มุมมองนักกฏหมาย กรณีทวิตเตอร์นายกฯ ยิ่งลักษณ์โดนแฮค

October 3rd, 2011 No comments

เมื่อเช้าหลังจากที่รัฐมนตรีอนุดิษฐ์​นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแถลงข่าวความคืบหน้าของกรณีทวิตเตอร์นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรเสร็จสิ้นตอนเช้าของวันนี้ อาจารย์ไพบูลย์​ อมรภิญโญเกียรติ นักกฎหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ทวิตแสดงความคิดเห็นดังนี้

@paiboona: น่าติดตามแถลงข่าวของไอซีทีกรณีแฮ็กทวิตเตอร์อย่างยิ่งโดยเฉพาะการตั้งข้อกล่าวหากับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและการปรับใช้พรบคอมฯครับ

@paiboona: หลังไอซีทีแถลงผมจะวิเคราะห์ข้อเท็จจริงกับข้อกมครับว่าจะจับคนร้ายได้?ไอซีทีถูกแฮ็กทุกทีที่มีการเปลี่ยนขั้วการเมืองแต่ไม่เคยจับคนร้ายได้เลย?

เลยถือโอกาสสอบถามอาจาย์ดังนี้….​

@lekasina: ไม่แน่ใจว่า ขอข้อมูลอะไรไปบ้างค่ะ ทางนั้นเขาสามารถให้ข้อมูลบางอย่างได้ไหมคะ หากรัฐบาลร้องขออ่ะค่ะ

@paiboona: เป็นดุลยพินิจของทวีตเตอร์ครับ

@paiboona: เท่าที่เคยทำในทางคดีจะให้แค่ไอพีแต่ข้อมูลส่วนบุคคลไม่ให้ครับขัดต่อกมอเมริกา ทวีตเตอร์ยึดข้อกำหนดในเว็บไซท์เป็นหลักครับ

@paiboona: ที่สำคัญตอนนี้ยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหากับผู้ต้องสงสัยเลยครับแล้วใช้อำนาจอะไรไปขอทวีตเตอร์ที่เป็นบริษัทที่มีที่อยู่ในต่างปท.ครับ

@paiboona: ทางปฏิบัติแค่ไอพีไม่พอครับยิ่งถ้ามืออาชีพจะปลอมไอพีและใช้ dynamic IP ครับแต่ถ้าเป็นมือสมัครเล่นอาจได้ผลครับ

@lekasina: แล้วเคสนี้อาจารย์มองว่า มืออาชีพไหมคะ

@paiboona: ส่วนตัวผมยังเชื่อว่าไม่มีการแฮกแต่เป็นเรื่องรหัสผ่านหลุดไปยังบุคคลภายนอกครับ แต่ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นครับ

@paiboona: ฟังแถลงไอซีทีแล้วไม่เชื่อว่ารู้ตัวแล้วเร็วไปการทำCyber investigation ต้องใช้เวลาและคดีนี้ต้องมีการทำcomputer forensic เพื่อยืนยันตัวคนทำด้วย

ประเด็นขอข้อมูลจากทวิตเตอร์อเมริกาคงไม่ให้ครับ เพราะดูจากเนื้อหากระทู้ไม่น่าผิดกมอเมริกาครับเท่าที่ดูอาจจะเป็นแค่ไฟไหม้ฟางเหมือนที่คมช.เคยโดน

การแฮ็กFBหรือTwitterเป็นไปได้ยากมากเพราะดู algorhytm และระบบความปลอดภัยของทั้งสองเว็บยากต่อการแฮ็กมาก และupdatedตลอดเวลาปัญหาที่userมากกว่าครับ

ปัญหาในคดีส่วนใหญ่ในเมืองไทยช่องโหว่วของการใช้SMอยู่ที่ผู้ใช้ครับเช่นการจำรหัสผ่าน การแชร์รหัสผ่านในกลุ่มผู้ใช้. ลืม log out หลังใช้งานครับ

เมื่อคืน (คืนวันเกิดเหตุทวิตเตอร์นายกฯ ถูกแฮค) ได้สอบถามอาจารย์ไพบูลย์​ดผ่านไทม์ไลน์ทวิตเตอร์ดังนี้ค่ะ

@lekasina: คิดว่ากรณีนี้จะส่งผลอย่างไรต่อร่างพรบ.คอมพ์ฉบับปี.ที่ตอนนี้อยู่ที่ก.ไอซีทีบ้างไหมคะ

@paiboona: ถ้าจับไม่ได้ก็คงแก้กมให้รุนแรงขึ้นแน่นอนครับ

@paiboona: จริงๆแล้วการแฮ็กครั้งนี้เป็นดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพของไอซีทีและหน่วยงานรัฐเป็นอย่างดีถ้าจับคนผิดไม่ได้แล้วถ้าปชชเป็นผู้เสียหายจะทำ?

@paiboona:ส่วนตัวผมว่าการปรับข้อกมกับการแฮ็กที่เกิดขึ้นชัดเจนและง่ายต่อการปรับใช้มากแต่หากไม่เข้าใจก็คงเสนอแก้กมแรงขึ้นซึ่งแก้ไขไม่ตรงจุด

@paiboona:เป็นไปได้ครับแต่ต้องตามว่าใครเป็นเจ้าภาพยกร่างครับ:) รัฐบาลชุดนี้ไม่น่าใช้ร่างรัฐบาลเดิมเพราะถูกวิจารณ์หนักมากครับ

@lekasina:อาจารย์เห็นด้วยไหมคะที่จะแยกเอาพรบ.คอมพ์ออกมาเป็น pure computer crime ไปเลยอ่ะค่ะ

@paiboona: ที่ถูกควรเป็นอย่างนั้นแต่ติดปัญหาที่กม.วิอาญา วิอาญาปัจจุบันไม่ให้อำนาจตำรวจและศาลรวบรวมพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ก่อนฟ้องหรือแจ้งความถ้าไม่แก้วิอาญาก็คงต้องใช้พรบคอมฯไปก่อนครับ

@lekasina: แปลว่าหากจะมีการผลักดันร่างพรบ.คอมพ์อีกครั้ง จะไม่ร่างเดิมทียกสมัยรมว.จุติหรือคะ

@paiboona:คิดว่าคนละขั้วกันไม่น่าใช้ร่างเก่าครับ

@lekasina: อย่างนี้..ยกร่างนานไหมคะ หากทำกันตามกระบวนการปกติอ่ะค่ะ

@paiboona:ขึ้นอยู่กับทีมที่ยกร่างถ้ายกร่างดีๆ+ประชาพิจารณ์ก็น่าจะอย่างน้อย1ปีครับ

@lekasina: หากจะมีการปรับร่าง อาจารยืคิดว่มีประเด็นหลักๆ อะไรบ้างคะที่คนยกร่างชุดใหม่จะปรับแก้ จากร่างปัจจุบันอ่ะค่ะ

@paiboona: หลายประเด็นครับ >> ตัดเรื่องทำสำเนาออกครับเพิ่มเรื่องการยกเว้นความรับผิดของผู้ให้บริการตามม15อาจเลียนแบบDMCA กมอเมริกา ไม่จำเป็นต้องมีหน่วยงานเฉพาะ >> การได้มาซึ่งพยานหลักฐานฯลฯครับ >>ที่สำคัญยกเลิกการอบรมพนงไอซีทีหรือcyber cop ที่ใช้แบบเร่งด่วน 4วัน เป็น4เดือนตามกมและมีการอบรมด้านcomputer forensicอย่างจริงจัง

@lekasina หากมีการยกร่างใหม่จริงๆ และปรับแก้ตามประเด็นที่อจกล่าวมา จะทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์น้อยลงไหมคะ ได้รับการสนับสนุนมากขึ้นไหมคะ

@paiboona: ครับ อยากให้คนที่ร่างคือคนที่ถูกบังคับใช้ด้วยเช่นสื่อ ไอเอสพี โฮสติ้ง คนทำเว็บ ฯลฯไม่ใช่ตำราของรัฐ+นักวิชาการที่ไม่ได้ปฏิบัติจริงครับ

@lekasina ต้องขึ้นกับว่า กระบวนการยกร่างของเขาจะเปิดโอกาสให้ปชช. ในแต่ละภาคส่วนเข้าไปมีส่วนร่วมมากน้อยแค่ไหนด้วยใช้่ไหมคะ

@paiboona: ใช่ครับ

View :2854

ICT Policy

October 1st, 2011 No comments

The Information and Communication Technology Minister Anudit Nakornthap said at the seminar hosted by Information and Technology Press Club (ITPC) last month that the short-term ICT policies are free tablet and free wifi in the pubic area that will start within late of this year.

