องมีการพูดคุยกับต่อไป”
“เวลาที่เราจะสมัครใช้งานทวิตเตอร์จะมี Term and condition ซึ่งคือ เงื่อนไขของการใช้บริการ คงต้องพิจารณาจาก term and condition ของทวิตเตอร์ที่กำหนดให้ผู้ใช้ลงทะเบียนยอมรับเงื่อนไขเหล่านั้นก่อนที่จะเข้าไปใช้บริการ ซึ่งหากเขาได้กำหนดโดยคำนึงถึงการละเมิดกม.ในประเทศทั้งหลายก็จะเป็นเรื่องที่ดี และผู้ที่อยู่ในแต่ละประเทศจะประสานงานกับเขาได้ก็จะเป็นเรื่องที่ดี”
“จริงๆ เราประสานงานกับผู้ให้บริการในสังคมออนไลน์อยู่แล้ว ไม่ใช่แค่ทวิตเตอร์รายเดียว ยังมี เฟซบุ๊ค และยูทูป ซึ่งเป็นโซเชียล เน็ตเวิร์ก ที่มีผู้ใช้บริการมาก”
ทันทีที่ทวิตเตอร์มีมาตรการนี้และกระทรวงไอซีทีมีท่าทีตอบรับ ก็ได้สอบถามความเห็นไปยังผู้คนบนโลกออนไลน์ ผ่านทาง Twitter และ Google+ ว่าเห็นด้วยหรือไม่กับแนวทางนี้ของทวิตเตอร์และท่าทีของก.ไอซีที และนี่คือ ส่วนหนึ่งของความคิดเห็น ….
Arthit Thurdsuwarn – เห็นด้วย … เพราะสิ่งผิด กม. ก็ควรถูกควบคุมอยู่แล้ว ไม่มีเหตุผลที่ชุมชนออนไลน์ใหญ่ขนาดใหญ่ จะได้รับการยกเว้น และเห็นว่า นอกจาก Twitter แล้ว Social Media อื่น ๆ ก็ควรได้รับการควบคุมให้อยู่ในกรอบ กม. เช่นกัน
Surapong Sappayakhom – ไม่เห็นด้วยครับ เพราะไม่มั่นใจว่าจะเจอการเลือกปฎิบัติหรือไม่ เนื่องจากเรายังคงได้เห็นเว็บหมิ่นเกิดขึ้นมากมายและต่อเนื่อง ขออภัยที่ผมขอสงวนการอ้างอิงหรือระบุ URL และ Key word ของเว็บหมิ่นฯ มา ณ. ที่นี้ครับ
Tanis Buapaijit – ผิดจริงก็น่าจะเซ็นเซอร์ได้..แต่มันจะเครื่องมือในการปิดกั้นข่าวสารไม่ให้ประชาชนรับรู้หรือเปล่าหละ? ยิ่งปิดยิ่งกั้นสักวันมันก็จะแตกเหมือนเราปิดกั้นน้ำนั่นแหละครับปัจจุบันประชาชนไม่ได้โง่เขลาที่จะเชื่อข่าวสารไปซ่ะทุกเรื่อง บางเรื่องมันก็เป็นข่าวมั่ว ประชาชนคนทั่วไปน่าจะเป็นผู้คัดกรองข่าวสารเองว่าจริงหรือไม่จริงอย่าลืมว่าข่าวสารประเภทข่าวลือยิ่งปิดยิ่งกั้น ก็ยิ่งลือไปกันใหญ่..
ธนิต เฉื่อยทอง – ผมว่ามันเป็นการปิดกั้นข่าวสารที่ไม่เป้นประโยชน์ต่อรัฐบาลที่อยู่ในช่วงนั้น ๆ มากกว่า ประโยชน์ของประเทศนะครับ ขนาดเว็ปหมิ่นยังไม่ทำอะไรเลย แล้วจะมาปิดกั้นความคิดเห็นได้ยังไงกันครับ
RT @papapoocee: เป็นกระจกสะท้อนพรบ.การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ของประเทศไทยว่าเป็นกระดาษแผ่นหนึ่งที่ไม่อาจทำให้ผู้ใช้งานตระหนักถึงความผิดได้ ซึ่งยิ่งขานรับกฎใหม่ทันทีอย่างรวดเร็ว ยิ่งชัดเจนมากขึ้นว่า ICT กำลังเจอทางตัน และพยายามหาตัวช่วยเข้ามาบริหารจัดการเรื่องพวกนี้ เลยสงสัยว่า ที่ผ่านมา ICT ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันให้ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตมีความสุขในการใช้งานบ้างไหมครับ? นอกจากเอาลิควิดมาป้ายๆ
RT @thaiopengames: ที่เกิดประเด็นน่าจะอยู่ที่วิธีการค้นหาการกระทำผิดมากกว่าครับ คิดว่าคงจะใช้วิธีรับแจ้งรายงานแล้วตรวจสอบ มากกว่าการคอยติดตามรายบุคคล ในเมื่อถ้ามันผิดจริงๆ แล้วทวิตเตอร์เปิดช่องให้เครื่องมือทางกฎหมายสามารถดำเนินการยับยั้งได้ ก็เป็นเรื่องที่ดีครับ แต่ต้องมีมาตรฐาน ถ้าขาดมาตรฐานในการชี้ถูกผิด ช่องทางตรวจสอบนี้ก็จะไม่ได้รับการยอมรับต่อสาธารณะ Twtจะไม่ได้เป็นที่แสดงออกเสรี เคสเหมือนๆ มธ. เลยครับ
RT @pampam_northcap: ไม่เห็นด้วยค่ะ การ censor เป็นการปิดกั้นเสรีภาพทางความคิด ไม่ว่าจะเป็นการปิดกั้นระดับไหนก็ตาม
RT @YLVR: ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการปิดกั้นสื่อ และ เสรีภาพในการแสดง คคห. ซึ่งผู้ทวิตต้องรับผิดชอบตัวเองอยู่แล้ว
สามารถอ่านประกาศของทวิตเตอร์ฉบับเต็มได้ที่ http://blog.twitter.com/2012/01/tweets-still-must-flow.html
View :2723
Recent Comments