Anudit Nakornthap

And, the ministry will drive its main policy that is to increase broadband penetration rate to achieve 80 to 85 per cent in the next four years, from now less than 10 per cent.

Currently, 2G network in Thailand is over demand but the quality in only voice, we plan to increase network to 3G in order to allow people to experience the triple play- voice, data, and video, said Anudit.

“For free wifi, we have already develop the action and implement plans. It is free for people to use wifi for free in education, government area, and tourist area. We can offer the free wifi from using USO fund,” said Anudit.

He added that free wifi will encourage the local content development. The increasing broadband penetration rate will also help open the room for local content development. Free wifi project, will be started within this year and the model of investment will be collaboration between government and private sector.

For e-commerce, Thailand is now not go forwards as well. it is also the duty of ICT Ministry. in the next 6 to 9 months, the e-commerce in Thailand will be more active. The ICT Ministry will work closely with the Ministry of Commerce to encourage the e-commerce deployment in Thailand.

Moreover, ICT Ministry plans to drive e-government. Smart ID card will be utilized mostly in order to provide e-government services to people.

“Now, we have the main data based included people and business data baed from Department of Internal and Department of Revenue, we will to integrate both of them and utilize this data base.”

He added that the ICT Ministry will drive the government information network (GIN) project that will be utilized and to allow government organizations to not duplicated invest and not integrated. The network will be utilized to conduct tele-conference and to increase the quality of government’s services.

The ministry also focuses on the prime ministerial operation center (PMOC).

“For example, in healthcare segment, currently there are network laid down to connect the local public health in the local area to the center to conduct the tele-health service. Smart Thailand is aimed to allow Thai people to use IT to improve their daily life.
The ICT Ministry will establish the national data center and to optimize the smart ID card to get to government services efficiency,” said Anudith.

Since the government’s main policies are to support SMEs business, software business in Thailand is accounted in this SMEs; and to promote the local software development. Once, the network coverage is cover wide area will lead and increase demand in local content/ local software consumption as well. The government will exercise this policy through the Software Industry Promotion Agency (Sipa).

http://www.mict.go.th/download/article/article_20110826155742.pdf

View :2441

“ดิจิทอลล์ฯ”… น้องใหม่ ฝีมือเก๋า ในสนามดิจิตอล แมกกาซีน

October 1st, 2011 No comments

เมื่อเร็วๆ นี้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ของไทยอย่างเอไอเอส ได้เปิดตัวดิจิตอล แมกกาซีนภายใต้ชื่อ “เซเรเนด ดิจิตอล แมกกาซีน” (Serenade Digital Magazine) ดิจิตอล แมกกาซีน ราย 3 เดือนที่มีวัตถุประสงค์ไม่เพื่อตอบโจทย์งานด้านลูกค้าสัมพันธ์ (CRM: Customer Relationship Management) ขององค์กร แต่เพื่อขยายฐานลูกค้าใหม่ผ่านสื่อนิตยสารในรูปแบบดิจิตอลเล่มแรกของบริษัท

เบื้องหลังความสำเร็จของ “เซเรเนด ดิจิตอล แมกกาซีน” คือ การทำงานอย่างหนักของทีมงานกว่า 10 ชีวิตของบริษัทน้องใหม่อายุยังไม่ถึงปีอย่าง บริษัท ดิจิทอลล์ ประเทศไทย จำกัด บริษัทที่ฝากฝีไม้ลายมือในการผลิตดิจิตอล แมกกาซีนชื่อดังอย่าง mars มาแล้วนั่นเอง

กมลวรรณ ดีประเสริฐ กรรมการบริหาร บริษัท ดิจิทอลล์ ประเทศไทย จำกัด
เล่าว่า ธุรกิจหลักของบริษัทคือการพัฒนาแอพพลิเคชั่นด้านเนื้อหาข้อมูล (Informative Application) สำหรับอุปกรณ์แท็ปเล็ต (Tablet) หลังจากที่ทีมงานของบริษัทเก็บสะสมประสบการณ์จากการพัฒนาดิจิตอล แมกกาซีนภายใต้แบรนด์ mars มาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว จนออกมาตั้งบริษัทรับพัฒนาดิจิตอล แมกกาซีนเมื่อต้นปีที่ผ่านมา และเริ่มรับผลิตดิจิตอล แมกกาซีนให้กับเอไอเอส รวมถึงดิจิตอล แมกกาซีนสำหรับองค์กรอีก 2-3 ราย ที่จะเปิดตัวในอนาคตอันใกล้นี้ นอกจากนี้ บริษัทยังอยู่ระหว่างการพัฒนาดิจิตอล แมกกาซีนของตัวเอง (ที่เป็นรูปแบบหนังสือ คือ ไม่ได้ออกเป็นรายเดือนหรือรายปักษ์) ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นหนังสือดิจิตอล แมกกาซีนเกี่ยวกับเรื่องการทำอาหาร และเรื่องท่องเที่ยวสำหรับ iPhone และ iPad ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดตัวได้ภายในครึ่งปีหลังนี้

กมลวรรณ บอกว่า ตลาดดิจิตอล แมกกาซีนเป็นตลาดใหม่ที่มีอนาคตทางธุรกิจ แต่เป็นช่วงที่ต้องทำความเข้าใจกับตลาดว่าดิจิตอล แมกกาซีน นั้นแตกต่างจากการนำไฟล์งานหนังสือ หรือไฟล์งานสื่อสิ่งพิมพ์ ที่ผ่านการออกแบบและจัดหน้าแบบสื่อกระดาษมาจับใส่อุปกรณ์แท็ปเล็ตที่มีความสามารถในการนำเสนอเนื้อหาที่มากกว่าตัวอักษรและภาพนิ่ง เพราะนอกจากจะเป็นการทำให้ลดทอนศักยภาพในการนำเสนอของอุปกรณ์แท็ปเล็ตแล้ว ยังสร้างความเข้าใจผิดให้กับตลาดดิจิตอล แมกกาซีน และทำให้สิ้นเปลืองต้นทุนและแรงงาน และยังสร้างผลกระทบเชิงลบต่อธุรกิจนี้ เพราะรูปแบบและวิธีการทำงานในการพัฒนาดิจิตอล แมกกาซีน หรือ การพัฒนาเนื้อหาในรูปแบบดิจิตอลนั้น เป็นคนละแนวคิดกับรูปแบบการพัฒนาเนื้อหาในรูปแบบและแนวคิดเดิมๆ

“หากเราไม่ทำความเข้าใจกับตลาดว่าดิจิตอล แมกกาซีนไม่ใช่การหยิบไฟล์ PDF มาใส่ แล้วเปิดอ่านแบบพลิกไปพลิกมา ซึ่งการทำแบบนี้นอกจากจะไม่ช่วยทำให้ตลาดดิจิตอล แมกกาซีนเติบโต ในเชิงการตอบสนองจากผู้อ่านแล้ว จะยังไม่ช่วยสร้างการเติบโตของดิจิตอล แมกกาซีนในแง่ของเม็ดเงินโฆษณาที่คาดว่าจะไหลเข้ามา ซึ่งตลาดในช่วงนี้เป็นช่วงเริ่มต้น ที่รายได้จากเม็ดเงินโฆษณายังไม่ค่อยไหลเข้ามามากนัก”

กมลวรรณ ย้ำว่า ตลาดดิจิตอล แมกกาซีนในไทยนั้นยังเล็กแต่มีแนวโน้มที่ดี แต่ตลาดยังไม่แข็งแรงพอที่จะสามารถสร้างรายได้เลี้ยงตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากเม็ดเงินโฆษณา และรายได้จากค่าสมาชิก หรือค่าซื้อแอพพลิเคชั่น ดังนั้น ดิจิตอล แมกกาซีนในช่วงจะเน้นหนักไปที่วารสารองค์กร (Corporate Magazine) ที่ตอบโจทย์เพื่องานประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์ขององค์ เป็นหลักมากกว่าที่จะเป็นดิจิตอล แมกกาซีนที่เป็นนิตยสารกระโดดเข้ามาทำ

“ในสนามนี้ทุกคนที่เข้ามาล้วนใหม่หมด และทุกคนสามารถเข้ามาแบ่งเค้กก้อนนี้ได้ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของเนื้อหา บริษัทซอฟต์แวร์ หรือธุรกิจโรงพิมพ์ แต่ดิจิทอลล์ ประเทศไทยเรามีความได้เปรียบตรงที่เรามีความเป็นสื่อ เราผ่านงานทำเว็บข่าวของเครือผู้จัดการและมีส่วนในการพัฒนาเว็บ www.manager.co.th ปัจจุบันเท่าที่มองไปในตลาด เราจะพบว่ามีบริษัทพัฒนาดิจิตอล แมกกาซีนรายหลักๆ อยู่ประมาณ 5 ราย ซึ่งเราไม่ถือว่าเป็นคู่แข่งกัน เพราะตลาดมันเพิ่งเริ่ม และตลาดมันใหญ่มาก ตอนนี้เรามองว่าเราเป็นพันธมิตรที่จะช่วยกันสร้างตลาดมากกว่า ตลาดมันใหญ่และมีอะไรให้เล่นอีกเยอะ เพราะเราไม่จำกัดตัวเองว่าเป็นผู้ผลิตดิจิตอล แมกกาซีน แต่เรามองว่าเราเป็นผู้ผลิตแอพพลิเคชั่นด้านเนื้อหา ซึ่งโดยเทคโนโลยีเราสามารถนำเสนอลูกเล่นในการนำเสนอได้อีกมากมาย ความท้าทายในปัจจุบัน กลับกลายเป็นการทำความเข้าใจกับตลาดว่าดิจิตอล แมกกาซีน หรือการนำเสนอเนื้อในรูปแบบดิจิตอลมันเป็นอะไรที่มากไปกว่า การอ่านหนังสือบนสื่อดิจิตอล ซึ่งเราต้องช่วยกัน” กมลวรรณทิ้งท้ายไว้อย่างน่าสนใจ

View :3678
Categories: Digital Magazine, Tablet Tags:

Think Technology: นักพัฒนาดิจิตอล แมกกาซีน ท้องถิ่นชื่อดังจากขอนแก่น

September 28th, 2011 No comments

ในวงการคนทำสื่อดิจิตอล แมกกาซีน (Digital Magazine) น้อยคนนักจะไม่รู้จักชื่อ Think Technology บริษัทซอฟต์แวร์แห่งขอนแก่นที่ตั้งมาตั้งแต่ปี 2548 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้นเพียง 100,000 บาทกับโปรแกรมเมอร์เพียงคนเดียวคือตัวเจ้าของบริษัทนามว่า “อภิชัย เรืองศิริปิยะกุล” กรรมการผู้จัดการ บริษัท Think Technology จำกัด และนักพัฒนา Digital Magazine ระดับแนวหน้าของเมืองไทย

อภิชัย มองว่า การขยายตัวของตลาดดิจิตอลแมกกาซีนในเมืองไทยตอนนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ทาง Publisher เองยังต้องการเพียง Static Magazine บน iPad เท่านั้น ปัจจัยที่จะทำให้ Digital Magazine ขยายตัวออกไปได้น่าจะเป็นความเข้าใจว่า Digital Magazine คืออะไร ไม่ใช่เพียง PDF ใน App ที่มีไอคอนของบริษัทตนเอง ถ้า Publisher เข้าใจการขยายตัวก็จะมากขึ้น

“หากมองภาพรวมของตลาดดิจิตอล แมกกาซีนนั้นยังไปได้อีกไกลเพราะผู้บริโภคเริ่มมีอุปกรณ์ในการอ่าน และเข้าถึงได้ง่ายขึ้น เพราะเราสามารถสร้างออกไปได้หลากหลายแพลตฟอร์ม แต่การแข่งขันสูงจาก Static Magazine ที่มีต้นทุนต่ำกว่า ส่วนการปรับตัว Publisher ยังปรับตัวช้า อาจต้องทำให้ Publisher เข้าใจก่อนว่า Digital Magazine เป็นอย่างไร เพราะจากสถานการณ์แบบนี้ น่าจะมี Publisher ลงมาเล่นมากกว่านี้”

สำหรับ ดิจิตอล แมกกาซีนที่บริษัทผลิตอยู่ในปัจจุบันจะเน้นรองรับ 3 แพลตฟอร์ม คือ iOS, Android และ BlackBerry Playbook ทั้งนี้ออกแบบเนือ้หาและรูปแบบการนำเสนอมสำหรับรองรับการอ่านบนจอขนาด 7 นิ้ว และ 9.7 นิ้ว จะได้เห็นชัดเจนคงเป็นแมกกาซีนของบริษัทที่จะปล่อยออกมาพร้อมกัน 3 แพลตฟอร์ม

อภิชัย เล่าว่า ที่ผ่านมาบริษัทได้พัฒนาและผลิตดิจิตอล แมกกาซีนให้กับหลายองค์กร ได้แก่ Bazaar Magazine ดิจิตอล แมกกาซีนของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ปัจจุบัน Bazaar Magazine ได้หยุดผลิตไปแล้ว) และ LIPS Magazine สำหรับยอดดาวน์โหลดนี้ของดิจิตอล แมกกาซีนแต่ละเล่มนั้นทางเจ้าของนิตยสาร หรือ Publisher จะเป็นผู้ดูแลเอง บริษัททำหน้าที่เพียงเหมือนมือปืนรับจ้างในการผลิตดิจิตอล แมกกาซีนให้เท่านั้น

โดยเครื่องมือและเทคโนโลยีที่บริษัทใช้ในการพัฒนาดิจิตอล แมกกาซีน หลักๆ ได้แก่ Adobe inDesign, Woodwing Solution และ Xcode ปัจจุบันได้เพิ่ม Adobe Dreamweaver ขึ้นมาเพื่อเขียน HTML5 ที่จะทำ Digital Books บน iOS

อภิชัย เรืองศิริปิยะกุล

สำหรับอนาคตอันใกล้บริษัทมีเป้าหมายว่าจะผลิตแมกกาซีนของตัวเอง 2 ปก และจะเริ่มให้เห็นตัวแมกกาซีนในท้องตลาดในปลายไตรมาสที่สาม ซึ่งการพัฒนาชิ้นงานดิจิตอลแมกกาซีนของบริษัทนั้น อภิชัย กล่าวว่า เป้าหมายของบริษัท คือ การนำงานกลับมาแบ่งให้กับบริษัทในท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น มาให้กับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในท้องถิ่น ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทดำเนินการในลักษณะนี้มาโดยตลอด และในปัจจุบันบริษัทยังขยายขอบเขตธุรกิจไปรับผลิต Mobile App สำหรับทั้งแพลตฟอร์ม iOS และ Android โดยมีบริษัทท้องถิ่นเป็น Outsource ให้ ส่วนบริษัทก็ทำการตรอจสอบคุณภาพสินค้าและชิ้นงาน หรือ QC (Quality Control) ให้ลูกค้า

“หากถามว่าเป้าหมายทางธุรกิจของ Think Technology คือ เป็นคำถามที่ตอบยาก เพราะเราไม่ใช่บริษัทยักษ์ใหญ่ ที่ต้องตั้งเป้าหมายให้เป็นอันดับหนึ่ง ที่ต้องมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ชัดเจนมากกว่าคนอื่น เรารู้ตัวเราดีว่าเล็ก แต่ที่เราทำก็คือทำให้ดีที่สุด และสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับเรา ที่นอกเหนือจากการทำเงินเข้าบริษัทแล้ว เราต้องการดึงงานจากเมืองหลวงเข้ามาสู่ขอนแก่น เพื่อไม่ให้น้องๆ ต้องเข้าไปทำงานในกรุงเทพฯ มันเป็นส่วนหนึ่งที่ผมทำตลอดเวลา”

อภิชัย กล่าวว่า บริษัทเน้นเรื่องการแบ่งปันงานให้กับนักพัฒนาในท้องถิ่น เพราะบริษัท Think Technology เป็นบริษัทที่เกิดจากโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “เสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ทางด้านเทคโนโลยี” (Technopreneur) ของศูนย์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National Computer and Electronics Center: Nectec) ร่วมกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่นที่1 ในปี 2547 จากนั้นตนจึงกลับมาเปิดบริษัทที่บ้านเกิด และในขณะนั้น ก็ได้มี อีสาน ซอฟท์แวร์พาร์ค (E-SAAN Software Park) เกิดขึ้น บริษัทจึงเข้าไปสมัครสมาชิกเพื่อรับข้อมูลข่าวสารและรับการสนับสนุนสถานที่ในการทำงาน

ปัจจุบัน บริษัทได้เข้ามามีส่วนสนับสนุน อีสาน ซอฟท์แวร์พาร์ค ในรูปแบบของการดึงงานจากกรุงเทพฯ เข้ามาให้บริษัทท้องถิ่น และเป็นวิทยากรในการอบรมต่างๆ อาทิ โครงการพัฒนาบุคคลากรด้านซอฟท์แวร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตอนนี้อบรมรุ่นที่สอง) และได้ร่วมกันทำงานอีกหลายๆ อาทิ งาน Augmented Reality ของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำสิรินธร ในโครงการ Khonkaen Augmented Reality Guide Project เนื่องจากธุรกิจของบริษัทนอกจากการผลิตดิจิตอลแมกกาซีนแล้ว บริษัทยังมีบริการรับพัฒนา Augmented Reality โมบายแอพพลิเคชั่น (Mobile Application) และแอพพลิชั่นด้านอีคอมเมิร์ซบนมือถือ

โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทกับ อีสาน ซอฟท์แวร์พาร์ค (E-SAAN Software Park) บทบาทของบริษัทคือ จัดทำระบบฐานข้อมูลของของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำสิรินธร ด้วยระบบ AR โดยบทบาทของ อีสาน ซอฟท์แวร์พาร์ค คือ การพัฒนาบุคคลากรด้านซอฟท์แวร์ ทำให้มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์เข้าร่วมโครงการจำนวนมาก โดยบริษัทจะคัดเลือกนักพัฒนาที่สนใจช่วยทำโครงการระบบฐานข้อมูลของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำสิรินธร ด้วยระบบ AR เข้ามาทำงาน

“ทุกคนมีโทรศัพท์มือถือทั้ง Android และ iPhone อยู่แล้ว เลยคิดจะจับเจ้า AR มาช่วยเหลือจังหวัด ในการให้ข้อมูลต่างๆ ซึ่งผมเป็นคนขอนแก่น ก็คิดว่าผมเป็นเจ้าภาพด้วยเช่นกัน เลยจะให้น้องๆ ในทีมจัดทำระบบขึ้น ส่วนงบประมาณ ค่าใช้จ่ายต่างๆ เป็นของบริษัททั้งหมด ที่ทำไปเพราะอยากใช้ความสามารถของบุคลากรในบริษัทช่วยเหลือจังหวัดบ้านเกิด นอกจากนี้บริษัทยังยินดีถ่ายทอดเทคโนโลยี ความรู้ต่างๆ ให้กับคนในท้องถิ่น โดยทำงานร่วมกับสมาคมซอฟท์แวร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อช่วยกันผลักดันการพัฒนาซอฟต์แวร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”

นับว่า Think Technology เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ที่เป็นกำลังหลักในการผลิตชิ้นงานดิจิตอล แมกกาซีน ที่สามารช่วยกระจายงานพัฒนาดิจิตอล แมกกาซีนให้กับนักพัฒนาในท้องถิ่น เพื่อสร้างนักพัฒนาและสร้างตลาดดิจิตอลแมกกาซีนไปในคราวเดียวกันได้….

View :4445

“เอเชียบุ๊คส์” … รุกธุรกิจ eBook หวังขึ้นแท่นผู้นำตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

September 26th, 2011 No comments

การขยายตัวของเครื่องอ่านหนังสือแบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในแพลตฟอร์มของเครื่องอ่าน eBook ที่เรียกว่า Kindle และแพลตฟอร์มของอุปกรณ์แท็ปเล็ต (Tablet) โดยเฉพาะ iPad ไม่เพียงแต่เปลี่ยนพฤติกรรมผู้อ่านเท่านั้น ยังเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจการค้าขายหนังสือของร้านหนังสือที่มีสาขามากมายอย่างเอเชียบุ๊คส์ไปด้วย ทำให้ธุรกิจร้านหนังสืออย่างเอเชียบุ๊คเริ่มหันมามองโอกาสทางการตลาดในการขยายขอบเขตของสินค้าจากการขายหนังสือเป็นเล่มๆ มาสู่การขายหนังสือที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

สิโรตม์ จิระประยูร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชียบุ๊คส์ จำกัด กล่าวว่า เอเชียบุ๊คเริ่มรุกตลาด eBook อย่างเต็มตัวเมื่อต้นปีที่ผ่านมาด้วยการประกาศขายหนังสือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากกว่า 500,000 เล่มทันทีที่เปิดตัว และตั้งเป้าว่าจะเพิ่มจำนวนหนังสือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็น 1 ล้านเล่มภายในสิ้นปีนี้ และหวังว่าจะพาเอเชียบุ๊คส์ผงาดขึ้นเป็นผู้นำตลาดร้านหนังสือออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“ปัจจุบันเอเชียบุ๊คส์มีฐานลูกค้าในมือราว 150,000 คนซึ่งจะเป็นกลุ่มลูกค้าหลักที่จะมีการซื้อหนังสือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ของเอเชียบุ๊ค แต่ทั้งนี้ทางบริษัทก็ตั้งเป้าเพิ่มยอดลูกค้าใหม่ด้วยเช่นกัน”

นอกจากนี้ ปัจจุบัน เอเชียบุ๊คมีหน้าร้านออนไลน์ ที่ www.asiabooks.com ซึ่งได้มีการปรับโฉมเว็บไซต์ใหม่หมดเมื่อปลายปีทีผ่านมา เป็นร้านหนังสือออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยจำนวนหนังสือกว่า 500,000 เล่มที่พร้อมให้ดาวน์โหลด ด้วยจำนวนคนที่เข้ามาที่ร้านค้าออนไลน์แห่งนี้ชั่วโมงละ 2,000 คน และในจำนวนนี้ประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์จะสั่งซื้อหนังสือ

“เดิมทีเว็บไซต์เรามีไว้เพื่อประชาสัมพันธ์หนังสือในร้าน และให้สั่งซื้อและสั่งจองหนังสือที่เป็นเล่มๆ ได้ จนเมื่อปลายปีที่แล้วที่เราเริ่มปรับปรุงเว็บขนานใหญ่เพื่อรองรับการขายหนังสือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และปัจจุบันเว็บนี้เป็นหน้าร้านออนไลน์ที่ลูกค้าสามารถเข้ามาลงทะเบียนสมาชิกเพื่อสั่งซื้อและดาวน์โหลดหนังสือไปอ่านได้”

สิโรตม์ กล่าวว่า ลูกค้าจะสามารถสั่งซื้อหนังสือ ดาวน์โหลด และจ่ายเงินผ่านหน้าเว็บไซต์ได้ทันที โดยสามารถจ่ายเงินผ่านทั้งบัตรเครดิต เดบิต และ PayPal หรือหากลูกค้าไม่สะดวกจ่ายเงินออนไลน์ก็สามารถจ่ายผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือโอนเงินผ่านธนาคาร หรือมาจ่ายที่ร้านเอเชียบุ๊คส์ (ทั้งภายใต้แบรนด์ AsiaBooksและ Bookazine) ซึ่งมีมากกว่า 70 สาขาทั่วประเทศ ซึ่งการดาวน์โหลดหนังสือผ่านหน้าเว็บลูกค้าสามารถจะดาวน์โหลดด้วยคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค อุปกรณ์แท็ปเล็ต และสมาร์ทโฟน หรือลูกค้าจะมาดาวน์โหลดหนังสือที่ตู้คีออส (Kiosk) ซึ่งตั้งอยู่ภายในร้านเอเชียบุ๊คส์ก็ได้

ทั้งนี้เอเชียบุ๊คส์ได้ลงทุนไปราว 10 ล้านบาทในการปรับปรุงระบบงานหลังบ้านเพื่อรองรับร้านขายหนังสือออนไลน์รวมถึงระบบซอฟต์แวร์ที่ป้องกันการก็อปปี้ และได้ขยายการทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ โดยเฉพาะโซเชียลมีเดีย (Social Media)โดยเฉพาะเฟซบุ๊ค (Facebook)

“ปัจจุบันเรายังขายหนังสือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่อยู่ในรูปของ e-book อยู่ซึ่งผู้อ่านดาวน์โหลดไปก็เปิดอ่านเหมือนเปิดหนังสือที่เป็นเล่มๆ อ่าน เพียงแต่ผู้อ่านไม่ต้องพกหนังสือไปไหนมาไหนด้วย แค่ดาวน์โหลดไฟล์หนังสือไปกับอุปกรณ์การอ่านซึ่งได้ตั้งแต่ที่เป็นโน๊ตบุ๊ค แท็ปเล็ต และสมาร์ทโฟน ผู้อ่านสามารถพกหนังสือไปอ่านได้คราละหลายๆ เล่ม ซึ่งสะดวกสบายกว่าการพกหนังสือเล่มๆ แต่ในอนาคตเรามีแผนจะพัฒนาหนังสือในรูปแบบของแอพพลิเคชั่นบนแท็ปเล็ตและสมาร์ทโฟน ทั้งบนแพลตฟอร์ม iOS และ Android ทั้งนี้เพื่อเพิ่มอรรถรสในการอ่านและเพิ่มฐานผู้อ่านในหนังสือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้กว้างมากขึ้น”

ปัจจุบันหนังสือส่วนใหญ่ที่เอเชียบุ๊คส์ได้สิทธิ์ในการจำหน่ายยังเป็นหนังสือภาษาอังกฤษ ทางบริษัทมีแผนที่จะเพิ่มปริมาณหนังสือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นภาษาไทยด้วยการเปิดโอกาสให้นักเขียนสามารถส่งเรื่องมานำเสนอเพื่อพัฒนาเป็นอีบุ๊คและขายในร้านหนังสือออนไลน์ของเอเชียบุ๊คส์ได้โดยแบ่งส่วนแบ่งรายได้ระหว่างนักเขียนกับร้านหนังสือ 70:30 เช่นเดียวกับรูปแบบการแบ่งรายได้ของการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นของแอพฯสโตร์อื่นๆ

“อย่างไรก็ดี เราหวังว่าเราจะเพิ่มปริมาณหนังสือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นในปีต่อๆ ไป เพราะโดยปกติจะมีหนังสือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ออกสู่ตลาดปีละ 1 ล้านล่มทั่วโลก ซึ่งเราได้สิทธิ์ในการขายหนังสือเหล่านั้น”

สิโรตม์ กล่าวเสริมว่า การก้าวเข้าสู่ตลาด eBook นั้น เป็นยุทธศาสตร์ของบริษัทที่ต้องเกาะกระแสและแนวโน้มของตลาดหนังสือทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันคนเริ่มหันมาอ่านหนังสือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสัดส่วนมากขึ้นเรื่อยๆ และเอเชียบุ๊คส์เองซึ่งเป็นร้านหนังสือได้สิทธิการขายหนังสือทั้งที่เป็นเล่มที่เป็น eBook อยู่จำนวนมากจึงเห็นโอกาสทางการตลาดตรงนี้

“ในอเมริกาและอังกฤษ เป็น 2 ประเทศที่มีสัดส่วนของหนังสือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์สูงราว 8 และ 5 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนในประเทศไทยมีสัดส่วนของหนังสือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์อยู่ไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ แต่จากแนวโน้มแล้วหนังสือที่เป็นเล่มๆ มีการขยายตัวทั่วโลกต่อปีราว 10 เปอร์เซ็นต์ในขณะที่หนังสือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวราวปีละ 100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ ปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญคือการเติบโตของอุปกรณ์แท็ปเล็ต ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการอ่านหนังสือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ชั้นดี มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และจำนวนคนที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มีเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยยะ ทำให้พฤติกรรมของคนเริ่มหันมาอ่านหนังสือบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เราเองก็ต้องเตรียมความพร้อมและปูทางเพื่อที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ไม่ว่าลูกค้าต้องการอะไร”

View :3975

“ศิริมีเดีย” เรือธงธุรกิจในน่านน้ำใหม่ ของเจ้าพ่อโรงพิมพ์ “ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์”

September 20th, 2011 No comments


การขยายตัวอย่างรวดเร็วของสื่อดิจิตอลทำให้ธุรกิจโรงพิมพ์ใหญ่เก่าแก่อย่างบริษัท ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน) จำเป็นต้องเดินเกมขยายไลน์ธุรกิจด้วยการเปิดบริษัทใหม่ “ศิริมีเดีย” เพื่อรับงานการผลิตสื่อดิจิตอลทุกรูปแบบ และเพื่อสร้างทักษะความชำนาญและปูทางไปสู่การให้บริการผลิตสื่อดิจิตอลให้กับฐานลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ

พรเทพ สามัตถิยดีกุล ประธานบริษัท ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการด้านการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ครบวงจรทั้งในและนอกประเทศ เล่าว่า บริษัทเริ่มเห็นแนวโน้มของกระแสสื่อดิจิตอลมาตั้งแต่ปีที่แล้วจากการปรับตัวของลูกค้าในต่างประเทศทำให้บริษัทเริ่มคิดหาทางเพื่อตอบสนองตลาดกลุ่มนี้ที่มีแนวโน้มเปลี่ยนไปใช้สื่อดิจิตอลแทนสื่อเดิมอย่างแน่นอน บริษัทจึงตัดสินใจตั้งบริษัทลูกขึ้นมาใหม่เพื่อรับงานการผลิตสื่อดิจิตอลทุกประเภท โดยเริ่มจากการผลิตสื่อดิจิตอลในรูปของดิจิตอล แมกกาซีนของตนเองภายใต้ชื่อ Andaman 365 เพื่อซ้อมมือและสร้างตัวอย่างงานเพื่อนำเสนอลูกค้า

“ระบบดิจิตอลมีเดียเป็นแนวธุรกิจใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น ธุรกิจโรงพิมพ์จะได้รับผลกระทบเพราะลูกค้าจะเริ่มหันไปใช้สื่อดิจิตอลมากขึ้น เราเลยตั้งศิริมีเดียขึ้นมารองรับลูกค้าในกลุ่มที่เริ่มทยอยลดยอดพิมพ์สื่อกระดาษลงแล้วเปลี่ยนไปทำเนื้อหาบนสื่อดิจิตอลโดยเฉพาะบน iPad เราจึงต้องมีบริการตรงนี้ให้เขา ดีกว่าจะปล่อยให้ลูกค้าในส่วนนี้หายไปเฉยๆ ต่อหน้าต่อตา ถือว่าการเข้าผลิตดิจิตอล แมกกาซีนของบริษัท เป็นผลมาจากการโดนกดดันจากจากตลาดและลูกค้า โดยเฉพาะลูกค้าในต่างประเทศ ซึ่งเป็นฐานลูกค้าหลักของเรา”

ก่อนจะมาผลิต Andaman 365 เล่มแรกต้นปีนี้ พรเทพ เล่าว่าบริษัทได้มีการเตรียมความพร้อมมาอย่างน้อยหนึ่งปี ด้วยการเปิดบริษัทใหม่ รับทีมงานใหม่หมด และจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อมาสอนการใช้ซอฟต์แวร์งานเครื่องไม้เครื่องมือในการผลิต ซึ่งบริษัทลงทุนคนละอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ไปกับบริษัท ศิริ มีเดีย จำกัด และโปรเจค Andaman 365 ราว 10 ล้านบาท

“ตอนแรกเราไม่ได้คิดจะทำดิจิตอล แมกกาซีนของเราเอง เราตั้งใจจะรับจ้างผลิต แต่ไม่มีใครกล้าลงทุน เราจึงตัดสินทำดิจิตอล แมกกาซีนของเราเองขึ้นมาเพื่อเป็นตัวอย่างงานของเรา ว่าเรามีฝีมือและความพร้อมในการผลิตดิจิตอล แมกกาซีน รวมถึงดิจิตอล ดีเมียอื่นๆ และ ณ วันนี้ เราพร้อมแล้วที่จะเดินหน้าในธุรกิจดิจิตอล มีเดีย เราจะออกตลาดต่างประเทศ เอางานของเราไปโชว์ให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายดูว่าเราทำได้”

ปัจจุบัน “ศิริมีเดีย” มีทีมงานทั้งสิ้น 30 คน และมีแผนจะเพิ่มเป็น 100 คนภายในสิ้นปีนี้ ทั้งนี้เพื่อเตรียมรองรับปริมาณงานที่คาดว่าจะเข้ามาในช่วงท้ายปีหลังจากที่บริษัทได้ออกโรดโชว์ในไตรมาสที่สามนี้

พรเทพ กล่าวว่า ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ ได้รับผลกระทบจากการเติบโตของดิจิตอลมีเดียแน่นอน แต่ในทางกลับกัน การขยายตัวของสื่อดิจิตอลก็สร้างโอกาสทางการตลาดให้กับบริษัท ผู้ประกอยจำต้องปรับตัวให้ทันกับสภาพตลาดที่เปลี่ยนไป บริษัทมองว่าแนวโน้มของตลาดจะขยายตัวไปสู่สื่อดิจิตอลเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะปริมาณการสั่งซื้อในสื่อสิ่งพิมพ์จะลดลงเรื่อยๆ เช่นกัน “ศิริมีเดีย” จึงถูกตั้งมาเพื่อขยายบริการของบริษัทไปสู่ฐานตลาดใหม่เพื่อสร้างรายได้มาทดแทนรายได้ที่หายไปจากธุรกิจเดิม

“ธุรกิจโรงพิมพ์ ณ วันนี้ เริ่มได้รับผลกระทบจากการของสื่อใหม่อย่างสื่อดิจิตอล อาจจะยังไม่มากนัก แต่เชื่อแน่มาว่าแรง และภายใน 3-5 ปีข้างหน้าจะเห็นเด่นชัด หากโรงพิมพ์ไหนไม่ปรับตัวจะอยู่ลำบาก”

พรเทพ ตั้งเป้ารายได้กับ ศิริมีเดียไว้สูง 100 ล้านบาท ภายใน 2 ปี ซึ่งดูเหมือนเป็นรายได้ที่ไม่มากหากเทียบกับรายได้รวมของ ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์ ที่มีรายได้ปีละหลายพันล้านบาทแล้ว รายได้จากสื่อดิจิตอลยังคงเป็นสัดส่วนที่ไม่มากนัก แต่พรเทพ เชื่อมั่นว่า รายได้ในส่วนนี้ในอนาคตจะเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก และเป็นเรือธงทางธุรกิจของบริษัทในอนาคตอย่างแน่นอน และการตัดสินใจตั้ง “ศิริมีเดีย” และออกเดินทางมาในธุรกิจสื่อดิจิตอลนี้เป็นการตัดสินใจทางธุรกิจที่ถูกต้องแล้วนั่นเอง

View :5250

“Andaman 365” …. ดิจิตอล แมกกาซีนไทยสร้างชื่อไกลในต่างแดน

September 19th, 2011 No comments

พลันที่นิตยสารดิจิตอลน้องใหม่นามว่า Andaman 365 ได้รับการโหวตจาก iMonitor บริษัทสำรวจแอพพลิเคชั่นระดับโลกจัดอันดับให้ Andaman 365 ติดอันดับ Top 10 ของดิจิตอล แมกกาซีน ทำให้สายตาทุกคู่ของนักอ่านชาวไทยจับจ้องไปที่ดิจิตอล แมกกาซีนไทยสร้างชื่อไกลในต่างแดนเล่มนี้ทันที

Andaman 365 คือ ดิจิตอล แมกกาซีนของบริษัท ศิริมีเดีย จำกัด บริษัทน้องใหม่ในวงการสื่อดิจิตอล เป็นบริษัทลูกของ บริษัท ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการด้านการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ครบวงจรทั้งในและนอกประเทศ ภายใต้การให้คำปรึกษาและดูแลการผลิตโดย สุปรีย์ ทองเพชร กรรมการผู้จัดการ บริษัท คัลเลอร์ ด็อกเตอร์ จำกัด

สุปรีย์ เล่าว่าจุดเด่นที่ทำให้ Andaman 365 เป็นที่ชื่นชอบของผู้อ่านทั่วโลกนั้นมาจากแนวคิดที่ต้องการให้ Andaman 365 เป็นอินเตอร์แอคทีฟ แมกกาซีน (Interactive Magazine)โดยให้ผู้อ่านให้สามารถปฏิสัมพันธ์กับเนื้อหาได้อย่างหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเป็นการสร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับผู้อ่าน ตัวอย่างเช่น ในหน้าหนึ่งหน้าของ Andaman 365 จะมีเนื้อหาทั้งในรูปของตัวอักษร ภาพเคลื่อนไหว และเสียง นอกจากนี้ในเรื่องเดียวกัน หน้าเดียวกัน หากผู้อ่านหมุนจอจากแนวตั้งเป็นแนวนอน หรือจากแนวนอนมาเป็นแนวตั้ง วิธีการนำเสนอเนื้อหาก็จะไม่เหมือนกัน และวิธีการนำเสนอในแต่ละเล่มในแต่ละเดือนจะมีความแตกต่างกันออกไป ไม่ซ้ำกัน ทั้งนี้ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ บวกกับความสามารถด้านเทคโนโลยี เพื่อที่จะสามารถนำเทคโนโลยีมาตอบสนองจินตนาการในการนำเสนอที่หลากหลายได้อย่างลงตัว

“เราเปิดโอกาสให้ผู้อ่านเล่นกับเนื้อหาได้มากขึ้น ตัวตนจริงๆ ของดิจิตอล แมกกาซีน คือ แอพพลิเคชั่น Andaman 365 คือ แอพพลิเคชั่นที่ให้บริการดาวน์โหลดฟรีที่ iTunes เป็นแมกกาซีนที่นำเสนอเนื้อหาด้านท่องเที่ยวในจังหวัดที่ติดกับทะเลอันดามัน เราต้องการนำเสนอว่านักท่องเที่ยวสามารถมาท่องเที่ยวทะเลอันดามันได้ทุกวันตลอดทั้งปี และเราต้องการนำเสนอมุมมองของสถานที่และเรื่องราวของการท่องเที่ยวในจังหวัดรอบทะเลอันดามันแบบ 360 องศา ส่วนอีก 5 องศา คือ การนำเสนอมุมมองโลกเสมือน (Virtual) ที่คนอ่านสามารถฟังเพลง ดูวีดีโอคลิป และมีความรู้สึกเหมือนว่าได้เข้าไปยืนอยู่ตรงนั้นๆ”

Andaman 365 เป็นดิจิตอลแมกกาซีนรายเดือนแจกฟรี (ฉบับแรกคือฉบับเดือนกุมภาพันธ์) ภาษาอังกฤษโดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ชื่นชอบการเที่ยวทะเลอันดามัน ผู้อ่านสามารถดาวนโหลด Andaman 365 ขนาดไฟล์ 200 เมกะไบต์มาเก็บไว้ใน iPad เพื่ออ่านได้ทุกทีทุกเวลาที่ต้องการ โดยไม่ต้องต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ต

สุปรีย์ บอกว่า เคล็ดลัความสำเร็จของการผลิตดิจิตอลแมกกาซีน คือ ทีมงานต้องมีความเข้าใจว่าการนำเสนอเนื้อหาสำหรับดิจิตอล แมกกาซีนนั้น เปิดกว้างและมีรูปแบบที่หลากลายมากมายทั้งนี้ขึ้นกับจินตนาการที่จะนำเสนอเนื้อหาในแต่ละแบบได้อย่างหลากหลาย และการเข้าถึงเนื้อหานั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบและวิธี ไม่จำกัดอยู่เฉพาะการอ่านจากซ้ายไปขวา บางหน้ามีเนื้อหาที่เกี่ยวกับเพลงหรือดนตรี ผู้อ่านก็สามารถกดฟังได้ หรือกดดูวีดีโอคลิป ดูรูปภาพ (ซึ่งดิจิตอลแมกกาซีนสามารถนำเสนอรูปภาพสำหรับเรื่องราวนั้นๆ ได้มากกว่านิตยสารปกติเป็นสิบเป็นร้อยเท่า) แม้กระทั่งจะดูแผนที่และเส้นทางที่จะไปให้ถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ในเรื่องนั้นๆ ผ่านกูเกิ้ลแม็ป (Google Map) และจีพีเอส (GPS: Global Positioning System) ซึ่งวิธีกานำเสนอแบบผสมผสานเหล่านี้จะช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ในการอ่านหนังสือให้กับผู้อ่านได้เป็นอย่างดี

“กลุ่มผู้อ่านเป้าหมายของเล่มนี้คือนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่อยากจะเดินทางมาเที่ยวเมืองไทย Andaman 365 สามารถเป็นข้อมูลการท่องเที่ยวชั้นดีเพื่อช่วยนักท่องเที่ยวเตรียมแผนการเดินทาง นอกจากนี้เรายังมีแผนจะผลิต Andaman 365 ภาษาไทยเพื่อสร้างประสบการณ์ในการอ่านดิจิตอลแมกกาซีนแบบจริงๆ ให้กับคนไทยได้ลองสัมผัสกันในทุกๆ 3 เดือน เราว่าเรามาถูกทางในการผลิตดิจิตอลแมกกาซีน จากวิจัยพบว่าปกติคนจะมีสมาธิกับการอ่านหรือบริโภคข้อมูลบนสื่ออย่างแท็ปเล็ตครั้งละประมาณต่ำกว่า 1 ชั่วโมง ดังนั้น เราต้องสร้างเนื้อหาให้มีความน่าสนใจที่จะดึงดูดคนอ่านให้สนุกไปกับการอ่านได้”

สุปรีย์ บอกว่า เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตดิจิตอล แมกกาซีน Andaman 365 คือ ซอฟต์แวร์ 2 ชุดหลักได้แก่ WoodWing และ Adobe InDesign ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาดิจิตอล แมกกาซีนที่ขณะนี้ได้รับความนิยม และทั่วโลกมีดิจิตอลแมกกาซีนมากกว่า 200 แบรนด์ใช้เครื่องมือชุดนี้ในการผลิต อาทิ ดิจิตอลแมกกาซีนในเครือ TIMES เป็นต้น

“หน้าที่หลักของเรา คือ ให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดกับกองบรรณาธิการของ Andaman 365 รวมถึงฝึกอบรมการใช้เครื่องมือในการผลิตดิจิตอลแมกกาซีนให้กับกองบรรณาธิการ”

ดิจิตอลแมกกาซีนมีแนวโน้มการขยายตัวค่อนข้างดีเพราะตลาดทั้งในแง่ของตัวอุปกรณ์เครื่องอ่านที่มีแนวโน้มว่าจะมีการขยายตัวอย่างมาก กอปรกับพฤติกรรมคนที่เริ่มนิยมการอ่านและบริโภคเนื้อหาจากสื่อชนิดนี้เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตงานโฆษณาก็เริ่มมองดิจิตอล แมกกาซีนเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แบรนด์ของสินค้าและบริการ ทั้งนี้ รวมถึง การขยายการขายแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาสู่ดิจิตอลแมกกาซีน เพราะด้วยความสามารถของดิจิตอลแมกกาซีนจะช่วยให้การโฆษณาและการขายจบภายในขั้นตอนเดียวได้อย่างง่ายดาย ดังนั้น จึงไม่แปลกที่จะเห็นผู้เล่นหลายรายเริ่มกระโดดลงมาชิมลางในสนามนี้กันอย่างคึกคักนั่นเอง….

View :4419

ประชุมระดมสมอง เรื่อง “ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์”

September 19th, 2011 No comments

กำหนดการประชุมระดมสมอง
เรื่อง “ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์”
ภายใต้โครงการวิจัย
“การปรับปรุงกระบวนการนิติบัญญัติของประเทศไทยเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน”
จัดโดย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
โดยการสนับสนุนของแผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.)
วันพุธที่ 21 กันยายน 2554 เวลา 10.00 – 12.00 น.
ณ ห้อง 222 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)

09.30 – 10.00 น. ลงทะเบียน
10.00 – 10.30 น. นำเสนอ “บทวิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติ
ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ….”
โดย อ. สาวตรี สุขศรี
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
10.30 – 11.30 น. ร่วมเสวนาและแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ “ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ….”
ผู้ร่วมอภิปราย: คุณสุรางคณา วายุภาพ
ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
คุณชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี
ผู้อำนวยการบริหาร สถาบันอิศรา
คุณวันฉัตร ผดุงรัตน์
ผู้ก่อตั้งและเจ้าของเว็บไซต์ Pantip.com
คุณอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล
เครือข่ายพลเมืองเน็ต

ผู้ดำเนินการอภิปราย: อ. ปกป้อง จันวิทย์
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
11.30 – 12.00 น. เปิดเวทีร่วมแสดงความคิดเห็น

*เอื้อเฟื้อสถานที่โดย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

View :2719

ดอยตุง สร้างช่องทางใหม่ เปิดตัว www.doitung.com

August 26th, 2011 No comments

ดอยตุง เปิดตัว e-Commerce จากดอยสูงมุ่งสู่ผู้บริโภคระดับโลก เปิดช่องทางการซื้อขายทางอิเล็กทรอนิคส์ ภายใต้แนวทาง โลกสู่ชุมชน/ชุมชนสู่โลก (Global to Local / Local to Global) เปิดตัวเว็บไซต์ www.doitung.com นำเสนอผลิตภัณฑ์ดอยตุง และเผยแพร่แนวทางการพัฒนาการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน ตรงสู่ผู้บริโภคระดับคุณภาพที่ ให้ความสำคัญกับการบริโภคสินค้าคุณภาพและมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาธิการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้เปิดตัวโครงการ e-Commerce จากดอยสูงมุ่งสู่ผู้บริโภคระดับโลก เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์แบรนด์ดอยตุง ก้าวสู่ตลาดโลก ภายใต้ห่วงโซ่แห่งคุณค่าผลิตภัณฑ์ดอยตุง (DoiTung Value Chain) ที่เน้นการต่อยอดความชำนาญและภูมิปัญญาท้องถิ่น และเน้นการพัฒนาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์งานฝีมือต่างๆ อย่างครบวงจรด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดเอกลักษณ์และคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ

การจัดทำ www.doitung.com เป็นความร่วมมือ ระหว่าง โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ที่ได้พัฒนาช่องทางการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายทั่วโลก โดยเฉพาะผู้ที่สนใจงานที่เกิดขึ้นจากฝีมือของชนเผ่าต่างๆ สามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์แบรนด์ดอยตุง ผ่านระบบออนไลน์ได้

www.doitung.com จะเป็น สะพานเชื่อมสำคัญและทรงประสิทธิภาพ ระหว่าง ห่วงโซ่แห่งคุณค่าดอยตุง กับ ประชาคมโลก ทั้งในฐานะผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ดอยตุงอันทรงคุณค่า และผู้สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้แนวทาง โลกสู่ชุมชน/ชุมชนสู่โลก (Global to Local / Local to Global)

โลกสู่ชุมชน(Global to Local) คือ เทคโนโลยีระดับโลก ถูกใช้เป็นเครื่องมือด้านการตลาดของชุมชนจากดอยสูง ทำให้กลุ่มผู้บริโภคระดับคุณภาพทั่วโลก สามารถเข้าถึงคุณค่าผลิตภัณฑ์ดอยตุงได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านช่องทางกระจายสินค้าแบบดั้งเดิม

ประการสำคัญ กลุ่มเป้าหมายระดับคุณภาพทั่วโลกนี้ ได้รับทราบแนวทางการพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน ของโครงการพัฒนาดอยตุงฯ เกิดเป็นแรงบันดาลใจที่ร่วมสร้างสรรค์แนวทางการพัฒนาที่เอื้อประโยชน์ ต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม

ชุมชนสู่โลก (Local to Global) ผลิตภัณฑ์ จากห่วงโซ่แห่งคุณค่าดอยตุง ได้เข้าถึงผู้บริโภคระดับคุณภาพทั่วโลกที่ให้ความสำคัญกับคุณค่าผลิตภัณฑ์ในเชิงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวก็สามารถรับรู้ความต้องการใหม่ๆของผู้บริโภคโดยผ่านระบบการสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication) เป็นข้อมูลที่นำไปสู่ การพัฒนารูปแบบและคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ อย่างต่อเนื่อง

www.doitung.com นำเสนอผลิตภัณฑ์เด่นๆ จาก 2 ธุรกิจหลักของแบรนด์ดอยตุง คือ ด้านอาหารแปรรูป ได้แก่ กาแฟ แมคคาเดเมียนัทอบ คุกกี้แมคคาเดเมียนัท และ แมคคาเดเมียสเปรด และด้านผลิตภัณฑ์งานมือ ได้แก่ งานเซรามิค ปลอกหมอน กระเป๋า ผ้าพันคอ และผลิตภัณฑ์จากกระดาษสา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้วิถีชีวิตชนเผ่าในโครงการพัฒนาดอยตุงฯ เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด และทำให้พวกเขาได้เป็นผู้เชี่ยวชาญในการปลูกกาแฟแมคคาเดเมีย-พืชผลเมืองหนาว-ฝึกงานหัตถกรรมรูปแบบใหม่ๆอีกหลายประเภท เช่น งานกระดาษสา ตัดเย็บเสื้อผ้า การวาดลวดลายด้วยมือลงบนเครื่องปั้นดินเผา ฯลฯ ส่วนเยาวชนจากเผ่าพันธุ์ต่างๆ ก็ได้เรียนหนังสือในสถาบันการศึกษาชั้นสูงและได้ประกอบอาชีพหลากหลายทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชนและอาชีพส่วนตัว หลายคนได้กลับคืนมายังถิ่นฐาน มาทำงานในโครงการฯ และอยู่ร่วมกับครอบครัว

“ความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ดอยตุงผ่านช่องทาง e-Commerce นี้จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กระบวนการพัฒนาโครงการดอยตุงที่ดำเนินการครบวงจร สัมผัสได้จริง ได้แก่ การพัฒนาขั้นต้นน้ำ(Upstream Development) การพัฒนาขั้นกลางน้ำ(Midstream Development) และการพัฒนาขั้นปลายน้ำ(Downstream Development) จนอาจกล่าวได้ว่าดอยตุงเปรียบเสมือน “มหาวิทยาลัยที่มีชีวิต” ในด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพชีวิต มีรูปแบบและวิธีการแก้ปัญหาและการพัฒนาชุมชนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ครบถ้วนรอบด้านที่สุดทั้งในประเทศและในโลก สามารถให้คนได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้ในสภาพภูมิสังคมต่างๆ และเกิดประโยชน์ขยายวงสู่คนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ” เลขาธิการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ กล่าวเสริมท้าย

View :2535

3G in Thailand: 89% in Bangkok May Use It

August 16th, 2011 No comments

By KResearch

The gradual launch of 3G service on existing frequencies by major mobile service providers in 2H11 should play a great role toward reforming Thai wireless telecommunications in this high-speed data communications era. 3G service is also an important framework for diversifying information services, particularly online entertainment services allowing consumers to watch TV, listen to music or play games online.

In a survey conducted by KResearch on Bangkok residents’ opinions toward the use of 3G services in testing since 2009, Bangkok residents currently using 3G service totaled around 36.6 percent of the respondents. However, of those that have not used 3G services, some 89.6 percent stated that they plan to do so in the future.

Relatively high demand for 3G services, coupled with growth in the smart phone market will help expand non-voice services significantly. KResearch estimates that non-voice service revenue may reach THB3.3-3.5 billion in 2011, growing 27.0-34.6 percent, thus could reach 20.8 percent of overall mobile service revenue.

In the survey, most respondents responded positively toward using social networks, watching TV, receiving information and listening to music online, reflecting demand for new forms of communication that require high data transmission rates to transfer text, images, sound files and other media. Apparently, online entertainment services will be a popular form of non-voice services that will allow consumers to enjoy entertainment immediately after connecting to the Internet, wherein they will not have to save files on their mobile devices. –

View :2288
Categories: Article Tags: ,